Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๘ หน้า ๓๕๖ - ๔๐๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ (ญาณคือ
การพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้นจากสุขสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญา-
วิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
อัตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจากนันทิสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากราคสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณ (ญาณ
คือการพิจารณาเห็นความดับ) พ้นจากสมุทยสัญญา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา-
ญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน) พ้นจากอาทานสัญญา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่
มีนิมิต) พ้นจากนิมิตตสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ อัปปณิหิตา-
นุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากปณิธิสัญญา เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ (ญาณคือการพิจารณาเห็น
ความว่าง) พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญา-
วิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วย
อำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอภินิเวส เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐
เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา พ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัญญาวิโมกข์ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
นิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสัญญาวิโมกข์ (๖๔)
[๒๑๕] ญาณวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ทุกขานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์) พ้น
จากความไม่รู้คือความหลงว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ อนัตตานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ นิพพิทานุ-
ปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) พ้นจาก
ความไม่รู้คือความหลงว่านันทิ(ความยินดี) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
วิราคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าราคะ(ความกำหนัด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณ-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความดับ)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าสมุทัย(เหตุเกิด) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็นความสละคืน)
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส(ความยึดมั่น) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีนิมิต) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่านิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ญาณวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณาเห็น
ความไม่มีที่ตั้ง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าปณิธิ(ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณ (ยถาภูตญาณคือการพิจารณา
เห็นความว่าง) พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอาทานะ(ความยึดถือ) เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐
เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในรูป
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ
พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตานุปัสสนายถาภูตญาณในชราและมรณะ พ้นจากความไม่รู้คือความหลงว่า
อาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐
ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็น
อย่างนี้ นี้ชื่อว่าญาณวิโมกข์ (๖๕)
[๒๑๖] สีติสิยาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจาก
ความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอัตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่าง
ยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะ
นันทิ วิราคานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน
ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยา-
วิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะสมุทัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาเป็นญาณมีความเย็นใจ
อย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวาย
เพราะนิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาเป็นญาณมี
ความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความ
กระวนกระวายเพราะปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนา
เป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และ
ความกระวนกระวายเพราะอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาในรูป เป็นญาณมีความเย็นใจอย่างยอดเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวายเพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ
ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะ เป็นญาณมีความเย็นใจอย่าง
ยอดเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน และความกระวนกระวาย
เพราะเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยา-
วิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้ นี้ชื่อว่าสีติสิยา-
วิโมกข์ (๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๑๗] ฌานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ เนกขัมมะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน เนกขัมมะย่อมเผา
กามฉันทะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม
พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลังถูกเผา
ให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
อพยาบาทย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อพยาบาทย่อมเผาพยาบาท
ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลส
ทั้งหลาย คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลังถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
อาโลกสัญญาย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อาโลกสัญญาย่อมเผา
ถีนมิทธะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ฯลฯ อวิกเขปะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฌาน อวิกเขปะย่อมเผาอุทธัจจะให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ธัมมววัตถานย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ธัมมววัตถานย่อมเผาวิจิกิจฉา
ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ญาณย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ญาณย่อมเผาอวิชชาให้ไหม้
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปามุชชะย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน
ปามุชชะย่อมเผาอรติให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปฐมฌานย่อมเผา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน ปฐมฌานย่อมเผานิวรณ์ให้ไหม้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อ
ว่าฌาน ฯลฯ อรหัตตมรรคย่อมเผา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน อรหัตตมรรค
ย่อมเผากิเลสทั้งปวงให้ไหม้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาน พระอรหันต์เมื่อเผา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌาณวิโมกข์ เมื่อเผาให้ไหม้ ย่อมหลุดพ้น
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลาย ย่อมไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสให้ไหม้ คือรู้จักกิเลสที่ถูกเผาแล้วและกิเลสที่กำลัง
ถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฌานวิโมกข์
นี้ชื่อว่าฌานวิโมกข์ ฯ (๖๗)
[๒๑๘] อนุปาทาจิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสุข เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอัตตา
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณ พ้นจาก
อุปาทานว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ นิโรธานุ-
ปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทานว่านิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ พ้นจากอุปาทาน
ว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูป พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ใน
วิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจาก
อุปาทานว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุ-
ปัสสนาญาณในชราและมรณะ พ้นจากอุปาทานว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตต-
วิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วยปริยาย
พึงเป็นอย่างนี้
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทานเท่าไร อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร นิพพิทานุปัสสนา-
ญาณ ฯลฯ วิราคานุปัสสนาญาณ ฯลฯ นิโรธานุปัสสนาญาณ ฯลฯ ปฏินิสสัคคา-
นุปัสสนาญาณ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทานเท่าไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน ๑ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้น
จากอุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตา-
นุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ นี้
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๔ นี้
อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ อะไร
คือ กามุปาทาน
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน
สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากอุปาทาน ๓ นี้
ญาณ ๔ นี้ คือ
๑. อนิจจานุปัสสนาญาณ
๒. อนัตตานุปัสสนาญาณ
๓. อนิมิตตานุปัสสนาญาณ
๔. สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๓ คือ
๑. ทิฏฐุปาทาน
๒. สีลัพพตุปาทาน
๓. อัตตวาทุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ญาณ ๔ นี้ คือ
๑. ทุกขานุปัสสนาญาณ
๒. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
๓. วิราคานุปัสสนาญาณ
๔. อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๑
คือ กามุปาทาน
ญาณ ๒ นี้ คือ
๑. นิโรธานุปัสสนาญาณ
๒. ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอุปาทาน ๔ คือ
๑. กามุปาทาน
๒. ทิฏฐุปาทาน
๓. สีลัพพตุปาทาน
๔. อัตตวาทุปาทาน
นี้ชื่อว่าอนุปาทาจิตตวิโมกข์ (๖๘)
ปฐมภาณวารแห่งวิโมกขกถา จบ
[๒๑๙] ประตูสู่วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก คือ
๑. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ทั้งโดยส่วนเบื้อง
ต้นและส่วนเบื้องปลาย และเพราะจิตดำเนินไปในอนิมิตตธาตุ
๒. การออกจากโลกมีได้ เพราะทำใจให้อาจหาญในสังขารทั้งปวง และเพราะ
จิตดำเนินไปในอัปปณิหิตธาตุ
๓. การออกจากโลกมีได้ เพราะพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็นฝ่ายอื่น
และเพราะจิตดำเนินไปในสุญญตธาตุ
ประตูสู่วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อการนำออกจากโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ๑
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยธรรมอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
จิตมากด้วยธรรมอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้อินทรีย์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้อินทรีย์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ หมายถึงเว้นจากอัตตา (ขุ.ป.อ. ๒/๒๑๙/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส๑เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไรเป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรม
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติ
ชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด

เชิงอรรถ :
๑ รส ในที่นี้หมายถึงวิมุตติรส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๐/๑๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๒๐] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์
อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้น
มีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมี
ความหมายว่าอย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ อินทรีย์อะไร
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้น
มีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมาย
ว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วยอาการ
อย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ สมาธินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในเวลารู้แจ้งปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น ด้วย
อาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้รู้แจ้งก็ชื่อว่าย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าย่อมรู้แจ้ง
[๒๒๑] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็น
กายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่งบุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
ทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้ใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้อง
ฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
กายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิ-
ปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต๑ ๑ กายสักขี๒ ๑ ทิฏฐิปัตตะ๓ ๑ พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ (และ) ด้วย
ปริยาย
คำว่า พึงเป็น อธิบายว่า พึงเป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจสัทธินทรีย์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สัทธาธิมุต หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป พ้นด้วยศรัทธา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘,
องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)
๒ กายสักขี หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป เป็นผู้เห็นประจักษ์กับตัว สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายแล้วสามารถจะทำให้แจ้งพระนิพพาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑/๙๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑)
๓ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป มีสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง
(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๑๙/๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
สมาธินทรีย์อย่างนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์อย่างนี้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ พึงเป็น
สัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฏฐิปัตตะก็ได้ด้วยอำนาจวัตถุ(และ)ด้วยปริยาย
อย่างนี้
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ ฯลฯ
พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง
ด้วยประการฉะนี้
ถามว่า พึงเป็นอย่างไร
ตอบว่า เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุต ๑
กายสักขี ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง
เป็นทิฏฐิปัตตะอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
สัทธานุสารี๑ อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔
ย่อมมีด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจ
สัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นสัทธานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้
แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุต อินทรีย์ที่เป็นไป
ตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย การเจริญ
อินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรค
ด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกายสักขี

เชิงอรรถ :
๑ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้าบรรลุ
ผลแล้วกลายเป็นศรัทธาวิมุตติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕,องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิ-
มรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้ง
อนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขี อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นกายสักขี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นธรรมานุสารี๑ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ เป็น
สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นธรรมานุสารี
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ ฯลฯ
เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้วด้วยอำนาจ
ปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
ฯลฯ ได้อนาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผล ฯลฯ ได้อรหัตตมรรค ฯลฯ
ทำให้แจ้งอรหัตตผล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ อินทรีย์ที่

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า บรรลุผล
แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้วด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งทำให้แจ้งอรหัตตผลด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นทิฏฐิปัตตะ
[๒๒๒] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่ง
เนกขัมมะ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง หรือจักถึง ได้แล้ว
กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง ทำให้แจ้งแล้ว กำลัง
ทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความ
ชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว
กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้าแล้ว กำลังถึง
ความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุต
ด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วย
อำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท ฯลฯ
อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ ธัมมววัตถาน ฯลฯ ญาณ ฯลฯ ปามุชชะ
ฯลฯ ปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญ-
ญายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา
ฯลฯ ทุกขานุปัสสนา ฯลฯ อนัตตานุปัสสนา ฯลฯ นิพพิทานุปัสสนา ฯลฯ
วิราคานุปัสสนา ฯลฯ นิโรธานุปัสสนา ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ฯลฯ
ขยานุปัสสนา ฯลฯ วยานุปัสสนา ฯลฯ วิปริณามานุปัสสนา ฯลฯ อนิมิตตา-
นุปัสสนา ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนา ฯลฯ สุญญตานุปัสสนา ฯลฯ อธิปัญญา-
ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ ยถาภูตญาณทัสสนะ ฯลฯ อาทีนวานุปัสสนา ฯลฯ
ปฏิสังขานุปัสสนา ฯลฯ วิวัฏฏนานุปัสสนา ฯลฯ โสดาปัตติมรรค ฯลฯ
สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลัง
เจริญ หรือจักเจริญซึ่งอรหัตตมรรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญ ซึ่งสติปัฏฐาน ๔
ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว กำลังเจริญ
หรือจักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว กำลังถึง
หรือจักถึง ได้แล้ว กำลังได้ หรือจักได้ รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้ง
ทำให้แจ้งแล้ว กำลังทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้า
แล้ว กำลังถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็น
ทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว กำลังบรรลุ หรือจักบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา ๔
ฯลฯ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้แจ้งแล้ว กำลังรู้แจ้ง หรือจักรู้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ฯลฯ
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ศึกษาแล้ว กำลังศึกษา หรือจักศึกษาซึ่งสิกขา ๓
ทำให้แจ้งแล้ว กำลังทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว กำลังถูกต้อง หรือ
จักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว กำลังถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว กำลังถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความแกล้วกล้า
แล้ว กำลังถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็น
ทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วย
อำนาจสมาธินทรีย์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
๕. รู้แจ้งธรรมทั้งปวงด้วยความรู้ยิ่ง
๖. รู้แจ้งสังขารทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้
๗. รู้แจ้งอกุศลธรรมทั้งปวงด้วยการละ
๘. รู้แจ้งมรรค ๔ ด้วยการเจริญ
๙. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจสมาธินทรีย์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจปัญญินทรีย์
ทุติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
[๒๒๓] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา สังขารปรากฏอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สังขารปรากฏโดยสุญญตะ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ จิตมากด้วยอะไร เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตมากด้วยอะไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้วิโมกข์
อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้วิโมกข์อะไร ผู้
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้วิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้
สุญญตวิโมกข์
[๒๒๔] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครเจริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ใครย่อมเจริญ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อนิมิตต-
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๑
เป็นสหชาตปัจจัย ฯลฯ มีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความ
หมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติโดยชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์
ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๒เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใด
ปฏิบัติโดยชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ๓เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติโดยชอบ
ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ อัปปณิหิตวิโมกข์และสุญญตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)
๒ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)
๓ ได้แก่ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๒๔/๑๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมาย
ว่าอย่างไร
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไรเป็น
ใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่ามีรสเป็นอย่างเดียวกัน ในเวลารู้แจ้ง วิโมกข์
อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมีเท่าไร เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอย่างไร ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
[๒๒๕] คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
มีรสเป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่ง
การรู้แจ้งที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าการรู้แจ้ง เพราะมีความหมายว่าเห็น แม้บุคคลผู้รู้แจ้งอย่างนี้ ก็ชื่อว่าเจริญ
แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน แม้ในเวลารู้แจ้ง อัปปณิหิตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้
แจ้งที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญ-
มัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย มีรสเป็นอย่างเดียวกัน
แม้ในเวลารู้แจ้ง สุญญตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการรู้แจ้งที่เป็นไปตาม
สุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่ารู้แจ้ง
[๒๒๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะ
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะ
อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคล
จึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฏฐิปัตตะ
บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลชื่อว่าทำให้แจ้ง
เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลชื่อว่าบรรลุแล้ว
เพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้ง
นิพพานซึ่งเป็นความดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี ญาณว่า “สังขารเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
นิโรธเป็นสุข” เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจอัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เจริญแล้ว กำลังเจริญ หรือจักเจริญซึ่งอพยาบาท
ฯลฯ อาโลกสัญญา ฯลฯ อวิกเขปะ ฯลฯ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรค บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสัทธาธิมุตด้วย
อำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะ
ด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
๒. รู้แจ้งสมุทยสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการละ
๓. รู้แจ้งนิโรธสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการทำให้แจ้ง
๔. รู้แจ้งมัคคสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการเจริญ
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๔
อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการเท่าไร
คือ การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่าง บุคคลรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ ๙
อย่าง ได้แก่
๑. รู้แจ้งทุกขสัจว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้งด้วยการกำหนดรู้
ฯลฯ
๙. รู้แจ้งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง๑

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๒๒๒ หน้า ๓๗๖ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
การรู้แจ้งสัจจะมีได้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ บุคคลเมื่อรู้แจ้งสัจจะด้วยอาการ
๙ อย่างนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยอำนาจอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยอำนาจ
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฏฐิปัตตะด้วยอำนาจสุญญตวิโมกข์
[๒๒๗] บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความ
เป็นจริง สัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคล
เห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคล
ละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร สังขารทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาจะรู้เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง
สัมมาทัสสนะเป็นอย่างไร ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นเป็นอย่างไร บุคคลละความสงสัยได้ที่ไหน
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงจะรู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริง เพราะ
รู้เห็นนิมิตตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขารทั้งปวงชื่อว่า
บุคคลเห็นดีแล้วโดยความไม่เที่ยงด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสสะนั้นอย่างนี้
บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์จะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริง
เพราะรู้เห็นความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัสสนะ สังขาร
ทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ด้วยการอนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้น
อย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความ
เป็นจริง เพราะรู้เห็นนิมิตและความเป็นไปตามความเป็นจริงนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สัมมาทัสสนะ ธรรมทั้งปวงชื่อว่าบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นอนัตตาด้วยการ
อนุมานตามสัมมาทัสสนะนั้นอย่างนี้ บุคคลละความสงสัยได้ที่สัมมาทัสสนะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัสสนะ และกังขาวิตรณะมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา อะไรปรากฏโดยความเป็นภัย
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา นิมิตและความเป็นไปปรากฏโดยความเป็นภัย
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการ(เห็นสังขาร)ปรากฏโดยความเป็นภัย อาทีนว-
ญาณ และนิพพิทามีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถต่างกันและ
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุปัสสนามีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณคือการพิจารณานิมิตย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณคือการพิจารณาความเป็นไปย่อม
เกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณคือการพิจารณานิมิตและความ
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตออกจากอะไร แล่นไปในที่ไหน
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตออกจากนิมิต แล่นไปใน
นิพพานซึ่งไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตออกจากความเป็นไป
แล่นไปในนิพพานซึ่งไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตออก
จากนิมิตและความเป็นไป แล่นไปในนิพพานธาตุซึ่งเป็นความดับ ซึ่งไม่มีนิมิตและ
ความเป็นไป
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรมมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่
พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอกและโคตรภู-
ธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา
ย่อมหลุดพ้นด้วยวิโมกข์อะไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ผู้
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมหลุดพ้นด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตาย่อมหลุดพ้นด้วยสุญญตวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลสขันธ์และจากนิมิต
ภายนอกและมัคคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
[๒๒๘] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการเท่าไร
คือ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่าง ย่อมมีในขณะ
เดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่าง
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ด้วยสภาวะเป็นใหญ่ ๒. ด้วยสภาวะตั้งมั่น
๓. ด้วยสภาวะน้อมจิตไป ๔. ด้วยสภาวะนำออกไป
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร
คือ เมื่อบุคคลมนสิการโดยความไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นใหญ่ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สุญญตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะเป็นใหญ่อย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วยอำนาจแห่ง
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอนิมิตต-
วิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมน้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์
๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะน้อมจิตไปอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความ
ดับด้วยอำนาจแห่งอนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมนำจิตออกไปสู่
นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็น
อนัตตาย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งสุญญตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยสภาวะนำออกไปอย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ อย่างนี้
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ

๑. ด้วยสภาวะประชุมลง ๒. ด้วยสภาวะบรรลุ
๓. ด้วยสภาวะได้ ๔. ด้วยสภาวะรู้แจ้ง
๕. ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ๖. ด้วยสภาวะถูกต้อง
๗. ด้วยสภาวะตรัสรู้

วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ
ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยงย่อมพ้นจากนิมิต เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลพ้นจากอารมณ์ใดย่อมไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด
เป็นผู้ว่างจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคล
ว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
อนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ย่อมพ้นจากปณิธิ (ความตั้งมั่น) เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในทุกข์ใด เป็นผู้ว่างจากทุกข์นั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
นิมิตเพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ ด้วยสภาวะ
ได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง ด้วยสภาวะตรัสรู้
อย่างนี้
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตาย่อมพ้นจากอภินิเวส (ความยึดมั่น)
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต
เพราะนิมิตใด ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์
บุคคลไม่ตั้งอยู่ในนิมิตใด เป็นผู้ว่างจากนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยสภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะ
บรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง
ด้วยสภาวะตรัสรู้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
[๒๒๙] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานมีอยู่ ธรรมที่เป็นประธานแห่ง
วิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์มีอยู่ ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์มีอยู่
วิโมกขวิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์มีอยู่
วิโมกข์ อะไรบ้าง คือ
๑. สุญญตวิโมกข์ ๒. อนิมิตตวิโมกข์
๓. อัปปณิหิตวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่านันทิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าราคะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่าอาทานะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากอภินิเวสว่า
นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก
อภินิเวสว่าปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
สุญญตวิโมกข์ ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ ใน
สัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา-
ญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
ฯลฯ สุญญตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากอภินิเวสทุกอย่าง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่านันทิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าราคะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าอนิมิตตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอาทานะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากสรรพนิมิต เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่าปณิธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากนิมิตว่า
อภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนา-
ญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
ฯลฯ อนิมิตตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากสรรพนิมิต เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากนิมิตว่า
ปณิธิ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากนิมิตว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ นี้เป็น
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อนิจจานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ทุกขานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ อนัตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอัตตา เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิพพิทานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่านันทิ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ วิราคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าราคะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นิโรธานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าสมุทัย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่าอาทานะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิมิตตานุปัสสนาญาณพ้นจากปณิธิว่า
นิมิต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณพ้นจาก
ปณิธิทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณ
พ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อนิจจานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจากปณิธิทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในรูปพ้นจาก
ปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ อนิจจานุปัสสนาญาณ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ
อนิจจานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิว่าเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณในชราและมรณะพ้นจากปณิธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
ทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตานุปัสสนาญาณในชรา
และมรณะพ้นจากปณิธิว่าอภินิเวส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้
เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็นวิโมกข์ (๑)
[๒๓๐] ธรรมที่เป็นประธาน เป็นอย่างไร
คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้
เป็นธรรมที่เป็นประธาน (๒)
ธรรมที่เป็นประธานแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ นิพพานซึ่งเป็นความดับ เป็นอารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมที่
เป็นประธานแห่งวิโมกข์ (๓)
ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ นี้
เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวิโมกข์ (๔)
ธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรมแม้ทุกอย่างเป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์
นี้เป็นธรรมที่อนุโลมตามวิโมกข์ (๕)
วิโมกขวิวัฏ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ
พระโยคาวจรเมื่อหมายรู้ย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัญญาวิวัฏ เมื่อ
คิดย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเจโตวิวัฏ เมื่อรู้แจ้งย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าจิตตวิวัฏ เมื่อกระทำญาณย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าญาณวิวัฏ
เมื่อสละย่อมหลีกไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิโมกขวิวัฏ ย่อมหลีกไปในสภาวะแท้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีเจโตวิวัฏ ในขณะ
แห่งมรรคใดมีเจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด
มีจิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๕. วิโมกขกถา นิทเทส
มีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่ง
มรรคใดมีญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรค
นั้นย่อมมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีวิโมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมี
สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคใดมีสัญญาวิวัฏ
เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ โมกขวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัจจวิวัฏ
ในขณะแห่งมรรคใดมีสัจจวิวัฏ ในขณะแห่งมรรคนั้นย่อมมีสัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏ นี้เป็นวิโมกขวิวัฏ (๖)
การเจริญวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งปฐมฌาน การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งทุติยฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งตติยฌาน การ
ปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่ง
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ซึ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การปฏิบัติ การเจริญ การทำ
ให้มากซึ่งโสดาปัตติมรรค การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งสกทาคามิมรรค
การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอนาคามิมรรค การปฏิบัติ การเจริญ
การทำให้มากซึ่งอรหัตตมรรค นี้เป็นการเจริญวิโมกข์ (๗)
ความสงบระงับแห่งวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน การได้ทุติยฌานหรือวิบากแห่ง
ทุติยฌาน การได้ตติยฌานหรือวิบากแห่งตติยฌาน ฯลฯ การได้จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ ฯลฯ การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค ฯลฯ สกทาคามิผล
แห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตผลแห่ง
อรหัตตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ (๘)
วิโมกขกถา จบ
ตติยภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
๖. คติกถา
ว่าด้วยคติ
[๒๓๑] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต
ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้น
กามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได
้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ ๘ ประการ ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘
ประการ
[๒๓๒] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต (ติเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ๑ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ๒ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๓ ประการ ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๑๙๙)
๒ เหตุ ๒ ประการ ได้แก่ โลภะและโมหะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๑๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการ๑ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการ๒นี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสย-
ปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการ๓นี้
เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๘ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณสัมปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๑)
ในปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดี
มหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศลเป็นสหชาตปัจจัย

เชิงอรรถ :
๑ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓ ประการ ได้แก่ (๑) อายุ (๒) ไออุ่น (๓) วิญญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๒๐๑)
๒ ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ ขันธ์ ๕, มหาภูตรูป ๔, ชีวิตสังขาร ๓, นาม ๑ รูป ๑ (รวมเป็น ๑๔) (ขุ.ป.อ.
๒/๒๓๒/๒๐๑)
๓ ธรรม ๑๔ ประการ ได้แก่ อรูปขันธ์ ๔, อินทรีย์ ๕, เหตุ ๓, นาม ๑, วิญญาณ ๑ (รวมเป็น ๑๔) (ขุ.ป.อ.
๒/๒๓๒/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในติเหตุกปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤตเป็น
สหชาตปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
วิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๘ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในติเหตุกปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งขัตติย-
มหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัย
แห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๒)
ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศล ฯลฯ ความ
เกิดขึ้นแห่งเทพชั้นรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๖. คติกถา
ความเกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ
เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็นสหชาต-
ปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็น
สหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ความ
เกิดขึ้นแห่งเทพชั้นอรูปาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้ (๔)
[๒๓๓] ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต (ทุเหตุกปฏิสนธิขณะ) ความ
เกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร ในปฏิสนธิขณะที่เป็น
ญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล
เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร
คือ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ๑ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้น
แห่งขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้
เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๖ ประการ ได้แก่ กุศลเหตุ ๒ อกุศลเหตุ ๒ และวิปากเหตุ ๒ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๓/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการ๑ ฝ่ายกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในขณะติดใจ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอกุศล เป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูล
เป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๒ ประการ ฝ่ายอัพยากฤต เป็น
สหชาตปัจจัยแก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
ในปฏิสนธิขณะ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย
เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ องค์ประกอบแห่งชีวิต ๓
ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็น
นิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ อินทรีย์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย
เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุ ๒ ประการ เป็นสหชาต-
ปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น
สัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๑๒ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็น
อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ธรรม ๒๖
ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตต-
ปัจจัย ในทวิเหตุกปฏิสนธิขณะ ความเกิดขึ้นแห่งคติสมบัติมีได้เพราะปัจจัยแห่งเหตุ
๖ ประการนี้ (๑)

เชิงอรรถ :
๑ เหตุ ๒ ประการ ได้แก่ อโลภะและอโทสะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๒/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่งขัตติยมหาศาล
พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะปัจจัยแห่ง
เหตุ ๖ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ในชวนขณะแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการฝ่ายกุศลเป็นสหชาตปัจจัย
แก่เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็น
ปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นญาณวิปปยุต ความเกิดขึ้นแห่ง
ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล คหบดีมหาศาล เทพชั้นกามาวจรมีได้เพราะ
ปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้ (๒)
คติกถา จบ
๗. กัมมกถา
ว่าด้วยกรรม
[๒๓๔] กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมไม่มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมจักไม่มี (อดีตกรรม) (๖)
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมก็มีอยู่ กรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่
กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมจักไม่มี
(ปัจจุบันกรรม) (๔-๑๐)
กรรมจักมี วิบากแห่งกรรมก็จักมี กรรมจักมี (แต่)วิบากแห่งกรรมจักไม่มี
(อนาคตกรรม) (๒-๑๒)
[๒๓๕] กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมก็ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มี
แล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศล-
กรรมก็มีอยู่ กุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมไม่มีอยู่ กุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี
กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมก็มีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ (แต่)วิบากแห่ง
กุศลกรรมไม่มีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมมีอยู่
(แต่)วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๗. กัมมกถา
กุศลกรรมจักมี วิบากแห่งกุศลกรรมก็จักมี กุศลกรรมจักมี (แต่)วิบากแห่ง
กุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมก็ได้มีแล้ว อกุศลกรรมได้มีแล้ว
(แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมก็
มีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่มีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว
วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรมได้มีแล้ว (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมก็มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ (แต่)วิบาก
แห่งอกุศลกรรมไม่มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรม
มีอยู่ (แต่)วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
อกุศลกรรมจักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมก็จักมี อกุศลกรรมจักมี (แต่)วิบาก
แห่งอกุศลกรรมจักไม่มี
กรรมมีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมไม่มีโทษได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมดำได้มีแล้ว
ฯลฯ กรรมขาวได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นกำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็น
กำไรได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีสุขเป็นวิบากได้มีแล้ว ฯลฯ กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้
มีแล้ว วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็ได้มีแล้ว กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
(แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่ได้มีแล้ว กรรมมีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว
วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็มีอยู่ กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว (แต่)
วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่มีอยู่ กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว วิบาก
แห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากได้มีแล้ว (แต่)วิบาก
แห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็มีอยู่ กรรม
ที่มีทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากไม่มีอยู่ กรรมที่มี
ทุกข์เป็นวิบากมีอยู่ วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรมที่มีทุกข์เป็น
วิบากมีอยู่ (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักมี วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากก็จักมี กรรม
ที่มีทุกข์เป็นวิบากจักมี (แต่)วิบากแห่งกรรมที่มีทุกข์เป็นวิบากจักไม่มี
กัมมกถาที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๘. วิปัลลาสกถา
๘. วิปัลลาสกถา
ว่าด้วยวิปัลลาส
[๒๓๖] เหตุเกิดขึ้นเหมือนในสูตรข้างต้น ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส
(ความหมายรู้ผิด) จิตตวิปัลลาส (ความคิดผิด) ทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นผิด) ๔
ประการนี้
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุข
๓. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา
ว่าอัตตา
๔. สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ
นี้แล
นสัญญาวิปัลลาส (ความหมายรู้ไม่ผิด) นจิตตวิปัลลาส (ความคิดไม่ผิด)
นทิฏฐิวิปัลลาส (ความเห็นไม่ผิด) ๔ ประการนี้
นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่
เที่ยงว่าไม่เที่ยง
๒. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นทุกข์
๓. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่ใช่
อัตตาว่าไม่ใช่อัตตา
๔. นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่งาม
ว่าไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย นสัญญาวิปัลลาส นจิตตวิปัลลาส นทิฏฐิวิปัลลาส ๔ ประการ
นี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๓๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๘. วิปัลลาสกถา
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตฟุ้งซ่าน มีสัญญาผิด
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
มีสัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
มีสัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่เกษมจากโยคะ ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าผู้จุดประกายให้แสงสว่าง
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประกาศธรรมนี้
ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยความไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิพ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ๑ละได้แล้วก็มี ยังละ
ไม่ได้ก็มี บางประการละได้แล้ว บางประการยังละไม่ได้ สัญญาวิปัลลาส จิตต-
วิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว สัญญาในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
เป็นสุขยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาสละได้แล้ว
สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส ทิฏฐิวิปัลลาสในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตาละได้แล้ว
สัญญาในสิ่งที่ไม่งามว่างามยังเกิดขึ้น จิตในสิ่งที่ไม่งามว่างามก็ยังเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปัลลาส

เชิงอรรถ :
๑ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงพระโสดาบัน (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
(ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม)ละได้แล้ว วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๑ วิปัลลาส ๒
ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว๒ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้๓ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว๔
วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้
วิปัลลาสกถา จบ
๙. มัคคกถา
ว่าด้วยมรรค
[๒๓๗] คำว่า มรรค อธิบายว่า ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะว่าอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น เป็น
มรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำ
กิเลสทั้งหลาย๕ เพื่อความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต

เชิงอรรถ :
๑ วิปัลลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๓ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส จิตตวิปัลลาส และ
ทิฏฐิวิปัลลาส คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ อนิจฺเจ นิจฺจํ (สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง) และ อนตฺตนิ อตฺตา
(สิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าอัตตา) เป็นวิปัลลาส ๖ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญาวิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส
(๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส (๖) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณ
ตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๒ วิปัลลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว หมายถึงทิฏฐิวิปัลลาส ๑ ประการ คูณกับ วัตถุ ๒ ประการ คือ
ทุกฺเข สุขํ (สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) และ อสุเภ สุภํ (สิ่งที่ไม่งามว่างาม) เป็นวิปัลลาส ๒ ประการ ได้แก่
(๑) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๒) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๓ วิปัลลาส ๔ ยังละไม่ได้ หมายถึงวิปัลลาส ๒ ประการ คือ สัญญาวิปัลลาส กับ จิตตวิปัลลาส ในวัตถุ ๒
คือ ทุกฺเข สุขํ (สภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข) อสุเภ สุภํ (สภาวะที่ไม่งามว่างาม) ประการละ ๒ วิปัลลาส
(๒ x ๒ เป็น ๔ วิปัลลาส) ได้แก่ (๑) สุขสัญญาวิปัลลาส (๒) สุภสัญญาวิปัลลาส (๓) สุขจิตตวิปัลลาส
(๔) สุภจิตตวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๔ วิปัลลาส ๘ ในวัตถุ ๘ ละได้แล้ว หมายถึงวิปัลลาส ๖ ประการ ในวัตถุ ๒ (ในเชิงอรรถที่ ๒) รวมกับ
วิปัลลาส ๒ ประการ ในวัตถุ ๒ ประการ (ในเชิงอรรถที่ ๓) เป็นวิปัลลาส ๘ ประการ ได้แก่ (๑) นิจจสัญญา-
วิปัลลาส (๒) อัตตสัญญาวิปัลลาส (๓) นิจจจิตตวิปัลลาส (๔) อัตตจิตตวิปัลลาส (๕) นิจจทิฏฐิวิปัลลาส
(๖) สุขทิฏฐิวิปัลลาส (๗) อัตตทิฏฐิวิปัลลาส (๘) สุภทิฏฐิวิปัลลาส (คำนวณตามนัย ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๖/๒๐๙)
๕ เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย หมายถึงทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๗/๒๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้
สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสังกัปปะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความ
หมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่
ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละมิจฉา-
วาจา เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดใน
เบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุ
ธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคและเป็นเหตุ
เพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อ
ความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต
เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ใน
นิโรธ
ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาอาชีวะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นมรรคและ
เป็นเหตุ เพื่อละมิจฉาวายามะ ฯลฯ ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็น
มรรคและเป็นเหตุเพื่อละมิจฉาสติ ฯลฯ
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละ
มิจฉาสมาธิ เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจด
ในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อ
บรรลุธรรมวิเศษ เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบ ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบ ๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละกามราค-
สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ
เพื่ออุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคและเป็นเหตุ เพื่อละรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เพื่อ
อุปถัมภ์สหชาตธรรม เพื่อครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพื่อความหมดจดในเบื้องต้น
แห่งปฏิเวธ เพื่อความตั้งมั่นแห่งจิต เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิต เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ
เพื่อรู้แจ้งธรรมอันยิ่ง เพื่อตรัสรู้สัจจะ เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ มรรคคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มรรคคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ มรรคคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มรรคคือการประคองไว้
ชื่อว่าสัมมาวายามะ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ มรรคคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ มรรคคือ
ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ มรรคคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ มรรคคือการพิจารณา ชื่อว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๙. มัคคกถา
มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ มรรคคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ มรรคคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
มรรคคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ มรรคคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ มรรคคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ มรรคคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ มรรคคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์
มรรคที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว มรรคที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก มรรคที่ชื่อว่า
องค์แห่งมรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ มรรคที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
มรรคที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะตั้งไว้ มรรคที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมี
สภาวะให้สำเร็จ มรรคที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มรรคที่ชื่อว่าสมถะ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
มรรคที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน มรรคที่ชื่อ
ว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน มรรคที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะสำรวม มรรคที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มรรคที่ชื่อว่า
ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มรรคที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น
มรรคที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง มรรคที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ
มรรคที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด มรรคที่ชื่อว่าฉันทะ
เพราะมีสภาวะเป็นมูล มรรคที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มรรค
ที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม มรรคที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
มรรคที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน มรรคที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะ
เป็นใหญ่ มรรคที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น มรรคที่
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ
นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มัคคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
๑๐. มัณฑเปยยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ที่ใสและน่าดื่ม
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ใสและน่าดื่ม เมื่อพระศาสดายังปรากฏ
อยู่ ความใสมี ๓ ประการ คือ
๑. ความใสคือเทศนา ๒. ความใสคือผู้รับ
๓. ความใสคือพรหมจรรย์
ความใสคือเทศนา เป็นอย่างไร
คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก
การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ การบอก
การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่ง
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความใสคือเทศนา (๑)
ความใสคือผู้รับ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้ง
พวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความใสคือผู้รับ (๒)
ความใสคือพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้เป็นความใสคือพรหมจรรย์ (๓)
[๒๓๙] ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็น
กาก๑ บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความน้อมใจเชื่อของ
สัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม

เชิงอรรถ :
๑ เป็นกาก หมายถึงเป็นของขุ่นมัวเว้นจากความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๙/๒๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ๑๐. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล
ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริยินทรีย์
เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความ
ประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น
สตินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้ง
อุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะ
เหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอัน
เป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหุตนั้น ปัญญินทรีย์
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความ
ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ
จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความ
ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงชื่อว่ามี
ความใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความ
ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่ประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงชื่อว่ามีความ
ใสและน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะของ
สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๐๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น