Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๑-๑๐ หน้า ๔๕๘ - ๕๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑-๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
คือ สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย
อาการเท่าไร
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วย
อาการ ๘ อย่าง
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๒. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด
๓. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป
๔. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป
๕. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๖. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต
๗. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ
๘. สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร
สติสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด
๒. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๓. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป
๔. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเป็นไป
๕. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต
๖. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๗. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร
๘. สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ
สติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัด
สติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าสติสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า
“สติสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๓. โพชฌังคกถา
โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมมีอยู่ ดังนี้” มีอยู่อย่างไร
คือ นิโรธปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า “ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผม
มีอยู่ ดังนี้” ก็มีอยู่เพียงนั้น เหมือนประทีปน้ำมันกำลังสว่างอยู่ ฯลฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร ฯลฯ
โพชฌงค์ในข้อว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าผมปรารภเสมอดีแล้ว ดังนี้”
มีอยู่อย่างไร ฯลฯ
เมื่อผมกำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่”
ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป ก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไป
เพราะปัจจัยนี้” เป็นอย่างไร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไป
ด้วยอาการเท่าไร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อน
ไปด้วยอาการ ๘ อย่าง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความเกิด
๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเกิด
๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีความ
เป็นไป
๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงความเป็นไป
๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงนิมิต
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการนึกถึงนิโรธ
๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยการไม่นึกถึงสังขาร
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเกิด
๒. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี
ความเกิด
๓. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงความเป็นไป
๔. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มี
ความเป็นไป
๕. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงนิมิต
๖. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึง(นิพพาน)ที่ไม่มีนิมิต
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการนึกถึงสังขาร
๘. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยการไม่นึกถึงนิโรธ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์เคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ เมื่อผมกำลังเที่ยวไป
ย่อมรู้ชัดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า “ดำรงอยู่” ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
เคลื่อนไปก็รู้ชัดว่า “อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของผมเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้แล”
โพชฌังคกถา จบ
๔. เมตตากถา
ว่าด้วยเมตตา
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการ
อานิสงส์ ๑๑ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา

๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๖. เทวดาทั้งหลายรักษา
๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรากล้ำกรายไม่ได้ ๘. จิตตั้งมั่นเร็ว
๙. สีหน้าสดใส ๑๐. ไม่หลงลืมสติตาย

๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก
ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลปฏิบัติแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
พึงหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้๑
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจง
ก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจง
ด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโต-
วิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร
คือ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง เมตตา-
เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข
รักษาตนเถิด
๒. ขอปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขอภูตทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขอบุคคลทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน
กัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ. เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๑๕/๔๒๕-๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสตรีทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข
รักษาตนเถิด
๒. ขอบุรุษทั้งปวง ฯลฯ
๓. ขออารยชนทั้งปวง ฯลฯ
๔. ขออนารยชนทั้งปวง ฯลฯ
๕. ขอเทวดาทั้งปวง ฯลฯ
๖. ขอมนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์
มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ อย่างนี้
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มี
ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
๒. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่
มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
ขอปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูตทั้งปวง ฯลฯ บุคคลทั้งปวง ฯลฯ
ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สตรีทั้งปวง ฯลฯ บุรุษทั้งปวง ฯลฯ อารยชน
ทั้งปวง ฯลฯ อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ เทวดาทั้งปวง ฯลฯ มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร
๑. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
๒. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ
๓. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ
๔. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
๕. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ
๗. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
๘. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ
๙. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
๑๐. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน
ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้
๑. อินทริยวาร
วาระว่าด้วยอินทรีย์
[๒๓] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๑. อินทริยวาร
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ (การปฏิบัติ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นภาวนา (การเจริญ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล
ย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรม (การทำให้มาก) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอลังการ (เครื่องประดับ) ของเมตตาเจโตวิมุตติ
บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต (ไปร่วมกัน) เป็นสหชาติ
(เกิดร่วมกัน) เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ (ประกอบกัน) เป็นความแล่นไป
เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๒. พลวาร
“นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำ
ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว
ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
อินทริยวาร จบ
๒. พลวาร
วาระว่าด้วยพละ
[๒๔] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า
“ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติ
ชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์
ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ด้วยมนสิการว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา-
เจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร
พละ ๕ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มาก
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
พลวาร จบ
๓. โพชฌังควาร
วาระว่าด้วยโพชฌงค์
[๒๕] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๓. โพชฌังควาร
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่นว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ” เมตตา-
เจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำ
ให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นบริวารของ
เมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
โพชฌังควาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
๔. มัคคังควาร
วาระว่าด้วยองค์แห่งมรรค
[๒๖] ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มี
ความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ
ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ
ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา
ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ฯลฯ” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบว่า “ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ
ปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้
มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่ง
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อม
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่
ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ
เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว
ปรารภเสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว
ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
[๒๗] ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวง ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุคคลทั้งปวง ฯลฯ สู่ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวง ฯลฯ
สู่บุรุษทั้งปวง ฯลฯ สู่อารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวง ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวง ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงใน
ทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ
สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวง
ในทิศอีสาน ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘ อย่างนี้
คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนให้
เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๖. ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี
เวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์
ฯลฯ ย่อมให้รุ่งเรือง ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่ปาณชาติทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ภูตทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุคคลทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่ผู้นับเนื่องในอัตภาพทั้งปวง
ในทิศบูรพา ฯลฯ สู่สตรีทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่บุรุษทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
สู่อารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่อนารยชนทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่เทวดา
ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่มนุษย์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ฯลฯ สู่
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ฯลฯ
สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ฯลฯ สู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาแผ่ความรักไปสู่วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนด้วยอาการ ๘
อย่างนี้ คือ
๑. ด้วยเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๒. ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๓. ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบนให้เดือดร้อน
๔. ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
๕. ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ
เบื้องบน
๖. ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวรกัน
๗. จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์
๘. จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตา จิตคิดถึงธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเจโต
จิตพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิมุตติ
เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ
ผู้เจริญเมตตาน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัทธินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สตินทรีย์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สมาธินทรีย์
ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า “ขอ
วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด”
เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยวิริยพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสติพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสมาธิพละ
ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัญญาพละ
พละ ๕ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง
ให้สว่างไสว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๔. เมตตากถา ๔. มัคคังควาร
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้
ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสติ-
สัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยวิริยสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อน ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยปีติสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วยสมาธิ-
สัมโพชฌงค์
ผู้เจริญเมตตาเพ่งเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์ ๗ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมยังเมตตานั้นให้เกิด ให้
โชติช่วง ให้สว่างไสว
ผู้เจริญเมตตาเห็นโดยชอบว่า “ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง
เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด” เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาทิฏฐิ
ผู้เจริญเมตตาตรึกตรองโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สัมมาสังกัปปะ
ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้วด้วย
สัมมาวาจา
ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรม
แล้วด้วยสัมมากัมมันตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้วโดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ
ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่า
อบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสติ
ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้โดยชอบ ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติชื่อว่าอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาสมาธิ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปฏิบัติ
เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อม
ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความเต็มรอบ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความ
เกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุตตะ เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น
เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า “นี้ละเอียด” ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตา-
เจโตวิมุตติที่บุคคลทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภ
เสมอดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยัง
เมตตานั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว
มัคคังควาร จบ
เมตตากถา จบ
๕. วิราคกถา
ว่าด้วยวิราคะ
[๒๘] วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล
วิราคะชื่อว่ามรรค เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมคลายจากมิจฉาทิฏฐิ คลายจากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ๑เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร
รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง
ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ
กำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา วิราคะที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะ
เป็นสมุฏฐาน ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมี
สภาวะผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะ
มีสภาวะประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะ
มีสภาวะตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมี
สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา-
สมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์
มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ

เชิงอรรถ :
๑ วิราคะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ป.อ. ๒/๘/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวก ย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพรหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่หยาบ ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลง
ในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราค-
สังโยชน์ จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย
ส่วนที่ละเอียด ๆ คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลาย
จากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น มรรค
มีองค์ ๘ จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
ในขณะแห่งอรหัตตมรรค วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิราคะที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย จาก
อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และคลายจาก
สรรพนิมิตภายนอก วิราคะจึงมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร รวมลงใน
วิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
คำว่า วิราคะ อธิบายว่า วิราคะมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิราคะ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์มรรค ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความ
เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า และสาวกย่อมถึง
นิพพานซึ่งเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามรรคมีองค์ ๘
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรค
ของสมณพราหมณ์เป็นจำนวนมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึง
ประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย
วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ วิราคะคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ วิราคะคือความกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา วิราคะคือสมุฏฐาน ชื่อว่า
สัมมากัมมันตะ วิราคะคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ วิราคะคือการ
ประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ วิราคะคือ
ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ วิราคะคือ
ความแผ่ไป ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ วิราคะคือความสงบระงับ ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ วิราคะคือการ
พิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ วิราคะคือ
ความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหว
เพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่า
สมาธิพละ วิราคะคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ
วิราคะคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ วิราคะคือการประคองไว้ ชื่อว่า
วิริยินทรีย์ วิราคะคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ วิราคะคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ วิราคะคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
วิราคะที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิราคะที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิราคะที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิราคะที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น วิราคะ
ที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิราคะที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะ
ให้สำเร็จ วิราคะที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิราคะที่ชื่อว่าสมถะ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน วิราคะที่ชื่อว่าธรรม
ที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิราคะที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ๑ เพราะมีสภาวะสำรวม วิราคะที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ๒
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิราคะที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิราคะที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิราคะที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ๓ เพราะมีสภาวะสละ วิราคะที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะ
มีสภาวะตัดขาด วิราคะที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิราคะที่ชื่อว่ามนสิการ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิราคะที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม
วิราคะที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิราคะที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมี
สภาวะเป็นประธาน วิราคะที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิราคะที่ชื่อว่าปัญญา
เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ๆ วิราคะที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะ
เป็นแก่นสาร มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
มรรคคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มรรคคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมา-
สังกัปปะ ฯลฯ มรรคที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะ
เป็นที่สุด
วิราคะชื่อว่ามรรคอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ สีลวิสุทธิ หมายถึงสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)
๒ จิตตวิสุทธิ หมายถึงสัมมาสมาธิ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)
๓ วิมุตติ หมายถึงสมุจเฉทวิมุตติ (ขุ.ป.อ. ๒/๒๘/๒๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
[๒๙] วิมุตติชื่อว่าผล เป็นอย่างไร
คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น
ย่อมพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฏฐินั้น จากขันธ์ และ
พ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวม
ลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมพ้นจากมิจฉา-
สังกัปปะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ย่อมพ้นจาก
มิจฉาวาจา ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน
ย่อมพ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะ
ผ่องแผ้ว ย่อมพ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ย่อมพ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสติ
เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ย่อมพ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตาม
มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็น
อารมณ์มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงในวิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งสกทาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่หยาบ ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
หยาบ ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจากสรรพนิมิต
ภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอนาคามิผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์
จากปฏิฆสังโยชน์ ส่วนที่ละเอียด ๆ จากกามราคานุสัย จากปฏิฆานุสัย ส่วนที่
ละเอียด ๆ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้นจาก
สรรพนิมิตภายนอก ฯลฯ เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
ในขณะแห่งอรหัตตผล วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ จาก
อรูปราคะ จากมานะ จากอุทธัจจะ จากอวิชชา จากมานานุสัย จากภวราคานุสัย
จากอวิชชานุสัย พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และพ้น
จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุตติจึงมีวิมุตติเป็นอารมณ์ มีวิมุตติเป็นโคจร รวมลงใน
วิมุตติ ตั้งอยู่ในวิมุตติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุตติ
คำว่า วิมุตติ อธิบายว่า วิมุตติมี ๒ อย่าง คือ
๑. นิพพานเป็นวิมุตติ
๒. ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุตติ
เพราะฉะนั้น วิมุตติจึงชื่อว่าเป็นผล
วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ วิมุตติคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า
สัมมาสมาธิ
วิมุตติคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ วิมุตติคือการพิจารณา
ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ฯลฯ
วิมุตติคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๕. วิราคกถา
วิมุตติคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ฯลฯ วิมุตติคือความเห็น ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์
วิมุตติที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อว่าพละ เพราะมี
สภาวะไม่หวั่นไหว วิมุตติที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก วิมุตติที่ชื่อว่า
มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ วิมุตติที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
วิมุตติที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ วิมุตติที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ วิมุตติที่ชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ วิมุตติที่
ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
พิจารณาเห็น วิมุตติที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่าง
เดียวกัน วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
วิมุตติที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม วิมุตติที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน วิมุตติที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น วิมุตติที่
ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะพ้นวิเศษ วิมุตติที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ วิมุตติที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะมี
สภาวะสงบระงับ วิมุตติที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล วิมุตติที่ชื่อว่า
มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน วิมุตติที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น
ที่รวม วิมุตติที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุม วิมุตติที่ชื่อว่าสมาธิ
เพราะมีสภาวะเป็นประธาน วิมุตติที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ วิมุตติที่ชื่อ
ว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น วิมุตติที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะ
มีสภาวะเป็นแก่นสาร วิมุตติที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุด
วิมุตติชื่อว่าผลอย่างนี้ วิราคะชื่อว่ามรรค วิมุตติชื่อว่าผล ด้วยประการฉะนี้
วิราคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
๖. ปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร๑
วาระว่าด้วยการประกาศธรรมจักร
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ
ที่สุด ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็น
ทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด ๒ ประการนี้นั้นตถาคต
ตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์ ทำให้รู้ชัด ย่อม
เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็น
อย่างไร

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓-๑๗/๒๐-๒๕ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๗-๓๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้๑ ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำให้เห็นประจักษ์
ทำให้รู้ชัด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้ คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์
มรณะเป็นทุกข์ ความประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การไม่ได้อารมณ์ที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วย
ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

เชิงอรรถ :
๑ องค์มรรคแต่ละข้อมีนัยพิสดาร ดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
๒. สัมมาสังกัปปะ หมายถึงความนึกคิดในทางสละปลอดจากกาม ความนึกคิดปลอดจากพยาบาทและ
ความนึกคิดปลอดจากการเบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา หมายถึงพูดคำสัตย์ ไม่พูดส่อเสียด พูดคำอ่อนหวาน พูดสิ่งมีสาระ
๔. สัมมากัมมันตะ หมายถึงไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ หมายถึงเว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาอาชีพ
๖. สัมมาวายามะ หมายถึงเพียรระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพียรกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำ
ความดีให้เกิด เพียรรักษาความดีไว้
๗. สัมมาสติ หมายถึงพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
๘. สัมมาสมาธิ หมายถึงฌาน ๔
(ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๒๙/๒๕๘,๔๐๒/๓๓๕, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๒๐๕/๑๗๑,๔๘๖/๓๗๑,๔๘๘,๔๙๐/๓๗๓,
๔๙๘/๓๗๗,๕๐๔/๓๘๐, ม.อ. ๑๔/๓๒๕/๒๙๗,๓๗๕/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ คือความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ
ด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้คืออริยมรรคมีองค์ ๘ คือv
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกข-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
ควรกำหนดรู้” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า “ทุกขอริยสัจนี้เรากำหนดรู้แล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทย-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทย-
อริยสัจนี้ควรละ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“ทุกขสมุทยอริยสัจนี้เราละได้แล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ-
อริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน
ว่า “ทุกขนิโรธอริยสัจนี้เราทำให้แจ้งแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจ”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญา
เกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราได้เจริญแล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ๑ ๑๒
อาการ๒อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ยถาภูตญาณทัสสนะของเราในอริยสัจ ๔ นี้ ๓ รอบ
๑๒ อาการอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมา-
สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่
เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณ์๓นี้จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสเวยยากรณ์นี้อยู่ ธัมมจักขุ๔อันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

เชิงอรรถ :
๑ ๓ รอบ ได้แก่ (๑) สัจจญาณ (๒) กิจจญาณ (๓) กตญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓)
๒ ๑๒ อาการ ได้แก่ บรรดาสัจจะ ๔ (ทุกข์,ทุกขสมุทัย, ทุกขนิโรธ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) แต่ละสัจจะมี
อาการอย่างละ ๓ จึงรวมเป็น ๑๒ อาการ (ขุ.ป.อ. ๒/๓๐/๒๕๓)
๓ เวยยากรณ์ ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา ประกอบด้วยคำถามคำตอบ (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐)
เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์ (วิ.อ. ๑/๒๖)
๔ ธัมมจักขุ หมายถึงดวงตาเห็นธรรม คือ โสดาปัตติมัคคญาณ (วิ.อ. ๓/๕๖/๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เทพชั้นภุมมะกระจาย
ข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
เทพชั้นจาตุมหาราชได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นภุมมะแล้ว ได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ
เทพชั้นดาวดึงส์ได้สดับเสียงประกาศของเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ได้กระจาย
ข่าวต่อไป ฯลฯ
เทพชั้นยามา ฯลฯ
เทพชั้นดุสิต ฯลฯ
เทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ
เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมสดับเสียงของเหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว
ก็กระจายข่าวว่า “นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงให้เป็นไปแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้”
โดยขณะ๑ครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก
ด้วยประการฉะนี้
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้
ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ก็ปรากฏในโลก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ” ดังนั้น คำว่า “อัญญา-
โกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะนั่นแล

เชิงอรรถ :
๑ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง เป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะ เป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะ เป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะ เป็น ๑ ครู่
(อภิธา.ฏี.คาถา ๖๖-๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้น
แล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมม-
ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์
ของธัมมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่าธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ เป็นอารมณ์
และเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์
ของนิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้
นั้นแลควรกำหนดรู้” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนวาร
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในทุกขอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นควรละ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขสมุทยอริยสัจนี้
นั้นเราละได้แล้ว” ฯลฯ
ในทุกขสมุทยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น ควรทำให้แจ้ง” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธ-
อริยสัจนี้นั้นเราทำให้แจ้งแล้ว” ฯลฯ
ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้น
ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มี
ญาณ ๖๐
ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐
๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกาย
ในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้น
แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ”
ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การ
พิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๒. สติปัฏฐานวาร
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
อรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
โคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุตติปฏิสัมภิทา
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณ
ในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร
ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
เรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มี
นิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิต
ในจิต” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้
นั้นควรเจริญ” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญ
แล้ว” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
ในสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มี
อรรถ ๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐
๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
แก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
สมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้
ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขารนี้นั้น เราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คำว่า “วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะ
สว่างไสว
จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่าง
เป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรม
เหล่าใดเป็นอารมณ์ของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา
ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธัมมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธัมม-
ปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรมทั้งหลายว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ สภาวะที่รู้เป็นอรรถ สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ สภาวะที่
รู้แจ้งเป็นอรรถ สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถ
เหล่านั้นเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอัตถปฏิสัมภิทา
อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอัตถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณ
ในอรรถทั้งหลายว่า อัตถปฏิสัมภิทา
นิรุตติ ๑๐ ประการนี้ คือ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๕
ประการ การระบุพยัญชนะและนิรุตติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการเป็นอารมณ์และ
เป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๓. อิทธิปาทวาร
เหล่าใดเป็นโคจรของนิรุตติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของ
นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุตติทั้งหลายว่า นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา
ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ
ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการเป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕
มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาท
อันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว” ฯลฯ
ในอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ
๑๕ มีนิรุตติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
ในอิทธิบาท ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุตติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๔. สัตตโพธิสัตตวาร
๔. สัตตโพธิสัตตวาร
วาระว่าด้วยพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระ
วิปัสสีโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ภิกษุ
ทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระวิปัสสี-
โพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโกนาคมนโพธิสัตว์ ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระกัสสปโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“นิโรธ นิโรธ” ฯลฯ ในเวยยากรณ์ของพระกัสสปโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐
มีนิรุตติ ๒๐ มีญาณ ๔๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “สมุทัย สมุทัย” จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่พระโคดมโพธิสัตว์ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นิโรธ
นิโรธ” ในเวยยากรณ์ของพระโคดมโพธิสัตว์มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุตติ ๒๐
มีญาณ ๔๐
ในเวยยากรณ์ ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ พระองค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ ๗๐ มี
นิรุตติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๖. ขันธาทิวาร
๕. อภิญญาทิวาร
วาระว่าด้วยอภิญญาเป็นต้น
[๓๔] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบ
แล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่
ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญาที่ควรรู้ยิ่ง มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่ง
ปริญญา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรเจริญแห่ง
ภาวนา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่ง
สัจฉิกิริยา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
สภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยาที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ควรทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในสภาวะที่ควรรู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในสภาวะที่ควรกำหนดรู้แห่งปริญญา ใน
สภาวะที่ควรละแห่งปหานะ ในสภาวะที่ควรเจริญแห่งภาวนา ในสภาวะที่ควร
ทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐
๖. ขันธาทิวาร
วาระว่าด้วยขันธ์เป็นต้น
[๓๕] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. สัจจวาร
ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็น
กองแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุ
ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่ง
อายตนะทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
แห่งสังขตธรรมทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
แห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญา สภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่
ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่ง
อสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในสภาวะที่เป็นกองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในสภาวะที่ทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย
ในสภาวะที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขต-
ธรรมทั้งหลาย ในสภาวะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มี
อรรถ ๑๒๕ มีนิรุตติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐
๗. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๖] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ที่เราไม่รู้ ไม่เห็น
ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่ทนได้ยาก
แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นเหตุเกิดแห่ง
สมุทัย” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๘. ปฏิสัมภิทาวาร
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นความดับแห่ง
นิโรธ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค
เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะ
ที่เป็นทางแห่งมรรคที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วย
ปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐
มีญาณ ๑๐๐
ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐
๘. ปฏิสัมภิทาวาร
วาระว่าด้วยปฏิสัมภิทา
[๓๗] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉาน
ในอรรถ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
สภาวะที่แตกฉานในอรรถที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้ว
ด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่แตกฉานในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในธรรม
แห่งธัมมปฏิสัมภิทา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานในนิรุตติ
แห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สภาวะที่แตกฉานใน
ปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา สภาวะที่แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทาที่เราไม่รู้
ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” ในสภาวะที่
แตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐
มีญาณ ๑๐๐
ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุตติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๔๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๙. ฉพุทธธัมมวาร
๙. ฉพุทธธัมมวาร
วาระว่าด้วยพุทธธรรม ๖ ประการ
[๓๘] จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในความยิ่ง
และความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้
แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของ
สัตว์ทั้งหลายที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
ไม่มี” ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕
มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในอาสยะและอนุสัย
ของสัตว์ทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในยมกปาฏิหาริย์” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “ญาณในมหากรุณาสมาบัติ”
ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “สัพพัญญุตญาณ” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วว่า “อนาวรณญาณเรารู้แล้ว
เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา อนาวรณญาณที่
เราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาไม่มี” อนาวรณ-
ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุตติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
ในพุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุตติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐
ในปฏิสัมภิทากถานี้ มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุตติ ๑,๗๐๐ มีญาณ
๓,๔๐๐
ปฏิสัมภิทากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
๗. ธัมมจักกกถา
ว่าด้วยธรรมจักร
๑. สัจจวาร
วาระว่าด้วยสัจจะ
[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ฯลฯ๑ ดังนั้น คำว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้ จึงได้เป็นชื่อของท่าน
โกณฑัญญะนั่นแล
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขอริยสัจ”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า
“วิชชาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น คำว่า “ญาณเกิดขึ้นแล้ว”
เพราะมีสภาวะรู้ คำว่า “ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้ชัด คำว่า “วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง คำว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมี
สภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม สภาวะที่รู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม สภาวะที่รู้ชัดเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม สภาวะที่รู้แจ้งเป็นอรรถ
แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการ
นี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร
สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐาน
อยู่ในสัจจะ

เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มข้อ ๓๐ หน้า ๔๘๓-๔๘๗ ในธัมมจักกัปปวัตตนวาร ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
[๔๐] คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อ
ว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มี
พระภาคทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรมให้
จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
ชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความสำเร็จในธรรมให้
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
สำเร็จในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรม
ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความ
แกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงสักการะธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มี
พระภาคทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
นอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรม
เป็นธงให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นยอดให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงมีธรรมเป็นใหญ่ให้จักรเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะธรรมจักรนั่นเอง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับไม่ได้
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธินทรีย์เป็นไป ฯลฯ ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญินทรีย์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัทธาพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือวิริยพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติพละ
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิพละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือปัญญาพละเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือวิริยสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรม
คือปีติสัมโพชฌงค์เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสมาธิสัมโพชฌงค์
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาทิฏฐิเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสังกัปปะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือ
สัมมาวาจาเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมากัมมันตะเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาอาชีวะเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมคือสัมมาสติเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมคือสัมมาสมาธิ
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะ
นำออกเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมี
สภาวะตั้งมั่นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
เพราะมีสภาวะตั้งไว้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าอิทธิบาท
เพราะมีสภาวะให้สำเร็จเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสัจจะ
เพราะมีสภาวะเป็นของแท้เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่า
สมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้
ธรรมที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกันเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน
เป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม
เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่านเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี
สภาวะเห็นเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมี
สภาวะพ้นวิเศษเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมี
สภาวะรู้แจ้งเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี
สภาวะสละเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป
เพราะมีสภาวะตัดขาดเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่า
อนุปปาทญาณ๑ เพราะมีสภาวะสงบระงับเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
ทรงให้ธรรมที่ชื่อว่ามนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็นที่ประชุมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธานเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่เป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร
เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นเป็นไป

เชิงอรรถ :
๑ อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอรหัตตผล (ขุ.ป.อ. ๒/๔๐/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๑. สัจจวาร
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสารเป็นไป
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ
มีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจนี้นั้นควรกำหนดรู้” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขอริยสัจ
นี้นั้นเรากำหนดรู้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ฯลฯ
ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๒. สติปัฏฐานวาร
นั้นควรละ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรม
ทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้นเราละได้แล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย
เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่ง
มรรค เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็นโคจร สงเคราะห์เข้า
ในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ รวมลงในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่
ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
๒. สติปัฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๔๑] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” จักษุ
เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๒. สติปัฏฐานวาร
“ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “ก็การพิจารณาเห็น
กายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นจิตในจิต” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้การพิจารณาเห็นกายในกาย” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่
เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้น
ควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะอย่างไร
คือ คำว่า “จักษุเกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะเห็น ฯลฯ คำว่า “แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้ว” เพราะมีสภาวะสว่างไสว
จักษุเป็นธรรม สภาวะที่เห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม สภาวะที่
สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็น
ที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค] ๗. ธัมมจักกกถา ๓. อิทธิปาทวาร
เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่ง
สติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ มีสติปัฏฐานเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าใน
สติปัฏฐาน นับเนื่องในสติปัฏฐาน รวมลงในสติปัฏฐาน ตั้งอยู่ในสติปัฏฐาน
ประดิษฐานอยู่ในสติปัฏฐาน
คำว่า ธรรมจักร อธิบายว่า ชื่อว่าธรรมจักร เพราะมีความหมายว่าอย่างไร
คือ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ชื่อว่า
ธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงให้จักรเป็นไปด้วยการประพฤติธรรม ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาค
ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักร เพราะพระผู้มีพระภาคทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ฯลฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะทรงให้ธรรมที่ชื่อ
ว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดเป็นไป
๓. อิทธิปาทวาร
วาระว่าด้วยอิทธิบาท
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราใน
ธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร” ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
“อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นควรเจริญ” ฯลฯ แสงสว่าง
เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาทอันประกอบ
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขารนี้นั้นเราเจริญแล้ว”
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ
จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคย
ได้ฟังมาก่อนว่า “นี้อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร” ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า :๕๐๘ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น