Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๑ หน้า ๑ - ๕๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยหลักธรรมสำคัญ
มาติกา
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการ
ทรงจำธรรมที่ได้สดับมา)
[๒] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ (ญาณในการ
สำรวมศีล)
[๓] ปัญญาในการสำรวมจิตตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ (ญาณในการ
สำรวมจิตเจริญสมาธิ)
[๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ (ญาณในการกำหนด
ที่ตั้งแห่งธรรม)
[๕] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้ว
กำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดนามธรรมและรูปธรรม)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน
ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับ)
[๗] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่าวิปัสสนา-
ญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความดับ)
[๘] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่าอาทีนวญาณ
(ญาณที่คำนึงเห็นโทษ)
[๙] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขา-
ญาณ (ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร)
[๑๐] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
(ญาณครอบโคตร)
[๑๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก
ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค)
[๑๒] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ (ญาณในอริยผล)
[๑๓] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติ-
ญาณ (ญาณในวิมุตติ)
[๑๔] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ
(ญาณในการพิจารณาทบทวน)
[๑๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตตญาณ
(ญาณในวัตถุต่าง ๆ)
[๑๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ
(ญาณในอารมณ์ต่าง ๆ)
[๑๗] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ (ญาณในจริยาต่างๆ)
[๑๘] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ (ญาณใน
ภูมิต่าง ๆ)
[๑๙] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ (ญาณ
ในธรรมต่าง ๆ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๒๐] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้)
[๒๑] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา)
[๒๒] ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ)
[๒๓] ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว)
[๒๔] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง)
[๒๕] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
อรรถ)
[๒๖] ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[๒๗] ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน
นิรุตติ)
[๒๘] ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉาน
ในปฏิภาณ)
[๒๙] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
วิหารธรรม)
[๓๐] ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง
สมาบัติ)
[๓๑] ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน
สภาวะแห่งวิหารสมาบัติ)
[๓๒] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ (ญาณในสมาธิตามลำดับ)
[๓๓] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า
อรณวิหารญาณ (ญาณในอรณวิหาร)
[๓๔] ปัญญาที่มีความชำนาญ ในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖
และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่า
นิโรธสมาปัตติญาณ (ญาณในนิโรธสมาบัติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๓๕] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ
ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณในปรินิพพาน)
[๓๖] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบและ
ดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)
[๓๗] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียวและเดช ชื่อว่า
สัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา)
[๓๘] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ
(ญาณในการปรารภความเพียร)
[๓๙] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ (ญาณใน
การเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธรรม)
[๔๐] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้งสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด
แห่งทัสสนะ)
[๔๑] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ (ญาณในธรรมที่พอใจ)
[๔๒] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ (ญาณในการหยั่งลงสู่ธรรม)
[๔๓] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ (ญาณในวิหารธรรมส่วน
หนึ่ง)
[๔๔] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ (ญาณในการ
หลีกออกจากอกุศลด้วยสัญญา)
[๔๕] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ
(ญาณในการหลีกออกจากอกุศลด้วยการคิดถึงกุศล)
[๔๖] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออก
จากอกุศลด้วยกุศลที่อธิษฐาน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๔๗] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยความรู้)
[๔๘] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยการสละ)
[๔๙] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้)
[๕๐] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย
อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่
ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
[๕๑] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ (ญาณในความ
หมดจดแห่งโสตธาตุ)
[๕๒] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว
ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓
ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้)
[๕๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ
แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)
[๕๔] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ
แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
[๕๕] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่า
อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ)
[๕๖] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[๕๗] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] มาติกา
[๕๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ)
[๕๙] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค)
[๖๐] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
[๖๑] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์)
[๖๒] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์)
[๖๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
[๖๔] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ)
[๖๕] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
[๖๖] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ)
[๖๗] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ)
[๖๘] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย)
[๖๙] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย)
[๗๐] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์)
[๗๑] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ)
[๗๒] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง)
[๗๓] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น)
ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ประการ ในญาณทั้ง ๗๓ ประการนี้ ญาณ ๖๗
ประการ (เบื้องต้น) เป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ญาณ ๖ ประการ (เบื้องปลาย)
เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก (เฉพาะพระตถาคตเท่านั้น)
มาติกา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
๑. ญาณกถา
ว่าด้วยญาณ
๑. สุตมยญาณนิทเทส
แสดงสุตมยญาณ
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๖)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๗)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๘)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๐)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๑)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๒)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๓)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๔)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๕)
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๑๖)
[๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗๑
ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐๒
[๓] ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง สิ่งทั้งปวงที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ จักขุ (ตา) ควรรู้ยิ่ง รูปควรรู้ยิ่ง จักขุวิญญาณควรรู้ยิ่ง จักขุสัมผัสควรรู้ยิ่ง
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
โสตะ (หู) ควรรู้ยิ่ง สัททะ (เสียง) ฯลฯ
ฆานะ (จมูก) ควรรู้ยิ่ง คันธะ (กลิ่น) ฯลฯ
ชิวหา (ลิ้น) ควรรู้ยิ่ง รส ฯลฯ
กาย ควรรู้ยิ่ง โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ฯลฯ
มโน (ใจ) ควรรู้ยิ่ง ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง มโนวิญญาณควรรู้ยิ่ง มโนสัมผัส
ควรรู้ยิ่ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง เวทนาควรรู้ยิ่ง สัญญาควรรู้ยิ่ง สังขารควรรู้ยิ่ง วิญญาณควรรู้ยิ่ง
จักขุควรรู้ยิ่ง โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... มโน... รูป ... สัททะ ...
คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ นิททสวัตถุ ๗ ได้แก่ (๑) การสมาทานสิกขาบท (๒) ความเอาใจใส่สังเกตธรรม (๓) การกำจัดความริษยา
(๔) ความหลีกเร้น (๕) การปรารภความเพียร (๖) ความมีสติและมีปัญญารักษาตน (๗) การรู้แจ้งทิฏฐิ
(ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๐)
๒ นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
อีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้ง
อารมณ์ทางหู) ... ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ... ชิวหาวิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) ... กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) ...
มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
... ฆานสัมผัส (ความกระทบทางกลิ่น) ... ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น) ...
กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย) ... มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา) ควรรู้ยิ่ง โสตสัมผัสสชา-
เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู) ... ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจาก
สัมผัสทางจมูก) ... ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น) ... กาย-
สัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย) ... มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนา
เกิดจากสัมผัสทางใจ) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง) ...
คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น) ... รสสัญญา (ความหมายรู้รส) ... โผฏฐัพพสัญญา
(ความหมายรู้สัมผัสทางกาย) ... ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง) ...
คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น) ... รสสัญเจตนา (ความจำนงรส) ... โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ) ... ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง
รูปตัณหา (อยากได้รูป) ควรรู้ยิ่ง สัททตัณหา (อยากได้เสียง) ... คันธตัณหา
(อยากได้กลิ่น) ... รสตัณหา (อยากได้รส) ... โผฏฐัพพตัณหา (อยากได้โผฏฐัพพะ) ...
ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
รูปวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับเสียง) ...
คันธวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับรส) ... โผฏฐัพพ-
วิตก (ความตรึกเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิตก (ความตรึกเกี่ยวกับธรรมารมณ์)
ควรรู้ยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
รูปวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรูป) ควรรู้ยิ่ง สัททวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับ
เสียง) ... คันธวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับกลิ่น) ... รสวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับรส) ...
โผฏฐัพพวิจาร (ความตรองเกี่ยวกับโผฏฐัพพะ) ... ธัมมวิจาร (ความตรองเกี่ยว
กับธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
[๔] ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ... เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ...
วาโยธาตุ (ธาตุลม) ... อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง) ... วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน) ควรรู้ยิ่ง อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ) ... เตโชกสิณ
(กสิณคือไฟ) ... วาโยกสิณ (กสิณคือลม) ... นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว) ... ปีตกสิณ
(กสิณคือสีเหลือง) ... โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง) ... โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) ...
อากาสกสิณ (กสิณคือช่องว่าง) ... วิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
ผมควรรู้ยิ่ง ขน ... เล็บ ... ฟัน ... หนัง ... เนื้อ ... เอ็น ... กระดูก ... เยื่อในกระดูก
... ไต๑... หัวใจ ... ตับ ... พังผืด ... ม้าม๒... ปอด ... ไส้ใหญ่ ...ไส้น้อย ... อาหารใหม่
อาหารเก่า ... ดี ... เสลด ... หนอง ... เลือด ... เหงื่อ ... มันข้น ... น้ำตา ... เปลวมัน
... น้ำลาย ... น้ำมูก ... ไขข้อ ... มูตร๓... มันสมองควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ไต แปลจากคำบาลีว่า วกฺก (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน มีสีแดงอ่อน
เหมือนเมล็ดทองหลาง รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็ก ๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผล ที่ติดอยู่ที่ขั้วเดียวกัน
มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจแล้วแยกออกมาห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๓), พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๓๖๒ ให้บทนิยามของคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคน
และสัตว์อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”, Buddhadatta,
A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985,(P. 224) ; และ Phys David, T.W. Pali-English
Dictionary, 1921-1925, (P. 591) ให้ความหมายของคำว่า วกฺก ตรงกัน หมายถึง ไต (Kidney)
๒ ม้าม แปลจากคำบาลีว่า ปิหก (โบราณแปลว่า ไต) มีสีเขียวเหมือนดอกคนทิสอแห้ง รูปร่างคล้ายลิ้นลูก
โคถึกดำ ยาวประมาณ ๗ นิ้ว อยู่ด้านบนติดกับหัวใจข้างซ้ายชิดพื้นท้องด้านบน (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕);
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๖๔๗ ให้บทนิยามของคำว่า “ม้าม” ไว้ว่า
“อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดน้ำเหลืองและ
สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย” Buddhadatta, A.P. A Concise Pali-English Dictionary, 1985, (P.186);
และ Rhys David, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (P.461) ให้ความหมายของคำว่า ปิหก
ตรงกัน หมายถึง ม้าม (spleen)
๓ มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่มีอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ (ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
จักขายตนะ (อายตนะคือตา) ควรรู้ยิ่ง รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ...
โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ... สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ... ฆานายตนะ
(อายตนะคือจมูก) ... คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ... ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
... รสายตนะ (อายตนะคือรส) ... กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ... โผฏฐัพพายตนะ
(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) ... มนายตนะ (อายตนะคือใจ) ... ธัมมายตนะ (อายตนะคือ
ธรรมารมณ์) ควรรู้ยิ่ง
จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์) ... จักขุ-
วิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ) ... โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท) ... สัททธาตุ
(ธาตุคือสัททารมณ์) ... โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ) ... ฆานธาตุ (ธาตุ
คือฆานปสาท) ... คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์) ... ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆาน-
วิญญาณ) ... ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท) ... รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์) ...
ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ) ... กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท) ...
โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์) ... กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
... มโนธาตุ (ธาตุคือมโน) ... ธัมมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์) ... มโนวิญญาณธาตุ
(ธาตุคือมโนวิญญาณ) ควรรู้ยิ่ง
จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท) ควรรู้ยิ่ง โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
... ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท) ... ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท) ...
กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท) ... มนินทรีย์ (อินทรีย์คือใจ) ... ชีวิตินทรีย์
(อินทรีย์คือชีวิต) ... อิตถินทรีย์ (อินทรีย์คืออิตถีภาวะ) ... ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
ปุริสภาวะ) ... สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือสุขเวทนา) ... ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือทุกขเวทนา)
... โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือโสมนัสสเวทนา) ... โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือ
โทมนัสสเวทนา) ... อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขาเวทนา) ... สัทธินทรีย์
(อินทรีย์คือศรัทธา) ... วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) ... สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
... สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ) ... ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ...
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจธรรมที่
ยังมิได้รู้) ... อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง) ... อัญญาตาวินทรีย์
(อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว) ควรรู้ยิ่ง
[๕] กามธาตุ (ธาตุคือกาม) ควรรู้ยิ่ง รูปธาตุ (ธาตุคือรูป) ... อรูปธาตุ (ธาตุ
คืออรูป) ... กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ... รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ... อรูปภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
(ภพที่เป็นอรูปาวจร) ... สัญญาภพ (ภพที่มีสัญญา) ... อสัญญาภพ (ภพที่ไม่มีสัญญา)
... เนวสัญญานาสัญญาภพ (ภพที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ... เอกโวการภพ
(ภพที่มีโวการเดียว๑) ... จตุโวการภพ (ภพที่มี ๔ โวการ๒) ... ปัญจโวการภพ
(ภพที่มี ๕ โวการ๓) ควรรู้ยิ่ง
[๖] ปฐมฌาน ควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... เมตตาเจโต-
วิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจเมตตา) ... กรุณาเจโตวิมุตติ (ความหลุด
พ้นแห่งจิตด้วยอำนาจกรุณา) ... มุทิตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วย
อำนาจพลอยยินดี) ... อุเบกขาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยอำนาจการวาง
ตนเป็นกลาง) ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดอากาศคือช่องว่าง
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดวิญญาณ
หาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติกำหนดภาวะที่ไม่มี
อะไร ๆ เป็นอารมณ์) ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ (สมาบัติเข้าถึงภาวะมี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ควรรู้ยิ่ง
อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ควรรู้ยิ่ง สังขาร (สภาพที่ปรุงแต่ง) ... วิญญาณ
(ความรู้แจ้งอารมณ์) ... นามรูป (รูปและนาม) ... สฬายตนะ (อายตนะ ๖) ... ผัสสะ
(ความกระทบ) ... เวทนา (ความเสวยอารมณ์) ... ตัณหา (ความทะยานอยาก) ...
อุปาทาน (ความยึดถือ) ... ภพ (ภาวะชีวิต) ... ชาติ (ความเกิด) ... ชราและมรณะ
(ความแก่และความตาย) ควรรู้ยิ่ง
[๗] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธ (ความ
ดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย (เหตุให้เกิดรูป) ควรรู้ยิ่ง รูปนิโรธ (ความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง
รูปนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับรูป) ควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า โวการเดียว หมายถึงขันธ์เดียวคือรูปขันธ์ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)
๒ คำว่า ๔ โวการ หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)
๓ คำว่า ๕ โวการ หมายถึงขันธ์ ๕ (ขุ.ป.อ.๑/๕/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย (เหตุให้เกิดชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
ชรามรณนิโรธ (ความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
(ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งรูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา
ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรละแห่งชรา-
มรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ควร
เจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละ
แห่งทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งรูปควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการละแห่ง
รูปสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสัญญา ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งสังขาร ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งวิญญาณ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งจักขุ ฯลฯ
สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้แห่งชราและมรณะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วย
การละแห่งชรามรณสมุทัยควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ
ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่รู้แจ้งด้วยการเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทาควรรู้ยิ่ง
[๘] ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัยควรรู้ยิ่ง ทุกขนิโรธควรรู้ยิ่ง ความดับเหตุเกิด
แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง ความดับฉันทราคะในทุกข์ควรรู้ยิ่ง คุณ๑แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง
โทษ๒แห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... ความดับเหตุให้เกิดรูป ... ความดับ
ฉันทราคะในรูป ... คุณแห่งรูป ... โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ความดับเหตุให้
เกิดชราและมรณะ ... ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ ... คุณแห่งชราและมรณะ
... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่องสลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ คุณ (อัสสาทะ) หมายถึงสภาวะที่อร่อย หรือสภาวะที่สุขกายและสุขใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกามคุณ (องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘)
๒ โทษ (อาทีนวะ) หมายถึงสภาวะที่ไม่อร่อย หรือสภาวะที่ทุกข์กายและทุกข์ใจ ซึ่งมีธรรมเป็นเหตุ (องฺ.จตุกฺก.
อ. ๒/๑๐/๒๘๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๐/๒๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ทุกข์ควรรู้ยิ่ง ทุกขสมุทัย ... ทุกขนิโรธ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่ง
ทุกข์ ... โทษแห่งทุกข์ ... เครื่องสลัดออกจากทุกข์ควรรู้ยิ่ง
รูปควรรู้ยิ่ง รูปสมุทัย ... รูปนิโรธ ... รูปนิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งรูป ...
โทษแห่งรูป ... เครื่องสลัดออกจากรูปควรรู้ยิ่ง
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ
จักขุ ฯลฯ
ชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ชรามรณสมุทัย ... ชรามรณนิโรธ ... ชรามรณ-
นิโรธคามินีปฏิปทา ... คุณแห่งชราและมรณะ ... โทษแห่งชราและมรณะ ... เครื่อง
สลัดออกจากชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[๙] อนิจจานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) ควรรู้ยิ่ง ทุกขานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นทุกข์) ... อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นอนัตตา) ...
นิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) ... วิราคานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ... นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสละคืน) ควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในรูป ... อนัตตานุปัสสนา
ในรูป ... นิพพิทานุปัสสนาในรูป ... วิราคานุปัสสนาในรูป ... นิโรธานุปัสสนาในรูป ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสัญญา ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในสังขาร ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในวิญญาณ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาในจักขุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
อนัตตานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิพพิทานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
วิราคานุปัสสนาในชราและมรณะ ... นิโรธานุปัสสนาในชราและมรณะ ...
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและมรณะควรรู้ยิ่ง
[๑๐] ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความเป็นไป ... นิมิต (เครื่องหมาย) ... กรรม
เป็นเครื่องประมวลมา ... ปฏิสนธิ ... คติ (ภพที่ไปเกิด) ... ความบังเกิด ... ความ
อุบัติ ... ความเกิด ... ความแก่ ... ความเจ็บไข้ ... ความตาย ... ความเศร้าโศก ...
ความรำพัน ... ความคับแค้นใจควรรู้ยิ่ง
ความไม่เกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เป็นไป ... อนิมิต (ความไม่มีเครื่องหมาย) ...
ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... อคติ (ความไม่มีภพ
ที่ไปเกิด) ... ความไม่บังเกิด ... ความไม่อุบัติ ... ความไม่เกิด ... ความไม่แก่ ...
ความไม่เจ็บไข้ ... ความไม่ตาย ... ความไม่เศร้าโศก ... ความไม่รำพัน ... ความไม่คับ
แค้นใจควรรู้ยิ่ง
ความเกิดขึ้นควรรู้ยิ่ง ความไม่เกิดขึ้น ... ความเป็นไป ... ความไม่เป็นไป ...
นิมิต ... อนิมิต ... กรรมเป็นเครื่องประมวลมา ... ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมา
... ปฏิสนธิ ... ความไม่มีปฏิสนธิ ... คติ ... อคติ ... ความบังเกิด ... ความไม่บังเกิด ...
ความอุบัติ ... ความไม่อุบัติ ... ความเกิด ... ความไม่เกิด ... ความแก่ ... ความไม่แก่
... ความเจ็บไข้ ... ความไม่เจ็บไข้ ... ความตาย ... ความไม่ตาย ... ความเศร้าโศก ...
ความไม่เศร้าโศก ... ความรำพัน ... ความไม่รำพัน ... ความคับแค้นใจ ... ความไม่
คับแค้นใจควรรู้ยิ่ง
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์” ... “ความเป็นไปเป็นทุกข์” ... “นิมิต
เป็นทุกข์” ...“กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์” ... “ปฏิสนธิเป็นทุกข์” ...
“คติเป็นทุกข์” ... “ความบังเกิดเป็นทุกข์” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์” ... “ความเกิด
เป็นทุกข์” ... “ความแก่เป็นทุกข์” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์” ... “ความตายเป็น
ทุกข์” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์” ... “ความรำพันเป็นทุกข์” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “อนิมิต
เป็นสุข” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ... “ความไม่มีปฏิสนธิ
เป็นสุข” ... “อคติเป็นสุข” ... “ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความไม่อุบัติเป็นสุข” ...
“ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ...
“ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความไม่รำพันเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข” ... “ความเป็น
ไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข” ... “นิมิตเป็นทุกข์ อนิมิตเป็นสุข” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสุข” ...
“ปฏิสนธิเป็นทุกข์ ความไม่มีปฏิสนธิเป็นสุข” ... “คติเป็นทุกข์ อคติเป็นสุข” ...
“ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข” ... “ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่
อุบัติเป็นสุข” ... “ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข” ... “ความแก่เป็น
ทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข” ... “ความเจ็บไข้เป็นทุกข์ ความไม่เจ็บไข้เป็นสุข” ...
“ความตายเป็นทุกข์ ความไม่ตายเป็นสุข” ... “ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่
เศร้าโศกเป็นสุข” ... “ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย” ... “ความเป็นไปเป็นภัย” ... “นิมิตเป็นภัย”
... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย” ... “ปฏิสนธิเป็นภัย” ... “คติเป็นภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย” ... “ความแก่
เป็นภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย” ... “ความตายเป็นภัย” ... “ความเศร้าโศก
เป็นภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ...
“อนิมิตปลอดภัย” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ... “ความ
ไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “อคติปลอดภัย” ... “ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ...
“ความไม่อุบัติปลอดภัย” ... “ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความไม่แก่ปลอดภัย” ...
“ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย” ... “ความเป็นไป
เป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย” ... “นิมิตเป็นภัย อนิมิตปลอดภัย” ... “กรรม
เป็นเครื่องประมวลมาเป็นภัย ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาปลอดภัย” ...
“ปฏิสนธิเป็นภัย ความไม่มีปฏิสนธิปลอดภัย” ... “คติเป็นภัย อคติปลอดภัย” ...
“ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย” ... “ความอุบัติเป็นภัย ความไม่
อุบัติปลอดภัย” ... “ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย” ... “ความแก่เป็นภัย
ความไม่แก่ปลอดภัย” ... “ความเจ็บไข้เป็นภัย ความไม่เจ็บไข้ปลอดภัย” ... “ความ
ตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย” ... “ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศก
ปลอดภัย” ... “ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอดภัย” ควรรู้ยิ่งว่า “ความ
คับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส๑” ... “ความเป็นไปเป็นอามิส” ... “นิมิต
เป็นอามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส” ... “ความ
เกิดเป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส” ... “ความ
ตายเป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส”...
“อนิมิตไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาไม่เป็นอามิส” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ... “อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่บังเกิดไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความ
ไม่แก่ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่ตายไม่เป็น
อามิส” ... “ความไม่เศร้าโศกไม่เป็นอามิส” ... “ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้
ยิ่งว่า “ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่เป็นอามิส” ... “ความ
เป็นไปเป็นอามิส ความไม่เป็นไปไม่เป็นอามิส” ... “นิมิตเป็นอามิส อนิมิตไม่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ เป็นอามิส ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ไม่พ้นไปจากการเกี่ยวข้องอยู่ในวัฏฏะและโลก (ขุ.ป.อ.๑/๑๐/๑๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
อามิส” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นอามิส ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาไม่เป็นอามิส” ... “ปฏิสนธิเป็นอามิส ความไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นอามิส” ...
“คติเป็นอามิส อคติไม่เป็นอามิส” ... “ความบังเกิดเป็นอามิส ความไม่บังเกิดไม่
เป็นอามิส” ... “ความอุบัติเป็นอามิส ความไม่อุบัติไม่เป็นอามิส” ... “ความเกิด
เป็นอามิส ความไม่เกิดไม่เป็นอามิส” ... “ความแก่เป็นอามิส ความไม่แก่ไม่เป็น
อามิส” ... “ความเจ็บไข้เป็นอามิส ความไม่เจ็บไข้ไม่เป็นอามิส” ... “ความตายเป็น
อามิส ความไม่ตายไม่เป็นอามิส” ... “ความเศร้าโศกเป็นอามิส ความไม่เศร้าโศก
ไม่เป็นอามิส” ... “ความรำพันเป็นอามิส ความไม่รำพันไม่เป็นอามิส” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่เป็นอามิส”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร” ... “ความเป็นไปเป็นสังขาร” ... “นิมิต
เป็นสังขาร” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร” ...
“คติเป็นสังขาร” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร” ...
“ความเกิดเป็นสังขาร” ... “ความแก่เป็นสังขาร” ... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร” ...
“ความตายเป็นสังขาร” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร” ... “ความรำพันเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความคับแค้นใจเป็นสังขาร”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ...
“อนิมิตเป็นนิพพาน” ... “ความไม่มีกรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ... “อคติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่บังเกิดเป็น
นิพพาน” ... “ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความ
ไม่แก่เป็นนิพพาน” ... “ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ...
“ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน” ... “ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ควรรู้ยิ่งว่า “ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน” ... “ความ
เป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน” ... “นิมิตเป็นสังขาร อนิมิตเป็น
นิพพาน” ... “กรรมเป็นเครื่องประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่มีกรรมเป็นเครื่อง
ประมวลมาเป็นนิพพาน” ... “ปฏิสนธิเป็นสังขาร ความไม่มีปฏิสนธิเป็นนิพพาน” ...
“คติเป็นสังขาร อคติเป็นนิพพาน” ... “ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
นิพพาน” ... “ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน” ... “ความเกิดเป็น
สังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน” ... “ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน”
... “ความเจ็บไข้เป็นสังขาร ความไม่เจ็บไข้เป็นนิพพาน” ... “ความตายเป็นสังขาร
ความไม่ตายเป็นนิพพาน” ... “ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็น
นิพพาน” ... “ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน” ควรรู้ยิ่งว่า
“ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน”
ปฐมภาณวาร จบ
[๑๑] สภาวะที่ควรกำหนดควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นบริวาร ... สภาวะที่เต็มรอบ
... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ... สภาวะที่ประคองไว้ ...
สภาวะที่ไม่กระจัดกระจายไป ... สภาวะที่ไม่ขุ่นมัว ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหว ...
สภาวะที่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความปรากฏแห่งจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์ ... สภาวะที่เป็นโคจร ... สภาวะที่ละ ... สภาวะที่สละ ... สภาวะที่ออก ...
สภาวะที่หลีกไป ... สภาวะที่ละเอียด ... สภาวะที่ประณีต ... สภาวะที่หลุดพ้น ...
สภาวะที่ไม่มีอาสวะ ... สภาวะเครื่องข้าม ... สภาวะที่ไม่มีนิมิต ... สภาวะอันไม่มีที่ตั้ง
... สภาวะที่ว่าง ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ... สภาวะที่ไม่ล่วงเลยกัน ...
สภาวะที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่นำออก ... สภาวะที่เป็นเหตุ ... สภาวะที่เห็น ...
สภาวะที่เป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง
[๑๒] สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาเห็นแห่ง
วิปัสสนา ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา ... สภาวะที่ไม่
ล่วงเลยกันแห่งธรรมที่เป็นคู่กัน ... สภาวะที่สมาทานแห่งสิกขา ... สภาวะที่เป็น
โคจรแห่งอารมณ์ ... สภาวะที่ประคองจิตซึ่งย่อท้อ ... สภาวะที่ข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ...
สภาวะที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและความฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ ...
สภาวะที่บรรลุคุณวิเศษ ... สภาวะที่รู้แจ้งอริยมรรคอันยอดเยี่ยม ... สภาวะที่ตรัสรู้
สัจจะ ... สภาวะที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธควรรู้ยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่น้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ ...
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ ... สภาวะที่เห็น
แห่งปัญญินทรีย์ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละควรรู้ยิ่ง สภาวะที่
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านแห่งวิริยพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะความ
ประมาทแห่งสติพละ ... สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะแห่งสมาธิพละ ...
สภาวะที่ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาแห่งปัญญาพละควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึก
ได้) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เลือกเฟ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้คือความเลือกเฟ้นธรรม) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ... สภาวะที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ) ... สภาวะที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็น
องค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) ... สภาวะที่พิจารณาแห่งอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจเป็นกลาง) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่เห็นแห่งสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรึกตรองแห่งสัมมา-
สังกัปปะ (ดำริชอบ) ... สภาวะที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ... สภาวะที่
เป็นสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ... สภาวะที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ... สภาวะ
ที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ (ตั้งจิต
มั่นชอบ) ควรรู้ยิ่ง
[๑๓] สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ ...
สภาวะที่นำออกแห่งโพชฌงค์ ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
สติปัฏฐาน ... สภาวะที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน ... สภาวะที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท ...
สภาวะที่เป็นของแท้แห่งสัจจะ ... สภาวะที่ระงับแห่งมรรค ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง
แห่งผลควรรู้ยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่ตรึกตรองแห่งวิตกควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ตรวจตราแห่งวิจาร ... สภาวะที่
แผ่ไปแห่งปีติ ... สภาวะที่ไหลมาแห่งสุข ... สภาวะที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์
เดียว) แห่งจิต ... สภาวะที่นึก ... สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ชัด ... สภาวะที่จำได้ ...
สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แห่งอภิญญาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่พิจารณาแห่งปริญญา ... สภาวะที่
สละแห่งปหานะ ... สภาวะที่มีรสเป็นอย่างเดียวกันแห่งภาวนา ... สภาวะที่ถูกต้อง
แห่งสัจฉิกิริยา ... สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ... สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย ... สภาวะที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย ... สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่ง
สังขตธรรม ... สภาวะที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมควรรู้ยิ่ง
[๑๔] สภาวะแห่งจิตควรรู้ยิ่ง สภาวะที่ไม่มีระหว่างคั่นแห่งจิต ... สภาวะที่
ออกแห่งจิต ... สภาวะที่หลีกไปแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
ปัจจัยแห่งจิต ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิต ... สภาวะที่เป็นภูมิแห่งจิต ... สภาวะที่เป็น
อารมณ์แห่งจิต ... สภาวะที่เป็นโคจรแห่งจิต ... สภาวะที่เที่ยวไปแห่งจิต ... สภาวะ
ที่ไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำไปแห่งจิต ... สภาวะที่นำออกแห่งจิต ... สภาวะที่สลัด
ออกแห่งจิตควรรู้ยิ่ง
[๑๕] สภาวะที่นึกในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ควรรู้ยิ่ง
สภาวะที่รู้แจ้งในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รู้ชัดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่จำได้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เนื่องในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่แล่นไปในจิต
ที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ผ่องใสในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้ง
มั่นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่หลุดพ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เห็นว่า “นี้ละเอียด” ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้
เป็นดุจญาณในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ทำให้เป็นที่ตั้งในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตั้งขึ้นเนือง ๆ ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
อบรมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ปรารภเสมอดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่กำหนดในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นบริวารในจิตที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เต็มรอบในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ประชุม
ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่อธิษฐานในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ
ที่ปฏิบัติในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เจริญในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะ
ที่ทำให้มากในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่รวมดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่หลุดพ้นด้วยดีในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้๑ ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้ตาม๒ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้
เฉพาะ๓ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม๔ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้ตามในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่ให้
ตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ในจิตที่เป็น
เอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้ตามในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ...
สภาวะที่เป็นไปในฝ่ายตรัสรู้เฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่เป็นไป
ในฝ่ายตรัสรู้พร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์
... สภาวะที่สว่างขึ้นในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเนือง ๆ ในจิตที่
เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่สว่างเฉพาะในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ ... สภาวะที่
สว่างพร้อมในจิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์ควรรู้ยิ่ง
[๑๖] สภาวะที่อริยมรรคให้สว่างควรรู้ยิ่ง สภาวะที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง ...
สภาวะที่อริยมรรคทำให้กิเลสเร่าร้อน ... สภาวะที่อริยมรรคไม่มีมลทิน ... สภาวะที่
อริยมรรคปราศจากมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรคหมดมลทิน ... สภาวะที่อริยมรรค
สงบ ... สภาวะที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ ... สภาวะแห่งวิเวก ... สภาวะที่ดำเนินไป
ในวิเวก ... สภาวะแห่งความคลายกำหนัด ... สภาวะที่ดำเนินไปในความคลาย
กำหนัด ... สภาวะแห่งความดับ ... สภาวะที่ดำเนินไปในความดับ ... สภาวะแห่ง
การสละ ... สภาวะที่ดำเนินไปในการสละ ... สภาวะแห่งความพ้น ... สภาวะที่
ดำเนินไปในความพ้นควรรู้ยิ่ง

เชิงอรรถ :
๑ สภาวะที่ตรัสรู้ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้โสดาปัตติมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๒ สภาวะที่ตรัสรู้ตาม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้สกทาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๓ สภาวะที่ตรัสรู้เฉพาะ ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อนาคามิมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)
๔ สภาวะที่ตรัสรู้พร้อม ในที่นี้หมายถึงตรัสรู้อรหัตตมรรค (ขุ.ป.อ. ๑/๑๕/๑๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งฉันทะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งฉันทะ ...
สภาวะที่น้อมไปแห่งฉันทะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งฉันทะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่ง
ฉันทะ ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ... สภาวะที่เห็นแห่งฉันทะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งวิริยะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิริยะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิริยะ ... สภาวะ
ที่น้อมไปแห่งวิริยะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิริยะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ ...
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ ... สภาวะที่เห็นแห่งวิริยะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เป็นบาทแห่ง
จิตตะ ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งจิตตะ ... สภาวะที่สำเร็จแห่งจิตตะ ... สภาวะที่
น้อมไปแห่งจิตตะ ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งจิตตะ ... สภาวะที่ตั้งมั่นแห่งจิตตะ ...
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิตตะ ... สภาวะที่เห็นแห่งจิตตะควรรู้ยิ่ง
สภาวะแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นบาท
แห่งวิมังสา ... สภาวะที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ... สภาวะที่สำเร็จแห่งวิมังสา ...
สภาวะที่น้อมไปแห่งวิมังสา ... สภาวะที่ประคองไว้แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ตั้งมั่น
แห่งวิมังสา ... สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ... สภาวะที่เห็นแห่งวิมังสาควรรู้ยิ่ง
[๑๗] สภาวะแห่งทุกข์ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ปัจจัย
ปรุงแต่งแห่งทุกข์ ... สภาวะที่ทำให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ... สภาวะที่แปรผันแห่ง
ทุกข์ ... สภาวะแห่งสมุทัย ... สภาวะที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ... สภาวะที่เป็นเหตุ
แห่งสมุทัย ... สภาวะที่เกี่ยวข้องแห่งสมุทัย ... สภาวะที่พัวพันแห่งสมุทัย ... สภาวะ
แห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นเครื่องสลัดออกแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นวิเวกแห่งนิโรธ...
สภาวะที่เป็นอสังขตะแห่งนิโรธ ... สภาวะที่เป็นอมตะแห่งนิโรธ ... สภาวะแห่ง
มรรค ... สภาวะที่นำออกแห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นเหตุแห่งมรรค ... สภาวะที่เห็น
แห่งมรรค ... สภาวะที่เป็นใหญ่แห่งมรรคควรรู้ยิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะที่เป็นของแท้ควรรู้ยิ่ง สภาวะที่เป็นอนัตตา ... สภาวะที่เป็นจริง ...
สภาวะที่รู้แจ้ง ... สภาวะที่รู้ยิ่ง ... สภาวะที่กำหนดรู้ ... สภาวะที่เป็นธรรม ...
สภาวะที่เป็นธาตุ ... สภาวะที่รู้ ... สภาวะที่ทำให้แจ้ง ... สภาวะที่ถูกต้อง ... สภาวะ
ที่ตรัสรู้ควรรู้ยิ่ง
[๑๘] เนกขัมมะ (การออกจากกาม) ควรรู้ยิ่ง อพยาบาท (ความไม่พยาบาท)
... อาโลกสัญญา (ความหมายรู้ในนิมิตแห่งแสงสว่าง) ... อวิกเขปะ (ความไม่ฟุ้งซ่าน)
... ธัมมววัตถาน (ความกำหนดธรรม) ... ญาณ (ความรู้) ... ปามุชชะ (ความปราโมทย์)
ควรรู้ยิ่ง
ปฐมฌานควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ-
จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติควรรู้ยิ่ง
อนิจจานุปัสสนาควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุ-
ปัสสนา ... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ขยานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) ... วยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความ
เสื่อมไป) ... วิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) ... อนิมิตตานุ-
ปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) ... อัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นความไม่มีที่ตั้ง) ... สุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) ...
อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ... ยถาภูต-
ญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) ... อาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณา
เห็นโทษ) ... ปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) ... วิวัฏฏนานุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป) ควรรู้ยิ่ง
[๑๙] โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง โสดาปัตติผลสมาบัติ ... สกทาคามิมรรค ...
สกทาคามิผลสมาบัติ ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผลสมาบัติ ... อรหัตตมรรค ...
อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสมาธินทรีย์
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... ชื่อว่าสติพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้นธรรม ... ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ไป ... ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ ... ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมี
สภาวะตรึกตรอง ... ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ... ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ... ชื่อว่า
สัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ...
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่
หวั่นไหว ... ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ... ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุ ... ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมี
สภาวะดำรงไว้ ... ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ... ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ ... ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ... ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวมควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ... ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
มีสภาวะหลุดพ้น ... ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะสละ ... ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ... ชื่อว่าอนุปปาท-
ญาณ๑ เพราะมีสภาวะสงบระงับควรรู้ยิ่ง
[๒๐] ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลควรรู้ยิ่ง ชื่อว่ามนสิการ เพราะมี
สภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ... ชื่อว่าเวทนา
เพราะมีสภาวะประชุม ... ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ... ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ...
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ... ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรรู้ยิ่ง
ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมี
สภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับ
มานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) (๑)
ทุติยภาณวาร จบ
[๒๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะซึ่งมีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖

เชิงอรรถ :
๑ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอริยผล (ขุ.ป.อ. ๑/๑๙/๑๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗๑
ธรรม ๘ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ จักขุควรกำหนดรู้ รูปควรกำหนดรู้ จักขุวิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุสัมผัสควรกำหนดรู้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
โสตะควรกำหนดรู้ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรกำหนดรู้ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรกำหนดรู้ รส ฯลฯ
กายควรกำหนดรู้ โผฏฐัพพะ ฯลฯ
มโนควรกำหนดรู้ ธรรมารมณ์ ... มโนวิญญาณ ... มโนสัมผัส ... สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรกำหนดรู้
รูปควรกำหนดรู้ เวทนาควรกำหนดรู้ สัญญาควรกำหนดรู้ สังขารควร
กำหนดรู้ วิญญาณควรกำหนดรู้
จักขุควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพานเพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรกำหนดรู้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้

เชิงอรรถ :
๑ วิญญาณฐิติ ๗ ได้แก่ (๑) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า
วินิปาติกะ(เปรต)บางเหล่า (๒) สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวก
พรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (๓) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพ
อาภัสสระ (๔) สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
(๕) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (๖) สัตว์บางพวกผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
(๗) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๑/๑๒๐)
๒ สัตตาวาส ๙ ได้แก่ ข้อ (๑-๔) ตรงกับวิญญาณฐิติ ๔ ข้อต้น, (๕) สัตว์บางพวก ไม่มีสัญญา ไม่เสวย
เวทนา เช่น เหล่าเทพอสัญญีสัตว์, ข้อ (๖-๘) ตรงกับวิญญาณฐิติ ข้อที่ ๕-๗, (๙) สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึง
ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๑/๑๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และ
พิจารณาแล้วอย่างนี้
[๒๒] บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนกขัมมะ ได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้อพยาบาท ได้อพยาบาทแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้
และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาโลกสัญญา ได้อาโลก-
สัญญาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคล
พยายามเพื่อต้องการได้อวิกเขปะ ได้อวิกเขปะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ธัมมววัตถาน
ได้ธัมมววัตถานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ญาณ ได้ญาณแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปามุชชะ
ได้ปามุชชะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฐมฌาน ได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรม
อันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ทุติย-
ฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้จตุตถฌาน ได้จตุตถ-
ฌานแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิจจานุปัสสนา ได้อนิจจานุปัสสนาแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ทุกขานุปัสสนา ได้ทุกขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนัตตานุปัสสนา
ได้อนัตตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิพพิทานุปัสสนา ได้นิพพิทานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้วิราคานุปัสสนา ได้วิราคานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคล
นั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้นิโรธานุปัสสนา
ได้นิโรธานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ได้ปฏินิสสัคคานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้ขยานุปัสสนา ได้ขยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วยานุปัสสนา ได้
วยานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิปริณามานุปัสสนา ได้วิปริณามานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนิมิตตานุปัสสนา ได้อนิมิตตานุปัสสนาแล้ว
ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายาม
เพื่อต้องการได้อัปปณิหิตานุปัสสนา ได้อัปปณิหิตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็น
ธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
สุญญตานุปัสสนา ได้สุญญตานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนด
รู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา
ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
แล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้ยถาภูตญาณ-
ทัสสนะแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อาทีนวานุปัสสนา ได้อาทีนวานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้
ปฏิสังขานุปัสสนา ได้ปฏิสังขานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้วิวัฏฏนานุปัสสนา
ได้วิวัฏฏนานุปัสสนาแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้
บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้โสดาปัตติมรรค ได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรม
นั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อ
ต้องการได้สกทาคามิมรรค ได้สกทาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้น
กำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อนาคามิมรรค
ได้อนาคามิมรรคแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้ว
อย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการได้อรหัตตมรรค ได้อรหัตตมรรคแล้ว ธรรมนั้น
เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลพยายามเพื่อต้องการ
ได้ธรรมใด ๆ ได้ธรรมนั้น ๆ แล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้และพิจารณา
แล้วอย่างนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
กำหนดรู้” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๒)
[๒๓] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรละ” ปัญญารู้ชัด
ธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรละ คือ อัสมิมานะ๑
ธรรม ๒ อย่างที่ควรละ คือ อวิชชา ๑ ภวตัณหา ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรละ คือ โอฆะ ๔

เชิงอรรถ :
๑ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่ามีอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้น (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๕ อย่างที่ควรละ คือ นิวรณ์ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรละ คือ ตัณหา ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรละ คือ อนุสัย ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๘๑
ธรรม ๙ อย่างที่ควรละ คือ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละ คือ มิจฉัตตะ ๑๐๓
[๒๔] ปหานะ ๒ คือ
๑. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
๒. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรคและปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป
ปหานะ ๓ คือ
๑. เนกขัมมปหานะ เป็นเครื่องสลัดออกจากกาม
๒. อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดออกจากรูปฌาน
๓. นิโรธ เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
บุคคลผู้ได้เนกขัมมะย่อมละและสละกามได้ บุคคลผู้ได้อรูปฌานย่อมละและ
สละรูปได้ บุคคลผู้ได้นิโรธย่อมละและสละสังขารได้

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉัตตะ ๘ ได้แก่ (๑) มิจฉาทิฏฐิ (๒) มิจฉาสังกัปปะ (๓) มิจฉาวาจา (๔) มิจฉากัมมันตะ
(๕) มิจฉาอาชีวะ (๖) มิจฉาวายามะ (๗) มิจฉาสติ (๘) มิจฉาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๒๙)
๒ ธรรมที่มีตัณหาเป็นมูล ๙ ได้แก่ (๑) ปริเยสนา (๒) ลาภะ (๓) วินิจฉยะ (๔) ฉันทราคะ
(๕) อัชโฌสานะ (๖) ปริคคหะ (๗) มัจฉริยะ (๘) อารักขกะ (๙) อารักขาธิกรณะ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๐)
๓ มิจฉัตตะ ๑๐ ได้แก่ มิจฉัตตะ ๘ เพิ่มมิจฉาญาณและมิจฉาวิมุตติอีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๓/๑๓๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ปหานะ ๔ คือ
๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าย่อมละ (กิเลสที่ควรละ) ได้
ปหานะ ๕ คือ
๑. วิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการข่มไว้)
๒. ตทังคปหานะ (การละด้วยองค์นั้น ๆ)
๓. สมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด)
๔. ปฏิปัสสัทธิปหานะ (การละด้วยสงบระงับ)
๕. นิสสรณปหานะ (การละด้วยสลัดออกได้)
การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฏฐิ-
สังโยชน์ด้วยองค์นั้น ๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิซึ่งเป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
สมุจเฉทปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะซึ่งเป็นโลกุตตรผล
ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะ
เป็นนิโรธ คือพระนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ สิ่งทั้งปวงที่ควรละ คืออะไร
คือ จักขุควรละ รูปควรละ จักขุวิญญาณควรละ จักขุสัมผัสควรละ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรละ
โสตะควรละ สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรละ คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรละ รส ฯลฯ
กายควรละ โผฏฐัพพะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรละ ธรรมารมณ์ควรละ มโนวิญญาณควรละ มโนสัมผัสควรละ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ควรละ
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ
เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ(โดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น) ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็น
ชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมละ(กิเลสที่ควรละ)ได้ ธรรมใด ๆ ที่ละได้แล้ว ธรรรมนั้น ๆ เป็น
อันละได้แล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรละ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓)
ตติยภาณวาร จบ
[๒๕] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ” ปัญญารู้
ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรเจริญ คือ กายคตาสติที่ประกอบด้วยความสำราญ
ธรรม ๒ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕๑
ธรรม ๖ อย่างที่ควรเจริญ คือ อนุสสติฏฐาน (อนุสสติที่เป็นเหตุ) ๖

เชิงอรรถ :
๑ สัมมาสมาธิอันมีองค์ ๕ ได้แก่ ความแผ่ซ่านแห่งปีติ, ความแผ่ซ่านแห่งสุข, ความแผ่ซ่านแห่งจิต, ความ
แผ่ซ่านแห่งแสงสว่าง, นิมิตคือการพิจารณา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ธรรม ๗ อย่างที่ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรเจริญ คือ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙๑
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐
[๒๖] ภาวนา ๒ อย่าง คือ
๑. โลกิยภาวนา
๒. โลกุตตรภาวนา
ภาวนา ๓ อย่าง คือ
๑. การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศล
๒. การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศล
๓. การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศล
การเจริญธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลอย่างหยาบก็มี ปานกลางก็มี ประณีตก็มี
การเจริญธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศลประณีตอย่างเดียว
[๒๗] ภาวนา ๔ อย่าง คือ
๑. เมื่อรู้แจ้งทุกขสัจด้วยการกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ
๒. เมื่อรู้แจ้งสมุทยสัจด้วยการละ ชื่อว่าเจริญ
๓. เมื่อรู้แจ้งนิโรธสัจด้วยการทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ
๔. เมื่อรู้แจ้งมัคคสัจด้วยการเจริญ ชื่อว่าเจริญ
เหล่านี้ ชื่อว่าภาวนา ๔

เชิงอรรถ :
๑ ปาริสุทธิปธานิยังคะ ๙ ได้แก่ (๑) สีลวิสุทธิ (๒) จิตตวิสุทธิ (๓) ทิฏฐิวิสุทธิ (๔) กังขาวิตรณวิสุทธิ
(๕) มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (๖) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (๗) ญาณทัสสนวิสุทธิ (๘) ปัญญาวิสุทธิ
(๙) วิมุตติวิสุทธิ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ภาวนาแม้อีก ๔ อย่าง คือ
๑. เอสนาภาวนา
๒. ปฏิลาภภาวนา
๓. เอกรสาภาวนา
๔. อาเสวนาภาวนา
เอสนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในส่วนเบื้องต้น
นั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา
ปฏิลาภภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรมทั้งหลายที่เกิดในอัปปนานั้น
ไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา
เอกรสาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ อินทรีย์อีก
๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสตินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น อินทรีย์อีก ๔ อย่างก็มี
รสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมี
ความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์อีก ๔
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มี
ศรัทธา พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจแห่งสัทธาพละ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา
พละอีก ๔ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัญญาพละ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าพละทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น โพชฌงค์อีก ๖
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้น โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ซ่าน โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปีติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ โพชฌงค์อีก
๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณา โพชฌงค์
อีก ๖ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น องค์มรรคอีก ๗ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสังกัปปะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวาจา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมากัมมันตะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาอาชีวะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ องค์มรรค
อีก ๗ อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาวายามะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น องค์มรรคอีก ๗ อย่าง
ก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗
อย่างก็มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วยอำนาจแห่งสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าองค์มรรคทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้จึงชื่อว่า
เอกรสาภาวนา
อาเสวนาภาวนา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสมาธิในเวลาเช้าก็ได้ กลางวันก็ได้ เย็นก็ได้ ก่อน
อาหารก็ได้ หลังอาหารก็ได้ ปฐมยามก็ได้ มัชฌิมยามก็ได้ ปัจฉิมยามก็ได้ ตลอดคืน
ก็ได้ ตลอดวันก็ได้ ตลอดคืนและวันก็ได้ ตลอดข้างขึ้นและข้างแรมก็ได้ ตลอดฤดูฝน
ก็ได้ ฤดูหนาวก็ได้ ฤดูร้อนก็ได้ ตลอดปฐมวัยก็ได้ มัชฌิมวัยก็ได้ ปัจฉิมวัยก็ได้
ภาวนานี้จึงชื่อว่าอาเสวนาภาวนา
ภาวนา ๔ อย่างเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๒๘] อีกประการหนึ่ง ภาวนา ๔ อย่าง คือ
๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น
ไม่ล่วงเลยกัน
๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน
๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม
นั้นเข้าไป
๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละพยาบาท (ความคิดร้าย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละถีนมิทธะ (ความหดหู่) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอาโลกสัญญา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอวิกเขปะ
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ธัมมววัตถาน ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งญาณ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอรติ (ความไม่ยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปามุชชะ ย่อม
ไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปีติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน ...
เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งจตุตถฌาน ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละรูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) ปฏิฆสัญญา (ความหมาย
รู้ความกระทบกระทั่งในใจ) นานัตตสัญญา (ความหมายรู้ภาวะต่างกัน) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่
ล่วงเลยกัน
เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้อากาสานัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา (ความหมายรู้วิญญาณัญจายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา (ความหมายรู้อากิญจัญญายตนะ) ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงเลยกัน
และกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิด
ในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อพระโยคาวจรละนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอนิจจานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละสุขสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นสุข) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ทุกขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าอัตตา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งอนัตตานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนันทิ (ความยินดี) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิพพิทานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละราคะ (ความกำหนัด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิราคานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสมุทัย (เหตุเกิด) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งนิโรธานุปัสสนา
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอาทานะ (ความยึดถือ) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละฆนสัญญา (ความหมายรู้ว่าเป็นก้อน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งขยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอายุหนะ (กรรมเป็นเครื่องประมวลมา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจ
แห่งวยานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละธุวสัญญา (ความหมายรู้ว่ามั่นคง) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
วิปริณามานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละนิมิต (เครื่องหมาย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละปณิธิ (ความตั้งมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่น) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสุญญตานุ-
ปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าเป็นแก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะความหลง) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิด
ด้วยอำนาจแห่งอาทีนวานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละอัปปฏิสังขา (การไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่ง
ปฏิสังขานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ) ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดด้วยอำนาจแห่งวิวัฏฏนานุปัสสนา ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วง
เลยกัน
เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งโสดา-
ปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสอย่างละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอนาคามิมรรค
ย่อมไม่ล่วงเลยกันและกัน ...
เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค ย่อมไม่
ล่วงเลยกันและกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเลยกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกันด้วย
อำนาจแห่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์
ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง อินทรีย์ ๕ มีรสเป็นอย่าง
เดียวกันด้วยอำนาจแห่งอรหัตตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียร
ที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป เมื่อละพยาบาทย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทเข้าไป ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความ
เพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
อย่างนี้
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งเนกขัมมะ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เมื่อละพยาบาท ย่อม
ปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
ปฏิบัติเนือง ๆ ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอรหัตตมรรค
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ อย่างนี้
ภาวนา ๔ ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าเจริญอยู่ เมื่อเห็นเวทนา
ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ เมื่อเห็น
จักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญอยู่ ธรรมใด ๆ ที่ได้เจริญแล้ว ธรรมนั้น ๆ มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๔)
จตุตถภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๒๙] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ
ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑
ธรรม ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕๑
ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ขีณาสวพละ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙๒
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อเสขธรรม ๑๐๓
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง สิ่งทั้งปวงที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ จักขุควรทำให้แจ้ง รูปควรทำให้แจ้ง จักขุวิญญาณควรทำให้แจ้ง จักขุ-
สัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
โสตะควรทำให้แจ้ง สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรทำให้แจ้ง คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรทำให้แจ้ง รส ฯลฯ
กายควรทำให้แจ้ง โผฏฐัพพะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) สีลขันธ์ (๒) สมาธิขันธ์ (๓) ปัญญาขันธ์ (๔) วิมุตติขันธ์ (๕) วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๗)
๒ อนุปุพพนิโรธ ๙ ได้แก่ (๑) กามสัญญา (๒) วิตกวิจาร (๓) ปีติ (๔) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ (๕) รูปสัญญา
(๖) อากาสานัญจายตนสัญญา (๗) วิญญานัญจายตนสัญญา (๘) อากิญจัญญายตนสัญญา (๙) สัญญาและ
เวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๙)
๓ อเสขธรรม ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ
(๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณ (๑๐) สัมมาวิมุตติ
(ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
มโนควรทำให้แจ้ง ธรรมารมณ์ควรทำให้แจ้ง มโนวิญญาณควรทำให้แจ้ง
มโนสัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ
เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์)
ธรรมใด ๆ ที่ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้น ๆ เป็นธรรมที่ถูกต้องแล้ว
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร
ทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕)
[๓๐] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ธรรม
เหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน มีสัญญา (ความหมายรู้) และมนสิการ (การ
ทำไว้ในใจ) ที่ประกอบด้วยกามเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติ๑ที่เป็น
ธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)(และ)วิราคะ(ความคลายกำหนัด)
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรม

เชิงอรรถ :
๑ สติ ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ความติดใจ) (ขุ.ป.อ.๑/๓๐/๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
นี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)
วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้ตติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยปีติและสุข
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ตติยฌานนั้น
ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยอทุกขมสุขเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่
ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา
เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้น
ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วย
อากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการ
ที่ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยรูปเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่
อากาสานัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ
มนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยอากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็น
ธรรมสมควรแก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่
มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
พระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ
ด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรม
สมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
และมนสิการที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน
แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น
ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่ง
ความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ
ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ (๔-๙)
[๓๑] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า
สุตมยญาณ เป็นอย่างไร
คือ การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “รูปไม่เที่ยง เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีแก่นสาร” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ” การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ชราและมรณะไม่เที่ยง
เพราะมีสภาวะสิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะมีสภาวะเป็นภัย เป็นอนัตตา เพราะมีสภาวะ
ไม่มีแก่นสาร” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น
ชื่อว่าสุตมยญาณ (๓-๑๒)
[๓๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้
สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
[๓๓] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์๑อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นอย่างไร
คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิด
เฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่า ชาติ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชรา เป็นอย่างไร
คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนัง
เหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า
สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น มรณะ เป็นอย่างไร
คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าว
คือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความเศร้าโศก ของผู้
ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ๒กระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ

เชิงอรรถ :
๑ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงสัตว์และสังขาร (ขุ.ป.อ.๑/๓๒/๑๖๐)
๒ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ขุ.ป.อ. ๑/๓๓/๑๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ปริเทวะ เป็นอย่างไร
คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่
ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน
กิริยาที่พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากกายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิด
จากกายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น โทมนัส เป็นอย่างไร
คือ ความไม่สำราญ ความไม่สำราญใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญ เป็นทุกข์ อันเกิดจากเจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ เป็น
ทุกข์ อันเกิดจากเจโตสัมผัส นี้เรียกว่า ความทุกข์ใจ
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น อุปายาส เป็นอย่างไร
คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่เคือง ภาวะที่คับแค้น
ภาวะที่แค้นเคือง ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อม
เกี่ยวกับโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความ
เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า
อุปายาส
บรรดาทุกขอริยสัจนั้น การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่
เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น