Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๔-๙ หน้า ๔๐๐ - ๔๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
_______________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๗. ปฐมสัญญาสูตร
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน
ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่
รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมี
สัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดิน
ว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่
ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ท่านอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ
ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความ
สิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ท่านอานนท์ มีได้
อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาแม้ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
“ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับ
พยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ใน
บทอันเลิศ๑ ท่านผู้มีอายุ เมื่อสักครู่นี้ ผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อ

เชิงอรรถ :
๑ บทอันเลิศ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๗-๘/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๘. มนสิการสูตร
ความนี้แล้ว แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงตอบเนื้อความนี้แก่ผม ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย
พยัญชนะเหล่านี้ เหมือนที่ท่านสารีบุตรตอบ ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดาและพระสาวก เปรียบ
เทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทอันเลิศนี้”
ปฐมสัญญาสูตรที่ ๗ จบ
๘. มนสิการสูตร
ว่าด้วยมนสิการ
[๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมนสิการ
ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ(การสัมผัสทางกาย) ธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน
อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้อง
มนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้อง
มนสิการตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียง
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมนสิการ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมนสิการ
ตา ฯลฯ ไม่ต้องมนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
“อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมมนสิการอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ
ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน อานนท์ มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยไม่ต้องมนสิการ ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน
อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โลกนี้ โลกหน้า ไม่ต้อง
มนสิการแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมนสิการ”
มนสิการสูตรที่ ๘ จบ
๙. สันธสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสันธะ
[๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ในนาทิกคาม
ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านดังนี้ว่า
สันธะ เธอจงเพ่ง๑ อย่างการเพ่งของม้าอาชาไนย๒เท่านั้น อย่าเพ่งอย่างการ
เพ่งของม้ากระจอก
การเพ่งของม้ากระจอก เป็นอย่างไร
คือ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ‘ข้าว
เหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอกที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้ราง

เชิงอรรถ :
๑ เพ่ง ในที่นี้หมายถึงคิด (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๒)
๒ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึงม้าที่
สามารถรู้สิ่งที่คนฝึกม้าฝึกให้ทำได้เร็ว (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
ข้าวเหนียวไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้ากระจอกนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวจึงเพ่งว่า
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ฉันใด
บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้
ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี มีจิตถูกกามราคะ(ความกำหนัดในกาม)กลุ้มรุม ถูกกามราคะ
ครอบงำอยู่ ไม่รู้วิธีสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำกามราคะ
เท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์๑ เพ่งลงต่ำ มีจิตถูกพยาบาท(ความ
คิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ ... มีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
กลุ้มรุม ... มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)กลุ้มรุม ... มีจิตถูก
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้วิธีสลัดวิจิกิจฉา
ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาจึงทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายในแล้วเพ่ง เพ่งอย่างทั่วถึง
เพ่งเป็นนิตย์ เพ่งลงต่ำ เขาอาศัยธาตุดินเพ่งบ้าง อาศัยธาตุน้ำเพ่งบ้าง อาศัยธาตุไฟ
เพ่งบ้าง อาศัยธาตุลมเพ่งบ้าง อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย
วิญญาณัญจายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัย
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่งบ้าง อาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง อาศัยโลกหน้าเพ่งบ้าง
อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจบ้าง
สันธะ การเพ่งของบุรุษผู้กระจอกย่อมเป็นไปได้ อย่างนี้แล
การเพ่งของม้าอาชาไนย เป็นอย่างไร
คือ ธรรมดาว่าม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่เพ่งว่า
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่ดีที่ถูกเขาผูกไว้
ใกล้รางข้าวเหนียวมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจะให้เราทำอะไรหนอ
เราจะทำอะไรตอบแทนเขา’ ม้าอาชาไนยนั้นถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวไม่เพ่งว่า

เชิงอรรถ :
๑ เพ่งทั่วถึง เพ่งเป็นนิตย์ หมายถึงเพ่งฌานต่าง ๆ อย่างทั่วถึง หรือเพ่งต่อเนื่องไม่ขาดตอน (องฺ.เอกาทสก.
อ. ๓/๙/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
‘ข้าวเหนียว ข้าวเหนียว’ เพราะม้าอาชาไนยที่ดีย่อมพิจารณาเห็นการถูกประตักแทง
เหมือนคนเป็นหนี้คิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคน
เสื่อมทรัพย์นึกถึงความเสื่อมทรัพย์ เหมือนคนมีความผิดเล็งเห็นความผิด ฉันใด
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
ก็ดี ไม่มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำอยู่ รู้วิธีที่จะสลัดกามราคะ
ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ไม่มีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกถีนมิทธะ
กลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ... ไม่มีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูก
วิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้วิธีที่จะสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง
บุรุษอาชาไนยนั้นย่อมไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง
ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง
แต่ย่อมเพ่ง๑
สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสันธะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งย่อมเพ่งอย่างไร คือ
บุรุษอาชาไนยนั้น ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัยธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเพ่งด้วยผลสมาบัติ มีนิพพานเป็นอารมณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๙/๓๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๙. สันธสูตร
อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตน-
ฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่
ย่อมเพ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์
ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดินแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาใน
ธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในธาตุลมว่าเป็นธาตุลมแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌานแจ่มแจ้งแล้ว มี
สัญญาในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้แจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในโลกหน้าว่าเป็น
โลกหน้าแจ่มแจ้งแล้ว มีสัญญาในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจแจ่มแจ้งแล้ว
สันธะ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญมีปกติเพ่งอย่างนี้แล ไม่อาศัยธาตุดินเพ่ง ไม่อาศัย
ธาตุน้ำเพ่ง ไม่อาศัยธาตุไฟเพ่ง ไม่อาศัยธาตุลมเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
เพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานเพ่ง ไม่
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร
ไม่อาศัยแม้รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่
แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจเพ่ง แต่ย่อมเพ่ง
สันธะ อนึ่ง เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม มนุษย์ย่อมนอบน้อม
บุรุษอาชาไนยผู้เจริญซึ่งมีปกติเพ่งอย่างนี้แต่ที่ไกลทีเดียวว่า
ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้น ๆ ได้
เพราะอาศัยการเพ่งของท่าน”
สันธสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. โมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยปริพพาชการามชื่อโมรนิวาปะ
[๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพพาชการามอันเป็นที่ให้
เหยื่อแก่นกยูง เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด๑
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐ
กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ มีความสำเร็จสูงสุด(อัจจันตนิฏฐะ) หมายถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร
๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑
๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ
๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มี
ความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อิทธิปาฏิหาริย์๒ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์)
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์๓ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ)
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์๔ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด
มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความ
เกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐)
๒ อิทธิปาฏิหาริย์ หมายถึงการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ ปรากฏตัวได้ หายตัวได้ เดินทะลุฝา กำแพง ภูเขาได้ ดำดินได้ เดินบนน้ำได้ นั่งขัดสมาธิในอากาศได้
เป็นต้น ดูอังคุตตรนิกายแปลเล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต หน้า ๒๓๔
๓ อาเทสนาปาฏิหาริย์ หมายถึงการกล่าวดักใจบุคคลได้ว่า ใจของบุคคลแต่ละคนเป็นอย่างไร มีสุข มีทุกข์
หรือมีวิตกเรื่องอะไร กำลังคิดอะไรอยู่เป็นต้น และคำกล่าวดักใจนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดเพี้ยนกลับกลาย
เป็นอย่างอื่นไปได้ ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต หน้า ๒๓๔
๔ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ หมายถึงการพร่ำสอนว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้
อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้” ดูอังคุตรนิกายแปล เล่มที่ ๒๐ ข้อ ๖๑ ติกนิบาต
หน้า ๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค ๑๐. โมรนิวาปสูตร
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาญาณะ
๓. สัมมาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษม
สูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
๒. จรณะ (ความประพฤติ)
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้มีความสำเร็จ
สูงสุด มีความเกษมสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่๑
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงหมู่ชนผู้ชอบคิดว่าตนมีตระกูลสูง ตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมากกว่าผู้อื่น เช่น คิดว่า “เราเป็น
โคตมโคตร เราเป็นกัสสปโคตร” เป็นต้น (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๐/๓๘๓) และดูพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย
สีลขันธวรรค แปล เล่มที่ ๙ ข้อ ๒๗๗ หน้า ๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๑. นิสสยวรรค รวมพระสูตรที่มัในวรรค
ภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมได้กล่าวร้อยกรองไว้ถูกต้องดีแล้ว ไม่
ใช่ร้อยกรองไว้ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ เรา
ยอมรับ ภิกษุทั้งหลาย ถึงเราเองก็กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
โมรนิวาปสูตรที่ ๑๐ จบ
นิสสยวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนากรณียสูตร
๓. ปฐมอุปนิสาสูตร ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร
๕. ตติยอุปนิสาสูตร ๖. พยสนสูตร
๗. ปฐมสัญญาสูตร ๘. มนสิการสูตร
๙. สันธสูตร ๑๐. โมรนิวาปสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
๒. อนุสสติวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสสติ
๑. ปฐมมหานามสูตร๑
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วย
หวังว่า “พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
พระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง
ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวน
มากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว
ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา
ตถาคตแล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น
เครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระ
องค์ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ๒ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลง
ลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้ง

เชิงอรรถ :
๑ ดู มหานามสูตรที่ ๑๐ (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๑๐/๒๗๕)
๒ ไม่ประสบความสำเร็จ(อาราธกะ) หมายถึงไม่ให้ถึงพร้อม ไม่ให้บริบูรณ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๑-๑๒/
๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
มั่นไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทราม
ไม่ประสบความสำเร็จ ๑
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ธรรม ๖ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคต
ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๑ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม๒ ย่อม
ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ
มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
๒. พระองค์พึงระลึกถึงธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓ ควรเรียก

เชิงอรรถ :
๑ ความปลาบปลื้มอิงอรรถ(อตฺถเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอรรถกถา
(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖)
๒ ความปลาบปลื้มอิงธรรม (ธมฺมเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระบาลี
(องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๑๐/๙๖)
๓ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุก
โอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน๑ อันวิญญูชน๒พึงรู้เฉพาะตน” มหานามะ
สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่
ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรม ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อม
ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อ
มีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็น
ผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ใน
หมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมา-
นุสสติอยู่
๓. พระองค์พึงระลึกถึงสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล
๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ
อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” มหานามะ สมัยใด อริยสาวก
ระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มี
จิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า

เชิงอรรถ :
๑ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตน หรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ.
๒/๕๔/๑๕๘)
๒ วิญญูชน หมายถึงบัณฑิต (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท
อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ
สังฆานุสสติอยู่
๔. พระองค์พึงระลึกถึงศีลของพระองค์ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็
อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม
เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ
ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคต
กล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี
พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม
เจริญสีลานุสสติอยู่
๕. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว
มีฝ่ามือชุ่ม๑ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่
ครองเรือน” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิต
ของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ
กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะดำเนินไปตรง
ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่

เชิงอรรถ :
๑ มีฝ่ามือชุ่มอรรถกถาอธิบายว่า คนที่ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก
อยู่นั่นเอง แต่คนที่มีศรัทธา แม้จะมีมือสกปรก ก็ชื่อว่ามีมือที่ได้ล้างสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร
ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อม
สงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ
อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความ
ไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยกระแสธรรม เจริญจาคานุสสติอยู่
๖. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดา
ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดใน
เทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล
เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น
แม้เราเองก็มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น
แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภ
เทวดาทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน
ไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความ
สงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี
พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญเทวตานุสสติอยู่
ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๒. ทุติยมหานามสูตร
๒. ทุติยมหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๒
[๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะทรงหายจาก
พระประชวรได้ไม่นาน สมัยนั้นแล ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มี
พระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จ
จาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
เมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา
ตถาคตแล้วตรัสถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น
เครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์
ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธา
ไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้าน
ไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่
ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่
ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่
ประสบความสำเร็จ ๑
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการ
ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๒. ทุติยมหานามสูตร
ธรรม ๖ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้น ฯลฯ๑ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง
ตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิต
ดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๒ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมได้
รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ พุทธานุสสตินี้แล พระองค์
แม้กำลังเสด็จดำเนินก็เจริญได้ กำลังประทับยืนก็เจริญได้ กำลังประทับ
นั่งก็เจริญได้ กำลังบรรทมก็เจริญได้ กำลังประกอบการงานก็เจริญได้
กำลังประทับบนที่บรรทมซึ่งเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาก็เจริญได้
๒. พระองค์พึงระลึกถึงพระธรรม ...
๓. พระองค์พึงระลึกถึงพระสงฆ์ ...
๔. พระองค์พึงระลึกถึงศีลของพระองค์ ...
๕. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ ...
๖. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ...
เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดา
เหล่านั้นประกอบด้วยศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๑๑ (ปฐมมหานามสูตร) ในเล่มนี้
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๑๑ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร
แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น” มหานามะ สมัยใด
อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญาของตนและของ
เทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น
ย่อมปรารภเทวดาทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวก
ผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ
ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี
ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อม
ได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ เทวตานุสสตินี้แล พระองค์
แม้กำลังเสด็จดำเนินก็เจริญได้ กำลังประทับยืนก็เจริญได้ กำลังประทับ
นั่งก็เจริญได้ กำลังบรรทมก็เจริญได้ กำลังประกอบการงานก็เจริญได้
กำลังประทับบนที่บรรทมซึ่งเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาก็เจริญได้
ทุติยมหานามสูตรที่ ๒ จบ
๓. นันทิยสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ
[๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จไปจำพรรษา
ณ กรุงสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เจ้า
ศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “ทางที่ดี แม้เราก็ควรจะพักอยู่
ตลอดพรรษาในกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น เราจักประกอบการงานและจักเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคตามเวลาอันสมควร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี แม้เจ้าศากยะ
พระนามว่านันทิยะก็ได้พักอยู่ตลอดพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระองค์ได้ทรง
ประกอบการงาน และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร สมัยนั้น ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”
เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวอย่างนี้ว่า ได้ทราบว่า ภิกษุ
จำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า “พระผู้มีพระภาคผู้มี
จีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป” ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า
นันทิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับ ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบ
ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า ‘พระ
ผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’ หม่อมฉันเมื่อ
จะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธ-
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ นันทิยะ การที่พระองค์เสด็จมาหาตถาคต
แล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่
ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร’ นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็น
กุลบุตร นันทิยะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธาไม่
ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีศีลเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ทุศีลไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบ
ความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความ
สำเร็จ ๑
นันทิยะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้ แล้วตั้งสติมั่นไว้ภายในตนใน
ธรรม ๕ ประการเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๓. นันทิยสูตร
ธรรม ๕ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระ
องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ
พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตน
ปรารภตถาคตอย่างนี้เถิด
๒. พระองค์พึงระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภธรรมอย่างนี้เถิด
๓. พระองค์พึงระลึกถึงเหล่ากัลยาณมิตรว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์ กล่าวแนะนำ
พร่ำสอน” นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในตนปรารภเหล่า
กัลยาณมิตรอย่างนี้เถิด
๔. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี
แล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละ
แล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือนในหมู่สัตว์ผู้ถูกความตระหนี่อันเป็นมลทินกลุ้มรุม” นันทิยะ
พระองค์พึงตั้งสติมั่นไว้ภายในปรารภจาคะอย่างนี้เถิด
๕. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “เทวดาเหล่าใดล่วงความเป็น
สหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา๑แล้ว เข้าถึงกายมโนมัย๒
อย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน
หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว” นันทิยะ เทวดาเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ล่วง

เชิงอรรถ :
๑ เหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา หมายถึงเทวดาชั้นกามาวจร (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔)
๒ กายมโนมัยในที่นี้หมายถึงเทพกายหรือพรหมกายของผู้บำเพ็ญฌานสมาบัติแล้วบังเกิดขึ้นในพรหมโลก
ชั้นสุทธาวาสด้วยอำนาจฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๔/๒๖,๑๖๖/๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
ความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้วจึงเข้าถึง
กายมโนมัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่
ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว เปรียบเหมือนภิกษุผู้เป็น
อสมยวิมุต๑ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตนหรือการสั่งสมกิจที่ตน
ทำแล้ว นันทิยะ พระองค์พึงตั้งสติมั่นภายในปรารภเทวดาอย่างนี้เถิด
นันทิยะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละ ไม่ยึดมั่น
บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละ ไม่ยึดมั่นบาปอกุศล-
ธรรมทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่คว่ำ ย่อมไม่กลับมาบรรจุของที่หกแล้ว และ
เปรียบเหมือนไฟที่ลามพ้นไปจากหญ้าแล้ว ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้เท่านั้น ย่อมไม่
กลับมาไหม้ของที่ไหม้แล้ว
นันทิยสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุภูติสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระสุภูติ
[๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระสุภูติกับภิกษุผู้มีศรัทธาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสุภูติ
ดังนี้ว่า “สุภูติ ภิกษุนี้๒ชื่อไร”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุต หมายถึงพระขีณาสพผู้หลุดพ้นด้วยอสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย
หรือชั่วคราวคือยั่งยืนเรื่อยไป) หมายถึงอริยผลโดยเฉพาะอรหัตตผลเป็นโลกุตตรวิมุตติ บางแห่งใช้คำว่า
อสมยวิโมกข์ ตรงกันข้ามกับสมยวิมุตติ หรือสมยวิโมกข์ ซึ่งหมายถึงสมาบัติ ๘ เป็นโลกิยวิมุตติ (องฺ.
เอกาทสก.อ. ๓/๑๓/๓๘๔) และดู ม.มู. ๑๒/๓๑๑/๒๗๘-๒๘๐
๒ หมายถึงภิกษุผู้เป็นบุตรของอนาถบิณฑิกคหบดี ซึ่งมีศรัทธาออกบวชในสำนักของท่านพระสุภูติเถระผู้เป็นอาว์
ต่อมาพระเถระนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แม้พระองค์จะทรงทราบดีว่า ภิกษุนี้เป็นใคร ชื่ออะไร แต่ก็ทรง
ตรัสถามเพื่อปรารภเหตุที่จะแสดงพระธรรมเทศนา (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๔/๓๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
ท่านพระสุภูติกราบทูลว่า “ภิกษุนี้มีศรัทธา เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พระพุทธเจ้าข้า”
“สุภูติ ภิกษุนี้มีศรัทธา เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธา เห็นลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือ”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้ เป็นกาลสมควรแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้ เป็นกาลสมควรแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระ
ภาคโปรดตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์ก็จักทราบ ณ บัดนี้
ว่า ภิกษุนี้จะเห็นลักษณะของผู้มีศรัทธาหรือไม่”
“สุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระสุภูติทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
สุภูติ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบ
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๒. ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ
ถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่ภิกษุ
เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐินี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้
มีศรัทธา
๓. ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดีนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๔. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย
ธรรมเป็นเครื่องที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
๕. ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง
และงานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถ
ทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๖. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มี
ปราโมทย์(ความบันเทิงใจ)อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้การที่ภิกษุ
เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์
อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๗. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา
๘. ภิกษุเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แม้การที่ภิกษุเป็นผู้
ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา
๙. ภิกษุระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง
๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
อย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อ
อย่างนั้น มีตะกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นแล้วจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แม้การที่ภิกษุระลึกชาติ
ก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ พร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๑๐. ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ(เคลื่อน) กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต
และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้
ทำตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต
ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำตามความ
เห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็น
หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดี
และเกิดไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมอย่างนี้แล แม้การที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมนี้ก็เป็นลักษณะ
แห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
๑๑. ภิกษุทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้การที่ภิกษุทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ฯลฯ เข้าถึง
อยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสุภูติได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาที่พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสแล้วนี้ มีอยู่พร้อมแก่ภิกษุนี้ และภิกษุนี้ก็เห็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มี
ศรัทธาเหล่านี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๔. สุภูติสูตร
๑. ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย
๒. ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
๓. ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
๔. ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็น
ผู้อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ
๕. ภิกษุนี้เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูง
และงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้
๖. ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มี
ปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัยอยู่
๗. ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๘. ภิกษุนี้เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
๙. ภิกษุนี้ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
๑๐. ภิกษุนี้เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่
งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ รู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๕. เมตตาสูตร
๑๑. ภิกษุนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ฯลฯ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาที่
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้เหล่านี้ มีอยู่พร้อมแก่ภิกษุนี้และภิกษุนี้ก็เห็น
ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ๆ สุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอพึงอยู่กับภิกษุชื่อว่ามี
ศรัทธานี้เถิด สุภูติ แต่เมื่อใด เธอหวังจะมาเยี่ยมเยือนตถาคต เมื่อนั้น เธอกับภิกษุ
ชื่อว่ามีศรัทธานี้พึงมาเยี่ยมเยือนตถาคตเถิด”
สุภูติสูตรที่ ๔ จบ
๕. เมตตาสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์ของเมตตา
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข
๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา กล้ำกรายไม่ได้
๘. จิตตั้งมั่นได้เร็ว
๙. สีหน้าสดใส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย
๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง๑ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้
เมตตาสูตรที่ ๕ จบ
๖. อัฏฐกนาครสูตร
ว่าด้วยคหบดีชาวอัฏฐกนคร
[๑๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี สมัยนั้นแล
คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อว่าทสมะ๒ ได้เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตร ด้วยกิจที่ต้องทำ
บางอย่าง
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ได้เข้าไปพบภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม
จึงถามภิกษุนั้นว่า
“ท่านขอรับ เดี๋ยวนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าต้องการจะพบท่าน”
ภิกษุตอบว่า “คหบดี ท่านพระอานนท์นี้อยู่ที่เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี”
ครั้งนั้น ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนคร ทำกิจที่ควรทำในเมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว
ได้เข้าไปพบท่านพระอานนท์ที่เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
๑ คุณวิเศษอันยอดยิ่ง ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๕/๓๘๕)
๒ คหบดีที่มีชื่อว่า ทสมะ (ที่ ๑๐) เพราะถูกจัดลำดับให้อยู่ในตำแหน่งที่ ๑๐ โดยกำหนดชาติ โคตร และตระกูล
ที่มั่งคั่งเป็นเกณฑ์ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยัง
ไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุ
ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”
ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้น
แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือ
เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า คหบดี
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณา
เห็นดังนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แล ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใด
สิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ๑ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ๒ สิ้นไป ด้วย

เชิงอรรถ :
๑ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย)ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่นเทวดา
และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ
ได้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ชั้นมีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้น
นั้น ๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)
๒ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ หรือกามราคะ และ
พยาบาท หรือปฏิฆะ (องฺ.นวก.๒๓/๖๗/๓๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
ความยินดีเพลิดเพลินในธรรม๑นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น๒ ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ ของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๓ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ...
๓. เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌาน ...
๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุ
นั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้แต่จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้น
ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมา
จากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)
๒ ภพนั้น ในที่นี้หมายถึงพรหมชั้นสุทธาวาส (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖)
๓ ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น แปลจากบาลีว่า “เจตโส เอโกทิภาวํ” คำว่า เอโกทิ เป็นชื่อของสมาธิ ทุติย-
ฌานชื่อว่า เอโกทิภาวะ เพราะทำสมาธิที่ชื่อว่าเอโกทินี้ให้เจริญขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีภาวะที่จิต
เป็นหนึ่งผุดขึ้น” เพราะสมาธิชื่อเอโกทินี้มีแก่จิตเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ ไม่มีแก่ชีวะ (วิ.อ. ๑/๑๑/๑๔๓-๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๕. ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุก
สถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่
มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้เมตตา
เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้น
ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินใน
ธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๖. ภิกษุมีกรุณาจิต ...
๗. ภิกษุมีมุทิตาจิต ...
๘. ภิกษุมีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่
ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้
อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะ
และวิปัสสนานั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยัง
ไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรม
นั้น ๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๙. ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้”
อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้ชัดว่า ‘แม้อากาสา-
นัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรมนั้นแล้ว
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
๑๐. ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” อยู่ ฯลฯ
๑๑. ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงบรรลุอากิญจัญญาย
ตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” อยู่ ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ย่อมรู้
ชัดว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่
ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นตั้งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๖. อัฏฐกนาครสูตร
ในธรรมนั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ จัก
ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็น
ที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครจึงกล่าวว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า เมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ได้รับ
ประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์
ขุมเดียว พึงพบขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน
ข้าพเจ้า จักสามารถทำตนให้ปลอดภัยได้โดยประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูนี้
ประตูใดประตูหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้
บุรุษนั้นสามารถทำตนให้ปลอดภัยได้โดยประตูใดประตูหนึ่ง
ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่อ
อาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านอานนท์ได้อย่างไร”
ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวกรุงเวสาลีและกรุง
ปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้ว อังคาส๑ภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยว
ของฉันอันประณีต ด้วยมือตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละคู่ ให้ท่านพระอานนท์
ครองไตรจีวร และได้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระอานนท์
อัฏฐกนาครสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อังคาส เป็นคำภาษาเขมรที่นำมาใช้เป็นคำกริยาในภาษาไทย หมายถึง ถวายอาหารพระ, เลี้ยงพระ
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
๗. โคปาลสูตร
ว่าด้วยองค์ประกอบของผู้เลี้ยงโค
[๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์
๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้

๑. ไม่รู้รูปโค ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะโค
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง
๙. ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ

๑๑. ไม่บูชาโคผู้๑ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่
สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ไม่สามารถถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยได้
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่รู้รูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง


เชิงอรรถ :
๑ ไม่บูชาโคผู้ หมายถึงไม่ให้อาหารอย่างดี ไม่ประดับด้วยของหอม ไม่คล้องพวงมาลัย ไม่สวมปลอกเงิน
ปลอกทองที่เขาของโคจ่าฝูง และในเวลากลางคืน ก็ไม่ติดไฟแล้วให้นอนใต้เพดานผ้า โคจ่าฝูงเมื่อไม่ได้รับ
การเอาใจใส่เช่นนั้น จึงไม่รักษา ไม่ป้องกันอันตรายให้แก่ฝูงโค (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๗/๓๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
๙. ไม่ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ
๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุไม่รู้รูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ชัดรูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเป็นจริงว่า ‘มหา-
ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๔’ ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้รูป เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘คนพาลมีกรรมเป็น
ลักษณะ บัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ’ ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่กำจัดไข่ขาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด
ไม่ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... รับวิหิงสาวิตกที่
เกิดขึ้น ... รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้
สิ้นสุด ไม่ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ภิกษุไม่กำจัดไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่ปกปิดแผล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วรวบถือ แยกถือ๑ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ทางใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่
สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่
รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุไม่ปกปิดแผล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่สุมไฟ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่แสดงธรรมตามที่ฟังมาแล้ว ตามที่เล่าเรียนมาแล้ว
แก่คนอื่น ๆ โดยพิสดาร ภิกษุไม่สุมไฟ เป็นอย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๙๙ (อุปาลิสูตร) หน้า ๒๓๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
ภิกษุไม่รู้ท่าน้ำ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์๑ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกาตามเวลาสมควร ไม่สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นไม่เปิดเผยธรรมที่
ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้ง่าย และไม่บรรเทาความสงสัยใน
ธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น ภิกษุไม่รู้ท่าน้ำ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ไม่ได้ความปลาบปลื้ม
อิงธรรม ไม่ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วซึ่งผู้
อื่นแสดงอยู่ ภิกษุไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่รู้ทาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้อริยมรรคมีองค์ ๘ ตามความเป็นจริง ภิกษุไม่
รู้ทาง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่ฉลาดในโคจร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง๒ ภิกษุไม่ฉลาด
ในโคจร เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรีดนมไม่ให้เหลือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารที่พวกคหบดีผู้มีศรัทธาปวารณานำไปถวายเฉพาะ ภิกษุ
รีดนมไม่ให้เหลือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุไม่บูชาเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๑ (เสนาสนสูตร) ทสกนิบาต หน้า ๑๘ ในเล่มนี้
๒ ไม่รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้ว่า ‘สติปัฏฐานอย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหน
เป็นโลกุตตระ’ เมื่อไม่รู้ก็จะน้อมญาณของตนเข้าไปในฐานที่ละเอียด แล้วปักใจอยู่ในสติปัฏฐานที่เป็น
โลกิยะเท่านั้น จึงไม่สามารถให้สติปัฏฐานส่วนที่เป็นโลกุตตระเกิดขึ้นได้ (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๗/๓๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตา
มโนกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลังในเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน
เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ภิกษุไม่บูชาเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็น
ผู้บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถ
ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยได้
นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ
ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้

๑. รู้รูปโค ๒. ฉลาดในลักษณะโค
๓. กำจัดไข่ขาง ๔. ปกปิดแผล
๕. สุมไฟ ๖. รู้ท่าน้ำ
๗. รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. รู้ทาง
๙. ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมให้เหลือ

๑๑. บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล จึงเป็นผู้
สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สามารถถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ได้
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. รู้รูป ๒. ฉลาดในลักษณะ
๓. กำจัดไข่ขาง ๔. ปกปิดแผล
๕. สุมไฟ ๖. รู้ท่าน้ำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
๗. รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. รู้ทาง
๙. ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมให้เหลือ
๑๑. บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุรู้รูป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดรูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเป็นจริงว่า ‘มหา-
ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๔’ ภิกษุรู้รูปเป็นอย่างนี้แล
ภิกษุฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ
บัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ’ ภิกษุฉลาดในลักษณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุกำจัดไข่ขาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่รับวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้น ... ไม่รับบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ภิกษุกำจัดไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุปกปิดแผล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมในจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ซึ่ง
เมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุปกปิดแผล เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุสุมไฟ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสดงธรรมตามที่ฟังมาแล้ว ตามที่เล่าเรียนมาแล้วแก่
คนอื่น ๆ โดยพิสดาร ภิกษุสุมไฟ เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๗. โคปาลสูตร
ภิกษุรู้ท่าน้ำ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ผู้เรียนจบคัมภีร์
ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาตามเวลาสมควร สอบสวนไต่ถามว่า “พุทธพจน์นี้
เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านผู้คงแก่เรียนเหล่านั้นย่อม
เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทา
ความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่ภิกษุนั้น ภิกษุรู้ท่าน้ำ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม
ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรมในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วซึ่งผู้อื่นแสดงอยู่
ภิกษุรู้ธรรมที่ดื่มแล้ว เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรู้ทาง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้อริยมรรคมีองค์ ๘ ตามความเป็นจริง ภิกษุรู้ทาง
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุฉลาดในโคจร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ภิกษุฉลาดในโคจร
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุรีดนมให้เหลือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักประมาณเพื่อจะรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารที่พวกคหบดีผู้มีศรัทธาปวารณานำไปถวายเฉพาะ ภิกษุ
รีดนมให้เหลือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโน-
กรรมทั้งต่อหน้าและลับหลังในเหล่าภิกษุผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๘. ปฐมสมาธิสูตร
เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ภิกษุบูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู
เป็นผู้บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้
โคปาลสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๑
[๑๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่
ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูป
ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๙. ทุติยสมาธิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความ
สละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน ภิกษุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ใน
ธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน
ในวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌาน
ว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ปฐมสมาธิสูตรที่ ๘ จบ
๙. ทุติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๒
[๑๙] ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญา
ในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลม
ว่าเป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา
ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระ
องค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๙. ทุติยสมาธิสูตร
เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็น
ธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่
ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรอง
ตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี
สัญญาอย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม
ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตน-
ฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก
นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ทุติยสมาธิสูตรที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๐. ตติยสมาธิสูตร
๑๐. ตติยสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๓
[๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถาม
ท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุ
ดินว่าเป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่า
เป็นธาตุลม ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ใน
วิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่า
เป็นอากิญจัญญายตนฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญา
แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง
ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตาม
ด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายเรียนถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ไม่ต้องสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น เสียง
ที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็น
ธาตุดิน ในน้ำธาตุว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม
ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก
นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ตติยสมาธิสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ว่าด้วยการได้สมาธิของภิกษุ สูตรที่ ๔
[๒๑] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย มีได้หรือหนอ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุ
ดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม ใน
อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตน-
ฌาน ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลก
นี้ว่าเป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑๑. จตุตถสมาธิสูตร
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลเพื่อจะรู้เนื้อ
ความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านสารีบุตร เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบาย
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากท่านสารีบุตรแล้วจัก
ทรงจำไว้”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมีสัญญา”
ภิกษุทั้งหลายเรียนถามว่า “ท่านสารีบุตร มีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่าเป็นธาตุดิน ฯลฯ ไม่ต้องมีสัญญา แม้ในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ
แต่ต้องมีสัญญา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสัญญา
อย่างนี้ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืน
อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
ผู้มีอายุทั้งหลาย มีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยไม่ต้องมีสัญญาในธาตุดินว่า
เป็นธาตุดิน ในธาตุน้ำว่าเป็นธาตุน้ำ ในธาตุไฟว่าเป็นธาตุไฟ ในธาตุลมว่าเป็นธาตุลม
ในอากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน ในวิญญาณัญจายตนฌาน
ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ในอากิญจัญญายตนฌานว่าเป็นอากิญจัญญายตนฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในโลกนี้ว่า
เป็นโลกนี้ ในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้า ไม่ต้องมีสัญญาแม้ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แต่ต้องมี
สัญญา”
จตุตถสมาธิสูตรที่ ๑๑ จบ
อนุสสติวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมหานามสูตร ๒. ทุติยมหานามสูตร
๓. นันทิยสูตร ๔. สุภูติสูตร
๕. เมตตาสูตร ๖. อัฏฐกนาครสูตร
๗. โคปาลสูตร ๘. ปฐมสมาธิสูตร
๙. ทุติยสมาธิสูตร ๑๐. ตติยสมาธิสูตร
๑๑. จตุตถสมาธิสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๓. สามัญญวรรค
๓. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญลักษณะ
[๒๒-๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วย
องค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้

๑. ไม่รู้รูปโค ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะโค
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง
๙. ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ

๑๑. ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโค เป็นจ่าฝูง ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่
สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. ไม่รู้รูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ
๓. ไม่กำจัดไข่ขาง ๔. ไม่ปกปิดแผล
๕. ไม่สุมไฟ ๖. ไม่รู้ท่าน้ำ
๗. ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๘. ไม่รู้ทาง
๙. ไม่ฉลาดในโคจร ๑๐. รีดนมไม่ให้เหลือ

๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็น
สังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับไปในจักษุ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ (๑-๘)
[๓๐ - ๖๙] ... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในโสตะ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในฆานะ
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชิวหา
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในกาย
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในใจ ... (๙-๔๘)
[๗๐-๑๑๗] ... ในรูป ... ในเสียง ... ในกลิ่น ... ในรส ... ในโผฏฐัพพะ ...
ในธรรมารมณ์ ... (๔๙-๙๖)
[๑๑๘-๑๖๕] ... ในจักขุวิญญาณ .... ในโสตวิญญาณ ... ในฆานวิญญาณ ...
ในชิวหาวิญญาณ ... ในกายวิญญาณ ... ในมโนวิญญาณ ... (๙๗-๑๔๔)
[๑๖๖-๒๑๓] ... ในจักขุสัมผัส ... ในโสตสัมผัส ... ในฆานสัมผัส ... ในชิวหา-
สัมผัส ... ในกายสัมผัส ... ในมโนสัมผัส ... (๑๔๕-๑๙๒)
[๒๑๔-๒๖๑] ... ในเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่โสต-
สัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... ในเวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ... (๑๙๓-๒๔๐)
[๒๖๒-๓๐๙] ... ในรูปสัญญา ... ในสัททสัญญา ... ในคันธสัญญา ... ใน
รสสัญญา ... ในโผฏฐัพพสัญญา ... ในธัมมสัญญา ... (๒๔๑-๒๘๘)
[๓๑๐-๓๕๗] ... ในรูปสัญเจตนา ... ในสัททสัญเจตนา ... ในคันธสัญเจตนา ...
ในรสสัญเจตนา ... ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในธัมมสัญเจตนา ... (๒๘๙-๓๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
[๓๕๘-๔๐๕] ... ในรูปตัณหา ... ในสัททตัณหา ... ในคันธตัณหา ... ใน
รสตัณหา ... ในโผฏฐัพพตัณหา ... ในธัมมตัณหา ... (๓๓๗-๓๘๔)
[๔๐๖-๔๕๓] ... ในรูปวิตก ... ในสัททวิตก ... ในคันธวิตก ... ในรสวิตก ... ใน
โผฏฐัพพวิตก ... ในธัมมวิตก ... (๓๘๕-๔๓๒)
[๔๕๔-๕๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับไปในรูปวิจาร
... ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปวิจาร
... ในสัททวิจาร ... ในคันธวิจาร ... ในรสวิจาร ... ในโผฏฐัพพวิจาร ... ใน
ธัมมวิจาร ... (๔๓๓-๔๘๐)
สามัญญวรรค จบ
๔. ราคเปยยาล
[๕๐๒] ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้
สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญ ให้เพิ่มขึ้นได้
องค์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
นายโคบาลในโลกนี้
๑. รู้รูป ฯลฯ ฉันใด
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สามารถ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน
๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน
๕. เมตตาเจโตวิมุตติ ๖. กรุณาเจโตวิมุตติ
๗. มุทิตาเจโตวิมุตติ ๘. อุเบกขาเจโตวิมุตติ
๙. อากาสานัญจายตนฌาน ๑๐. วิญญาณัญจายตนฌาน
๑๑. อากิญจัญญายตนฌาน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (๑)
[๕๐๓-๕๑๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อกำหนด
รู้ราคะ
... เพื่อความสิ้นราคะ
... เพื่อละราคะ
... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ
... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ
... เพื่อความสละราคะ
... เพื่อความสละคืนราคะ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อความสลละคืนราคะ
(๒-๑๐)
[๕๑๒-๖๘๑] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
... เพื่อกำหนดรู้โทสะ
... เพื่อความสิ้นโทสะ
... เพื่อละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๔. ราคเปยยาล
... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ
... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ
... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ
... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ
... เพื่อความสละโทสะ
... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ
(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา
(ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ(ความโอ้อวด)
... ถัมภะ(ความหัวดื้อ ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ
(ความดูหมิ่น) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท )...
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม ๑๑ ประการนี้ เพื่อความสละคืนปมาทะ
(๑๑-๑๗๐)
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค
ราคเปยยาล จบ
อังคุตตรนิกายประกอบด้วยพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร
เอกาทสกนิบาต จบ
อังคุตตรนิกาย จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า :๔๔๙ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น