Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๔-๓ หน้า ๘๗ - ๑๒๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔-๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมสังคณี
_________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต
ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็น
วิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต
ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตา-
ธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ เป็น
ชั้นกลาง ฯลฯ เป็นชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้น
กลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต
ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
วิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
รูปาวจรกุศลจิต จบ
อรูปาวจรกุศลจิต
[๒๗๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข
และทุกข์ได้ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ เป็นชั้นกลาง ฯลฯ เป็นชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
ฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็น
วิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] เตภูมิกกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต
เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ชันต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้น
กลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตน-
สัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็น
จิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ
ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมแม้เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญ-
จายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้น
ประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต
ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย
ชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญ-
ญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญานา-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ เป็นชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ เป็นฉันทาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ
ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ
ชั้นประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิปไตยชั้นต่ำ ฯลฯ ชั้นกลาง ฯลฯ ชั้นประณีต อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อรูปาวจรกุศลจิต จบ
โลกุตตรกุศลจิต
สุทธิกปฏิปทา
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๒๗๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๒๗๘] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๗๙] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๒๘๐] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๑] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุที่
เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๒] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๒๘๓] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์
ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๔] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความ
ที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๒๘๕] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๖] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๗] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๘] สัทธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๘๙] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๐] สตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๑] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่
ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๒] ปัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้จัก ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ
ที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องละกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปัญญินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๓] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๔] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุขอัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๒๙๕] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๖] อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
เพื่อรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ เพื่อเห็นธรรมที่ยังไม่เคยเห็น เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่เคย
บรรลุ เพื่อทราบธรรมที่ยังไม่เคยทราบ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่เคยทำให้แจ้ง
นั้น ๆ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๗] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนด
หมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะ
ที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือน
แผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญา
เหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ๒ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๐/๑๔๘ ๒ อภิ.วิ. ๓๕/๒๐๕/๑๒๕,๒๐๖/๑๒๗,๒๑๑/๑๓๑,๔๙๒/๒๘๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๒๙๘] สัมมาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๒๙๙] สัมมาวาจา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้น การไม่ทำ การไม่ประกอบ
การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งวจีทุจริต ๔ การกล่าววาจา
ชอบ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวาจาที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๐๐] สัมมากัมมันตะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้น การไม่ทำ การไม่ประกอบ
การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งกายทุจริต ๓ การงานชอบ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมากัมมันตะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๑] สัมมาอาชีวะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้น การไม่ทำ การไม่ประกอบ
การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุแห่งมิจฉาชีพ การเลี้ยงชีพชอบ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาอาชีวะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๒] สัมมาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาวายามะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๓] สัมมาสติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรคนับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสติ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๔] สัมมาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่
จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาสมาธิ๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๕] สัทธาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเชื่อ กิริยาที่เชื่อ ความปลงใจเชื่อ ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
สัทธาพละ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัทธาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๖] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๗] สติพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความ
ไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสติพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๐๘] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สัมมาสมาธิ สมาธิพละ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธิพละ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๑๑/๑๓๑,๔๙๕/๒๘๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๐๙] ปัญญาพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัญญาพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๐] หิริพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอายต่อ
การประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริพละที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๑] โอตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๒] อโลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโลภะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๓] อโทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๑๔] อโมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ
ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๕] อนภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่โลภ กิริยาที่ไม่โลภ ภาวะที่ไม่โลภ ความไม่กำหนัด กิริยาที่ไม่กำหนัด
ภาวะที่ไม่กำหนัด ความไม่เพ่งเล็ง กุศลมูลคืออโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอนภิชฌาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๖] อัพยาบาท ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่คิดประทุษร้าย กิริยาที่ไม่คิดประทุษร้าย ภาวะที่ไม่คิดประทุษร้าย
ความไม่พยาบาท ความไม่คิดเบียดเบียน กุศลมูลคืออโทสะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อัพยาบาทที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๑๗] สัมมาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๑๘] หิริ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ละอาย
ต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าหิริที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๑๙] โอตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่เกรง
กลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
โอตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๐] กายปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
กายปัสสัทธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๑] จิตตปัสสัทธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๒๒] กายลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๓] จิตตลหุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเบา ความรวดเร็ว ความไม่เชื่องช้า ความไม่หนักแห่งวิญญาณขันธ์ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๔] กายมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๕] จิตตมุทุตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
ความอ่อน ภาวะที่อ่อน ความไม่แข็ง ความไม่กระด้างแห่งวิญญาณขันธ์ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๖] กายกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตาที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๗] จิตตกัมมัญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความควรแก่การงาน กิริยาที่ควรแก่การงาน ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
วิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๘] กายปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๒๙] จิตตปาคุญญตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคล่องแคล่ว กิริยาที่คล่องแคล่ว ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๐] กายุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ากายุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๑] จิตตุชุกตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรง กิริยาที่ตรง ความไม่คด ความไม่โค้ง ความไม่งอแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตตุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๒] สติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่
เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๓๓] สัมปชัญญะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๔] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๓๕] วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๓๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์
มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๓๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิ
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอวิกเขปะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัย
นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๙ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๘ พละ ๗ เหตุ ๓ ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑
เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑
มนินทรีย์ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๓๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ
หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา
จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ และอวิกเขปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุทธิกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๓๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุ ทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็น
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
สุทธิกปฏิปทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต สุญญตมูลกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
สุญญตะ๑
[๓๔๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อันเป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นสุญญตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
สุญญตะ จบ
สุญญตมูลกปฏิปทา
[๓๔๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

เชิงอรรถ :
๑ สุญญตะ เป็นชื่อของมรรคที่สูญจากความยึดมั่นว่ามีตัวตน (อภิ.สงฺ.อ. ๒๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต อัปปณิหิตะ มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๔๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๔๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
อันเป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อันเป็นสุญญตะ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นสุญญตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
สุญญตมูลกปฏิปทา จบ
อัปปณิหิตะ๑
[๓๕๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน

เชิงอรรถ :
๑ อัปปณิหิตะ เป็นชื่อของมรรคเพราะไม่มีที่ตั้งแห่งตัณหา (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา มรรคจิตดวงที่ ๑
เป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
อัปปณิหิตะ จบ
อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา
[๓๕๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๔] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต มหานัย ๒๐ มรรคจิตดวงที่ ๑
[๓๕๕] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๖] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานอันเป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อัน
เป็นอัปปณิหิตะ เป็นทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯลฯ อันเป็นอัปปณิหิตะ เป็น
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อันเป็นอัปปณิหิตะ เป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
อัปปณิหิตมูลกปฏิปทา จบ
มหานัย ๒๐๑
[๓๕๗] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะที่
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธรรมที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอาหารที่

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๒๙๔-๒๙๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต อธิบดี มรรคจิตดวงที่ ๑
เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญจิตที่เป็น
โลกุตตระ ซึ่งเป็นเหตุออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิ
เบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่
ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
มหานัย ๒๐ จบ
อธิบดี
[๓๕๘] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ
เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๕๙] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิปไตย เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย ฯลฯ อยู่ใน
สมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
[๓๖๐] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญมรรคที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญอิทธิบาทที่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต มรรคจิตดวงที่ ๓
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญอินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญพละที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัจจะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสมถะ
ที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธรรมที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญขันธ์ที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญอายตนะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญธาตุที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญ
อาหารที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเวทนาที่เป็น
โลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาที่เป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญเจตนาที่เป็นโลกุตตระ
ฯลฯ เจริญจิตที่เป็นโลกุตตระ อันเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อ
ละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอันเป็น
ฉันทาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิริยาธิปไตย ฯลฯ เป็นจิตตาธิปไตย ฯลฯ เป็นวิมังสาธิปไตย
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นกุศล
อธิบดี จบ
มรรคจิตดวงที่ ๒
[๓๖๑] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒ เพื่อทำกามราคะและพยาบาทให้เบาบาง สงัดจาก
กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น
ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นกุศล
มรรคจิตดวงที่ ๓
[๓๖๒] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓ เพื่อละกามราคะและพยาบาทโดยไม่มีส่วนเหลือ สงัด
จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] โลกุตตรกุศลจิต มรรคจิตดวงที่ ๔
มรรคจิตดวงที่ ๔
[๓๖๓] สภาวธรรมที่เป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา
โดยไม่มีส่วนเหลือ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็
เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
[๓๖๔] อัญญินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
เห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญา
เหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้
ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรม
ที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอัญญินทรีย์๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
โลกุตตรจิต จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๒๑/๑๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
อกุศลบท
อกุศลจิต ๑๒
อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๖๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ
มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ
อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๓๖๖] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๖๗] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่เหมาะ
สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๖๘] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๖๙] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๗๐] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๗๑] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๒] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา
ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๓๗๓] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๔] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๕] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๖] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่ง
มั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ
วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๗๗] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๘] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่
เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๗๙] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุขอัน
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๐] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน
ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๑] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึก
ต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น
ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๘๒] มิจฉาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๓] มิจฉาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาวายามะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๔] มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๕] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น
อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๖] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน
ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๗] อหิริกพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่
ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อหิริกพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๘๘] อโนตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่
ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโนตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๘๙] โลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่
กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโลภะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๐] โมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง
รอบครอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา
ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงไหล อวิชชา
อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา
อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๑] อภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่
กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอภิชฌาที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น
[๓๙๒] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อ
สัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความ
ตั้งมั่น ความยึดผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ
ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๓] อหิริกะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่
ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อหิริกะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๙๔] อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่
เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
อโนตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๕] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ
มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ
ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะ
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๓๙๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่
ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าอวิกเขปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๓๙๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๓
อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ
ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิตดวงที่ ๒
[๓๙๙] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศลสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูง ในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิตดวงที่ ๓
[๔๐๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ
อโนตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕
มรรคมีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น
ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๐๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๕
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิตดวงที่ ๔
[๔๐๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิตดวงที่ ๕
[๔๐๓] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ
มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา
มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๔๐๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๕
[๔๐๕] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๐๖] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๐๗] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ใน
สมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๐๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ
อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ
สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๗
อกุศลจิตดวงที่ ๖
[๔๐๙] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ใน
สมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิตดวงที่ ๗
[๔๑๐] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ
อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมี
องค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัย
นั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๑๑] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๙
อกุศลจิตดวงที่ ๘
[๔๑๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา วิปปยุตจากทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น โดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด ในสมัย
นั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
อกุศลจิตดวงที่ ๙
[๔๑๓] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ มี
เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มี
ธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ทุกข์ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาบาท อหิริกะ
อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๔๑๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๑๕] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
เวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๑๖] ทุกข์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๙
[๔๑๗] โทมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๑๘] โทสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโทสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๑๙] พยาบาท ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความ
เกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าพยาบาทที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรคมีองค์
๓ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๒๐] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาบาท อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และ
อวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้น
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑๑
อกุศลจิตดวงที่ ๑๐
[๔๒๑] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นโดยมีเหตุชักจูงในสมัยใด
ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อกุศล ฯลฯ
อกุศลจิตดวงที่ ๑๑
[๔๒๒] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศลสหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉา มีรูปเป็นอารมณ์
มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ มนินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ และปัคคาหะ ก็เกิดขึ้น หรือ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล
[๔๒๓] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๒๔] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๒๕] วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองอย่าง ความเห็นเหมือนทาง
สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑๒
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเล ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจิกิจฉา๑ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๔ ฌานมีองค์ ๔
มรรคมีองค์ ๒ พละ ๓ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑
ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๒๖] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ วิริยพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ วิจิกิจฉา โมหะ อหิริกะ
อโนตตัปปะ และปัคคาหะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้
อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิตดวงที่ ๑๒
[๔๒๗] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน
จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยอุเบกขา สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ มีรูปเป็นอารมณ์
มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์
มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ
วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ
อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัย
กันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ. ๓๕/๒๘๙/๑๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๒๘] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
[๔๒๙] อุทธัจจะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบ ความวุ่นวายใจ ความพล่านแห่งจิต ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าอุทธัจจะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง
อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๔ มรรค
มีองค์ ๓ พละ ๔ เหตุ ๑ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น
หรือ สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ
[๔๓๐] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ
อโนตตัปปพละ อุทธัจจะ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล
อกุศลจิต ๑๒ จบ
อัพยากตบท
กามาวจรวิปากจิต
ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๓๑] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น
เพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้แล้วในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
สัญญา เจตนา จิต อุเบกขา เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์
ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๓๒] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๓] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัส
แห่งจักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๔] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๕] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๖] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๓๗] อุเบกขา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเบกขาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๓๘] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๓๙] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๐] อุเปกขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๑] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการสืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
จักขุวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ
[๔๔๒] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอาศัย
กันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า
สังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๔๓] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
โสตวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ ฆานวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ
กายวิญญาณที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยสุขเวทนา มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
เพราะได้กระทำได้สั่งสมกามาวจรกุศลกรรมไว้ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต สุข เอกัคคตา มนินทรีย์ สุขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น
หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่า
นี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๔๔] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๕] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณ-
ธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยา
ที่เสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดจากกายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนา
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๖] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๗] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งกายวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๔๘] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
[๔๔๙] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัสใน
สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๕๐] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๑] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์
ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๒] สุขินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาที่เสวยที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า
สุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๓] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความ
ดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์ แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น
ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป
ซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๓ ผัสสะ ๑ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ
[๔๕๔] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา และชีวิตินทรีย์ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่ง
อิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์
นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
ปัญจวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์] อัพยากตบท กามาวจรวิปากจิต มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
มโนธาตุที่เป็นกุศลวิบาก
[๔๕๕] สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต เป็นไฉน
มโนธาตุที่เป็นวิบาก สหรคตด้วยอุเบกขา มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโผฏฐัพพะ
เป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นเพราะได้ทำได้สั่งสมกามาวจรกุศล
กรรมในสมัยใด ในสมัยนั้นผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร อุเบกขา
เอกัคคตา มนินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และชีวิตินทรีย์ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็น
รูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอัพยากฤต
[๔๕๖] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
การกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องที่เกิดขึ้น ในสมัย
นั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๗] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ อันเกิดแต่สัมผัสแห่ง
จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๘] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่เหมาะ
สมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๕๙] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ
ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๐] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ และมโนธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
[๔๖๑] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า :๑๒๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น