Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๕-๕ หน้า ๒๖๒ - ๓๒๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อุทาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๕. อุโปสถสูตร
เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง
ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง
ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่
ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงจับแขนเขาฉุดให้ออกไปนอกซุ้มประตู
ใส่กลอนแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัท
บริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
โมฆบุรุษนี้ดื้ออยู่ จนต้องฉุดแขนไล่ออกไป”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ตั้งแต่บัดนี้ไป
เธอทั้งหลายนั้นแลพึงทำอุโบสถ ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเถิด ภิกษุทั้งหลาย เป็นไป
ไม่ได้ที่ตถาคตจะทำอุโบสถ จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์๑
ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที ภิกษุทั้งหลาย การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๔ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๕. อุโปสถสูตร
ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่ง
ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูร
พบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๒. มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง ภิกษุทั้งหลาย การที่มหาสมุทรมี
ปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการ
ที่ ๒ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที
ภิกษุทั้งหลาย ที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพ
ขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๓ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี
ในมหาสมุทร
๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่
มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า
‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย การที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา
ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและ
โคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น นี้เป็นสิ่งที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๔ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้าก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ ภิกษุทั้งหลาย
การที่แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และ
สายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๕ ในมหาสมุทร
ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ภิกษุทั้งหลาย การที่มหาสมุทร
มีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๖ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๕. อุโปสถสูตร
๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย การที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ
แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน
ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๗ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี
ในมหาสมุทร
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลา
ติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ๑ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว
๑๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี ภิกษุทั้งหลาย
การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ
ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว
๑๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี นี้เป็นสิ่งที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
นี้แลที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ๘ ประการที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ๒ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที

เชิงอรรถ :
๑ ชื่อปลาเหล่านี้ปรากฏในเรื่องไตรภูมิว่า ว่ายเวียนอยู่ในมหานทีสีทันดรรอบภูเขาสัตบริภัณฑ์
๒ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๔๘ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๕. อุโปสถสูตร
เหมือนมหาสมุทรที่ต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที ภิกษุทั้งหลาย การที่ธรรมวินัยนี้มีการ
ศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไป
ตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลาย
พบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้
เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือนมหาสมุทรที่มีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง ภิกษุ
ทั้งหลาย การที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ละเมิดสิกขาบทที่เรา
บัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏ ประการที่ ๒ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๓. บุคคลใดทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วย
ราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อม
ประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ เหมือนมหาสมุทร
ไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที ภิกษุ
ทั้งหลาย การที่บุคคลใดทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความ
ประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่า
เป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน
ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
ย่อมประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๕. อุโปสถสูตร
ภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๓ ในธรรมวินัยนี้ที่
ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’
ทั้งสิ้น เหมือนมหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู
มหี ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตนรวม
เรียกว่า ‘มหาสมุทร’ ทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย การที่วรรณะ ๔
เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและ
โคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้น นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๕. แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่ง
ในโลก ที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า
ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ ภิกษุทั้งหลาย การที่แม้หาก
ภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้
นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว ต่างพากัน
ยินดีในธรรมวินัยนี้
๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส เหมือนมหาสมุทรมีรสเดียว คือ
รสเค็ม ภิกษุทั้งหลาย การที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๖ ในธรรม
วินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๕. อุโปสถสูตร
๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด
คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว ภิกษุทั้งหลาย การที่ธรรมวินัยนี้
มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๗ ในธรรมวินัย
นี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
เหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ
ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว
๑๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๒๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๓๐๐ โยชน์ก็มี
มีลำตัว ๔๐๐ โยชน์ก็มี มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี ภิกษุทั้งหลาย
การที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
อรหัตตผล นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๘
ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ
นี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๖. โสณสูตร
พุทธอุทาน
ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว๑ เปิดแล้วไม่รั่ว๒
เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๓
อุโปสถสูตรที่ ๕ จบ
๖. โสณสูตร๔
ว่าด้วยพระโสณเถระ
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหากัจจานะพักอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ
เมืองกุรุรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อโสณะ กุฏิกัณณะเป็นอุปัฏฐาก
ของท่านพระมหากัจจานะ
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อโสณะ กุฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า “การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบถ้วน
ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่
ดีเราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”

เชิงอรรถ :
๑ ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว หมายถึงภิกษุต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ย่อมต้องอาบัติตัวอื่นใหม่อีก และต้องอาบัติมากขึ้น
เรื่อย ๆ ฝนคืออาบัติหรือฝนคือกิเลส ย่อมรั่วรดจิตมากขึ้น (ขุ.อุ.อ. ๔๕/๓๒๗)
๒ เปิดแล้วไม่รั่ว หมายถึงภิกษุต้องอาบัติแล้ว เปิดเผยอาบัติแก่เพื่อนภิกษุแล้วแสดงออกจากอาบัติตาม
ธรรมตามวินัย จึงไม่ต้องอาบัตินั้น (ขุ.อุ.อ. ๔๕/๓๒๗)
๓ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๕/๒๘๔, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕
๔ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๕๗-๒๕๘/๓๒-๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๖. โสณสูตร
ต่อมา เขาเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้น
อยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ
พรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะ
แสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดีเราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ามหากัจจานะโปรดให้กระผมบวช
ด้วยเถิด ขอรับ”
เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวกับเขาดังนี้ว่า “โสณะ
การประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งต้องบริโภคอาหารมื้อเดียว นอนผู้เดียว๑จนตลอดชีพ
ทำได้ยาก แต่เอาเถอะ โสณะ ท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ที่บ้านนั่นแหละ จงหมั่นประพฤติ
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นพรหมจรรย์ที่ต้องบริโภคอาหาร
มื้อเดียว นอนผู้เดียว ตามเวลาที่เหมาะสมเถิด๒” ครั้งนั้น ความคิดที่น้อมไปเพื่อ
บรรพชาของอุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะ ระงับไป
แม้ครั้งที่ ๒ อุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า “การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย
ทางที่ดีเราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต” แล้วเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้น
อยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์

เชิงอรรถ :
๑ นอนผู้เดียว มิได้หมายถึงแต่เพียงอิริยาบถนอนอย่างเดียว แต่หมายถึงอิริยาบถอีก ๓ อิริยาบถด้วย คือ
ยืนผู้เดียว เดินผู้เดียว นั่งผู้เดียว ซึ่งจัดเป็นกายวิเวก (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๗/๓๖๐)
๒ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่อุบาสกจะพึงหมั่นประพฤติ ในส่วนเบื้องต้น คือ ศีล ๕ ที่จะต้องรักษาประจำ
ศีล ๘ ที่พึงรักษาในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และศีล ๑๐ (ถ้าสามารถ) และเจริญสมาธิปัญญา
ตามความเหมาะสมแก่ศีลที่รักษานั้น ๆ (ขุ.อุ.อ.๔๖/๓๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๖. โสณสูตร
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้
มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ขอพระคุณเจ้ามหากัจจานะโปรดให้กระผมบวชด้วยเถิด ขอรับ”
ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเขาดังนี้ว่า “โสณะ การประพฤติพรหมจรรย์
ซึ่งต้องบริโภคอาหารมื้อเดียว นอนผู้เดียวจนตลอดชีพ ทำได้ยาก แต่เอาเถอะ
โสณะ ท่านเป็นคฤหัสถ์ยู่ที่บ้านนั่นแหละ จงหมั่นประพฤติตามคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นพรหมจรรย์ที่ต้องบริโภคอาหารมื้อเดียว นอนผู้เดียว
ตามเวลาที่เหมาะสมเถิด” ครั้งนั้น ความคิดที่น้อมไปเพื่อบรรพชาของอุบาสกโสณะ
กุฏิกัณณะ ระงับไป
แม้ครั้งที่ ๓ อุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า “การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่กระทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
แล้วเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กล่าวกับท่าน
พระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง
อย่างนี้ว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน
ดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว อย่างที่พระมหากัจจานะแสดงธรรมไว้ มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรปลงผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ขอพระคุณเจ้ามหากัจจานะโปรดให้กระผมบวชด้วยเถิด ขอรับ”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัจจานะจึงให้อุบาสกโสณะ กุฏิกัณณะบวช ก็สมัยนั้น
อวันตีทักขิณาบถมีภิกษุน้อย คราวนั้น ท่านพระมหากัจจานะจัดหาภิกษุสงฆ์จาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๖. โสณสูตร
ที่นั้น ๆ ให้ครบองค์ประชุมคือ ๑๐ รูปได้ยากลำบาก เวลาล่วงไปถึง ๓ ปี๑ จึงให้
ท่านโสณะอุปสมบทได้
สมัยนั้น ท่านพระโสณะออกพรรษาแล้ว หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิด
คำนึงอย่างนี้ว่า “เราไม่เคยเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์เลย
เพียงแต่ได้ยินว่า ‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’
ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาต เราจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น”
ครั้งนั้นในเวลาเย็น ท่านพระโสณะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปหาท่านพระมหา-
กัจจานะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
เราไม่เคยเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์เลย เพียงแต่ได้ยินว่า
‘พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงมีพระลักษณะเช่นนี้และเช่นนี้’ ถ้าพระอุปัชฌาย์
อนุญาต กระผมจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น”
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า “ดีละ ดีละ โสณะ ท่านจงไปเข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ท่านจะเห็นพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นผู้น่าเลื่อมใส ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส๒ มีพระอินทรีย์สงบ
มีพระทัยสงบ ทรงบรรลุทมถะและสมถะ๓สูงสุด ทรงฝึกฝนแล้ว คุ้มครองแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเวลาผ่านไป ๓ พรรษา นับจากวันที่บรรพชาเป็นสามเณร (วิ.อ. ๓/๒๕๗/๑๗๐)
๒ น่าเลื่อมใส หมายถึงมีพระรูปกายถึงพร้อมด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระ เพราะประดับด้วยมหาปุริส-
ลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ และพระเกตุมาลามีพระรัศมีแผ่ออกข้างละวา เป็น
ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส หมายถึงทรงถึงพร้อมด้วยกองธรรม เช่น พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔
อสาธารณญาณ ๖ และพุทธธรรมเฉพาะอย่าง ๑๘ ประการ (ดู ที.ปา.อ. ๓/๓๐๕/๑๘๘-๑๘๙) (ขุ.อ.อ.
๑๐/๙๐, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๕๗/๓๖๓)
๓ ทมถะ หมายถึงปัญญาบ้าง ความสงบกายบ้าง สมถะ หมายถึงสมาธิบ้าง ความสงบจิตบ้าง (วิ.อ.
๓/๒๕๗/๑๗๐) อีกนัยหนึ่ง ทมถะ หมายถึงโลกุตตรปัญญาวิมุตติ สมถะ หมายถึงโลกุตตรเจโตวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๖. โสณสูตร
ทรงสำรวมอินทรีย์ ทรงเป็นผู้ประเสริฐ ท่านครั้นเห็นแล้วจงถวายอภิวาทพระ-
ยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จงทูลถามถึงสุขภาพ ความมี
โรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำ
ของเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ พระอุปัชฌาย์ของข้า
พระองค์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า กราบทูล
ถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ”
ท่านพระโสณะรับคำของท่านพระมหากัจจานะแล้ว ชื่นชม ยินดีคำที่ท่าน
พระมหากัจจานะกล่าวแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้ท่านพระมหากัจจานะ ทำประทักษิณแล้ว
จึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร จาริกไปทางกรุงสาวัตถี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ
จนถึงพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี แล้วเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะพระอุปัชฌาย์
ของข้าพระองค์ ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
กราบทูลถามถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ
เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ บิณฑบาตไม่ลำบากหรือ”
ท่านพระโสณะทูลตอบว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เดินทางมาโดยไม่ลำบาก ทั้งบิณฑบาตก็ไม่ลำบาก
พระพุทธเจ้าข้า”
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์
เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุอาคันตุกะรูปนี้” ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิด
ดังนี้ว่า “การที่พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ‘อานนท์ เธอจงจัดเสนาสนะต้อนรับภิกษุ
อาคันตุกะรูปนี้’ สำหรับภิกษุรูปใด มีนัยให้รู้ว่าพระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๖. โสณสูตร
ประทับอยู่ในพระวิหารหลังเดียวกับภิกษุรูปนั้น พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์
จะประทับอยู่ในพระวิหารหลังเดียวกับท่านพระโสณะ” จึงจัดเสนาสนะต้อนรับท่าน
พระโสณะในพระวิหารอันเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงทรงล้างพระบาทแล้ว
เสด็จเข้าพระวิหาร ฝ่ายท่านพระโสณะก็อยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงล้างเท้าแล้วเข้าพระ-
วิหาร พอถึงเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงลุกขึ้นแล้ว ทรงเชื้อเชิญท่านพระ
โสณะว่า “ภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัดเถิด๑”
ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้สวดพระสูตรทั้งหมด ๑๖ สูตร
ในอัฏฐกวรรค๒ โดยทำนองสรภัญญะ
เมื่อท่านพระโสณะสวดทำนองสรภัญญะจบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชื่นชม
อย่างยิ่ง จึงได้ประทานสาธุการว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเล่าเรียนสูตร ๑๖ สูตรใน
อัฏฐกวรรคมาดีแล้ว จำได้แม่นยำดี เปล่งเสียงสวดได้ไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีที่น่า
ตำหนิ บอกความหมายได้ชัดเจน เธอมีพรรษาเท่าไร”
ท่านพระโสณะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์บวชได้ ๑ พรรษา พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เพราะเหตุไร เธอจึงช้าอยู่เล่า”
ท่านพระโสณะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์เห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว
แต่ผู้อยู่ครองเรือนวุ่นวาย มีกิจมาก มีธุระมาก พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงจงกล่าวธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่เล่าเรียนมา (ขุ.อุ.อ.๔๖/๓๓๔)
๒ ดู สุตตนิบาต ข้อ ๗๗๓-๙๘๒ หน้า ๖๘๗-๗๓๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๗. กังขาเรวตสูตร
พุทธอุทาน
อารยชนเห็นโทษในโลก๑
รู้ธรรมที่ไม่มีอุปธิ๒ จึงไม่ยินดีในบาป
เพราะคนบริสุทธิ์ย่อมไม่ยินดีในบาป๓
โสณสูตรที่ ๖ จบ
๗. กังขาเรวตสูตร
ว่าด้วยพระกังขาเรวตเถระ
[๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระกังขาเรวตะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ๔ของตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระกังขาเรวตะผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรงพิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิของตนอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึง สังขารโลก (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๕)
๒ ธรรมที่ไม่มีอุปธิ หมายถึงนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๔๖/๓๓๖)
๓ วิ.ม. (แปล) ๕/๒๕๘/๓๗
๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึงความบริสุทธิ์เพราะข้ามพ้นความสงสัยทั้งหมด (ขุ.อุ.อ. ๔๗/๓๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๘. สังฆเภทสูตร
พุทธอุทาน
ความสงสัยเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีในอัตภาพนี้หรือในอัตภาพอื่น
ที่มีในความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่น
บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดได้๑]
กังขาเรวตสูตรที่ ๗ จบ
๘. สังฆเภทสูตร
ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
[๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ในเวลาเช้า วันอุโบสถ ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์
พระเทวทัตพบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไป
หาแล้วกล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะ
ทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์แล้ว กลับจาก
บิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.ก.๓๗/๓๒๑/๑๖๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๙. สธายมานสูตร
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระองค์กำลัง
เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่าน
อานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรมแยกจากพระผู้มี
พระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเทวทัตจะทำลายสงฆ์
จะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
กรรมดี คนดีทำได้ง่าย
กรรมดี คนชั่วทำได้ยาก
กรรมชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย
กรรมชั่ว พระอริยะทั้งหลายทำได้ยาก๑]
สังฆเภทสูตรที่ ๘ จบ
๙. สธายมานสูตร
ว่าด้วยเด็กหนุ่มกล่าวถากถางผู้อื่น
[๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ สมัยนั้น เด็กหนุ่มจำนวนมากเดินคุยถากถางผู้อื่นในที่ไม่ไกลจากพระผู้มี
พระภาค

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. (แปล) ๗/๓๔๓/๒๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] ๑๐. จูฬปันถกสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กหนุ่มเหล่านั้นเดินคุยถากถางผู้อื่นอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
คนฟั่นเฟือน ยกตนว่าเป็นบัณฑิต
เอาแต่พูด ยื่นปากพูดตามที่ตัวปรารถนา
แต่ไม่ยอมรับรู้เรื่องที่ทะเลาะกันอย่างไร้ยางอาย๑
สธายมานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. จูฬปันถกสูตร
ว่าด้วยพระจูฬปันถกเถระ
[๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระจูฬปันถกนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระจูฬปันถกผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรงดำรงสติไว้เฉพาะหน้าอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ ม.อุ.๑๔/๒๓๗/๒๐๓, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๑/๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๕. โสณเถรวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พุทธอุทาน
ภิกษุมีกายที่ตั้งมั่น มีจิตที่ตั้งมั่น
กำลังยืน เดิน นั่ง หรือนอนก็ตาม ก็ดำรงสตินี้ไว้มั่น
เธอพึงได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย
ครั้นได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว
พึงถึงสถานที่ที่มัจจุราชมองไม่เห็น
จูฬปันถกสูตรที่ ๑๐ จบ
โสณเถรวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปิยตรสูตร ๒. อัปปายุกสูตร
๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร ๔. กุมารกสูตร
๕. อุโปสถสูตร ๖. โสณสูตร
๗. กังขาเรวตสูตร ๘. สังฆเภทสูตร
๙. สธายมานสูตร ๑๐. จูฬปันถกสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร
๖. ชัจจันธวรรค
หมวดว่าด้วยผู้บอดโดยกำเนิด
๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร๑
ว่าด้วยการปลงพระชนมายุสังขาร
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและ
จีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตหลังจากเสวย
พระกระยาหารเสร็จแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงถือ
นิสีทนะ๒ เราจะเข้าไปพักกลางวันที่ปาวาลเจดีย์” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระ-
ดำรัสแล้ว ถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปข้างพระปฤษฎางค์
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
ปูลาดไว้ ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทน-
เจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์
น่ารื่นรมย์ สารันทเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดเจริญทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้
๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๖-๑๖๙/๑๑๒-๑๑๖ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๘๒๒/๓๘๕-๓๘๖, องฺ.อฏฺฐก. (แปล)
๒๓/๗๐/๓๗๒, อภิ.ก. ๓๗/๖๒๔/๓๗๙
๒ นิสีทนะ หมายถึงที่รองนั่งที่ทำด้วยแผ่นหนังสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๓๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัปเพื่อเกื้อแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” ทั้งนี้ เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์
น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันทเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์
อิทธิบาท ๔ ผู้ใดเจริญทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็นที่
ตั้งแล้ว สั่งสมดีแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป หรือเกิน
กว่า ๑ กัป
อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานแล้ว ทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว สั่งสมดีแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ได้ ๑ กัป
หรือเกินกว่า ๑ กัป”
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทำนิมิตที่ชัดแจ้ง ทรงทำโอภาสที่ชัดเจนแม้อย่างนี้
ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่กราบทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคต
โปรดดำรงพระชนมชีพอยู่ตลอดกัปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” ทั้งนี้ เป็นเพราะท่านถูกมารดลใจ
หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
ไปเถิด เธอจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค ทำประทักษิณแล้วนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่งซึ่งไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
ครั้นเมื่อท่านพระอานนท์จากไปไม่นาน มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร
ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด
เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า
‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่เหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของเรายังไม่
เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง
ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาท
ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระสุคต
โปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่เหล่าภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับ
อาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรม
ไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร
เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายได้
แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตโปรด
ปรินิพพานเถิด เวลานี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่เหล่าอุบาสกผู้เป็นสาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่
แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับ
อาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าอุบาสกผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดย
ชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด
ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่เหล่าอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ
ไม่แกล้วกล้า ไม่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับ
อาจารย์ของตนแล้วแต่ก็ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ เหล่าอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับการแนะนำ แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ
ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย
โดยชอบธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด
ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้ เป็นเวลาปรินิพพานพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ‘มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน
ตราบเท่าที่พรหมจรรย์๑นี้ของเรายังไม่เจริญ แพร่หลาย กว้างขวาง รู้กันโดยมาก
เป็นปึกแผ่น กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว๒’ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เวลานี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจริญแพร่หลาย กว้างขวาง รู้กันโดยมาก
เป็นปึกแผ่น กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานเถิด เวลานี้
เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค”
เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีภาคได้ตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป
ท่านจงขวนขวายน้อยเถิด ไม่นานนัก ตถาคตจะปรินิพพาน จากนี้ไปอีก ๓ เดือน
ตถาคตจะปรินิพพาน”
เวลานั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงพระชนมายุสังขาร๓
ณ ปาวาลเจดีย์ ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดิน
ไหวครั้งใหญ่ น่าสะพรึงกลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้อง

เชิงอรรถ :
๑ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงศาสนพรหมจรรย์คือคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นที่รวมลงในไตรสิกขา
ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๗๐/๒๗๖, ขุ.อุ.อ.๕๑/๓๕๐) ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๘ ประกอบ
๒ คำว่า “กระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ดีแล้ว” นี้แปลตามนัย ที.ม.อ. ๒/๑๖๘/๑๕๘, ขุ.อุ.อ.
๕๑/๓๕๐
๓ ปลงพระชนมายุสังขาร หมายถึงตกลงพระทัยที่จะทรงสละอายุสังขาร (ขุ.อุ.อ. ๕๑/๓๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๒. สัตตชฏิลสูตร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคนั้นทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
มุนีละกรรมทั้งที่ชั่งได้ และชั่งไม่ได้
อันเป็นเหตุก่อกำเนิดเป็นเครื่องปรุงแต่งภพได้แล้ว
ยินดีในภายใน มีใจมั่นคง
ทำลายกิเลสที่เกิดในตนได้
เหมือนนักรบทำลายเกราะได้ ฉะนั้น
อายุสังขาโรสสัชชนสูตรที่ ๑ จบ
๒. สัตตชฏิลสูตร๑
ว่าด้วยนักบวชพวกละ ๗ คน
[๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในปุพพารามของนาง
วิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก
จากที่หลีกเร้น ประทับนั่งอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร
สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
และปริพาชก ๗ คนผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไป
ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๒๒/๑๔๑-๑๔๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๒. สัตตชฏิลสูตร
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก
๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว
ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไปไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค จึงเสด็จลุกจากที่
ประทับนั่ง ทรงห่มพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา
ลงที่พื้นดิน ทรงประคองอัญชลีไปทางนักบวชเหล่านั้น แล้วทรงประกาศพระนาม
๓ ครั้งว่า “ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือ
พระราชาปเสนทิโกศล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล”
ลำดับนั้น เมื่อนักบวชเหล่านั้นจากไปไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้นคงเป็น
พระอรหันต์หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกเป็นแน่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ เป็นกามโภคี
ครอบครองเรือนบรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ใช้สอยพระภูษาและเครื่อง
สำอางจากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ทรงยินดีเงินและทอง
ยากที่จะทรงรู้ได้ว่า ‘คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตตมรรค’
มหาบพิตร ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้
ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร ความสะอาด๑ พึงรู้ได้ด้วยการเจรจา๒ และความสะอาดนั้นแล
พึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่
ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่

เชิงอรรถ :
๑ ความสะอาด หมายถึงวาจาสะอาด (ขุ.อุ.อ. ๕๒/๓๕๖)
๒ การเจรจา แปลจากบาลีว่า “สํโวหาเรน” ซึ่งมีความหมายหลายนัยดังนี้ คือ (๑) หมายถึงพาณิชกรรม
(การค้าขาย) (ดู สุตตนิบาต ข้อ ๖๒๐ หน้า ๖๔๘) (๒) หมายถึงเจตนา (ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๓/๒๐๖) หมายถึง
บัญญัติ (ดู อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๑๓๑๓/๓๓๐) หมายถึงการเจรจา (ดู สํ.ส. (แปล) ๑๕/๒๕/๒๙) ในที่นี้หมายถึง
การเจรจา (ขุ.อุ.อ. ๕๒/๓๕๖, สํ.ส.อ. ๑/๑๒๒/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๒. สัตตชฏิลสูตร
มหาบพิตร กำลัง๑ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย และกำลังนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร ปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ดียิ่งนักว่า มหาบพิตร พระองค์เป็น
คฤหัสถ์ เป็นกามโภคี ครอบครองเรือนบรรทมเบียดพระโอรสและพระมเหสี ทรงใช้
สอยพระภูษาและเครื่องสำอางจากแคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
ทรงยินดีเงินและทอง ยากที่จะทรงรู้ได้ว่า ‘คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้
บรรลุอรหัตตมรรค’
มหาบพิตร ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และศีลนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้
ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยเจรจา และความสะอาดนั้นแลพึงรู้ได้โดย
ใช้เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่
ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
มหาบพิตร กำลัง พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย และกำลังนั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้
เวลานาน ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มี
ปัญญาจึงรู้ได้ ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่

เชิงอรรถ :
๑ กำลัง ในที่นี้หมายถึงกำลังคือญาณ ผู้ที่ไม่มีกำลังคือญาณ เมื่อมีภัยเกิดขึ้น ก็ไม่เห็นสิ่งที่ควรยึดเหนี่ยว
และสิ่งที่จะต้องทำ ได้แต่หนีภัยไปอย่างเดียว (ขุ.อุ.อ.๕๒/๓๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๒. สัตตชฏิลสูตร
มหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดยใช้เวลานาน
ไม่พึงรู้ได้โดยใช้เวลาเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจหารู้ได้ไม่ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้
ผู้ไร้ปัญญาหารู้ได้ไม่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้น เป็นคนของข้าพระองค์ เป็นบุรุษสอดแนม
เป็นสายลับเที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันกลับมา ข้าพระองค์จะรู้เรื่องราว
หลังจากที่คนเหล่านั้นสืบมา บัดนี้ คนเหล่านั้นคงจะชำระล้างละอองธุลีนั้นแล้ว
อาบสะอาดดี ลูบไล้ผิวดีแล้ว ตัดผมโกนหนวด นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่ม เพียบพร้อม
ด้วยกามคุณ ๕ บำเรออินทรีย์ทั้งหลายอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
บรรพชิตไม่พึงพยายามในบาปกรรมทั้งปวง
ไม่พึงเป็นคนของผู้อื่น
ไม่พึงอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
และไม่พึงใช้ธรรมเป็นเครื่องค้าขาย๑
สัตตชฏิลสูตรที่ ๒ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ความหมายของพุทธอุทานนี้ คือ บรรพชิตไม่พึงพยายามทำตนดุจราชบุรุษ เช่น รับทำงานเดินข่าว เป็น
บุรุษสอดแนม เป็นต้น ไม่พึงเป็นเสวก(ข้าราชการในราชสำนัก)ด้วยรูปแบบของบรรพชิต ไม่พึงมีผู้อื่นเป็น
ที่พึ่ง แต่พึงมีตนเป็นที่พึ่งของตน และไม่พึงแสดงธรรมเพราะต้องการทรัพย์ (ขุ.อุ.อ. ๕๒/๓๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๓. ปัจจเวกขณสูตร
๓. ปัจจเวกขณสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาอกุศลธรรมและกุศลธรรม
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งพิจารณาบาป
อุกศลธรรมจำนวนมากที่พระองค์ทรงละได้ขาดแล้ว และกุศลธรรมจำนวนมากที่
พระองค์ให้ถึงความเจริญบริบูรณ์แล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบบาปอกุศลธรรมจำนวนมากที่พระองค์
ทรงละได้ขาดแล้ว และกุศลธรรมจำนวนมากที่พระองค์ให้ถึงความเจริญบริบูรณ์แล้ว
จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ในกาลก่อน หมู่กิเลสได้มีแล้ว
แต่ในกาลนั้น หมู่กิเลสไม่มี
ในกาลก่อน ธรรมอันปราศจากโทษไม่มี
แต่ในกาลนั้น ธรรมอันปราศจากโทษได้มีแล้ว
ในอดีต อริยมรรคไม่มี ในอนาคตก็จักไม่มี และในปัจจุบันก็ไม่มี๑
ปัจจเวกขณสูตรที่ ๓ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ความหมายของพุทธอุทานนี้ คือ ก่อนการบรรลุอรหัตตมัคคญาณยังมีกิเลส เช่น ราคะ เป็นต้นเหลืออยู่
และธรรมที่ปราศจากโทษก็ยังไม่เจริญบริบูรณ์ แต่เมื่อบรรลุอรหัตตมัคคญาณแล้ว กิเลสทั้งหลายก็ถูกละ
ได้สิ้นเชิง ธรรมที่ปราศจากโทษก็เจริญบริบูรณ์
อนึ่ง ในอดีตก่อนตรัสรู้ อริยมรรคที่เป็นเหตุละกิเลสยังไม่เกิดแก่พระองค์ แม้ในปัจจุบันและอนาคต
อริยมรรคนั้นก็ไม่เกิดแก่พระองค์เช่นกัน เพราะไม่มีกิเลสที่จะต้องใช้อริยมรรคนั้นเป็นเครื่องละอีกต่อไป (ขุ.อุ.อ.
๕๓/๓๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
ว่าด้วยลัทธิแตกต่างกัน สูตรที่ ๑
[๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก
ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจ
แตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลก๑เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลกไม่เที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลกมี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “โลกไม่มี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “ชีวะ๒
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคต๓เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงอัตตา (ขุ.อุ.อ.๕๔/๓๖๓)
๒ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรืออาตมัน (Soul) (อภิ.ปญฺจ.อ.๑/๑/๑๒๙)
๓ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา(อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. ๑/๖๕/๑๐๘, ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่า
นั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สมณพราหมณ์
และปริพาชกจำนวนมากผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตก
ต่างกัน มีความชอบใจแตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกเที่ยง
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลก
ไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกมี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘โลกไม่มี
ที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่า
นั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด
ไม่มีจักษุ๑ จึงไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม
เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการ
บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม
อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้’

เชิงอรรถ :
๑ จักษุ ในที่นี้หมายถึงปัญญา (ขุ.อุ.อ.๕๔/๓๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้เอง มีพระราชาพระองค์หนึ่ง
รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ‘พ่อหนุ่ม เจ้าจงไป จงบอกให้คนตาบอดทั้งหมด
ในกรุงสาวัตถีมาประชุมร่วมกัน’ บุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พาคนตาบอด
ทั้งหมดในกรุงสาวัตถีเข้าไปเฝ้าพระราชาถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระราชาดังนี้ว่า
‘ขอเดชะ คนตาบอดทั้งหลายในกรุงสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระเจ้าข้า’ พระราชา
ตรัสว่า ‘พ่อหนุ่ม ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงแสดงช้าง๑แก่คนตาบอดทั้งหลายเถิด’ บุรุษนั้น
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลาย คือ แสดงหัวช้างแก่คน
ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงหูช้างแก่คน
ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงงาช้างแก่คน
ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงงวงช้างแก่คน
ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงตัวช้างแก่คน
ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงเท้าช้างแก่คน
ตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้‘แสดงระหว่างขาอ่อนช้าง
แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงหางช้าง
แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ แสดงขนหางช้าง
แก่คนตาบอดพวกหนึ่ง บอกว่า ‘ท่านทั้งหลาย ช้างเป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย
บุรุษนั้นครั้นแสดงช้างแก่คนตาบอดทั้งหลายแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น
ถึงที่ประทับแล้วกราบทูลดังนี้ว่า ‘ขอเดชะ คนตาบอดทั้งหลายเห็นช้างแล้ว๒
พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระราชาพระองค์นั้นได้เสด็จไปหาคนตาบอดเหล่านั้น
ได้ตรัสกับคนตาบอดทั้งหลายดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านเห็นช้างแล้วหรือ’

เชิงอรรถ :
๑ แสดงช้าง หมายถึงนำช้างมาแล้วให้ช้างนอนลงโดยให้คนตาบอดคลำดูแต่ละส่วน (ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๗)
๒ เห็นช้าง ในที่นี้หมายถึงคนตาบอดใช้มือจับต้อง ลูบคลำช้าง เหมือนเห็นด้วยตา (ขุ.อุ.อ. ๕๔/๓๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
คนตาบอดเหล่านั้นกราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นแล้ว พระเจ้าข้า’
พระราชาตรัสว่า ‘ท่านทั้งหลาย พวกท่านกล่าวว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลาย
เห็นช้างแล้ว ช้างเป็นอย่างไร’
คนตาบอดพวกที่คลำหัวช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนหม้อ
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำหูช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนกระด้ง
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำงาช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนตอไม้
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำงวงช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนงอนไถ
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำตัวช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนยุ้งข้าว
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำเท้าช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนเสา
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำระหว่างขาอ่อนช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่าง
เหมือนครก พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำหางช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนสากตำข้าว
พระเจ้าข้า’
คนตาบอดพวกที่คลำขนหางช้างกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ช้างมีรูปร่างเหมือนไม้กวาด
พระเจ้าข้า’
ภิกษุทั้งหลาย คนตาบอดเหล่านั้นต่างกำหมัดทุ่มเถียงกันว่า ‘อย่างนี้คือช้าง
อย่างนี้มิใช่ช้าง ช้างต้องไม่เป็นอย่างนี้ ช้างต้องเป็นอย่างนี้’ ภิกษุทั้งหลาย พระราชา
พระองค์นั้นจึงทรงพอพระทัย ด้วยเหตุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร
ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้ประโยชน์
ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่
มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน
ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่
เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ทราบว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ยึดติดอยู่ในทิฏฐิหรืออุปาทานขันธ์เหล่านี้
จึงกล่าวโต้แย้งวิวาทกัน
เหมือนคนตาบอดที่คลำช้างแต่ละส่วน ฉะนั้น
ปฐมนานาติตถิยสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร
ว่าด้วยลัทธิแตกต่างกัน สูตรที่ ๒
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก
ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจ
แตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก๑เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกไม่เที่ยง๒ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง”
๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า อัตตา และ โลก มีนัยดังนี้คือ นัยที่ ๑ ทั้ง อัตตา และ โลก หมายถึงขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ นัยที่ ๒ อัตตา หมายถึงอหังการวัตถุ คือเหตุให้เกิดมานะว่าเป็นเรา โลก หมายถึง
มมังการวัตถุ คือเหตุให้เกิดตัณหาว่าเป็นของเรา นัยที่ ๓ อัตตา หมายถึงตนเอง โลก หมายถึงผู้อื่น
นัยที่ ๔ อัตตา หมายถึงขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในอุปาทานขันธ์ ๕ โลก หมายถึงสิ่งนอกจากขันธ์ ๕ นัยที่ ๕
อัตตา หมายถึงขันธสันดานที่มีวิญญาณ โลก หมายถึงขันธสันดานที่ไม่มีวิญญาณ คำว่า “อัตตาและ
โลกเที่ยง” นี้ ทรงมุ่งแสดงสัสสตวาทะ ๔ ประการ (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๖๙)
๒ คำว่า “อัตตาและโลกไม่เที่ยง” นี้ ทรงมุ่งแสดงอุจเฉทวาทะ ๗ ประการ (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร
๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็ใช่ ไม่ยั่งยืนก็ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ จะว่ายั่งยืนก็มิใช่ จะว่าไม่ยั่งยืนก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตาและ
โลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่
ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สมณพราหมณ์
และปริพาชกจำนวนมากผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน
มีความ ชอบใจแตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร
๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและ
โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
๑๖. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด
ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม
เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการ
บาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม
อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ทราบว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ยึดติดอยู่ในทิฏฐิหรืออุปาทานขันธ์เหล่านี้
จึงไม่บรรลุนิพพานหรืออริยมรรค
มัวจมอยู่ในระหว่างทางนั่นเอง๑
ทุติยนานาติตถิยสูตร ที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ จมอยู่ระหว่างทาง หมายถึงจมอยู่ในโอฆะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
ว่าด้วยลัทธิแตกต่างกัน สูตรที่ ๓
[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สมณพราหมณ์และปริพาชกจำนวนมาก
ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความชอบใจ
แตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง
อื่นไม่จริง”
๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกเกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็ใช่ ไม่ยั่งยืนก็ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง”
๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกจะว่ายั่งยืนก็มิใช่ จะว่าไม่ยั่งยืนก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง”
๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ และผู้อื่นเป็นตัวการนี้
เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า “อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่น
เป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๒๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส สมณพราหมณ์และ
ปริพาชกจำนวนมากผู้มีลัทธิแตกต่างกัน มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน
มีความชอบใจแตกต่างกัน ยึดถือทิฏฐิแตกต่างกัน อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คือ
๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกจะว่าเที่ยงก็มิใช่ จะว่าไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลก ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๗. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลก ตนเองเป็นตัวการ และผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
๘. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกเกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๙. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๐. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ไม่ยั่งยืน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
๑๑. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็ใช่ ไม่ยั่งยืนก็ใช่ นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’
๑๒. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ จะว่ายั่งยืนก็มิใช่ จะว่าไม่ยังยืนก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๓. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
๑๔. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นเป็นตัวการ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
๑๕. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองเป็นตัวการ และผู้อื่นเป็นตัวการ
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
๑๖. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
และโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นได้เอง ตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ ผู้อื่น
เป็นตัวการก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือ
ปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้
ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนบอด
ไม่มีจักษุ จึงไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม
เมื่อไม่รู้ประโยชน์ ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ไม่รู้ธรรม ไม่รู้สิ่งที่มิใช่ธรรม ก็เกิดการ
บาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า ‘อย่างนี้เป็นธรรม
อย่างนี้มิใช่ธรรม ธรรมต้องไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมต้องเป็นอย่างนี้”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
พุทธอุทาน
หมู่สัตว์นี้ คือพวกที่ถือทิฏฐิว่า เราเป็นตัวการ๑
พวกที่ถือทิฏฐิว่า ผู้อื่นเป็นตัวการ
และสมณพราหมณ์พวกหนึ่งที่ไม่คล้อยตามทิฏฐิทั้งสองนี้๒
ไม่เห็นทิฏฐินั้นว่า ‘เป็นเหมือนลูกศร’
แต่สำหรับผู้ใช้ปัญญาพิจารณาจนรู้แจ้งว่า
ทิฏฐินั้นเป็นเหมือนลูกศร
ย่อมไม่มีทิฏฐิที่ว่า “เราสร้าง”
ย่อมไม่มีทิฏฐิที่ว่า “ผู้อื่นสร้าง”
หมู่สัตว์นี้มีมานะ ถูกมานะร้อยรัด
ถูกมานะผูกพันไว้ ชอบกล่าวถกเถียงกันในเรื่องทิฏฐิ
จึงไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏไปได้
ตติยนานาติตถิยสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เราเป็นตัวการ แปลจากบาลีว่า ‘อหังการ’ ในที่นี้หมายถึงลัทธิสยังการหรือสยังกตา (ลัทธิสยังการหรือ
สยังกตานี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลัทธิอัตตการ) หมายถึงลัทธิที่เชื่อว่าตนเป็นตัวการคือเป็นผู้สร้างอัตตาและ
โลกขึ้นเอง (ขุ.อุ.อ. ๕๖/๓๗๑)
๒ หมายถึงพวกอธิจจสมุปปันนวาท คือลัทธิที่เชื่อว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นได้เอง มิได้อาศัยเหตุอะไร เป็นลัทธิ
ปฏิเสธทั้งลัทธิสยังการ และลัทธิปรังการ(ผู้อื่นเป็นตัวการ) พวกอธิจจสมุปปันนวาทนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
อเหตุกวาท (ขุ.อุ.อ. ๕๕/๓๗๐, ๕๖/๓๗๑-๓๗๒) และดู สํ.นิ. ๑๖/๑๗/๑๙, สํ.นิ.อ. ๒/๑๗/๔๐ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๗. สุภูติสูตร
๗. สุภูติสูตร
ว่าด้วยพระสุภูติเถระ
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสุภูตินั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง เข้าสมาธิ
ที่ไม่มีวิตก๑อยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสุภูติผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตกอยู่ในที่ไม่ไกล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ผู้กำจัดวิตกทั้งหลายได้
กำหนดวิตกทุกอย่างที่เกิดภายในตนได้ด้วยดี
ล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้อง๒ได้ เป็นผู้มีอรูปสัญญา๓
ละโยคะ ๔ ประการ๔ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
ไม่ต้องหวนกลับมาเกิดอีกต่อไป
สุภูติสูตรที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สมาธิที่ไม่มีวิตก ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิที่มีฌานที่ ๔ เป็นพื้นฐาน (ขุ.อุ.อ. ๕๗/๓๗๓)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๑๔๙ ในเล่มนี้
๓ เป็นผู้มีอรูปสัญญา หมายถึงยึดเอานิพพานเป็นอารมณ์ (ขุ.อุ.อ. ๕๗/๓๗๔)
๔ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๓๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๘. คณิกาสูตร
๘. คณิกาสูตร
ว่าด้วยหญิงโสเภณี
[๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีนักเลง ๒ พวกมีจิตปฏิพัทธ์ยินดีใน
หญิงโสเภณีคนหนึ่ง เกิดการบาดหมางกัน ทะเลาะ วิวาทกัน ถึงขั้นชกต่อยกันบ้าง
ใช้ก้อนดินขว้างกันบ้าง ใช้ท่อนไม้ตีกันบ้าง ใช้ศัสตราทำร้ายกันบ้าง นักเลงเหล่านั้น
ถึงแก่ความตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์ปางตายบ้าง
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ-
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในกรุงราชคฤห์
มีนักเลง ๒ พวกมีจิตปฏิพัทธ์ยินดีในหญิงโสเภณีคนหนึ่งเกิดการบาดหมางกัน
ทะเลาะ วิวาทกัน ถึงขั้นชกต่อยกันบ้าง ใช้ก้อนดินขว้างกันบ้าง ใช้ท่อนไม้ตีกันบ้าง
ใช้ศัสตราทำร้ายกันบ้าง นักเลงเหล่านั้นถึงแก่ความตายในที่นั้นบ้าง ได้รับทุกข์
ปางตายบ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว๑ จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว” นี้หมายถึงทรงทราบว่าความกำหนัดติดใจในกามทั้งหลายเป็นมูล
เหตุแห่งความพินาศทั้งหลายทั้งปวง จึงทรงเปล่งอุทานเพื่อแสดงให้เห็นโทษในข้อปฏิบัติที่สุดโต่งทั้ง ๒ ประการ
(คือกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค) และเพื่อแสดงให้เห็นอานิสงส์แห่งข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง
(มัชฌิมาปฏิปทา) (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๑๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๘. คณิกาสูตร
พุทธอุทาน
สิ่งที่บุคคลได้รับอยู่และสิ่งที่บุคคลยังหวังที่จะได้รับต่อไป๑
สิ่งทั้งสองนั้นเจือด้วยธุลีคือราคะเป็นต้นแก่ผู้ทุรนทุรายใฝ่ใจอยากได้รับอยู่
สมณพราหมณ์ผู้มีสิกขาอันเป็นสาระ
คือศีล วัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงอันเป็นสาระ๒
นี้เป็นส่วนสุดที่ ๑
สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า
‘โทษในกามไม่มี’ นี้เป็นส่วนสุดที่ ๒
ส่วนสุดทั้งสองนี้ มีแต่จะเพิ่มตัณหาและอวิชชาให้มากขึ้น
ตัณหาและอวิชชาย่อมก่อให้เกิดความเห็นผิดมากขึ้น
สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่รู้ส่วนสุดทั้งสองนั้น
บางพวกก็จมติดอยู่ บางพวกก็แล่นไป๓
ส่วนพระอริยะทั้งหลายได้รู้แจ้งส่วนสุดทั้งสองนั้น
จึงไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสองนั้น
และเพราะละส่วนสุดทั้งสองนั้นได้
จึงไม่สำคัญตนด้วยตัณหา ทิฏฐิ และมานะ
ย่อมไม่มีวัฏฏะปรากฏ๔
คณิกาสูตรที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สิ่งที่บุคคลได้รับอยู่ มีความหมาย ๒ นัย คือ (๑) หมายถึงกามคุณ ๕ ประการ ที่บุคคลเสวยด้วยความ
ยึดมั่นว่า โทษในกามคุณ ๕ ไม่มี (กามสุขัลลิกานุโยค) (๒) หมายถึงการทำตนให้เดือดร้อนด้วยการ
ประพฤติวัตรอย่างนักบวชเปลือย(อัตตกิลมถานุโยค) สิ่งที่บุคคลยังหวังที่จะได้รับต่อไป มีความหมาย
๒ นัย เช่นเดียวกัน คือ (๑) หมายถึงกามคุณ ๕ ที่บุคคลมุ่งหวังที่จะได้รับด้วยความเชื่อว่าเมื่อได้รับแล้ว
ถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่(กามสุขัลลิกานุโยค) (๒) หมายถึงผลที่จะพึงได้รับในอบาย เพราะการทำกรรมตาม
ความเห็นผิดเป็นเหตุ(อัตตกิลมถานุโยค) (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๕-๓๗๗)
๒ ในที่นี้ ศีล หมายถึงข้อที่บุคคลงดเว้น ไม่ทำ วัตร หมายถึงการประพฤติอย่างลำบาก ชีวิต หมายถึงการ
ดำเนินชีวิตอย่างฝืดเคือง เช่น การเป็นอยู่ด้วยการบริโภคผักเป็นอาหาร พรหมจรรย์ หมายถึงเมถุนวิรัติ
การบำบวง หมายถึงการบนบานเซ่นสรวงบูชา (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๖)
๓ ข้อความตอนนี้มีความหมาย ๓ นัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงบางพวกจมติดอยู่ในกามสุข(กามสุขัลลิกานุโยค)
บางพวกแล่นไป คือ มุ่งประกอบตนให้ลำบาก(อัตตกิลมถานุโยค) นัยที่ ๒ หมายถึงบางพวกติดอยู่ด้วย
อำนาจตัณหา บางพวกแล่นไปในอำนาจทิฏฐิ นัยที่ ๓ หมายถึงบางพวกติดอยู่ในสัสสตทิฏฐิ บางพวกแล่นไป
ในอำนาจอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๘)
๔ วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงกิเลส กรรม วิบาก (ขุ.อุ.อ. ๕๘/๓๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๙. อุปาติธาวันติสูตร
๙. อุปาติธาวันติสูตร
ว่าด้วยแมลงบินเข้าไฟ
[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในความมืดมิดแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคประทับ
นั่งในที่แจ้ง มีประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่
ขณะนั้น แมลงจำนวนมากตกลงรอบ ๆ ที่ประทีปน้ำมันเหล่านั้นถึงความทุกข์
ความพินาศย่อยยับ
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นแมลงจำนวนมากตกลงรอบ ๆ ที่ประทีป
น้ำมันเหล่านั้นถึงความทุกข์ ความพินาศย่อยยับ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งแล่นเลยไป๑
ไม่บรรลุธรรมที่เป็นสาระ๒
ชื่อว่าพอกพูนเครื่องพันธนาการ๓ใหม่ ๆ ยิ่งขึ้น
ยึดมั่นในสิ่งที่ตนได้เห็นแล้วและฟังแล้วอย่างนี้
จึงตกสู่หลุมถ่านเพลิง๔ตลอดไป
เหมือนแมลงตกลงสู่ประทีปน้ำมันฉะนั้น
อุปาติธาวันติสูตรที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ แล่นเลยไป หมายถึงยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเที่ยง งาม เป็นสุข และเป็นอัตตา (ขุ.อุ.อ. ๕๙/๓๘๒)
๒ ธรรมที่เป็นสาระ หมายถึงศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ เป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๕๙/๓๘๒)
๓ เครื่องพันธนาการ หมายถึงตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๕๙/๓๘๒)
๔ หลุมถ่านเพลิง ในที่นี้หมายถึงภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (ขุ.อุ.อ. ๕๙/๓๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] ๑๐. อุปปัชชันติสูตร
๑๐. อุปปัชชันติสูตร
ว่าด้วยแสงหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์
[๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตราบเท่า
ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก แต่พอพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกก็เป็นผู้ที่มหาชน
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่นอบน้อม ไม่ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร บัดนี้ พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เป็น
ผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จริงอย่างนั้น อานนท์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นผู้ที่
มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตราบเท่าที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ
ขึ้นในโลก แต่พอตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกแล้ว อัญเดียรถีย์-
ปริพาชกก็เป็นผู้ที่มหาชนไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่นอบน้อม ไม่ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร บัดนี้ ตถาคตและภิกษุสงฆ์
เป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๖. ชัจจันธวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พุทธอุทาน
หิ่งห้อยนั้นส่องสว่างอยู่ได้ชั่วเวลาดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ก็อับแสงและไม่ส่องสว่างได้เลย
อัญเดียรถีย์ก็เหมือนกัน รุ่งเรืองอยู่ได้
ชั่วเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นในโลก
แต่เมื่อใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก
เมื่อนั้น อัญเดียรถีย์พร้อมทั้งสานุศิษย์ก็อับเฉา
หมดความรุ่งเรืองอีกต่อไป
พวกเขามีความเห็นผิด จึงไม่พ้นจากทุกข์ไปได้
อุปปัชชันติสูตรที่ ๑๐ จบ
ชัจจันธวรรคที่ ๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อายุสังขาโรสสัชชนสูตร ๒. สัตตชฏิลสูตร
๓. ปัจจเวกขณสูตร ๔. ปฐมนานาติตถิยสูตร
๕. ทุติยนานาติตถิยสูตร ๖. ตติยนานาติตถิยสูตร
๗. สุภูติสูตร ๘. คณิกาสูตร
๙. อุปาติธาวันติสูตร ๑๐. อุปปัชชันติสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๑. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร
๗. จูฬวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเล็กน้อย
๑. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ สูตรที่ ๑
[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระ
ลกุณฏกภัททิยะ๑เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ๒ จิตของ
ท่านพระลกุณฏกภัททิยะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น๓
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏก-
ภัททิยะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ
ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ จิตของท่านพระลกุณฏกภัททิยะ
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
๑ เดิมชื่อ ภัททิยะ แต่เพราะท่านมีร่างกายเตี้ย คนจึงเรียกท่านว่า “ลกุณฏกภัททิยะ” นัยว่า ก่อนที่ท่านจะ
ได้ฟังธรรมจากท่านพระสารีบุตรนั้น ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๖)
๒ โดยวิธีต่าง ๆ หมายถึงโดยเหตุมากมายอย่างนี้ คือ ให้พิจารณาเห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา เป็นต้น (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗)
๓ หมายถึงทำให้แจ้งอรหัตตผล (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๒. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร
พุทธอุทาน
บุคคลหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ๑
ไม่หลงเข้าใจว่า นี้เป็นของเรา นี้เป็นตัวเรา
มีจิตหลุดพ้นได้เด็ดขาดอย่างนี้
ชื่อว่าข้ามพ้นโอฆะ๒ ที่ตนยังไม่เคยข้ามได้
ไม่ต้องมีภพใหม่อีก
ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ สูตรที่ ๒
[๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรสำคัญท่านพระ
ลกุณฏกภัททิยะว่าเป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเห็นชัด ชวนใจ
ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ ยิ่งกว่าประมาณ
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรผู้สำคัญท่านพระลกุณฏก-
ภัททิยะว่าเป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเห็นชัด ชวนใจให้

เชิงอรรถ :
๑ ชั้นสูง หมายถึงรูปธาตุ และอรูปธาตุ นี้ว่าโดยหลุดพ้นเบื้องต้น แต่เมื่อว่าโดยหลุดพ้นเบื้องปลายหมายถึง
ละสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการได้ ชั้นต่ำ หมายถึงกามธาตุ นี้ว่าโดยหลุดพ้นเบื้องต้น แต่เมื่อว่าโดยหลุดพ้น
เบื้องปลายหมายถึงละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้ (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗)
๒ โอฆะ หมายถึงห้วงน้ำคือสังสารวัฏมี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา (ขุ.อุ.อ. ๖๑/๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๓. ปฐมสัตตสูตร
อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาโดยวิธีต่าง ๆ ยิ่งกว่าประมาณ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
บุคคลตัดวัฏฏะ๑ได้ จึงบรรลุถึงความไม่หวัง๒
แม่น้ำคือตัณหาที่ถูกอรหัตตมรรคญาณทำให้เหือดแห้งแล้ว
จึงไหลไปอีกไม่ได้
วัฏฏะที่ตัดได้แล้ว ย่อมไม่หมุนวนได้อีก
สภาพนี้แหละคือความสิ้นสุดแห่งทุกข์
ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมสัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่ติดอยู่ในกาม สูตรที่ ๑
[๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในกรุงสาวัตถีโดยมากเป็นผู้ติดใจใน
กามทั้งหลายเกินขอบเขต เป็นผู้ยินดี รักใคร่ เพลิดเพลิน หลงใหล หมกมุ่น มัวเมา
อยู่ในกามทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ วัฏฏะ ในที่นี้หมายถึงกิเลสวัฏ (ขุ.อุ.อ. ๖๒/๓๘๙)
๒ บรรลุถึงความไม่หวัง หมายถึงบรรลุนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๖๒/๓๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๔. ทุติยสัตตสูตร
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส มนุษย์ทั้งหลาย
ในกรุงสาวัตถีโดยมาก เป็นผู้ติดใจในกามทั้งหลายเกินขอบเขต เป็นผู้ยินดี รักใคร่
เพลิดเพลิน หลงใหล หมกมุ่น มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
สัตว์ทั้งหลายติดใจในกาม
ข้องด้วยกิเลสเครื่องข้องในกาม
ไม่เห็นโทษในสังโยชน์ ข้องในกิเลสเครื่องข้องคือสังโยชน์
จะพึงข้ามโอฆะอันกว้างใหญ่ไม่ได้เลย
ปฐมสัตตสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยสัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์ที่ติดอยู่ในกาม สูตรที่ ๒
[๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายในกรุงสาวัตถีโดยมาก
เป็นผู้ติดใจในกามทั้งหลาย เป็นผู้ยินดี รักใคร่ เพลิดเพลิน หลงใหล หมกมุ่น
มืดมน มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้ทอดพระเนตรเห็นมนุษย์ทั้งหลายในกรุง
สาวัตถีโดยมากเป็นผู้ติดใจในกามทั้งหลาย เป็นผู้ยินดี รักใคร่ เพลิดเพลิน หลงใหล
หมกมุ่น มืดมน มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
สัตว์ทั้งหลายมืดมนเพราะกาม
ถูกข่ายรัดรึงไว้แน่น
ถูกเครื่องมุงบังคือตัณหาปกคลุมไว้
ถูกเครื่องผูกคือความประมาทผูกพันไว้ เหมือนปลาในข้อง๑
สัตว์เหล่านั้น จึงไปสู่ความแก่และความตาย
เหมือนลูกโคที่ยังไม่อดนม วิ่งตามแม่โค ฉะนั้น
ทุติยสัตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร
ว่าด้วยพระลกุณฏกภัททิยเถระ อีกสูตรหนึ่ง
[๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระลกุณฏกภัททิยะเดินตามหลัง
ภิกษุทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๒๙๗/๓๘๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระลกุณฏกภัททิยะมีผิวพรรณ
หยาบ ไม่น่าดู มีร่างกายค่อมเตี้ย ถูกภิกษุดูหมิ่น กำลังเดินตามหลังภิกษุทั้งหลาย
มาแต่ไกล จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็น
ภิกษุรูปนั้นผู้มีผิวพรรณหยาบ ไม่น่าดู มีร่างกายค่อมเตี้ย ถูกภิกษุดูหมิ่น กำลัง
เดินตามหลังภิกษุทั้งหลายมาแต่ไกลหรือไม่”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
เพราะเธอเคยเข้าสมาบัติมาแล้วแทบทุกชนิด เธอใช้ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ทำให้
แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
เธอจงดูรถ๒ซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ๓
มีหลังคาขาว๔ มีเพลาเดียว๕ ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก๖
อปรลกุณฏกภัททิยสูตรที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๒๑๒ ในเล่มนี้
๒ รถ หมายถึงร่างกาย (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖)
๓ ส่วนประกอบอันไม่มีโทษ หมายถึงอรหัตตผลศีล (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖)
๔ หลังคาขาว หมายถึงอรหัตตผลวิมุตติ (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖)
๕ เพลาเดียว หมายถึงสติ (สํ.สฬา.(แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐, ขุ.อุ.อ. ๖๕/๓๙๖)
๖ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๔๗/๓๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๖. ตัณหาสังขยสูตร
๖. ตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา
[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง พิจารณาความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอัญญาโกณฑัญญะผู้กำลังนั่ง
คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
พระอริยบุคคลใดไม่มีราก๑ไม่มีพื้นดิน๒ไม่มีเถา๓
จะมีใบ๔แต่ที่ไหน
ใครเล่าควรจะติเตียนพระอริยบุคคลนั้น
ที่เป็นปราชญ์ พ้นจากเครื่องผูกแล้ว
พระอริยบุคคลนั้น แม้เทวดาก็ชื่นชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ
ตัณหาสังขยสูตรที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่มีราก หมายถึงไม่มีอวิชชา (ความไม่รู้) (ขุ.อุ.อ.๖๖/๓๙๗)
๒ ไม่มีพื้นดิน หมายถึงไม่มีอาสวะ(กิเลสที่หมักดองอยู่ในสันดาน) นิวรณ์ (ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี)
และอโยนิโสมนสิการ (การไม่มนสิการโดยแยบคาย) (ขุ.อุ.อ. ๖๖/๓๙๗)
๓ ไม่มีเถา หมายถึงไม่มีมานะ (ถือตัว) และอติมานะ (ดูหมิ่น) (ขุ.อุ.อ.๖๗/๓๙๗)
๔ ใบ หมายถึงมทะ(ความมัวเมา) ปมาทะ(ความประมาท) มายา(มีมารยา) และสาเฐยยะ(ความโอ้อวดหลอกเขา)
(ขุ.อุ.อ. ๖๖/๓๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๘. กัจจานสูตร
๗. ปปัญจักขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า
[๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งพิจารณาถึง
การละส่วนสัญญาอันประกอบด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้า๑ของพระองค์อยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบถึงการละส่วนสัญญาอันประกอบด้วย
กิเลสเครื่องเนิ่นช้าของพระองค์แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้าและการดำรงอยู่ (ในสังสารวัฏ)
ก้าวพ้นที่ต่อ๒และลิ่มสลัก๓ได้แล้ว
ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้นซึ่งไม่มีตัณหา เป็นมุนี เที่ยวไป
ปปัญจักขยสูตรที่ ๗ จบ
๘. กัจจานสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะ
[๖๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
มีกายคตาสติที่ตั้งมั่นภายในตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า หมายถึงราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ (ขุ.อุ.อ. ๖๗/๓๙๙)
๒ ที่ต่อ หมายถึงตัณหาและทิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๖๗/๔๐๐)
๓ ลิ่มสลัก หมายถึงอวิชชา (ขุ.อุ.อ. ๖๗/๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๙. อุทปานสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัจจานะผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง มีกายคตาสติที่ตั้งมั่นภายในตนอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ผู้ใดพึงเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ในกาลทุกเมื่อว่า
“ถ้าในอดีต กรรมกิเลสไม่พึงมีแก่เรา
ในปัจจุบัน อัตภาพนี้ก็ไม่พึงมีแก่เรา
ในอัตภาพนี้ กรรมกิเลสจักไม่มีแก่เรา
ในอนาคต วิปากวัฏก็จักไม่มีแก่เรา”
ผู้นั้นมีปกติอยู่ด้วยอนุปุพพวิหารในกาลทั้ง ๓ นั้น
พึงข้ามพ้นตัณหาที่ชื่อวิสัตติกาได้
โดยเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้นนั่นแล
กัจจานสูตรที่ ๘ จบ
๙. อุทปานสูตร
ว่าด้วยบ่อน้ำ
[๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงถูนคามหมู่บ้านพราหมณ์ในแคว้นมัลละ ชาวถูนคามผู้เป็น
พราหมณ์และคหบดีได้ฟังว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทราบว่าพระสมณโคดม-
ศากยบุตร ผู้เสด็จออกบวชจากศากยตระกูล กำลังเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงถูนคามโดยลำดับ” พวกเขาจึงใช้หญ้าและ
แกลบถมบ่อน้ำจนเต็มถึงปากบ่อด้วยตั้งใจว่า “สมณะโล้นเหล่านั้นอย่าได้น้ำดื่ม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๙. อุทปานสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแวะลงข้างทาง เสด็จเข้าไปยังควงไม้ต้นหนึ่ง
ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ พระผู้มีพระภาค ครั้นประทับนั่งแล้ว รับสั่งเรียก
ท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ เธอจงนำน้ำดื่มจากบ่อน้ำมาเพื่อเรา”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ บ่อน้ำนั้นถูกชาวถูนคามผู้เป็น
พราหมณ์และคหบดีใช้หญ้าและแกลบถมจนเต็มปากบ่อ ด้วยตั้งใจว่า ‘สมณะโล้น
เหล่านั้นอย่าได้น้ำดื่ม พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ เธอจง
นำน้ำดื่มจากบ่อน้ำนั้นมาเพื่อเรา”
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บัดนี้ บ่อน้ำนั้นถูกชาวถูนคามผู้เป็นพราหมณ์และคหบดีใช้หญ้าและแกลบถมจน
เต็มปากบ่อ ด้วยตั้งใจว่า ‘สมณะโล้นเหล่านั้นอย่าได้น้ำดื่ม พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ เธอจง
นำน้ำดื่มจากบ่อน้ำนั้นมาเพื่อเรา”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วถือบาตรเดินไปที่บ่อน้ำนั้น ครั้งนั้น
บ่อน้ำนั้นเมื่อท่านพระอานนท์เดินเข้าไปถึง น้ำก็ล้นขึ้นมา พัดเอาหญ้าและแกลบ
ทั้งหมดนั้นออกไปจากปากบ่อ เหลือแต่น้ำที่ใสสะอาด ไม่ขุ่น เต็มเปี่ยมถึงปากบ่อ
ขังอยู่ดุจไหลออกจากปากบ่อได้เอง
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคต
ทรงเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง บ่อน้ำนี้ เมื่อเราเดินเข้าไปถึงน้ำ
ก็ล้นขึ้นมาพัดเอาหญ้าและแกลบทั้งหมดนั้นออกไปจากปากบ่อ เหลือแต่น้ำที่ใสสะอาด
ไม่ขุ่น เต็มเปี่ยมถึงปากบ่อ ขังอยู่ดุจไหลออกมาจากปากบ่อได้เอง” ครั้นแล้ว ท่านก็
ใช้บาตรตักน้ำนำเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงเป็นผู้มี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บ่อน้ำนี้ เมื่อข้าพระองค์เดิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] ๑๐. อุเทนสูตร
เข้าไปถึง น้ำก็ล้นขึ้นมาพัดเอาหญ้าและแกลบทั้งหมดนั้นออกไปจากปากบ่อ เหลือแต่
น้ำที่ใสสะอาด ไม่ขุ่น เต็มเปี่ยมถึงปากบ่อ ขังอยู่ดุจไหลออกมาจากปากบ่อได้เอง
ขอพระผู้มีพระภาคทรงดื่มน้ำเถิด ขอพระสุคตทรงดื่มน้ำเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ถ้าน้ำมีอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่จำเป็นต้องขุดบ่อน้ำ
พระพุทธเจ้าเช่นเรา ตัดรากตัณหาขาดแล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหา(น้ำหรือปัจจัยอย่างอื่น)
อุทปานสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อุเทนสูตร
ว่าด้วยพระราชวังของพระเจ้าอุเทนถูกเผา
[๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี สมัยนั้น
เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง
๕๐๐ คน มีพระนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ต่างเสียชีวิตทั้งหมด
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี กลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อพระเจ้า
อุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ คน
มีพระนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ต่างเสียชีวิตทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คติของ
อุบาสิกาเหล่านั้นเป็นอย่างไร ภพหน้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๗. จูฬวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาเหล่านั้นที่เป็นโสดาบันก็มีที่
เป็นสกทาคามินีก็มี ที่เป็นอนาคามินีก็มี ภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาเหล่านั้นทั้งหมด
ชื่อว่าไม่ตายเปล่า๑”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
สัตว์โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน
ย่อมปรากฏเหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ
คนพาลมีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน ถูกความมืดหุ้มห่อไว้
ย่อมปรากฏเหมือนยั่งยืนนิรันดร์
แต่ผู้เห็นอยู่ ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
อุเทนสูตรที่ ๑๐ จบ
จูฬวรรคที่ ๗ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมลกุณฏกภัททิยสูตร ๒. ทุติยลกุณฏกภัททิยสูตร
๓. ปฐมสัตตสูตร ๔. ทุติยสัตตสูตร
๕. อปรลกุณฏกภัททิยสูตร ๖. ตัณหาสังขยสูตร
๗. ปปัญจักขยสูตร ๘. กัจจานสูตร
๙. อุทปานสูตร ๑๐. อุเทนสูตร


เชิงอรรถ :
๑ ไม่ตายเปล่า หมายถึงไม่ไร้ผล คือบรรลุสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) (ขุ.อุ.อ. ๗๐/๔๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค] ๑. ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
๘. ปาฏลิคามิยวรรค
หมวดว่าด้วยปาฏลิคาม
๑. ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๑
[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ
แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ๑มีอยู่
(แต่) ในอายตนะนั้นไม่มีปฐวีธาตุ
ไม่มีอาโปธาตุ ไม่มีเตโชธาตุ ไม่มีวาโยธาตุ
ไม่มีอากาสานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ
ไม่มีอากิญจัญญายตนะ ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ทั้งสองนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อายตนะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.อุ.อ. ๗๑/๔๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค] ๒. ทุติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกอายตนะนั้นว่า
มีการมา มีการไป มีการตั้งอยู่ มีการจุติ มีการอุบัติ
อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่มีอารมณ์ยึดเหนี่ยว นี้แลคือที่สุดแห่งทุกข์
ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๒
[๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ
แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก
ชื่อว่านิพพานอันไม่มีตัณหา
นิพพานนั้นเป็นธรรมที่มีอยู่จริง ไม่เห็นได้ง่าย
ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว
กิเลสเครื่องกังวลก็ไม่มีแก่ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
ทุติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค] ๓. ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
๓. ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๓
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ
แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ
ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ
ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จักไม่มี
ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว
ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่ปรากฏ
ไม่ถูกเหตุสร้าง ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่
ฉะนั้น จึงปรากฏภาวะสลัดออกจากธรรมชาติที่เกิดแล้ว
ที่ปรากฏแล้ว ที่ถูกเหตุสร้างแล้ว ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ตติยนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค] ๔. จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
๔. จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกี่ยวกับนิพพาน สูตรที่ ๔
[๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ทำให้มั่น มนสิการ
แล้วน้อมนึกธรรมีกถาทั้งปวงด้วยจิต เงี่ยโสตลงฟังธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย
ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย
เมื่อความหวั่นไหว(จิต)ไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ๑
เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีตัณหา
เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด
เมื่อไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่มีการจุติและการอุบัติ
เมื่อไม่มีการจุติและการอุบัติ ก็ไม่มีโลกนี้ โลกอื่น
และระหว่างโลกทั้งสอง นี้คือที่สุดแห่งทุกข์
จตุตถนิพพานปฏิสังยุตตสูตรที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปัสสัทธิ หมายถึงความเข้าไปสงบกายและจิต (ขุ.ขุ.อ. ๗๔/๔๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค] ๕. จุนทสูตร
๕. จุนทสูตร๑
ว่าด้วยนายจุนทกัมมารบุตร๒
[๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ได้เสด็จไปถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ
สวนอัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร
นายจุนทกัมมารบุตรได้ฟังว่า “ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปใน
แคว้นมัลละพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงเมืองปาวาแล้วประทับอยู่ ณ
สวนอัมพวันของเรา” นายจุนทกัมมารบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนท-
กัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรผู้อัน
พระผู้มีพระภาคตรัสชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี
ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว
ลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นคืนนั้น
ผ่านไป นายจุนทกัมมารบุตรสั่งให้คนจัดของขบฉันอย่างประณีต และสูกรมัททวะ๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๙-๑๙๗/๑๓๗-๑๔๗
๒ บุตรของนายช่างทอง (ขุ.อุ.อ.๗๔/๔๒๖)
๓ สูกรมัททวะ พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ดังนี้ คือ (๑) (สูกรมทฺทวนฺติ สูกรสฺส มุทุสินิทฺธํ ปวตฺตมํสํ)
หมายถึงเนื้อสุกรทั่วไปที่อ่อนนุ่ม (๒) (สูกเรหิ มทฺทิตวํสกฬีโร) หมายถึงหน่อไม้ชนิดหนึ่งที่สุกรแทะดุน
(๓) (สูกเรหิ มทฺทิตปฺปเทเส ชาตํ อหิฉตฺตกํ) หมายถึงเห็ดชนิดหนึ่งที่เกิดในถิ่นที่สุกรแทะดุน (๔) (สูกร-
มทฺทวํ นาม เอกํ รสายตนํ) หมายถึงรสอาหารชนิดหนึ่งชื่อว่า สูกรมัททวะ (ขุ.อุ.อ. ๗๕/๔๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค] ๕. จุนทสูตร
จำนวนเพียงพอไว้ในนิเวศน์ของตน แล้วส่งคนไปให้กราบทูลภัตตกาลว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ ท่านจง
ประเคนเราด้วยสูกรมัททวะที่เตรียมไว้ ประเคนภิกษุสงฆ์ด้วยของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียม
ไว้เถิด” นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ประเคนพระผู้มีพระภาค
ด้วยสูกรมัททวะที่เตรียมไว้ ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า “จุนทะ
ท่านจงฝังสูกรมัททวะที่เหลือในหลุม เรายังไม่เห็นใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะบริโภค
สูกรมัททวะนั้นแล้วพึงถึงการย่อยไปด้วยดี ยกเว้นตถาคต” นายจุนทกัมมารบุตร
ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว นำสูกรมัททวะที่เหลือนั้นไปฝังไว้ในหลุมเสร็จแล้วเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้นายจุนทะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์
เสด็จจากไป
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตรเสร็จแล้ว
ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง มีทุกขเวทนาเกิดจากโรคลงพระบังคนหนัก
เป็นโลหิตจวนเจียนจะปรินิพพาน ได้ยินว่า ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติ-
สัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนานั้นไว้มิได้ทรงพรั่นพรึง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด
อานนท์ เราไปยังกรุงกุสินารากันเถิด” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัส
พระผู้มีพระภาคทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า :๓๒๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น