Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๙ หน้า ๓๖๗ - ๔๑๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๙. ทุติยโสเจยยสูตร
ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา
ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้โลภมาก มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้แล
ปฐมโสเจยยสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด สูตรที่ ๒
[๑๒๒] ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้
ความสะอาด ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความสะอาดกาย ๒. ความสะอาดวาจา
๓. ความสะอาดใจ
ความสะอาดกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความสะอาดกาย
ความสะอาดวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความสะอาดวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๙. ทุติยโสเจยยสูตร
ความสะอาดใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดกามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่มีในภายในว่า
“กามฉันทะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดกามฉันทะที่ไม่มีในภายในว่า “กามฉันทะ
ไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการ
ละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปของกามฉันทะที่ละได้แล้ว
รู้ชัดพยาบาท(ความคิดร้าย)ที่มีในภายในว่า “พยาบาทมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัด
พยาบาทที่ไม่มีในภายในก็รู้ชัดว่า “พยาบาทไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิด
ขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึง
การไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งพยาบาทที่ละได้แล้ว รู้ชัดถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
ที่มีในภายในว่า “ถีนมิทธะมีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดถีนมิทธะไม่มีในภายในว่า
“ถีนมิทธะไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขี้น รู้ชัด
ถึงการละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งถีนมิทธะที่ละได้
แล้ว รู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ที่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ
มีในภายในของเรา” หรือรู้ชัดอุทธัจจกุกกุจจะที่ไม่มีในภายในว่า “อุทธัจจกุกกุจจะ
ไม่มีในภายใน” รู้ชัดถึงการเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละ
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัดถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่
ละได้แล้ว รู้ชัดวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีในภายในว่า “วิจิกิจฉามีในภายในของ
เรา” หรือรู้ชัดวิจิกิจฉาที่ไม่มีในภายในว่า “วิจิกิจฉาไม่มีในภายในของเรา” รู้ชัดถึง
การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น รู้ชัดถึงการละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว และรู้ชัด
ถึงการไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว นี้เรียกว่า ความสะอาดใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความสะอาด ๓ ประการนี้แล
ผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด
มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ
เป็นผู้สะอาด ถึงพร้อมด้วยความสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว
ทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๒. อาปายิกวรรค ๑๐. โมเนยยสูตร

๑๐. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี
[๑๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้
ความเป็นมุนี ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นมุนีทางกาย ๒. ความเป็นมุนีทางวาจา
๓. ความเป็นมุนีทางใจ
ความเป็นมุนีทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ไม่ประเสริฐ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางกาย
ความเป็นมุนีทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เว้นขาดจากการพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูด
คำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางวาจา
ความเป็นมุนีทางใจ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า ความเป็นมุนีทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมุนี ๓ ประการนี้แล
ผู้ที่เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา
เป็นมุนีทางใจ ไม่มีอาสวะ
เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี
บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่าเป็นผู้ละได้ทุกอย่าง
โมเนยยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาปายิกวรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๑. กุสินารสูตร

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร
๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อาเนญชสูตร
๕. วิปัตติสัมปทาสูตร ๖. อปัณณกสูตร
๗. กัมมันตสูตร ๘. ปฐมโสเจยยสูตร
๙. ทุติยโสเจยยสูตร ๑๐. โมเนยยสูตร

๓. กุสินารวรรค
หมวดว่าด้วยกรุงกุสินารา
๑. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงกุสินารา
[๑๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าชื่อพลิหรณะ เขต
กรุง กุสินารา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลแห่งใดแห่ง
หนึ่งอยู่ คหบดีหรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุ
เมื่อประสงค์ก็รับนิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก
ถือบาตรจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้
คหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น ถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉัน
ที่ประณีตด้วยมือตนเอง
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวายอาหาร
ให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” เธอยังมีความคิดอย่างนี้
อีกว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของ
เคี้ยวของฉันที่ประณีตอย่างนี้ด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอติดใจ ลุ่มหลง หมกมุ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร
มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
กามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง ตรึกถึงพยาบาทวิตก(ความตรึกในทาง
พยาบาท)บ้าง ตรึกถึงวิหิงสาวิตก(ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราไม่กล่าวว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ประมาทอยู่
ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดี
หรือบุตรของคหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น ภิกษุเมื่อประสงค์ก็รับ
นิมนต์ ภิกษุนั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้า
ไปยังนิเวศน์ของคหบดีหรือบุตรของคหบดีนั้น นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ คหบดีหรือ
บุตรของคหบดีนั้นถวายอาหารให้ภิกษุนั้นอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วย
มือตนเอง
ภิกษุนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า “ดีจริง คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ถวาย
อาหารให้เราอิ่มหนำด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเอง” และเธอไม่มีความ
คิดอย่างนี้ว่า “โอหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้พึงถวายอาหารให้เราอิ่มหนำ
ด้วยของเคี้ยวของฉันที่ประณีตด้วยมือตนเองแม้ต่อ ๆ ไป” เธอไม่ติดใจ ไม่มัวเมา
ไม่หมกมุ่น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกถึง
เนกขัมมวิตก(ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง ตรึกถึงอพยาบาทวิตก(ความตรึก
ปลอดจากพยาบาท)บ้าง ตรึกถึงอวิหิงสาวิตก(ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
บ้าง ภิกษุทั้งหลายบิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่ามีผลมาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
กุสินารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะ
วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๒. ภัณฑนสูตร
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓
ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน
ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการนี้
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. พยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายเกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ ทิศนี้ แม้เพียงคิดก็ไม่เป็นที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงการไป ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ
คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน
ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็น
ที่สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่าน
เหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการอย่างแน่นอน
ท่านเหล่านั้นได้ละธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามวิตก ๒. พยาบาทวิตก
๓. วิหิงสาวิตก
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เนกขัมมวิตก ๒. อพยาบาทวิตก
๓. อวิหิงสาวิตก
ท่านเหล่านั้นคลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๓. โคตมกเจติยสูตร
ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็นที่
สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้น
ได้ละธรรม ๓ ประการนี้ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้อย่างแน่นอน
ภัณฑนสูตรที่ ๒ จบ

๓. โคตมกเจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โคตมกเจดีย์
[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์๑เขตกรุงเวสาลี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้ว ไม่แสดงธรรม
เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่
แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดง
ธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่
แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลายควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำ
พร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า
“พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุ๓
ได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว
โคตมกเจติยสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
ว่าด้วยภรัณฑุดาบสกาลามโคตร
[๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล เสด็จถึงกรุง
กบิลพัสดุ์ เจ้ามหานามศากยะได้ทราบข่าวว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
โดยลำดับแล้ว’ ครั้งนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ
ดังนี้ว่า
มหานามะ ไปเถิด เธอจงพิจารณาดูสถานที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ที่เราจะอยู่
ได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ เจ้ามหานามศากยะทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปกรุงกบิลพัสดุ์
เที่ยวไปจนทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่เห็นสถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะ ประทับได้
สักคืนหนึ่ง
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่มี
สถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะประทับได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ ภรัณฑุดาบส
กาลามโคตรนี้เป็นเพื่อนพรหมจารีเก่าของพระผู้มีพระภาค ในวันนี้ขอพระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ในอาศรมของภรัณฑุดาบสนั้นสักคืนหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “จงไปปูเครื่องปูลาดเถิด มหานามะ”
เจ้ามหานามศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุ-
ดาบสกาลามโคตร ปูเครื่องลาด จัดน้ำสำหรับล้างเท้าไว้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ได้ปูเครื่องลาดแล้ว ได้จัดตั้งน้ำ
สำหรับล้างพระบาทแล้ว บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุดาบสกาลามโคตร
ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาททั้งสอง ลำดับนั้น เจ้ามหานาม-
ศากยะคิดว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาเหมาะที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
ทรงเหน็ดเหนื่อย ในวันพรุ่งนี้เราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค” จึงถวายอภิวาท ทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ
นั้นดังนี้ว่า มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม ไม่บัญญัติการกำหนด
รู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กามและบัญญัติการ
กำหนดรู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม บัญญัติการกำหนด
รู้รูป และบัญญัติการกำหนดรู้เวทนา
มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกนี้เป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เมื่อพระ
ผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า
“มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกเป็นอย่างเดียว
กัน” เมื่อภรัณฑุดาบสกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ
ว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘(จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวก)ต่างกัน”
แม้ในครั้งที่ ๒ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า
“มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน” แม้ในครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระ
ภาคก็ได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน” แม้
ในครั้งที่ ๓ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ
ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน”
แม้ในครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ
เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน”
ลำดับนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรคิดว่า “เราถูกพระสมณโคดมรุกรานแล้ว
ถึง ๓ ครั้งต่อหน้าเจ้ามหานามศากยะผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทางที่ดี เราพึงหลีกไปเสียจาก
กรุงกบิลพัสดุ์” ทีนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรไปจากกรุงกบิลพัสดุ์ หนีห่างจาก
กรุงกบิลพัสดุ์ ไม่หวนกลับมาอีกเลย
ภรัณฑุกาลามสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกเทพบุตร
[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น หัตถกเทพบุตรเมื่อปฐมยามผ่านไป
มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ คิดว่าจักยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระ
พักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถยืนอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมันที่
เขาเทลงบนทรายย่อมซึมลง ไม่ขังอยู่ หัตถกเทพบุตรคิดว่า จักยืนตรงพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถ
ยืนอยู่ได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับหัตถกเทพบุตรว่า “หัตถกะ ท่านจง
เนรมิตร่างอย่างหยาบ ๆ” หัตถกเทพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เนรมิตร่าง
อย่างหยาบ ๆ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ กับหัตถกเทพบุตรดังนี้ว่า “หัตถกะ ธรรมประจำตัวของท่านเมื่อครั้งที่เป็น
มนุษย์ในกาลก่อน บัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวท่านบ้างไหม”
หัตถกเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมประจำตัวของข้าพระ
องค์เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวของข้าพระองค์ และ
ธรรมที่ไม่ได้มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้กลับ
มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัจจุบันนี้พระผู้มีพระภาคประทับ
อยู่รายล้อมไปด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์
ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน รายล้อมไปด้วยเทพบุตรทั้งหลายอยู่ พวกเทพบุตรพากันมาจากถิ่นไกลด้วยตั้ง
ใจว่าจักฟังธรรมในสำนักของหัตถกเทพบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่
อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการก็จุติเสียก่อน
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๗๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร
๑. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก็จุติเสียแล้ว
๒. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการฟังสัทธรรมก็จุติเสียแล้ว
๓. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการบำรุงพระสงฆ์ก็จุติเสียแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการนี้แล
ก็จุติเสียแล้ว
หัตถกเทพบุตรได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ความอิ่มในการเฝ้าพระผู้มีพระภาค
(การฟังสัทธรรม) การบำรุงพระสงฆ์
จักมีในกาลไหน ๆ เป็นแน่แท้
หัตถกอุบาสกยังศึกษาอธิศีล๑อยู่
ยินดีแล้วในการฟังสัทธรรม
ยังไม่อิ่มธรรม ๓ ประการ
ก็ไปพรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ

๖. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยความมักใหญ่
[๑๒๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต
กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร
เสด็จเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน
สำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่มีความแช่มชื่น๒ มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก๓ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร
ไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้ตรัสกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่
กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ”
ครั้นภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทนี้จากพระผู้มีพระภาคแล้วก็ถึงความสังเวช๑ ลำดับ
นั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จ
กลับจากเที่ยวบิณฑบาตได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ในเช้าวันนี้ เรานุ่ง
อันตรวาสก ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต เรากำลังเที่ยว
บิณฑบาตในสำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่มีความแช่มชื่น มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มี
จิตไม่ตั้งมั่น มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ ครั้นแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า
“ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม ไม่กัด
ตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้น” ครั้นเรากล่าวสอนด้วยโอวาทนี้แล้วภิกษุนั้นก็ถึง
ความสังเวช”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่คืออะไร กลิ่นดิบคืออะไร แมลงวัน
คืออะไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ ความมักใหญ่คืออภิชฌา กลิ่นดิบคือ
พยาบาท แมลงวันคือบาปอกุศลวิตก ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่แมลงวันจักไม่ตอม
ไม่กัดตนที่มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ
แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ
จักไต่ตอมบุคคลที่ไม่คุ้มครองในจักขุทวารและโสตทวาร
ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
ภิกษุทำตนให้เป็นผู้มักใหญ่ ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ
ย่อมอยู่ห่างไกลจากนิพพาน มีแต่ความคับแค้นเท่านั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๗. ปฐมอนุรุทธสูตร
คนพาลมีปัญญาทราม ถูกแมลงวันไต่ตอม
ไม่ได้เพื่อนที่เสมอตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง
ส่วนพวกที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมที่สงบด้วยปัญญา
เป็นผู้สงบระงับอยู่เป็นสุข แมลงวันย่อมไม่รบกวนเขา
กฏุวิยสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธ สูตรที่ ๑
[๑๓๐] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ข้าพระองค์
เห็นแต่มาตุคาม(สตรี) โดยมากหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
มาตุคามในโลกนี้
๑. ในเวลาเช้า ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๒. ในเวลาเที่ยง ถูกความริษยากลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
๓. ในเวลาเย็น ถูกกามราคะกลุ้มรุมจิตอยู่ครองเรือน
อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลหลังจากตายแล้วจะ
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ปฐมอนุรุทธสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร

๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธ สูตรที่ ๒
[๑๓๑] ครั้งนั้น พระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ได้สนทนา
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตรพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร ขอโอกาส ผมตรวจดูทั่วโลก ๑,๐๐๐
โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็ผมเองบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติ
ไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง แต่เพราะ
เหตุไรเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘เรา
ตรวจดูโลก ๑,๐๐๐ โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ นี้เป็นเพราะมานะ
ของท่านเอง การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่
หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นเพราะ
ความฟุ้งซ่านของท่านเอง การที่ท่านคิดเห็นอย่างนี้ว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเรา
จึงยังไม่พ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น” นี้เป็นเพราะความรำคาญของท่านเอง ท่าน
อนุรุทธะ เอาเถอะ ท่านจงละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม ๓ ประการนี้
แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ๑”
ครั้นต่อมา ท่านพระอนุรุทธะละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม ๓
ประการนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๒ มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักได้ทำให้แจ้งที่สุดซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๓อันเป็นที่สุด
แห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระอนุรุทธะ
ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค ๑๐. เลขสูตร

๙. ปฏิจฉันนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดี เปิดไม่ดี
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี
สิ่ง ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. มาตุคาม(สตรี)ปิดบังไว้จึงงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม
๒. มนตร์ของพราหมณ์ปิดบังไว้จึงขลัง เปิดเผยไม่ขลัง
๓. มิจฉาทิฏฐิปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล ปิดบังไว้จึงดี เปิดเผยไม่ดี
สิ่ง ๓ อย่างนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
สิ่ง ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ดวงจันทร์เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
๒. ดวงอาทิตย์เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
๓. ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
ปฏิจฉันนสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. เลขสูตร
ว่าด้วยบุคคลกับรอยขีด
[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
๒. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน
๓. บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๓. กุสินารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขาก็หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดบนแผ่นหิน ไม่ลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ย่อมติดอยู่นานแม้ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ และความโกรธนั้นของเขา
ก็หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่แผ่นดิน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้นของเขาไม่หมักหมม
อยู่นาน รอยขีดที่แผ่นดิน ย่อมลบเลือนเร็วเพราะลมหรือน้ำ ไม่ปรากฏอยู่นานแม้
ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โกรธเป็นประจำ แต่ความโกรธนั้น
ของเขาไม่หมักหมมอยู่นาน นี้เรียกว่า บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีที่แผ่นดิน
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ
แม้จะถูกว่าด้วยคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่
รอยขีดที่น้ำย่อมขาดหายไปเร็ว ไม่ปรากฏอยู่นานแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะถูกว่าด้วยคำหนัก ๆ แม้จะถูกว่าด้วยคำหยาบ แม้จะถูกว่า
ด้วยคำที่ไม่น่าพอใจก็ยังสมานไมตรีกลมเกลียวอยู่ ปรองดองกันอยู่ได้ นี้เรียกว่า
บุคคลที่เปรียบเหมือนรอยขีดที่น้ำ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
เลขสูตรที่ ๑๐ จบ
กุสินารวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุสินารสูตร ๒. ภัณฑนสูตร
๓. โคตมกเจติยสูตร ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
๕. หัตถกสูตร ๖. กฏุวิยสูตร
๗. ปฐมอนุรุทธสูตร ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
๙. ปฏิจฉันนสูตร ๑๐. เลขสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑. โยธาชีวสูตร

๔. โยธาชีววรรค
หมวดว่าด้วยนักรบอาชีพ
๑. โยธาชีวสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของนักรบ
[๑๓๔] นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา
เหมาะแก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
นักรบอาชีพในโลกนี้
๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด
๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
นักรบอาชีพประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้ ย่อมคู่ควรแก่พระราชา เหมาะ
แก่พระราชา ถึงการนับว่าเป็นราชองครักษ์โดยแท้ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ยิงลูกศรได้ไกล ๒. ยิงไม่พลาด
๓. ทำลายกายขนาดใหญ่ได้
ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๒. ปริสาสูตร
ไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็นสัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” พิจารณาเห็น
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
พิจารณาเห็นวิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตัวตนของเรา” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุยิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย(เหตุ
เกิดทุกข์) นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์)” ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกาย
ขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท
[๑๓๕] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้
บริษัท ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๔. อุปปาทาสูตร
๑. บริษัทที่แนะนำยาก ๒. บริษัทที่แนะนำง่าย
๓. บริษัทที่แนะนำแต่พอประมาณก็รู้ได้
ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวกนี้แล
ปริสาสูตรที่ ๒ จบ

๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของมิตรแท้
[๑๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการควรคบหาได้
องค์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ๒. ช่วยทำสิ่งที่ทำได้ยาก
๓. อดทนต่อสิ่งที่ทนได้ยาก
ภิกษุทั้งหลาย มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แลควรคบหาได้
มิตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุปปาทาสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งพระตถาคต
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความ
ตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุ
นั้นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิด
ขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่
อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึง
บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ทุกข์” ตถาคตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุนั้นคือความตั้งอยู่ตามธรรมดา
ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น ตถาคตรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า “ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา” ครั้นรู้ บรรลุแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”
อุปปาทาสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๕. เกสกัมพลสูตร

๕. เกสกัมพลสูตร
ว่าด้วยวาทะของมักขลิเปรียบเหมือนผ้ากัมพลทอด้วยผมคน
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน บัณฑิตเรียกว่า เลวกว่าผ้า
ที่ช่างหูกทอแล้วทุกชนิด ผ้ากัมพลทอด้วยผมคน ในฤดูหนาวก็เย็น ในฤดูร้อนก็ร้อน
สีไม่สวย มีกลิ่นเหม็น เนื้อผ้าไม่อ่อนนุ่ม แม้ฉันใด วาทะ๑ของเจ้าลัทธิชื่อมักขลิก็
ฉันนั้นเหมือนกัน บัณฑิตกล่าวว่าเลวกว่าวาทะของสมณะทุกจำพวก
มักขลิเป็นโมฆบุรุษ(คนไร้ค่า)มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “กรรมไม่มี
กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี” ตลอดอดีตกาลอันยาวนาน แม้พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆ
บุรุษชื่อมักขลิกลับคัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี
ความเพียรไม่มี” แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จักมีในอนาคตก็จัก
ตรัสเรื่องกรรม ตรัสเรื่องกิริยา และตรัสเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิกลับ
คัดค้านพระผู้มีพระภาคแม้เหล่านั้นว่า “กรรมไม่มี กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี”
แม้เราที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ยังกล่าวเรื่องกรรม กล่าวเรื่อง
กิริยา กล่าวเรื่องความเพียร โมฆบุรุษชื่อมักขลิก็คัดค้านแม้เราว่า “กรรมไม่มี
กิริยาไม่มี ความเพียรไม่มี”
ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษชื่อมักขลิเป็นเหมือนไซดักมนุษย์ เกิดขึ้นมาในโลก
เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความฉิบหาย เพื่อความพินาศของสัตว์เป็นจำนวนมาก
เปรียบเหมือนบุคคลพึงวางไซดักปลาไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความฉิบหาย เพื่อความพินาศของปลาเป็นจำนวนมาก
เกสกัมพลสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้
สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ ๖ จบ

๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยวุฑฒิ
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ ๓ ประการนี้
วุฑฒิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศรัทธา)
๒. สีลวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศีล)
๓. ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย วุฒิ ๓ ประการนี้แล
วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อัสสขลุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก และคนกระจอก ๓
จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร
ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสี
สัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์๑ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ๒ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม
และอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม
และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา
เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย
เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขลุงกสูตรที่ ๘ จบ

๙. อัสสสทัสสสูตร
ว่าด้วยม้าดีและคนดี
[๑๔๒] เราจักแสดงม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร
ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล
คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่านี้
เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบ
ไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาวน์ของเขาและเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน
ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูง
และความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน
ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล
อัสสสทัสสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษ
อาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้
ฯลฯ๑
๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วย
สีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
ฯลฯ
๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา
เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็น
วรรณะของเขา เขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เรา
กล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสาชานียสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค ๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร

๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๑
[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพาชการาม ชื่อ
โมรนิวาปะ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความสำเร็จสูงสุด
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นของพระอเสขะ
๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นของพระอเสขะ
๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นของพระอเสขะ
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๒
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๔. โยธาชีววรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทุติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยอารามปริพาชกชื่อโมรนิวาปะ สูตรที่ ๓
[๑๔๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการย่อมมีความ
สำเร็จสูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุด
แห่งที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ)
๓. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมมีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ลุล่วงถึงที่สุด และถึงที่สุดแห่งที่สุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ตติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๓ จบ
โยธาชีววรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยธาชีวสูตร ๒. ปริสาสูตร
๓. มิตตสูตร ๔. อุปปาทาสูตร
๕. เกสกัมพลสูตร ๖. สัมปทาสูตร
๗. วุฑฒิสูตร ๘. อัสสขลุงกสูตร
๙. อัสสสทัสสสูตร ๑๐. อัสสาชานียสูตร
๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร ๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร
๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๒. สาวัชชสูตร

๕. มังคลวรรค
หมวดว่าด้วยมงคล

๑. อกุสลสูตร
ว่าด้วยอกุศลกรรมเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓
ประการย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรม (การกระทำทางกาย) ฝ่ายอกุศล
๒. วจีกรรม (การกระทำทางวาจา) ฝ่ายอกุศล
๓. มโนกรรม (การกระทำทางใจ) ฝ่ายอกุศล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมฝ่ายกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายกุศล
๓. มโนกรรมฝ่ายกุศล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้
รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อกุสลสูตรที่ ๑ จบ

๒. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยกรรมที่มีโทษเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๔. อสุจิสูตร
๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
ฯลฯ
สาวัชชสูตรที่ ๒ จบ

๓. วิสมสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
วิสมสูตรที่ ๓ จบ

๔. อสุจิสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่สะอาดเป็นเหตุให้ตกนรก
[๑๕๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่สะอาด ๒. วจีกรรมที่ไม่สะอาด
๓. มโนกรรมที่ไม่สะอาด
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๕. ปฐมขตสูตร
๑. กายกรรมที่สะอาด ๒. วจีกรรมที่สะอาด
๓. มโนกรรมที่สะอาด
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อสุจิสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๑
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียน และประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมฝ่ายอกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายอกุศล
๓. มโนกรรมฝ่ายอกุศล
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายกรรมฝ่ายกุศล ๒. วจีกรรมฝ่ายกุศล
๓. มโนกรรมฝ่ายกุศล
ฯลฯ
ปฐมขตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๘. จตุตถขตสูตร

๖. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๒
[๑๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่มีโทษ
ฯลฯ
๑ กายกรรมที่ไม่มีโทษ ๒. วจีกรรมที่ไม่มีโทษ
๓. มโนกรรมที่ไม่มีโทษ
ฯลฯ
ทุติยขตสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๓
[๑๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ
๑. กายกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่สม่ำเสมอ ๒. วจีกรรมที่สม่ำเสมอ
๓. มโนกรรมที่สม่ำเสมอ
ฯลฯ
ตติยขตสูตรที่ ๗ จบ

๘. จตุตถขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลาย สูตรที่ ๔
[๑๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค ๑๐. ปุพพัณหสูตร
๑. กายกรรมที่ไม่สะอาด ๒. วจีกรรมที่ไม่สะอาด
๓. มโนกรรมที่ไม่สะอาด
ฯลฯ
๑. กายกรรมที่สะอาด ๒. วจีกรรมที่สะอาด
๓. มโนกรรมที่สะอาด
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพบุญเป็นอันมาก
จตุตถขตสูตรที่ ๘ จบ

๙. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการไหว้
[๑๕๕] ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ ประการนี้
การไหว้ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การไหว้ทางกาย ๒. การไหว้ทางวาจา
๓. การไหว้ทางใจ
ภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ ประการนี้แล
วันทนาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วย
กาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ
ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลา
เที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๙๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๕. มังคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ใน
เวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี
ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล
กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา๑ วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา
สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข
งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค
ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล
ปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ จบ
มังคลวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อกุสลสูตร ๒. สาวัชชสูตร
๓. วิสมสูตร ๔. อสุจิสูตร
๕. ปฐมขตสูตร ๖. ทุติยขตสูตร
๗. ตติยขตสูตร ๘. จตุตถขตสูตร
๙. วันทนาสูตร ๑๐. ปุพพัณหสูตร

ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๖. อเจลกวรรค

๖. อเจลกวรรค
หมวดว่าด้วยคนเปลือย

ว่าด้วยปฏิปทา ๓ อย่าง
[๑๕๗-๑๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการ
ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
๓. ปฏิปทาอย่างกลาง
ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โทษในกามทั้งหลาย
ไม่มี” เขาย่อมตกเป็นเหยื่อในกามทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ
ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร
คือ คนเปลือยบางคนในโลกนี้ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา๑ก็ไม่มา
เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาเจาะจงทำไว้
ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม
ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาที่คนสอง
คนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม
ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียคน ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่
ที่รับเลี้ยงดูลูกสุนัข ไม่รับภิกษาในที่แมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาเฉพาะที่เรือนหลังเดียว เยียว
ยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ
ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ เยียวยาอัตภาพ
ด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๖. อเจลกวรรค (๑. สติปัฏฐานสูตร)
ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วัน
เดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๒ วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้เจ็ดวันบ้าง
เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้อยู่
คนเปลือยนั้นกินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูก
เดือยเป็นอาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยาง๑เป็นอาหารบ้าง กินรำ
เป็นอาหารบ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็น
อาหารบ้าง กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กิน
ผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้า
ห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่ม
หนังเสือที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่ม
ผ้าผลไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขน
สัตว์ร้ายบ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบ
การถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ
ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง
อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย
ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวมานี้อยู่
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
(๑. สติปัฏฐานสูตร)
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณา
เห็นจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๖. อเจลกวรรค (๓. อิทธิปาทสูตร)

(๒. สัมมัปปธานสูตร)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้
ปฏิปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิปทาอย่างหยาบ ๒. ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
๓. ปฏิปทาอย่างกลาง
ปฏิปทาอย่างหยาบ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างหยาบ
ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ เป็นอย่างไร
ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างเหี้ยมหาญ
ปฏิปทาอย่างกลาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น๑เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น สร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว สร้างฉันทะ
พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่
ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
(๓. อิทธิปาทสูตร)
ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจาก
ฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธาน-
สังขาร(สมาธิที่เกิดจากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากจิตตะและความเพียรสร้างสรรค์) เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร(สมาธิที่เกิดจากวีมังสาและความ
เพียรสร้างสรรค์) ฯลฯ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๖. อเจลกวรรค (๗. มัคคสูตร)

(๔. อินทริยสูตร)
เจริญสัทธินทรีย์ เจริญวีริยินทรีย์ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญ
ปัญญินทรีย์ ฯลฯ
(๕. พลสูตร)
เจริญสัทธาพละ เจริญวีริยพละ เจริญสติพละ เจริญสมาธิพละ เจริญ
ปัญญาพละ ฯลฯ
(๖. สัมโพชฌังคสูตร)
เจริญสติสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) เจริญ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) เจริญวีริย-
สัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) เจริญปีติสัมโพชฌงค์(ธรรม
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่ง
การตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ
ความวางใจเป็นกลาง) ฯลฯ
(๗. มัคคสูตร)
เจริญสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เจริญสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) เจริญสัมมาวาจา
(เจรจาชอบ) เจริญสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) เจริญสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
เจริญสัมมาวายามะ(พยายามชอบ) เจริญสัมมาสติ(ระลึกชอบ) เจริญสัมมาสมาธิ
(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอย่างกลาง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ ประการนี้แล
อเจลกวรรคที่ ๖ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๑. ปาณ - อปาณสูตร)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สติปัฏฐานสูตร ๒. สัมมัปปธานสูตร
๓. อิทธิปาทสูตร ๔. อินทริยสูตร
๕. พลสูตร ๖. สัมโพชฌังคสูตร
๗. มัคคสูตร

๗. กัมมปถเปยยาล
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีหลายนัย

(๑. ปาณ - อปาณสูตร)
[๑๖๔-๑๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)

(๒. อทินนาทาน - อนทินนาทานสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
ฯลฯ
(๓. มิจฉา - สัมมาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๓. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ฯลฯ
(๔. มุสาวาที - อมุสาวาทีสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)

(๕. ปิสุณา - อปิสุณาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
ฯลฯ
(๖. ผรุส - อผรุสสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
ฯลฯ
(๗. สัมผัปปลาป - อสัมผัปปลาปสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๓. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๔๐๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
๗. กัมมปถเปยยาล (๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)

(๘. อภิชฌา - อนภิชฌาสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ฯลฯ
(๙. พยาปาท - อัพยาปาทสูตร)
๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๒. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๓. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
ฯลฯ
(๑๐. มิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิสูตร)
๑. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ฯลฯ
๑. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ ๒. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
กัมมปถเปยยาลที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๘. ราคเปยยาล

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ปาณ-อปาณสูตร ๒. อทินนาทาน-อนทินนาทานสูตร
๓. มิจฉา-สัมมาสูตร ๔. มุสาวาที-อมุสาวาทีสูตร
๕. ปิสุณา-อปิสุณาสูตร ๖. ผรุส-อผรุสสูตร
๗. สัมผัปปลาป-อสัมผัปปลาปสูตร ๘. อภิชฌา-อนภิชฌาสูตร
๙. พยาปาท-อพยาปาทสูตร ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ-สัมมาทิฏฐิสูตร

๘. ราคเปยยาล
[๑๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง)
๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สวิตักกสวิจารสมาธิ(สมาธิที่มีวิตกวิจาร)
๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
๓. อวิตักกอวิจารสมาธิ(สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร)
บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แลเพื่อรู้ยิ่งราคะ] ๑

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล
เพื่อกำหนดรู้ราคะ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้น
ไปแห่งราคะ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ... เพื่อ
ความดับไปแห่งราคะ... เพื่อสละราคะ ... เพื่อสละคืนราคะ บุคคลควรเจริญธรรม
๓ ประการนี้
เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)... เพื่อกำหนดรู้โทสะ... เพื่อความสิ้นโทสะ...
เพื่อละโทสะ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ... เพื่อความ
คลายไปแห่งโทสะ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ... เพื่อความสละโทสะ... เพื่อความ
สละคืนโทสะ... โมหะ(ความหลง)... โกธะ(ความโกรธ)... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)...
มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน)... ปลาสะ(ความตีเสมอ)... อิสสา (ความริษยา)...
มัจฉริยะ(ความตระหนี่)... มายา(มารยา)... สาเถยยะ(ความโอ้อวด)...
ถัมภะ(ความหัวดื้อ)... สารัมภะ(ความแข่งดี)... มานะ(ความถือตัว)... อติมานะ
(ความดูหมิ่นเขา)... มทะ(ความมัวเมา)... ปมาทะ(ความประมาท)...
บุคคลควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้

[เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค]

ราคเปยยาลที่ ๘ จบ
รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ราคะ ๒. โทสะ
๓. โมหะ ๔. โกธะ
๕. อุปนาหะ ๖. มักขะ
๗. ปลาสะ ๘. อิสสา
๙. มัจฉริยะ ๑๐. มายา
๑๑. สาเถยยะ ๑๒. ถัมภะ
๑๓. สารัมภะ ๑๔. มานะ
๑๕. อติมานะ ๑๖. มทะ
๑๗. ปมาทะ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]
รวมธรรมที่มีในราคเปยยาล
ธรรมเหล่านี้อยู่ในราคเปยยาล พระผู้มีพระภาคตรัสโดยเทียบเคียงกับ
โอปัมมสูตร ทรงประสงค์ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ คือ อภิญญา(รู้ยิ่ง)
ปริญญา(การกำหนดรู้) ปริกขยา(ความสิ้น) ปหานะ(การละ) ขยะ(ความสิ้นไป)
วยะ(ความเสื่อมไป) วิราคะ(ความคลายไป) นิโรธะ(ความดับไป) จาคะ(ความสละ)
ปฏินิสสัคคะ(ความสละคืน) และทรงกำหนดธรรม ๓ ประการ คือ (๑) สุญญตะ
(ความว่าง) (๒) อนิมิตตะ(ธรรมไม่มีนิมิต) (๓) อัปปณิหิตะ(ธรรมไม่มีความ
ตั้งปรารถนา) มีสมาธิเป็นมูล แม้ในเปยยาลทั้งหมดแล
ติกนิบาต จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น