Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๗ หน้า ๓๐๐ - ๓๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๑. ปุคคลวรรค ๒-๑๒. ภชิตัพพาทิสูตร
[๑๖๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ...
[๑๖๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ...
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ...
[๑๖๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพ๑สิ่งไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ
๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ
๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ
๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ
๙. มิจฉาญาณะ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพสิ่งไม่
ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
๙. สัมมาญาณะ ๑๐. สัมมาวิมุตติ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญ
เป็นอันมาก
ภชิตัพพาทิสูตรที่ ๒-๑๒ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ประสพ (ปสวติ) หมายถึงได้รับผลตอบ (ปฏิลภติ) (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๖/๑๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร
๒. ชาณุสโสณิวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิ
๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาปของพราหมณ์
[๑๖๗] สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่ม
ผ้าไหมคู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณิพราหมณ์ดังนี้ว่า
“พราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสรงน้ำดำหัวในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหม
คู่ใหม่ ยืนถือกำหญ้าคาสดอยู่ ณ ที่สมควร วันนี้เป็นวันอะไรของตระกูลพราหมณ์”
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม วันนี้เป็นวันลอยบาปของ
ตระกูลพราหมณ์”
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร”
“ท่านพระโคดม ในวันอุโบสถ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ พากันสรงน้ำดำหัว
นุ่งห่มผ้าไหมคู่ใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้วนอนใน
ระหว่างกองทรายและเรือนไฟ ในราตรีนั้น พราหมณ์เหล่านั้นลุกขึ้นแล้วประคอง
อัญชลีนอบน้อมไฟ ๓ ครั้งด้วยกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอลอยบาปต่อท่านผู้เจริญ’ และบำเรอไฟให้อิ่มหนำด้วยเนยใส น้ำ
มัน และเนยข้นจำนวนมาก พอล่วงราตรีนั้นไปจึงเลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำ
ด้วยของเคี้ยวของบริโภคอันประณีต ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล”
“พราหมณ์ พิธีลอยบาปของพราหมณ์ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปใน
อริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”
“ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปในอริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส ขอ
ท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมที่เป็นพิธีลอยบาปในอริยวินัยแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
พราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาต ลอยปาณาติบาต
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อทินนาทาน(การลักทรัพย์)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอทินนาทาน ลอยอทินนาทาน
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม)มีผลชั่ว
ทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละกาเมสุมิจฉาจาร
ลอยกาเมสุมิจฉาจาร
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มุสาวาท(พูดเท็จ)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมุสาวาท ลอยมุสาวาท
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปิสุณาวาจา(คำส่อเสียด)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปิสุณาวาจา ลอยปิสุณาวาจา
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผรุสวาจา(คำหยาบ)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละผรุสวาจา ลอยผรุสวาจา
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า สัมผัปปลาปะ(คำเพ้อเจ้อ)มีผลชั่วทั้งในภพนี้
และภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละสัมผัปปลาปะ ลอย
สัมผัปปลาปะ
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)มีผลชั่วทั้งใน
ภพนี้และภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอภิชฌา ลอยอภิชฌา
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พยาบาท(ความคิดร้าย)มีผลชั่วทั้งในภพนี้และ
ภพหน้า ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละพยาบาท ลอยพยาบาท
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) มีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร
พราหมณ์ พิธีลอยบาปในอริยวินัย เป็นอย่างนี้แล
ชาณุสโสณิพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พิธีลอยบาปของพราหมณ์
ทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปในอริยวินัยก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง พิธีลอยบาปของ
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีลอยบาปในอริยวินัยนี้ ท่านพระ
โคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้า
พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
พราหมณปัจโจโรหณิสูตรที่ ๑ จบ
๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร
ว่าด้วยพิธีลอยบาปของพระอริยะ
[๑๖๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะแก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปาณาติบาตมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปาณาติบาต ลอยปาณาติบาต
๒. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อทินนาทานมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอทินนาทาน ลอยอทินนาทาน
๓. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาเมสุมิจฉาจารมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า
ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละกาเมสุมิจฉาจาร ลอยกาเมสุมิจฉาจาร
๔. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มุสาวาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมุสาวาท ลอยมุสาวาท
๕. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปิสุณาวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละปิสุณาวาจา ลอยปิสุณาวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๓. สคารวสูตร
๖. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผรุสวาจามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละผรุสวาจา ลอยผรุสวาจา
๗. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า สัมผัปปลาปะมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละสัมผัปปลาปะ ลอยสัมผัปปลาปะ
๘. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อภิชฌามีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละอภิชฌา ลอยอภิชฌา
๙. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า พยาบาทมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละพยาบาท ลอยพยาบาท
๑๐. พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิจฉาทิฏฐิมีผลชั่วทั้งในภพนี้และภพหน้า ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว จึงละมิจฉาทิฏฐิ ลอยมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า พิธีลอยบาปอันเป็นของพระอริยะ
อริยปัจโจโรหณิสูตรที่ ๒ จบ
๓. สคารวสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ
[๑๖๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร๑ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น๒”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์
๑. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น
๒. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น

เชิงอรรถ :
๑ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่อันเหมาะสมเว้นโทษ ๖ ประการ คือ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป
(๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๑๗ (สคารวสูตร) หน้า ๒๖๙ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๓. สคารวสูตร
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น
๔. มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น
๕. ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น
๖. ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น
๗. สัมผัปปลาปะเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นฝั่งโน้น
๘. อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌา(ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นฝั่งโน้น
๙. พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นฝั่งโน้น
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) เป็นฝั่งโน้น
พราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำ แล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ
ละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๔. โอริมสูตร
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก๑
สคารวสูตรที่ ๓ จบ
๔. โอริมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝั่งนี้และธรรมที่เป็นฝั่งโน้น
[๑๗๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้ง
หลายจงฟัง ฯลฯ
ฝั่งนี้และฝั่งโน้น อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น
๒. อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น
๔. มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น
๕. ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น
๖. ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น
๗. สัมผัปปลาปะเป็นฝั่งนี้ เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นฝั่งโน้น
๘. อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌาเป็นฝั่งโน้น
๙. พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาทเป็นฝั่งโน้น
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น

เชิงอรรถ :
๑ คาถาข้อ ๑๖๙ และข้อ ๑๗๐ นี้ เทียบดูในข้อ ๑๑๗ พร้อมทั้งเชิงอรรถ หน้า ๒๖๙-๒๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๕. ปฐมอธัมมสูตร
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีจำนวนน้อย
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งนี้ทั้งนั้น
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม
ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ
อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก จักถึงฝั่งโน้น
บัณฑิตละธรรมดำแล้วพึงเจริญธรรมขาว
ออกจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ
ละกามทั้งหลายแล้วเป็นผู้หมดความกังวล
พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้ยากยิ่ง
บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย
บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบ
ในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น
บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก
โอริมสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๑
[๑๗๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์
ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท
๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสวาจา
๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา
๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและไม่เป็นประโยชน์
สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

คือ ๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทาน
๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาท
๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจา ๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจา
๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ๘. อนภิชฌา
๙. อพยาบาท ๑๐. สัมมาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและไม่เป็นประโยชน์ ควรทราบทั้งสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ ครั้นทราบ
แล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ปฐมอธัมมสูตร ที่ ๕ จบ
๖. ทุติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๒
[๑๗๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้
แล้วเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
ลำดับนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทส๑โดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า “ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ
ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ
จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา”
ครั้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนว่า
“ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสนี้โดยย่อ
ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่ง
ที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
ผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกกระผมได้ปรึกษากันว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๑๕ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้
ผู้มีอายุ พวกกระผมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหากัจจานะนี้แล พระ
ศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ท่านสามารถ
จะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่
แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่ท่านตอบแก่
พวกเรา’ ขอท่านมหากัจจานะจงจำแนกเถิด”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่
เฉพาะหน้าผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละเลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสีย
สำคัญเนื้อความนี้ว่าควรถามข้าพเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหา
แก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นมีอยู่ ก็มองข้ามรากและลำต้น
ไปเสีย สำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นผู้มีพระจักษุ๑ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้
ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้
ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่ท่านทั้งหลาย
พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า “ท่านมหากัจจานะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้มี
พระจักษุ มีพระญาณ มีพระธรรม เป็นผู้ประเสริฐ ตรัสบอกได้ ทรงให้เป็นไปได้ ทรง
แสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่
ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็เวลานั้นแล เป็นเวลาสมควรที่กระผมทั้งหลายพึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้ และทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่พวกกระผมอย่างแน่นอน ท่านมหากัจจานะเอง พระ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๕ หน้า ๒๖๒ และเชิงอรรถที่ ๑-๓ หน้า ๒๖๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
ศาสดาทรงสรรเสริญ และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง ย่อมสามารถจะ
จำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้
โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ถ้าท่านมหากัจจานะไม่มีความหนักใจแล้ว ขอจงจำแนกเถิด”
พระมหากัจจานะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้
กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสโดยย่อว่า
‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบ
ทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่
เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก
พุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็น
ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความ
เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
เป็นประโยชน์
๒. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะกาเมสุ
มิจฉาจารเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอัน
มากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
๔. มุสาวาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะเจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๕. ปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น
ประโยชน์
๖. ผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม
บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะผรุสวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่
เพราะเจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๗. สัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัปปลาปะ
เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึง
ความเจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นปัจจัย นี้เป็น
สิ่งที่เป็นประโยชน์
๘. อภิชฌาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อนภิชฌาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอภิชฌาเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะอนภิชฌา
เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๙. พยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อพยาบาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะอพยาบาท
เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๖. ทุติยอธัมมสูตร
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล
ธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมา
ทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและ
เป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้เนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็ท่าน
ทั้งหลาย เมื่อหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนี้เถิด
ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบแก่ท่าน
ทั้งหลายเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของท่านพระมหากัจจานะแล้วลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดยย่อว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
และเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เข้าไปยังพระวิหาร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน ข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ปรึกษากันว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสไว้โดย
ย่อว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควร
ทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตาม
สิ่งที่เป็นธรรมแเละเป็นประโยชน์’ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร เสด็จลุกขึ้น
จากพุทธอาสน์เข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๗. ตติยอธัมมสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ‘ท่านมหา
กัจจานะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ยกย่อง
ท่านสามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุทเทสที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อไม่
ทรงจำแนกไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้ ทางที่ดี พวกเราควรจะเข้าไปหาท่านมหา
กัจจานะถึงที่อยู่แล้วเรียนถามเนื้อความนี้กับท่าน และจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ตาม
ที่ท่านตอบแก่พวกเรา’
ครั้นแล้วข้าพระองค์ทั้งหลายจึงเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่แล้วเรียน
ถามเนื้อความนี้ ท่านมหากัจจานะได้จำแนกเนื้อความอย่างชัดเจนแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มี
ปัญญามาก แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามเนื้อความนี้ ถึงเราเอง
ก็พึงตอบเนื้อความนี้อย่างที่มหากัจจานะตอบแล้วนั่นเอง นี้แลเป็นเนื้อความแห่ง
อุทเทสนั้น และเธอทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด”
ทุติยอธัมมสูตรที่ ๖ จบ
๗. ตติยอธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สูตรที่ ๓
[๑๗๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม
ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติ
ตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์
สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาตเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็น
ปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๗. ตติยอธัมมสูตร
เจริญเต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น
ประโยชน์
๒. อทินนาทานเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม บาปอกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย
นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ
เต็มที่เพราะเจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. กาเมสุมิจฉาจารเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ๑
๔. มุสาวาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นสิ่งที่เป็น
ธรรม ฯลฯ
๕. ปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม ฯลฯ
๖. ผรุสวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นสิ่งที่เป็น
ธรรม ฯลฯ
๗. สัมผัปปลาปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
๘. อภิชฌาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อนภิชฌาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
๙. พยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อพยาบาทเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ
๑๐. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาป
อกุศลธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่เพราะ
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็น
ธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ตติยอธัมมสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๑๗๒ (ทุติยอธัมมสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๘. กัมมนิทานสูตร
๘. กัมมนิทานสูตร
ว่าด้วยต้นเหตุแห่งกรรม
[๑๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต เรากล่าวว่า มี ๓ อย่างคือ
๑. ปาณาติบาตมีโลภะเป็นเหตุ
๒. ปาณาติบาตมีโทสะเป็นเหตุ
๓. ปาณาติบาตมีโมหะเป็นเหตุ
อทินนาทาน เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. อทินนาทานมีโลภะเป็นเหตุ
๒. อทินนาทานมีโทสะเป็นเหตุ
๓. อทินนาทานมีโมหะเป็นเหตุ
กาเมสุมิจฉาจาร เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. กาเมสุมิจฉาจารมีโลภะเป็นเหตุ
๒. กาเมสุมิจฉาจารมีโทสะเป็นเหตุ
๓. กาเมสุมิจฉาจารมีโมหะเป็นเหตุ
มุสาวาท เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. มุสาวาทมีโลภะเป็นเหตุ
๒. มุสาวาทมีโทสะเป็นเหตุ
๓. มุสาวาทมีโมหะเป็นเหตุ
ปิสุณาวาจา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ปิสุณาวาจามีโลภะเป็นเหตุ
๒. ปิสุณาวาจามีโทสะเป็นเหตุ
๓. ปิสุณาวาจามีโมหะเป็นเหตุ
ผรุสวาจา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. ผรุสวาจามีโลภะเป็นเหตุ
๒. ผรุสวาจามีโทสะเป็นเหตุ
๓. ผรุสวาจามีโมหะเป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๘. กัมมนิทานสูตร
สัมผัปปลาปะ เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. สัมผัปปลาปะมีโลภะเป็นเหตุ
๒. สัมผัปปลาปะมีโทสะเป็นเหตุ
๓. สัมผัปปลาปะมีโมหะเป็นเหตุ
อภิชฌา เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. อภิชฌามีโลภะเป็นเหตุ
๒. อภิชฌามีโทสะเป็นเหตุ
๓. อภิชฌามีโมหะเป็นเหตุ
พยาบาท เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. พยาบาทมีโลภะเป็นเหตุ
๒. พยาบาทมีโทสะเป็นเหตุ
๓. พยาบาทมีโมหะเป็นเหตุ
มิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มี ๓ อย่าง คือ
๑. มิจฉาทิฏฐิมีโลภะเป็นเหตุ
๒. มิจฉาทิฏฐิมีโทสะเป็นเหตุ
๓. มิจฉาทิฏฐิมีโมหะเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม โทสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม โมหะ
เป็นเหตุเกิดแห่งกรรม เพราะโลภะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป เพราะโทสะสิ้นไป
เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป เพราะโมหะสิ้นไป เหตุเกิดแห่งกรรมจึงสิ้นไป
กัมมนิทานสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๙. ปริกกมนสูตร
๙. ปริกกมนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นทางหลีกเลี่ยง๑
[๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นทางหลีกเลี่ยง มิใช่ธรรมไม่เป็นทางหลีก
เลี่ยง
ธรรมนี้เป็นทางหลีกเลี่ยง มิใช่ธรรมไม่เป็นทางหลีกเลี่ยง อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ฆ่าสัตว์
๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทานเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้ลักทรัพย์
๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้
ประพฤติผิดในกาม
๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดส่อเสียด
๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจาเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดคำหยาบ
๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌาเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาทเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้มีจิตพยาบาท
๑๐. สัมมาทิฏฐิเป็นทางหลีกเลี่ยงสำหรับบุคคลผู้เห็นผิด
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นทางหลีกเลี่ยง มิใช่ธรรมไม่เป็นทางหลีกเลี่ยง เป็น
อย่างนี้แล
ปริกกมนสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทางหลีกเลี่ยง ในที่นี้หมายถึงทางเว้นจากความชั่ว (ดูเทียบ สัลเลขสูตร ม.มู. ๑๒/๘๕/๕๘, องฺ.ทสก.อ.
๓/๑๗๕/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
๑๐. จุนทสูตร
ว่าด้วยนายจุนทกัมมารบุตร
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร๑
เขตกรุงปาวา ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามว่า
“จุนทะ เธอชอบใจความสะอาดของใคร”
นายจุนทกัมมารบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาว
ปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติ
ความสะอาดไว้ ข้าพระองค์ชอบใจความสะอาดของพราหมณ์เหล่านั้น”
“จุนทะ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ
ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติความสะอาดไว้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือ
น้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมชักชวนสาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ‘มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านควรลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้า จับต้องแผ่นดิน ถ้า
ไม่จับต้องแผ่นดิน ต้องจับต้องโคมัยสด ถ้าไม่จับต้องโคมัยสด ต้องจับต้องหญ้าเขียวสด
ถ้าไม่จับต้องหญ้าเขียวสด ต้องบำเรอไฟ ถ้าไม่บำเรอไฟต้องประคองอัญชลีนอบน้อม
ดวงอาทิตย์ ถ้าไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ ต้องลงน้ำวันละ ๓ ครั้ง’ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย
บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติความสะอาดไว้อย่างนี้ ข้าพระองค์ชอบใจความ
สะอาดของพราหมณ์เหล่านั้น”
“จุนทะ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือน้ำเต้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอ
ไฟ ลงน้ำเป็นวัตร บัญญัติความสะอาดไว้เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนความสะอาดใน
อริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง”

เชิงอรรถ :
๑ กัมมารบุตร หมายถึงบุตรของช่างทอง (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๖/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสะอาดในอริยวินัยเป็นอย่างไร ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เป็นความสะอาดในอริยวินัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จุนทะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
จุนทะ ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ
ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติ
ธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้แต่สตรีที่บุรุษสวมด้วย
พวงมาลัยหมายไว้
จุนทะ ความไม่สะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่
ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยงคนที่
สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่แตก
แยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
จุนทะ ความไม่สะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้แลที่บุคคลประกอบแล้ว เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน
แต่เช้าตรู่ แม้จะจับต้องแผ่นดินก็ตาม ไม่จับต้องแผ่นดินก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่
ได้เลย แม้จะจับต้องโคมัยสดก็ตาม ไม่จับต้องโคมัยสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้
แม้จะจับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ไม่จับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้
แม้จะบำเรอไฟก็ตาม ไม่บำเรอไฟก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดไม่ได้ แม้จะประคองอัญชลี
นอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ก็เป็นผู้
สะอาดไม่ได้ แม้จะลงน้ำวันละ ๓ ครั้งก็ตาม ไม่ลงน้ำวันละ ๓ ครั้งก็ตาม ก็เป็น
ผู้สะอาดไม่ได้อยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้เป็น
ธรรมไม่สะอาด และเป็นเหตุก่อให้เกิดความไม่สะอาด
จุนทะ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จึงปรากฏมี
ทั้งนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น
จุนทะ ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง ความ
สะอาดทางใจ ๓ อย่าง
ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ใน
ปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ใน
ปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดย
ที่สุดแม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
ความสะอาดทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง
หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้าง
เป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า
‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า
‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง
เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
ความสะอาดทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๐. จุนทสูตร
๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’
จุนทะ ความสะอาดทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ที่บุคคลประกอบแล้ว เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนแต่
เช้าตรู่ แม้จะจับต้องแผ่นดินก็ตาม ไม่จับต้องแผ่นดินก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง
แม้จะจับต้องโคมัยสดก็ตาม ไม่จับต้องโคมัยสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง
แม้จะจับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ไม่จับต้องหญ้าเขียวสดก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่
นั่นเอง แม้จะบำเรอไฟก็ตาม ไม่บำเรอไฟก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง แม้จะ
ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์ก็ตาม ไม่ประคองอัญชลีนอบน้อมดวงอาทิตย์
ก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง แม้จะลงน้ำวันละ ๓ ครั้งก็ตาม ไม่ลงน้ำวันละ ๓
ครั้งก็ตาม ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการนี้เป็นธรรมสะอาด และเป็นเหตุก่อให้เกิดความสะอาด
จุนทะ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ จึงปรากฏมีทั้ง
เทวดาและมนุษย์ หรือสุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว นายจุนทกัมมารบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จุนทสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามเรื่องทาน
[๑๗๗] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน เชื่อว่าทานนี้
ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิต๑ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจง
บริโภคทานนี้ ท่านพระโคดม ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วบ้าง
หรือ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นจะได้บริโภคทานนั้นบ้างหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะเท่านั้น ไม่
สำเร็จในอัฏฐานะ”๒
เรื่องฐานะและอัฏฐานะ
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ฐานะเป็นอย่างไร อัฏฐานะ
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์
ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่ง
เล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิด
ในนรก เลี้ยงอัตภาพในนรกนั้น ดำรงอยู่ในนรกนั้นด้วยอาหารของสัตว์นรก๓
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๗๑ (อากังขสูตร) หน้า ๑๕๗ ในเล่มนี้
๒ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงโอกาสที่เป็นไปได้หรือที่เหมาะสม อัฏฐานะ หมายถึงโอกาสที่เป็นไปไม่ได้ หรือที่ไม่
เหมาะสม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗)
๓ อาหารของสัตว์นรก คือ กรรมที่สัตว์เสวยในนรกนั้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เลี้ยงอัตภาพในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ดำรงอยู่
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้นด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน๑
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ
ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกมนุษย์ เลี้ยงอัตภาพในมนุษยโลกนั้น ดำรงอยู่ใน
มนุษยโลกนั้นด้วยอาหารของพวกมนุษย์๒
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา เลี้ยงอัตภาพในเทวโลกนั้น
ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นด้วยอาหารของหมู่เทวดา๓
พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปเกิดในภูมิแห่งเปรต เลี้ยงอัตภาพอยู่ในภูมิแห่งเปรตนั้น ดำรงอยู่ในภูมิ
แห่งเปรตนั้นด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในภูมิแห่งเปรต หรือเลี้ยงอัตภาพอยู่ใน
ภูมิแห่งเปรตนั้น ดำรงอยู่ในภูมิแห่งเปรตนั้นด้วยปัตติทานมัยกุศล๔จากมนุษยโลกนี้
ที่มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของตนอุทิศให้
พราหมณ์ ภูมิที่ทานสำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นฐานะ”
“ท่านพระโคดม ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นจะไม่เข้าถึงฐานะนั้น
ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ อาหารของสัตว์ดิรัจฉาน คือ หญ้า ใบไม้เป็นต้น
๒ อาหารของมนุษย์ คือ ข้าวสุก เป็นต้น
๓ อาหารของหมู่เทวดา คือ สุทธาโภชนะ (ของกินอันเป็นทิพย์, อาหารทิพย์) เป็นต้น
๔ อาหารของเปรต(จำพวกหนึ่ง) คือ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น หรือเปรตอีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าปรทัตตูปชีวีเปรต
ที่ต้องอาศัยผู้อื่นให้ เรียกว่า ปัตติทานมัยกุศล หมายถึงบุญกุศลที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ เป็นวิธีทำบุญ
ด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
“พราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่าอื่นของตน ผู้เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่
ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น”
“ท่านพระโคดม ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วง
ลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของตนไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น”
“พราหมณ์ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาล
ช้านาน ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
“ท่านพระโคดม ย่อมตรัสข้อกำหนดแม้ในอัฏฐานะหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เรากล่าวข้อกำหนดแม้ในอัฏฐานะ คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่ง
ช้างทั้งหลาย ได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่องประดับต่าง ๆ ในกำเนิดแห่งช้างนั้น
เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท
เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งช้างทั้งหลาย และ
เพราะกรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และ
เครื่องประดับต่าง ๆ ในกำเนิดแห่งช้างนั้น
พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท
เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดใน
กำเนิดแห่งม้า ... หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งโค ... หลังจากตายแล้ว
เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งสุนัข ... ได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่องประดับต่าง ๆ
ในกำเนิดแห่งสุนัขนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
เพราะกรรมที่บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท
เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งสุนัข และเพราะกรรม
ที่บุคคลนั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก
และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่อง
ประดับต่าง ๆ ในกำเนิดแห่งสุนัขนั้น
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยาก
ได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์
หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่มนุษย์ และได้กามคุณ ๕
ที่เป็นของมนุษย์
เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด
จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่
เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่มนุษย์ และเพราะกรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาจึงเป็นผู้ได้กามคุณ ๕ ที่เป็นของมนุษย์
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับเทวดา และได้กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น
เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็น
สัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๒. ชาณุสโสณิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
กรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ใน
เทวโลกนั้น พราหมณ์ ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
“ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อที่ทายกเป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้
ควรที่จะให้ทาน ควรที่จะศรัทธาโดยแท้”
“พราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล”
“ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม
จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ชาณุสโสณิสูตรที่ ๑๑ จบ
ชาณุสโสณิวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร ๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร
๓. สคารวสูตร ๔. โอริมสูตร
๕. ปฐมอธัมมสูตร ๖. ทุติยอธัมมสูตร
๗. ตติยอธัมมสูตร ๘. กัมมนิทานสูตร
๙. ปริกกมนสูตร ๑๐. จุนทสูตร
๑๑. ชาณุสโสณิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๑. สาธุสูตร
๓. สาธุวรรค
ว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
๑. สาธุสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ดี และธรรมที่ไม่ดี
[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ดีและธรรม
ที่ไม่ดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่ดี อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๙. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ดี
ธรรมที่ดี อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต
๒. เจตนางดเว้นจากอทินนาทาน
๓. เจตนางดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๒. อริยธัมมสูตร
๔. เจตนางดเว้นจากมุสาวาท
๕. เจตนางดเว้นจากปิสุณาวาจา
๖. เจตนางดเว้นจากผรุสวาจา
๗. เจตนางดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
๑๐. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ดี
สาธุสูตรที่ ๑ จบ
๒. อริยธัมมสูตร
ว่าด้วยอริยธรรม และอนริยธรรม
[๑๗๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรมและอนริยธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อนริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนริยธรรม
อริยธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยธรรม
อริยธัมมสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๔. อัตถสูตร
๓. กุสลสูตร
ว่าด้วยกุศลธรรม และอกุศลธรรม
[๑๘๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและอกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อกุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อกุศลธรรม
กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า กุศลธรรม
กุสลสูตรที่ ๓ จบ
๔. อัตถสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์ และที่ไม่เป็นประโยชน์
[๑๘๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นประโยชน์และธรรมที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมที่เป็นประโยชน์ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นประโยชน์
อัตถสูตรที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๖. สาสวสูตร
๕. ธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรม และอธรรม
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธรรม
ธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรม
ธัมมสูตรที่ ๕ จบ
๖. สาสวสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีอาสวะ และที่ไม่มีอาสวะ
[๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะและธรรมที่ไม่มีอาสวะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ
ธรรมที่ไม่มีอาสวะ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีอาสวะ
สาสวสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๘. ตปนียสูตร
๗. วัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีโทษ และที่ไม่มีโทษ
[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีโทษ
ธรรมที่ไม่มีโทษ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่มีโทษ
วัชชสูตรที่ ๗ จบ
๘. ตปนียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุ และไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
[๑๘๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อนและธรรมที่ไม่
เป็นเหตุให้เดือดร้อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน
ตปนียสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค ๑๐. ทุกขุทรยสูตร
๙. อาจยคามิสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติ ปฏิสนธิ และนิพพาน
[๑๘๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ และ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อาจยคามิสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ทุกขุทรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นกำไร
[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรและธรรมที่มีสุขเป็น
กำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูล
รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร
ธรรมที่สุขเป็นกำไร อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร
ทุกขุทรยสูตรที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๓. สาธุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๑๑. วิปากสูตร
ว่าด้วยธรรมที่มีทุกข์ และที่มีสุขเป็นวิบาก
[๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากและธรรมที่มีสุข
เป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่า
นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก
ธรรมที่สุขเป็นวิบาก อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่มีสุขเป็นวิบาก
วิปากสูตรที่ ๑๑ จบ
สาธุวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาธุสูตร ๒. อริยธัมมสูตร
๓. กุสลสูตร ๔. อัตถสูตร
๕. ธัมมสูตร ๖. สาสวสูตร
๗. วัชชสูตร ๘. ตปนียสูตร
๙. อาจยคามิสูตร ๑๐. ทุกขุทรยสูตร
๑๑. วิปากสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๒. กัณหมัคคสูตร
๔. อริยมัคควรรค
หมวดว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค
๑. อริยมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นอริยมรรค และที่ไม่ใช่อริยมรรค
[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็น
อริยมรรคและธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรคแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑
ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค
ธรรมที่เป็นอริยมรรค อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นอริยมรรค
อริยมัคคสูตรที่ ๑ จบ
๒. กัณหมัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นฝ่ายดำ และที่เป็นฝ่ายขาว
[๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายดำและธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายดำ

เชิงอรรถ :
๑ ข้อ ๑๘๙-๑๙๘ ดูความเต็มในข้อ ๑๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว
กัณหมัคคสูตรที่ ๒ จบ
๓. สัทธัมมสูตร
ว่าด้วยสัทธรรม และอสัทธรรม
[๑๙๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
อสัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อสัทธรรม
สัทธรรม อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัทธรรม
สัทธัมมสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัปปุริสธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษ และธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๙๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมของอสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของอสัตบุรุษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๖. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
ธรรมของสัตบุรุษ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมของสัตบุรุษ
สัปปุริสธัมมสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุปปาเทตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น และที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
[๑๙๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรมที่ไม่ควรให้
เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้น
อุปปาเทตัพพธัมมสูตร ที่ ๕ จบ
๖. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ๑
[๑๙๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ควรเสพแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเสพ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๐ (อาเสวิตัพพสูตร) หน้า ๒๙๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรเสพ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเสพ
อาเสวิตัพพธัมมสูตรที่ ๖ จบ
๗. ภาเวตัพพธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ และที่ไม่ควรเจริญ
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเจริญและธรรมที่ไม่ควรเจริญ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญ อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรเจริญ
ภาเวตัพพธัมมสูตรที่ ๗ จบ
๘. พหุลีกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้มาก และที่ไม่ควรทำให้มาก
[๑๙๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มากและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้มากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ธรรมที่ควรทำให้มาก อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้มาก
พหุลีกาตัพพสูตรที่ ๘ จบ
๙. อนุสสริตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรระลึก และที่ไม่ควรระลึก
[๑๙๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรระลึกและธรรมที่ไม่ควรระลึก
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรระลึก
ธรรมที่ควรระลึก อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรระลึก
อนุสสริตัพพสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และที่ไม่ควรทำให้แจ้ง
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควร
ทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. ปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๔. อริยมัคควรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อะไรบ้าง คือ
๑. เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ๑๐. สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
สัจฉิกาตัพพสูตรที่ ๑๐ จบ
อริยมัคควรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อริยมัคคสูตร ๒. กัณหมัคคสูตร
๓. สัทธัมมสูตร ๔. สัปปุริสธัมมสูตร
๕. อุปปาเทตัพพธัมมสูตร ๖. อาเสวิตัพพธัมมสูตร
๗. ภาเวตัพพธัมมสูตร ๘. พหุลีกาตัพพสูตร
๙. อนุสสริตัพพสูตร ๑๐. สัจฉิกาตัพพสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. อปรปุคควรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
๕. อปรปุคคลวรรค
หมวดว่าด้วยบุคคล อีกหมวดหนึ่ง
๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรเสพ๑เป็นต้น
[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม
๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล

๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเสพ
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเสพ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๕ (เสวิตัพพสูตร) หน้า ๒๙๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. อปรปุคควรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นผู้ควรเสพ (๑)
(ในที่นี้ ควรนับสูตรที่ ๒๐๐ เป็นต้นไปตามที่ ฯลฯ ไว้)
[๒๐๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรคบ ... ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรคบ ...
[๒๐๑] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเข้าไปนั่งใกล้ ...
[๒๐๒] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ...
[๒๐๓] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ...
[๒๐๔] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ...
[๒๐๕] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ...
[๒๐๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ...
[๒๐๗] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ... ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ...
[๒๐๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ... ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์] ๕. อปรปุคควรรค ๑. นเสวิตัพพาทิสูตร
[๒๐๙] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ...
(๒-๑๑)
[๒๑๐] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น
อันมาก ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญ
เป็นอันมาก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญ
เป็นอันมาก (๑๒)
นเสวิตัพพาทิสูตร จบ
อปรปุคคลวรรคที่ ๕ จบ
จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. กรชกายวรรค
หมวดว่าด้วยกรชกาย๑
๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกและสวรรค์ สูตรที่ ๑
[๒๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ
ผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของบิดามารดา
ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว
ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่ในปกครองของโคตร ที่ประพฤติธรรม มี
สามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัย
หมายไว้
๔. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่
ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือ

เชิงอรรถ :
๑ กรชกาย หมายถึงร่างกายที่เกิดจากธุลีคือราคะ (เทียบ ขุ.ม. ๒๙/๒๐๙/๔๓๑, ขุ.จู. ๓๐/๗๔/๑๖๒, ที.สี.ฏีกา
(อภินว) ๔๕/๕๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะ
เหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลาย
ฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยง
คนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่
แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ บุคคล
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ใน
ปกครองของบิดามารดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ใน
ปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่อยู่ในปกครอง
ของโคตร ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุดแม้แต่
สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง
หมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้าง
เป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า
‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า
‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็น
เหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๕. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๖. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
๗. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมนิรยสัคคสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เกิดในนรกและสวรรค์ สูตรที่ ๒
[๒๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๔๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น