Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๓-๑๑ หน้า ๔๗๑ - ๕๑๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓-๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
คหบดี บุคคลให้ทานเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม ถ้าให้ทานนั้นโดยเคารพ
ทำความนอบน้อมให้ทาน ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานไม่เหมือนจะทิ้ง เป็นผู้
เห็นผลที่จะตามมาให้ทานในตระกูลที่ทานนั้น ๆ บังเกิดผล เขาน้อมจิตไปเพื่อ
บริโภคอาหารอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อนุ่งห่มผ้าอย่างดี น้อมจิตไปเพื่อใช้ยานอย่างดี
และน้อมจิตไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้แต่บริวารของผู้ให้ทานนั้น คือ
บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกรก็ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งใจใฝ่รู้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้โดยเคารพ
คหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ๑ เขาให้ทานเป็นมหาทาน
อย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองคำเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วย
ทองคำ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก
มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน
หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง หุ้มด้วยผ้ากัมพล
เหลือง มีเครื่องประดับทองคำ มีธงทองคำ คลุมด้วยข่ายทองคำ ให้แม่โคนม
๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมที่รีดและไหลสะดวก มีภาชนะสำริดสำหรับรองรับ ให้หญิงสาว
๘๔,๐๐๐ คนสวมแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์๒ ๘๔,๐๐๐ ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์๓
ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาด ทำด้วยขนแกะลาย
ดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสี
แดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง๔ ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ พับ เป็นผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหม

เชิงอรรถ :
๑ ที่มีชื่อว่า เวลามะ เพราะมีคุณสมบัติมากมาย ไร้ขอบเขต เช่น เพียบพร้อมด้วยชาติ โคตร รูปร่างลักษณะ
โภคสมบัติ ศรัทธา และปัญญา (เวลาโมติ เอตฺถ มา-สทฺโธ ปฏิเสธวจโน, ชาติโคตฺตรูปโภคาทิคุณานํ
เวลา มริยาทา นตฺถิ เอตสฺมินฺติ เวลาโม) ดู องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๐/๓๕๔
๒ บัลลังก์ ในที่นี้หมายถึงเตียงที่มีเท้าแกะสลักเป็นรูปสัตว์ร้าย (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๓ ผ้าโกเชาว์ หมายถึงผ้าที่ทำด้วยขนแพะหรือขนแกะผืนใหญ่ มีขนยาวเกิน ๔ นิ้ว (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙)
๔ หมอนสีแดงวางไว้ทั้ง ๒ ข้าง หมายถึงหมอนที่ใช้สำหรับหนุนศีรษะ ๑ ใบ และใช้หนุนเท้า ๑ ใบ วางไว้
ส่วนศีรษะและส่วนเท้า (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๑๖๙-๑๗๐) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
เนื้อละเอียด ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ไม่จำต้องกล่าวถึงข้าว น้ำ
ของเคี้ยว ของบริโภค ของลิ้ม ของดื่ม ไหลออกไปเหมือนแม่น้ำ
คหบดี ท่านอาจจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘สมัยนั้น เวลามพราหมณ์ผู้ให้ทาน
เป็นมหาทาน เป็นคนอื่นแน่แท้ แต่ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะเวลามพราหมณ์
ผู้ให้ทานเป็นมหาทาน ในสมัยนั้น ก็คือเรานั่นเอง แต่ในทานนั้น ไม่มีใครเป็น
พระทักขิไณยบุคคล ใคร ๆ ก็ชำระทักษิณานั้นให้หมดจดไม่ได้๑
คหบดี การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวให้บริโภค มีผล
มากกว่าการที่เวลามพราหมณ์ได้ให้ทานเป็นมหาทาน
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการ
ที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ผู้เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการ
ที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวให้บริโภค มีผลมากกว่าการที่
บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค
การที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค มีผลมากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าตั้งร้อยให้บริโภค

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ หมายความว่า ในมหาทานนั้น ไม่มีสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือเมื่อว่า
โดยบุคคลชั้นยอดไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีสาวกเช่นพระสารีบุตรนั้นเลยที่จะเป็นปฏิคาหกสามารถทำให้
ทักษิณามีผลเลิศได้ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๐/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค ๑๐.เวลามสูตร
การที่บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้บริโภค มีผลมาก
กว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค
การที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าการที่
บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้บริโภค
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ
มีผลมากกว่าการที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
การงดเว้นจากการลักทรัพย์ การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม การงดเว้นจาก
การพูดเท็จ การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะ
การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตอย่างน้อยชั่วสูดดมกลิ่นหอม มีผลมากกว่าการที่
บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้นนั้น
คหบดี การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาชั่วลัดนิ้วมือเดียว มีผลมากกว่าการที่
เวลามพราหมณ์ได้ให้ทานเป็นมหาทาน มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิตั้งร้อย
ให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีผู้เดียวให้บริโภค มากกว่า
การที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นสกทาคามีตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคล
เชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอนาคามีผู้เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคล
ผู้เป็นอนาคามีตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์
ผู้เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญบุคคลผู้เป็นอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค
มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียวให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๒.สีหนาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เชื้อเชิญพระอรหันต์ตั้งร้อยให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลเชื้อเชิญภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานให้บริโภค มากกว่าการที่บุคคลสร้างวิหารอุทิศถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศ
ทั้ง ๔ มากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ มากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ การงดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์ ฯลฯ การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาท และมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตอย่างน้อยชั่วสูดดม
กลิ่นหอมนั้น”
เวลามสูตรที่ ๑๐ จบ
สีหนาทวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีหนาทสูตร ๒. สอุปาทิเสสสูตร
๓. โกฏฐิตสูตร ๔. สมิทธิสูตร
๕. คัณฑสูตร ๖. สัญญาสูตร
๗. กุลสูตร ๘. นวังคุโปสถสูตร
๙. เทวตาสูตร ๑๐. เวลามสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑.ติฐานสูตร
๓. สัตตาวาสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตตาวาส
๑. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ ประการ
[๒๑] ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
และมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีความเห็นแก่ตัว ๒. ไม่มีความหวงแหน
๓. มีอายุแน่นอน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐาน ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุอันเป็นทิพย์ ๒. วรรณะอันเป็นทิพย์
๓. สุขอันเป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีความเห็นแก่ตัว หมายถึงไม่มีตัณหา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวงแหน หมาย
ถึงไม่หวงแหนว่า “สิ่งนี้เป็นของเรา” มีอายุแน่นอน หมายถึงมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และมีคติที่แน่นอนคือ เมื่อ
จุติจากอุตตรกุรุทวีปแล้วต้องไปเกิดในสวรรค์เท่านั้น (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้แกล้วกล้า
๒. เป็นผู้มีสติ๑
๓. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในชมพูทวีปนี้๒
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
ติฐานสูตรที่ ๑ จบ
๒. อัสสขฬุงกสูตร๓
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๒๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก คนกระจอก ๓
จำพวก ม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก ม้าอาชาไนย๔พันธุ์ดี ๓ จำพวก
และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น
ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

เชิงอรรถ :
๑ มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก
ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)
๒ เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค
มีองค์ ๘ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๗๑/๙๕
๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๔๑-๑๔๓/๓๘๗-๓๙๒ (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร)
๔ ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์๑ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ๒ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ
แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา แต่เขาถูก
ถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญา ตอบไม่ได้ เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่
วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ เชาว์ของม้า หมายถึงกำลังวิ่งหรือความมีฝีเท้าเร็ว (ปทชวะ) เชาว์ของคน หมายถึงกำลังวิ่งหรือหมายถึง
ญาณคือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔)
๒ วรรณะของม้า หมายถึงสีสันแห่งสรีระ วรรณะของคน หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้
ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓, องฺ.นวก.อ. ๓/๒๒/๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ
อภิวินัยก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้ไม่ใช่ความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความ
สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและ
อภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูง
และความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๒.อัสสขฬุงกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๒. คนดีบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ
สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและ
ความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น
โอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า
นี้เป็นเชาว์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา
เรากล่าวว่า นี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย
ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๒. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ
๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วย
วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น
เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดในสุทธาวาส
(ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหา เป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสใน
สุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๓.ตัณหามูลกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๒. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์
ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่
ฯลฯ
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์
ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาว์ของเขา
เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่า นี้เป็น
วรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญสมบูรณ์ด้วยเชาว์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขฬุงกสูตรที่ ๒ จบ
๓. ตัณหามูลกสูตร
ว่าด้วยตัณหามูลธรรม๑
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ
พวกเธอจงฟังธรรมนั้น
ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา ๑๑/๓๕๙/๒๗๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๓/๖๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๔.สัตตาวาสสูตร
๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย๑ ฉันทราคะ๒ จึงเกิดขึ้น
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น
๙. เพราะอาศัยการรักษา บาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การถือ
ท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึง กู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ จึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการนี้แล
ตัณหามูลกสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัตตาวาสสูตร
ว่าด้วยสัตตาวาส๓
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์) ๙ ประการนี้
สัตตาวาส ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๑

เชิงอรรถ :
๑ วินิจฉัย หมายถึงวินิจฉัย ๔ ประการ คือ (๑) ญาณวินิจฉัย ได้แก่ รู้การตกลงใจว่าเป็นสุขหมั่นประกอบ
ความสุขภายใน (๒) ตัณหาวินิจฉัย ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย ๑๐๘ (๓) ทิฏฐิวินิจฉัย ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒
(๔) วิตักกวินิจฉัย ได้แก่ ฉันทะที่เป็นเหตุเกิดแห่งวิตก และในที่นี้หมายถึงวิตักกวินิจฉัยเท่านั้น เพราะแม้
ได้ลาภ ก็วินิจฉัยถึงสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา วินิจฉัยถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีด้วยวิตกทั้งนั้นว่า
สิ่งนี้มีแก่เรา สิ่งนี้มีแก่ผู้อื่น เราใช้สิ่งนี้ เรางดเว้นสิ่งนี้” (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๓/๓๐๔)
๒ ฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่มีกำลังอ่อน ไม่ใช่ราคะที่มีกำลังกล้า เกิดขึ้นเมื่อถูกอกุศลวิตกครอบงำ
(องฺ.นวก.อ. ๒/๒๓/๓๐๕)
๓ ดูสัตตกนิบาตข้อ ๔๔ (สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร) หน้า ๖๗-๖๘ ในเล่มนี้ และดู ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒,
ที.ปา. ๑๑/๓๕๗/๒๕๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๔.สัตตาวาสสูตร
๒. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดาชั้น
พรหมกายิกา (เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌานที่ ๑
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๒
๓. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ เทวดาชั้น
อาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๓
๔. มีสัตว์ผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ เทวดา
ชั้นสุภกิณหะ (เทวดาผู้เต็มไปด้วยความงาม) นี้เป็นสัตตาวาสประการ
ที่ ๔
๕. มีสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา คือ เทวดาชั้นอสัญญีสัตตพรหม
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๕
๖. มีสัตว์ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๖
๗. มีสัตว์ผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๗
๘. มีสัตว์ผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาส
ประการที่ ๘
๙. มีสัตว์ผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ประการนี้แล
สัตตาวาสสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๕.ปัญญาสูตร
๕. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อบรมจิตดีด้วยปัญญา
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้น
ควรกล่าวดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญาว่า
๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว
๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว
๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว
๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา
๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา
๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา
๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา
๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยปัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรกล่าว
ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ปัญญาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร
๖. สิลายูปสูตร
ว่าด้วยจิตเปรียบด้วยเสาหิน
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระจันทิกาบุตร อยู่ ณ
พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑ เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตร
กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้น
ควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับท่าน
พระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่านจันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์
ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น
ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรก็กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใด
ภิกษุอบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

เชิงอรรถ :
๑ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ดูรายละเอียดใน ม.มู.อ.
๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, G.P. MALALAKERA, Dictionary of Pali : Proper Names, London, Luzac
Company Ltd. 46 Great Russell Street, 1960.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๖.สิลายูปสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวกับท่านพระจันทิกาบุตรดังนี้ว่า “ท่าน
จันทิกาบุตร พระเทวทัตไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘เมื่อใด ภิกษุ
อบรมจิตด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’ แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย
เมื่อใด ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เมื่อนั้น ภิกษุนั้นควรพยากรณ์ดังนี้ว่า ‘เรารู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิต เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุอบรมจิตดีด้วยจิตว่า
๑. จิตของเราปราศจากราคะแล้ว
๒. จิตของเราปราศจากโทสะแล้ว
๓. จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว
๔. จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา
๕. จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา
๖. จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา
๗. จิตของเราไม่กลับมาในกามภพเป็นธรรมดา
๘. จิตของเราไม่กลับมาในรูปภพเป็นธรรมดา
๙. จิตของเราไม่กลับมาในอรูปภพเป็นธรรมดา
ผู้มีอายุ แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของ
ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อม
พิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งรูปนั้น
ผู้มีอายุ เสาหินยาว ๑๖ ศอกหยั่งลงไปในหลุม ๘ ศอก อยู่บนหลุม ๘ ศอก
แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพาก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน
หวั่นไหวได้ แม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
ก็ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นสั่นคลอน สะเทือน หวั่นไหวได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
หลุมลึกและเสาหินฝังไว้ดี ฉันใด
แม้หากรูปอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางตา ผ่านมาทางคลองจักษุของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอ
ไม่ระคนกับรูปเหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็น
ความเสื่อมแห่งรูปนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
แม้หากเสียงอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
แม้หากกลิ่นอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
แม้หากรสอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
แม้หากโผฏฐัพพะอย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางกาย ฯลฯ
แม้หากธรรมารมณ์อย่างหยาบที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผ่านมาทางคลองใจของภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบแล้วอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้
จิตของเธอไม่ระคนกับธรรมารมณ์เหล่านั้นเลย เป็นจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และเธอ
ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมแห่งธรรมารมณ์นั้น ฉันนั้นเหมือนกัน”
สิลายูปสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมเวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร๑ สูตรที่ ๑
[๒๗] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า “คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว และประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา๒ ๔ ประการ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์
ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๙๒/๒๑๒-๒๑๔
๒ องค์เครื่องบรรลุโสดา ในที่นี้หมายถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน (สํ.ม.อ. ๓/๔๗๘/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
มีอบาย ทุคติ และวินิบาต๑สิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน๒ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิ๓ในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวร
นั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๔อันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง
ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้น
ขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปใน
สัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
แล้วย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐)
๒ โสดาบัน หมายถึงผู้ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะคำว่า โสตะ เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑/๕๓๐)
๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๕ หน้า ๒๓ ในเล่มนี้
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ สัตตกนิบาต ข้อ ๖ หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๗.ปฐมเวรสูตร
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วย
ตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง
ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ
เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ได้แล้ว และประกอบด้วย
องค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์
ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่
จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ปฐมเวรสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๘.ทุติยเวรสูตร
๘. ทุติยเวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร สูตรที่ ๒
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว
และประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อ
หวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส
ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่
เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกข-
โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับ
ภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
เพราะการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ใน
สัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปในสัมปรายภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๘.ทุติยเวรสูตร
ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้วย่อมระงับ
ภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ เป็นอย่างนี้แล
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อ
สมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ได้แล้ว และ
ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่ง
เปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ทุติยเวรสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๙.อาฆาตวัตถุสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร
ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ประการนี้
อาฆาตวัตถุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แล
อาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ (แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙
๒ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑๐.อาฆาตปฏิวินยสูตร
๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต๑ ๙ ประการนี้
อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙, ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๒ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค ๑๑.อนุปุพพนิโรธสูตร
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบ
พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๙ ประการนี้แล
อาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพนิโรธ
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ๑ (ความดับไปตามลำดับ) ๙ ประการนี้
อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
๒. วิตกวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
๔. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายนตฌานดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๔/๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๓.สัตตาวาสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๑ ดับไป
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑ จบ
สัตตาวาสวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติฐานสูตร ๒. อัสสขฬุงกสูตร
๓. ตัณหาสูตร ๔. สัตตาวาสสูตร
๕. ปัญญาสูตร ๖. สิลายูปสูตร
๗. ปฐมเวรสูตร ๘. ทุติยเวรสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร


เชิงอรรถ :
๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญา และเวทนา มี ๒ คือ อสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ
ที่เป็นอสัญญาสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญใน
สมาบัติ ๘ แล้วเท่านั้นจึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๔. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. อนุปุพพวิหารสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารธรรม
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม๑ ๙ ประการนี้
อนุปุพพวิหารธรรม ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. อากาสานัญจายตนฌาน ๖. วิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อากิญจัญญายตนฌาน ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ

ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารธรรม ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสูตรที่ ๑ จบ
๒. อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติ
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ เธอ
ทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ฯลฯ
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เรากล่าวว่า กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกาม
ทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อนุปุพพวิหารธรรม หมายถึงธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๒-๓๓/๓๐๗) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๒๘/๕๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายดับที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
กามได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจาก
วิเวกอยู่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นก็ดับ
กามได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชม ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลี
เข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๒. เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว
ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิตกและวิจารดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
วิตกและวิจารได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลาย
พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะวิตก-
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ วิตกและวิจารย่อมดับใน
ทุติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิตกและวิจารได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๓. เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้สนิทอยู่
ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ปีติย่อมดับ
ในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับปีติได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เรา
ไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
ปีติย่อมดับในตติยฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับปีติได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
๔. เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับ
อุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิท
แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใด
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และคน
เหล่าไหนเล่าดับอุเบกขาและสุขได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’
เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อุเบกขาและ
สุขย่อมดับในจตุตถฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้
สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชม
ยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไป
นั่งใกล้เป็นแน่
๕. เรากล่าวว่า รูปสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูปสัญญา
ได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว
ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘รูปสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับรูปสัญญาได้
สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา
ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
รูปสัญญาย่อมดับในอากาสานัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้น
ดับรูปสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มี
มายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ
ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๖. เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากาสานัญจายตนสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากาสานัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับใน
วิญญาณัญจายตนฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๗. เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณัญจายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับวิญญาณัญจายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘ไม่มีอะไร’ อยู่ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับในอากิญจัญญายตน-
ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้สนิทอยู่’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๘. เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และท่าน
เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มี
ความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์ฌานนั้น
ในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘อากิญจัญญายตนสัญญา
ย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับอากิญจัญญายตนสัญญา
ได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๒.อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้
และท่านเหล่านั้นดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า
‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคองอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
๙. เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ใด และ
ท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ ท่าน
เหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว
ด้วยองค์ฌานนั้นในที่นั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสัญญาย่อมดับในที่ไหน และคนเหล่าไหนเล่าดับ
เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้สนิทอยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็น
ผู้นี้’ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาย่อมดับใน
สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตน-
สัญญาได้สนิทอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึง
ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ‘ดีแล้ว’ ครั้นแล้ว พึงนมัสการ ประคอง
อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้เป็นแน่
ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้แล
อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๔๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข๑
[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๒
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข
กามคุณ ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น
อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความ
กดดัน๑แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัส
เรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตก
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึง
ทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิด
ขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
ปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบ
ว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้น
แก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา
เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่
ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบ
ว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร


เชิงอรรถ :
๑ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึงความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๓.นิพพานสุขสูตร
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น
ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน
แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้ง
ขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้น
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉัน
ใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น
ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่
ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
ทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึง
เกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วย
อากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยาย
นี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-
เวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”
นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ
๔. คาวีอุปมาสูตร
ว่าด้วยการอุปมาด้วยแม่โค
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต
ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควร
ไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยัน
เท้าหน้าไม่สนิทดีแล้วยกเท้าหลังขึ้น จะไปสู่ทิศทางที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยัง
ไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่มก็ไม่ได้
เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่ยัง
ไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายังถิ่นนั้น
โดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา โง่
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้เขลา
ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอไม่เสพ ไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากซึ่งนิมิต๑นั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี


เชิงอรรถ :
๑นิมิต ในที่นี้หมายถึงปฐมฌาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่อาจบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรสงัดจากกามและอกุศลธรรมแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ เธอไม่อาจสงัด
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
เป็นผู้พลาด เป็นผู้เสื่อมจากผลทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบเหมือนแม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา
โง่ ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักเขต ไม่ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปตามภูเขา ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่
จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ มันพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยังทิศที่
ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ มันยันเท้าหน้าไว้ดีแล้ว
ยกเท้าหลังขึ้น พึงไปยังทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยัง
ไม่เคยดื่มได้ เมื่อมันยืนอยู่ ณ ที่ใด พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรไปยัง
ทิศที่ยังไม่เคยไป กินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม’ พึงกลับมายัง
ถิ่นนั้นโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเป็นสัตว์ที่เที่ยวไปตามภูเขา
ฉลาด เฉียบแหลม รู้จักเขต ฉลาดที่จะเที่ยวไปบนภูเขาที่ขรุขระ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฉลาด เฉียบแหลม
รู้จักเขต ฉลาดที่จะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตกและวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ
ระงับไป มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ เธอไม่ติดใจทุติยฌาน บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
กล่าวสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอไม่ติดใจตติยฌาน บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราควรบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่’ เธอไม่ติดใจจตุตถฌาน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เธอไม่ติดใจอากาสานัญจายตนฌาน
บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น
อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’
อยู่” เธอไม่ติดใจวิญญาณัญจายตนฌาน ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่’
เธอไม่ติดใจอากิญจัญญายตนฌาน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่’ เธอไม่ติดใจเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่’ เธอไม่ติดใจสัญญาเวทยิตนิโรธ
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สมาบัตินั้น ๆ แล ภิกษุเข้าก็ได้ ออกก็ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน๑ ด้วยจิตที่อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
เธอจึงเจริญอัปปมาณสมาธิ๒ ด้วยอัปปมาณสมาธิที่เจริญดีแล้ว เธอจึงน้อมจิตไป
เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ
เมื่อมีเหตุ๓ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดใน
ธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิตของตน
คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า มีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็รู้ว่า ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ
ก็รู้ว่า มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า มีโมหะ

เชิงอรรถ :
๑ เหมาะแก่การใช้งาน ในที่นี้หมายถึงจิตอยู่ในระดับฌานที่ ๔ ที่เป็นบาทแห่งอภิญญา (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๕/๓๐๘)
๒ อัปปมาณสมาธิ หมายถึงสมาธิในพรหมวิหาร ๔ บ้าง หมายถึงมัคคสมาธิและผลสมาธิบ้าง แต่ในที่นี้
หมายถึงสมาธิที่ชำนาญคล่องแคล่วในอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.นวก.อ.
๓/๓๕/๓๐๘, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔)
๓ เมื่อมีเหตุ แปลจากบาลีว่า สติ อายตเน (เมื่อมีเหตุแห่งสติ) หมายถึงฌานที่เป็นบาท (เครื่องบรรลุ) กล่าว
คือบุพเหตุแห่งอภิญญาบ้าง หมายถึงอรหัตตผลที่เป็นเหตุแห่งอภิญญา ๖ ประการบ้าง หมายถึง
วิปัสสนาที่เป็นเหตุแห่งอรหัตตผลบ้าง แต่ในที่นี้หมายถึงเหตุคืออุปนิสสัยแห่งการบรรลุคุณวิเศษนั้น ๆ
(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๒/๒๕๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๔.คาวีอุปมาสูตร
หรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า หดหู่ หรือฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า
ฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑ ก็รู้ว่า เป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่า ไม่เป็น
มหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า ไม่มี
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่า เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่า ไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า หลุดพ้น หรือไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า ไม่หลุดพ้น’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้’ เมื่อมีเหตุ เธอ
ย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังอยู่ว่า ‘เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ๓ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เมื่อมีเหตุ เธอย่อม
บรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น ๆ
คาวีอุปมาสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ จิตเป็นมหัคคตะ แปลว่าจิตที่ถึงความเป็นใหญ่ หมายถึงรูปาวจรกุศลจิตและอรูปาวจรกุศลจิต ที่ชื่อว่าถึง
ความเป็นใหญ่ เพราะสามารถข่มกิเลสได้ มีผลไพบูลย์และมีการสืบต่อยาวนาน หรือหมายถึงจิตที่ดำเนิน
ไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาที่กว้างขวาง (ขุ.ป.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๖, ๓๖๖, อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒) และดู
องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๓/๒๘/-๓๐, อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๖๐-๒๖๘/๕๗-๘๕
๒ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๓ ในเล่มนี้
๓ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๑ (เวรัญชสูตร) หน้า ๒๒๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
๕. ฌานสูตร
ว่าด้วยฌาน
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้๑ เพราะอาศัยปฐมฌาน
๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน
๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน
๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน
๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน
๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็น๒ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็น
ดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อม
ทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น๓ ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ๔ว่า ‘ภาวะ

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๒ พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๔ อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
ที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘๑ เธอดำรงอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย๒ หากยังไม่บรรลุความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับ
มาจากโลกนั้นอีก๓
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไป
ที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรม
ทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้
ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า
‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน
ปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
โลกนั้นอีก
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘
๒ หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
๓ ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะ
เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้
ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า
‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ใน
อากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ
ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ฯลฯ
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-
ฌาน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’ อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-
ฌาน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๕.ฌานสูตร
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดังคน
ฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่
หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย
กายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ใน
อากิญจัญญายตนฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดัง
คนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมทำจิตให้
กลับจากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-
ฌาน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๖.อานันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธ
ก็มีอยู่เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน
ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าว
อายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ
ฌานสูตรที่ ๕ จบ
๖. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๓๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ
ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ
ช่องว่างในที่คับแคบ๑ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความ
เศร้าโศก) และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความ
ทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๒ เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
คือ จักษุ (ตา) ชื่อว่าจักเป็นจักษุนั้นนั่นเอง คือ รูปเหล่านั้นก็จักไม่รับรู้
อายตนะนั้น และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้รูปเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ มีความหมายดังนี้ คำว่า ที่คับแคบ มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑
หมายถึงที่คับแคบสำหรับปุถุชนผู้ครองเรือน ได้แก่ กามคุณ ๕ นัยที่ ๒ หมายถึงที่คับแคบสำหรับผู้
บำเพ็ญฌาน ได้แก่ นิวรณ์ ๕ เป็นต้น คำว่า วิธีบรรลุช่องว่าง หมายถึงภาวะที่ปลอดจากกิเลสต่าง ๆ
ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ และอรหัตตมรรค แต่ละภาวะก็ปลอดจากกิเลสต่างกัน
เช่น ปฐมฌานปลอดจากนิวรณ์ ๕ จตุตถฌานปลอดจากสุขและทุกข์ ดู ที.ม. ๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ.
๒/๒๘๘/๒๕๕, องฺ.นวก.ฏีกา ๓/๓๗/๓๖๙ ประกอบ
๒ ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. ๑๙/๒๔/๑๕, สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๖.อานันทสูตร
โสตะ (หู) ชื่อว่าจักเป็นโสตะนั้นนั่นเอง คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้เสียงเหล่านั้น
ฆานะ (จมูก) ชื่อว่าจักเป็นฆานะนั้นนั่นเอง คือ กลิ่นเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้กลิ่นเหล่านั้น
ชิวหา (ลิ้น) ชื่อว่าจักเป็นชิวหานั้นนั่นเอง คือ รสเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรสเหล่านั้น
กาย ชื่อว่าจักเป็นกายนั้นนั่นเอง คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้นจักไม่รับรู้อายตนะนั้น
และอายตนะนั้นก็จักไม่รับรู้โผฏฐัพพะเหล่านั้น”
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี๑ได้ถามท่านพระ
อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ คนผู้มีสัญญาเท่านั้น หรือว่าคนไม่มีสัญญา ไม่รับรู้
อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ คนมีสัญญานั้นก็ไม่รับรู้อายตนะได้ หรือ
คนไม่มีสัญญาก็ไม่รับรู้อายตนะนั้นได้”
ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ คนผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่รับรู้อายตนะนั้น”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่
รับรู้อายตนะนั้น
ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้แล ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ พระอุทายี ในที่นี้คือพระกาฬุทายีเถระ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
ผู้มีอายุ ครั้งหนึ่ง ผมพักอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล
ภิกษุณีชื่อชฏิลภาคิกาเข้าไปหาผมจนถึงที่อยู่ ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกับผมดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้๑ นำไป
ไม่ได้๒ ไม่มีการข่มห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะ
หลุดพ้น ชื่อว่ายินดีเพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล’ เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว ผมได้กล่าวกับ
ภิกษุณีนั้นว่า ‘น้องหญิง สมาธิใดอันกิเลสน้อมไปไม่ได้ นำไปไม่ได้ ไม่มีการข่ม
ห้ามกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง ชื่อว่าตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้น ชื่อว่ายินดี
เพราะตั้งมั่น ชื่อว่าไม่สะดุ้งเพราะยินดี สมาธินี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอรหัต
เป็นผล’ ผู้มีอายุ ภิกษุผู้มีสัญญาอย่างนี้ ย่อมไม่รับรู้อายตนะนั้น”
อานันทสูตรที่ ๖ จบ
๗. โลกายติกสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ชำนาญคัมภีร์โลกายัต๓
[๓๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายัต ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านปูรณะ กัสสปะ เป็นสัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง
ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่
ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มี
ที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม แม้แต่ท่านนิครนถ นาฎบุตรนี้ก็เป็น
สัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน
ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ น้อมไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่น้อมไปตามอำนาจราคะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)
๒ นำไปไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงไม่ถูกชักนำไปตามอำนาจโทสะ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๗/๓๑๑)
๓ โลกายัต หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการอ้างทฤษฎีและ
ประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด (ที.สี.อ.
๑/๒๕๖/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
‘เรารู้เห็นโลกอันไม่มีที่สุดด้วยญาณอันไม่มีที่สุด’ ท่านพระโคดม ทั้ง ๒ คนนี้ต่างพูด
อวดความรู้กัน ต่างพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ เรื่องที่คนทั้ง ๒ คนนี้ต่างพูดอวด
ความรู้กัน ต่างพูดขัดแย้งกัน ใครพูดจริง ใครพูดเท็จนี้จงพักไว้ก่อน เราจักแสดง
ธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” พราหมณ์
เหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษ ๔ คน ยืนอยู่ ๔ ทิศ ต่างมีฝีเท้าวิ่งได้เร็ว
และก้าวได้เร็ว พวกเขาต่างมีฝีเท้าเร็วเช่นนี้ เปรียบเหมือนนายขมังธนูถือธนูไว้มั่น
ศึกษามาเจนจบ ฝีมือช่ำชอง ผ่านการประลองฝีมือมาแล้ว พึงใช้ลูกธนูชนิดเบา ๆ
ยิงเงาตาลด้านขวางให้ผ่านไปได้โดยไม่ยาก และยิงได้รวดเร็วกว่าการก้าวเท้าดังที่
กล่าวมา เปรียบเหมือนจากมหาสมุทรในทิศตะวันออกถึงมหาสมุทรในทิศตะวันตก
ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศตะวันออก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจะเดินไปถึงที่สุดโลก’
เขางดกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม งดถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ งดหลับและพักผ่อน
เขามีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปได้ตลอด ๑๐๐ ปี ยังไปไม่ถึงที่สุดโลกเลย
จะพึงตายเสียก่อนในระหว่าง ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ
ถ้าบุรุษผู้ยืนอยู่ทางทิศใต้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจะเดินไปถึงที่สุดของโลก’ เขางดกิน
ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม งดถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ งดหลับและพักผ่อน เขามีอายุ
๑๐๐ ปี มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปได้ตลอด ๑๐๐ ปี ยังไปไม่ถึงที่สุดโลกเลย ก็จะพึง
ตายเสียก่อนในระหว่าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราจะไม่กล่าวว่า ‘บุคคลพึงรู้
พึงเห็น พึงถึงที่สุดโลกได้ด้วยการวิ่งไปเช่นนี้’ แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘บุคคลยังไม่ถึง
ที่สุดโลกจะทำที่สุดทุกข์ได้’
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑.ปฐมปัณณาสก์] ๔.มหาวรรค ๗.โลกายติกสูตร
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
พราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า ‘โลก’ ในอริยวินัย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เราเรียกว่า ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว
อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก
สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราเองก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เราก็เรียกว่า
ภิกษุนี้ถึงที่สุดโลกแล้ว อยู่ในที่สุดโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘แม้ภิกษุนี้ก็เกี่ยวข้องกับโลก สลัดตนออกจากโลกไม่ได้’
ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ฯลฯ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า :๕๑๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น