Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๘ หน้า ๓๕๐ - ๓๙๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้พูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ...
๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ ...
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ...
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ฯลฯ ทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มี
ในโลก’
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูก
นำไปฝังไว้
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ...
๖. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๓. มาตุคามสูตร
๗. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ...
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ฯลฯ ทำให้
แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่
ในโลก’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุติยนิรยสัคคสูตรที่ ๒ จบ
๓. มาตุคามสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้มาตุคามเกิดในนรกและสวรรค์
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับ
อัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
มาตุคามสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๕. วิวารทสูตร
๔. อุปาสิกาสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อุบาสิกาเกิดในนรกและสวรรค์
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรง
อยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อุปาสิกาสูตรที่ ๔ จบ
๕. วิสารทสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อุบาสิกาเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าและผู้แกล้วกล้า
[๒๑๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้แกล้วกล้า
อยู่ครองเรือน
วิสารทสูตรที่ ๕ จบ
๖. สังสัปปติปริยายสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความกระเสือกกระสน
[๒๑๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยาย๑ที่แสดงเหตุแห่งความ
กระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ธรรมบรรยายที่แสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน เป็นอย่างไร
คือ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็น
กำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดี
หรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่
ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อม
กระเสือกกระสนด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโน-
กรรมของเขาคดเคี้ยว คติของเขาก็คดเคี้ยว การอุบัติของเขาก็คดเคี้ยว
สำหรับผู้มีคติคดเคี้ยว มีอุบัติคดเคี้ยว เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง
คือ นรกมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือกกระสน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือกกระสน เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมบรรยาย หมายถึงพระธรรมเทศนา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑๖/๓๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ผู้เข้าถึง
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้อื่น ๆ เห็นมนุษย์แล้ว ย่อมกระเสือกกระสน
การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้นย่อมอุบัติ
ด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้พูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ...
๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ ...
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ...
๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’ บุคคลนั้น ย่อม
กระเสือกกระสนด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโน-
กรรมของเขาคดเคี้ยว คติของเขาก็คดเคี้ยว การอุบัติของเขาก็คดเคี้ยว
สำหรับบุคคลผู้มีคติคดเคี้ยว มีอุบัติคดเคี้ยว เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ นรกมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือก
กระสน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานที่มีปกติกระเสือกกระสน เป็นอย่างไร
คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ผู้เข้าถึง
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้อื่น ๆ เห็นมนุษย์แล้ว ย่อมกระเสือกกระสน
การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้นย่อมอุบัติ
ด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มี
กรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็น
กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและ
ศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือกกระสนด้วยกาย วาจา และใจ
กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของเขาตรง คติของเขาก็ตรง การ
อุบัติของเขาก็ตรง
สำหรับบุคคลผู้มีคติตรง มีอุบัติตรง เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง
คือ เป็นคนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือเป็นคนมีตระกูลสูง เช่น ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก มีเงินทองมาก มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์และ
ข้าวเปลือกมาก การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ
สัตว์นั้นย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ...
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ...
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ...
๕. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๖. สังสัปปติปริยายาสูตร
๖. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ...
๗. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ...
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ...
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ...
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชา
แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมี โลกนี้มี
โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้
ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก’ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือกกระสน
ด้วยกาย วาจา และใจ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของเขาตรง
คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง
สำหรับบุคคลผู้มีคติตรง มีอุบัติตรง เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง
คือ เป็นคนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือเป็นคนมีตระกูลสูง เช่น ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะ
มาก มีเงินทองมาก มีทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือก
มาก การอุบัติของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีได้เพราะกรรมที่มีแล้วอย่างนี้ คือ สัตว์นั้น
ย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องสัตว์นี้ผู้อุบัติแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรมอย่างนี้
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว
ก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นธรรมบรรยายที่แสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน
สังสัปปติปริยายสูตรที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
ว่าด้วยกรรมที่สัตว์เจตนาสั่งสม สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม
จะไม่กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อ
นั้นแล วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
๓ ประการ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ๔ ประการ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด ปักใจอยู่ในการฆ่าและการทุบตี
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
๒. เป็นผู้ลักทรัพย์ คือ เป็นผู้ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของ
ผู้อื่นซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยจิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่อยู่ในปกครอง
ของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย
ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติ
ธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง โดยที่สุด แม้สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวง
มาลัยหมายไว้
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่
ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน
ซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ หรือรู้
ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็กล่าวว่า ‘ไม่เห็น’
กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะ
เหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้
หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วมาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ยุยงคนที่
สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่แตก
แยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน
๓. เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าวแต่คำที่หยาบคาย กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น กระทบกระทั่งผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่
เป็นไปเพื่อสมาธิ
๔. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกเวลา พูดคำไม่จริง พูดไม่อิงประโยชน์
พูดไม่อิงธรรม พูดไม่อิงวินัย พูดคำที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่
กำหนด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม
ใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูก
ทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศไป หรืออย่าได้มี’
๓. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา
แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วก็ไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ
โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ เพราะวิบัติ
คือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือโทษแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิด
ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ
เพราะวิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือ
โทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้ว
จึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เปรียบเหมือนแก้วมณีหกเหลี่ยมถูกโยนขึ้นสูง
ก็กลับลงมาตั้งอยู่ด้วยดีตามปกติ ฉะนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่งกรรมที่
สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ในอัตภาพ
ถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่
กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความ
ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ ไม่ถือเอาทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่าที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วย
จิตเป็นเหตุขโมย
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือ ไม่เป็นผู้ประพฤติล่วง
ในสตรีทั้งหลายที่อยู่ในปกครองของมารดา ที่อยู่ในปกครองของบิดา ที่
อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย ที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว ที่
อยู่ในปกครองของญาติ ที่ประพฤติธรรม มีสามี มีกฎหมายคุ้มครอง
โดยที่สุดแม้แต่สตรีที่บุรุษสวมด้วยพวงมาลัยหมายไว้
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลก
๑. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คืออยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่
ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก
ถูกเขาอ้างเป็นพยานซักถามว่า ‘ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคลนั้นไม่
รู้ก็กล่าวว่า ‘ไม่รู้’ หรือรู้ก็กล่าวว่า ‘รู้’ ไม่เห็นกล่าวว่า ‘ไม่เห็น’ หรือเห็น
ก็กล่าวว่า ‘เห็น’ ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคล
อื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง
๒. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร
เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน
ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์
ความสามัคคี
๓. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ
น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
๔. เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูด
อิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่
กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ
เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์อันเป็น
อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ‘ทำอย่างไร ทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์
เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นจะพึงเป็นของเรา’
๒. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท คือ ไม่มีจิตคิดร้ายว่า ‘ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด’
๓. เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้ว
มีผล การเซ่นสรวงมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง
มีอยู่ในโลก’
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
เป็นอย่างนี้แล
เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ เพราะสมบัติแห่ง
วจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนา
เป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลาย หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ
เพราะสมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมา
ทางเหลี่ยมใด ๆ ก็ตั้งอยู่ได้ตามเหลี่ยมที่ตกลงนั้น ๆ
ปฐมสัญเจตนิกสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
ว่าด้วยกรรมที่สัตว์เจตนาสั่งสม สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม
จะไม่กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓
ประการ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๔ ประการ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร
มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ
วิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
๓ ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ๑ วิบัติคือโทษแห่งกายกรรม ที่มีเจตนาเป็นอกุศล มี
ทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ วิบัติคือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๑๗ (ปฐมสัญเจตนิกสูตร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ วิบัติคือโทษแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะวิบัติคือโทษแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ เพราะวิบัติ
คือโทษแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๔ ประการ หรือเพราะวิบัติคือโทษแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นอกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่งกรรมที่
สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ในอัตภาพ
ถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่
กล่าวถึงการทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ในข้อนั้นแล
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ
สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๔
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ๓
ประการ เป็นอย่างไร ฯลฯ สมบัติแห่งมโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสมบัติแห่งกายกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ
เพราะสมบัติแห่งวจีกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๔ ประการ หรือเพราะสมบัติแห่ง
มโนกรรมที่มีเจตนาเป็นกุศล ๓ ประการ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์
ทุติยสัญเจตนิกสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๙. กรชกายสูตร
๙. กรชกายสูตร
ว่าด้วยบาปกรรมที่กรชกายเคยทำ
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน
อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไปก็มี เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึง
การทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น อริยสาวกนั้นนั่นแล
ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มี
เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑ ทิศเบื้องล่าง๒
ทิศเฉียง๓ แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์
เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อม
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิตของเรานี้เป็นปริตตจิต๔ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ เป็น
อัปปมาณจิต๕ ได้อบรมดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่
ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หาก
เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็กอยู่ เขาจะพึงทำบาปกรรมได้
หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ”
“เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๒ เบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาคภพ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๓ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอบ ๆ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕)
๔ ปริตตจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังน้อย เป็นจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ
๕ อัปปมาณจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังมากโดยมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย
ไม่จำกัด และเป็นจิตที่ถูกฝึกจนชำนาญ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑๙/๓๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๙. กรชกายสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือบุรุษ
จะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัดอย่าง
นี้ว่า ‘บาปกรรมอะไร ๆ ของเรานี้ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้นทั้งหมด
เราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุผู้มี
ปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นอนาคามี อริยสาวกมีกรุณาจิต ... มุทิตาจิต ... อุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่
๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิต
ของเรานี้เป็นปริตตจิต ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นอัปปมาณจิตได้อบรม
ดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หากเด็กนี้จะพึงเจริญอุเบกขา
เจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาพึงทำบาปกรรมได้หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ”
“เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือ
บุรุษจะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ‘บาปกรรมอะไร ๆ ของเรานี้ ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้น
ทั้งหมดเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ
ที่ภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี”
กรชกายสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑๐. อธัมมจริยาสูตร
๑๐. อธัมมจริยาสูตร
ว่าด้วยความประพฤติอธรรม
[๒๒๐] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลัง
จากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เพราะความประพฤติอธรรมและ
ความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
“ท่านพระโคดม อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“ข้าพเจ้ายังไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ
นี้โดยพิสดาร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
อย่างที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่ท่านพระโคดมตรัสไว้โดยย่อ
นี้โดยพิสดารเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
พราหมณ์นั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“พราหมณ์ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓
ประการ ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค ๑๐. อธัมมจริยาสูตร
ความประพฤติอธรรม และความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ ความประพฤติอธรรมและความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ ความประพฤติอธรรมและความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความประพฤติ
อธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล
สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
พราหมณ์ ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓
ประการ ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ
เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ ๒๑๗ (ปฐมสัญเจตนิกสูตร) หน้า ๓๕๗ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๑. กรชกายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ ประการ เป็นอย่างนี้แล
พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ
อย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อธัมมจริยาสูตรที่ ๑๐ จบ
กรชกายวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมนิรยสัคคสูตร ๒. ทุติยนิรยสัคคสูตร
๓. มาตุคามสูตร ๔. อุปาสิกาสูตร
๕. วิสารทสูตร ๖. สังสัปปติปริยายสูตร
๗. ปฐมสัญเจตนิกสูตร ๘. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
๙. กรชกายสูตร ๑๐. อธัมมจริยาสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๒. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมทั่วไป
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๑๐ ประการ
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด ๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ๘. เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๖. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๗. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๙. เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๑)
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๒๐ ประการ
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์
๔. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๕. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๖. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๗. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ
๘. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๙. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๑๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ
๑๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๑๕. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๖. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๗. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๑๙. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๒๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๑๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๑๕. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๖. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๑๗. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๑๙. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๒)
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๓๐ ประการ
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์
๔. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์
๕. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๖. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๗. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๘. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม
๙. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
๑๐. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ
๑๑. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๑๒. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ
๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๑๕. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด
๑๖. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ
๑๗. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๑๘. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ
๑๙. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๒๑. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ
๒๒. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๓. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๔. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๕. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
๒๗. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
๒๘. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒๙. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๓๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๕. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๖. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๙. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๐. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๑๑. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๒. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๑๕. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๑๖. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๑๗. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๑๘. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๑๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๑. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๒. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๒๓. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๔. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๒๕. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๒๗. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
๒๘. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๒๙. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓)
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในนรก ๔๐ ประการ
[๒๒๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการฆ่าสัตว์
๔. สรรเสริญการฆ่าสัตว์
๕. ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์
๖. ชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์
๗. เป็นผู้พอใจการลักทรัพย์
๘. สรรเสริญการลักทรัพย์
๙. ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๑. เป็นผู้พอใจการประพฤติผิดในกาม
๑๒. สรรเสริญการประพฤติผิดในกาม
๑๓. ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
๑๕. เป็นผู้พอใจการพูดเท็จ
๑๖. สรรเสริญการพูดเท็จ
๑๗. ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด
๑๙. เป็นผู้พอใจการพูดส่อเสียด
๒๐. สรรเสริญการพูดส่อเสียด
๒๑. ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ
๒๒. ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ
๒๓. เป็นผู้พอใจการพูดคำหยาบ
๒๔. สรรเสริญการพูดคำหยาบ
๒๕. ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
๒๗. เป็นผู้พอใจการพูดเพ้อเจ้อ
๒๘. สรรเสริญการพูดเพ้อเจ้อ
๒๙. ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๐. ชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๑. เป็นผู้พอใจความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๒. สรรเสริญความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๓. ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท
๓๔. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๓๕. เป็นผู้พอใจความมีจิตพยาบาท
๓๖. สรรเสริญความมีจิตพยาบาท
๓๗. ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓๘. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๓๙. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรมที่ให้สัตว์เกิดในสวรรค์ ๔๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๔. สรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์
๗. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๘. สรรเสริญการงดเว้นจากการลักทรัพย์
๙. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๑๐. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๑. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๒. สรรเสริญการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๑๓. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
๑๔. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๕. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๖. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเท็จ
๑๗. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
๑๘. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๑๙. เป็นผู้พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๒๐. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
๒๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
๒๒. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๒๓. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๒๔. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๒๕. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๖. ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๗. เป็นผู้พอใจการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๘. สรรเสริญการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๒๙. ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๐. ชักชวนผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๑. เป็นผู้พอใจความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๒. สรรเสริญความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
๓๓. ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
๓๔. ชักชวนผู้อื่นให้มีจิตไม่พยาบาท
๓๕. เป็นผู้พอใจความมีจิตไม่พยาบาท
๓๖. สรรเสริญความมีจิตไม่พยาบาท
๓๗. ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิ
๓๘. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
๓๙. เป็นผู้พอใจความเป็นสัมมาทิฏฐิ
๔๐. สรรเสริญความเป็นสัมมาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๔)
ธรรมที่ให้ถูกกำจัด และที่ไม่ให้ถูกกำจัด
[๒๒๕-๒๒๘] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูก
กำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูก
ทำลาย
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้
ถูกทำลาย
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้
ถูกทำลาย
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้
ถูกกำจัด ถูกทำลาย
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูก
ทำลาย
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่
ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย (๕-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ธรรมที่ให้เกิดในอบาย และที่ให้เกิดในสวรรค์
[๒๒๙-๒๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๑๐
ประการ หลังจากตายแล้ว เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา
จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ หลังจากตายแล้ว เขา
จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมา-
ทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล หลังจากตายแล้ว
เขาจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๙-๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ธรรมที่ให้ทราบว่าเป็นพาล และที่ให้ทราบว่าเป็นบัณฑิต
[๒๓๓-๒๓๖] บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๑๐. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๒๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๒๐. ชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็นมิจฉาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ๒. สามัญญวรรค
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๓๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๓๐. เป็นผู้พอใจความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า
เป็นพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๔๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ๔๐. สรรเสริญความเป็น
สัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต (๑๓-๑๖)
สามัญญวรรคที่ ๒ จบ
(พึงทราบการนับสูตรในวรรคที่ ๔ และที่ ๕ นี้ ตามที่ ฯลฯ ไว้)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
ราคเปยยาล
[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐
ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)
๒. มรณสัญญา (กำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็นธรรมดา)
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร)
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลก
ทั้งปวง)
๕. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความทุกข์ในความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์)
๘. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
๙. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
๑๐. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา
๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
๕. อัฏฐิกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือ
กระดูกท่อน)
๖. ปุฬุวกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด)
๗. วินีลกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่าง ๆ)
๘. วิปุพพกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่
แตกปริออก)
๙. วิจฉิททกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน)
๑๐. อุทธุมาตกสัญญา (กำหนดหมายซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๒)
[๒๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
๙. สัมมาญาณะ (รู้ชอบ) ๑๐. สัมมาวิมุตติ (หลุดพ้นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๓)
[๒๔๐-๒๖๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อความสละคืนราคะ
(๔-๓๐)
[๒๖๗-๗๔๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์] ราคเปยยาล
... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ
(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา(ความริษยา) ... มัจฉริยะ
(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเฐยยะ(ความโอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ...
สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ
(ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๐ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ ...
(๓๑-๕๑๐)
ราคเปยยาล จบ
ปัญจมปัณณาสก์ จบ
ทสกนิบาต จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต
__________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. นิสสยวรรค
หมวดว่าด้วยนิสสัย
๑. กิมัตถิยสูตร๑
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับผลแห่งศีล
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร(ความไม่ร้อนใจ)
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์”
“อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)เป็นผล มีปราโมทย์เป็น
อานิสงส์”
“ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ สูตรที่ ๑-๕ ในวรรคนี้เหมือนกับสูตรที่ ๑-๕ ในวรรคแรกของทสกนิบาต ต่างแต่ในทสกนิบาต นิพพิทา
และวิราคะรวมเป็นข้อธรรมเดียวกันในหมวดธรรม ๑๐ ประการ ส่วนในเอกาทสกนิบาต นิพพิทาและวิราคะ
แยกเป็นข้อธรรมคนละข้อกันในหมวดธรรม ๑๑ ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑. กิมัตถิยสูตร
“อานนท์ ปราโมทย์มีปีติ(ความอิ่มใจ)เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์”
“ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปีติมีปัสสัทธิ(ความสงบกายสงบใจ)เป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์”
“ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์”
“สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์”
“สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง)
เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์”
“ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)เป็นผล มีนิพพิทา
เป็นอานิสงส์”
“นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ นิพพิทามีวิราคะ(ความคลายกำหนัด)เป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์”
“วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะ(ความรู้ความเห็นในวิมุตติ)เป็นผล มี
วิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณ-
ทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา
เป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ อานนท์ ศีลที่
เป็นกุศล ย่อมทำอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับ อย่างนี้แล”
กิมัตถิยสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๒. เจตนากรณียสูตร
๒. เจตนากรณียสูตร
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ต้องทำด้วยความตั้งใจ
[๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้
มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา๑
บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่
ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่
บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ
เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุขมีจิต
เป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่
บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่าย’ การที่
บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้เบื่อหน่ายไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้เบื่อ
หน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
บุคคลผู้คลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’
การที่บุคคลผู้คลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒ (เจตนากรณียสูตร) ทสกนิบาต หน้า ๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทา
มีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นผล มี
นิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็น
อานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติ
เป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็น
กุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย
ย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น๑ อย่างนี้แล
เจตนากรณียสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๑
[๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มี
อวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มี
ปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
สัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ
วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติ
ชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ (เจตนากรณียสูตร) หน้า ๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อวิราคะ
ไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมี
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทามี วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่า
มีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด
เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ปฐมอุปนิสาสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร
๔. ทุติยอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๒
[๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัด
แล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี
สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิของ
บุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ
ของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี
นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทา
ไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติ
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ เมื่อวิราคะ
ไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบ
เหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมี
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของบุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมีสัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี นิพพิทาของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๕. ตติยอุปนิสาสูตร
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามี
วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ทุติยอุปนิสาสูตรที่ ๔ จบ
๕. ตติยอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ ๓
[๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ ท่าน
พระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๕. ตติยอุปนิสาสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่
มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความ
บริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทามี วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ตติยอุปนิสาสูตรที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๖. พยสนสูตร
๖. พยสนสูตร
ว่าด้วยความพินาศ
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษ๑เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่า
ร้ายพระอริยะ เป็นไปได้๒ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๘. เป็นโรคร้ายแรง
๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน
๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระ
อริยะ เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจะถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้ายพระอริยะ เป็นไปไม่
ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
ความพินาศ ๑๑ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
๒. เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
๓. สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว

เชิงอรรถ :
๑ บริภาษ ในที่นี้หมายถึงกล่าวโทษว่า “ท่านเป็นโจร ท่านเป็นคนพาล ท่านเป็นคนหลง ท่านเป็นขโมย”
(วิ.มหา. ๑/๙๒/๖๒)
๒ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ)ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร
๔. เป็นผู้เข้าใจผิดว่าได้บรรลุสัทธรรม
๕. เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
๖. ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
๗. บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
๘. เป็นโรคร้ายแรง
๙. ถึงความวิกลจริต หรือจิตฟุ้งซ่าน
๑๐. หลงลืมสติมรณภาพ
๑๑. หลังจากมรณภาพแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดก็ตามด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ว่าร้าย
พระอริยะ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะไม่ถึงความพินาศอย่าง ๑ ใน ๑๑ อย่าง
พยสนสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมสัญญาสูตร
ว่าด้วยสัญญา สูตรที่ ๑
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญา(ความจำได้หมายรู้)ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน๑ ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน
ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็น
โลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ๒
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒,๓,๔ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้
๒ อารมณ์ที่ได้ทราบ ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ ๓ คือ คันธารมณ์(กลิ่น) รสารมณ์(รส) โผฏฐัพพารมณ์
(การสัมผัส) (อภิ.สงฺ.อ. ๙๖๖/๓๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ
ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌาน ว่าเป็นอากาสานัญจายตน-
ฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตน-
ฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็น
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่
ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง
ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็น
อากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ใน
อากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่าง
นี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส
ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน๑ อานนท์
มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ใน
ธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ใน
โลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง


เชิงอรรถ :
๑ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖ (สมาธิสูตร) หน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๓๙๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น