Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๑ หน้า ๑ - ๕๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]
๑. อานิสังสวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ปฐมปัณณาสก์
๑. อานิสังสวรรค
หมวดว่าด้วยอานิสงส์
๑. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับผลแห่งศีล
[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศล๓ มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์”

เชิงอรรถ :
๑ ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้หมายถึง พระอานนท์
๒ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการคือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป
(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
๓ ศีลที่เป็นกุศล หมายถึงศีลที่ไม่มีโทษ เป็นไปเพื่อความไม่เก้อเขิน ไม่ร้อนใจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร(ความไม่
ร้อนใจ)เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์”
“อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็น
อานิสงส์”
“ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์”
“ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปีติมีปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์”
“ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์”
“สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”
“สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ๑ (ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง)
เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์”
“ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา๒ (ความเบื่อหน่าย) และวิราคะ๓
(ความคลายกำหนัด) เป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์”
“นิพพิทาและวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ยถาภูตญาณทัสสนะ หมายถึงตรุณวิปัสสนาคือวิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง เป็นความรู้ขั้วต่อที่ตัดแยก
ระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล ยังไม่ใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๒ นิพพิทา ในที่นี้หมายถึงพลววิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่มีพลัง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๓ วิราคะ หมายถึงมรรคที่สืบเนื่องจากนิพพิทา ก่อนวิมุตติจะเกิดขึ้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร
“อานนท์ นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะ๑ (ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)
เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณ-
ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาและวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ อานนท์
ศีลที่เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”
กิมัตถิยสูตรที่ ๑ จบ
๒. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๒
บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่
ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
๑ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นความรู้ขั้นสุดท้าย แยกอธิบายได้ว่า วิมุตติ หมายถึงอรหัตตผลญาณทัสสนะ
หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือญาณที่เกิดขึ้นถัดจากการบรรลุมรรคผลด้วยมัคคญาณและผลญาณเพื่อ
พิจารณามรรคผล พิจารณากิเลสที่ละได้และเหลืออยู่รวมทั้งพิจารณานิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)
๒ ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร
บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ
เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมี
จิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’
การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณ-
ทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็น
ธรรมดา
นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น
อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็น
อานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมี
ปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น๑ อย่างนี้แล
เจตนากรณียสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ฝั่งนี้ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส)ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน
กัมมวัฏฏ์(วงจรกรรม)ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพวิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก)ประกอบด้วยวิญญาณนามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ เวทนาซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏคืออุปัติภพคือชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
ฝั่งโน้น หมายถึงนิพพาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒/๓๑๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒-๕/๓๗๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๓. ปฐมอุปนิสสูตร
๓. ปฐมอุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๑
[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มี
อวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มี
ปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มี
ยถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิ-
สารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุข
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๔. ทุติยอุปนิสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ปฐมอุปนิสสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยอุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๒
[๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
อวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุข
ของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของ
บุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะ
วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๕. ตติยอุปนิสสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติ
มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยนิพพิทาและวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ทุติยอุปนิสสูตรที่ ๔ จบ
๕. ตติยอุปนิสสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๓
[๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
อวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี
ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคล
ผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุข

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๕. ตติยอุปนิสสูตร
วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มี
สัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาและ
วิราคะของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อ
นิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติชื่อ
ว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมี
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อนิพพิทาและวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่ง
และใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์
ฉะนั้น
ตติยอุปนิสสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๖. สมาธิสูตร
๖. สมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญา(ความจำได้หมายรู้)ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน๑ ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌาน๒ว่า
เป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน๓ว่าเป็นวิญญาณัญจายตน-
ฌาน ในอากิญจัญญายตนฌาน๔ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลก
หน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”

เชิงอรรถ :
๑ มีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน หมายถึงการบริกรรมดินเป็นอารมณ์กัมมัฏฐานโดยกำหนดว่า “ดิน ดิน”
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๖/๓๑๙)
๒ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นฌาน
ขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
๓ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นฌานขั้นที่ ๒ ของ
อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
๔ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญากล่าวคือผู้บรรลุอากิญจัญญายตน-
ฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญานิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๖. สมาธิสูตร
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุ
ได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตน-
ฌาน ในอากิญจัญญายนตฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลก
หน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน๑
อานนท์ มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุ
ดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ใน
โลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
สมาธิสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ภาวะที่สงบประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ และนิพพาน” ทั้งหมดนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสมุ่งแสดงถึงสมาธิใน
ผลสมาบัติ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๖/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๗. สารีปุตตสูตร
๗. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรตอบปัญหาพระอานนท์
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุ
ดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌาน
ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่
ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ต้องมี
สัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ที่ป่าอันธวัน เขต
กรุงสาวัตถีนี้แล ณ ที่นั้น ผมได้เข้าสมาธิโดยไม่มีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน
ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน
ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า
เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า แต่ผมเป็นผู้มีสัญญา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๘. ฌานสูตร
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ในสมัยนั้น ท่านสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผมว่า ‘ความ
ดับภพเป็นนิพพาน ความดับภพเป็นนิพพาน’ สัญญาอย่างหนึ่งดับไป ผู้มีอายุ
สัญญาอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผมว่า ‘ความดับภพเป็นนิพพาน ความดับภพเป็น
นิพพาน’ สัญญาอย่างหนึ่งดับไป เปรียบเหมือนเมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่ เปลวไฟ
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น เปลวไฟอย่างหนึ่งดับไปฉะนั้น ผู้มีอายุ ในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญา
ว่า ‘ความดับภพเป็นนิพพาน’
สารีปุตตสูตรที่ ๗ จบ
๘. ฌานสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้มีฌาน
[๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล
อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วย
คิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล” เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น
เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็น
พหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก๑ เป็นธรรมกถึกแต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท เข้าไปสู่บริษัทแต่ไม่
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัทแต่ไม่ทรงวินัย ทรง
วินัยแต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่อยู่ในเสนาสนะอันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมกถึก หมายถึงผู้กล่าวสอนธรรม ผู้แสดงธรรม หรือนักเทศน์ซี่งจะต้องมีองค์ธรรม ๕ ประการ คือ
(๑) แสดงธรรมไปโดยลำดับ (๒) แสดงอ้างเหตุผล (๓) แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู (๔) ไม่เพ่งอามิส
แสดงธรรม (๕) แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น (องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๕๙/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๘. ฌานสูตร
เสนาสนะอันสงัดแต่ไม่ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง๑ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แต่
ไม่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๒ ปัญญาวิมุตติ๓อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย
อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก และทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นธรรมกถึก ๑ เข้าไป
สู่บริษัท ๑ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๑ ทรงวินัย ๑ อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด ๑ ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ๑ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ๑
เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงชื่อว่าเป็นผู้ก่อ
ให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน๔ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
ฌานสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มีในจิตยิ่ง (อภิเจตสิก) ในที่นี้หมายถึงอุปจารสมาธิ (ม.มู.อ. ๑/๖๖/๑๗๓)
๒ เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิต ซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๘๘/๖๒)
๓ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา (องฺ.ทุก.อ.
๒/๘๘/๖๒)
๔ ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน หมายถึงมีกายกรรม วจีกรรมที่น่าเลื่อมใส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๙. สันตวิโมกขสูตร
๙. สันตวิโมกขสูตร
ว่าด้วยสันตวิโมกข์๑
[๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาแต่ไม่มีศีล
เป็นผู้มีศีลแต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึกแต่ไม่
เข้าไปสู่บริษัท เข้าไปสู่บริษัทแต่ไม่เป็นผู้แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัทแต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัยแต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร และไม่อยู่ในเสนาสนะ
อันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์
ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกาย๒อยู่ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะ
ล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน อย่างนี้ เธอจึงชื่อว่า
เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า “ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัทแกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้สัมผัส
สันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกายอยู่ และทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน”
เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นธรรมกถึก ๑ เข้าไปสู่
บริษัท ๑ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๑ ทรงวินัย ๑ อยู่ป่าเป็นวัตร และอยู่ใน
เสนาสนะอันสงัด ๑ ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานเสียได้ด้วยกาย
อยู่ ๑ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ๑ เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
องค์นั้น อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สันตวิโมกข์ หมายถึงอรูปฌาณที่พ้นได้อย่างสิ้นเชิง เพราะพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกกล่าวคือนิวรณ์ ๕
และเพระไม่เกี่ยวข้องในอารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๙/๓๒๐)
๒ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย คือกองแห่งนามธรรม ได้แก่ เจตสิกทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค ๑๐. วิชชาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงชื่อว่าเป็นผู้ก่อ
ให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
สันตวิโมกขสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. วิชชาสูตร
ว่าด้วยวิชชา
[๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล
อย่างนี้ เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์
ด้วยคิดว่า “ทางที่ดี เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล” เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา
มีศีล เมื่อนั้น เธอจึงชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต เป็นพหูสูต แต่ไม่
เป็นธรรมกถึก เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าไปสู่บริษัท เข้าไปสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ทรงวินัย แต่
ระลึกชาติก่อนไม่ได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้
หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แต่ไม่เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ ไม่รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เห็นหมู่สัตว์ด้วยตาทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม แต่ไม่ทำให้แจ้ง ฯลฯ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันอย่างนี้ เธอจึงชื่อว่า
ไม่เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าไปสู่บริษัท แกล้วกล้า
แสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติ
บ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม
กรรม ทำให้แจ้ง ฯลฯ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๑. อานิสังสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นธรรมกถึก ๑ เข้าไป
สู่บริษัท ๑ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ๑ ทรงวินัย ๑ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติอย่างนี้ ๑ เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ๑ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ๑ เมื่อนั้น ภิกษุจึงชื่อ
ว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงชื่อว่าเป็นผู้
ก่อให้เกิดความเลื่อมใสได้รอบด้าน และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
วิชชาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานิสังสวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนากรณียสูตร
๓. ปฐมอุปนิสสูตร ๔. ทุติยอุปนิสสูตร
๕. ตติยอุปนิสสูตร ๖. สมาธิสูตร
๗. สารีปุตตสูตร ๘. ฌานสูตร
๙. สันตวิโมกขสูตร ๑๐. วิชชาสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๑. เสนาสนสูตร
๒. นาถกรณวรรค
หมวดว่าด้วยนาถกรณธรรม๑
๑. เสนาสนสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของเสนาสนะ
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อาศัยใช้สอยเสนาสนะอันประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่นานนักก็จะทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย
ชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า๒ เป็นพระผู้มีพระภาค๓”
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร
สม่ำเสมอ ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร

เชิงอรรถ :
๑ ดูปฐมนาถสูตร หน้า ๓๑ และทุติยนาถสูตร หน้า ๓๔ ในเล่มนี้
๒ ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
๓ ชื่อว่า พระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม
๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ
และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลายตัณหาในภพทั้ง ๓
(๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น
(ตามนัย วิ. อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๑. เสนาสนสูตร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร๑ เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง๒ มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
๕. เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล
เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร
คือ เสนาสนะในธรรมวินัยนี้
๑. อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก๓ มีทางไปมาสะดวก กลางวันไม่พลุกพล่าน
กลางคืนมีเสียงน้อย ไม่อึกทึก มีเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อย
คลานกระทบน้อย
๒. เมื่อภิกษุอยู่ในเสนาสนะนั้น มีจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารที่เกิดขึ้นโดยไม่ฝืดเคืองเลย
๓. ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๔ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกาอยู่ในเสนาสนะนั้น
๔. ภิกษุนั้นเข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ในเวลาที่สมควรแล้ว จึงสอบถาม
ไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็น
อย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงประคองความเพียรทางกายและใจไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑)
๒ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑)
๓ เสนาสนะที่อยู่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก มีอธิบายประกอบว่า เสนาสนะที่อยู่ไกลนัก เมื่อภิกษุอยู่อาศัย
ย่อมลำบากกายที่จะเที่ยวบิณฑบาต จิตใจกระสับกระส่าย ไม่สามารถเจริญสมาธิให้เกิดได้ เสนาสนะที่
อยู่ใกล้นัก ก็จะพลุกพล่านไปด้วยผู้คน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑/๓๒๐)
๔ เรียนจบคัมภีร์(อาคตาคม) ในที่นี้หมายถึงเรียนจบพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก ๕ นิกาย ได้แก่
ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๒. ปัญจังคสูตร
๕. ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย ทำข้อที่เข้าใจยาก
ให้เข้าใจง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่
ภิกษุนั้น
เสนาสนะประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาศัยใช้สอยเสนาสนะอันประกอบ
ด้วยองค์ ๕ ไม่นานนัก ก็จะทำให้แจ้ง ฯลฯ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เสนาสนสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปัญจังคสูตร
ว่าด้วยองค์ ๕
[๑๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า
ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์๑ เป็นอุดมบุรุษในธรรมวินัยนี้
ภิกษุผู้ละองค์ ๕ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม)
๒. เป็นผู้ละพยาบาท(ความคิดร้าย)
๓. เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. เป็นผู้ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ อยู่จบพรหมจรรย์ หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจที่จะ
ต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ ชื่อว่าอเสขบุคคล (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๒. ปัญจังคสูตร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์(กองวิมุตติ)ที่เป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์๒(กองวิมุตติญาณทัสสนะ)
ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ บัณฑิตเรียกว่า ผู้
ประกอบด้วยคุณทั้งมวล ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษในธรรมวินัยนี้
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ
และ วิจิกิจฉา ย่อมไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง
ภิกษุผู้เช่นนั้นสมบูรณ์ด้วยสีลขันธ์ที่เป็นอเสขะ
สมาธิขันธ์ที่เป็นอเสขะ ปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสขะ
วิมุตติขันธ์ที่เป็นอเสขะ
และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุนั้นแลผู้ละองค์ ๕ ได้ สมบูรณ์ด้วยองค์ ๕
ภิกษุนั้นแล บัณฑิตเรียกว่า ‘ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งมวล’
ในธรรมวินัยนี้
ปัญจังคสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อเสขะ หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ คือ พระอรหันตขีณาสพ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐)
๒ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ในที่นี้หมายถึงปัจจเวกขณญาณเป็นขันธ์ระดับโลกิยะ ส่วนขันธ์ที่เหลือข้างต้นเป็น
ขันธ์ระดับโลกุตตระ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๐, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๓. สังโยชนสูตร
๓. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์(ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์) ๑๐ ประการนี้
สังโยชน์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
โอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ อุทธัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๕. พยาบาท (ความคิดร้าย)
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน)
๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน)
๓. มานะ (ความถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล
สังโยชนสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร
๔. เจโตขีลสูตร๑
ว่าด้วยกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้
หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่
บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือ
กลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้๒แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีความเจริญเลย
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดา๓ จิตของภิกษุผู้
เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ยังละไม่ได้
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปู ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.มู. ๑๒/๑๘๕-๑๘๙/๑๕๖-๑๖๑, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๐๕-๒๐๖/๒๓๔-๒๓๕, องฺ.นวก. ๒๓/๗๑-๗๒/
๓๘๐-๓๘๑
๒ พึงหวังได้ ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องได้ จำต้องมีแน่นอน (องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ.
๓/๗๕/๑๕๓)
๓ ไม่เลื่อมใสในศาสดา ในที่นี้หมายถึงไม่เชื่อว่าพระสรีระของพระพุทธเจ้าประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒
ประการ ไม่เชื่อพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน (องฺ.ปญฺจก.อ.
๓/๒๐๕/๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา(ข้อที่จะต้องศึกษา)
ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไป
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร ยังละไม่ได้
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)กระทบ มีจิต
แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ
มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้
มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง
เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังละไม่ได้
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังละไม่ได้
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาด อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศ
จากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่
ปราศจากความอยากในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศ
จากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อนไม่ปราศจากความอยาก
ในกามทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑
ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๒. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร
๓. เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ
ประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๔. ฉันอาหารตามความต้องการจนอิ่มเกินไป ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง
ผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
๕. ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า
‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตนใด
ตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพ
นิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็น
เทพเจ้าหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อ
ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ยังตัดไม่ขาด
นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาด
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา
พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย
เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์(ข้างแรม)ผ่านไป ดวงจันทร์
นั้นย่อมเสื่อมจากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อม
จากด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้ กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ยังตัดไม่ขาด เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา
พึงหวังได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย ฉันนั้น
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา
พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุ
ผู้ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมน้อมไป
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ
ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
ละได้แล้ว
๒. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๓. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๔. ไม่เคลือบแคลงสงสัย น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ฯลฯ นี้เป็นกิเลส
เครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ละได้แล้ว
๕. เป็นผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะกระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างใน
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธ พอใจ มีจิตไม่ถูกโทสะ
กระทบ มีจิตไม่แข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร
เพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปูประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญ
เพียร ละได้แล้ว
นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นละได้แล้ว
กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นตัดขาดแล้ว อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความอยาก
ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ
พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความ
เร่าร้อน ปราศจากความอยากในกามทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความ
เพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้
เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๒. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาย ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการ
ที่ ๒ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๓. เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในรูป ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจประการ
ที่ ๓ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำ
ต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
๔. ฉันอาหารตามต้องการจนอิ่มแล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน
ความสุขในการเอกเขนก ความสุขในการหลับอยู่ ฯลฯ นี้เป็นกิเลสเครื่อง
ผูกใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๔. เจโตขีลสูตร
๕. ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตน
ใดตนหนึ่ง’ จิตของภิกษุผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความปรารถนา
เป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ‘ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทพตนใดตนหนึ่ง’ ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลส
เครื่องผูกใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุผู้มีจิตน้อมไปเพื่อ ความเพียร เพื่อ
ประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร ตัดขาดแล้ว
นี้เป็นกิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการ ที่บุคคลนั้นตัดขาดแล้ว
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขา
พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์(ข้างขึ้น)
ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วย
แสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุหรือ
ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว กิเลสเครื่องผูกใจ ๕ ประการนี้ ที่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็น
ภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ตัดขาดแล้ว เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป
เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ฉันนั้น
เจโตขีลสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๕. อัปปมาทสูตร
๕. อัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรม
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้า
มากก็ตาม มีรูป หรือไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ก็ตาม มีประมาณเท่าใด ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่าสัตว์มีประมาณเท่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มี
ความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า
เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
รอยเท้าของสัตว์ที่เที่ยวไปบนแผ่นดินทั้งหมด รวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง
ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
กลอนของเรือนยอดทั้งหมด ทอดไปถึงยอด รวมลงที่ยอด ยอดเรือน ชาวโลก
กล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้นทั้งหมด ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน
มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิต
กล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น
กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณา ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่า
กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
กลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิ ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่า
กลิ่นที่เกิดแต่ดอกเหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
พระราชาผู้มีอำนาจน้อยทั้งหมด ย่อมคล้อยตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้า
จักรพรรดิ ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้มีอำนาจน้อยเหล่านั้น ฉันใด
กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๖. อาหุเนยยสูตร
แสงสว่างของดวงดาวทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงสว่างของ
ดวงจันทร์ แสงสว่างของดวงจันทร์ ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาว
เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
ในสารทฤดู เมื่อฝนขาดหายปราศจากเมฆ ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นสู่ท้องฟ้า
กำจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งหมด ย่อมส่องแสง แผดแสงเจิดจ้า และแจ่มกระจ่าง
ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
แม่น้ำใหญ่ทั้งหลาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู
แม่น้ำมหี ทั้งหมดย่อมไหลบ่าลงสู่มหาสมุทร น้อมไปสู่มหาสมุทร โน้มไปสู่
มหาสมุทร โอนไปสู่มหาสมุทร มหาสมุทร ชาวโลกกล่าวว่า เลิศกว่าแม่น้ำใหญ่
เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรม
เหล่านั้น
อัปปมาทสูตรที่ ๕ จบ
๖. อาหุเนยยสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
๓. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต๑

เชิงอรรถ :
๑ ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ได้สัมผัส
วิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติและสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์
ผู้ได้ปัญญาวิมุตติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๖. อาหุเนยยสูตร
๔. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต๑
๕. ท่านผู้เป็นกายสักขี๒
๖. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ๓
๗. ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต๔
๘. ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี๕
๙. ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี๖
๑๐. ท่านผู้เป็นโคตรภู๗
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อาหุเนยยสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ มิได้สัมผัส
วิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๒ ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะ
บางส่วนก็สิ้นไปเพราะรู้เห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้
ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๓ ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มี
ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๔ ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) หมายถึงเข้าใจอริยสัจถูกต้อง ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุ
โสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/
๑๔/๑๖๑)
๕ ท่านผู้เป็นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บำเพ็ญอริยมรรค ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลมีปัญญาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๖ ท่านผู้เป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา) คือท่านผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรค กำลังปฏิบัติเพื่อบรรลุ
โสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าเป็นตัวนำ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)
๗ ท่านผู้เป็นโคตรภู หมายถึงผู้ประกอบด้วยวิปัสสนาจิตที่มีพลังถึงที่สุดโดยเป็นปัจจัยที่ต่อเนื่องกันถึง
โสดาปัตติมรรค, หรือท่านผู้ประกอบด้วยโคตรภูญาณ(ญาณครอบโคตร คือญาณที่เป็นหัวต่อระหว่างภาวะ
ปุถุชนกับภาวะอริยบุคคล)อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ หมายเอาผู้ปฏิบัติกำลังจะเข้าสู่ขั้นอริยบุคคลชั้นโสดา-
ปัตติมรรค (องฺ.นวก.อ. ๓/๘-๑๐/๒๙๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๖/๓๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร
๗. ปฐมนาถสูตร
ว่าด้วยนาถกรณธรรม สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง
อยู่เลย บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม(ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง)
๑๐ ประการนี้
นาถกรณธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ๒
(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด

เชิงอรรถ :
๑ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ
หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗)
๒ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง
วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้ารังเกียจ เช่น ไม่เลี้ยง
ชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่าคฤหัสถ์
ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว (วิสุทฺธิ. ๑/
๑๔/๑๘)
โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ(สาวแก่)
ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และ
พวกเดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้า
กาสาวะ อบอวลด้วยกลิ่นฤๅษี ใคร่ความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุ
สำรวมอินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง
ประโคมดนตรี หรือหมายถึงสติปัฏฐาน ๔ (ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔, วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗-๑๘)
๓ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑)สุตตะ(พระสูตรทั้งหลายรวม
ทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ(ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถา
ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ(ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา(ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน(พระคาถาพุทธอุทาน)
(๖) อิติวุตตกะ พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม(เรื่องอัศจรรย์)
(๙) เวทัลละ(พระสูตรแบบถาม-ตอบ) ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖/๗, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๓/๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑ แม้
การที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๓. เป็นผู้มีมิตรดี๒ มีสหายดี๓ มีเพื่อนดี๔ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย
ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ๕ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม๖ เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม๗ ในอภิวินัย๘ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟัง

เชิงอรรถ :
๑ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐)
๒ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือศีลเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๓ สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๔ เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนม รู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๕ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ เรือน
พระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๖ ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
๗ อภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คืออภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค ๔ และผล ๔
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓)
๘ อภิวินัย หมายถึงขันธกปริวาร หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/
๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร
และผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ใน
อภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๗. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มี
ความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
อยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้
กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๘. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม
๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑อย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ
คำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์
โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
นาถกรณธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ปฐมนาถสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน แปลจากคำบาลีว่า ‘เนปกฺก’ อรรถกถาอธิบายว่า เป็นชื่อของปัญญาที่เป็น
อุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔/๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๘. ทุติยนาถสูตร
๘. ทุติยนาถสูตร
ว่าด้วยนาถกรณธรรม สูตรที่ ๒
[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึง
ได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม ๑๐ ประการนี้
นาถกรณธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะ๑ก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่า
เป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรใน
ปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้
เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้๒ แต่

เชิงอรรถ :
๑ พระเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป
และทรงจำพระปาติโมกข์ได้ พระมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐
พระนวกะ หมายถึงพระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยัง
ต้องถือนิสสัย (เทียบ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (เจโตขีลสูตร) หน้า ๒๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๘. ทุติยนาถสูตร
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้
เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่ง
ธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความ
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์
แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น
มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่ง
สอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะ
ก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า
‘ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย
อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็น
เถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถ-
กรณธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๘. ทุติยนาถสูตร
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็น
นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้
เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงาน
ต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถ
จัดได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะ
อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็น
มัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดีย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็น
ที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยหนอ’ ภิกษุนั้นผู้อัน
ภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่
ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม
๗. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มี
ความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๘. ทุติยนาถสูตร
สำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภ
ความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มี
ความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่หนอ’ ภิกษุนั้น
ผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๘. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็น
นวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ
ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศล
ธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง
ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้
เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดี ย่อมสำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าว
สั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้หนอ’ ภิกษุนั้นผู้
อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้
แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย นี้ก็
เป็นนาถกรณธรรม
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระก็ดี ผู้เป็นมัชฌิมะก็ดี ผู้เป็นนวกะก็ดีย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๙. ปฐมอริยวาสสูตร
สำคัญภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ควรว่ากล่าวสั่งสอนได้ว่า ‘ภิกษุนี้เป็นผู้มีปัญญา
คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความ
ดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบหนอ’ ภิกษุนั้น
ผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นมัชฌิมะ ผู้เป็นนวกะอนุเคราะห์แล้ว พึงหวัง
ได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์
นาถกรณธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยนาถสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมอริยวาสสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ สูตรที่ ๑
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการนี้ ที่พระ
อริยะอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่
ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖
๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ
๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๑๐. ทุติยอริยวาสสูตร
๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการนี้แล ที่พระอริยะ
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่
ปฐมอริยวาสสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยอริยวาสสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ สูตรที่ ๒
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาส-
ธัมมะ แคว้นกุรุ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการนี้แล ที่พระอริยะ
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่
ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖
๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๑๐. ทุติยอริยวาสสูตร
๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๑บรรเทาได้
๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละกามฉันทะได้ เป็นผู้ละพยาบาทได้ เป็น
ผู้ละถีนมิทธะได้ เป็นผู้ละอุทธัจจกุกกุจจะได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉาได้ ภิกษุเป็นผู้ละ
องค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็นผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง๒ ภิกษุเป็นผู้
มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงความเห็นของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปโดยยึดถือว่า “ความเห็นนี้เท่านั้นจริง ความ
เห็นนี้เท่านั้นจริง” (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๐/๓๒๔)
๒ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึง
พิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือ
คนพาลเป็นต้น พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก(ความตรึกใน
ทางกาม) เป็นต้น (ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค ๑๐. ทุติยอริยวาสสูตร
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมาก คือเห็นว่า ‘โลกเที่ยง’ บ้าง ‘โลกไม่เที่ยง’ บ้าง
‘โลกมีที่สุด’ บ้าง ‘โลกไม่มีที่สุด’ บ้าง ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ บ้าง ‘ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ บ้าง ‘หลังจากตายแล้วตถาคต๒เกิดอีก’ บ้าง ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก’ บ้าง ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีก
ก็มี’ บ้าง ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่’ บ้าง เหล่านั้น
ทั้งหมดของสมณพราหมณ์จำนวนมากอันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้
สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะบรรเทาได้
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้
ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่าง
นี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริใน
พยาบาทได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป
ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรืออาตมัน (ตามนัย อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙)
๒ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้มาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตว์ (เทียบ ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๒. นาถกรณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ หลุดพ้นจากโทสะ และ
หลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’
รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ฯลฯ โมหะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
พระอริยะเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้อาศัยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระ
อริยะ ๑๐ ประการนี้อยู่เหมือนกัน พระอริยะเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จัก
อาศัยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการนี้อยู่เหมือนกัน พระอริยะเหล่า
ใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาลนี้ ก็อาศัยธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการ
นี้อยู่เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งพระอริยะ ๑๐ ประการนี้แล ที่พระ
อริยะอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่
ทุติยอริยวาสสูตรที่ ๑๐ จบ
นาถกรณวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เสนาสนสูตร ๒. ปัญจังคสูตร
๓. สังโยชนสูตร ๔. เจโตขีลสูตร
๕. อัปปมาทสูตร ๖. อาหุเนยยสูตร
๗. ปฐมนาถสูตร ๘. ทุติยนาถสูตร
๙. ปฐมอริยวาสสูตร ๑๐. ทุติยอริยวาสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑. สีหนาทสูตร
๓. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. สีหนาทสูตร๑
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออก
จากที่อาศัยแล้วบิดกาย ชำเลืองดูรอบ ๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วก็
หลีกไปหากิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมันคิดว่า ‘เราอย่าทำให้สัตว์เล็ก ๆ ที่หากิน
อยู่ในที่ไม่สม่ำเสมอต้องถูกฆ่าเลย๒’
คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อาการที่ตถาคต
แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาทของตถาคตแท้
กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้ที่ตถาคตประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญญา-
ฐานะที่องอาจ๓ บันลือสีหนาท๔ ประกาศพรหมจักร๕ในบริษัท๖

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.มู. ๑๒/๑๔๘/๑๐๗-๑๑๐, องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๖๔/๓๙๘
๒ ข้อความนี้อรรถกถาอธิบายว่า พญาราชสีห์บันลือสีหนาท เพราะมีความเอ็นดูต่อสัตว์เล็ก ๆ มีกำลังน้อย
ที่หากินอยู่ในที่ไม่ราบเรียบ ขรุขระ (วิ่งหนีไม่สะดวก) เมื่อมีความหวาดกลัว จะได้วิ่งหนีทันก่อนที่พญา
ราชสีห์จะไปถึง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๕)
๓ ฐานะที่องอาจ (อาสภะ) อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงฐานะที่ประเสริฐที่สุด ที่สูงสุด หรือฐานะของ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในปางก่อน
อนึ่ง คำว่า อาสภะ มาจากคำว่า อุสภะ เป็นชื่อโคจ่าฝูงของโคจำนวนมากตั้ง ๑๐๐ ตัว ๑,๐๐๐ ตัว ๑๐๐
คอก ๑,๐๐๐ คอก มีสีขาว น่าดู มีกำลังสามารถนำภาระหนักยิ่งไปได้ ยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง ๔ ไม่หวั่นไหว
ต่อเสียงฟ้าร้องตั้ง ๑๐๐ ครั้ง พระตถาคตเปรียบเหมือนโคอุสภะ คือ ประทับยืนข่มบริษัททั้ง ๘ ได้อย่าง
มั่นคงด้วยพระบาท (ฐานะ) คือ เวสารัชชญาณ ๔ ประการ ไม่มีปัจจามิตรใดในโลกและเทวโลกที่สามารถ
ทำให้พระองค์หวั่นไหวได้ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๖)
๔ บันลือสีหนาท หมายถึงตรัสพระวาจาด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรงมั่น
พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒)
๕ พรหมจักร หมายถึงธรรมจักรอันประเสริฐ ยอดเยี่ยม บริสุทธิ์ มี ๒ ประการ คือ (๑) ปฏิเวธญาณ ได้แก่
ญาณที่แสดงถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า (๒) เทสนาญาณ ได้แก่ ญาณที่แสดงถึงพระมหากรุณา
คุณของพระพุทธเจ้า ญาณทั้ง ๒ นี้ชื่อว่าโอรสญาณ(ญาณส่วนพระองค์) มีเฉพาะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เท่านั้น ไม่มีแก่คนทั่วไป (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗)
๖ บริษัท หมายถึงหมู่, คณะ, ที่ประชุม ในที่นี้หมายถึงบริษัท ๘ คือ (๑) ขัตติยบริษัท (๒) พราหมณบริษัท
(๓) คหบดีบริษัท (๔) สมณบริษัท (๕) จาตุมหาราชิกาบริษัท (๖) ตาวติงสบริษัท (สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์
๖ ชั้น) (๗) มารบริษัท (๘) พรหมบริษัท (ที.สี.อ. ๔๐๓/๒๙๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑. สีหนาทสูตร
กำลังของตถาคต ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะ๑โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็น
อฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึด
ถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความ
เป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๓. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง๒ตามความเป็นจริง การที่ตถาคต
รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต
ที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักรในบริษัท
๔. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด๓ มีธาตุที่แตกต่างกัน๔ตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความ
เป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

เชิงอรรถ :
๑ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุและปัจจัย ที่เรียกว่า “ฐานะ” เพราะเป็นแดนตั้งขึ้น เกิดขึ้น และเป็นไปแห่งผล
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๘)
๒ ภูมิทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงคติที่ควรไป(คติ) และคติที่ไม่ควรไป(อคติ) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๘)
๓ ธาตุหลายชนิด ในที่นี้หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๗/๔๗๓) และดู อภิ.วิ. ๓๕/
๑๘๕/๑๐๕, วิสุทธิ. ๓/๖๕
๔ ธาตุที่แตกต่างกัน หมายถึงธาตุที่มีลักษณะต่างกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙, อภิ.วิ.อ. ๗๖๐/๔๒๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑. สีหนาทสูตร
๕. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็น
กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๖. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและ
อินทรีย์อ่อน ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และ
บุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง นี้
เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๗. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง๑ ความผ่องแผ้ว๒ แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ๓ตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน
วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

เชิงอรรถ :
๑ ความเศร้าหมอง หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อม ได้แก่ กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรคต่อการ
เจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙,องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/
๓๙๒) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๔๑/๓๖๒-๓๖๙
๒ ความผ่องแผ้ว หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลายไปแห่ง
ปีติเป็นต้น ซึ่งเป็นคุณต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙,
องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๑/๓๙๒) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๔๑/๓๖๒-๓๖๙
๓ ในคำว่า “ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ” นี้ ฌาน หมายถึงฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ ๘ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และ
ดู องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๑๙/๒๘๙ สมาธิ หมายถึงสมาธิ ๓ คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกและวิจาร)
อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร)
(ขุ.ป. ๓๑/๔๓/๕๐) สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญา-
เวทยิตนิโรธ ๑ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๙) และดู องฺ.นวก. ๒๓/๓๒/๓๓๖, อภิ.วิ. ๓๕/๘๒๘/๔๑๗-๔๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑. สีหนาทสูตร
๘. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติ
บ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัป๑เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัป๒เป็นอัน
มากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่าง
นั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้
หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ การที่ตถาคต
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ พร้อมทั้ง
ลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรใน
บริษัท
๙. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้
ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ตถาคต
เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิด

เชิงอรรถ :
๑ สังวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเสื่อม, ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ
๒ วิวัฏฏกัป หมายถึงกัปฝ่ายเจริญ, ช่วงระยะเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. ๑/๑๒/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๒. อธิมุตติปทสูตร
ดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมอย่างนี้แล การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๑๐. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า
ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะ
ที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้แล ที่ตถาคตประกอบแล้ว เป็น
เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
สีหนาทสูตรที่ ๑ จบ
๒. อธิมุตติปทสูตร
ว่าด้วยอธิมุตติบท๑
[๒๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดัง
นี้ว่า
อานนท์ เรากล้าปฏิญญาในธรรมทั้งหลาย๒ที่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งอธิมุตติบท
นั้น ๆ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อแสดงธรรมโดยวิธีที่บุคคลผู้ปฏิบัติตามแล้วจักรู้ธรรมที่

เชิงอรรถ :
๑ อธิมุตติบท หมายถึงขันธ์ อายตนะ และธาตุ อีกนัยหนึ่ง หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๒/๓๓๑)
๒ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงทศพลญาณ คือพระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ (ดูข้อ
๒๑ สีหนาทสูตร) และสัพพัญญุตญาณ คือพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และ
อนาคต (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๒/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๒. อธิมุตติปทสูตร
มีอยู่ว่า ‘มีอยู่’ บ้าง ที่ไม่มีอยู่ว่า ‘ไม่มีอยู่’ บ้าง ที่หยาบว่า ‘หยาบ’ บ้าง ที่ประณีตว่า
‘ประณีต’ บ้าง ที่ไม่ยอดเยี่ยมว่า ‘ไม่ยอดเยี่ยม’ บ้าง ที่ยอดเยี่ยมว่า ‘ยอดเยี่ยม’ บ้าง
หรือเป็นไปได้ที่ผู้ปฏิบัติตามจักรู้สิ่งที่พึงรู้ จักเห็นสิ่งที่พึงเห็น หรือจักทำให้แจ้งสิ่งที่
พึงทำให้แจ้ง
อานนท์ ญาณที่ยอดเยี่ยมกว่าญาณทั้งหลาย คือ ยถาภูตญาณ๑ ในธรรม
เหล่านั้น ๆ
กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญญาฐานะ
ที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
กำลังของตถาคต ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็น
อฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
๒. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึด
ถือกรรม ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ๒
๓. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้
ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง ฯลฯ นี้เป็นกำลังของ
ตถาคต ฯลฯ
๔. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความ
เป็นจริง ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
๕. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง ฯลฯ นี้
เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ยถาภูตญาณ ในที่นี้หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ คือพระปรีชาหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน
และอนาคต (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๒/๓๓๑)
๒ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในสีหนาทสูตรในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๒. อธิมุตติปทสูตร
๖. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและ
อินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและ
บุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
๗. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่ง
ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออก ฯลฯ ตามความเป็นจริง
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
๘. ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ฯลฯ
นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ
๙. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล การที่ตถาคต
เห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ นี้เป็นกำลัง
ของตถาคต ฯลฯ
๑๐. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคตทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญา
อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๑๐ ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้ว เป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
อธิมุตติปทสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๓. กายสูตร
๓. กายสูตร
ว่าด้วยธรรมที่พึงละทางกาย
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจาก็มี ธรรม
ที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกายก็มี ธรรมที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทาง
วาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ก็มี
ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางกาย เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านนั้นแลเป็นผู้
ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางกาย จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละกายทุจริต
บำเพ็ญกายสุจริต” ภิกษุนั้นถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่
จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต
นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลพึงละทางกาย แต่มิใช่ทางวาจา
ธรรมที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางวาจา เพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านนั้นแลเป็นผู้
ต้องอาบัติบางส่วนที่เป็นอกุศลทางวาจา จะเป็นการดีหนอ ที่ท่านจะละวจีทุจริต
บำเพ็ญวจีสุจริต” ภิกษุนั้นถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วว่ากล่าวอยู่
จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลพึงละทางวาจา แต่มิใช่ทางกาย
ธรรมที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วย
ปัญญาแล้วจึงละได้ เป็นอย่างไร
คือ โลภะ(ความโลภ)ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็น
ชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้ โทสะ(ความประทุษร้าย) ... โมหะ(ความหลง) ...
โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ)... มักขะ(ความลบหลู่) ... ปฬาสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น