Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๔ หน้า ๑๕๐ - ๑๙๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
ได้แต่ความเสื่อมอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเจริญเลย เปรียบเหมือน
เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของดวงจันทร์ในกาฬปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเสื่อม
จากความงาม ย่อมเสื่อมจากรัศมี ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาว
และด้านกว้าง
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริ ... มีโอตตัปปะ ... มีวิริยะ ...
มีปัญญา ... มีการเงี่ยโสตฟังธรรม ... มีการทรงจำธรรม ... มีการพิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรม ... มีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ... มีความไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความ เจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีความไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย เมื่อกลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นผ่านไป เขาพึงหวังได้แต่ความเจริญ
อย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความเสื่อมเลย เปรียบเหมือนเมื่อกลางคืนหรือ
กลางวันของดวงจันทร์ในชุณหปักษ์ผ่านไป ดวงจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยความงาม
ย่อมเจริญด้วยรัศมี ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง
ทุติยนฬกปานสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยกถาวัตถุ สูตรที่ ๑
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตใน
เวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถา๑ต่าง ๆ คือ (๑) ราช-
กถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอำมาตย์
(๔) เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ

เชิงอรรถ :
๑ ติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (ที.สี.อ. ๑๗/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
(๗) อันนกถา เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา
เรื่องที่นอน (๑๑) มาลากถา เรื่องดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา
เรื่องญาติ (๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม
(๑๗) นครกถา เรื่องนคร (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี
(๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้า (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก
(๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว (๒๕)
นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ เรื่อง
ทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอ
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้า
พระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน
สนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่อง
โจร ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่สมควรเลยที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุล
บุตรมีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตสนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา
เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหาอำมาตย์ (๔)
เสนากถา เรื่องกองทัพ (๕) ภยกถา เรื่องภัย (๖) ยุทธกถา เรื่องการรบ (๗) อันนกถา
เรื่องข้าว (๘) ปานกถา เรื่องน้ำ (๙) วัตถกถา เรื่องผ้า (๑๐) สยนกถา เรื่องที่นอน
(๑๑) มาลากถา เรื่องดอกไม้ (๑๒) คันธกถา เรื่องของหอม (๑๓) ญาติกถา เรื่องญาติ
(๑๔) ยานกถา เรื่องยาน (๑๕) คามกถา เรื่องบ้าน (๑๖) นิคมกถา เรื่องนิคม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร
(๑๗) นครกถา เรื่องนคร (๑๘) ชนปทกถา เรื่องชนบท (๑๙) อิตถีกถา เรื่องสตรี
(๒๐) ปุริสกถา เรื่องบุรุษ (๒๑) สูรกถา เรื่องคนกล้า (๒๒) วิสิขากถา เรื่องตรอก
(๒๓) กุมภัฏฐานกถา เรื่องท่าน้ำ (๒๔) ปุพพเปตกถา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว
(๒๕) นานัตตกถา เรื่องเบ็ดเตล็ด (๒๖) โลกักขายิกะ เรื่องโลก (๒๗) สมุททักขายิกะ
เรื่องทะเล (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้
กถาวัตถุ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย)
๒. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ)
๓. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด)
๔. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี)
๕. วีริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร)
๖. สีลกถา (เรื่องศีล)
๗. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ)
๘. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา)
๙. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ)
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ ความเห็นในวิมุตติ)
ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย หากเธอทั้งหลายจะพึงยกกถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้อย่างใดอย่าง
หนึ่งขึ้นมากล่าว เธอทั้งหลายก็จะสามารถครอบงำเดชานุภาพของดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยเดชานุภาพของตนได้ ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงอัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายเลย
ปฐมกถาวัตถุสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยกถาวัตถุ สูตรที่ ๒
[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตใน
เวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ
(๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร (๓) มหามัตตกถา เรื่องมหา-
อำมาตย์ ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยังหอฉัน
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้ ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรที่เธอ
ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตตาหาร นั่งประชุมกันที่หอฉัน
สนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา เรื่องพระราชา (๒) โจรกถา เรื่องโจร ฯลฯ
(๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่สมควรเลยที่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุล
บุตรมีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตสนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ คือ (๑) ราชกถา
เรื่องพระราชา ฯลฯ (๒๘) อิติภวาภวกถา เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการนี้
ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ตนเองเป็นผู้มักน้อย และแสดงคุณของความเป็นผู้มักน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้มักน้อย และแสดงคุณของความเป็นผู้มักน้อยแก่
ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร
๒. ตนเองเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลายข้อ
ที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สันโดษ และแสดงคุณของความสันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย’
นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๓. ตนเองเป็นผู้สงัด และแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
ว่า‘ภิกษุเป็นผู้สงัดและแสดงคุณของความสงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ
๔. ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความเป็นผู้ไม่คลุกคลีแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ไม่คลุกคลี และแสดงคุณของความไม่
คลุกคลีแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๕. ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณของการปรารภความเพียร
แก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร และแสดงคุณ
ของการปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๖. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และแสดงคุณ
ของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๗. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และ
แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ
๘. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้
เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ
๙. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และแสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และ
แสดงคุณของความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็น
ฐานะที่ควรสรรเสริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๒. ยมกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๐. ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า ‘ภิกษุ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และแสดงคุณของความเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย’ นี้เป็นฐานะที่ควร
สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการนี้แล
ทุติยกถาวัตถุสูตรที่ ๑๐ จบ
ยมกวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. ตัณหาสูตร
๓. นิฏฐังคตสูตร ๔. อเวจจัปปสันนสูตร
๕. ปฐมสุขสูตร ๖. ทุติยสุขสูตร
๗. ปฐมนฬกปานสูตร ๘. ทุติยนฬกปานสูตร
๙. ปฐมกถาวัตถุสูตร ๑๐. ทุติยกถาวัตถุสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๑. อากังขสูตร
๓. อากังขวรรค
หมวดว่าด้วยความหวัง
๑. อากังขสูตร
ว่าด้วยความหวัง
[๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์
สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๑ มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด
๑. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่
ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์
หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่าง๒เถิด
๒. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ หมั่น
ประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๓. หากภิกษุหวังว่า ‘เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-
ปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใด ขอสักการะของชนเหล่านั้น พึงมี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๑ ในเล่มนี้
๒ เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง การเรียนกัมมัฏฐาน คือสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้ว
เข้าไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดวันตลอดคืน เจริญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน เจริญอธิปัญญาสิกขา
ด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๗, ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๖๙-๑๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๑. อากังขสูตร
ผลมาก มีอานิสงส์มาก’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
๔. หากภิกษุหวังว่า ‘ญาติสาโลหิต๑เหล่าใด ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีจิต
เลื่อมใส ระลึกถึงเรา ขอการระลึกถึงเราของญาติสาโลหิตเหล่านั้น พึงมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
๕. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้
บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๖. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ร้อน หิว กระหาย
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ถ้อยคำหยาบคาย
ร้ายกาจ พึงเป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้ว
เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่ยินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิต’ พึงเป็นผู้ทำ
ศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๗. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ข่มความยินดีและความยินร้าย ความยินดี
และความยินร้ายไม่พึงครอบงำเรา ขอเราพึงข่มความยินดีและความยิน
ร้ายที่เกิดขึ้นอยู่’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูน
เรือนว่างเถิด
๘. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ระงับความกลัว ความหวาดเสียวได้
ความกลัวความหวาดเสียวไม่พึงครอบงำเรา ขอเราพึงระงับความ
กลัว ความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นอยู่’ พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ...
เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด

เชิงอรรถ :
๑ ญาติ หมายถึง บิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยา
และเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่หรือตา เป็นต้น
(องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๘, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๔/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๒. กัณฏกสูตร
๙. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก’
พึงเป็นผู้ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ... เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
๑๐. หากภิกษุหวังว่า ‘เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ พึงเป็นผู้
ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่
ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีลสมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์ สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
อากังขสูตรที่ ๑ จบ
๒. กัณฏกสูตร
ว่าด้วยปฏิปักขธรรม
[๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่าน
พระปาละ ท่านพระอุปปาละ ท่านพระกักกฏะ ท่านพระกฬิมภะ ท่านพระนิกฏะ
ท่านพระกฏิสสหะ และพระสาวกผู้เป็นเถระมีชื่อเสียงเหล่าอื่น
สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัดขบวน
พยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ครั้งนั้นแล
ท่านพระเถระเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือ
จำนวนมากได้พากันจัดขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคยังป่ามหาวัน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดี
เราทั้งหลายควรจะเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน
อยู่ผาสุก” ทีนั้น พระเถระเหล่านั้นจึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบ เสียง
ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๒. กัณฏกสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ปาลภิกษุไปไหน อุปปาลภิกษุไปไหน กักกฏภิกษุ กฬิมภภิกษุ นิกฏภิกษุ
ปฏิสสหภิกษุไปไหน สาวกผู้เป็นเถระเหล่านั้นไปไหนหนอ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ท่าน
พระเถระเหล่านั้นคิดว่า ‘เจ้าลิจฉวีผู้มีกิตติศัพท์เลื่องลือจำนวนมากได้พากันจัด
ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังป่ามหาวัน ก็
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์ ทางที่ดีเราทั้งหลายควรจะเข้าไปยัง
โคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก’ ทีนั้น พระเถระ
เหล่านั้น จึงเข้าไปยังโคสิงคสาลวนทายวัน เป็นผู้เงียบเสียง ไม่พลุกพล่าน อยู่ผาสุก”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อ
ตอบให้ชัดเจนพึงตอบดังนั้น เพราะเรากล่าวว่าฌานมีเสียงเป็นปฏิปักษ์
ปฏิปักขธรรม ๑๐ ประการนี้ ปฏิปักขธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ยินดีในความสงัด
๒. การเจริญสุภนิมิต เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เจริญอสุภนิมิต
๓. การดูมหรสพที่เป็นข้าศึก เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย
๔. ความใกล้ชิดมาตุคาม เป็นปฏิปักษ์ต่อพรหมจรรย์
๕. เสียง เป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน
๖. วิตกวิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน
๗. ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน
๘. ลมอัสสาสะปัสสาสะ เป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน
๙. สัญญาและเวทนา เป็นปฏิปักษ์ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
๑๐. ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นปฏิปักขธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์อยู่เถิด (เธอทั้งหลายจงเป็นผู้
หมดปฏิปักขธรรมอยู่เถิด) เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรม หมดปฏิปักข-
ธรรมอยู่เถิด พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีปฏิปักขธรรม (พระอรหันต์ทั้งหลายหมด
ปฏิปักขธรรม) ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักขธรรมและ
หมดปฏิปักขธรรม
กัณฏกสูตรที่ ๒ จบ
๓. อิฏฐธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โภคสมบัติ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. ผิวพรรณ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. ความไม่มีโรค เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๔. ศีล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๕. พรหมจรรย์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๖. มิตร เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๗. ความเป็นพหูสูต เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยาก
ในโลก
๘. ปัญญา เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๙. ธรรม๑ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๑๐. สวรรค์ เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๓-๗๔/๓๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๓. อิฏฐธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอันตราย ๑๐ ประการ คือ
๑. ความเกียจคร้าน ไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายต่อโภคสมบัติ
๒. การไม่ประดับตกแต่ง เป็นอันตรายต่อผิวพรรณ
๓. การทำสิ่งที่ไม่เป็นสัปปายะ เป็นอันตรายต่อความไม่มีโรค
๔. ความเป็นผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) เป็นอันตรายต่อศีล
๕. ความไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์
๖. การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอันตรายต่อมิตร
๗. การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายต่อความเป็นพหูสูต
๘. การไม่ฟังด้วยดี การไม่สอบถาม เป็นอันตรายต่อปัญญา
๙. การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายต่อธรรม
๑๐. การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายต่อสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอันตรายต่อธรรม ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้
ยากในโลก มีธรรมที่เป็นอาหาร ๑๐ ประการ คือ
๑. ความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน เป็นอาหารของโภคสมบัติ
๒. การประดับตกแต่ง เป็นอาหารของผิวพรรณ
๓. การทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ เป็นอาหารของความไม่มีโรค
๔. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) เป็นอาหารของศีล
๕. ความสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์
๖. การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอาหารของมิตร
๗. การทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๔. วัฑฒิสูตร
๘. การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา
๙. การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรม
๑๐. การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการ
ซึ่งเป็นธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
อิฏฐธัมมสูตรที่ ๓ จบ
๔. วัฑฒิสูตร
ว่าด้วยความเจริญ
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ ๑๐ ประการ ชื่อว่า
เจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่ามีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ และมีปกติรับ
เอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
ความเจริญ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
อริยสาวก
๑. เจริญด้วยนาและสวน
๒. เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
๓. เจริญด้วยบุตรและภรรยา
๔. เจริญด้วยทาส กรรมกร และคนใช้
๕. เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า
๖. เจริญด้วยศรัทธา
๗. เจริญด้วยศีล
๘. เจริญด้วยสุตะ
๙. เจริญด้วยจาคะ
๑๐. เจริญด้วยปัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๑๐ ประการนี้แล
จึงชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้มีปกติรับเอาสิ่งที่เป็นสาระ
และมีปกติรับเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยทรัพย์
ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า
บุคคลนั้นเป็นผู้มีโภคสมบัติ มียศ
ญาติมิตร และพระราชาก็ทรงยกย่อง
บุคคลใดในโลกนี้เจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
บุคคลนั้น เป็นผู้คงที่ เป็นสัตบุรุษ
มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
ชื่อว่าเจริญทั้ง ๒ ประการในปัจจุบัน
วัฑฒิสูตรที่ ๔ จบ
๕. มิคสาลาสูตร๑
ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่ามิคสาลา
[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวร๒แล้วเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่
ปูลาดไว้ ลำดับนั้นแล มิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้แล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามท่านดังนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๔/๓๓๔
๒ คำว่า “ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้ มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระอานนท์มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าพระ
อานนท์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงท่านผลัดเปลี่ยนสบง
หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือ
ห่มจีวรแล้วอุ้มบาตรนั่นเอง เทียบ (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
“ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อว่าปุราณะ เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน๑ซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ(ยินดีด้วยภรรยาของตน) แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรง
พยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “น้องหญิง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้
แล้วอย่างนี้เหมือนกัน”
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ณ ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกาแล้ว
ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นในเวลาหลังภัตตาหาร ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง
อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา นั่งบนอาสนะที่ปูลาด
ไว้ ลำดับนั้นแล นางได้เข้าไปหาข้าพระองค์ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้า
พระองค์ว่า
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร ท่านผู้เจริญ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้

เชิงอรรถ :
๑ เมถุน หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด
เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดูวินัยปิฎกแปล เล่มที่ ๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนซึ่งเป็นธรรมของชาวบ้าน
ท่านถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่าเป็นสกทาคามีบุคคลเกิดใน
หมู่เทพชั้นดุสิต
เพื่อนรักของบิดาดิฉัน ชื่อว่าอิสิทัตตะ ถึงไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถือ
สทารสันโดษ แม้เขาถึงแก่กรรมแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่าเป็น
สกทาคามีบุคคลเกิดในหมู่เทพชั้นดุสิต
ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ‘คน ๒ คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกัน
ในสัมปรายภพ’ จะพึงรู้ได้อย่างไร
เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงตอบว่า ‘น้องหญิง ข้อนี้
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้เหมือนกัน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อานนท์ ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่
กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่
หลักแหลม มีปัญญาทึบ และใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไร
ขัดขวางได้๑
อานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๑๐ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง
เป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒
และไม่ได้วิมุตติ๓ ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม
ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๒. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความเป็นผู้ทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความพระดำรัสนี้ พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการที่จะเปรียบเทียบตัดสินหรือวัด
คุณสมบัติของบุคคลด้านการกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าหรืออ่อนนั้น ไม่ใช่วิสัยของมิคสาลาอุบาสิกา หรือบุคคล
ผู้ปราศจากญาณโดยทั่วไป แต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีญาณวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้เท่านั้น
(เทียบ องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๔๔/๓๓๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๔/๑๒๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้
๓ ไม่ได้มุตติ หมายถึงไม่ได้อรหัตตผล (องฺ. ทสก.อ. ๓/๑/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุต
ติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณ๑ย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็คือ
ธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว
คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีล แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความทุศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง ทำกิจ
ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร บุคคลนี้ดี
กว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนี้หยั่ง
ลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย
อย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล เพราะบุคคลผู้
ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้เหมือนเราพึงถือ
ประมาณในบุคคลได้
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติซึ่ง
เป็นที่ดับศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจด้วยการฟัง
ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และไม่ได้วิมุตติ
ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล และรู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับศีลได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการฟัง
ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลา
อันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึง
ความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

เชิงอรรถ :
๑ ถือประมาณ ในที่นี้หมายถึงเปรียบเทียบตัดสินคุณสมบัติหรือคุณธรรมด้านเดียวกันระหว่างบุคคลหนึ่งกับ
อีกบุคคลหนึ่ง ว่า ใครมีคุณน้อย ใครมีคุณมาก หรือใครมีคุณมากกว่า ใครมีคุณมากที่สุด (เทียบ องฺ.ทสก.อ.
๓/๗๕/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา
พึงถือประมาณในบุคคลได้
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะจัด และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับราคะได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๖. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีราคะจัด แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับราคะได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วย
การฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติ
ตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา
พึงถือประมาณในบุคคลได้
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความโกรธได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๘. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความโกรธได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้
วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป
ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ฯลฯ ส่วนเราหรือผู้เหมือนเรา
พึงถือประมาณในบุคคลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๕. มิคสาลาสูตร
๙. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน และไม่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจ
ด้วยการฟัง ไม่ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และ
ไม่ได้วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่
ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ
๑๐. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ซึ่งเป็นที่ดับความฟุ่งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจ
ด้วยการฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้
วิมุตติตามเวลาอันควร หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไป
ทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
อานนท์ บุคคลผู้ถือประมาณย่อมถือประมาณข้อนั้นว่า ‘ธรรมแม้ของบุคคลนี้ก็
คือธรรมของอีกคนหนึ่งนั่นแล บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น เพราะเหตุไร คนหนึ่งจึงเลว
คนหนึ่งจึงดี’ แท้จริง การถือประมาณของผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
บรรดาบุคคล ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติซึ่งเป็นที่ดับความฟุ้งซ่านได้สิ้นเชิงตามความเป็นจริง บุคคลนั้นทำกิจด้วยการ
ฟัง ทำกิจด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ และได้วิมุตติตามเวลาอันควร
บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
บุคคลนี้หยั่งลงสู่อริยภูมิ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต เพราะเหตุนั้นแล
เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบถือประมาณในบุคคล และอย่าถือประมาณในบุคคล
เพราะบุคคลผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน ส่วนเราหรือผู้
เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้
ในเรื่องญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนของบุคคล
ใครกันเล่าคือมิคสาลาอุบาสิกาผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่หลักแหลม มีปัญญาทึบ และ
ใครกันเล่าคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีวิสัยที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
อานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
บุรุษชื่อว่าปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะก็เป็นผู้
ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะในโลก
นี้ก็หามิได้ บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อว่าปุราณะก็
เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่อว่าอิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อว่า
ปุราณะในโลกนี้ก็หามิได้
อานนท์ บุคคลทั้ง ๒ นี้แล เป็นผู้ต่ำกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง อย่างนี้แล
มิคสาลาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ตโยธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ ประการ
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึง
รุ่งเรืองในโลก
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ชาติ (ความเกิด) ๒. ชรา (ความแก่)
๓. มรณะ (ความตาย)
ธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีปรากฏอยู่ในโลก ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าก็ไม่พึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ก็ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
เพราะธรรม ๓ ประการนี้ยังมีปรากฏอยู่ในโลก ฉะนั้น ตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นในโลก ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก
๑. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ราคะ (ความกำหนัด)
(๒) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
(๓) โมหะ (ความหลง)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละชาติ ชรา
และมรณะได้
๒. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละราคะ โทสะและโมหะได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
(๒) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)
(๓) สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลพรต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ
และโมหะได้
๓. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย
(๒) การเดินทางผิด
(๓) ความหดหู่แห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้
๔. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความหลงลืมสติ
(๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ
(๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละการมนสิการ
โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
๕. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่
มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
(๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ
(๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความหลง
ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
๖. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะ
เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิต
คิดแข่งดีได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม
(๓) ความเป็นผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และ
ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
๗. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่
สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
(๓) ความเกียจคร้าน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
๘. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็น
ผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก
(๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่มี
ศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
๙. บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้ไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ
เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่มีหิริ (๒) ความไม่มีโอตตัปปะ
(๓) ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ
ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
๑๐. บุคคลนี้เป็นผู้ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เป็นผู้ประมาท บุคคลนั้น เมื่อ
ประมาท จึงไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มี
ปาปมิตรได้ เมื่อมีปาปมิตร จึงไม่อาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
และความเกียจคร้านได้ เมื่อเกียจคร้าน จึงไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อทุศีล จึงไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ เมื่อ
มีจิตคิดแข่งดี จึงไม่อาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่าน
แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตฟุ้งซ่าน จึงไม่อาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด
และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตหดหู่ จึงไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้ เมื่อมีวิจิกิจฉา จึงไม่อาจละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละ
ราคะ โทสะ และโมหะยังไม่ได้ จึงไม่อาจละชาติ ชรา และมรณะได้
๑. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ราคะ (๒) โทสะ
(๓) โมหะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และ
มรณะได้
๒. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ และโมหะได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ (๒) วิจิกิจฉา
(๓) สีลัพพตปรามาส
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ
และโมหะได้
๓. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ
สีลัพพตปรามาสได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) การมนสิการโดยไม่แยบคาย (๒) การเดินทางผิด
(๓) ความหดหู่แห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้
๔. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความหลงลืมสติ (๒) ความไม่มีสัมปชัญญะ
(๓) ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละการมนสิการ
โดยไม่แยบคาย การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
๕. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มี
สัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็นพระอริยะ
(๒) ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ
(๓) ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความหลง
ลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้
๖. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น
พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความฟุ้งซ่าน (๒) ความไม่สำรวม
(๓) ความเป็นผู้ทุศีล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
ต้องการจะเห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความ
เป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้
๗. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
และความเป็นผู้ทุศีลได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่มีศรัทธา (๒) ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
(๓) ความเกียจคร้าน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๖. ตโยธัมมสูตร
๘. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้
มีใจไม่เอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความไม่เอื้อเฟื้อ (๒) ความเป็นผู้ว่ายาก
(๓) ความเป็นผู้มีปาปมิตร
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ และความเกียจคร้านได้
๙. บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้ได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความ
เป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
(๑) ความเป็นผู้ไม่มีหิริ (๒) ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
(๓) ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แลได้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้ (๙)
๑๐. บุคคลนี้เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นผู้ไม่ประมาท บุคคลนั้นเมื่อไม่
ประมาท จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก และความเป็นผู้มีปาปมิตรได้
เมื่อมีกัลยาณมิตร จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่มีใจเอื้อเฟื้อ
และความเกียจคร้านได้ เมื่อปรารภความเพียร จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่
สำรวม และความเป็นผู้ทุศีลได้ เมื่อมีศีล จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ต้องการจะเห็น
พระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ต้องการจะฟังธรรมของพระอริยะ และความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้ เมื่อมีจิตไม่คิดแข่งดี จึงอาจละความหลงลืมสติ ความไม่มีสัมปชัญญะ
ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่ฟุ้งซ่าน จึงอาจละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
การเดินทางผิด และความหดหู่แห่งจิตได้ เมื่อมีจิตไม่หดหู่ จึงอาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ เมื่อไม่มีวิจิกิจฉา จึงอาจละราคะ โทสะ และ
โมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะ ได้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา และมรณะได้
ตโยธัมมสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๘. นิคัณฐสูตร
๗. กากสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรมของกา
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มักกำจัด ๒. คะนอง
๓. ทะเยอทะยาน ๔. กินจุ
๕. หยาบช้า ๖. ไม่มีกรุณา
๗. อ่อนแอ ๘. มักร้อง
๙. หลงลืมสติ ๑๐. สั่งสม

กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุชั่วประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อสัทธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มักกำจัด๑ ๒. คะนอง
๓. ทะเยอทะยาน ๔. กินจุ
๕. หยาบช้า ๖. ไม่มีกรุณา
๗. อ่อนแอ ๘. มักร้อง
๙. หลงลืมสติ ๑๐. สั่งสม

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษชั่วประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล
กากสูตรที่ ๗ จบ
๘. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยอสัทธรรมของพวกนิครนถ์
[๗๘] ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ
อสัทธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ มักกำจัด ในที่นี้หมายถึงกำจัดคุณความดีของผู้อื่น ชอบใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๗/๓๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๙. อาฆาตวัตถุสูตร
๑. ไม่มีศรัทธา ๒. ทุศีล
๓. ไม่มีหิริ ๔. ไม่มีโอตตัปปะ
๕. ไม่ภักดีต่อสัตบุรุษ ๖. ยกตนข่มท่าน
๗. สละคืนความยึดมั่นถือมั่นด้วยทิฏฐิของตนได้ยาก
๘. เป็นคนลวงโลก ๙. ปรารถนาชั่ว
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล
นิคัณฐสูตรที่ ๘ จบ
๙. อาฆาตวัตถุสูตร
ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ
[๗๙] ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ(เหตุผูกอาฆาต) ๑๐ ประการนี้
อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๑แก่เรา
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่เรา
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่เรา
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชนแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

เชิงอรรถ :
๑ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๑๐. โกรธในเหตุอันไม่ควร๑
ภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการนี้แล
อาฆาตวัตถุสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร
ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต
[๘๐] ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๑๐ ประการนี้
อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า
๑. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๒. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๓. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๔. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน
๕. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ใน
ผู้นี้แต่ที่ไหน

เชิงอรรถ :
๑ ดู อภิ.วิ. ๓๕/๙๖๗/๔๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๓. อากังขวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๖. ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำ
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้
แต่ที่ไหน
๗. ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๘. ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๙. ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น
จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน
๑๐. ไม่โกรธในเหตุอันไม่ควร
ภิกษุทั้งหลาย อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต ๑๐ ประการนี้แล
อาฆาตปฏิวินยสูตรที่ ๑๐ จบ
อากังขวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อากังขสูตร ๒. กัณฏกสูตร
๓. อิฏฐธัมมสูตร ๔. วัฑฒิสูตร
๕. มิคสาลาสูตร ๖. ตโยธัมมสูตร
๗. กากสูตร ๘. นิคัณฐสูตร
๙. อาฆาตวัตถุสูตร ๑๐. อาฆาตปฏิวินยสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๑. วาหุนสูตร
๔. เถรวรรค
หมวดว่าด้วยพระเถระ
๑. วาหุนสูตร
ว่าด้วยพระวาหุนะ
[๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ฝั่งสระคัคคราโบกขรณี เขตกรุง
จัมปา ครั้งนั้นแล ท่านพระวาหุนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตทรงสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม
เท่าไรหนอ จึงมีพระหทัยปราศจากแดน ๑ อยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วาหุนะ ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม
๑๐ ประการ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากรูป จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๒. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากเวทนา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๓. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากสัญญา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๔. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากสังขาร จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๕. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากวิญญาณ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๖. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากชาติ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๗. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากชรา จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๘. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากมรณะ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๙. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากทุกข์ จึงมีใจปราศจากแดนอยู่
๑๐. ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากกิเลส จึงมีใจปราศจากแดนอยู่

เชิงอรรถ :
๑ แดน ในที่นี้หมายถึงกิเลส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๑-๘๓/๓๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๒. อานันทสูตร
วาหุนะ ตถาคตสลัด ปราศจาก หลุดพ้นจากธรรม ๑๐ ประการนี้ จึงมีใจปราศ
จากแดนอยู่ เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกปุณฑริกที่เกิดในน้ำ
เจริญในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำ ไม่ติดอยู่กับน้ำ ฉะนั้น
วาหุนสูตรที่ ๑ จบ
๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๘๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
อานนท์
๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ทุศีล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีสุตะน้อย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ว่ายาก จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีปาปมิตร(มิตรชั่ว) จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้เกียจคร้าน จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๗. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้หลงลืมสติ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. ปุณณิยสูตร
๘. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่สันโดษ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๙. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
๑๐. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จักถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์
๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีศีล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
ในธรรมวินัยนี้
๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ว่าง่าย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร(มิตรดี) จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ใน
ธรรมวินัยนี้
๗. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๘. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้สันโดษ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้
๙. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มักน้อย จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
วินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๓. ปุณณิยสูตร
๑๐. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานนท์ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ จักถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
อานันทสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปุณณิยสูตร
ว่าด้วยพระปุณณิยะ
[๘๓] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระธรรมเทศนาของ
พระตถาคตแจ่มแจ้งในบางคราว แต่ในบางคราว กลับไม่แจ่มแจ้ง
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง แต่เมื่อใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา เมื่อนั้น
ธรรมเทศนาของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้ ... เข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม แต่ไม่ทรงจำ
ธรรมไว้ ... ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ...
พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่รู้อรรถ ไม่รู้ธรรม ไม่ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม รู้อรรถ รู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว แต่ไม่มี
วาจางาม ไม่เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่
หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจา
ชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ แต่ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารี
เห็นชัด ไม่ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ไม่เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ไม่ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ธรรมเทศนาของตถาคตจึงไม่แจ่มแจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร
ปุณณิยะ แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เข้าไปหา ๑ เข้าไปนั่งใกล้ ๑
สอบถาม ๑ เงี่ยโสตฟังธรรม ๑ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ ๑ พิจารณาเนื้อความ
แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ๑ เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีวาจา
งาม เจราจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวยไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ ๑ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ๑ เมื่อนั้น ธรรมเทศนา
ของตถาคตจึงแจ่มแจ้ง
ปุณณิยะ ธรรมเทศนาของตถาคตประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึง
แจ่มแจ้งโดยแท้
ปุณณิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. พยากรณสูตร
ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัตตผล
[๘๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าว
เรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ๑เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป๒’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาด
ในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม
สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นผู้ถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้

เชิงอรรถ :
๑ กิจที่ควรทำ ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์ การละเหตุเกิดทุกข์ การทำให้แจ้งซึ่ง
ความดับทุกข์และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๒๔๓/๒๐๓)
๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความสิ้น
กิเลสอีกต่อไป เพราะพุทธศาสนาถือว่าการบรรลุอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๓/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร
ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ
ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดใน
จิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่ง
ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโกรธ มีใจถูกความโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูก
ความโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักผูกโกรธ มีใจถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความผูกโกรธกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักลบหลู่ มีใจถูกความลบหลู่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความลบหลู่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตีเสมอ มีใจถูกความตีเสมอกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความตีเสมอกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความริษยา มีใจถูกความริษยากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็
การถูกความริษยากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๔. พยากรณสูตร
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักตระหนี่ มีใจถูกความตระหนี่กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การ
ถูกความตระหนี่กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มักโอ้อวด มีใจถูกความโอ้อวดกลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การ
ถูกความโอ้อวดกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีมายา มีใจถูกมายากลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกมายา
กลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว มีใจถูกความปรารถนาชั่วกลุ้มรุมอยู่
โดยมาก‘ก็การถูกความปรารถนาชั่วกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ
วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย
ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
พยากรณสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
๕. กัตถีสูตร
ว่าด้วยการกล่าวโอ้อวดว่าได้บรรลุคุณวิเศษ
[๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่สหชาติวัน แคว้นเจตี ณ ที่นั้นแล
ท่านพระมหาจุนทะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหาจุนทะจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการได้
บรรลุคุณวิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าตติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้
ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาด
ในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อม
ถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญ
และความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า
‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณวิเศษว่า
‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำศีลให้ขาด ให้ทะลุ ให้ด่าง ให้พร้อย ไม่ชอบทำต่อเนื่อง
ไม่ประพฤติต่อเนื่องในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธานี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศ
แล้ว
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้มี
สุตะน้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้ว่ายาก
นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปาปมิตร’ ก็ความเป็นผู้มีปาปมิตรนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน’ ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ’ ก็ความเป็นผู้หลงลืมสตินี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลอกลวงโลก’ ก็ความเป็นผู้หลอกลวงโลกนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก’ ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาทราม’ ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสหายพึงกล่าวกับสหายอย่างนี้ว่า ‘สหาย
เมื่อใด ท่านมีกิจจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพย์ ท่านควรบอกให้เราทราบ เราจะให้ทรัพย์แก่
ท่าน’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เมื่อมีกิจบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ทรัพย์เกิดขึ้น จึงบอก
กับสหายอย่างนี้ว่า ‘สหาย เราต้องการใช้ทรัพย์ ขอท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา’ สหาย
นั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ‘สหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้‘สหายอีกฝ่ายหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
นั้นเมื่อขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ไม่พบทรัพย์ เขาจึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้
พูดเหลาะแหละไร้สาระกับเราว่า’ ‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายนั้นจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับท่านไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุด
ลงไป ณ ที่ตรงนี้เถิด’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเมื่อขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ยังไม่
พบทรัพย์ จึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับเราว่า
‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ เขาจึงกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละ
ไร้สาระกับท่านไม่ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเมื่อ
ขุดลงไป ณ ที่ตรงนั้น ก็ไม่พบทรัพย์อีก จึงพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ‘สหาย ท่านได้พูดเหลาะ
แหละไร้สาระกับเราว่า ‘ท่านจงขุดลงไป ณ ที่ตรงนี้’ สหายนั้นก็พูดตอบอย่างนี้ว่า
‘สหาย เราหาได้พูดเหลาะแหละไร้สาระกับท่านไม่ แต่เราเองนี้แล ถึงความ เป็นผู้มี
สติฟั่นเฟือน ที่มิได้กำหนดรู้ด้วยใจ’ แม้ฉันใด
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุ
คุณวิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าทุติยฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าตติยฌานก็ได้
ออกก็ได้ เข้าจตุตถฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ได้ ออกก็ได้ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น ย่อมซักถาม สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาด
ในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อม
ถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญ
และความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้ชอบกล่าวโอ้อวดในการบรรลุคุณ
วิเศษว่า ‘เราเข้าปฐมฌานก็ได้ ออกก็ได้ ฯลฯ เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ออกก็ได้’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๕. กัตถีสูตร
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ทำศีลให้ขาด ให้ทะลุ ให้ด่าง ให้พร้อย ไม่ชอบทำต่อเนื่อง
ไม่ประพฤติต่อเนื่องในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้ทุศีลตลอดกาลนาน’
ก็ความเป็นผู้ทุศีลนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา’ ก็ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานี้แล เป็นความ
เสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความประพฤติไม่สมควร’ ก็ความเป็นผู้มีสุตะ
น้อยนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ว่ายาก’ ก็ความเป็นผู้ว่ายากนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปาปมิตร’ ก็ความเป็นผู้มีปาปมิตรนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เกียจคร้าน’ ก็ความเป็นผู้เกียจคร้านนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ’ ก็ความเป็นผู้หลงลืมสตินี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลอกลวงโลก’ ก็ความเป็นผู้หลอกลวงโลกนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้เลี้ยงยาก’ ก็ความเป็นผู้เลี้ยงยากนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาทราม’ ก็ความเป็นผู้มีปัญญาทรามนี้แล เป็น
ความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอกงาม
ไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
กัตถีสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร
๖. อธิมานสูตร
ว่าด้วยความสำคัญผิด
[๘๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปะอยู่ที่พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัสสปะจึงได้กล่าวเรื่อง
นี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรา
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้ได้ฌาน
ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่นซักถาม
สอบถาม ไล่เลียงภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถูกพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตผู้
ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิตของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น
ซักถาม สอบถาม ไล่เลียงอยู่ ย่อมถึงความเป็นคนเปล่า ความไม่มีคุณ ความ
ไม่เจริญ ความพินาศ ทั้งความไม่เจริญและความพินาศ
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้มีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่ง
ที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยัง
ไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้อีกต่อไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุไรหนอ ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด สำคัญผิดโดยสัตย์จริง
เพราะอาศัยสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความ
สำคัญในสิ่งยังไม่ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อม
พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ใส่ใจถึงภิกษุนั้น
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำได้ คล่อง
ปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ท่านผู้นี้จึงมีความสำคัญผิด สำคัญ
ผิดโดยสัตย์จริง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้ถึงว่าได้ถึง มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่
ได้ทำว่าได้ทำ มีความสำคัญในสิ่งที่ยังไม่ได้บรรลุว่าได้บรรลุ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผล
ด้วยความสำคัญผิดว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ได้ฌาน ฉลาดในสมาบัติ ฉลาดในจิต
ของผู้อื่น ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น กำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งภิกษุ
นั้นอย่างนี้ว่า
๑. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) มีใจถูกอภิชฌา
กลุ้มรุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกอภิชฌากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๒. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีพยาบาท(ความคิดร้าย) มีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุมอยู่โดย
มาก’ ก็การถูกพยาบาทกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๖. อธิมานสูตร
๓. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้ม
รุมอยู่โดยมาก’ ก็การถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๔. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) มีใจถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมอยู่โดย
มาก’ ก็การถูกอุทธัจจะกลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๕. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้มีวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมอยู่
โดยมาก’ ก็การถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุมนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรม
วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๖. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการงาน๑ ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้
ชอบการงาน’ ก็ความเป็นผู้ชอบการงานนี้แล เป็นความเสื่อมในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๗. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความ
เป็นผู้ชอบการพูดคุย’ ก็ความเป็นผู้ชอบการพูดคุยนี้แล เป็นความเสื่อม
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๘. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบ
ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ’ ก็ความเป็นผู้ชอบการนอนหลับนี้แล
เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
๙. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่น
ประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่’ ก็ความเป็นผู้ชอบการ
คลุกคลีด้วยหมู่นี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
๑๐. ‘ท่านผู้นี้เป็นผู้หลงลืมสติ ถึงความหยุดชงักเสียในระหว่างที่จะบรรลุคุณ
วิเศษชั้นสูง เพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ’ ก็การถึงความหยุดชงักเสีย

เชิงอรรถ :
๑ การงาน ในที่นี้หมายถึงงานนวกรรม คือ การก่อสร้างต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างวิหารเป็นต้น ความเป็นผู้ยินดี
แต่การก่อสร้างที่ถือว่าเป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยนี้ เพราะทำให้ละเลยต่อการบำเพ็ญคันถธุระ และ
วิปัสสนาธุระ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๔/๑๐๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๑๔-๑๕/๑๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
ในระหว่างนี้แล เป็นความเสื่อมในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว
ผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ไม่ได้แล้ว
จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นแล ละธรรม ๑๐ ประการนี้ได้แล้ว จักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
อธิมานสูตรที่ ๖ จบ
๗. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความรัก
[๘๗] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกาฬกภิกษุ รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์๑ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ ไม่สรรเสริญการระงับอธิกรณ์ นี้
เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ๒ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเรื่องวินัย
(๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับ
อาบัติและการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจสงฆ์ต่าง ๆ เช่น ให้อุปสมบท หรือให้ผ้ากฐิน
เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒)
๒ ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญสมณธรรม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๗/๓๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
๒. ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้
การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว แม้
การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ไม่สรรเสริญการกำจัดความปรารถนาชั่ว
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. ภิกษุเป็นผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้มักโกรธ ไม่สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. ภิกษุเป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักลบหลู่ ไม่สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. ภิกษุเป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักโอ้อวด ไม่สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๗. ภิกษุเป็นผู้มีมายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มี
มายา ไม่สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๘. ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้ไม่พิจารณาธรรม ไม่สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรม
ที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
๙. ภิกษุเป็นผู้ไม่หลีกเร้น๑ ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่
หลีกเร้น ไม่สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็น
ที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๑๐. ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร แม้
การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารี ไม่สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร
นี้เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้ง
หลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ม้าโง่อย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลายจะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหารสำหรับ
ม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราเหมือนอย่างม้าอาชาไนย’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น มนุษย์
ทั้งหลายก็ไม่ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ไม่ให้กินอาหารสำหรับม้าอาชาไนย
และไม่ปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ผู้รู้
ทั้งหลายพิจารณา เห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง ความคดที่ม้านั้นยังละ
ไม่ได้ ฉันใด ความปรารถนาพึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพระเหตุไร
เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้
ฉันนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๕๐ (ภัณฑนสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
ว่าด้วยการไม่ก่ออธิกรณ์
๑. ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ
อธิกรณ์ แม้การที่ภิกษุไม่เป็นผู้ชอบก่ออธิกรณ์ สรรเสริญการระงับ
อธิกรณ์ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ
เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา แม้การที่
ภิกษุเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา นี้เป็น
ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง
เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ภิกษุเป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้มักน้อย สรรเสริญการกำจัดความปรารถนา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๔. ภิกษุเป็นผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่มักโกรธ สรรเสริญการกำจัดความโกรธ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่ลบหลู่ สรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ไม่โอ้อวด สรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๗. ภิกษุเป็นผู้ไม่มีมายา สรรเสริญการกำจัดมายา แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มี
มายา สรรเสริญการกำจัดมายา นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความ
เป็นอันเดียวกัน
๘. ภิกษุเป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้พิจารณาธรรม สรรเสริญการพิจารณาธรรม นี้เป็นธรรมที่เป็นไป
ฯลฯ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๗. นัปปิยสูตร
๙. ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น สรรเสริญการหลีกเร้น แม้การที่ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้น
สรรเสริญการหลีกเร้น นี้เป็นธรรมที่เป็นไป ฯลฯ เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
๑๐. ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถารเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย สรรเสริญผู้ปฏิสันถาร
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปฏิสันถาร สรรเสริญผู้ปฏิสันถารนี้ เป็นธรรมที่เป็น
ไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อ
ความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ความปรารถนาจะไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ม้าอาชาไนยตัวเจริญ
อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไร มนุษย์ทั้งหลาย จะตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้เรากิน
อาหารสำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติต่อเราอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้กินอาหาร
สำหรับม้าอาชาไนย และปฏิบัติอย่างที่ปฏิบัติต่อม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมนุษย์ผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ซื่อตรง
ความคดที่ม้านั้นละได้แล้ว ฉันใด ความปรารถนาไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเช่นนี้อย่างนี้ว่า
‘ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ก็จริง
ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายพิจารณาเห็นบาปอกุศลธรรมที่ภิกษุ
นั้นละได้แล้ว ฉันนั้น
นัปปิยสูตรที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์] ๔. เถรวรรค ๘. อักโกสกสูตร
๘. อักโกสกสูตร
ว่าด้วยโทษของการด่า
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี กล่าวโทษพระอริยะ
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๐ อย่าง
ความพินาศ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรม๑ย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔. มีความสำคัญว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติเศร้าหมองกองใดกองหนึ่ง
๗. เป็นโรคเรื้อรัง
๘. ถึงความวิกลจริตมีจิตฟุ้งซ่าน
๙. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๐. หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี กล่าวโทษพระอริยะ เป็นไป
ไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๐ อย่าง
อักโกสกสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๘/๓๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๑๙๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น