Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๒ หน้า ๔๘ - ๙๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๓.วัชชิสัตตกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล
มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง
ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน
อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ
อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม
ปราภวสูตรที่ ๑๑ จบ
วัชชิสัตตกวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารันททสูตร ๒. วัสสการสูตร
๓. ปฐมสัตตกสูตร ๔. ทุติยสัตตกสูตร
๕. ตติยสัตตกสูตร ๖. โพชฌังคสูตร
๗. สัญญาสูตร ๘. ปฐมปริหานิสูตร
๙. ทุติยปริหานิสูตร ๑๐. วิปัตติสูตร
๑๑. ปราภวสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑.อัปปมาทคารวสูตร
๔. เทวตาวรรค
หมวดว่าด้วยเทวดา
๑. อัปปมาทคารวสูตร
ว่าด้วยความเคารพในความไม่ประมาท
[๓๒] ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑ เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่ง
รัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร๒
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ”

เชิงอรรถ :
๑ ราตรีผ่านไป ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม (ยามแรก) กำหนดเวลา ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา ๑๘ นาฬิกา ถึง ๒๒
นาฬิกาแห่งราตรีผ่านไป กำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม (ยามท่ามกลาง) คือ กำลังอยู่ในช่วงเวลา ๒๒ นาฬิกา
ถึง ๒ นาฬิกาของวันใหม่ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๓๒/๔๗๘
๒ ปฏิสันถาร ในที่นี้หมายถึงการต้อนรับ มี ๒ อย่าง คือ (๑) อามิสปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยอามิส)
(๒) ธัมมปฏิสันถาร (การต้อนรับด้วยธรรม) (องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๑๕๓/๑๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑.อัปปมาทคารวสูตร
เมื่อเทวดานั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดานั้นรู้
ว่า ‘พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา’ จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ๑
แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่
สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในความไม่ประมาท
๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในปฏิสันถาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหาย
ไป ณ ที่นั้นแล

เชิงอรรถ :
๑ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวาโดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา จนมองไม่เห็นผู้ที่ตน
เคารพแล้วคุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ (การกราบด้วยอวัยวะทั้ง ๕ อย่าง ลงกับพื้น คือ กราบ
เอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะ (หน้าผาก) จรดลงกับพื้น) แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-
๑๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๒.หิรีคารวสูตร
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
มีความเคารพในความไม่ประมาท
มีความเคารพในปฏิสันถาร
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
อัปปมาทคารวสูตรที่ ๑ จบ
๒. หิรีคารวสูตร
ว่าด้วยความเคารพในหิริ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (ความอายบาป)
๗. ความเป็นผู้มีความเคารพในโอตตัปปะ (ความกลัวบาป)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๓.ปฐมโสวจัสสตาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เราทำประทักษิณแล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ
มีความยำเกรง มีความเคารพ
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
หิรีคารวสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมโสวจัสสตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๑
[๓๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง ฯลฯ๑
ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์

เชิงอรรถ :
๑ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ในข้อ ๓๔-๓๕ ดูความเต็มในข้อ ๓๒ (อัปปมาทคารวสูตร) หน้า ๔๙ ในวรรคเดียวกันนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๔.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๗. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี)
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหายไป
ณ ที่นั้นแล
ภิกษุมีความเคารพในศาสดา
มีความเคารพในธรรม
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสงฆ์
มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร
มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา
มีกัลยาณมิตร เป็นผู้ว่าง่าย
มีความยำเกรง มีความเคารพ
เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว
ปฐมโสวจัสสตาสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยโสวจัสสตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย สูตรที่ ๒
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าว
กับเราดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม
แก่ภิกษุ
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๔.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๓. ความเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์
๔. ความเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๗. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่
ภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณแล้วหาย
ไป ณ ที่นั้นแล
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ
ในพระศาสดาให้มีความเคารพในพระศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มี
จริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามกาลอันควร
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ
๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
๕. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ
๖. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๔.ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๗. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้ง
ประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาลอันควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร ดีจริง สารีบุตร เธอรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มีความ
เคารพในศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในศาสดา
ให้มีความเคารพในศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่น
ผู้มีความเคารพในศาสดาตามกาลอันควร
๒. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ
๓. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ
๔. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
๕. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ
๖. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ
๗. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร ทั้ง
ประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาลอันควร
สารีบุตร เธอพึงทราบเนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้เถิด
ทุติยโสวจัสสตาสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๕.ปฐมมิตตสูตร
๕. ปฐมมิตตสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๑
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ เป็นผู้ควรเสพ
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก
๒. ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
๓. อดทนถ้อยคำที่อดทนได้ยาก
๔. เปิดเผยความลับแก่เพื่อน
๕. ปิดความลับของเพื่อน
๖. ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ
๗. เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น
ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ
มิตรย่อมให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
อดทนคำหยาบแม้ที่อดทนได้ยาก
เปิดเผยความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน
ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ
เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น
ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตร
ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น
ปฐมมิตตสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๖.ทุติยมิตตสูตร
๖. ทุติยมิตตสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๒
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
องค์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นที่รักเป็นที่พอใจ๑ ๒. เป็นที่เคารพ
๓. เป็นที่ยกย่อง ๔. เป็นนักพูด๒
๕. เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ๓ ๖. เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้๔
๗. ไม่ชักนำในอฐานะ๕

ภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเสพ ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร ๘ ประการ คือ (๑) มีศรัทธา คือ เชื่อการ
ตรัสรู้ของพระตถาคต เชื่อกรรมและผลของกรรม (๒) มีศีล คือ เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือของ
สัตว์ทั้งหลาย (๓) มีสุตะ คือ กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท (๔) มีจาคะ คือ
ปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ (๕) มีความเพียร คือ ปรารภความเพียรในการปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น (๖) มีสติ คือ มีสติตั้งมั่น (๗) มีสมาธิ คือ มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน
(๘) มีปัญญา คือ รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่
เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ เว้นสิ่งที่ไม่
เกื้อกูล ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
๒ เป็นนักพูด ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
๓ อดทนต่อถ้อยคำ ในที่นี้หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
๔ ถ้อยคำลึกซึ้ง หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๗/๑๗๙)
๕ ไม่ชักนำในอฐานะ หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มีคติเป็นทุกข์ แต่ชักชวนให้
ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข (เทียบ องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๓๗/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๗.ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
มิตรเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่อง
เป็นนักพูด เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ ไม่ชักนำในอฐานะ
ในโลกนี้ ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน์และอนุเคราะห์
ผู้ต้องการจะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น
แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
ทุติยมิตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ ๑
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ไม่นานนัก ก็จะ
ทำให้แจ้งปฏิสัมภิทา๑ ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
๒. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายใน๒ ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
๓. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก๓ ตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’
๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๑๘-๗๓๑/๔๕๙-๔๖๕,๗๔๖-๗๔๗/๔๗๕,๘๐๐/๕๑๓
๒ จิตท้อแท้ภายใน ในที่นี้หมายถึงจิตที่ตกอยู่ในถีนมิทธะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๘/๑๗๙)
๓ จิตฟุ้งซ่านไปภายนอก ในที่นี้หมายถึงจิตที่ฟุ้งซ่านไปในกามคุณ ๕ ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๘/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๘.ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
๕. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๖. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๗. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งนิมิตใน
ธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ๑ ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำ
และขาว
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ไม่นานนัก ก็จะทำให้
แจ้งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา สูตรที่ ๒
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
๑. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเรานี้หดหู่’
๒. รู้ชัดจิตท้อแท้ภายในตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราท้อแท้ภายใน’
๓. รู้ชัดจิตฟุ้งซ่านไปภายนอกตามความเป็นจริงว่า ‘จิตของเราฟุ้งซ่าน
ไปภายนอก’

เชิงอรรถ :
๑ นิมิตในธรรมที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ หมายถึงเหตุในธรรมที่เป็นอุปการะและที่ไม่เป็นอุปการะ
(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๓๘/๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๙.ปฐมวสสูตร
๔. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๕. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๖. รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏ
ดับไป
๗. กำหนดดี มนสิการดี ทรงจำดี แทงตลอดดีด้วยปัญญาซึ่งจิตในธรรม
ที่เป็นสัปปายะและอสัปปายะ ที่เลวและประณีต ที่มีส่วนดำและขาว
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล จึงทำให้แจ้ง
ปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่
ทุติยปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมทำจิตไว้ใน
อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
๒. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๑
๓. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้๒
๔. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๓
๕. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ๔

เชิงอรรถ :
๑ ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/
๑๐๙) และดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๒๔/๔๕๕
๒ ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๓ ฉลาดในการออกจากสมาธิ หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๔ ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๐.ทุติยวสสูตร
๖. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ๑
๗. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมทำจิตไว้ในอำนาจ
และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ปฐมวสสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยวสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๒
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมทำจิต
ไว้ในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
๑. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
๒. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้
๔. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ
๕. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ
๖. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมทำจิตไว้ใน
อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
ทุติยวสสูตรที่ ๑๐ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิหมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรม
ที่เป็นสัปปายะ และเป็นอุปการะโดยรู้ว่า ‘นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด นี้คือ
อารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์’ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
๒ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ
จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๑.ปฐมนิททสสูตร
๑๑. ปฐมนิททสสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ สูตรที่ ๑
[๔๒] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร๑เข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้นแล้วจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่าง
การประชุมว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'๒
ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้
มีพระภาค” ท่านพระสารีบุตรครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันจากอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’
ครั้นแล้วจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้พระสารีบุตรมิได้นุ่งสบง มิใช่พระสารีบุตร
ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง หรือ
ขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวร
แล้วอุ้มบาตรนั่นเอง (เทียบ วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๒/๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๒๐ (นิททสวัตถุสูตร) หน้า ๒๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๑.ปฐมนิททสสูตร
ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน
ผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า
‘นิททสภิกษุ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัดเนื้อความ
แห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจหรือหนอที่จะ
บัญญัตินิททสภิกษุไว้ในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สารีบุตร ไม่อาจเลยที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้
ในธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศไว้
นิททสวัตถุ ๗ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และได้ความรักใน
การสมาทานสิกขาต่อไป
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และได้ความรัก
ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และได้ความรัก
ในการกำจัดความอยากต่อไป
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ
หลีกเร้นต่อไป
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความ
รักในการปรารภความเพียรต่อไป
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน และได้
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป

เชิงอรรถ :
๑ ดูนิททสวัตถุสูตร สัตตกนิบาต ข้อ ๒๐ หน้า ๒๙-๓๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๒.ทุติยนิททสสูตร
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และได้ความ
รักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
สารีบุตร นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศไว้
ภิกษุประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหม
จรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๓๖ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๔๘ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'
ปฐมนิททสสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. ทุติยนิททสสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ สูตรที่ ๒
[๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล
เวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปยังกรุงโกสัมพี
เพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพียังเช้านัก
ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก” ครั้นแล้วจึงเข้าไปยัง
อารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็น
ที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้นแล พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่าง
การประชุมว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์
ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกท่านผู้นั้นว่า “นิททสภิกษุ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค ๑๒.ทุติยนิททสสูตร
ท่านพระอานนท์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า “เราจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้
มีพระภาค” ท่านพระอานนท์ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี กลับจากบิณฑบาต
หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปยังกรุงโกสัมพีเพื่อบิณฑบาต ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงโกสัมพียังเช้านัก ทางที่ดี เราควรจะเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์
ปริพาชก’ ครั้นแล้วจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร สมัยนั้นแล
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั่งประชุมกัน สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียก
ท่านผู้นั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้าน
ภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ลุกจากอาสนะจากไปด้วยคิดว่า ‘เราจักรู้ชัด
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจหรือหนอ
ที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้ในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ไม่อาจเลยที่จะบัญญัตินิททสภิกษุไว้ใน
ธรรมวินัยนี้ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงประกาศไว้
นิททสวัตถุ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๔.เทวตาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา
อานนท์ นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศไว้
ภิกษุประกอบด้วยนิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล หากประพฤติพรหมจรรย์
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติ
พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ’
หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๓๖ ปี ก็ควรเรียกภิกษุนั้นว่า
‘นิททสภิกษุ’ หากประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๔๘ ปี ก็ควรเรียก
ภิกษุนั้นว่า ‘นิททสภิกษุ'
ทุติยนิททสสูตรที่ ๑๑ จบ
เทวตาวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัปปมาทคารวสูตร ๒. หิริคารวสูตร
๓. ปฐมโสวจัสสตาสูตร ๔. ทุติยโสวจัสสตาสูตร
๕. ปฐมมิตตสูตร ๖. ทุติยมิตตสูตร
๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร ๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร
๙. ปฐมวสสูตร ๑๐. ทุติยวสสูตร
๑๑. ปฐมนิททสสูตร ๑๒. ทุติยนิททสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑.สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร
๕. มหายัญญวรรค
หมวดว่าด้วยมหายัญ
๑. สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร๑
ว่าด้วยวิญญาณฐิติ ๗ ประการ
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ๒ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ประการนี้
วิญญาณฐิติ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก๓ และวินิปาติกะบางพวก๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑
๒. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
พรหมกายิกา๕เกิดในปฐมฌานภูมิ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒
๓. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
อาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓
๔. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
สุภกิณหะ (เทวดาที่เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒, ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, ๓๕๗/๒๕๘-๒๕๙, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙
๒ วิญญาณฐิติ หมายถึงที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐)
๓ เทวดาบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวาจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์
(๓) ชั้นยาม (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙, ขุ.จู.อ.
๘๓/๕๗)
๔ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ มียักษิณีผู้เป็นมารดาของอุตตระ
ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน คือ มีทั้ง
อ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วย ติเหตุกะ ทุเหตุกะ
และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มากเหมือนพวกเทวดา บางพวกได้รับทุกข์
ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ ดุจการบรรลุธรรมของ
ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ เป็นต้น (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐, ขุ.จู.อ.
๘๓/๕๗)
๕ เทวดาชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา
(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว
มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๒.สมาธิปริกขารสูตร
๕. มีสัตว์ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๑ อยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการ-
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕
๖. มีสัตว์ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน๒ อยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖
๗. มีสัตว์ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน๓ อยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น
วิญญาณฐิติที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ ๗ ประการนี้แล
สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตรที่ ๑ จบ
๒. สมาธิปริกขารสูตร๔
ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย บริขารแห่งสมาธิ๕ ๗ ประการนี้
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)

เชิงอรรถ :
๑ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๑
ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘)
๒ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ
อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘)
๓ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร(ความว่าง)เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือ ผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้างเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง
(ที.สี.อ. ๑/๔๑๔/๓๐๘)
๔ ดูเทียบ ที.ม. ๑๐/๒๙๐/๑๘๖, ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, ม.อุ.๑๔/๑๓๖/๑๒๑, สํ.ม.๑๙/๒๘/๑๖
๕ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบของมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๓.ปฐมอัคคิสูตร
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม
เรียกว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ‘๑ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาทิฏฐิที่มีบริขาร’ บ้าง
สมาธิปริกขารสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ ๑
[๔๖] ภิกษุทั้งหลาย อัคคิ (ไฟ) ๗ ประการนี้
อัคคิ ๗ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ

๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
๔. อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล)
๕. คหปตัคคิ (ไฟคือคหบดี)
๖. ทักขิเณยยัคคิ (ไฟคือทักขิไณยบุคคล)
๗. กัฏฐัคคิ (ไฟที่เกิดจากไม้)

ภิกษุทั้งหลาย อัคคิ ๗ ประการนี้แล
ปฐมอัคคิสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสสัยในที่นี้ได้แก่หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒/๒๙๐/
๒๕๗, ๒๙๐/๒๖๗)
๒ ราคะโทสะ และโมหะ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะมีความหมายว่า ตามเผาผลาญ อาหุเนยยัคคิ แยกอธิบาย
ดังนี้ คือ อาหุเนยยะ + อัคคิ คำว่า อาหุเนยยะ มาจาก อาหุนะ หมายถึงเครื่องสักการะ บุคคลผู้ควรแก่
เครื่องสักการะ เรียกว่า อาหุไนยบุคคล คือมารดาบิดา ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะเป็นเหตุให้บุตรผู้ปฏิบัติผิด
ต่อตนต้องถูกเผาไหม้ในนรกได้ คหปตัคคิ แยกเป็น คหปติ + อัคคิ คำว่า คหบดี หมายถึงเจ้าของเรือนผู้
ให้ที่นอน เสื้อผ้า เครื่องประดับ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะเป็นเหตุให้มาตุคามผู้ประพฤตินอกใจตน ต้องถูก
เผาไหม้ในนรก ทักขิเณยยัคคิ แยกเป็น ทักขิเณยยะ + อัคคิ คำว่า ทักขิเณยยะ มาจากคำว่า ทักขิณา
หมายถึงปัจจัย ๔ บุคคลผู้ควรแแก่ปัจจัย ๔ เรียกว่า ทักขิไณยบุคคล คือภิกษุสงฆ์ ที่เรียกว่า อัคคิ เพราะ
เป็นเหตุให้คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติผิด เช่น ด่า บริภาษ ต้องถูกเผาไหม้ในนรก เป็นต้น กัฏฐัคคิ หมายถึงไฟที่เกิด
จากไม้แห้ง (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๖/๑๘๒-๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
๔. ทุติยอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ ๒
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ตระเตรียม
มหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ลูกโคตัวเมีย
๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แพะ ๕๐๐ ตัวถูกนำ
เข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แกะ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก
เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ
ครั้งนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปัก
หลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ
การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ อุคคตสรีรพราหมณ์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่าน
พระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ
การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้อความทั้งหมดของท่านพระโคดมและ
ของข้าพเจ้าย่อมสมกัน”
เมื่ออุคคตสรีรพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับ
อุคคตสรีรพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านไม่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
‘ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก’ แต่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตักเตือน
โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้าถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาล
นานเถิด”
ลำดับนั้น อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอท่าน
พระโคดมโปรดตักเตือน โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้าถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ
สุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ
ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตรา ๓ ชนิด ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นผล
ศัสตรา ๓ ชนิด อะไรบ้าง คือ
๑. ศัสตราทางกาย
๒. ศัสตราทางวาจา
๓. ศัสตราทางใจ
บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า
‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่
การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแพะ
เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’
เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศล
คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ
ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางใจชนิดที่ ๑ นี้ ที่เป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแพะ
เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’
เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศล
คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ
ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางวาจาชนิดที่ ๒ นี้ที่เป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าโคผู้
ก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคผู้ก่อนเพื่อประโยชน์แก่การ
บูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคตัวเมียก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือ
ฆ่าแพะก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าแกะก่อนเพื่อประโยชน์แก่
การบูชายัญ เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับ
ทำอกุศล คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคล
เมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางกายชนิดที่ ๓ นี้
ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อ
ศัสตรา ๓ ชนิดนี้แล ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล
พราหมณ์ อัคคิ(ไฟ) ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ)
๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ)
๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ)
เพราะเหตุไร ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะบุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น
ไม่ควรเสพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
เพราะเหตุไร โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ
ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะเหตุไร โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
เพราะบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว
เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น
ไม่ควรเสพ
พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ
พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อาหุเนยยัคคิ
๒. คหปตัคคิ
๓. ทักขิเณยยัคคิ
อาหุเนยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ บุตรในโลกนี้มีมารดาหรือบิดา นี้เรียกว่า อาหุเนยยัคคิ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุตรเกิดมาจากมารดาบิดานี้ ฉะนั้น อาหุเนยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่
ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
คหปตัคคิ เป็นอย่างไร
คือ คหบดีในโลกนี้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร นี้เรียกว่า
คหปตัคคิ ฉะนั้น คหปตัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหาร
ให้เป็นสุขโดยชอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๔.ทุติยอัคคิสูตร
ทักขิเณยยัคคิ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ
และโสรัจจะ ฝึกตนได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้สงบได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้ดับเย็นได้เป็นหนึ่ง
นี้เรียกว่า ทักขิเนยยัคคิ ฉะนั้น ทักขิเณยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
ส่วนกัฏฐัคคินี้ ต้องจุดตามกาลอันควร ต้องคอยดูตามกาลอันควร ต้องคอย
ดับตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาลอันควร
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ข้าพระองค์จะปล่อยโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อย
ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน
จะปล่อยแพะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยแกะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน
พวกมันจะกินหญ้าสด ดื่มน้ำเย็นและรับลมเย็น”
ทุติยอัคคิสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
๕. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา๑ สูตรที่ ๑
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มาก๒แล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ๓ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทุติยสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๒
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
สัญญา ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓
๒ เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้นและตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป
(องฺ.เอกก. อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙
ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อย ๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐)
๓ อมตะ หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อสุภสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึง
กล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่
โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุนธรรม
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภ-
สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุน
ธรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามการ
ร่วมเมถุนธรรม ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อสุภ-
สัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละ(กำลังคือภาวนา) ของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัด
ในอสุภสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ
งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับการร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อสุภสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอสุภสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า “‘อสุภสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’' (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘มรณสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญา
อยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วย
มรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความติดใจ
ในชีวิต ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามความ
ติดใจในชีวิต ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘มรณสัญญา
เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของ
เรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในมรณสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ
หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อม
ตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘มรณสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและ
เบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้
ชัดในมรณสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘'มรณสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด'’ (๒)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาหาเร ปฏิกูลสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด‘ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร ปฏิกูล-
สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับตัณหาในรส
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร
ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับตัณหาในรส
ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไป
ตามตัณหาในรส ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อาหาเร
ปฏิกูลสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอาหาเร ปฏิกูล-
สัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอาหาเร ปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
หดกลับ งอกลับ ฯลฯ ตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อาหาเร ปฏิกูลสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น
และเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็น
ผู้รู้ชัดในอาหาเร ปฏิกูลสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ' ‘อาหาเร ปฏิกูลสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด'’ (๓)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า '‘สัพพโลเก อนภิรตสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด'’ เพราะอาศัยเหตุ
อะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเก
อนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความ
วิจิตรของโลก อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขา
ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
แล้วด้วยสัพพโลเก อนภิตรสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ
ไม่ออกไปรับความวิจิตรของโลก ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของ
ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเก อนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหล
ไปตามความวิจิตรของโลก ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า
‘สัพพโลเก อนภิรตสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
จึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดใน
สัพพโลเก อนภิรตสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเก อนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อม
หดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับความวิจิตรของโลก อุเบกขาหรือความเป็น
ของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘สัพพโลเก อนภิรตสัญญา เราเจริญ
ดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’
เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในสัพพโลเก อนภิรตสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘'สัพพโลเก อนภิรตสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’' (๔)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า '‘อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’' เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่
โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภสักการะและชื่อเสียง
อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟ
ย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่คลี่ออก ฉันใด ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วย
อนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภ
สักการะและชื่อเสียง ฉันนั้นเหมือนกันแล อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อม
ตั้งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปตามลาภ
สักการะและชื่อเสียง ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า
‘อนิจจสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา
ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจจสัญญานั้น
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ
งอกลับ หมุนกลับ ไม่ออกไปรับลาภสักการะและชื่อเสียง อุเบกขาหรือความเป็น
ของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อนิจจสัญญา เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจจสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อนิจจสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (๕)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญา
อยู่โดยมาก สัญญาในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความ
ประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร และในการไม่พิจารณาปรากฏว่าเป็นภัยอัน
ร้ายแรงเหมือนเพชฌาตผู้เงื้อดาบขึ้น
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญาอยู่โดยมาก สัญญาในความ
เฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการไม่ประกอบ
ความเพียร และในการไม่พิจารณาไม่ปรากฏว่าเป็นภัยอันร้ายแรงเหมือนเพชฌฆาต
ผู้เงื้อดาบขึ้น ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญา เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษ
ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจเจ ทุกขสัญญานั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๖.ทุติยสัญญาสูตร
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยอนิจเจ ทุกขสัญญาอยู่โดยมาก สัญญาใน
ความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท ในการ
ไม่ประกอบความเพียร และในการไม่พิจารณาปรากฏว่าเป็นภัยอันร้ายแรง เหมือน
เพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้น ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา เราเจริญดีแล้ว
คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’ เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในอนิจเจ ทุกขสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อนิจเจ ทุกขสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (๖)
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ เพราะอาศัย
เหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตต-
สัญญาอยู่โดยมาก มีใจปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ๑ในร่างกายที่มีวิญญาณนี้
และในนิมิตภายนอกทั้งปวง ก้าวล่วงมานะ๒ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว๓
ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตตสัญญาอยู่โดยมาก มีใจไม่ปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานะในร่างกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง
ไม่ก้าวล่วงมานะ ไม่สงบ ไม่หลุดพ้นแล้ว ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญา
เรามิได้เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของ
เรายังไม่ถึงที่’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในทุกเข อนัตตสัญญานั้น

เชิงอรรถ :
๑ อหังการ หมายถึงทิฏฐิที่มีความยึดถือว่าเป็นเรา
มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา
มานะ หมายถึงมานะ ๙ ประการ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘/๑๘๔) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, อภิ.วิ.
(แปล) ๓๕/๙๖๒/๖๑๖-๖๑๗
๒ ก้าวล่วงมานะ แปลจากบาลีว่า ‘วิธาสมติกฺกนฺตํ’ วิธ ศัพท์ มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงส่วน
(ดู อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘) (๒) หมายถึงประการ (ดู สํ.ส. ๑๕/๙๕/๖๑) (๓) หมายถึงมานะ (ดู อภิ.วิ. ๓๕/
๑๒๐/๔๔๘) ในที่นี้หมายถึงมานะ ๓ ประการ คือ (๑) ความถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) ความถือตัวว่า
เสมอเขา (๓) ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๔๙/๒๑๑)
๓ หลุดพ้นดีแล้ว หมายถึงหลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕ ประการ มีตทังควิมุตติ เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๘-๔๙/
๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๗.เมถุนสูตร
แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยทุกเข อนัตตสัญญาอยู่โดยมาก มีใจปราศจาก
อหังการ มมังการ และมานะ ในร่างกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกทั้งปวง
ก้าวล่วงมานะ สงบแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญา
เราเจริญดีแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา ภาวนาพละของเรา
ถึงที่แล้ว’ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในทุกเข อนัตตสัญญานั้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘ทุกเข อนัตตสัญญาที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด’ (๗)
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล ที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
ทุติยสัญญาสูตรที่ ๖ จบ
๗. เมถุนสูตร
ว่าด้วยเมถุนสังโยค
[๕๐] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดมยังปฏิญญาว่าตนเป็นพรหมจารีอยู่หรือ”๑
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง
พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า ‘เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

เชิงอรรถ :
๑ สาเหตุที่พราหมณ์ทูลถามเช่นนี้ เพราะคิดว่า ‘พราหมณ์ เมื่อจะเรียนเวทยังต้องประพฤติพรหมจรรย์ใช้
ระยะเวลาถึง ๔๘ ปีเลย แต่พระสมณโคดมเคยอยู่ครองเรือน อภิรมย์ในปราสาท ๓ หลัง ท่ามกลางเหล่า
นางฟ้อนนางรำ แล้วไฉนบัดนี้จึงมาพูดว่าตนประพฤติพรหมจรรย์’ ทั้งนี้เพราะยึดติดรูปแบบกฎเกณฑ์
และเวลาการประพฤติพรหมจรรย์ตามลัทธิอื่น ดู ข้อ ๔๒-๔๓ หน้า ๖๒-๖๖ ในเล่มนี้ประกอบ(องฺ.สตฺตก.
อ. ๓/๕๐/๑๘๔-๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๗.เมถุนสูตร
บริสุทธิ์ บริบูรณ์’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเรา
ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์”๑
พราหมณ์ทูลถามว่า “ ท่านพระโคดม อะไรเล่าชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ
ความด่าง ความพร้อยแห่งพรหมจรรย์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีอย่าง
ถูกต้อง ไม่ประพฤติกิจสองต่อสอง๒ กับมาตุคาม แต่ยังยินดีการ
ลูบไล้ การขัดถู การให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็ชื่อว่า
เป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่งพรหมจรรย์
พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย
เมถุนสังโยค ย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่)
มรณะ (ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีอย่าง
ถูกต้อง ไม่ประพฤติกิจสองต่อสองกับมาตุคาม ทั้งไม่ยินดีการลูบไล้
การขัดถู การให้อาบน้ำ และการนวดฟั้นของมาตุคาม แต่ยัง
สัพยอก๓ เล่นหัว๔ หัวเราะร่ากับมาตุคาม ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้มีนัยให้รู้ว่า ‘ตลอดระยะเวลา ๖ ปีที่พระองค์บำเพ็ญเพียรในขณะที่
ยังมีกิเลสอยู่นั้น แม้เพียงแต่ความคิดคำนึงถึงความสุขในราชสมบัติ หรือความพรั่งพร้อมด้วยนางฟ้อนใน
ปราสาทนั้น มิได้เกิดขึ้นแก่พระองค์เลยแม้แต่น้อย’ ซึ่งเป็นพระดำรัสตอบที่สามารถสยบพราหมณ์ได้ ดุจ
การใช้มนตร์จับงูเห่า และดุจการใช้เท้าเหยียบที่คอหอยศัตรู ฉะนั้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕)
๒ กิจสองต่อสอง ในที่นี้หมายถึงกิจที่คนสองคนซึ่งมีความรักใคร่กำหนัดหมกมุ่นเหมือนกันทำร่วมกัน เป็น
ชื่อของเมถุนธรรมที่เป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบมีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจ
ที่ต้องทำในที่ลับ (วิ.อ. ๑/๓๙/๒๓๑, ๕๕/๒๗๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๕๐-๕๑/๒๑๑)
และดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๓๙/๒๘, ๕๕/๔๒
๓ สัพยอก ในที่นี้หมายถึงพูดเรื่องน่าหัวเราะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕)
๔ เล่นหัว ในที่นี้หมายถึงการพูดล้อเล่น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๐/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๗.เมถุนสูตร
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่สัพยอก เล่นหัว
หัวเราะร่ากับมาตุคาม แต่ยังเพ่งจ้องตามาตุคาม ฯลฯ
๔. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่เพ่งจ้องตามาตุคาม
แต่ยังฟังเสียงของมาตุคามผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้
อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง ฯลฯ
๕. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ฟังเสียงของมาตุคาม
ผู้หัวเราะ ผู้พูด ผู้ขับร้อง หรือผู้ร้องไห้อยู่นอกฝาหรือนอกกำแพง
แต่ยังคอยนึกถึงการที่เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม ฯลฯ
๖. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่คอยนึกถึงการที่
เคยหัวเราะพูดจาเล่นหัวกับมาตุคาม แต่ยังดูคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฯลฯ
๗. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งไม่ดูคหบดีหรือบุตร
คหบดีผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ แต่ยัง
ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาเป็นเทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล
วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง’
เขาชอบใจ ติดใจ และถึงความปลื้มใจกับการทำเช่นนั้น แม้นี้ก็
ชื่อว่าเป็นความขาด ความทะลุ ความด่าง และความพร้อยแห่ง
พรหมจรรย์ พราหมณ์ ผู้นี้เราเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ไม่
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า
ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
พราหมณ์ ตราบใด เรายังเห็นเมถุนสังโยค ๗ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในตนที่ยังละไม่ได้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
สมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ แต่เมื่อใดเราไม่เห็นเมถุนสังโยค ๗ ประการนี้
อย่างใดอย่างหนึ่งในตนที่ยังละไม่ได้ เมื่อนั้นเราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ‘วิมุตติ
ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เมถุนสูตรที่ ๗ จบ
๘. สังโยคสูตร
ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑เรื่องความเกี่ยวข้องและ
ความไม่เกี่ยวข้องแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมบรรยายเรื่องความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร
คือ สตรีย่อมกำหนด
๑. ความเป็นสตรีภายในตน ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี๒ ๔. ความไว้ตัวของสตรี

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า บรรยาย ในคำว่า ธรรมบรรยาย นี้แปลจาก ปริยาย ศัพท์ ซึ่งมีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึง
เทศนา (ดู ม.มู. ๑๒/๒๐๕/๑๗๕, องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๖๓/๓๙๐) (๒) หมายถึงวาระ (ดู ม.อุ. ๑๔/๒๙๘/๓๔๔)
(๓) หมายถึงเหตุ (ดู วิ.มหา. ๑/๑๖๔/๙๕) ในที่นี้หมายถึงเหตุ (วิ.อ. ๑/๓/๑๒๖, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๑/๑๘๕)
๒ ท่าทางของสตรี หมายถึงมรรยาทต่าง ๆ เช่น การนุ่ง การห่ม เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๑/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี
เธอย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายในตนเป็นต้นนั้น
เธอผู้ติดใจยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมกำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายนอก ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เธอย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น เธอผู้ติดใจยินดียิ่ง
ในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมมุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและมุ่งหวัง
สุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดียิ่ง
ในความเป็นสตรี ย่อมเป็นผู้เกี่ยวข้องกับบุรุษทั้งหลาย สตรีล่วงพ้นความเป็นสตรีไปไม่ได้
อย่างนี้แล
บุรุษย่อมกำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายในตน ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เขาย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น
เขาผู้ติดใจยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมกำหนด

๑. ความเป็นสตรีภายนอก ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี ๔. ความไว้ตัวของสตรี
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
เขาย่อมติดใจยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น เขาผู้ติดใจยินดียิ่ง
ในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมมุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและมุ่งหวัง
สุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้ยินดียิ่ง
ในความเป็นบุรุษ ย่อมเป็นผู้เกี่ยวข้องกับสตรีทั้งหลาย บุรุษล่วงพ้นความเป็นบุรุษไป
ไม่ได้ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความเกี่ยวข้องเป็นอย่างนี้แล
ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างไร
คือ สตรีย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นสตรีภายในตน ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี ๔. ความไว้ตัวของสตรี
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี

เธอย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายในตนเป็นต้นนั้น
เธอผู้ไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีในภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายนอก ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เธอย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น เธอผู้ไม่ติดใจ
ไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอก
และไม่มุ่งหวังสุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรี ย่อมเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับบุรุษทั้งหลาย สตรีล่วงพ้น
ความเป็นสตรีไปได้ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๘.สังโยคสูตร
บุรุษย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นบุรุษภายในตน ๒. กิริยาของบุรุษ
๓. ท่าทางของบุรุษ ๔. ความไว้ตัวของบุรุษ
๕. ความพอใจของบุรุษ ๖. เสียงของบุรุษ
๗. เครื่องประดับของบุรุษ

เขาย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น
เขาผู้ไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษภายในตนเป็นต้นนั้น ย่อมไม่กำหนด

๑. ความเป็นสตรีภายนอก ๒. กิริยาของสตรี
๓. ท่าทางของสตรี ๔. ความไว้ตัวของสตรี
๕. ความพอใจของสตรี ๖. เสียงของสตรี
๗. เครื่องประดับของสตรี

เขาย่อมไม่ติดใจไม่ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น เขาผู้ไม่ติดใจไม่
ยินดียิ่งในความเป็นสตรีภายนอกเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มุ่งหวังการเกี่ยวข้องภายนอกและ
ไม่มุ่งหวังสุขและโสมนัสที่จะเกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องนั้นเป็นปัจจัย สัตว์ทั้งหลายผู้
ไม่ยินดียิ่งในความเป็นบุรุษ ย่อมเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีทั้งหลาย บุรุษล่วงพ้นความ
เป็นบุรุษไปได้ อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายเรื่องความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง เป็น
อย่างนี้แล
สังโยคสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๙.ทานมหัปผลสูตร
๙. ทานมหัปผลสูตร
ว่าด้วยทานที่มีผลมากและทานที่ไม่มีผลมาก
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขต
กรุงจัมปา ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวกรุงจัมปาจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง
ที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคผ่าน
มานานแล้ว ขอให้เราทั้งหลายได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคเถิด”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายควรมา
ในวันอุโบสถเถิด จะได้ฟังธรรมีกถาในสำนักของพระผู้มีพระภาคแน่นอน” อุบาสก
ชาวกรุงจัมปารับคำแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาท ทำประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวกรุงจัมปาได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ต่อจากนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสก
ชาวกรุงจัมปาเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้ไหม ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มีได้ สารีบุตร ทานชนิดเดียวกันที่บุคคล
บางคนในโลกนี้ถวายแล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก แต่ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่
บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้ว ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกันที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๙.ทานมหัปผลสูตร
“สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิต
ผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจัก
บริโภคผลทานนี้’ เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร
เธอเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่”
“ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมี
จิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้วจัก
บริโภคผลทานนี้’ เขาให้ทานนั้นแล้ว หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวก
เทวดาชั้นจาตุมหาราช เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป
ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ยังต้องมา คือมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทานอย่าง
ไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละโลกนี้
ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี‘ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน
อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ
โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควร
ให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดา
มารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อม
เสียไป’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การ
ที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๙.ทานมหัปผลสูตร
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุง
หากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่
ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราให้ทานและจำแนก
ทานนี้ เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี
เวสสามิตตฤาษี ยมคัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสป-
ฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ๑แล้ว ฉะนั้น’ ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจัก
ให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่าฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี
วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ได้บูชามหายัญแล้ว’ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส ฯลฯ”
“สารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเรา
ให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต
ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ สารีบุตร เธอเข้าใจเรื่องนั้น
อย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ควรให้ทานเช่นนั้นหรือไม่”
“ควรให้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร ในการให้ทานเช่นนั้น บุคคลผู้ให้ทานอย่างไม่มีใจเยื่อใย ให้ทาน
อย่างไม่มีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างไม่มุ่งหวังสั่งสมบุญ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราละ
โลกนี้ไปแล้วจักบริโภคผลทานนี้’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ มิใช่
ให้ทานด้วยคิดว่า ‘บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้ทาน เคยทำทาน เราไม่ควรให้
วงศ์ตระกูลเก่าแก่เสื่อมเสียไป’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้

เชิงอรรถ :
๑ มหายัญในที่นี้หมายถึงการตระเตรียมมหาทานซึ่งประกอบไปด้วยอาหารและเภสัชต่าง ๆ มีเนยใส เนยข้น
นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๒/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเอง
ไม่ได้ ไม่ควร’ มิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เราจักให้ทานและจำแนกทานนี้เหมือนเหล่า
ฤาษีในปางก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตตฤาษี ยมทัคคิฤาษี
อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษีและภคุฤาษี ได้บูชามหายัญ
แล้ว’ ทั้งมิใช่ให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ จิตย่อมผ่องใส จะเกิดความชื่นชม
โสมนัส’ แต่ให้ทานเป็นเครื่องประดับจิต ปรุงแต่งจิต เขาจึงให้ทานนั้น หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา๑ เขาให้กรรมนั้นสิ้นไป
ให้ฤทธิ์นั้นสิ้นไป ให้ยศนั้นสิ้นไป ให้ความเป็นใหญ่นั้นสิ้นไป เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา
คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้วไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทานชนิดเดียวกัน
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ถวายแล้วกลับมีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
ทานมหัปผลสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. นันทมาตาสูตร
ว่าด้วยอริยธรรมของนันทมาตาอุบาสิกา
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลานะ จาริกไปในทักขิณาคีรี
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้นแล ในเวลาใกล้รุ่ง นันทมาตาอุบาสิกา
ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ๒ลุกขึ้นสวดปารายนสูตร๓เป็นทำนองสรภัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้
๒ ที่มีชื่อว่า เวฬุกัณฏกะ เพราะเป็นเมืองที่ถูกสร้างกำแพงล้อมรอบโดยใช้ไม้ไผ่ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๓/๑๘๗)
๓ ที่ชื่อว่า ปารายนะ เพราะนำไปสู่ฝั่งคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๕๓/๑๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
ท้าวเวสวัณมหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ ได้สดับ
เสียงของนันทมาตาที่กำลังสวดปารายนสูตรเป็นทำนองสรภัญญะ ได้ประทับยืนสดับ
จนสวดจบ
ครั้นนันทมาตาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรเป็นทำนองสรภัญญะจบแล้วก็นิ่งอยู่
ท้าวเวสวัณมหาราชทรงทราบว่านันทมาตาอุบาสิกาสวดจบ จึงอนุโมทนาว่า
“ดีละ น้องหญิง ดีละ น้องหญิง”
“ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใสนี้คือใคร”
“เราคือเวสวัณมหาราช พี่ชายของเธอ”
“ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใส ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉันสวดนี้จงเป็น
เครื่องต้อนรับท่าน”
“ดีละ น้องหญิง นั่นแหละจงเป็นเครื่องต้อนรับเรา พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระ
สารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า จักมาถึง
เมืองเวฬุกัณฏกะ เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นอุทิศทักษิณาทานแก่เรา การทำอย่างนี้
จักเป็นเครื่องต้อนรับเรา”
ครั้นคืนนั้นผ่านไป นันทมาตาอุบาสิกาได้จัดของขบฉันอย่างดีไว้ในนิเวศน์ของตน
ลำดับนั้นแล ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน
ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองเวฬุกัณฏกะ นันทมาตาอุบาสิกาจึง
เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มานี่ พ่อหนุ่ม เธอจงไปยังอารามบอกภัตตกาล(เวลา
ฉันอาหาร)แก่ภิกษุสงฆ์ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารในนิเวศน์ของคุณแม่
นันทมาตาอุบาสิกาเสร็จแล้ว”
บุรุษนั้นรับคำแล้วก็ไปยังอารามบอกภัตตกาลแก่ภิกษุสงฆ์ว่า “ท่านผู้เจริญ
ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารในนิเวศน์ของคุณแม่นันทมาตาอุบาสิกาเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธาน
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของนันทมาตาอุบาสิกาแล้วนั่ง
บนอาสนะที่ปูลาดไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
ลำดับนั้นแล นันทมาตาอุบาสิกาได้อังคาส๑ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระโมคคัลลานะเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ด้วยมือตนเอง
เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตร นันทมาตาอุบาสิกาจึงนั่ง ณ
ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า ท่านพระสารีบุตรได้ถามนันทมาตาอุบาสิกาว่า
“นันทมาตา ใครบอกการมาของภิกษุสงฆ์แก่เธอ”
นันทมาตาอุบาสิกาตอบว่า
๑. “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ในเวลาใกล้รุ่ง ดิฉันลุกขึ้นสวดปารายนสูตร
เป็นทำนองสรภัญญะจบแล้วได้นิ่งอยู่ ขณะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชทรงทราบว่า
ดิฉันสวดจบแล้ว จึงอนุโมทนาว่า ‘ดีละ น้องหญิง ดีละ น้องหญิง’' ดิฉันจึงถามว่า
‘ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใสนี้คือใคร’ ท้าวเวสวัณตอบว่า ‘เราคือเวสวัณมหาราช พี่ชาย
ของเธอ’ ดิฉันกล่าวว่า ‘ท่านผู้มีพักตร์ผ่องใส ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉัน
สวดนี้จงเป็นเครื่องต้อนรับท่าน’ ท้าวเวสวัณตอบว่า ‘ดีละ น้องหญิง นั่นแหละจงเป็น
เครื่องต้อนรับเรา พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็น
ประธาน ยังไม่ทันฉันอาหารเช้า จักมาถึงเมืองเวฬุกัณฏกะ เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์
นั้นอุทิศทักษิณาทานแก่เรา การทำอย่างนี้จักเป็นเครื่องต้อนรับเรา’ ท่านผู้เจริญ
ขอบุญอันมีผลมากในทานนี้จงอำนวยผลเพื่อความสุขแด่ท้าวเวสวัณมหาราชเถิด”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เธอเจรจากันต่อหน้าท้าว
เวสวัณมหาราชผู้เป็นเทพบุตรมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้”
๒. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
ดิฉันมีบุตรคนเดียวชื่อนันทะ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ พระราชาได้กดขี่ ข่มเหงฆ่าเธอ
เพราะสาเหตุเพียงนิดเดียว เมื่อเด็กนั้นถูกจับแล้วก็ตาม กำลังถูกจับก็ตาม ถูกฆ่า
แล้วก็ตาม กำลังถูกฆ่าก็ตาม ถูกประหารแล้วก็ตาม กำลังถูกประหารก็ตาม ดิฉัน
ไม่รู้สึกว่าจิตจะหวั่นไหวเลย”

เชิงอรรถ :
๑ อังคาส เป็นคำภาษาเขมรที่นำมาใช้เป็นคำกริยาในภาษาไทยหมายถึงถวายอาหารพระ เลี้ยงพระ แปลจาก
คำว่า สนฺตปฺเปสิ ปรากฏในพระไตรปิฎกหลายเล่ม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น