Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๒ หน้า ๕๑ - ๑๐๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๓. กายสูตร
(ความตีตัวเสมอ) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่)ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็
ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้
ความริษยาอันชั่วที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัด
ด้วยปัญญาแล้วจึงละได้
ความริษยาอันชั่ว เป็นอย่างไร
คือ เมื่อคหบดีหรือบุตรของคหบดีในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน
หรือทอง ทาส หรือผู้เข้าไปอาศัยของคหบดีหรือบุตรของคหบดีคนใดคนหนึ่ง
มีความคิดอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ คหบดีหรือบุตรของคหบดีนี้ จะไม่พึงสมบูรณ์ด้วย
ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทอง”
อนึ่ง เมื่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร มีความคิดอย่างนี้ว่า “ไฉนหนอ ท่านผู้นี้จะไม่พึงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร”
นี้เรียกว่า ความริษยาอันชั่ว
ความริษยาอันชั่วที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึงเห็นชัด
ด้วยปัญญาแล้วจึงละได้
(ความปรารถนาอันชั่วที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึง
เห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้)
ความปรารถนาอันชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จัก
เราว่า ‘เป็นผู้มีศรัทธา” เป็นผู้ทุศีล ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้
มีศีล” เป็นผู้มีสุตะน้อย ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นพหูสูต” เป็นผู้
ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ชอบสงัด”
เป็นผู้เกียจคร้าน ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ปรารภความเพียร”
เป็นผู้หลงลืมสติ ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีสติตั้งมั่น” เป็นผู้
มีปัญญาทราม ปรารถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีปัญญา” ไม่เป็น
พระขีณาสพ ปราถนาว่า “คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นพระขีณาสพ”
นี้เรียกว่า ความปรารถนาอันชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร
(ความปรารถนาอันชั่ว ที่บุคคลพึงละทางกายก็ไม่ได้ ทางวาจาก็ไม่ได้ แต่พึง
เห็นชัดด้วยปัญญาแล้วจึงละได้)
หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ...
มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้า
ครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะ
จะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้
ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ...
ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ
ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้
หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ
... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้า
ครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะ
จะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัด
อย่างที่โทสะ โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยา
อันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนา
อันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้” อย่างนี้แล
กายสูตรที่ ๓ จบ
๔. มหาจุนทสูตร
ว่าด้วยพระมหาจุนทะ
[๒๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน แคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล
ท่านพระมหาจุนทะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า
นั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้
เราเห็นธรรมนี้” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ความปรารถนาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร
ชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่
โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้
ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ...
ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ
ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว
มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำ
ภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ
... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้
ภิกษุนั้น อย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น
โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา
อันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น
ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญา
อันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา
อันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัด
อย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้
ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ
... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น
ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจนแต่กล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์แต่
กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะแต่กล่าวอวดว่ามีโภคะ เขาเมื่อมีกิจจำเป็น
ต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็ไม่อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่าย
ได้ คนทั้งหลายก็จะพึงรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นคนยากจนแต่กล่าวอวดว่ามั่งมี
เป็นคนไม่มีทรัพย์แต่กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะแต่กล่าวอวดว่ามีโภคะ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้เมื่อมีกิจจำเป็นต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็ไม่
อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า
“เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิต
อันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ ... หากโทสะ
... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยา
อันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
“ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้า
ครอบงำท่านผู้นี้ได้ ท่านผู้นี้ย่อมไม่รู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ...
มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิด
แก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ได้”
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้” หาก
โลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ
... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำ
ภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิด
แก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่
โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความ
ริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความ
ปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้”
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว
มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำ
ภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ...
มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้
คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด
เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โทสะ ...
โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ...
ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้า
ครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๔. มหาจุนทสูตร
ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น
ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอันเจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญา
อันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา
อันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อม
รู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้
ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ...
มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น
ความปรารถนาอันชั่วจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้”
เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนมั่งมีจริง กล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคนมีทรัพย์จริง
กล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนมีโภคะจริง กล่าวอวดว่ามีโภคะ เขาเมื่อมีกิจจำเป็นต้อง
ใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็อาจนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้ คน
ทั้งหลายพึงรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นคนมั่งมีจริง จึงกล่าวอวดว่ามั่งมี เป็นคน
มีทรัพย์จริง จึงกล่าวอวดว่ามีทรัพย์ เป็นคนมีโภคะจริง จึงกล่าวอวดว่ามีโภคะ
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้เมื่อมีกิจจำเป็นต้องใช้ทรัพย์สักอย่างเกิดขึ้นก็
สามารถนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองออกใช้จ่ายได้” ฉันใด
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และการเจริญ
ย่อมกล่าวว่า “เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้ว มีศีลอัน
เจริญแล้ว มีจิตอันเจริญแล้ว มีปัญญาอันเจริญแล้ว” หากโลภะเข้าครอบงำภิกษุ
นั้นไม่ได้ ... หากโทสะ ... โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ
... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนาอันชั่วเข้าครอบงำภิกษุนั้นไม่ได้ คนก็จะพึงรู้
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โลภะจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น
โลภะจึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้ไม่ได้ ท่านผู้นี้ย่อมรู้ชัดอย่างที่โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...
อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... มัจฉริยะ ... ความริษยาอันชั่ว ... ความปรารถนา
อันชั่วจะไม่เกิดแก่ผู้รู้ชัด เพราะฉะนั้น ความปรารถนาอันชั่ว จึงเข้าครอบงำท่านผู้นี้
ไม่ได้” อย่างนี้แล
มหาจุนทสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๕. กสิณสูตร
๕. กสิณสูตร
ว่าด้วยบ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์๑
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้
บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
๒. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ(กสิณคือน้ำ) ...
๓. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ(กสิณคือไฟ) ...
๔. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ(กสิณคือลม) ...
๕. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ(กสิณคือสีเขียว) ...
๖. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ(กสิณคือสีเหลือง) ...
๗. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ(กสิณคือสีแดง) ...
๘. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ(กสิณคือสีขาว) ...
๙. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ(กสิณคือที่ว่างเปล่า) ...
๑๐. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณ(กสิณคือวิญญาณ)เบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ นี้แล
กสิณสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณ
เป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิทั้งหมดหรือสิ้นเชิง กล่าวคือ
วัตถุสำหรับแผ่ไปไม่เหลือ ไม่ปักใจอยู่ในอารมณ์กัมมัฏฐานเพียงอารมณ์เดียว (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓,
องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๕/๓๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๖. กาลีสูตร
๖. กาลีสูตร
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อกาลี
[๒๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ปวัตตบรรพต เขตกรุงกุรรฆระ
แคว้นอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสิกาชื่อกาลีชาวกรุงกุรรฆระ เข้าไปหาท่านพระ
มหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ในกุมารีปัญหา๑ว่า
การบรรลุประโยชน์๒ เป็นความสงบแห่งหทัย
เราชนะเสนา๓ ที่มีรูปเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจแล้ว
เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้ตรัสรู้ความสุขโดยลำดับ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ต้องอ้างบุคคลเป็นพยาน
การอ้างอิงใคร ๆ เป็นพยานจึงไม่มีสำหรับเรา
ท่านเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึง
เห็นได้โดยพิสดาร อย่างไรหนอ
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า น้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งทำประโยชน์
ชั้นยอด คือสมาบัติ๔ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคได้ทรง
รู้ประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์นั้นแล้วได้ทรงเห็นเบื้องต้น๕...
โทษ๖... ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก๗... มัคคามัคคญาณทัสสนะ๘ เพราะเหตุที่ทรง
เห็นเบื้องต้น โทษ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก และมัคคามัคคญาณทัสสนะ การบรรลุ
ประโยชน์จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าเป็นความสงบแห่งหทัย

เชิงอรรถ :
๑ กุมารีปัญหา หมายถึงคำถามของธิดามาร ปรากฏในมารธีตุสูตร (สํ.ส. ๑๕/๑๖๑/๑๕๒)
๒ ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔)
๓ เสนา ในที่นี้หมายถึงกิเลสมีราคะเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๒๑ (สีหนาทสูตร) หน้า ๔๕ ในเล่มนี้
๕ เบื้องต้น หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔)
๖ โทษ หมายถึงทุกขสัจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔)
๗ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔)
๘ มัคคามัคคญาณทัสสนะ หมายถึงมัคคสัจ ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๖/๓๓๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๖. กาลีสูตร
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีอาโปกสิณเป็น
อารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์
ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มี
นีลกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์เชั้นยอด คือสมาบัติที่มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ...
ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีโลหิตกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือ
สมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ... ทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มีอากาส-
กสิณเป็นอารมณ์ ... สมณพราหมณ์พวกหนึ่งทำประโยชน์ชั้นยอด คือสมาบัติที่มี
วิญญาณกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคได้ทรงรู้ประโยชน์ชั้นยอด
คือสมาบัติที่มีวิญญาณกสิณเป็นอารมณ์นั้นแล้วได้ทรงเห็นเบื้องต้น ... โทษ ... ธรรม
เป็นเครื่องสลัดออก ... มัคคามัคคญาณทัสสนะ เพราะเหตุที่ทรงเห็นเบื้องต้น โทษ
ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก และมัคคามัคคญาณทัสสนะ การบรรลุประโยชน์เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าเป็นความสงบแห่งหทัย
เหตุดังนี้แล พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระดำรัสไว้ในกุมารีปัญหาว่า
การบรรลุประโยชน์เป็นความสงบแห่งหทัย
เราชนะเสนาที่มีรูปเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจแล้ว
เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้ตรัสรู้ความสุขโดยลำดับ
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ต้องอ้างบุคคลเป็นพยาน
การอ้างอิงใคร ๆ เป็นพยานจึงไม่มีสำหรับเรา
น้องหญิง เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงเห็นได้
โดยพิสดารอย่างนี้แล
กาลีสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาใหญ่ สูตรที่ ๑
[๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปครองอันตรวาสก ถือ
บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “การเที่ยวไป
บิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวก
อัญเดียรถีย์ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวง
แล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย มาเถิด ท่านทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้
แจ้งธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ
ธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระ
สมณโคดมกับอนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร”
ภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า “เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือ
บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘การเที่ยวไป
บิณฑบาตในกรุงสาวัตถียังเช้านัก ทางที่ดี เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก’ ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าไปยังอารามของ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกับข้าพระองค์ทั้งหลายดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวงแล้วจงอยู่เถิด’
ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้แต่เราทั้งหลายก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย มาเถิด เธอทั้งหลายจงรู้แจ้งธรรมทั้งปวงเถิด ครั้นรู้แจ้งธรรมทั้งปวง
แล้วจงอยู่เถิด’ ผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมเทศนาหรืออนุสาสนีนี้ คือ ธรรมเทศนา
ของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรา หรืออนุสาสนีของพระสมณโคดมกับ
อนุสาสนีของพวกเราจะผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร” ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น
ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
ลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยคิดว่า ‘เราทั้งหลายจักรู้ชัดเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาค”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกมีวาทะอย่างนี้
เธอทั้งหลายควรถามอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑
ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔
อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุทเทส ๖
ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘
ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ เป็น
อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามอย่างนี้แล้ว จักไม่สามารถ
ตอบให้บริบูรณ์ได้ จักถึงความลำบากอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกถูกถามปัญหาอันมิใช่วิสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรายังไม่เห็นบุคคลที่จะยังจิตให้ยินดีได้ด้วย
การตอบปัญหาเหล่านี้ เว้นจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากสาวก
ของตถาคตนี้
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม ๑ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑ ประการคือ
อะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ
ในธรรม ๑ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่
เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม ๒ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๒ ประการคือ
อะไร คือ นามและรูป ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้น
โดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๒ ประการ
นี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา
๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม ๓ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๓ ประการคือ
อะไร คือ เวทนา ๓๑ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๔, สํ.สฬา. ๑๘/๒๗๐/๒๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
โดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๓
อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ เพราะอาศัยอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดย
ชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ
อาหาร ๔๑ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ
มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ ประการนี้แล้ว จึงเป็น
ผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔
ไวยากรณ์ ๔’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ
ในธรรม ๕ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการ
คืออะไร คืออุปาทานขันธ์ ๕๒ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ
หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๕
ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า
‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด

เชิงอรรถ :
๑ อาหาร ๔ หมายถึง (๑) กวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) (๒) ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) (๓) มโน-
สัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) (๔) วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๓,
ม.มู. ๑๒/๙๐/๖๕
๒ ดู สํ.ข. ๑๗/๔๘/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๑/๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม ๖ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๖ ประการคือ
อะไร คือ อายตนะภายใน ๖๑ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ
หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๖
ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า
‘ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม ๗ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๗ ประการคือ
อะไร คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗๒ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ
หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๗
ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า
‘ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คำที่เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘’ เพราะอาศัย
อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม
๘ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๘ ประการคืออะไร คือ
โลกธรรม ๘๓ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ
มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๘ ประการนี้แล้ว จึงเป็น
ผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวว่า ‘ปัญหา ๘ อุทเทส ๘
ไวยากรณ์ ๘’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, อภิ.วิ. ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๗๙-๘๔
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๒/๒๒๒-๒๒๓, องฺ.สตฺตก. ๒๓/๔๔/๓๕
๓ ดู องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๕-๖/๑๓๑-๑๓๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’ เพราะอาศัยอะไร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดย
ชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๙
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๙ ประการคืออะไร คือ
สัตตาวาส ๙๑ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ
มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๙ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙
ไวยากรณ์ ๙’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ เพราะ
อาศัยอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์
โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑๐
ประการคืออะไร คือ อกุศลกรรมบถ๒ ๑๐ ประการ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ
คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์
โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะ
อาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมมหาปัญหาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาใหญ่ สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้กชังคลนิคม
ครั้งนั้น อุบาสกชาวกชังคละเป็นอันมากเข้าไปหาภิกษุณีชาวกชังคละถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุณีชาวเมืองกชังคละดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๑/๒๓๒,๓๕๙/๒๗๒
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๗/๒๓๘,๓๖๐/๒๗๘, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๖/๒๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
“ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาสูตรทั้งหลายว่า
‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓
อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุทเทส ๕
ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗
ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐
อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ”
ภิกษุณีชาวกชังคละตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้ เราได้สดับรับมา
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับมาเฉพาะหน้าของ
ภิกษุทั้งหลายผู้ได้อบรมใจก็หามิได้ แต่ว่าเนื้อความแห่งพระดำรัสนี้ปรากฏแก่เรา
อย่างไร ท่านทั้งหลายก็จงฟังเนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นอย่างนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว” พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำของภิกษุณีชาวเมืองกชังคละแล้ว
ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้กล่าวดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายุ
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม ๑ ประการคืออะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน
ปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑
ไวยากรณ์ ๑’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๒ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม ๒ ประการคืออะไร คือ นามและรูป ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน
ธรรม ๒ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัย
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ พระองค์
จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ เวทนา ๓ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด
โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึง
เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน
อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ
สติปัฏฐาน ๔๑ ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔
ไวยากรณ์ ๔’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน
อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๕
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการคืออะไร คือ
อินทรีย์๒ ๕ ... ธรรม ๖ ประการคืออะไร คือ นิสสรณียธาตุ ๖๓... ธรรม ๗ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘
๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๑-๑๓/๙, อภิ.วิ. ๓๕/๘๒๑/๔๑๖
๓ ดู อภิ.วิ. ๓๕/๑๗๒-๑๗๔/๙๖-๙๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
คืออะไร คือ โพชฌงค์๑ ๗ ... ธรรม ๘ ประการคืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์๒ ๘
ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดย
ชอบในธรรม ๘ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรง
อาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘’
พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย
โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ
ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน
ธรรม ๙ ประการคืออะไร คือ สัตตาวาส ๙ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย
กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์
โดยชอบในธรรม ๙ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะ
ทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’
พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’
เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน
อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑๐
ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑๐ ประการคืออะไร
คือ กุศลกรรมบถ๓ ๑๐ ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดย
ชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์
ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๑๐
อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, อภิ.วิ. ๓๕/๔๖๖-๔๗๑/๒๗๔-๒๗๖
๒ ดู ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๖-๒๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๕/๓๑๙, อภิ.วิ. ๓๕/๔๘๖-๙/๒๘๓-๒๘๕
๓ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๗/๒๓๘, ๓๖๐/๒๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า
‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’
นั้นเราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดย
พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายยังจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบ
ทูลสอบถามเนื้อความนี้ดูเถิด พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด
ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนี้ไว้อย่างนั้นเถิด”
พวกอุบาสกชาวกชังคละรับคำแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของภิกษุณี
ชาวเมืองกชังคละแล้วลุกจากอาสนะ ไหว้แล้ว ทำประทักษิณ๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูล
ถ้อยคำสนทนากับภิกษุณีชาวเมืองกชังคละทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ คหบดีทั้งหลาย ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละ
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านทั้งหลายมาถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็จะพึง
ตอบเนื้อความนี้เหมือนภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้ตอบแล้ว และเนื้อความของคำ
นั้นก็มีความหมายเช่นนี้แล ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
ทุติยมหาปัญหาสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ ๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ชนบทของชาวกาสีและโกศลประมาณเท่าใด แว่นแคว้น
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศลอันพสกนิกรเรียกว่า
เป็นผู้เลิศในชนบทของชาวกาสีและโกศล และแว่นแคว้นเหล่านั้นประมาณเท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา โดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน
เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นผู้ที่
ตนเคารพนั้น คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
ถึงกระนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ยังมีความแปร๑มีความแปรผัน๒ไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสมบัตินั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสมบัตินั้น
ก็คลายกำหนัดในความเป็นพระราชาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงสมบัติที่
ด้อยกว่า (๑)
ภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมหมุนเวียนส่องทิศทั้งหลายให้
สว่างอยู่ในที่ประมาณเท่าใด สหัสสธาโลกธาตุ๓มีอยู่ในที่ประมาณเท่านั้น ใน
สหัสสธาโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขา
สิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป ๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป
๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐ มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐
มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา
๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ สหัสสธาโลกธาตุประมาณ
เท่าใด ท้าวมหาพรหม อันชาวโลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศในสหัสสธาโลกธาตุประมาณ
เท่านั้น ถึงกระนั้นท้าวมหาพรหมก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวก
ผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น เมื่อเบื่อหน่าย
ในสหัสสธาโลกธาตุนั้น ก็คลายกำหนัดในความเป็นท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นเลิศ
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๒)
สมัยที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมบังเกิดในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระโดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้บังเกิดด้วยอำนาจฌาน มีปีติเป็นภักษา มี
รัศมีในตัวเอง เที่ยวไปในอากาศ มีปกติดำรงอยู่ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระนั้นตลอดกาลช้านาน เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรพรหมทั้งหลาย อันชาว
โลกกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ ถึงกระนั้นอาภัสสรพรหมทั้งหลายก็ยังมีความแปร มีความ
แปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้น
อาภัสสระนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น ก็คลายกำหนัดในความ
เป็นอาภัสสรพรหมซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ความแปร (อัญญถัตตะ) ในที่นี้หมายถึงความเปลี่ยนกลายไปจากลักษณะหรือภาวะเดิม ได้แก่ชรา (องฺ.ติก.
อ. ๒/๔๗/๑๕๔)
๒ ความแปรผัน (วิปริณามะ) ในที่นี้หมายถึงความตาย (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๙/๓๓๘)
๓ สหัสสธาโลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาล ดูอังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๘๑
หน้า ๓๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้
บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่
มีประมาณ
๒. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ ...
๓. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ ...
๔. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ ...
๕. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ ...
๖. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ ...
๗. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ ...
๘. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ ...
๙. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ ...
๑๐. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง
ไม่มีประมาณ
ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้แล
บรรดาบ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้ วิญญาณกสิณ
เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดนี้ เป็นเลิศ
สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญา อย่างนี้แลมีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา
อย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่งกสิณนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในบ่อเกิด
แห่งกสิณนั้น ก็คลายกำหนัดแม้ในวิญญาณกสิณที่เลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงกสิณที่
ด้อยกว่า (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
อภิภายตนะ ๘ ประการ๑
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้
อภิภายตนะ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒ เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ ๑
๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ ๒
๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๓ เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ ๓
๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือ
ไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะที่ ๔
๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว

เชิงอรรถ :
๑ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ
อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และชื่อว่า อายตนะ
เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔)
๒ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน ที่ยังไม่ถึงอัปปนา (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๖๕/๒๗๐)
๓ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงปราศจากการบริกรรมในรูปภายใน เพราะไม่ให้รูปสัญญาเกิดขึ้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.
๓/๖๕/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วย
ของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี
เขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้
เป็นอภิภายตนะที่ ๕
๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอกกรรณิกา
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือ
เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่เหลือง มี
สีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูป
สัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง
เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๖
๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบ
ด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบ
ด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ
ละเอียดทั้งสองด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด
บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปภายนอก
ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๗
๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบ
ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้งสองด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำ
รูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอภิภายตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะที่ ๘ คือ บุคคล
หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นเลิศ
สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้มีสัญญา
อย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายในอภิภายตนะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น ก็คลายกำหนัด
ในอภิภายตนะซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๕)
ปฏิปทา ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า)
๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว)
๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า)
๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว)
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา นี้เป็นเลิศ สัตว์
ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอย่างนี้ก็ยังมีความแปร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น
เมื่อเบื่อหน่ายในปฏิปทานั้น ก็คลายกำหนัดในปฏิปทาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูด
ถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๖)
สัญญา ๔ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้
สัญญา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปริตตารมณ์๑
๒. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดมหัคคตารมณ์๒
๓. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอัปปมาณารมณ์๓
๔. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากิญจัญญายตนฌาน๔ว่า ‘ไม่มีอะไร’
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล
บรรดาสัญญา ๔ ประการนี้ อากิญจัญญายตนฌานที่บุคคลหนึ่งรู้ชัดว่า
‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นเลิศ สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้นสัตว์
ทั้งหลายผู้มีสัญญาอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้สดับ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญานั้น เมื่อเบื่อหน่ายในสัญญานั้น ก็คลาย
กำหนัดแม้ในสัญญาซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๗)

เชิงอรรถ :
๑ ปริตตารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ยังไม่ได้ขยายให้กว้างออกไป มีขนาดเพียงเท่ากระด้ง
หรือถ้วยชาม (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๓) หรือหมายถึงธรรมชั้นกามาวจร
ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ ๓๔ ข้อ ๑๐๒๖, ๑๐๒๙,๑๔๑๗ หน้า ๒๖๔-๒๖๕,๓๔๙
๒ มหัคคตารมณ์ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่ม
กิเลสได้และเพราะเป็นอารมณ์ที่สืบต่อกันมานาน และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่
(อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒)
๓ อัปปมาณารมณ์ หมายถึงอารมณ์สมถกัมมัฏฐานที่ได้ขยายให้กว้างใหญ่ไพบูลย์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/
๒๗๑, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๔) หรือหมายถึงธรรมชั้นโลกุตตระ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
ดูอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีแปล เล่มที่ ๓๔ ข้อ ๑๐๒๘ หน้า ๒๖๕ ข้อ ๑๔๑๙ หน้า ๓๕๐
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร
บรรดาวาทะนอกศาสนา วาทะว่า ‘ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว อัตภาพนี้ก็ไม่พึงมี
แก่เรา ถ้าเราจักไม่มี ความกังวลอะไรจักไม่มีแก่เรา’ นี้เป็นเลิศ บุคคลผู้มีวาทะ
อย่างนี้ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบ
ในความดับภพ จักไม่มีแก่เขา สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้น
สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวาทะนั้น เมื่อเบื่อหน่ายในวาทะนั้น ก็
คลายกำหนัดในวาทะซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๘)
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความหมดจดในสัตว์ชั้นสูงสุดมีอยู่ บุคคลผู้ที่
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นี้เลิศกว่าสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติความหมดจดในสัตว์ชั้นสูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น
รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งเนว-
สัญญานาสัญญายตนฌานนั้น สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลก็มีอยู่ ถึงกระนั้น
สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ก็ยังมีความแปร มีความแปรผันไปได้ อริยสาวกผู้ได้
สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เมื่อ
เบื่อหน่ายในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ก็คลายกำหนัดในเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานซึ่งเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงภาวะที่ด้อยกว่า (๙)
ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน
มีอยู่ ความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง นี้เลิศกว่าสมณ-
พราหมณ์ผู้บัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อม
กล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริง คำเปล่า คำเท็จ คำไม่เป็น
จริงว่า ‘พระสมณโคดมไม่บัญญัติการกำหนดรู้กาม รูป และเวทนาทั้งหลาย’ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราบัญญัติการกำหนดรู้กาม รูป และเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้ปราศจาก
ตัณหาและมิจฉาทิฏฐิแล้ว ดับแล้ว เยือกเย็นแล้ว จึงบัญญัติอนุปาทาปรินิพพานใน
ปัจจุบัน (๑๐)
ปฐมโกสลสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร
๑๐. ทุติยโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ ๒
[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับจากการรบ
ทรงชนะสงครามมาสมพระราชประสงค์แล้ว ได้เสด็จไปยังอาราม โดยพระราชยาน
เท่าที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากพระราชยานแล้ว เสด็จไปด้วยพระบาทเข้าไปยังอาราม
สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จ
เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสถามว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ โยมประสงค์จะเฝ้าพระองค์”
ภิกษุเหล่านั้นถวายพระพรว่า “ขอมหาบพิตรจงเงียบเสียงเสด็จเข้าไปยังพระ
วิหารหลังนี้ซึ่งมีประตูปิดสนิทดีแล้ว อย่าทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรง
กระแอม แล้วทรงใช้ปลายพระนขาเคาะบานประตูนิดหน่อยเถิด พระผู้มีพระภาคจัก
ทรงเปิดประตู”
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงเงียบเสียงเสด็จเข้าไปยังพระวิหารหลังนั้นซึ่งมี
ประตูปิดสนิทดีแล้ว มิได้ทรงรีบด่วน เสด็จเข้าไปยังระเบียง ทรงกระแอมแล้วใช้
ปลายพระนขาเคาะบานประตูนิดหน่อย พระผู้มีพระภาคทรงเปิดประตูรับ พระเจ้า
ปเสนทิโกศลจึงเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ซบพระเศียรลงที่พระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคแล้วจุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดด้วย
พระหัตถ์ทั้งสอง และทรงประกาศพระนามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
คือพระเจ้าปเสนทิโกศล หม่อมฉัน คือพระเจ้าปเสนทิโกศล”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์
อะไรเล่า จึงทรงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในสรีระนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นความ
กตัญญูกตเวที จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่ง เช่นนี้ในพระผู้มี
พระภาคเพราะ
๑. พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อเกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก ทรงให้คนหมู่มากดำรงอยู่ในอริยญายธรรม คือความเป็นผู้
มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตา
อย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
๒. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ มีศีลอันประเสริฐ มีศีลอัน
เป็นกุศล ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยกุศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่ง
เช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
๓. พระผู้มีพระภาคทรงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ทรงอยู่อาศัยเสนาสนะอัน
สงัดซึ่งตั้งอยู่ในแนวป่าตลอดกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่าง
ยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
๔. พระผู้มีพระภาคทรงสันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็น
อำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่น
นี้ในพระผู้มีพระภาค
๕. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่การต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความ
นอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร
๖. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต๑ คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย)
สันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคค-
กถา(เรื่องความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
๗. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
๘. พระผู้มีพระภาคทรงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง
๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง
๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์

เชิงอรรถ :
๑ เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๑/๒๘๕) ในที่นี้บาลีเป็น “เจโตวิจรณสปฺปายา” แต่ในฉบับภาษาอังกฤษ
และฉบับฉัฏฐสังคีติ เป็น “เจโตวิวรณสปฺปายา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค ๑๐. ทุติยโกสลสูตร
และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ พระองค์ทรง
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความ
นอบน้อมประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในพระผู้มีพระภาค
๙. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
ทรงรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวน
ผู้อื่นให้ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโน-
สุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำ
ตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
พระองค์ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ทรงรู้
ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์เจริญ หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อมประกอบด้วยเมตตา
อย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
๑๐. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
ถ้าอย่างนั้น บัดนี้ หม่อมฉันขอทูลลากลับเพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำ
อีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๓. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด
มหาบพิตร”
ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากพระราชอาสน์ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป
ทุติยโกสลสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีหนาทสูตร ๒. อธิมุตติปทสูตร
๓. กายสูตร ๔. มหาจุนทสูตร
๕. กสิณสูตร ๖. กาลีสูตร
๗. ปฐมมหาปัญหาสูตร ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
๙. ปฐมโกสลสูตร ๑๐. ทุติยโกสลสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๑. อุปาลิสูตร
๔. อุปาลิวรรค
หมวดว่าด้วยพระอุบาลี
๑. อุปาลิสูตร
ว่าด้วยพระอุบาลีทูลถามประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท
[๓๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจ
ประโยชน์เท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุบาลี ตถาคตบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์
แก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก๑
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้เก้อยาก ในที่นี้หมายถึงบุคคลผู้ทุศีลที่กำลังล่วงละเมิดสิกขาบท หรือล่วงละเมิดสิกขาบทแล้วก็ไม่
ละอาย ไม่ยอมรับ ทั้งยังรุกรานสงฆ์ว่า “ท่านเห็นหรือ ท่านได้ยินหรือ ข้าพเจ้าทำผิดอะไร พวกท่านยก
อาบัติอะไรขึ้นข่มข้าพเจ้า” (องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๑/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๒. ปาติโมกขัฏฐปนาสูตร
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑
อุบาลี ตถาคตบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่เหล่าสาวกโดยอาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการนี้แล
อุปาลิสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปาติโมกขัฏฐปนาสูตร
ว่าด้วยเหตุงดสวดปาติโมกข์
[๓๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุงดสวดปาติโมกข์
มีเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี เหตุงดสวดปาติโมกข์ ๑๐ ประการ
เหตุงดสวดปาติโมกข์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. กถาว่าด้วยปาราชิกยังทำค้างอยู่
๓. อนุปสัมบันนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. กถาว่าด้วยอนุปสัมบันยังทำค้างอยู่
๕. ผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๖. กถาว่าด้วยผู้บอกลาสิกขายังทำค้างอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๑, ๒ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม คือสงฆ์
ข้อ ๓, ๔ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่บุคคล
ข้อ ๕, ๖ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์หรือแก่ชีวิต
ข้อ ๗, ๘ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน
ข้อ ๙, ๑๐ ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา
ข้อ ๑๐ คำว่า “เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย” หมายถึงเพื่อเชิดชูค้ำจุนประคับประคองพระวินัย ๔ อย่าง คือ สังวรวินัย
ปหานวินัย สมถวินัย บัญญัติวินัย (วิ.อ. ๑/๓๙/๒๓๖-๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๓. อุพพาหิกาสูตร
๗. บัณเฑาะก์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๘. กถาว่าด้วยบัณเฑาะก์ยังทำค้างอยู่
๙. ผู้ประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๑๐. กถาว่าด้วยผู้ประทุษร้ายภิกษุณียังทำค้างอยู่
อุบาลี เหตุงดสวดปาติโมกข์ ๑๐ ประการนี้แล”
ปาติโมกขัฏฐปนาสูตรที่ ๒ จบ
๓. อุพพาหิกาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์
[๓๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์พึงสมมติ๑ให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์๒ได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา-
บททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงาม
ในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ

เชิงอรรถ :
๑ สมมติ ในที่นี้หมายถึงการที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทำกิจหรือเป็น
เจ้าหน้าที่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
๒ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติและการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่นให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๓/๓๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๔. อุปสัมปทาสูตร
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑
๓. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง๒ ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย
๕. เป็นผู้สามารถปรับคู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายให้ยินยอมกันได้ ให้สำนึกตัว ให้
เพ่งพินิจดู ให้เห็นผล ให้เลื่อมใส
๖. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น
๗. รู้อธิกรณ์
๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
๙. รู้ความดับอธิกรณ์
๑๐. รู้วิธีปฏิบัติเพื่อระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้รื้อ
ฟื้นอธิกรณ์ได้”
อุพพาหิกาสูตร ที่ ๓ จบ
๔. อุปสัมปทาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๓๔] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
เท่าไรหนอ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้
๒ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึง มหาวิภังค์ (ภิกขุวิภังค์) ว่าด้วยสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ
และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ข้อฝ่ายภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๔. อุปสัมปทาสูตร
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามใน
เบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ทรงจำปาติโมกข์ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดี
โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้สามารถพยาบาลได้เอง หรือให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลสัทธิวิหาริกผู้เจ็บไข้
๕. เป็นผู้สามารถระงับได้เอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความไม่ยินดี๑
๖. เป็นผู้สามารถบรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นได้เองโดยธรรม
๗. เป็นผู้สามารถปลดเปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม
๘. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิศีล
๙. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิจิต
๑๐. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้”
อุปสัมปทาสูตร ที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ความไม่ยินดี ในที่นี้หมายถึงความเบื่อหน่ายในการประพฤติพรหมจรรย์ ประสงค์จะลาสิกขา (องฺ.ทสก.อ.
๓/๓๔/๓๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๕. นิสสยสูตร
๕. นิสสยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้นิสสัย
[๓๕] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
เท่าไรหนอ พึงให้นิสสัยได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
พึงให้นิสสัยได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ทรงจำปาติโมกข์ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดี
โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกผู้เจ็บไข้
๕. เป็นผู้สามารถระงับได้เองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความไม่ยินดี
๖. เป็นผู้สามารถบรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นได้เองโดยธรรม
๗. เป็นผู้สามารถปลดเปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม
๘. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิศีล
๙. ฯลฯ อธิจิต
๑๐. ฯลฯ อธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงให้นิสสัยได้”
นิสสยสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๖. สามเณรสูตร
๖. สามเณรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้สามเณรอุปัฏฐาก
[๓๖] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
เท่าไรหนอ พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ทรงจำปาติโมกข์ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดี
โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
๔. เป็นผู้สามารถพยาบาลได้เองหรือใช้ให้ผู้อื่นพยาบาลสัทธิวิหาริกผู้เจ็บไข้
๕. เป็นผู้สามารถระงับได้เองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความไม่ยินดี
๖. เป็นผู้สามารถบรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นได้เองโดยธรรม
๗. เป็นผู้สามารถปลดเปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม
๘. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิศีล
๙. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิจิต
๑๐. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้”
สามเณรสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๗. สังฆเภทสูตร
๗. สังฆเภทสูตร
ว่าด้วยเหตุให้สงฆ์แตกกัน
[๓๗] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆเภท
สังฆเภท’ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า ‘เป็นธรรม’
๒. แสดงธรรมว่า ‘เป็นอธรรม’
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า ‘เป็นวินัย’
๔. แสดงวินัยว่า ‘มิใช่วินัย’
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้กล่าวไว้’
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้
กล่าวไว้’
๗. แสดงกรรมที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตได้ประพฤติมา’
๘. แสดงกรรมที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา’
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตได้บัญญัติไว้’
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้๑’
ภิกษุเหล่านั้นแตกกัน แยกกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยกกัน
ด้วยเหตุ ๑๐ ประการนี้ อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่านี้แล”
สังฆเภทสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๓๗,๓๙,๔๑,๔๒ ดู วิ.ป. ๘/๒๗๕/๒๑๐ และดูอังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๑๓๐-๑๓๙ หน้า ๒๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๘. สังฆสามัคคีสูตร
๘. สังฆสามัคคีสูตร
ว่าด้วยเหตุให้สงฆ์สามัคคีกัน
[๓๘] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี’ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า ‘เป็นอธรรม’
๒. แสดงธรรมว่า ‘เป็นธรรม’
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า ‘มิใช่วินัย’
๔. แสดงวินัยว่า ‘เป็นวินัย’
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้’
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้’
๗. แสดงกรรมที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา’
๘. แสดงกรรมที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตได้ประพฤติมา’
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้’
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตได้บัญญัติไว้‘๑
ภิกษุเหล่านั้นไม่แตกกัน ไม่แยกกัน ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน ไม่สวดปาติโมกข์
แยกกัน ด้วยเหตุ ๑๐ ประการนี้ อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล
สังฆสามัคคีสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๓๘,๔๐ ดู อังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๑๔๑-๑๔๙ หน้า ๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๙. ปฐมอานันทสูตร
๙. ปฐมอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามปัญหา สูตรที่ ๑
[๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆเภท สังฆเภท’ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า ‘เป็นธรรม’
๒. แสดงธรรมว่า ‘เป็นอธรรม’
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า ‘เป็นวินัย’
๔. แสดงวินัยว่า ‘มิใช่วินัย’
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้กล่าวไว้’
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้
กล่าวไว้’
๗. แสดงกรรมที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตได้ประพฤติมา’
๘. แสดงกรรมที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา’
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตได้บัญญัติไว้’
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้’
ภิกษุเหล่านั้นแตกกัน แยกกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยกกัน
ด้วยเหตุ ๑๐ ประการนี้ อานนท์ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่านี้แล”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ซึ่งสามัคคีกัน จะประสพผล
อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ซึ่งสามัคคีกันนั้น
จะประสพผลอันเผ็ดร้อนอยู่ตลอดกัป”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ผลอันเผ็ดร้อนอยู่ตลอดกัป คืออะไร พระ-
พุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค ๑๐. ทุติยอานันทสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ซึ่งสามัคคีกันนั้น
จะเสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัปหนึ่ง”
บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ๑
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน
ปฐมอานันทสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒
[๔๐] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
‘สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี’ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า ‘เป็นอธรรม’
๒. แสดงธรรมว่า ‘เป็นธรรม’
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า ‘มิใช่วินัย’
๔. แสดงวินัยว่า ‘เป็นวินัย’
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้’
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
กล่าวไว้’
๗. แสดงกรรมที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา’
๘. แสดงกรรมที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตได้ประพฤติมา’

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๙-๔๐/๓๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๔. อุปาลิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้’
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตได้บัญญัติไว้’
ภิกษุเหล่านั้นไม่แตกกัน ไม่แยกกัน ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน ไม่สวดปาติโมกข์
แยกกัน ด้วยเหตุ ๑๐ ประการนี้ อานนท์ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “บุคคลผู้สมานสงฆ์ซึ่งแตกกันแล้วให้สามัคคีกัน
จะประสพผลอะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ บุคคลผู้สมานสงฆ์ซึ่งแตกกันแล้วให้
สามัคคีกันนั้น จะประสพบุญอันประเสริฐ”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “บุญอันประเสริฐคืออะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ บุคคลผู้สมานสงฆ์ซึ่งแตกกันแล้วให้
สามัคคีกัน จะบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป”
ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว
ผู้ยินดีแล้วในความพร้อมเพรียงกัน อยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป
เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน
ทุติยอานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
อุปาลิวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปาลิสูตร ๒. ปาติโมกขัฏฐปนาสูตร
๓. อุพพาหิกาสูตร ๔. อุปสัมปทาสูตร
๕. นิสสยสูตร ๖. สามเณรสูตร
๗. สังฆเภทสูตร ๘. สังฆสามัคคีสูตร
๙. ปฐมอานันทสูตร ๑๐. ทุติยอานันทสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๑. วิวาทสูตร
๕. อักโกสวรรค
หมวดว่าด้วยการด่า
๑. วิวาทสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดวิวาทขึ้นในสงฆ์
[๔๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะ แก่งแย่ง และ
วิวาทกันขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า ‘เป็นธรรม’
๒. แสดงธรรมว่า ‘เป็นอธรรม’
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า ‘เป็นวินัย’
๔. แสดงวินัยว่า ‘มิใช่วินัย’
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
กล่าวไว้’
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้
กล่าวไว้’
๗. แสดงกรรมที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตได้ประพฤติมา’
๘. แสดงกรรมที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา’
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตได้บัญญัติไว้’
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้’
อุบาลี นี้เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัยให้เกิดความบาดหมาง ทะเลาะ แก่งแย่ง และวิวาท
กันขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ
วิวาทสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๒. ปฐมวิวาทมูลสูตร
๒. ปฐมวิวาทมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งวิวาท สูตรที่ ๑
[๔๒] พระอุบาลีทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งวิวาทมีเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุบาลี มูลเหตุแห่งวิวาท ๑๐ ประการ
มูลเหตุแห่งวิวาท ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า ‘เป็นธรรม’
๒. แสดงธรรมว่า ‘เป็นอธรรม’
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า ‘เป็นวินัย’
๔. แสดงวินัยว่า ‘มิใช่วินัย’
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้
กล่าวไว้’
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้
กล่าวไว้’
๗. แสดงกรรมที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตได้ประพฤติมา’
๘. แสดงกรรมที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ‘ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา’
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตได้บัญญัติไว้’
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ‘ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้’
อุบาลี มูลเหตุแห่งวิวาท ๑๐ ประการนี้แล
ปฐมวิวาทมูลสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร
๓. ทุติยวิวาทมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งวิวาท สูตรที่ ๒
[๔๓] พระอุบาลีทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งวิวาทมี
เท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุบาลี มูลเหตุแห่งวิวาท ๑๐ ประการ
มูลเหตุแห่งวิวาท ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอนาบัติว่า ‘เป็นอาบัติ’
๒. แสดงอาบัติว่า ‘เป็นอนาบัติ’
๓. แสดงอาบัติเบาว่า ‘เป็นอาบัติหนัก’
๔. แสดงอาบัติหนักว่า ‘เป็นอาบัติเบา’
๕. แสดงอาบัติชั่วหยาบ๑ว่า ‘ไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ’
๖. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า ‘เป็นอาบัติชั่วหยาบ’
๗. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า ‘เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ๒’
๘. แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า ‘เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ’
๙. แสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า ‘เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้’
๑๐. แสดงอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ว่า ‘เป็นอาบัติที่ทำคืนได้๓’
อุบาลี มูลเหตุแห่งวิวาท ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยวิวาทมูลสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติชั่วหยาบ หมายถึงอาบัติปาราชิก ๔ สิกขาบท และอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ดู วินัยปิฎกแปล
เล่มที่ ๑ ข้อ ๓๙๙ หน้า ๕๑๑
๒ อาบัติมีส่วนเหลือ หมายถึงสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต อาบัติไม่มี
ส่วนเหลือ หมายถึงปาราชิก ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๕๐/๘๕)
๓ ข้อ ๔๓ ดู อังคุตตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๑๕๐-๑๕๙ หน้า ๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๔. กุสินารสูตร
๔. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่กรุงกุสินารา
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์เป็นที่ประกอบ
พลีกรรม เขตกรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕
ประการในตน พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
ธรรมที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงพิจารณาไว้ในตน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้มี
กายสมาจารบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบกายสมาจารบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่
บกพร่องหรือไม่หนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ” หากภิกษุ
ไม่เป็นผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์ มิได้เป็นผู้ประกอบกายสมาจารบริสุทธิ์
ไม่ขาด ไม่บกพร่อง ก็จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ว่า “เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางกายก่อนเถิด” จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ดังนี้
๒. ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้มี
วจีสมาจารบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบวจีสมาจารบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่
บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ” หากภิกษุไม่
เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ไม่เป็นผู้ประกอบวจีสมาจารบริสุทธิ์ ไม่ขาด
ไม่บกพร่อง ก็จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ว่า “เชิญท่านสำเหนียกความ
ประพฤติทางวาจาก่อนเถิด” จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ดังนี้
๓. ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เราเข้าไป
ตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายแล้วหรือหนอ ธรรมนี้
มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ” หากภิกษุยังไม่เข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่
อาฆาตในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายแล้ว ก็จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ว่า
“เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อนเถิด”
จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๔. กุสินารสูตร
๔. ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เราเป็น
พหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามใน
เบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิหรือไม่หนอ ธรรมนี้
มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ” หากภิกษุไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงสุตะ ไม่
สั่งสมสุตะ ไม่เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความ
งามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถ และพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน ทรงจำไว้ไม่ได้ ไม่คล่อง
ปาก ไม่ขึ้นใจ ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ ก็จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ว่า
“เชิญท่านเล่าเรียนคัมภีร์เสียก่อนเถิด” จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ดังนี้
๕. ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เราทรงจำ
ปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดี
โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะหรือไม่หนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือ
ไม่หนอ” หากภิกษุไม่ทรงจำ ปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี ไม่จำแนกได้ดี
ไม่ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร ไม่วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
ภิกษุนั้นหากถูกถามว่า “ท่านผู้มีอายุ สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ที่ไหน” แก้ไม่ได้ก็จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ว่า “เชิญท่านไปศึกษาวินัย
เสียก่อนเถิด” จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นได้ดังนี้
ธรรมที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงพิจารณาไว้ในตน ๕ ประการนี้
ธรรมที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงตั้งมั่นไว้ในตน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราจักกล่าวในเวลาอันควร จักไม่กล่าวในเวลาอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวถ้อยคำจริง จักไม่กล่าวถ้อยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวถ้อยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวถ้อยคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวถ้อยคำอันไม่
ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักมีเมตตาจิตกล่าว เราจักไม่เพ่งโทษกล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๕. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร
ธรรมที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงตั้งมั่นไว้ในตน ๕ ประการนี้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕
ประการนี้ไว้ในตน พึงตั้งมั่นธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงโจทผู้อื่น
กุสินารสูตรที่ ๔ จบ
๕. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร
ว่าด้วยโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการ
โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พระราชาในโลกนี้ประทับอยู่กับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในที่นั้น พระมเหสี
ทรงเห็นภิกษุนั้นแล้วทรงยิ้มแย้ม หรือภิกษุเห็นพระมเหสีแล้วยิ้มแย้ม
พระราชาจะทรงสงสัยในอาการนั้นอย่างนี้ว่า “คนทั้ง ๒ นี้คงได้ทำ หรือ
จักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระ
ราชวังชั้นในประการที่ ๑
๒. พระราชาทรงมีพระราชกรณียกิจมาก เสด็จไปหาหญิงคนใดคนหนึ่งแล้ว
ทรงระลึกไม่ได้ หญิงนั้นตั้งครรภ์กับพระองค์ พระราชาก็จะทรงสงสัยใน
การตั้งครรภ์นั้นอย่างนี้ว่า “เว้นบรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่นจะเข้ามาใน
พระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้
เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ ๒
๓. รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งในพระราชวังชั้นในหายไป พระราชาก็จะทรง
สงสัยในการที่รัตนะนั้นหายไปนั้นว่า “เว้นบรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่นจะ
เข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้ น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต”
นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ ๓
๔. เรื่องลับภายในพระราชวังชั้นในแพร่งพรายออกมาภายนอก พระราชาก็
จะทรงสงสัยในเรื่องลับที่แพร่งพรายออกมาภายนอกนั้นอย่างนี้ว่า “เว้น
บรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่นจะเข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๕. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร
น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวัง
ชั้นในประการที่ ๔
๕. ในพระราชวังชั้นใน บิดาปรารถนาจะฆ่าบุตร หรือบุตรปรารถนาจะฆ่าบิดา
คนทั้ง ๒ นั้น ต่างก็จะสงสัยอย่างนี้ว่า “เว้นบรรพชิตเสียแล้ว ใครอื่น
จะเข้ามาในพระราชวังชั้นในนี้ไม่ได้ กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของ
บรรพชิต” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ ๕
๖. พระราชาทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูง คนทั้งหลาย
ที่ไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรง
คลุกคลีกับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็น
โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ ๖
๗. พระราชาทรงตั้งบุคคลผู้ควรแก่ตำแหน่งสูงไว้ในตำแหน่งต่ำ คนทั้งหลาย
ที่ไม่พอใจการแต่งตั้งนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรง
คลุกคลีกับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็น
โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ ๗
๘. พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลไม่สมควร คนทั้งหลายที่ไม่พอใจใน
การส่งกองทัพไปนั้น จะมีความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลี
กับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะเป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็นโทษใน
การเข้าไปในพระราชวังชั้นในประการที่ ๘
๙. พระราชาทรงส่งกองทัพไปในกาลสมควร รับสั่งให้กลับเสียในระหว่างทาง
คนทั้งหลายที่ไม่พอใจในการให้กองทัพกลับเสียในระหว่างทางนั้น จะมี
ความสงสัยอย่างนี้ว่า “พระราชาทรงคลุกคลีกับบรรพชิต กรรมนี้น่าจะ
เป็นการกระทำของบรรพชิต” นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
ประการที่ ๙
๑๐. พระราชวังชั้นในเป็นที่คับคั่งไปด้วยช้าง คับคั่งไปด้วยม้า คับคั่งไปด้วยรถ
มีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ซึ่งเป็น
สิ่งที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน
ประการที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน ๑๐ ประการนี้แล
ราชันเตปุรัปปเวสนสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. อักโกสวรรค ๖. สักกสูตร
๖. สักกสูตร
ว่าด้วยอุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะ
[๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะเป็นจำนวนมากได้พากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามอุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะดังนี้ว่า
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่
ประกอบด้วยองค์ ๘ บ้างหรือไม่หนอ”
อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะเหล่านั้นกราบทูลว่า “บางคราวข้าพระองค์
ทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ แต่บางคราวก็ไม่ได้พากันรักษา
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ไม่ใช่ลาภของท่านทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายได้ชั่วแล้ว ที่เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้
บางคราวท่านทั้งหลายพากันรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ แต่บางคราวก็ไม่ได้
พากันรักษา
ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้พึงหาทรัพย์ได้วันละ
กึ่งกหาปณะด้วยการงานชอบ โดยไม่แตะต้องอกุศลกรรมเลย สมควรจะกล่าวได้
หรือไม่ว่า ‘เป็นคนฉลาด มีความขยันหมั่นเพียร”
“สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อุบาสกอุบาสิกาชาวแคว้นสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงหาทรัพย์ได้วันละ ๑ กหาปณะ ... ๒ กหาปณะ ...
๓ กหาปณะ ... ๔ กหาปณะ ... ๕ กหาปณะ ... ๖ กหาปณะ ... ๗ กหาปณะ ...
๘ กหาปณะ ... ๙ กหาปณะ ... ๑๐ กหาปณะ ... ๒๐ กหาปณะ ... ๓๐ กหาปณะ ...
๔๐ กหาปณะ ... ๕๐ กหาปณะ ... ๑๐๐ กหาปณะ ด้วยการงานชอบ โดยไม่แตะ
ต้องอกุศลกรรมเลย สมควรจะกล่าวได้หรือไม่ว่า ‘เป็นคนฉลาด มีความขยันหมั่น
เพียร”
“สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๐๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น