Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๓-๓ หน้า ๑๓๑ - ๑๙๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓-๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย
อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก



พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๙. ปานธิทายกเถราปทาน
ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหวนั้น
เป็นลาภอันข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
[๘๖] ในกัปที่นับมิได้นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายรองเท้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า
[๘๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๘๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปานธิทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปานธิทายกเถราปทานที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน
๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินจังกมิยเถระ
(พระปุฬินจังกมิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๐] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
แสวงหาเนื้อสมันอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นที่จงกรม
[๙๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ใช้ชายพกห่อทรายมาโปรยลงที่จงกรมของพระสุคตผู้มีพระสิริ
[๙๒] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้โปรยทรายไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการโปรยทราย
[๙๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๙๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินจังกมิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินจังกมิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
นฬมาลิวรรคที่ ๔๘ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๘. นฬมาลิวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรคนี้
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นฬมาลิยเถราปทาน ๒. มณิปูชกเถราปทาน
๓. อุกกาสติกเถราปทาน ๔. สุมนวีชนิยเถราปทาน
๕. กุมมาสทายกเถราปทาน ๖. กุสัฏฐกทายกเถราปทาน
๗. คิริปุนนาคิยเถราปทาน ๘. วิลลิการผลทายกเถราปทาน
๙. ปานธิทายกเถราปทาน ๑๐. ปุฬินจังกมิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๙๕ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน
๔๙. ปังสุกูลวรรค
หมวดว่าด้วยผ้าบังสุกุลเป็นต้น
๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปังสุกูลสัญญกเถระ
(พระปังสุกูลสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นพระสยัมภู ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระชินเจ้าทรงวางผ้าบังสุกุลไว้แล้ว
เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
[๒] ข้าพเจ้าสะพายธนูที่จัดแจงไว้แล้ว
และกระบอกที่ใส่น้ำไว้แล้วถือดาบเข้าป่าใหญ่
[๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลซึ่งแขวนอยู่ที่ยอดไม้ในป่านั้น
จึงวางธนูลง ณ ที่นั้นเอง แล้วประนมมือขึ้นเหนือศีรษะ
[๔] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
และมีปีติอันไพบูลย์ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
แล้วได้ไหว้ผ้าบังสุกุล
[๕] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ไหว้ผ้าบังสุกุลไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการไหว้ผ้าบังสุกุล
[๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลสัญญกเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธสัญญกเถระ๑
(พระพุทธสัญญกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้สาธยายพระเวท๒ ทรงมนตร์๓ จบไตรเพท๔
ชำนาญในคัมภีร์พยากรณ์ลักษณะ๕ คัมภีร์อิติหาสะ๖
พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์๗ และคัมภีร์เกฏุภศาสตร์๘

เชิงอรรถ :
๑ พระพุทธสัญญกเถระ หมายถึง พระวีตโสกเถระ พระอนุชาของพระเจ้าอโศกมหาราช ภายหลังพุทธ
ปรินิพพาน ๒๑๘ ปี (ขุ.เถร.อ. ๑/๒๘๒/๔๕๔)
๒ ผู้สาธยายพระเวท หมายถึงเป็นผู้บอกไตรเพทแก่ชนเหล่าอื่น (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๓ ทรงมนตร์ หมายถึงมีปัญญา รอบรู้ในสาขาของพระเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๔ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (ขุ.อป.อ. ๑/๔๔๒/๓๓๒)
๕ ลักษณะ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๐๓, ขุ.อป.อ.
๑/๔๔๒/๓๓๒)
๖ คัมภีร์อิติหาสะ หมายถึงประวัติศาสตร์ คือพงศาวดารเล่าเรื่องเก่า ๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้
(ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓, ขุ.อป.อ. ๑/๓๓๒/๔๔๒) และดู Dawson, John. A CLASSICAL DICTIONARY
OF HINDU MYTHOLOGY (LONDON; ROUTLEDGE AND KEGAN PAUL 1957) P. 222

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๑๐] ครั้งนั้น ศิษย์ทั้งหลายพากันมาหาข้าพเจ้าไม่ขาดสาย
เหมือนกระแสน้ำ ข้าพเจ้าไม่เกียจคร้าน
สอนมนตร์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
[๑๑] ในคราวนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงกำจัดความมืดมนให้พินาศแล้ว
ให้แสงสว่างคือพระญาณเป็นไป
[๑๒] ครั้งนั้น ศิษย์ของข้าพเจ้าคนหนึ่ง
ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
พวกเขาได้ฟังความนั้น จึงบอกแก่ข้าพเจ้า
[๑๓] ข้าพเจ้าคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ชนย่อมประพฤติตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แต่เราไม่มีลาภเลย
[๑๔] พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย
มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่ ไฉนหนอ
เราควรเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๑๕] ข้าพเจ้าถือหนังสัตว์ ผ้าเปลือกไม้
และคนโทน้ำของข้าพเจ้าแล้ว จึงออกจากอาศรม
เรียกศิษย์ทั้งหลายมา (กล่าวว่า)

เชิงอรรถ :
๗ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพท์มูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์
(Glossary) ซึ่งรวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยากหรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมาย เป็น
ส่วนหนึ่งของปรกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ
(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓)
๘ เกฏุภศาสตร์ คัมภีร์ที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็น
ส่วนหนึ่งของกัลปะซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ
(ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
[๑๖] ความเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกนี้หาได้ยาก
เหมือนหาดอกมะเดื่อที่ดี เหมือนหากระต่ายในดวงจันทร์
หรือเหมือนหาน้ำมันกา๑
[๑๗] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก เมื่อทั้ง ๒ อย่างมีอยู่
แต่การได้สดับพระสัทธรรมก็หาได้ยากยิ่ง
[๑๘] พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
ความเจริญจักมีแก่พวกเราผู้ได้ดวงตา มาเถิดท่านทั้งหลาย
เราทุกคนจักไปยังสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[๑๙] ศิษย์ทุกคนสะพายคนโทน้ำ นุ่งผ้าหนังสัตว์ที่มีเล็บ
ในครั้งนั้น พวกเขาเกล้าชฎาและหาบบริขารพากันออกจากป่าใหญ่
[๒๐] พวกเขาทอดสายตาดูประมาณชั่วแอก
แสวงหาประโยชน์สูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ดุจพญาไกรสรราชสีห์
[๒๑] พวกเขาไม่มีความสะดุ้ง หมดความละโมบ
มีปัญญารักษาตน มีความประพฤติสงบ
เที่ยวไปพร้อมด้วยเสบียงกรังเข้าไปใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๒๒] ในระยะทาง ๑ โยชน์ครึ่ง ข้าพเจ้าได้เกิดเจ็บป่วยขึ้น
จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้วสิ้นชีวิตในที่นั้น
[๒๓] ในกัปที่ ๙๔ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้สัญญาในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า

เชิงอรรถ :
๑ น้ำมันกาหายาก เพราะกาทั้งหลายถูกความหิวความสะดุ้งเบียดเบียนทั้งกลางคืนและกลางวันจึงหามัน
เหลวได้ยาก (ขุ.อป.อ. ๒/๑๖/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
[๒๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๒๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระพุทธสัญญกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
พุทธสัญญกเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. ภิสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระภิสทายกเถระ
(พระภิสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าลงสู่สระโบกขรณีที่ช้างนานาชนิดอาศัยอาบกิน
ถอนเหง้าบัวในสระนั้น เพราะเหตุต้องการจะกิน
[๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ทรงผ้ากัมพลสีแดง เสด็จไปในอากาศ
[๒๙] ขณะนั้น ข้าพเจ้าได้ยินเสียงชายผ้าบังสุกุลสะบัด
จึงแหงนหน้าขึ้นดู ก็ได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๓๐] ข้าพเจ้ายืนอยู่ที่สระโบกขรณีนั้นนั่นแหละ
ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
น้ำหวานไหลออกจากเหง้าบัว
น้ำนมและเนยใสไหลออกจากก้านบัว
[๓๑] ขอพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
โปรดทรงรับ(ภิกษา)เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยเถิด
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา
มีพระยศยิ่งใหญ่ จึงเสด็จลง(จากอากาศ)
[๓๒] ทรงรับภิกษาของข้าพเจ้า เพื่ออนุเคราะห์
ครั้นแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงทำอนุโมทนาแก่ข้าพเจ้าว่า
[๓๓] ท่านผู้มีบุญมาก ขอจงมีความสุขเถิด
คติจงสำเร็จแก่ท่าน ด้วยการถวายเหง้าบัวนี้
ขอท่านจงได้รับความสุขอันไพบูลย์เถิด
[๓๔] ครั้นตรัสแล้วอย่างนี้
พระชินสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
ผู้ตรัสรู้เอง ได้ทรงรับภิกษาแล้วเสด็จไปทางอากาศ
[๓๕] ลำดับนั้น ข้าพเจ้าเก็บเหง้าบัว กลับมายังอาศรม
คล้องเหง้าบัวไว้บนต้นไม้ ระลึกถึงทานของตน
[๓๖] ครั้งนั้น ลมพายุใหญ่ตั้งขึ้นแล้วพัดป่าให้ปั่นป่วน
อากาศบันลือลั่นเมื่อสายฟ้าผ่าลงมา
[๓๗] ลำดับนั้น สายฟ้าผ่าลงที่ศีรษะของข้าพเจ้า
ดังนั้นข้าพเจ้านั้นเป็นผู้นั่งตายในที่นั้นเอง
[๓๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยกรรมดี
ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต ทิ้งไว้แต่ซากศพ
และข้าพเจ้าได้รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๓. ภิสทายกเถราปทาน
[๓๙] นางอัปสร ๘๖,๐๐๐ นาง ล้วนประดับตกแต่ง
อย่างสวยงาม ต่างก็บำรุงข้าพเจ้าอยู่ทุกเช้าเย็น
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๐] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามาสู่กำเนิดมนุษย์
เป็นผู้มีความสุข ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ
ผู้คงที่พระองค์นั้นทรงอนุเคราะห์แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๔๒] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายเหง้าบัวไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว
[๔๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระภิสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ภิสทายกเถราปทานที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระญาณัตถวิกเถระ
(พระญาณัตถวิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๖] ข้าพเจ้าสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้
ณ ทิศใต้แห่งภูเขาหิมพานต์
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแสวงหาประโยชน์สูงสุด
จึงอาศัยอยู่ในป่าใหญ่
[๔๗] ข้าพเจ้ายินดีด้วยเหง้ามันและผลไม้ตามมีตามได้
ไม่เที่ยวแสวงหา อยู่เพียงผู้เดียว
[๔๘] ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว
พระองค์ทรงประกาศสัจจะ ๔ ช่วยฉุดมหาชนขึ้น
[๔๙] ข้าพเจ้ามิได้สดับข่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ใคร ๆ ก็ไม่บอกข้าพเจ้า เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี
ข้าพเจ้าจึงได้สดับข่าวพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๕๐] ข้าพเจ้านำไฟและฟืนออกแล้ว
กวาดอาศรม หาบบริขารออกจากป่าใหญ่ไป
[๕๑] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าพักอยู่ในบ้านและนิคม ๑ คืน
เข้าไปใกล้กรุงจันทวดีโดยลำดับ
[๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าสุเมธะ
ทรงแสดงอมตบทช่วยฉุดสัตว์จำนวนมากขึ้น
[๕๓] ข้าพเจ้าได้ผ่านหมู่ชนเข้าไปไหว้พระชินเจ้าผู้เสด็จมาดีแล้ว
ทำผ้าหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
แล้วสรรเสริญพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๕๔] พระองค์ผู้เป็นพระศาสดาผู้สูงสุด
แห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้ปรากฏดุจธง
เป็นดุจธงชัยและเป็นดุจเสาพิธีผูกสัตว์บูชายัญ
เป็นที่หมายปอง เป็นที่พึ่ง และเป็นดุจดวงประทีปของหมู่สัตว์
ภาณวารที่ ๒๑ จบ
[๕๕] พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในญาณทัสสนะ๑
ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นไปได้
ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่นที่จะช่วยหมู่สัตว์
ให้ข้ามพ้น(วัฏฏสงสาร)ไปได้ยิ่งกว่าพระองค์ไม่มีในโลก
[๕๖] มหาสมุทรที่ลึกที่สุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้ด้วยปลายหญ้าคา
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณของพระองค์
ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย
[๕๗] แผ่นดินก็อาจจะวางลงบนตราชั่งแล้วชั่งดูได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
แต่สิ่งที่เสมอด้วยพระปัญญาของพระองค์ไม่มีเลย
[๕๘] อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ
ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์
ใคร ๆ ไม่อาจจะประมาณได้เลย
[๕๙] น้ำในมหาสมุทร อากาศและพื้นแผ่นดิน
สิ่งทั้ง ๓ นี้ ก็พึงอาจประมาณได้
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
พระองค์เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะประมาณไม่ได้เลย

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ หมายถึงมัคคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ วิปัสสนาญาณ (ที.สี.อ.
๑/๒๓๔/๑๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๖๐] ข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว
ประนมมือยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น
[๖๑] พระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาเสมอด้วยพื้นปฐพี
เป็นเมธีชั้นเลิศ ซึ่งชนทั้งหลายถวายพระนามว่าสุเมธะ
ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
[๖๒] เราจักพยากรณ์ผู้ที่มีจิตเลื่อมใส
ได้กล่าวสรรเสริญญาณของเรา
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
[๖๓] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป
จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติอยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๐๐๐ ชาติ
[๖๔] จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติ
และจักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๖๕] เขาจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
ก็จักเป็นผู้มั่นคงในกรรมดี
จักเป็นผู้มีความดำริไม่บกพร่อง มีปัญญาเฉียบแหลม
[๖๖] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช จักอุบัติขึ้นในโลก
[๖๗] ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวช
จักบรรลุอรหัตตผลตั้งแต่อายุได้ ๗ ขวบ
[๖๘] ในระหว่างกาลที่ข้าพเจ้าจำความได้
จนถึงการบรรลุศาสนธรรมนี้
ข้าพเจ้าไม่รู้จักความไม่สบายใจเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
[๖๙] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิด เสวยสมบัติในภพน้อยภพใหญ่
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
[๗๐] ไฟ ๓ กอง ข้าพเจ้าดับได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
อาสวะทั้งปวงสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
[๗๑] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระญาณไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ
[๗๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๗๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระญาณัตถวิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ญาณัตถวิกเถราปทานที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจันทนมาลิยเถระ๑
(พระจันทนมาลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๗๕] ข้าพเจ้าละเบญจกามคุณที่น่ายินดี น่าพอใจ
และละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
[๗๖] ครั้นบวชแล้ว ได้เว้นกายทุจริต
ละวจีทุจริต อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
[๗๗] ข้าพเจ้าอยู่คนเดียว พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ได้เสด็จมาใกล้ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า
แต่ก็ได้ทำการปฏิสันถาร
[๗๘] ครั้นทำการปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึงชื่อและโคตรว่า
ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ
[๗๙] ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร
หรือเป็นท้าวมหาพรหม มา ณ ที่นี้
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
[๘๐] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่งปรากฏที่เท้าของท่าน
ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจักรู้จักท่านได้อย่างไร
ขอท่านจงบอกชื่อและโคตร ขจัดความสงสัยของเราเถิด
[๘๑] พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราไม่ใช่เทวดา
ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
และเราไม่ได้เป็นพรหม
เราเป็นผู้สูงส่งกว่าชนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ พระจันทนมาลิยเถระ หมายถึงพระวัลลิยเถระหรือพระกัณหมิตตะ ชาวกรุงเวสาลี (ขุ.เถร.อ. ๑/๑๖๘/๔๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๘๒] ล่วงวิสัยของชนเหล่านั้น
ทำลายเครื่องผูกมัดคือกามได้แล้ว
เผากิเลสหมดแล้ว บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
[๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระมหามุนี
ถ้าพระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ขอเชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด
[๘๔] พระองค์ทำที่สุดทุกข์ได้ ข้าพระองค์จักบูชาพระองค์
ข้าพเจ้าจึงได้ลาดหนังสัตว์ถวายพระศาสดา
[๘๕] พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น
ดุจพญาราชสีห์นั่งอยู่ในถ้ำ
ข้าพเจ้ารีบขึ้นภูเขาเก็บผลมะม่วง
[๘๖] ดอกสาละที่สวยงามและแก่นจันทน์ซึ่งมีราคามาก
ข้าพเจ้ารีบหอบของทั้งหมดเข้าเฝ้าพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
[๘๗] ได้ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วใช้ดอกสาละบูชา
ได้ใช้แก่นจันทน์ลูบไล้แล้วไหว้พระศาสดา
[๘๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี มีปีติไพบูลย์แล้ว
พระศาสดาผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระนามว่าสุเมธะ ประทับนั่งบนหนังสัตว์
[๘๙] พระองค์เมื่อจะให้ข้าพเจ้ารื่นเริง
ได้ทรงพยากรณ์กรรมของข้าพเจ้าในครั้งนั้นว่า
ด้วยการถวายผลไม้กับของหอมและดอกไม้ทั้ง ๒ อย่างนี้
[๙๐] ผู้นี้จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑๒๕ กัป
เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่บกพร่อง มีอำนาจ
[๙๑] จักไปเกิดเป็นมนุษย์ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีฤทธิ์มาก
มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขตตลอด ๑๒๖ กัป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๙๒] วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตนครมีนามว่าเวภาระ
นครนั้นจักเป็นทองคำล้วน
ประดับด้วยรัตนชาตินานาชนิด
[๙๓] เขาจักเวียนเกิดเวียนตายในกำเนิดทั้งหลายด้วยอุบายนี้แล
จักเป็นผู้มีความสุขทุกภพ
คือในภพเทวดาหรือภพมนุษย์
[๙๔] เมื่อถึงภพสุดท้าย เขาจักเกิดเป็นเผ่าพันธุ์ของท่านผู้ประเสริฐ๑
จักออกบวชเป็นบรรพชิต
จักเป็นผู้ไม่ออกปากขอปัจจัย ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๙๕] ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกตรัสอย่างนี้แล้ว
ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเพ่งดูอยู่ ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ
[๙๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
[๙๗] จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว อุบัติในครรภ์มารดา
เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในครรภ์ ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
[๙๘] เมื่อข้าพเจ้ายังอยู่ในครรภ์มารดา โภชนาหารคือข้าวและน้ำ
บังเกิดแก่มารดาตามความพอใจ ตามปรารถนาของข้าพเจ้า
[๙๙] ข้าพเจ้าบวชเป็นบรรพชิตเมื่ออายุได้ ๕ ขวบ
ขณะปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุอรหัตตผล

เชิงอรรถ :
๑ เผ่าพันธุ์ของท่านผู้ประเสริฐ หมายถึงผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ (ขุ.อป.อ. ๒/๒๗๔/๒๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๕. จันทนมาลิยเถราปทาน
[๑๐๐] ข้าพเจ้าค้นหาบุพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นบุพกรรมอะไร ๆ
แต่ข้าพเจ้ามาระลึกถึงกรรมของตนได้
นอกเหนือไปในกัปที่ ๓๐,๐๐๐
[๑๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าพระองค์อาศัยคำสั่งสอนของพระองค์
จึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๑๐๒] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๑๐๓] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๔] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๕] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจันทนมาลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธาตุปูชกเถระ
(พระธาตุปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๖] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิทธัตถะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก ปรินิพพานแล้ว
ข้าพเจ้าได้นำพวกญาติของข้าพเจ้ามาทำการบูชาพระธาตุ
[๑๐๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระธาตุไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ
[๑๐๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๑๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินุปปาทกเถระ
(พระปุฬินุปปาทกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๑๑] ข้าพเจ้าเป็นดาบสชื่อเทวละ อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมพานต์
ที่ภูเขานั้น ที่จงกรมของข้าพเจ้าเป็นที่ที่พวกอมนุษย์เนรมิตให้
[๑๑๒] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามุ่นมวยผม สะพายคนโทน้ำ
เมื่อจะแสวงหาประโยชน์อย่างสูงสุด ได้ออกจากป่าใหญ่ไปในกาลนั้น
[๑๑๓] ครั้งนั้น ศิษย์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน อุปัฏฐากข้าพเจ้า
พวกเขาขวนขวายในการงานของตนอยู่ในป่าใหญ่
[๑๑๔] ข้าพเจ้าออกจากอาศรมได้ก่อพระเจดีย์ทรายแล้ว
รวบรวมดอกไม้นานาชนิดมาบูชาพระเจดีย์นั้น
[๑๑๕] ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระเจดีย์แล้ว เข้าไปสู่อาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันแล้ว ถามความข้อนี้ว่า
[๑๑๖] ข้าแต่ท่านเทวละ ท่านนมัสการสถูปที่ก่อด้วยทรายทำไม
แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายก็อยากจะรู้
ข้าพเจ้าทั้งหลายถามท่านแล้วโปรดบอกด้วยเถิด
[๑๑๗] ข้าพเจ้าตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้มีพระจักษุ มีพระยศยิ่งใหญ่
ท่านทั้งหลายได้พบแล้วในบทมนตร์ของเรามิใช่หรือ
เรานมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดเหล่านั้น
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่เช่นไร
[๑๑๘] พระพุทธเจ้าเหล่านั้นผู้มีความเพียรมาก
เป็นสัพพัญญู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีคุณอย่างไร
มีศีลอย่างไร มีพระยศยิ่งใหญ่เช่นไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๑๙] พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑
มีพระทนต์ครบ ๔๐ ซี่ มีดวงเนตรดังดวงตาแห่งโค
และสดใสเหมือนผลมะกล่ำ
[๑๒๐] อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้บริสุทธิ์เมื่อเสด็จดำเนินไป
ก็ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก
พระชานุของพระองค์ไม่ลั่น ใคร ๆ ไม่ได้ยินเสียงที่ต่อ
[๑๒๑] อนึ่ง พระสุคตทั้งหลาย
เมื่อจะเสด็จดำเนินไม่ทรงรีบร้อนเสด็จดำเนินไป
ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๑๒๒] และพระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่สะดุ้ง
ดุจพญาไกรสรราชสีห์
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่ทรงยกพระองค์ไม่ข่มสัตว์ทั้งหลาย
[๑๒๓] ทรงหลุดพ้นจากการถือตัวและดูหมิ่น
ท่านมีพระองค์เสมอในสัตว์ทั้งปวง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่ทรงยกพระองค์
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
[๑๒๔] อนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเสด็จอุบัติขึ้น
พระองค์ทรงแสดงแสงสว่าง
ทรงประกาศวิการ ๖๒ ทั่วพื้นแผ่นดินนี้ทั้งสิ้น
[๑๒๕] ทั้งพระองค์ทรงเห็นนรกด้วย
ครั้งนั้น ไฟนรกดับ มหาเมฆบันดาลฝนให้ตก
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้
๒ วิการ ๖ หมายถึงแผ่นดินไหว ๖ ประการ คือ (๑) ข้างหน้ายืดขึ้นข้างหลังยุบลง (๒) ข้างหลังยืดขึ้น
ข้างหน้ายุบลง (๓) ข้างซ้ายยืดขึ้นข้างขวายุบลง (๔) ข้างขวายืดขึ้นข้างซ้ายยุบลง (๕) ตรงกลางยืดขึ้น
โดยรอบยุบลง (๖) โดยรอบยืดขึ้นตรงกลางยุบลง (ขุ.พุทฺธ.อ. ๗๑/๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๒๖] พระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น ทรงพระคุณประเสริฐมาก
ไม่มีใครเทียบได้ มีพระยศยิ่งใหญ่ มีพระคุณหาประมาณมิได้
ใคร ๆ ไม่เกินพระองค์ไปโดยเกียรติคุณ
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นเช่นนี้
[๑๒๗] ศิษย์ทุกคนเป็นผู้มีความเคารพ ชื่นชมถ้อยคำของข้าพเจ้า
ต่างได้ปฏิบัติเช่นนั้น ตามความสามารถ ตามกำลัง(ของตน)
[๑๒๘] พวกเขามีความเพลิดเพลินในกรรมของตน
เชื่อฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า
มีฉันทะอัธยาศัยน้อมไปในความเป็นพระพุทธเจ้า
พากันบูชาพระเจดีย์ทราย
[๑๒๙] ครั้งนั้น เทพบุตรผู้มียศใหญ่ จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
อุบัติในพระครรภ์ของพระมารดา หมื่นจักรวาลไหวแล้ว
[๑๓๐] ข้าพเจ้ายืนอยู่ ณ ที่จงกรมไม่ไกลจากอาศรม
ศิษย์ทุกคนได้มาประชุมพร้อมกันในสำนักของข้าพเจ้า ถามว่า
[๑๓๑] แผ่นดินบันลือลั่นดุจโคอุสภะคึกคะนอง
ดุจราชสีห์คำรน ดุจจระเข้ฟาดหาง จักมีผลเป็นอย่างไร
[๑๓๒] ข้าพเจ้าตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ที่ข้าพเจ้าประกาศ ที่ใกล้พระสถูปกองทราย
บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีโชค ผู้ทรงเป็นพระศาสดา
เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดาแล้ว
[๑๓๓] ข้าพเจ้าแสดงธรรมกถาแก่ศิษย์เหล่านั้นแล้ว
กล่าวสดุดีพระมหามุนี
ส่งศิษย์ของตนไปแล้ว นั่งขัดสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๓๔] ก็ข้าพเจ้ามีกำลังสิ้นไปแล้วหนอ ป่วยหนัก
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดแล้ว
ได้สิ้นชีวิตในที่นั้นเอง
[๑๓๕] ครั้งนั้น ศิษย์ทุกคนมาประชุมกันได้สร้างจิตกาธานขึ้น
แล้วได้ยกร่างของข้าพเจ้าขึ้นวางยังจิตกาธาน
[๑๓๖] พวกเขาพากันยืนประนมมือเหนือศีรษะล้อมรอบจิตกาธาน
พากันเศร้าโศก คร่ำครวญ
[๑๓๗] เมื่อศิษย์เหล่านั้นพิไรรำพันอยู่
ข้าพเจ้าได้ไปใกล้จิตกาธานแล้วสั่งสอนพวกเขาว่า
เราคืออาจารย์ของเธอทั้งหลาย
ท่านผู้มีปัญญาดีทั้งหลาย อย่าได้เศร้าโศกเลย
[๑๓๘] ท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
พึงพยายามในประโยชน์ของตนทั้งกลางวันกลางคืน
อย่าได้ประมาท จงใช้เวลาที่มีให้เป็นประโยชน์
[๑๓๙] ข้าพเจ้าพร่ำสอนศิษย์ของตนแล้วกลับไปยังเทวโลก
ได้อยู่ในเทวโลกถึง ๑๘ กัป
[๑๔๐] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติ
และได้ครองเทวสมบัติหลายร้อยชาติ
[๑๔๑] ในกัปที่เหลือ ข้าพเจ้าแม้จะเวียนว่ายตายเกิดไปมา
แต่ก็ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการก่อพระเจดีย์ทราย
[๑๔๒] ในเดือนที่ดอกโกมุทบาน
ต้นไม้จำนวนมากก็มีดอกบาน ฉันใด
ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ที่พระศาสดาผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
ให้เบิกบานแล้วในสมัยนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน
[๑๔๓] ข้าพเจ้ามีความเพียรนำพาธุระไป
อันเป็นเหตุนำธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะมาให้
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๔] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
[๑๔๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๔๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินุปปาทกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินุปปาทกเถราปทานที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๘. ตรณิยเถราปทาน
๘. ตรณิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตรณิยเถระ
(พระตรณิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๔๘] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าอัตถทัสสี
ผู้เป็นพระสยัมภู ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
เป็นพระตถาคต ได้เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำวินดา
[๑๔๙] ข้าพเจ้าเป็นเต่าเที่ยวไปมาในแม่น้ำ ขึ้นจากน้ำแล้ว
ประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามฟาก
จึงเข้าเฝ้าพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก กราบทูลว่า
[๑๕๐] ขอทูลเชิญพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นมหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี
เสด็จขึ้นหลังของข้าพระองค์เถิด
ข้าพระองค์จะนำเสด็จพระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์ข้ามฟาก
[๑๕๑] พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลกพระนามว่าอัตถทัสสี
ทราบความดำริของข้าพเจ้าแล้ว
จึงเสด็จขึ้นประทับยืนบนหลังของข้าพเจ้า
[๑๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าจำความได้ และรู้เดียงสา
ข้าพเจ้าไม่มีความสุขเช่นกับความสุข(ที่ได้รับ)
ในขณะที่ฝ่าพระบาทถูกต้องเลย
[๑๕๓] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
เสด็จขึ้นประทับยืนที่ริมฝั่งแม่น้ำแล้ว
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๘. ตรณิยเถราปทาน
[๑๕๔] เราข้ามกระแสน้ำเพียงชั่วขณะจิตเป็นไป
ก็พญาเต่าตัวนี้มีบุญส่งเราข้ามฟาก
[๑๕๕] ด้วยการส่งพระพุทธเจ้า ข้ามฟากนี้
และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา
เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป
[๑๕๖] เขาจากเทวโลกมามนุษยโลกนี้
อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว
นั่ง ณ อาสนะเดียวจักข้ามกระแสความสงสัยได้
[๑๕๗] พืชแม้น้อยที่ชาวนาหว่านลงในผืนนาที่ดี
เมื่อฝนตกลงอยู่โดยชอบ
ผลย่อมทำให้ชาวนายินดี แม้ฉันใด
[๑๕๘] พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญให้ผลสม่ำเสมอ
ผลก็จักทำให้ข้าพเจ้ายินดี
[๑๕๙] ข้าพเจ้ามีจิตเด็ดเดี่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียร
สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
อยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
[๑๖๐] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการส่งพระพุทธเจ้าข้ามฟาก
[๑๖๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๖๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๖๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตรณิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตรณิยเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระธัมมรุจิเถระ
(พระธัมมรุจิเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๖๔] ในเวลาที่พระพุทธชินเจ้าพระนามว่าทีปังกร
ทรงพยากรณ์สุเมธดาบสว่า
ในกัปนับประมาณมิได้จากกัปนี้ไป
ดาบสนี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
[๑๖๕] พระมารดาผู้ให้กำเนิดดาบสนี้
จักมีพระนามว่ามายา พระบิดาจักมีพระนามว่าสุทโธทนะ
ดาบสนี้จักมีนามว่าโคดม
[๑๖๖] ดาบสนี้จักตั้งความเพียรบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว
จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๖๗] พระอุปติสสเถระและพระโกลิตเถระจักเป็นพระอัครสาวก
พระอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานนท์ จักอุปัฏฐากพระชินเจ้านี้
[๑๖๘] เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณีจักเป็นพระอัครสาวิกา
จิตตคหบดีอุบาสกและหัตถกคหบดีอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวี จักเป็นอัครอุบาสก
[๑๖๙] ขุชชุตตราอุบาสิกาและนันทมารดาอุบาสิกาเป็นอัครอุบาสิกา
ต้นไม้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของนักปราชญ์ผู้นี้
ชาวโลกเรียกกันว่าต้นอัสสัตถพฤกษ์
[๑๗๐] มนุษย์และเทวดาได้สดับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะหาใครเสมอเหมือนมิได้
ต่างเป็นผู้เบิกบานประนมมือนมัสการ
[๑๗๑] ข้าแต่พระมหามุนี
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นมาณพชื่อเมฆะ ศึกษามาดีแล้ว
ได้สดับคำพยากรณ์อันประเสริฐของสุเมธดาบส
[๑๗๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้คุ้นเคยกับสุเมธดาบส ผู้มีความกรุณา
และรีบออกบวชตามสุเมธดาบส ผู้มีความเพียร ซึ่งบวชอยู่
[๑๗๓] เป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์และอินทรีย์ ๕
มีอาชีวะหมดจด มีสติ เป็นนักปราชญ์
กระทำตามคำสั่งสอนของพระชินเจ้า
[๑๗๔] ข้าพเจ้าเป็นอยู่อย่างนี้
ถูกปาปมิตรบางคนชักนำในความประพฤติเลวทราม
ถูกขจัดออกจากหนทางที่ชอบแล้ว
[๑๗๕] เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งวิตก
จึงหลีกออกจากศาสนา
ภายหลังถูกปาปมิตรนั้นชักชวนให้ฆ่ามารดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
[๑๗๖] ข้าพเจ้ามีจิตชั่วร้ายได้ทำอนันตริยกรรมฆ่ามารดา
จุติจากภพนั้นแล้วไปเกิดในอเวจีมหานรกที่แสนจะทารุณ
[๑๗๗] ข้าพเจ้าตกนรกประสบความลำบากเวียนว่ายตายเกิดอยู่นาน
ไม่ได้เห็นสุเมธดาบส ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้ประเสริฐกว่านรชน
[๑๗๘] ในกัปนี้ ข้าพเจ้าเกิดเป็นปลาติมิงคละอยู่ในมหาสมุทร
เห็นเรือในสมุทรสาคร จึงเข้าไปเพื่อจะกิน
[๑๗๙] พวกพ่อค้าเห็นข้าพเจ้าก็กลัว
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ข้าพเจ้าได้ยินเสียงกึกก้องว่า
โคตมะ ที่พ่อค้าเหล่านั้นเปล่งขึ้น
[๑๘๐] จึงนึกถึงสัญญาเก่าขึ้นมาได้ จากนั้นก็เสียชีวิตแล้ว
ไปเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่ง ในกรุงสาวัตถี
[๑๘๑] ข้าพเจ้าชื่อว่าธัมมรุจิ เป็นผู้เกลียดบาปกรรมทุกอย่าง
พออายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้พบพระพุทธองค์ผู้ส่องโลกให้โชติช่วง
[๑๘๒] ข้าพเจ้าจึงได้ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
แล้วบวชเป็นบรรพชิต
เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ต่อคืนและวัน
[๑๘๓] ครั้งนั้น พระองค์ผู้เป็นมุนี
ทอดพระเนตรเห็นข้าพเจ้าเข้าจึงตรัสว่า
ธัมมรุจิ ท่านจงระลึกถึงเรา
ลำดับนั้น ข้าพเจ้ากราบทูลบุพกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
กับพระพุทธเจ้าว่า
[๑๘๔] นานมาแล้ว ข้าพระองค์ไม่ได้พบพระองค์
ผู้ทรงบุญลักษณะตั้ง ๑๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๙. ธัมมรุจิเถราปทาน
ผู้ทรงมีเหตุปัจจัยบริสุทธิ์ในชาติปางก่อน
บัดนี้ ข้าพระองค์ได้พบพระสรีระของพระองค์
นับว่าเป็นการเห็นที่ประเสริฐแท้ ไม่มีสิ่งเปรียบ
[๑๘๕] ความมืดคือโมหะ พระองค์ขจัดได้สิ้นเชิงหนอ
ข้าพเจ้าชมเชยพระองค์แล้ว
แม่น้ำคือตัณหา อันพระองค์ผู้มีอินทรีย์อันรักษาไว้ดีแล้ว
ให้เหือดแห้งไปโดยสิ้นเชิง พระนิพพานที่ไม่มีมลทิน๑
อันพระองค์ทรงชำระดีแล้ว สิ้นกาลนาน
ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์บรรลุนัยนา๒
ที่สำเร็จด้วยญาณสิ้นกาลนาน
[๑๘๖] ข้าพระองค์พินาศไปในระหว่างตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระโคดม แต่วันนี้ ข้าพระองค์ได้พบพระองค์
การพบเป็นต้นที่ได้ทำไว้จักไม่พินาศไปอีก
[๑๘๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๘๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ พระนิพพานที่ไม่มีมลทิน หมายถึงบรรลุนิพพาน (ขุ.อป.อ. ๒/๑๘๕-๘๖/๒๖๑)
๒ บรรลุนัยนา หมายถึงทิพพจักขุ (ขุ.อป.อ. ๒/๑๘๕-๘๖/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๑๘๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระธัมมรุจิเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ธัมมรุจิเถราปทานที่ ๙ จบ
๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระสาลมัณฑปิยเถระ
(พระสาลมัณฑปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๙๐] ข้าพเจ้าเข้าไปยังป่าไม้สาละ สร้างอาศรมอย่างสวยงาม
มุงบังด้วยดอกสาละ อยู่ในป่าใหญ่
[๑๙๑] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นพระสยัมภู
เป็นบุคคลผู้เลิศ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ผู้ทรงประสงค์วิเวก ได้เสด็จเข้าไปยังป่าไม้สาละ
[๑๙๒] ข้าพเจ้าได้ออกจากอาศรมไปยังป่าใหญ่
เที่ยวแสวงหาเผือกมันและผลไม้ในป่า ในเวลานั้น
[๑๙๓] ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ประทับนั่งเข้าสมาบัติรุ่งโรจน์อยู่ ในป่าใหญ่นั้น
[๑๙๔] ข้าพเจ้าปักไม้เป็น ๔ เส้า ทำปะรำอย่างดี
มุงด้วยดอกสาละเบื้องบนพระพุทธเจ้า
[๑๙๕] ข้าพเจ้าคงตั้งปะรำซึ่งมุงด้วยดอกสาละไว้ ๗ วัน
ทำจิตให้เลื่อมใสในกรรมนั้น
ได้ไหว้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๑๙๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
เสด็จออกจากสมาธิ ประทับนั่งทอดพระเนตรดูเพียงชั่วแอก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๑๙๗] สาวกของพระศาสดาพระนามว่าปิยทัสสี
ชื่อว่าวรุณะ พร้อมด้วยสาวกผู้ได้วสี ๑๐๐,๐๐๐ รูป
ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาผู้นำสัตว์โลก
[๑๙๘] ส่วนพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปิยทัสสี
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว
ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ
[๑๙๙] พระอนุรุทธเถระผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากของพระศาสดา
พระนามว่าปิยทัสสี
ห่มจีวรเฉวียงบ่าแล้ว ได้ทูลถามพระมหามุนีว่า
[๒๐๐] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
อะไรหนอ เป็นเหตุให้พระศาสดาทรงแย้ม
เพราะเมื่อมีเหตุ พระศาสดาจึงทรงทำการแย้มให้ปรากฏ
[๒๐๑] พระศาสดาตรัสว่า มาณพใดตั้งเครื่องมุงบังดอกสาละ
เพื่อเราไว้ตลอด ๗ วัน
เราระลึกถึงกรรมของมาณพนั้น
จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ
[๒๐๒] เรายังไม่เห็นโอกาสที่บุญจะไม่ให้ผล
โอกาสในเทวโลกหรือมนุษยโลกยังไม่สงบ
[๒๐๓] เมื่อเขาผู้เพียบพร้อมด้วยบุญกรรมอยู่ในเทวโลก
บริวารของเขาเท่าที่มี จักมีดอกสาละมุงบัง
[๒๐๔] เขาเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม
จักรื่นรมย์ในเทวโลกนั้นด้วยการฟ้อน
การขับร้อง และการประโคมที่เป็นทิพย์ในกาลทุกเมื่อ
[๒๐๕] บริวารของเขาเท่าที่มีจักมีกายมีกลิ่นหอมฟุ้ง
และฝนดอกสาละจักตกลงทั่วไปในขณะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๒๐๖] มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว
จักมาเกิดเป็นมนุษย์ แม้ในมนุษยโลกนี้
เครื่องมุงบังดอกสาละ จักทรงอยู่ตลอดกาลทั้งปวง
[๒๐๗] ในมนุษยโลกนี้ การฟ้อนรำและการขับร้อง
ที่ประกอบด้วยเสียงกังสดาลอย่างไพเราะ
จักแวดล้อมมาณพนี้เป็นนิตย์
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐๘] และเมื่อดวงอาทิตย์อุทัย ฝนดอกสาละจะตกลง
ฝนดอกสาละที่ประกอบด้วยบุญกรรม
จักตกลงมาตลอดกาลทั้งปวง
[๒๐๙] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
พระศาสดาพระนามว่าโคดม ตามพระโคตร
ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราชจักอุบัติขึ้นในโลก
[๒๑๐] มาณพนี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น
เป็นโอรสที่ธรรมเนรมิต
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วนิพพาน
[๒๑๑] เมื่อเขาตรัสรู้ธรรม จักมีเครื่องมุงบังดอกสาละ
เมื่อถูกเผาอยู่บนเชิงตะกอน
ที่เชิงตะกอนนั้นก็จักมีเครื่องมุงบังดอกสาละ
[๒๑๒] พระมหามุนีพระนามว่าปิยทัสสี
ทรงพยากรณ์วิบากแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัท
ให้ชุ่มชื่นด้วยฝนคือธรรม
[๒๑๓] ข้าพเจ้าได้ครองเทวสมบัติในเทวโลกตลอด ๓๐ กัป
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๗ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน
[๒๑๔] ข้าพเจ้าจุติจากเทวโลกมาในมนุษยโลกนี้
ได้รับความสุขอันไพบูลย์
แม้ในมนุษยโลกนี้ก็มีเครื่องมุงบังดอกสาละ
นี้เป็นผลแห่งการสร้างปะรำ
[๒๑๕] ภพนี้เป็นภพสุดท้ายของข้าพเจ้า
ภพสุดท้ายกำลังเป็นไปอยู่
แม้ในภพนี้เครื่องมุงบังดอกสาละก็จักมีตลอดกาลทั้งปวง
[๒๑๖] ข้าพเจ้าให้พระมหามุนีพระนามว่าโคตมศากยะ
ผู้ประเสริฐทรงยินดี ละความชนะ๑
และละความพ่ายแพ้๒ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว
[๒๑๗] ในกัปที่ ๑,๘๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๑๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ละความชนะ หมายถึงละทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)
๒ ละความพ่ายแพ้ หมายถึงละทุกข์ในอบาย ๔ (ขุ.อป.อ. ๒/๙/๑๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔๙. ปังสุกูลวรรค] รวมอปทานที่มีในวรรค
[๒๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระสาลมัณฑปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
สาลมัณฑปิยเถราปทานที่ ๑๐ จบ
ปังสุกูลวรรคที่ ๔๙ จบบริบูรณ์
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ปังสุกูลสัญญกเถราปทาน ๒. พุทธสัญญกเถราปทาน
๓. ภิสทายกเถราปทาน ๔. ญาณัตถวิกเถราปทาน
๕. จันทนมาลิยเถราปทาน ๖. ธาตุปูชกเถราปทาน
๗. ปุฬินุปปาทกเถราปทาน ๘. ตรณิยเถราปทาน
๙. ธัมมรุจิเถราปทาน ๑๐. สาลมัณฑปิยเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๒๑๙ คาถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน
๕๐. กิงกณิปุปผวรรค
หมวดว่าด้วยดอกกระดิ่งเป็นต้น
๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระ
(พระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
ผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ซอกภูเขา
[๒] ข้าพเจ้าเก็บดอกกระดิ่งทอง ๓ ดอกมาบูชา
ครั้นบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ได้บ่ายหน้าหลีกไปทางทิศใต้
[๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกิงกณิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปังสุกูลปูชกเถระ
(พระปังสุกูลปูชกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๘] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่ออุทัพพละ ที่ภูเขานั้น
ข้าพเจ้าได้เห็นผ้าบังสุกุลแขวนห้อยอยู่บนยอดไม้
[๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง บันเทิงใจ
ได้เลือกเก็บดอกกระดิ่งทอง ๓ ดอกมาบูชาผ้าบังสุกุล
[๑๐] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๑๑] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
เพราะการบูชาธงชัยแห่งพระอรหันต์
จึงไม่รู้จักทุคติเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๑๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปังสุกูลปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปังสุกูลปูชกเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระโกรัณฑปุปผิยเถระ
(พระโกรัณฑปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๕] เมื่อชาติปางก่อน ข้าพเจ้ากับบิดาและปู่เป็นคนทำงานในป่า
เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ กุศลกรรมของเราไม่มี
[๑๖] ใกล้ที่อยู่ของข้าพเจ้า พระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ผู้มีพระจักษุ
ได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย
เพื่ออนุเคราะห์(ข้าพเจ้า)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน
[๑๗] ข้าพเจ้าเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระนามว่าติสสะ
ที่พระองค์ทรงประทับไว้
ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตร่าเริงบันเทิงใจ
ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาทนั้น
[๑๘] ข้าพเจ้าเห็นต้นอังกาบซึ่งงอกเลื้อยไปตามพื้นดิน
มีดอกบานสะพรั่ง จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอด
ได้บูชารอยพระบาทอันประเสริฐที่สุด
[๑๙] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๐] ข้าพเจ้าเกิดในกำเนิดใด ๆ
คือจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม
(ในกำเนิดนั้น ๆ) ข้าพเจ้ามีผิวพรรณดังดอกอังกาบ
มีรัศมีซ่านออกจากกาย
[๒๑] ในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระบาท
[๒๒] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๒๓] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
[๒๔] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระโกรัณฑปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
โกรัณฑปุปผิยเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกิงสุกปุปผิยเถระ
(พระกิงสุกปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๒๕] ข้าพเจ้าเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานสะพรั่ง
ประคองอัญชลี ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด แล้วบูชาในอากาศ
[๒๖] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๒๗] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
[๒๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกิงสุกปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
กิงสุกปุปผิยเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุปัฑฒทุสสทายกเถระ
(พระอุปัฑฒทุสสทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๓๑] ครั้งนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตตระ
ชื่อสุชาตะ กำลังแสวงหาผ้าบังสุกุลที่กองหยากเยื่อใกล้ถนน
[๓๒] ข้าพเจ้าเป็นลูกจ้างของคนอื่นอยู่ในกรุงหงสวดี
ได้ถวายผ้าครึ่งผืนแล้วอภิวาทด้วยเศียรเกล้า
[๓๓] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๓๔] ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๓๓ ชาติ
ได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๗ ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน
[๓๕] และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
เพราะถวายผ้าครึ่งผืน
ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ บันเทิงอยู่
[๓๖] ในวันนี้ ข้าพเจ้าเมื่อปรารถนาก็พึงใช้ผ้าเปลือกไม้คลุมดินนี้
พร้อมทั้งป่าใหญ่และภูเขาได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน
[๓๗] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผ้าครึ่งผืน
[๓๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๓๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๔๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุปัฑฒทุสสทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้
อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทานที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระฆฏมัณฑทายกเถระ
(พระฆฏมัณฑทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๔๑] พระผู้มีพระภาคผู้ทรงดำริดีแล้ว
ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน
เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่ ทรงพระประชวรด้วยโรคลม
[๔๒] ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วจึงทำจิตให้เลื่อมใสนำหัวน้ำมันเนยเข้าไปถวาย
เพราะบุญกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้และสั่งสมไว้แล้ว
แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้
[๔๓] และมหาสมุทรทั้ง ๔ ได้บันดาลเนยใสให้สำเร็จแก่ข้าพเจ้า
อนึ่ง พื้นปฐพีที่กว้างใหญ่ ประมาณมิได้ กำหนดนับมิได้นี้
[๔๔] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด
ต้นไม้ที่งอกขึ้นบนแผ่นดินในทิศทั้ง ๔
[๔๕] ดังจะรู้ความดำริของข้าพเจ้า
จึงกลายเป็นต้นกัลปพฤกษ์ไป
ข้าพเจ้าได้เป็นจอมเทพครองเทวสมบัติตลอด ๕๐ ชาติ
[๔๖] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๔๗] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายหัวน้ำมันเนย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๗. อุทกทายกเถราปทาน
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระฆฏมัณฑทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ฆฏมัณฑทายกเถราปทานที่ ๖ จบ
๗. อุทกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอุทกทายกเถระ
(พระอุทกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี
ในภิกษุสงฆ์ผู้ยอดเยี่ยมของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
จึงได้บรรจุน้ำดื่มจนเต็มหม้อน้ำ
[๕๒] ในเวลาที่ข้าพเจ้าต้องการน้ำดื่ม
จะเป็นบนยอดภูเขา ยอดไม้ ในอากาศ
หรือที่พื้นดิน น้ำก็บังเกิดแก่ข้าพเจ้าทันที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๕๓] ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายทานไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำ
[๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอุทกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อุทกทายกเถราปทานที่ ๗ จบ
๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินถูปิยเถระ
(พระปุฬินถูปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อยมกะ ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรม
และบรรณศาลาไว้อย่างดี
[๕๘] ข้าพเจ้าเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า มีชื่อว่านารทะ
ศิษย์ประมาณ ๑๔,๐๐๐ คน บำรุงข้าพเจ้าอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หลีกเร้นอยู่
จึงคิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา แต่เราไม่ได้บูชาอะไรเลย
[๖๐] ผู้ที่จะสั่งสอนเราก็ไม่มี
ใคร ๆ ที่จะตักเตือนเราก็ไม่มี
เราไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์อาศัยอยู่ในป่า
[๖๑] ศิษย์ผู้ภักดีควรทำจิตให้หนักแน่น บำรุงอาจารย์ใด
อาจารย์นั้นของเราก็ไม่มี
การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์
[๖๒] สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหา
สิ่งที่ควรเคารพยกย่องเราก็ควรแสวงหาเหมือนกัน
เราจักชื่อว่าอยู่อย่างมีที่พึ่ง ใคร ๆ จักติเตียนไม่ได้
[๖๓] แม่น้ำซึ่งมีฝั่งลาด มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ
และเกลื่อนกล่นไปด้วยทรายที่บริสุทธิ์สะอาด
อาศรมของข้าพเจ้าก็อยู่ไม่ไกล
[๖๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ไปยังแม่น้ำชื่ออมริกา
แล้วโกยทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ทราย
ข้าพเจ้าได้ทำพระเจดีย์ทรายนั้นให้เป็นนิมิตว่า
[๖๕] พระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นมุนี
ผู้ทำลายที่สุดแห่งภพ ที่ได้มีแล้วก็เป็นเช่นนี้
[๖๖] ครั้นแล้ว ได้สร้างพระสถูปทองคำไว้ที่หาดทราย
แล้วใช้ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๓,๐๐๐ ดอกบูชา
[๖๗] ข้าพเจ้ามีความอิ่มใจ ประนมมือนมัสการทุกเช้าเย็น
ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในที่เฉพาะพระพักตร์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๖๘] ในเวลาที่กิเลสหรือกามวิตกที่อาศัยความรักเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าระลึกถึงและเพ่งดูพระสถูปที่ข้าพเจ้าก่อไว้
[๖๙] ข้าพเจ้าอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้นำหมู่สัตว์(ออกจากที่กันดาร)
ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อยู่ด้วยการตักเตือนตนเองว่า
ควรระวังกิเลสไว้นะท่านผู้นิรทุกข์
การให้กิเลสเกิดขึ้นนี้เป็นของไม่สมควรแก่ท่าน
[๗๐] เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงพระสถูป
ย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน ในขณะนั้น
ข้าพเจ้าบรรเทาอกุศลวิตกเสียได้
เหมือนช้างถูกปฏักแทง บรรเทาได้แล้ว
[๗๑] ข้าพเจ้าประพฤติอยู่อย่างนี้ ได้ถูกมัจจุราชย่ำยี
สิ้นชีวิตที่นั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก
[๗๒] ข้าพเจ้าอยู่ในพรหมโลกนั้นจนหมดอายุขัย
มาเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นจอมเทพ
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๘๐ ชาติ
[๗๓] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๗๔] ข้าพเจ้าได้เสวยผลของดอกกระดิ่งทองเหล่านั้น
ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๒๒,๐๐๐ ดอก
แวดล้อมข้าพเจ้าไปทุกภพ
[๗๕] เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บำรุงพระสถูป
ฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกายข้าพเจ้า
ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล ข้าพเจ้ามีรัศมีซ่านออก
[๗๖] โอหนอ พระสถูปข้าพเจ้าได้สร้างไว้ดีแล้ว
แม่น้ำอมริกาข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
เพราะได้ก่อพระสถูปทราย
ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว
[๗๗] สัตว์ผู้ปรารถนาจะทำกุศล ชื่อว่ายึดถือสิ่งที่เป็นสาระ
เขตหรืออเขตไม่สำคัญ การปฏิบัติเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ
[๗๘] บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลใหญ่
พึงถือท่อนไม้เล็ก ๆ แล้ววิ่งลงทะเลใหญ่ด้วยคิดว่า
[๗๙] เราอาศัยท่อนไม้นี้แล้วจักข้ามทะเลใหญ่ไปได้
นรชนพึงข้ามทะเลใหญ่ไปได้ด้วยอุตสาหวิริยะ แม้ฉันใด
[๘๐] ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ
ที่ได้กระทำไว้แล้วจึงข้ามพ้นสงสารไปได้
[๘๑] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว
เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๘๒] มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นผู้มีศรัทธา
นับถือพระพุทธเจ้า
ท่านทั้ง ๒ นั้นเห็นธรรมแล้วและได้ฟังธรรมแล้ว
ประพฤติตนตามคำสอน
[๘๓] ท่านทั้ง ๒ ถือสะเก็ดไม้โพธิ์ให้สร้างเป็นพระสถูปทอง
นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระศากยบุตร ทุกเช้าเย็น
[๘๔] ในวันอุโบสถ ท่านทั้ง ๒ นำพระสถูปทองออกมาแล้ว
กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
ให้เวลาผ่านไปตลอด ๓ ยาม (ด้วยการปฏิบัติธรรม)
[๘๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสถูปทองเสมอ
จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้
นั่งบนอาสนะเดียวได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
ภาณวารที่ ๒๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
[๘๖] เมื่อข้าพเจ้าแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์อยู่นั้น
ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี(สารีบุตร)
จึงออกบวชในสำนักของท่าน
[๘๗] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล
พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษ จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
[๘๘] กิจที่ควรกระทำ ข้าพเจ้าผู้ยังเป็นเด็กอยู่ ให้สำเร็จแล้ว
วันนี้ กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร
ข้าพเจ้าก็ได้ทำเสร็จแล้ว
[๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก
สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง
ล่วงพ้นกิเลสเป็นเครื่องข้อง๑ ทั้งปวง เป็นฤาษี
นี้เป็นผลของการสร้างพระสถูปทอง
[๙๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๙๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ กิเลสเป็นเครื่องข้อง หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๒๕/๔๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน
[๙๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินถูปิยเถราปทานที่ ๘ จบ
๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนฬกุฏิกทายกเถระ
(พระนฬกุฏิกทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๙๓] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อหาริกะ
ครั้งนั้น พระสยัมภูพระนามว่านารทะ ประทับอยู่ที่โคนต้นไม้
[๙๔] ข้าพเจ้าสร้างกุฎีไม้อ้อมุงด้วยหญ้า
ได้ทำความสะอาดที่จงกรมถวายพระสยัมภู
[๙๕] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙๖] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมเนรมิตสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้าเพราะกุฎีไม้อ้อ
[๙๗] ข้าพเจ้ารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑๔ กัป
ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๗๑ ชาติ
[๙๘] ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
[๙๙] ข้าพเจ้าขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
อันควรเป็นสุญญาคารที่ประเสริฐอยู่ในศาสนา
ของพระศากยบุตรตามความปรารถนา
[๑๐๐] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายกุฎีไม้อ้อ
[๑๐๑] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๒] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระนฬกุฏิกทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
นฬกุฏิกทายกเถราปทานที่ ๙ จบ
๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิยาลผลทายกเถระ
(พระปิยาลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๑๐๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง
[๑๐๕] ข้าพเจ้าเลื่อมใสได้นำผลมะหาด
ไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
[๑๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๑๐๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๑๐๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๑๐๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระปิยาลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ปิยาลผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค] รวมวรรคทั้ง ๑๐ ศีล
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน
๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน
๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน
๗. อุทกทายกเถราปทาน ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน

ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๐๙ คาถา
รวมวรรคทั้ง ๑๐ คือ

๑. เมตเตยยวรรค ๒. ภัททาลิวรรค
๓. สกิงสัมมัชชกวรรค ๔. เอกวิหาริวรรค
๕. วิเภทกิวรรค ๖. ชคติทายกวรรค
๗. สาลกุสุมิยวรรค ๘. นฬมาลิวรรค
๙. ปังสุกูลวรรค ๑๐. กิงกณิปุปผวรรค

บัณฑิตนับคาถาได้ ๑,๔๘๒ คาถา
๑๐ วรรคมีเมตเตยยวรรคเป็นต้น
๕๐๐ อปทาน จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
๕๑. กณิการวรรค
หมวดว่าด้วยกรรณิการ์วิมานเป็นต้น
๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระตีณิกณิการปุปผิยเถระ
(พระตีณิกณิการปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าว
ว่า)
[๑] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธะ
มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ๑ ตรัสรู้เอง
ทรงประสงค์วิเวก จึงเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์
[๒] ครั้นเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์แล้ว
พระองค์ผู้เป็นมุนี ผู้เลิศ ทรงประกอบด้วยพระกรุณา
เป็นบุรุษผู้สูงสุด ก็ประทับนั่งขัดสมาธิ
[๓] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นวิทยาธรสัญจรไปในอากาศ
ข้าพเจ้าถือหอกอันคม ซึ่งทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในท้องฟ้า
[๔] พระพุทธเจ้าทรงทำป่าใหญ่ให้สว่างไสว
เหมือนไฟบนยอดภูเขา เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ
และเหมือนต้นพญาไม้สาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง
[๕] ข้าพเจ้าเห็นพุทธรังสี มีสีคล้ายเปลวไฟ
ที่ไหม้ไม้อ้อ พวยพุ่งออกจากป่า จึงทำจิตให้เลื่อมใส
[๖] ข้าพเจ้าเลือกเก็บดอกไม้อยู่
ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นทิพย์
จึงเก็บมา ๓ ดอก ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถหน้า ๑๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๗] ครั้งนั้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ดอกไม้ของข้าพเจ้าทั้ง ๓ ดอก
กลับขั้วขึ้นหันกลีบดอกลงทำเป็นร่มเงาเพื่อพระศาสดา
[๘] ด้วยกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้ดีแล้วนั้น
และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น
ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว
จึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
[๙] ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีวิมานสูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์
ซึ่งบุญกรรมสร้างขึ้นอย่างสวยงามเพื่อข้าพเจ้า
รู้จักกันว่ากรรณิการ์วิมาน
[๑๐] ปราสาท ๗ ชั้น สูง ๑,๐๐๐ ชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง พราวไปด้วยแก้วมณีสีเขียว
และป้อม ๑๐๐,๐๐๐ ป้อม ปรากฏในวิมานของข้าพเจ้า
[๑๑] บัลลังก์ทองคำ บัลลังก์แก้วมณี
บัลลังก์แก้วทับทิม และบัลลังก์แก้วผลึก
เกิดขึ้นตามปรารถนาตามประสงค์
[๑๒] ที่นอนมีราคามาก ยัดด้วยนุ่น มีลวดลายต่าง ๆ
มีขนตั้งขึ้นด้านเดียวและหมอนพร้อม
[๑๓] ข้าพเจ้ามีหมู่เทวดาห้อมล้อม
ออกจากวิมานเที่ยวจาริกไปในเทวโลก
ในเวลาที่ปรารถนาจะไป
[๑๔] ยืนอยู่ภายใต้ดอกไม้
ข้าพเจ้ามีดอกไม้เป็นเครื่องมุงบังอยู่เบื้องบน
สถานที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์มุงบังไปด้วยดอกกรรณิการ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๑๕] เครื่องดนตรี ๖๐,๐๐๐ ชิ้น บรรเลงกล่อมข้าพเจ้า
ทั้งเช้าและเย็น ไม่หยุดหย่อน แวดล้อมข้าพเจ้าเป็นนิตย์
ตลอดคืนตลอดวัน
[๑๖] ในวิมานนั้นข้าพเจ้ารื่นรมย์ด้วยการฟ้อน
การขับร้อง การเคาะกังสดาล และการประโคม
เป็นผู้หมกมุ่นในกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการเล่น
[๑๗] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าบริโภคและดื่มอยู่ในวิมานนั้น
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยหมู่นางอัปสรบันเทิงอยู่ในวิมานอันอุดม
[๑๘] ข้าพเจ้าครองเทวสมบัติตลอด ๕๐๐ ชาติ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
[๑๙] เมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
ย่อมได้โภคะมากมาย
ข้าพเจ้าไม่มีความบกพร่องในโภคะเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๐] ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๒ ภพ
คือ (๑) ภพเทวดา (๒) ภพมนุษย์
คติอื่นข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๑] ข้าพเจ้าเกิดเฉพาะใน ๒ ตระกูล
คือ (๑) ตระกูลกษัตริย์ (๒) ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลต่ำข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
[๒๒] ยานคือช้าง ยานคือม้า วอ และคานหาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๓] หมู่ทาสหญิง ทาสชาย และเหล่านารี
ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๔] ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๕] ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะที่มีรสเลิศใหม่ ๆ
ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๖] (คำเชื้อเชิญเช่นนี้ว่า) เชิญเคี้ยวกินสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้
เชิญนอนบนที่นอนนี้ ข้าพเจ้าก็ได้รับมาครบถ้วน
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๗] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่เขาบูชาในที่ทุกสถาน
มียศสูงส่ง มีพวกมาก มีบริวารไม่แตกแยกกันทุกเมื่อ
บรรดาญาติทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๒๘] ข้าพเจ้าไม่รู้จักความหนาว ความร้อน
ทั้งไม่มีความเร่าร้อน
อนึ่ง ทุกข์ทางใจก็ไม่มีในหทัยของข้าพเจ้า
[๒๙] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำ
เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๑. ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทาน
ความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามข้าพเจ้าไม่รู้จักเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๐] ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว จุติจากเทวโลก
มาเกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี
[๓๑] ข้าพเจ้าได้ละกามคุณ ๕ ออกบวชเป็นบรรพชิต
มีอายุได้ ๗ ขวบ ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
[๓๒] พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ
ทรงทราบคุณวิเศษของข้าพเจ้า จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท
ข้าพเจ้ายังมีอายุน้อยก็ได้เป็นปูชนียบุคคล
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๓] ทิพยจักษุของข้าพเจ้าบริสุทธิ์
ข้าพเจ้าฉลาดในสมาธิ
ถึงความสำเร็จในอภิญญา
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๔] ข้าพเจ้าบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดในอิทธิบาท
ถึงความสำเร็จในพระสัทธรรม
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๕] ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป)
ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธเจ้าไว้
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า
[๓๖] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
[๓๗] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๓๘] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระตีณิกณิการปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
ตีณิกณิการปุปผิยเถราปทานที่ ๑ จบ
๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระเอกปัตตทายกเถระ
(พระเอกปัตตทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙] ข้าพเจ้าเป็นช่างหม้ออยู่ในกรุงหงสวดี
ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว ไม่มีอาสวะ
[๔๐] ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรดินที่ทำแล้วอย่างดี
แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
ครั้นถวายบาตรแด่พระผู้มีพระภาคผู้ตรง ผู้คงที่แล้ว
[๔๑] เมื่อบังเกิดในภพ ข้าพเจ้าย่อมได้ภาชนะทองคำ
และจานที่ทำด้วยเงิน ทำด้วยทองคำ และทำด้วยแก้วมณี
[๔๒] ข้าพเจ้าบริโภคอาหารด้วยถาดทองคำ
นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม
และเป็นผู้เลิศกว่าชนทั้งหลายโดยยศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๒. เอกปัตตทายกเถราปทาน
[๔๓] พืชแม้น้อยแต่หว่านลงในนาดี
เมื่อฝนตกอยู่โดยสม่ำเสมอ
ผลย่อมทำชาวนาให้ยินดีได้ ฉันใด
[๔๔] การถวายบาตรก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าได้หว่านลงในพุทธเขต
เมื่อสายธารคือปีติตกลงอยู่ ผลก็ทำข้าพเจ้าให้ยินดี
[๔๕] เขตคือสงฆ์ก็ดี คณะก็ดี เท่าที่มีอยู่
ที่จะให้ความสุขแก่สรรพสัตว์ เสมอด้วยพุทธเขตไม่มีเลย
[๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด
ข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระองค์
เพราะได้ถวายบาตรใบหนึ่ง
ข้าพระองค์จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว
[๔๗] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายบาตร
[๔๘] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๔๙] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระเอกปัตตทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
เอกปัตตทายกเถราปทานที่ ๒ จบ
๓. กาสุมาริกผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระกาสุมาริกผลทายกเถระ
(พระกาสุมาริกผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึง
กล่าวว่า)
[๕๑] ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
โชติช่วงดังต้นกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ระหว่างภูเขา
[๕๒] ข้าพเจ้าเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี ประนมมือเหนือศีรษะ
ได้ถือผลมะลื่นมาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
[๕๓] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๕๔] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๔. อวฏผลิยเถราปทาน
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๕๕] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๕๖] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระกาสุมาริกผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้
กาสุมาริกผลทายกเถราปทานที่ ๓ จบ
๔. อวฏผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอวฏผลิยเถระ
(พระอวฏผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๕๗] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าสหัสสรังสี
ทรงเป็นพระสยัมภู ผู้ไม่ทรงพ่ายแพ้
ทรงออกจากวิเวกแล้วเสด็จไปบิณฑบาต
[๕๘] ข้าพเจ้าถือผลไม้อยู่ ได้เห็นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้องอาจกว่านรชน
เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส มีใจยินดี จึงได้ถวายผลกล้วย
[๕๙] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๕. จารผลิยเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระอวฏผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อวฏผลิยเถราปทานที่ ๔ จบ
๕. จารผลิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระจารผลิยเถระ
(พระจารผลิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๓] ข้าพเจ้าได้ถวายผลอโมระแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินไปตามถนน
[๖๔] ในกัปที่ ๙๑ นับจากกัปนี้ไป
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๑. กณิการวรรค] ๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้
[๖๕] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
[๖๖] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า
เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว
[๖๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล
ได้ทราบว่า ท่านพระจารผลิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
จารผลิยเถราปทานที่ ๕ จบ
๖. มาตุลุงคผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมาตุลุงคผลทายกเถระ
(พระมาตุลุงคผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๖๘] ข้าพเจ้าได้เห็นพระผู้ทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก
ผู้โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์
ผู้(รุ่งเรือง)ดังดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ทรงรุ่งเรืองดังต้นกัลปพฤกษ์
[๖๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสแล้ว ได้ถือผลมะงั่วด้วยมือทั้ง ๒ ของตน
ไปถวายพระศาสดาผู้ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ทรงแกล้วกล้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๑๙๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น