Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๒-๘ หน้า ๓๗๗ - ๔๓๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๕. อนุกัมปสูตร
๕. อนุกัมปสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุอนุเคราะห์คฤหัสถ์
[๒๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
อนุเคราะห์คฤหัสถ์ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ให้คฤหัสถ์สมาทานอธิศีล๑
๒. ให้คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในการเห็นธรรม๒
๓. เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้เป็นไข้ให้สติว่า ‘ท่านทั้งหลายจงตั้งสติไว้ต่อพระ
รัตนตรัยที่ควรแก่สักการะ’ และเมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง
หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึง เธอเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจากต่าง
แคว้นเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวกท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่
จะทำบุญ’
๔. ฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์นำมาถวาย จะเลวหรือประณีตก็ตาม
ด้วยตนเอง
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม
อนุเคราะห์คฤหัสถ์ได้
อนุกัมปสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๕/๙๒)
๒ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๓๕/๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๑
[๒๓๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๔. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมอวัณณารหสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๗. ทุติยอวัณณารหสูตร
๗. ทุติยอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๒
[๒๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส หวงแหนอาวาส
๔. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล หวงแหนตระกูล
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส ไม่หวงแหนอาวาส
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล ไม่หวงแหนตระกูล
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยอวัณณารหสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๘. ตติยอวัณณารหสูตร
๘. ตติยอวัณณารหสูตร
ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ ๓
[๒๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๔. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๕. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว ติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว สรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ตติยอวัณณารหสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๙. ปฐมมัจฉริยสูตร
๙. ปฐมมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ ๑
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ
๕. ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค ๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมมัจฉริยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ ๒
[๒๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
ดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๔. อาวาสิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุเจ้าอาวาส
๑. เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส
๒. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ตระกูล
๓. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ลาภ
๔. เป็นผู้ไม่ตระหนี่วรรณะ
๕. เป็นผู้ไม่ตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรง
อยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยมัจฉริยสูตรที่ ๑๐ จบ
อาวาสิกวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวาสิกสูตร ๒. ปิยสูตร
๓. โสภณสูตร ๔. พหูปการสูตร
๕. อนุกัมปสูตร ๖. ปฐมอวัณณารหสูตร
๗. ทุติยอวัณณารหสูตร ๘. ตติยอวัณณารหสูตร
๙. ปฐมมัจฉริยสูตร ๑๐. ทุติยมัจฉริยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๑. ปฐมทุจจริตสูตร
๕. ทุจจริตวรรค
หมวดว่าด้วยทุจริต
๑. ปฐมทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมทุจจริตสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร
ว่าด้วยกายทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๒] ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย กายสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ปฐมกายทุจจริตที่ ๒ จบ
๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร
ว่าด้วยวจีทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๓] ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต มีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ปฐมวจีทุจจริตที่ ๓ จบ
๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
ว่าด้วยมโนทุจริต สูตรที่ ๑
[๒๔๔] ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๕. ทุติยทุจจริตสูตร
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. ไม่หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ปฐมมโนทุจจริตสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทุติยทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. เสื่อมจากสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๑
ภิกษุทั้งหลาย ทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
อสัทธรรม หมายถึง อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๔๑-๒๔๘/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. เสื่อมจากอสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยทุจจริตสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร
ว่าด้วยกายทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย กายสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ทุติยกายทุจจริตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร
ว่าด้วยวจีทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
ฯลฯ
ทุติยวจีทุจจริตสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
ว่าด้วยมโนทุจริต สูตรที่ ๒
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียน
๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔. เสื่อมจากสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย มโนทุจริตมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้
๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันงามย่อมขจรไป
๔. เสื่อมจากอสัทธรรม
๕. ตั้งอยู่ในสัทธรรม
ภิกษุทั้งหลาย มโนสุจริตมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล
ทุติยมโนทุจจริตสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๙. สีวถิกสูตร
๙. สีวถิกสูตร
ว่าด้วยป่าช้า
[๒๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการ
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่สะอาด
๒. มีกลิ่นเหม็น
๓. มีภัย
๔. เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย
๕. เป็นที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย ป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้าก็มีโทษ ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะ
เขาเป็นคนไม่สะอาด เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่ไม่สะอาด
๒. กิตติศัพท์อันชั่วของเขาผู้ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
วจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมกระฉ่อนไป
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นคนมีกลิ่นเหม็น เรากล่าวว่าบุคคลนี้
เป็นเหมือนป่าช้าที่มีกลิ่นเหม็น
๓. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักย่อมเว้นห่างไกลบุคคลผู้
ประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบ
มโนกรรมที่ไม่สะอาด เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขามีภัย เรากล่าวว่า
บุคคลนี้เป็นเหมือนป่าช้าที่มีภัย
๔. เขาประกอบกายกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด
ประกอบมโนกรรมที่ไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกันกับบุคคลที่เหมือนกัน
เรากล่าวอย่างนี้เพราะเขาเป็นที่อยู่ที่ดุร้าย เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็น
เหมือนที่อยู่ของอมนุษย์ดุร้าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร
๕. เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักเห็นเขาประกอบกายกรรม
ที่ไม่สะอาด ประกอบวจีกรรมที่ไม่สะอาด ประกอบมโนกรรมที่ไม่
สะอาดแล้ว ย่อมถึงกับหมดอาลัยเป็นธรรมดาว่า ‘โอ เป็นทุกข์จริง
หนอสำหรับเราผู้จำต้องอยู่ร่วมกับบุคคลเช่นนี้’ เรากล่าวอย่างนี้
เพราะเขาเป็นที่คร่ำครวญ เรากล่าวว่าบุคคลนี้เป็นหมือนป่าช้าเป็น
ที่คร่ำครวญของคนจำนวนมาก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้ามีโทษ ๕ ประการนี้แล
สีวถิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร
ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล
[๒๕๐] ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้
โทษ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร มีความ
คิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์ยกวัตร
เสียแล้ว’ จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใสในภิกษุ
ทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟัง
สัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของ
ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ต้องอาบัติเป็นเหตุให้สงฆ์สั่งให้เขานั่งท้าย๑
มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ถูกสงฆ์
สั่งให้นั่งท้ายเสียแล้ว‘จึงไม่เลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่เลื่อมใส
ในภิกษุทั้งหลาย จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็น
โทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๒

เชิงอรรถ :
๑ ท้าย หมายถึงอาสนะสุดท้ายของสงฆ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๕๐/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๕. ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๓. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่หลีกไปสู่ทิศ มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคล
ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้หลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๓
๔. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ลาสิกขา มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ลาสิกขาไปแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุ
เหล่าอื่น เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง
สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิด
ขึ้นเฉพาะบุคคลประการที่ ๔
๕. บุคคลผู้เลื่อมใสในบุคคลที่ตายแล้ว มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘บุคคลผู้
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของเรานี้ได้ตายเสียแล้ว’ จึงไม่คบภิกษุเหล่าอื่น
เมื่อไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม
จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษของความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะ
บุคคลประการที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล มีโทษ ๕ ประการนี้แล
ปุคคลัปปสาทสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุจจริตวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทุจจริตสูตร ๒. ปฐมกายทุจจริตสูตร
๓. ปฐมวจีทุจจริตสูตร ๔. ปฐมมโนทุจจริตสูตร
๕. ทุติยทุจจริตสูตร ๖. ทุติยกายทุจจริตสูตร
๗. ทุติยวจีทุจจริตสูตร ๘. ทุติยมโนทุจจริตสูตร
๙. สีวถิกสูตร ๑๐. ปุคคลัปปสาทสูตร

ปัญจมปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร
๖. อุปสัมปทาวรรค
หมวดว่าด้วยการอุปสมบท
๑. อุปสัมปาเทตัพพสูตร๑
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ๒
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๓ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตร
อุปสมบทได้
อุปสัมปาเทตัพพสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๒๕๑-๒๕๓ ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๘๔/๑๒๓
๒ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ ได้แก่ พระอรหันต์ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, องฺ.ทสก.อ.
๓/๑๒/๓๒๐)
๓ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงกองแห่งวิมุตติญาณทัสสนะเป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า
วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุ
มรรคผลด้วยมรรคญาณและผลญาณ เพื่อพิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้ง
พิจารณานิพพาน จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็นโลกุตตระ (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘, องฺ.ติก.อ.
๒/๕๘/๑๖๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๓. สามเณรสูตร
๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้นิสสัย
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสสัยได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ฯลฯ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้นิสสัยได้
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ
๓. สามเณรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้สามเณรอุปัฏฐาก
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ฯลฯ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้
สามเณรสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๕. มัจฉริยปหานสูตร
๔. ปัญจมัจฉริยสูตร
ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ
[๒๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้
ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล บรรดาความตระหนี่ ๕
ประการนี้ ความตระหนี่ธรรมน่าเกลียดที่สุด
ปัญจมัจฉริยสูตรที่ ๔ จบ
๕. มัจฉริยปหานสูตร
ว่าด้วยการละความตระหนี่
[๒๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่ง
ความตระหนี่ ๕ ประการ
ความตระหนี่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดซึ่งความตระหนี่
๕ ประการนี้แล
มัจฉริยปหานสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๖. ปฐมฌานสูตร
๖. ปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน
[๒๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส
๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ
๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ปฐมฌานสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
๗-๑๓. ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ
ว่าด้วยสูตร ๗ สูตร มีทุติยฌานสูตรเป็นต้น
[๒๕๗ - ๒๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจ
บรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
โสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌาน
อยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ
สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความตระหนี่ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตต-
ผลได้
ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกที่ ๗-๑๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
๑๔. อปรปฐมฌานสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุ
ปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌานอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
อปรปฐมฌานสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ว่าด้วยทุติยฌานสูตรเป็นต้น อีกนัยหนึ่ง
[๒๖๕ - ๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๕
ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้ ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
ก็ไม่อาจทำให้รู้แจ้งโสดาปัตติผลได้ ฯลฯ สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ
ก็ไม่อาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๖. อุปสัมปทาวรรค ๑๕-๒๑. อปรทุติยฌานสุตตาทิ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจบรรลุปฐมฌาน
อยู่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการได้แล้ว จึงอาจบรรลุทุติยฌานอยู่ได้
ฯลฯ จึงอาจทำให้แจ้งอรหัตตผลได้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความตระหนี่อาวาส ๒. ความตระหนี่ตระกูล
๓. ความตระหนี่ลาภ ๔. ความตระหนี่วรรณะ
๕. ความอกตัญญู ความอกตเวที
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้ง
อรหัตตผลได้
อปรทุติยฌานสุตตาทิที่ ๑๕-๒๑ จบ
อุปสัมปทาวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร
๑. สัมมุติเปยยาล
๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ว่าด้วยภิกษุภัตตุทเทสกะ๑
[๒๗๒] พระผู้มีพระภาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสกะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ลำเอียงเพราะชอบ
๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะหลง
๔. ลำเอียงเพราะกลัว
๕. ไม่รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้
เป็นภัตตุทเทสกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก

เชิงอรรถ :
๑ ภัตตุทเทสกะ แปลว่า ผู้แจกภัตตาหาร หมายถึงภิกษุผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดพระรับ
ภัตตาหาร ดูเทียบในวิ.มหา. (แปล) ๑/๓๘๐-๓๘๓/๔๑๒-๔๑๕, วิ.จู. ๖/๑๘๙-๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕, องฺ.จตุกฺก.
(แปล) ๒๑/๒๐/๓๑-๓๒, วิ.อ. ๓/๓๒๕/๓๕๗-๓๖๗ ประกอบ
๒ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๔๒/๒๐๓ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๓๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๑. ภัตตุทเทสกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็น
ภัตตุทเทสกะ ถึงแต่งตั้งแล้ว ก็ไม่พึงส่งไป๑ ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้ว พึงส่งไป ฯลฯ
พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด
ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไป
ประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักภัตตาหารที่แจกแล้วและภัตตาหารที่ยังมิได้แจก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่พึงส่งไป ในที่นี้หมายถึงไม่พึงให้จัดการเรื่องกิจนิมนต์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุเสนาสนปัญญาปกะ๑เป็นต้น
[๒๗๓ - ๒๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง
แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะ
ที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ รู้จักเสนาสนะ
ที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ๒ ฯลฯ ไม่รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้ว
และเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ฯลฯ
รู้จักเสนาสนะที่จัดแจงแล้วและเสนาสนะที่ยังมิได้จัดแจง ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ๓ ฯลฯ ไม่รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้วและภัณฑะ
ที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นภัณฑาคาริกะ ฯลฯ รู้จักภัณฑะที่เก็บแล้ว
และภัณฑะที่ยังมิได้เก็บ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ๔ ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่รับไว้แล้วและจีวร
ที่ยังมิได้รับไว้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่ได้รับแล้ว
และจีวรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ๕ ฯลฯ ไม่รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่ยัง
มิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นจีวรภาชกะ ฯลฯ รู้จักจีวรที่แจกแล้วและจีวรที่
ยังไม่ได้แจก ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เสนาสนปัญญาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ ดู วิ.จู. ๖/๑๘๙-
๑๙๒/๒๒๒-๒๒๕ ประกอบ
๒ เสนาสนคาหาปกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ(ตามนัย วิ.อ. ๓/
๓๑๘/๒๒๘-๓๔๑)
๓ ภัณฑาคาริกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๔
๔ จีวรปฏิคคาหกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๒/๑๔๓
๕ จีวรภาชกะ หมายถึงภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร ดู วิ.ม. ๕/๓๔๓/๑๔๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๑. สัมมุติเปยยาล ๒-๑๔. เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นยาคุภาชกะ(ผู้แจกข้าวต้ม) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ยาคุภาชกะ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นผลภาชกะ (ผู้แจกผลไม้) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
ผลภาชกะ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ (ผู้แจกของขบฉัน) ฯลฯ ไม่รู้จักของขบฉัน
ที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นขัชชกภาชกะ ฯลฯ
รู้จักของขบฉันที่แจกแล้วและของขบฉันที่ยังมิได้แจก ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ (ผู้แจกของเล็กน้อย) ฯลฯ ไม่รู้จัก
ของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็น
อัปปมัตตกวิสัชชกะ ฯลฯ รู้จักของเล็กน้อยที่แจกแล้วและของเล็กน้อยที่ยังมิได้แจก
ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ (ผู้ให้รับผ้าสาฎก) ฯลฯ ไม่รู้จักผ้า
สาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ
ฯลฯ รู้จักผ้าสาฎกที่รับแล้วและผ้าสาฎกที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ (ผู้ให้รับบาตร) ฯลฯ ไม่รู้จักบาตรที่รับ
แล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นปัตตคาหาปกะ ฯลฯ รู้จักบาตร
ที่รับแล้วและบาตรที่ยังมิได้รับ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ (ผู้ใช้คนวัด) ฯลฯ ไม่รู้จักคนวัดที่ใช้แล้ว
และคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้งให้เป็นอารามเปสกะ ฯลฯ รู้จักคนวัดที่ใช้
แล้วและคนวัดที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ
สงฆ์ไม่พึงแต่งตั้งให้เป็นสามเณรเปสกะ (ผู้ใช้สามเณร) ฯลฯ สงฆ์พึงแต่งตั้ง
ให้เป็นสามเณรเปสกะ ฯลฯ ถึงแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงส่งไป ฯลฯ สงฆ์แต่งตั้งแล้วพึง
ส่งไป พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ บริหารตนให้ถูกกำจัด
ถูกทำลาย ฯลฯ บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ฯลฯ ไม่รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้ ฯลฯ
ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๑. ภิกขุสูตร
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๔. ไม่ลำเอียงเพราะหลง
๕. รู้จักสามเณรที่ใช้แล้วและสามเณรที่ยังมิได้ใช้
ภิกษุผู้เป็นสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิที่ ๒-๑๔ จบ
สัมมุติเปยยาล จบ
๒. สิกขาปทเปยยาล
๑. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุ
[๒๘๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุสูตรที่ ๑ จบ
๒-๗. ภิกขุนีสุตตาทิ
ว่าด้วยภิกษุณีเป็นต้น
[๒๘๗ - ๒๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ
สิกขมานา ฯลฯ สามเณร ฯลฯ สามเณรี ฯลฯ อุบาสก ฯลฯ อุบาสิกาประกอบ
ด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๘. อาชีวกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ภิกขุนีสุตตาทิที่ ๒-๗ จบ
๘. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยอาชีวก
[๒๙๓] ภิกษุทั้งหลาย อาชีวก๑ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝั่งไว้
อาชีวกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงนักบวชเปลือย (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒. สิกขาปทเปยยาล ๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
๙-๑๗. นิคัณฐสุตตาทิ
ว่าด้วยนิครนถ์เป็นต้น
[๒๙๔ - ๓๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์๑ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฯลฯ
มุณฑสาวก๒ ฯลฯ ชฏิลกะ๓ ฯลฯ ปริพาชก๔ ฯลฯ มาคัณฑิกะ๕ ฯลฯ เตคัณฑิกะ ฯลฯ
อารุทธกะ ฯลฯ โคตมกะ ฯลฯ เทวธัมมิกะ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูก
นำไปฝังไว้
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย เทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
นิคัณฐสุตตาทิที่ ๙-๑๗ จบ
สิกขาปทเปยยาล จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิครนถ์ หมายถึงปริพาชกผู้นุ่งผ้าปกปิดเฉพาะอวัยวะส่วนหน้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๒ มุณฑสาวก หมายถึงสาวกของพวกนิครนถ์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๓ ชฏิลกะ หมายถึงดาบส (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๔ ปริพาชก หมายถึงนักบวชผู้นุ่งผ้า (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)
๕ มาคัณฑิกะ เตคัณฑิกะ อารุทธกะ โคตมกะ เทวธัมมิกะ หมายถึงพวกเดียรถีย์ คือนักบวชผู้ถือลัทธิ
นอกพระพุทธศาสนา (วิ.อ. ๓/๑๓๒/๑๐๕, องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๙๓-๓๐๒/๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล
๓. ราคเปยยาล
[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด)
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา
๓. อาทีนวสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา
๓. มรณสัญญา ๔. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๕. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๕] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ๔. ปหานสัญญา
๕. วิราคสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล
[๓๐๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ ๒. วิริยินทรีย์
๓. สตินทรีย์ ๔. สมาธินทรีย์
๕. ปัญญินทรีย์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
[๓๐๘ - ๑๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อ
กำหนดรู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้
... โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ...
อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ (ความตีเสมอ)
... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (มารยา) ... สาเถยยะ
(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว)
... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ...
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ ๒. วีริยพละ
๓. สติพละ ๔. สมาธิพละ
๕. ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๕ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
ราคเปยยาล จบ
รวมธรรมที่มีในเปยยาลนี้ คือ
ธรรม ๑๐ ประการนี้ คือ

๑. อภิญญา (ความรู้ยิ่ง) ๒. ปริญญา (การกำหนดรู้)
๓. ปริกขยา (ความสิ้น) ๔. ปหานะ (การละ)
๕. ขยะ (ความสิ้นไป) ๖. วยะ (ความเสื่อมไป)
๗. วิราคะ (ความคลายไป) ๘. นิโรธะ (ความดับไป)
๙. จาคะ (ความสละ) ๑๐. ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืน)

ปัญจกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๓. ราคเปยยาล รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาต
รวมวรรคที่มีในปัญจกนิบาตนี้ คือ

๑. เสขพลวรรค ๒. พลวรรค
๓. ปัญจังคิกวรรค ๔. สุมนวรรค
๕. มุณฑราชวรรค ๖. นีวรณวรรค
๗. สัญญาวรรค ๘. โยธาชีววรรค
๙. เถรวรรค ๑๐. กกุธวรรค
๑๑. ผาสุวิหารวรรค ๑๒. อันธกวินทวรรค
๑๓. คิลานวรรค ๑๔. ราชวรรค
๑๕. ติกัณฑกีวรรค ๑๖. สัทธัมมวรรค
๑๗. อาฆาตวรรค ๑๘. อุปาสกวรรค
๑๙. อรัญญวรรค ๒๐. พราหมณวรรค
๒๑. กิมพิลวรรค ๒๒. อักโกสกวรรค
๒๓. ทีฆจาริกวรรค ๒๔. อาวาสิกวรรค
๒๕. ทุจริตวรรค ๒๖. อุปสัมปทาวรรค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อาหุเนยยวรรค
หมวดว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล
๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๑
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ๑ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
๒. ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำ
มาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
ปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร๒
ว่าด้วยพระอาหุไนยบุคคล สูตรที่ ๒
[๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ดีใจ หมายถึงไม่กำหนัดยินดีในอิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)
ไม่เสียใจ หมายถึงไม่ขัดเคืองในอนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) สูตรนี้ทรงตรัสถึงธรรมที่เป็น
คุณสมบัติของพระขีณาสพ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑/๙๓)
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๕๖/๒๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
ทะลุฝากำแพง และภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น
หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๒. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
๓. กำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็
รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้
ว่ามีโทสะ หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า
มีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า
หดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ
หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่ามี
จิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุด
พ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
๔. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง
๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
สุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติ
อย่างนี้
๕. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ
ไม่งาม๑ เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด ชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต
วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด
ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ งาม ในที่นี้หมายถึงมีผิวพรรณที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นผลแห่งความไม่มีโทสะ
ไม่งาม ในที่นี้หมายถึงมีผิวพรรณไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เป็นผลแห่งโทสะ (วิ.อ. ๑/๑๓/ ๑๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๔. พลสูตร
๓. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์
[๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก
อินทริยสูตรที่ ๓ จบ
๔. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา)
๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
๓. สติพละ (กำลังคือสติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๕. ปฐมอาชานียสูตร
๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๖. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
พลสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์๑ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยสี
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
๑ องค์ ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๕-๗/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๖. ทุติยอาชานียสูตร
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่
เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๒
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยกำลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๗. ตติยอาชานียสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
๒. เป็นผู้อดทนต่อเสียง
๓. เป็นผู้อดทนต่อกลิ่น
๔. เป็นผู้อดทนต่อรส
๕. เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ทุติยอาชานียสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย สูตรที่ ๓
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖
ประการ เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
องค์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้
๑. เป็นสัตว์อดทนต่อรูป
๒. เป็นสัตว์อดทนต่อเสียง
๓. เป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๘. อนุตตริยสูตร
๔. เป็นสัตว์อดทนต่อรส
๕. เป็นสัตว์อดทนต่อโผฏฐัพพะ
๖. เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยเชาว์(ฝีเท้าเร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๖ ประการนี้
เป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้อดทนต่อรูป
ฯลฯ
๖. เป็นผู้อดทนต่อธรรมารมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ตติยอาชานียสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยอนุตตริยะ๑
[๘] ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ(ภาวะอันยอดเยี่ยม) ๖ ประการนี้
อนุตตริยะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
๒. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)

เชิงอรรถ :
๑ อนุตตริยะ หมายถึงภาวะที่ไม่มีสิ่งอื่นยอดเยี่ยมกว่าหรือวิเศษกว่า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ภาวะอันยอดเยี่ยม
นำผลอันวิเศษมาให้ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๘-๙/๙๔, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๙. อนุสสติฎฐานสูตร
๓. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
๔. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
๕. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
๖. อนุสสตานุตตริยะ๑ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)
ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล
อนุตตริยสูตรที่ ๘ จบ
๙. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๒
[๙] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้
อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)

เชิงอรรถ :
๑ การเห็นรูป เช่น เห็นพระทศพล และพระภิกษุสงฆ์ด้วยศรัทธาด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือเห็นอารมณ์
กัมมัฏฐานมีกสิณและอสุภนิมิตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความเจริญใจ จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ
ส่วนการเห็นสิ่งที่มีค่าอื่น ๆ มีช้างแก้ว ม้าแก้ว เป็นต้น หาใช่ทัสสนานุตตริยะไม่
การได้ฟังการพรรณาคุณพระรัตนตรัยด้วยศรัทธา ด้วยความรักที่ตั้งมั่น หรือการได้ฟังพระพุทธพจน์คือ
พระไตรปิฎกจัดเป็น สวนานุตตริยะ ส่วนการฟังการพรรณนาคุณของบุคคอื่นหาใช่สวนานุตตริยะไม่
การได้อริยทรัพย์ ๗ อย่าง จัดเป็น ลาภานุตตริยะ ส่วนการได้แก้วมณีเป็นต้น หาใช่ลาภานุตตริยะไม่
การบำเพ็ญไตรสิกขา (สีล,สมาธิ,ปัญญา) จัดเป็น สิกขานุตตริยะ ส่วนการศึกษาศิลปะอย่างอื่น เช่น
ศิลปะการฝึกช้าง หาใช่สิกขานุตตริยะไม่
การบำรุงพระรัตนตรัย จัดเป็น ปาริจริยานุตตริยะ ส่วนการบำรุงบุคคลอื่น หาใช่ปาริจริยานุตตริยะไม่
การระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยจัดเป็น อนุสสตานุตตริยะ ส่วนการระลึกถึงคุณบุคคลอื่น หาใช่อนุสสตา-
นุตตริยะไม่ ดูรายละเอียดในฉักกนิบาตข้อ ๓๐
อนุตตริยะ ๖ ประการนี้ เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ (องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๘-๙/๙๖,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๘/๑๐๗)
๒ อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน ๓ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/
๑๑๐,๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธ
คุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุ
อรหัตตผล
อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
อนุสสติฏฐานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะมหานามะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว๒ รู้ชัดศาสนาแล้ว๓ ส่วน
มากย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว รู้ชัดศาสนา
แล้ว ส่วนมากย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ มหานามะ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเจ้าศากยะราชโอรสของพระเจ้าอาว์ของพระผู้มีพระภาค (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๒ ผล ในที่นี้หมายถึงอริยผล (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๓ รู้ชัดศาสนาแล้ว หมายถึงรู้แจ้งไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๑๐/๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
๒. อริยสาวกระลึกถึงธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของ
อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรมดำเนินไป
ตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมานุสสติอยู่
๓. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส
บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
อริยบุคคล ๔ คู่คือ ๘ บุคคล๑ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้
เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา
ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้
ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสังฆานุสสติอยู่
๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว
มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้
ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อม
ตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึงความสงบ
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสีลานุสสติอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล ได้แก่ (๑) พระผู้บรรลุโสดาปัตติผล (๒) พระผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค
(๓) พระผู้บรรลุสกทาคามิผล (๔) พระผู้ดำรงอยู่ในสกทาคามิมรรค (๕) พระผู้บรรลุอนาคามิผล
(๖) พระผู้ดำรงอยู่ในอนาคามิมรรค (๗) พระผู้บรรลุอรหัตตผล (๘) พระผู้ดำรงอยู่ในอรหัตตมรรค
(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค ๑๐. มหานามสูตร
๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะ(การสละ) ของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ เมื่อหมู่สัตว์ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม
เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะ
ดำเนินไปตรงที่เดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม
ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิต
ย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้เป็นผู้ถึง
ความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่
ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
จาคานุสสติอยู่
๖. อริยสาวกเจริญเทวตานุสสติว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไป
กว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้
แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทว-
โลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะ
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีสุตะ
เช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว
ไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อาหุเนยยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น’ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภเทวดา
ทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน
ไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์
ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข
เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกนี้
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
เทวตานุสสติอยู่
มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว รู้ชัดศาสนาแล้ว ส่วนมากย่อมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้
มหานามสูตรที่ ๑๐ จบ
อาหุเนยยวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร
๓. อินทริยสูตร ๔. พลสูตร
๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร
๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. อนุตตริยสูตร
๙. อนุสสติฏฐานสูตร ๑๐. มหานามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๑. ปฐมสารณียสูตร
๒. สารณียวรรค
หมวดว่าด้วยสารณียธรรม
๑. ปฐมสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่๑
[๑๑] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้
สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๑ ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๒ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มา
โดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหม-
จารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม

เชิงอรรถ :
๑ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา และเมตตาวจีกรรม เมตตามโน-
กรรมก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗)
๒ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า
“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๑/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร
๖. มีอริยทิฏฐิ๑ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๒เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล
ปฐมสารณียสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยสารณียสูตร
ว่าด้วยสารณียธรรม สูตรที่ ๒
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน สารณียธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ฯลฯ
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยกลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดย
ธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารี

เชิงอรรถ :
๑ อริยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอริยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๑๐๓)
๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก หมายถึงมรรค ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และ
อรหัตตมรรค) ที่ตัดมูลเหตุแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วออกจากวัฏฏะได้ (อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/
๑๒๙๕/๓๒๗, อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๒. ทุติยสารณียสูตร
ทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็น
ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิเสมอกันกับเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน
เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ อันเป็นธรรมเครื่องนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็น
ไปเพื่อความสังเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สารณียธรรม ๖ ประการนี้แล ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ทุติยสารณียสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
๓. นิสสารณียสูตร
ว่าด้วยธาตุที่สลัด
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่สลัด ๖ ประการนี้
ธาตุ๑ที่สลัด ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญเมตตา
เจโตวิมุตติแล้ว๒ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่พยาบาทก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญเมตตาโจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่
พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญกรุณาเจโต-
วิมุตติ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือน
เธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้
เลยที่ภิกษุได้เจริญกรุณาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
ดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ
ดีแล้ว แต่วิหิงสาก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่
ได้เลย เพราะกรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา

เชิงอรรถ :
๑ ธาตุ หมายถึงสภาวะที่ว่างจากอัตตา (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐๐/๘๒) หรือหมายถึงสภาวะที่ปราศจากชีวะ ใน
ที่นี้หมายถึงธัมมธาตุขั้นพิเศษ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๐๐/๙๑)
๒ เมตตาเจโตวิมุตติ หมายถึงเมตตาที่เกิดจากตติยฌาน และจตุตถฌาน เพราะพ้นจากปัจจนีธรรม (ธรรมที่
เป็นข้าศึก) กล่าวคือนิวรณ์ ๕ ประการ ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
(องฺ.เอกก.อ.๑/๑๗/๔๒,องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๓/๑๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. สารณียวรรค ๓. นิสสารณียสูตร
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญมุทิตาเจโต-
วิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่อรติ(ความไม่
ยินดี) ก็ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าว
ตักเตือนเธอว่า ‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ อย่าได้กล่าว
อย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็น
ไปไม่ได้เลยที่ภิกษุได้เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่อรติก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็น
ไปไม่ได้เลย เพราะมุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าได้เจริญอุเบกขา-
เจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะก็ยัง
ครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่’ ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนเธอว่า
‘อย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย
พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้เลย ผู้มีอายุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ
ได้เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ราคะ
ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะ
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ข้าพเจ้าเจริญอนิมิตตาเจโต-
วิมุตติ๑แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่

เชิงอรรถ :
๑ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงพลววิปัสสนา(วิปัสสนาที่มีพลัง) กล่าวคืออรหัตตผล
สมาบัติ ที่ชื่อว่า อนิมิต (ไม่มีเครื่องหมาย) เพราะไม่มีราคนิมิต (นิมิตคือราคะ) ไม่มีโทสนิมิต (นิมิตคือ
โทสะ) ไม่มีโมหนิมิต (นิมิตคือโมหะ) ไม่มีรูปนิมิต (นิมิตคือรูป) ไม่มีนิจจนิมิต (นิมิตคือความเห็นว่าเที่ยง)
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๓/๑๐๔)
อีกนัยหนึ่ง อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ (๑) ภยตุปัฏฐานญาณ (ความรู้ความปรากฏแห่ง
ความเป็นของน่ากลัว) (๒) อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ความรู้ในการพิจารณาเห็นโทษ) (๓) มุจจิตุกัมยตา-
ญาณ (ความรู้ความเป็นผู้ใคร่จะพ้น) (๔) ภังคญาณ (ความรู้ความดับไป) (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๓/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า :๔๓๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น