Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๓ หน้า ๙๕ - ๑๔๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค ๑๐.นันทมาตาสูตร
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๓. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
สามีของดิฉันตายแล้วไปเกิดเป็นยักษ์ตนหนึ่ง มาปรากฏตัวอย่างเดิมให้ดิฉันเห็น ดิฉัน
ไม่รู้สึกว่าจิตจะหวั่นไหวเพราะเหตุนั้นเลย”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๔. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
นับแต่เวลาที่สามีหนุ่มนำดิฉันผู้ยังเป็นสาวมา ดิฉันไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจ
สามีเลย ไหนเลย จะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๕. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
เมื่อดิฉันแสดงตนเป็นอุบาสิกาแล้ว ไม่รู้สึกว่าได้จงใจล่วงละเมิดสิกขาบทเลย”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ แม้เพียงจิตตุปบาทเธอก็ทำให้
บริสุทธิ์ได้”
๖. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นยังมีอยู่ ขอโอกาสเจ้าค่ะ
ดิฉันยังหวังว่า เราจะต้องสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕.มหายัญญวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ”
๗. “ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน มิใช่มีเท่านี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏของดิฉัน แม้อย่างอื่นก็ยังมีอยู่ บรรดาสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ดิฉันไม่เห็นสังโยชน์อะไรในตน
เองที่ยังละไม่ได้”
“นันทมาตา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ”
ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้นันทมาตาอุบาสิกาเห็นชัด ชวนใจให้
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
นันทมาตาสูตรที่ ๑๐ จบ
มหายัญญวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ๒. สมาธิปริกขารสูตร
๓. ปฐมอัคคิสูตร ๔. ทุติยอัคคิสูตร
๕. ปฐมสัญญาสูตร ๖. ทุติยสัญญาสูตร
๗. เมถุนสูตร ๘. สังโยคสูตร
๙. ทานมหัปผลสูตร ๑๐. นันทมาตาสูตร

ปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑.อัพยากตสูตร
๖. อัพยากตวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องที่ไม่พยากรณ์
๑. อัพยากตสูตร
ว่าด้วยเรื่องที่ไม่พยากรณ์
[๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ
ไม่เกิดความลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุ เพราะทิฏฐิ๑ดับไป อริยสาวกผู้ได้สดับจึงไม่
เกิดความลังเลสงสัยในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์ คือ
๑. ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต๒เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ทิฏฐินี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้ชัดทิฏฐิ๓ ไม่รู้ชัดเหตุเกิดทิฏฐิ ไม่รู้ชัด
ความดับทิฏฐิ ไม่รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ทิฏฐินั้นย่อม
เจริญแก่เขา เขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่)
มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความ
คับแค้นใจ) เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)
๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)
๓ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑.อัพยากตสูตร
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมรู้ชัดทิฏฐิ รู้ชัดเหตุเกิดทิฏฐิ รู้ชัด
ความดับทิฏฐิ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทิฏฐิ ทิฏฐิของอริยสาวก
นั้นย่อมดับไป เขาย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก’ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เป็นผู้ไม่พยากรณ์
ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่หวาดหวั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สะทก-
สะท้าน ไม่สะดุ้ง ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์ คือ
๒. ตัณหานี้ว่า๑ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก‘ฯลฯ
๓. สัญญานี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ
๔. ความเข้าใจนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ
๕. ความปรุงแต่งนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก‘ฯลฯ
๖. อุปาทานนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ
๗. วิปปฏิสาร (ความเดือดร้อนใจ)นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีก’ วิปปฏิสารนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ วิปปฏิสาร
นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ วิปปฏิสาร
นี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’
ปุถุชนผู้มิได้สดับย่อมไม่รู้ชัดวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดเหตุเกิดวิปปฏิสาร
ไม่รู้ชัดความดับวิปปฏิสาร ไม่รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับวิปปฏิสาร
วิปปฏิสารนั้นย่อมเจริญแก่เขา เขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้น
จากทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ‘ตัณหา สัญญา ความเข้าใจ ความปรุงแต่ง อุปาทาน วิปปฏิสาร‘ทั้ง ๖ คำนี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิ
(มิจฉาทิฏฐิ) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๔/๑๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับย่อมรู้ชัดวิปปฏิสาร รู้ชัดเหตุเกิด
วิปปฏิสาร รู้ชัดความดับวิปปฏิสาร รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
วิปปฏิสาร วิปปฏิสารของอริยสาวกนั้นย่อมดับไป เขาย่อมหลุดพ้น
จากชาติ ฯลฯ เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ อริยสาวกผู้
ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ ไม่พยากรณ์ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เป็นผู้ไม่พยากรณ์
ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ย่อมไม่หวาดหวั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน
ไม่สะดุ้ง ในเรื่องที่ไม่ควรพยากรณ์
ภิกษุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อริยสาวกผู้ได้สดับไม่เกิดความลังเลสงสัยในเรื่อง
ที่ไม่ควรพยากรณ์
อัพยากตสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปุริสคติสูตร
ว่าด้วยคติของบุรุษ
[๕๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคติ๑ของบุรุษ ๗ ประการ และอนุปาทา-
ปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
สนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
คติของบุรุษ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรม๒ไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม๓จักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี

เชิงอรรถ :
๑ คติ ในที่นี้หมายถึงญาณคติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๒ กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพอดีตชาติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๓ กรรม ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำให้เกิดในอัตภาพต่อไป (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ๑
ไม่ติดใจในสมภพ๒ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่ง๓ ด้วยปัญญาอันชอบ เธอยัง
มิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละมานานุสัย
(อนุสัยคือความถือตัว)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัย
(อนุสัยคือความติดใจในภพ)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัย
(อนุสัยคืออวิชชา)โดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๔ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ ยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ติดใจในภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ ๕ ในอดีตด้วยตัณหาและทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๒ ไม่ติตใจในสมภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ ๕ ในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๕๕/๑๙๐)
๓ ทางที่สงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๕/๑๙๐)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๕ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น
ออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่าง
นี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกตกลงไม่ถึงพื้นแล้วดับไป
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้า
กรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตี
แผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกตกลงถึงพื้น
แล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่าง
นี้ว่า ถ้ากรรม ไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี
๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี๒ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ
กองไม้เล็กๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า
หรือกองไม้เล็กๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๓/๑๔๑
๒ อสังขารปรินิพพายี ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๒.ปุริสคติสูตร
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ
กองไม้เขื่องๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า
หรือกองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี
๗. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจ
ในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละ
มานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี๒ ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น
ออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง
ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้าหรือกองไม้นั้นให้หมดไปไหม้กอไม้บ้าง
ไหม้ป่าไม้บ้าง ครั้นแล้วจึงลามมาถึงยอดหญ้าสด ปลายทาง
ยอดภูเขา ริมน้ำ หรือภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แล้วจึงดับไปเพราะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๓ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๓/๑๔๒
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๖ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
หมดเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า
ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ ๗ ประการนี้แล
อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มี
อยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบ
อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ เธอทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ละมานานุสัย
โดยประการทั้งปวงได้ ละภวราคานุสัยโดยประการทั้งปวงได้ ละอวิชชานุสัยโดย
ประการทั้งปวงได้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ ๗ ประการ และอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างนี้แล
ปุริสคติสูตรที่ ๒ จบ
๓. ติสสพรหมสูตร
ว่าด้วยติสสพรหม๑
[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
เมื่อราตรีผ่านไป๒ เทวดา ๒ องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วภูเขา
คิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงพรหมผู้เคยบวชเป็นภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระมหาโมคคัลลานะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๖/๑๙๑)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณี
เหล่านี้๑หลุดพ้นแล้ว”
เทวดาอีกองค์หนึ่งกราบทูลว่า “ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์๒เหลืออยู่”
เทวดา ๒ องค์นั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดา
๒ องค์นั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา ๒ องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้
หลุดพ้นแล้ว’ เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า ‘ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ เทวดา ๒ องค์นั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีเหล่านี้ ในที่นี้มายถึงเหล่าภิกษุณี ๕๐๐ รูปที่เป็นบริวารของมหาปชาบดีภิกษุณี (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๕๖/๑๙๑)
๒ อุปาทานขันธ์ มาจาก อุปาทาน+ขันธ์ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑ อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น
(อุป=มั่น+อาทาน=ถือ) มีความหมายหลายนัย เช่น หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕
(ปญฺจกามคุณิกราคสฺเสตํ อธิวจนํ-สํ.ข.อ. ๒/๑/๑๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒๑๙/๔๔๒) บ้าง หมายถึงความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ (ตามนัย สํ.ข.อ. ๒/๖๓/๓๐๘) บ้าง (๒) ขันธ์ แปลว่ากอง (ตสฺส ขนฺธสฺส)
ราสิอาทิวเสน อตฺโถ เวทิตพฺโพ-อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึงกองอันเป็นอารมณ์
แห่งความถือมั่น (อุปาทานานํ อารมฺมณภูตา ขนฺธา = อุปาทานกฺขนฺธา - สํ.ข.ฏีกา ๒๒/๒๕๔) และดู ที.ปา.
๑๑/๓๑๑/๒๐๔, ๓๑๕/๒๐๘, สํ.สฬา. ๑๘/๓๒๘/๒๗๗, สํ.ม. ๑๙/๑๗๙/๕๖
เมื่อนำองค์ธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มารวมกับอุปาทานขันธ์ เช่น วิ�ฺญาณู-
ปาทานกฺขนฺโธ จึงแปลได้ว่า “กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่นคือวิญญาณ” ตามนัย อภิ.สงฺ.อ. ๕/๑๙๒
ว่า วิญฺญาณเมว ขนฺโธ = วิญฺญาณกฺขนฺโธ (กองคือวิญญาณ)
อนึ่ง เมื่อกล่าวโดยสรุป อุปาทานขันธ์ หมายถึงทุกข์ ตามบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา” แปลว่า “ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์” (ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๙, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๐-๔๑,
อภิ.วิ.อ. ๒๐๒/๑๗๗, วิสุทธิ.๒/๕๐๕/๑๒๒) และดู อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๒๐๒/๑๖๖ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “เทวดาเหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
อยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
สมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณภาพได้ไม่นานก็เข้าถึงพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง แม้ใน
พรหมโลกนั้น พวกพรหมก็รู้จักท่านอย่างนี้ว่า “ติสสพรหม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
ลำดับนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏที่พรหม-
โลกนั้น เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ติสสพรหมได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกับท่าน
อย่างนี้ว่า “นิมนต์เข้ามาเถิด ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอต้อนรับ นาน ๆ
ท่านจะมีเวลามา ณ ที่นี้ นิมนต์นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้เถิด”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายติสสพรหมได้อภิวาท
ท่านแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “ติสสะ เทวดา
เหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกา๑มีญาณอย่างนี้ใน
บุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่
มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่'
“ติสสะ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมดเลยหรือที่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่''
“มิใช่เลย ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ที่เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมด
มีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ สัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ หน้า ๖๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาผู้ยินดีด้วยอายุที่เป็น
ของพรหม ยินดีด้วยวรรณะที่เป็นของพรหม ยินดีด้วยสุขที่เป็นของพรหม ยินดีด้วย
ยศที่เป็นของพรหม ยินดีด้วยความเป็นใหญ่ที่เป็นของพรหม ไม่รู้ชัดอุบายเป็น
เครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไปตามความเป็นจริง เทวดาเหล่านั้นไม่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ส่วนเหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาผู้ไม่ยินดีด้วย
อายุที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยวรรณะที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยสุขที่เป็นของ
พรหม ไม่ยินดีด้วยยศที่เป็นของพรหม ไม่ยินดีด้วยความเป็นใหญ่ที่เป็นของพรหม
รู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไปตามความเป็นจริง เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือใน
บุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอุภโตภาควิมุต๑ เทวดา
เหล่านั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นอุภโตภาควิมุต กายของท่านจัก
ดำรงอยู่เพียงใด เหล่าเทวดาและมนุษย์จักเห็นท่านเพียงนั้น แต่เมื่อท่านมรณภาพไป
เหล่าเทวดาและมนุษย์จักไม่เห็นท่าน’ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต เทวดาเหล่านั้น
ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นปัญญาวิมุต กายของท่านจักดำรงอยู่เพียงใด

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “อุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต ธัมมานุสารี” ที่ปรากฏในติสสพรหม-
สูตรนี้ ดูความหมายในเชิงอรรถที่ ๒,๓,๔,๕ หน้า ๒๐ และในเชิงอรรถที่ ๑,๒ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้ และดู
องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๒๙-๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สันตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
เหล่าเทวดาและมนุษย์จักเห็นท่านเพียงนั้น แต่เมื่อท่านมรณภาพไป เหล่าเทวดาและ
มนุษย์จักไม่เห็นท่าน’ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นกายสักขี เทวดาเหล่านั้น
ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นกายสักขี เป็นการดีถ้าท่านผู้นี้ใช้สอย
เสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยม๑อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือ
ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นสัทธาวิมุต ฯลฯ
ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นธัมมานุสารี เทวดาเหล่า
นั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นธัมมานุสารี เป็นการดี ถ้าท่านผู้นี้ใช้
สอยเสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เทวดาเหล่านั้นมีญาณ
อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือ
ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”

เชิงอรรถ :
๑ ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมัคคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๓.ติสสพรหมสูตร
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของติสสพรหม
แล้วได้หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงถ้อยคำสนทนาปราศรัย
กับติสสพรหมทั้งหมด
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ติสสพรหมไม่ได้แสดงบุคคลที่ ๗ ผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้๑แก่เธอหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาล
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงบุคคลที่ ๗ ผู้มีธรรม
เป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้ ภิกษุทั้งหลายฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่
มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้
บรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้ใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงทำให้แจ้ง
ซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือน บวชเป็น
บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
โมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นมีญาณอย่างนี้แล ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
ติสสพรหมสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมเป็นเครื่องอยู่อันหานิมิตมิได้ ในที่นี้หมายถึงพลววิปัสสนาสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๖/๑๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๔.สีหเสนาปติสูตร
๔. สีหเสนาปติสูตร
ว่าด้วยสีหเสนาบดี
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเองได้ไหม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ถ้าอย่างนั้น เราจะย้อนถามท่านในปัญหานั้น
ท่านพึงตอบปัญหานั้นตามที่ท่านชอบใจ สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ
ในกรุงเวสาลีนี้ มีคน ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ
อีกคนหนึ่งมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ
สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์
ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา
เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ จักอนุเคราะห์คนไม่มี
ศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะ
อนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อน
แน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา พึงเข้าไปหา
ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา
เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา จักเข้าไปหาคนไม่มีศรัทธา
ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา พึงเข้า
ไปหาคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อนแน่แท้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๔.สีหเสนาปติสูตร
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน พึงรับทาน
ของใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมี
ศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน จักรับทานของคนไม่มี
ศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน
พึงรับทานของคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อนแน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม พึงแสดง
ธรรมแก่ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคน
มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม จักแสดงธรรมแก่คน
ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะ
แสดงธรรม พึงแสดงธรรมแก่คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อน
แน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ กิตติศัพท์อันงามของใครหนอควรขจรไป
ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็น
ทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว
ชอบด่าบริภาษจักขจรไปได้อย่างไร กิตติศัพท์อันงามของคนมีศรัทธา เป็นทานบดี
ยินดีให้ทานสม่ำเสมอเท่านั้นพึงขจรไป”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ใครกันเล่าระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่
ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอเข้า
ไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัท
ก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๔.สีหเสนาปติสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ เข้าไป
ยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม
สมณบริษัทก็ตาม จักเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไปยังบริษัทนั้นๆ ได้อย่างไร
คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ เข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม พึงเป็น
ผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ใครกันเล่าระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่
ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ
หลังจากตายแล้ว พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ
หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ได้อย่างไร คนมีศรัทธา เป็นทานบดี
ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ หลังจากตายแล้ว พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการพระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกแล้ว ในผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการนั้น ข้าพระองค์ไม่เพียงแต่
เชื่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี
พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์เป็นทายก
เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์
เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน ย่อมรับทานของข้าพระองค์ก่อน
ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของ
ข้าพระองค์ขจรไปแล้วว่า ‘สีหะเสนาบดี เป็นการกบุคคล เป็นผู้อุปัฏฐากพระสงฆ์’
ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี เข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๕.อรักเขยยสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการพระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกแล้ว ในผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๖ ประการนั้น ข้าพระองค์ไม่เพียงแต่
เชื่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง
ประการที่ ๗ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘สีหะ ทายก ทานบดี
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ข้าพระองค์ยังไม่ทราบ แต่ในข้อนี้
ข้าพระองค์เชื่อพระผู้มีพระภาค”
“ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น สีหะ คือ ทายก ทานบดี
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
สีหเสนาปติสูตรที่ ๔ จบ
๕. อรักเขยยสูตร
ว่าด้วยฐานะที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ ที่ตถาคตไม่ต้องรักษา และตถาคต
ไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีกายทุจริตที่จะต้อง
รักษาว่า ‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
๒. ตถาคตมีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีวจีทุจริตที่จะต้อง
รักษาว่า ‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
๓. ตถาคตมีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ ไม่มีมโนทุจริตที่จะต้องรักษาว่า
‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
๔. ตถาคตมีอาชีวะบริสุทธิ์ ไม่มีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)ที่จะต้องรักษาว่า
‘คนอื่นอย่าได้รู้กรรมนี้ของเรา’
นี้คือฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๕.อรักเขยยสูตร
ตถาคตไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตมีธรรมที่กล่าวไว้ดีแล้ว เราไม่เห็นนิมิต๑นี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์
เทวดา พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผล
ในธรรมนั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ ท่านจึงมิใช่เป็นผู้มีธรรมที่กล่าวไว้
ดีแล้ว’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่๒
๒. เราได้บัญญัติไว้ดีแล้วซึ่งข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพานโดยวิธีที่สาวกทั้งหลาย
ของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา พรหม
หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ท่านมิได้บัญญัติไว้ดีแล้วซึ่งข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพาน
โดยวิธีที่สาวกทั้งหลายของท่านปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น จึงถึง
ความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
๓. สาวกบริษัทของเราหลายร้อย ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ฯลฯ เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา พรหม หรือ
ใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ สาวกบริษัทหลายร้อยของท่าน มิได้ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น
จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
ตถาคตไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา และตถาคตไม่ถูก
ติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
อรักเขยยสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ นิมิต ในที่นี้หมายถึงธรรม คือเมื่อแสดงธรรม พระองค์ก็ไม่เห็นธรรมที่กล่าวไม่ดีแม้สักบทหนึ่ง และหมาย
ถึงบุคคล คือ พระองค์ไม่เห็นบุคคลแม้สักคนเดียวที่อุปัฏฐากพระองค์แล้วยังดิ้นรนกล่าวอยู่ว่า ‘ท่านกล่าว
ธรรมชั่ว ท่านกล่าวธรรมไม่ดี’ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๕๘/๑๙๒)
๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘/๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๖.กิมิลสูตร
๖. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ๑
[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตกรุงกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระ
กิมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรง
อยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสมาธิ
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๗. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
ท่านพระกิมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๔๐/๔๙๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๗.สัตตธัมมสูตร
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสมาธิ
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๗. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
กิมิลสูตรที่ ๖ จบ
๗. สัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม ๗ ประการที่เป็นเหตุให้บรรลุวิมุตติ
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ไม่นานนัก ก็จะ
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นพหูสูต ๔. เป็นผู้หลีกเร้น
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติ
๗. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ไม่นานนัก ก็จะทำ
ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สัตตธัมมสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
๘. จปลายมานสูตร
ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังนั่งง่วงอยู่
ที่หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่าน
พระมหาโมคคัลลานะกำลังนั่งง่วงอยู่ ใกล้หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ แล้วได้ทรงหายไปจากป่าเภสกลามิคทายวัน
เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะใกล้
หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือ
คู้แขนเข้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้๑แล้ว ได้ตรัสกับท่าน
พระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ โมคคัลลานะ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. เมื่อเธอมีสัญญาอยู่อย่างไร ความง่วงนั้น ย่อมครอบงำเธอได้ เธออย่า
ได้มนสิการถึงสัญญานั้น อย่าได้ทำสัญญานั้นให้มาก เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น
จะละความง่วงนั้นได้
๒. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงตรึกตรองพิจารณา
ธรรมตามที่ได้สดับมา ได้เล่าเรียนมา เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วง
นั้นได้

เชิงอรรถ :
๑ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ หมายถึง พุทธอาสน์ คือ ตั่ง เตียง แผ่นกระดาน แผ่นหิน หรือกองทรายที่ภิกษุผู้
บำเพ็ญเพียรปูลาดไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคที่จะเสด็จมาให้โอวาท ถ้าหาอาสนะอย่างนั้นไม่ได้
จะใช้ใบไม้แห้งปูลาดก็ได้ โดยลาดสังฆาฏิไว้บน นี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร (องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๕๕/๑๓๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๕/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
๓. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงสาธยายธรรมตาม
ที่ได้สดับมา ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วง
นั้นได้
๔. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงยอนช่องหูทั้ง ๒ ข้าง
ใช้มือบีบนวดตัว เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้
๕. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงลุกขึ้นยืน ใช้น้ำลูบตา
เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตร เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความ
ง่วงนั้นได้
๖. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงมนสิการถึงอาโลก-
สัญญา(ความกำหนดหมายแสงสว่าง) ตั้งสัญญาว่าเป็นกลางวันไว้ คือกลางวัน
อย่างไร กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันก็อย่างนั้น มีใจเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตให้โปร่งใส เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้
๗. ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น ยังละความง่วงนั้นไม่ได้ เธอพึงอธิษฐานจงกรม
กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ภายใน มีใจไม่คิดไปภายนอก
เป็นไปได้ที่เมื่อเธออยู่อย่างนั้น จะละความง่วงนั้นได้
ถ้าเมื่อเธออยู่อย่างนั้น เธอยังละความง่วงนั้นไม่ได้ ก็พึงสำเร็จสีหไสยา(การ
นอนดุจราชสีห์)โดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐาน-
สัญญา(กำหนดหมายว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจ พอตื่น ก็รีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า‘เราจักไม่
ประกอบความสุขในการนอน ไม่ประกอบความสุขในการเอกเขนก ไม่ประกอบ
ความสุขในการหลับ’ โมคคัลลานะ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่ชูงวง๑
เข้าไปยังตระกูล’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑งวง ในที่นี้หมายถึงมานะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๑/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
โมคคัลลานะ ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปยังตระกูล และในตระกูลก็มีกิจที่จะต้องทำ
หลายอย่าง ทำให้ผู้คนไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาถึงแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ ใครกันนะยุยงให้เราแตกกับตระกูลนี้ เดี๋ยวนี้ คนเหล่านี้
เบื่อหน่ายเรา’ ดังนั้น เธอจึงมีความเก้อเขินเพราะไม่ได้อะไร เมื่อเก้อเขิน จึงมีความ
ฟุ้งซ้าน เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตจึงห่างจากสมาธิ
โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่กล่าว
ถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โมคคัลลานะ เมื่อมีถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องพูดมาก เมื่อมี
การพูดมาก ความฟุ้งซ่านจึงมี เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม
จิตจึงห่างจากสมาธิ
โมคคัลลานะ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับคนทั้งปวง เราจะไม่สรรเสริญ
การคลุกคลีโดยประการทั้งปวงเลยก็หาไม่ คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่ชน
ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะที่มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด๑ มีความ----------------------------------------

--
๑มีความสำเร็จสูงสุด หมายถึงเข้าถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) และดู องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๑๐/๔๐๖ ภิกษุผู้ชื่อว่า มีความสำเร็จสูงสุด เพราะไม่มีธรรมที่กำเริบอีกและไม่มีสภาวะที่ต้องเสื่อมอีก
ชื่อว่า มีความเกษมจากโยคะสูงสุด เพราะปลอดภัยจากโยคกิเลส ๔ ประการได้อย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า
ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด เพราะการประพฤตินั้นจะไม่เสื่อมอีกเนื่องจากอยู่จบมัคคพรหมจรรย์แล้ว
ชื่อว่า มีที่สุดอันสูงสุด เพราะมีความสิ้นสุดคือการประพฤติมัคคพรหมจรรย์ และทำที่สุดวัฏฏทุกข์ได้
(องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๖๑/๒๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๘.จปลายมานสูตร
เกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับมาว่า ธรรม
ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุได้สดับมาอย่างนั้นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุ
นั้นย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงแล้ว จึงกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว จึงเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความดับ
ไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาเหล่านั้นอยู่ เมื่อพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่
พิจารณาเห็นความดับไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ เธอก็ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็ปรินิพพานเฉพาะตน๑ เธอย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
โมคคัลลานะ ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ
พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
จปลายมานสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ปรินิพพานเฉพาะตน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้เอง (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๑/๑๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๙.เมตตสูตร
๙. เมตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญเมตตาจิต
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญเลย คำว่า บุญ นี้ เป็นชื่อ
ของความสุข เราย่อมรู้ชัดว่าบุญที่เราทำแล้วตลอดกาลนาน มีผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ อันเราเสวยมาแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
ไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกเสื่อม
เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ภิกษุทั้งหลาย ในพรหมวิมานนั้น เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้
ครอบงำ ไม่ใช่ถูกใครๆ ครอบงำ เป็นผู้เห็นแน่นอน๒ มีอำนาจ เราได้เป็นท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมเทพถึง ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะสงคราม มีชนบทที่ถึงความมั่นคง
ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ ตั้งหลายร้อยครั้ง เรานั้นมีรัตนะ ๗ ประการนี้๓ คือ

๑. จักรแก้ว ๒. ช้างแก้ว
๓. ม้าแก้ว ๔. มณีแก้ว
๕. นางแก้ว ๖. คหบดีแก้ว
๗. ขุนพลแก้ว

เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้
เรานั้นปกครองแผ่นดินนี้อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา

เชิงอรรถ :
๑ สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ ได้แก่ ช่วงระยะ
เวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘)
๒ เห็นแน่นอน หมายถึงเห็นเหตุการณ์อดีต อนาคต และปัจจุบันได้อย่างชัดเจนด้วยอภิญญาญาณ (องฺ.
สตฺตก.ฏีกา ๓/๖๒/๒๒๔)
๓ ดู ที.ม. ๑๐/๒๔๓-๒๕๑/๑๕๐-๑๕๔ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๙.เมตตสูตร
จงดูวิบากแห่งบุญกุศล
ของบุคคลผู้แสวงหาความสุข
ภิกษุทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิตมา ๗ ปี
ไม่มาสู่โลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป
เมื่อโลกเสื่อม เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ
เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ในกาลนั้น เราเป็นมหาพรหมผู้มีอำนาจถึง ๗ ครั้ง
เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ เสวยเทพสมบัติ ๓๖ ครั้ง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป
เป็นกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษก เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์
ปกครองปฐพีมณฑลนี้โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา
สั่งสอนคนในปฐพีมณฑลนั้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุนผลัน
ครั้นได้ครองราชสมบัติในปฐพีมณฑลนี้โดยธรรมแล้ว
ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก
เพียบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ
ที่อำนวยความประสงค์ได้ทุกอย่าง
ฐานะนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงสงเคราะห์โลก ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหตุที่เขาเรียกว่า เจ้าแผ่นดิน ก็เพราะเป็นใหญ่
เราเป็นพระราชาผู้เรืองเดช
มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมากมาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๐.ภริยาสูตร
มีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป
ใครเล่า ได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใส แม้ชนชั้นกัณหาภิชาติ๑
เพราะฉะนั้นแล ผู้มุ่งประโยชน์ มุ่งความเป็นใหญ่
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงเคารพสัทธรรมเถิด
เมตตสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ภริยาสูตร
ว่าด้วยภรรยา
[๖๓] ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่ปูลาดไว้แล้ว สมัยนั้นแล ในนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี มีเหล่ามนุษย์ส่งเสียง
ดังอื้ออึง อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี เหตุไรหนอ เหล่ามนุษย์ในนิเวศน์ของท่านจึงส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือน
ชาวประมงแย่งปลากัน”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดานี้ ข้าพระองค์พามาจากตระกูลมั่งคั่ง เป็น
สะใภ้ในเรือน นางไม่เชื่อฟังแม่ผัว ไม่เชื่อฟังพ่อผัว ไม่เชื่อฟังสามี แม้แต่พระผู้มี
พระภาค นางก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนมา
ตรัสว่า “มานี่ สุชาดา” นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับนางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ กัณหาภิชาติ หมายถึงบุคคลที่เกิดในตระกูลต่ำ ๕ ตระกูล คือ (๑) ตระกูลจัณฑาล (๒) ตระกูลช่างสาน
(๓) ตระกูลนายพราน (๔) ตระกูลช่างรถ (๕) ตระกูลคนขนขยะซึ่งเป็นตระกูลที่ยากจน (องฺ.ฉกฺก. (แปล)
๒๒/๕๗/๕๔๓-๕๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๐.ภริยาสูตร
สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้
ภรรยา ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. ภรรยาดุจเพชฌฆาต ๒. ภรรยาดุจนางโจร
๓. ภรรยาดุจนายหญิง ๔. ภรรยาดุจมารดา
๕. ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว ๖. ภรรยาดุจเพื่อน
๗. ภรรยาดุจทาสี

สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้แล
บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน
นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เข้าใจความหมาย
แห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้อย่างพิสดาร ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน โดยวิธีที่หม่อมฉันจะเข้าใจ
ความหมายแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้อย่างพิสดาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุชาดา ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสดังนี้ว่า
ภรรยาใดคิดประทุษร้าย ไม่เกื้อกูลอนุเคราะห์
ยินดีต่อชายเหล่าอื่น ดูหมิ่นสามี
เป็นหญิงที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามฆ่าสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต
ภรรยาใดมุ่งจะยักยอกทรัพย์แม้มีจำนวนน้อย
ที่สามีประกอบศิลปกรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรมได้มา
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนางโจร
ภรรยาใดไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินจุ
หยาบคาย ดุร้าย มักพูดคำชั่วหยาบ
ข่มขี่สามีผู้ขยันหมั่นเพียร
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจนายหญิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๐.ภริยาสูตร
ภรรยาใดเป็นผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์ทุกเมื่อ
คอยทะนุถนอมสามี เหมือนมารดาคอยทะนุถนอมบุตร
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา
ภรรยาใดเป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว
มีความเคารพในสามีของตน
มีใจละอายต่อบาป ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
ภรรยาใดเห็นสามีแล้วชื่นชมยินดี
เหมือนเพื่อนเห็นเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา
เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตรปฏิบัติต่อสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจเพื่อน
ภรรยาใดถูกสามีขู่จะฆ่าจะเฆี่ยนตี ก็ไม่โกรธ สงบเสงี่ยม
ไม่คิดขุ่นเคืองสามี อดทนได้
ไม่โกรธ ประพฤติคล้อยตามอำนาจสามี
ภรรยาเช่นนี้ เรียกว่า ภรรยาดุจทาสี
ภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจเพชฌฆาต
ภรรยาดุจนางโจร และภรรยาดุจนายหญิง
ภรรยานั้น เป็นผู้ทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อ
เมื่อตายไป ย่อมไปสู่นรก
ส่วนภรรยาใดในโลกนี้ ที่เรียกว่า ภรรยาดุจมารดา
ภรรยาดุจพี่สาวน้องสาว
ภรรยาดุจเพื่อน ภรรยาดุจทาสี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
ภรรยานั้น เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล
ยินดีและสำรวมมานาน
เมื่อตายไป ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์
สุชาดา ภรรยา ๗ จำพวกนี้แล
บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน
นางสุชาดากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นภรรยาดุจทาสี”
ภริยาสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. โกธนสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
ย่อมมาถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้มีผิว
พรรณทรามเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
มีผิวพรรณงาม ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้อาบน้ำดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ตัดผม
โกนหนวดแล้วนุ่งผ้าขาวก็จริง แต่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้น
ก็เป็นคนมีผิวพรรณทรามอยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ที่ศัตรู
มุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๒. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้นอน
เป็นทุกข์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
นอนสบาย ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้นอนอยู่บนเตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยพรม
ขนสัตว์ ลาดด้วยเครื่องลาดมีลายรูปดอกไม้ มีเครื่องลาดหนังชะมด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้างก็จริง แต่บุคคลผู้
ถูกความโกรธครอบงำนั้น ก็นอนเป็นทุกข์ อยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๒ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๓. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้ อย่าได้
มีความเจริญเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้
ศัตรูมีความเจริญ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้ได้ความเสื่อมก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเจริญ’
แม้ได้ความเจริญก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเสื่อม’ ธรรมเหล่านี้เป็น
ข้าศึกต่อกันและกัน ที่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นยึดถือแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ ๓ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๔. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็นคน
ไม่มีโภคทรัพย์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้
ศัตรูมีโภคทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรมก็จริง แต่พระราชาก็รับสั่งให้ริบโภคทรัพย์ของบุคคล
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ที่ศัตรูมุ่งหมาย
ที่ศัตรูพึงทำ
๕. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น
คนไม่มียศเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
มียศ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มียศที่ได้มาด้วยความไม่ประมาทก็จริง แต่บุคคลผู้
ถูกความโกรธครอบงำก็เสื่อมจากยศนั้น นี้เป็นธรรมประการที่ ๕
ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๖. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น
คนไม่มีมิตรเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
มีมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มีมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต๑ก็จริง แต่คน
เหล่านั้นก็พากันหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นไปห่างไกล
นี้เป็นธรรมประการที่ ๖ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
๗. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูไปสู่สุคติ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ ประพฤติทุจริต
ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นธรรม
ประการที่ ๗ ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ย่อมมา
ถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
บุคคลผู้มักโกรธนั้น
มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์
ได้ความเจริญแล้ว ก็ยังถึงความเสื่อม
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา
ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์

เชิงอรรถ :
๑ อำมาตย์ หมายถึงเพื่อนที่รักกันมาก (สุหัชชา) สามารถปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกโอกาส
ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและ
เครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา
สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่ หรือตา ย่า หรือยาย บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา
พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว (เทียบ องฺ.ติก.อ. ๒/๗๖/๒๒๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๗๑-
๗๔/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
บุคคลผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาเพราะโกรธ
ย่อมถึงความเสื่อมยศ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเว้นบุคคลผู้มักโกรธ
ความโกรธก่อความเสียหาย
ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
บุคคลผู้มักโกรธย่อมไม่รู้ภัยที่เกิดจากภายใน
บุคคลผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ
บุคคลผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม
ความโกรธครอบงำนรชนในกาลใด
ความมืดย่อมมีในกาลนั้น
บุคคลผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย
ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว
เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
บุคคลผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยาก๑ก่อน
เหมือนไฟแสดงควันก่อน
ความโกรธเกิดขึ้นในกาลใด
คนทั้งหลายย่อมโกรธในกาลนั้น
บุคคลผู้โกรธไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ
ไม่มีคำพูดที่น่าเคารพ
บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำไม่มีความสว่างแม้แต่น้อย
กรรมเหล่าใดห่างไกลจากธรรม เป็นเหตุให้เดือดร้อน
เราจักบอกกรรมเหล่านั้น
เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ

เชิงอรรถ :
๑ ความเก้อยาก ในที่นี้หมายถึงความทุศีล อาการที่ล่วงละเมิดสิกขาบท โดยไม่รู้สึกละอาย ไม่ยอมรับ ทั้งยัง
รุกรานสงฆ์ว่า ‘ท่านเห็น ท่านได้ยินหรือว่าข้าพเจ้าทำผิดอะไร พวกท่านยกอาบัติอะไรขึ้นปรับข้าพเจ้า’
(เทียบ องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๑/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค ๑๑.โกธนสูตร
บุคคลผู้โกรธ ฆ่าบิดาก็ได้
บุคคลผู้โกรธ ฆ่ามารดาก็ได้
บุคคลผู้โกรธ ฆ่าพราหมณ์๑ก็ได้
บุคคลผู้โกรธ ฆ่าปุถุชนก็ได้
ลูกที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตามองโลกนี้
เป็นผู้มีกิเลสหนา โกรธขึ้นมา
ย่อมฆ่าแม้มารดาผู้ให้ชีวิตนั้น
สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ
เพราะตนเป็นที่รักอย่างยิ่ง
ผู้โกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ๒ ย่อมฆ่าตนเองเพราะเหตุต่างๆ
คือฆ่าตนเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษตายบ้าง
ใช้เชือกผูกคอตายบ้าง กระโดดลงในซอกเขาตายบ้าง
คนเหล่านั้นเมื่อทำกรรม
อันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตน ก็ไม่รู้สึก
ความเสื่อมเกิดจากความโกรธ
ตามที่กล่าวมา ความโกรธนี้ เป็นบ่วงแห่งมัจจุ
มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย โดยรูปของความโกรธ
พึงตัดความโกรธนั้นด้วยทมะ (ความข่มใจ)
คือปัญญา๓ ความเพียร๔และทิฏฐิ๕

เชิงอรรถ :
๑ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงพระอรหันตขีณาสพ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๔/๑๙๗)
๒ รูปต่างๆ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ต่างๆ (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๖๔/๑๙๗)
๓ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๖๔/๑๙๗)
๔ ความเพียร ในที่นี้หมายถึงความเพียรทางกายและจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ.
๓/๖๔/๑๙๗)
๕ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ.๓/๖๔/๑๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๖.อัพยากตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่าง
พึงศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น
เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า
‘ขอความเป็นผู้เก้อยากอย่าได้มีแก่เราทั้งหลาย’
บุคคลผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ
ปราศจากความโลภ ไม่มีความริษยา
ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้แล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน
โกธนสูตรที่ ๑๑ จบ
อัพยากตวรรคที่ ๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัพยากตสูตร ๒. ปุริสคติสูตร
๓. ติสสพรหมสูตร ๔. สีหเสนาปติสูตร
๕. อรักเขยยสูตร ๖. กิมิลสูตร
๗. สัตตธัมมสูตร ๘. จปลายมานสูตร
๙. เมตตสูตร ๑๐. ภริยาสูตร
๑๑. โกธนสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๑.หิริโอตัปปสูตร
๗. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. หิริโอตตัปปสูตร
ว่าด้วยผลแห่งหิริและโอตตัปปะ
[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี
อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
อินทรียสังวรไม่มี ศีลของบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ศีลไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิ
ไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ-
วิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะ
ไม่มี อินทรียสังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะมี อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
หิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยอินทรียสังวร ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทา
และวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของ
ต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหิริและโอตตัปปะมี
อินทรียสังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ฉันนั้นเหมือนกัน”
หิริโอตตัปปสูตรที่ ๑ จบ
๒. สัตตสุริยสูตร
ว่าด้วยดวงอาทิตย์ ๗ ดวง
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
ข้อกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
ภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ ยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์
หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พีชคาม ภูตคาม และติณชาติที่ใช้เข้ายา
ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นข้อ
กำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒
ปรากฏ เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำน้อย หนองน้ำทุกแห่ง ระเหย
เหือดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู
มหี ทุกแห่ง ระเหย เหือดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แหล่งน้ำใหญ่ๆ ที่เป็นแดนไหลมารวมกันของแม่
น้ำใหญ่ๆ เหล่านี้ คือ สระอโนดาด สระสีหปปาตะ สระรถการะ สระกัณณมุณฑะ
สระกุณาลา สระฉัททันต์ สระมันทากินี ทุกแห่ง ระเหย เหือดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์
ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี
งวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่ว
ต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี เหลืออยู่เพียง
๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ชั่วครึ่ง
คนเพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า ภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่
เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเม็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา
น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ ฉะนั้นเพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำใน
มหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควัน
พวยพุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย นายช่างหม้อเผาหม้อที่เขาปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควัน
พวยพุ่งขึ้น ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้น ฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
มีสมัยที่เวลาผ่านไปยาวนาน บางครั้งบางคราว มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะดวงอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ เกิดไฟลุกโชน
มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่
เปลวไฟถูกลมพัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาไหม้ กำลังพินาศ
ถูกกองเพลิงใหญ่เผาทั่วตลอดแล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐
โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขา
สิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเนยใสหรือ
น้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด เมื่อแผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ขี้เถ้าและเขม่า ก็ย่อมไม่ปรากฏ ฉันนั้น
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาวะไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
ข้อกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้นในสังขารทั้งปวง
ในข้อนั้น ใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้รู้ ใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้เชื่อว่า ‘แผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญ พินาศ ไม่เหลืออยู่’ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอัน
เห็นแล้ว๑
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูชื่อสุเนตตะ๒ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจาก
ความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความเป็นผู้เกิดร่วมกับเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อครูสุเนตตะแสดงธรรมเพื่อ
ความเป็นผู้เกิดร่วมกับเทวดาชั้นพรหมโลก เหล่าสาวกผู้รู้ชัดคำสอนอย่างดียิ่ง
หลังจากตายแล้ว ได้ไปเกิดในสุคติพรหมโลก ส่วนเหล่าสาวกผู้ไม่รู้ชัดคำสอน
อย่างดียิ่ง หลังจากตายแล้ว บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต
บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับขัตติย

เชิงอรรถ :-
๑ ผู้มีบทอันเห็นแล้ว ในที่นี้หมายถึงพระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๖/๑๙๙)
๒ ดู องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๒๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๒.สัตตสุริยสูตร
มหาศาล บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับพราหมณมหาศาล บางพวกได้ไปเกิดร่วมกับ
คหบดีมหาศาล๑
ครั้งนั้นแล ครูสุเนตตะได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การที่เรามีคติในสัมปรายภพ
เสมอเหมือนกับเหล่าสาวก ไม่สมควรเลย ทางที่ดี เราควรเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้น’
ต่อจากนั้น ครูสุเนตตะได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด
๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกเสื่อม ครูสุเนตตะเข้าถึงพรหม
โลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญครูสุเนตตะเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ภิกษุทั้งหลาย ในพรหมวิมานนั้น ครูสุเนตตะเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
เป็นผู้ครอบงำ ไม่ใช่ถูกใครๆ ครอบงำ เป็นผู้เห็นแน่นอน มีอำนาจ ครูสุเนตตะได้
เป็นท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพถึง ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะสงคราม มีชนบทที่ถึง
ความมั่นคง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ ตั้งหลายร้อยครั้ง ครูสุเนตตะเคยมี
บุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ ครูสุเนตตะนั้น
ปกครองแผ่นดินนี้อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง
ใช้ศัสตรา
ภิกษุทั้งหลาย ครูสุเนตตะนั้นเป็นผู้มีอายุยืนนานอย่างนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ได้นาน
อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เราจึงกล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการ๒ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล
๒. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ

เชิงอรรถ :
๑ มหาศาล หมายถึงผู้มีทรัพย์มาก คือ ขัตติยมหาศาลมีราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ พราหมณมหาศาล
มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ (ที.ม.อ. ๒/๒๑๐/๑๙๓)
๒ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๑-๒, อภิ.ก. ๓๗/๒๘๑/๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
๓. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา
๔. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติ๑สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ๒ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพาน๓แล้ว
สัตตสุริยสูตรที่ ๒ จบ
๓. นคโรปมสูตร
ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนคร(เมืองชายแดน)ของพระราชา
เป็นนครที่ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ และได้อาหาร ๔ อย่าง
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันต-
นครของพระราชานี้ว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ (ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙)
๒ จักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ ๕ คือ (๑) จักษุ (ตาเนื้อ) (๒) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) (๓) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา)
(๔) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๖๖/๑๙๙)
๓ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๖๙, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ปัจจันตนครชื่อว่าป้องกันดีด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี
ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้อง
กันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ ๑ นี้
๒. ปัจจันตนครของพระราชามีคูลึกและกว้าง ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดีเพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๒ นี้
๓. ปัจจันตนครของพระราชามีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง ปัจจันต
นครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๓ นี้
๔. ปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ ๔ นี้
๕. ปัจจันตนครของพระราชามีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พล
ม้า พลรถ พลธนู หน่วยเชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิ-
การ หน่วยเสนาธิการ หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย
หน่วยทหารเกราะหนัง หน่วยทหารทาส ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ นี้
๖. ปัจจันตนครของพระราชามีทหารยามฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป ปัจจันตนครของ
พระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ นี้
๗. ปัจจันตนครของพระราชามีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ
ถือปูนดี ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการ
ที่ ๗ นี้
อาหาร ๔ อย่างที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
อะไรบ้าง คือ
๑. ปัจจันตนครของพระราชานี้ มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของ
ประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
๒. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี และข้าวเหนียว
ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
๓. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว
ถั่วทอง ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความ
อยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
๔. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกัน
อันตรายภายนอก
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้แล ที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาเป็นนครป้องกันไว้ดี ด้วย
เครื่องป้องกันนคร ๗ ประการนี้ และได้อาหาร ๔ ประการนี้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันตนครของพระราชานี้ว่า
ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม
๗ ประการ และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกอริย-
สาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธาเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญ
กุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๑ นี้
๒. อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีคูลึกและกว้าง เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเหมือนคู
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการ
ที่ ๒ นี้
๓. อริยสาวกเป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เพื่อ
คุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเหมือนทางเดินรอบกำแพง ย่อมละอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้
บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๓ นี้
๔. อริยสาวกเป็นพหูสูต ฯลฯ๑ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเหมือนอาวุธ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๔ นี้
๕. อริยสาวกเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
กองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู หน่วย
เชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิการ หน่วยเสนาธิการ
หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย หน่วยทหาร
เกราะหนัง หน่วยทหารทาส เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเหมือนกองทัพ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๕ นี้
๖. อริยสาวกเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ เปรียบเหมือนปัจจันต-
นครของพระราชา มีทหารยามฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา คอยกัน
คนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เพื่อคุ้มกันภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติ
เหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐-๑๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๗.มหาวรรค ๓.นคโรปมสูตร
ธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วย
สัทธรรมประการที่ ๖ นี้
๗. อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกถึงพร้อมด้วยปัญญาเหมือนป้อมที่ก่ออิฐถือปูนดี ย่อมละ
อกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหาร
ตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ ๗ นี้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่อริยสาวก
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ๑ เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อ
ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ
ป้องกันอันตรายภายนอก
๒. อริยสาวก เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ๒
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน
เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชามีการ
สะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ
ป้องกันอันตรายภายนอก

เชิงอรรถ :
๑-๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ หน้า ๒๒๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๑๔๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น