Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๓ หน้า ๑๑๕ - ๑๗๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ ๕ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโทมนัสสินทรีย์
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
มนายตนะหมวดละ ๖ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ
มนายตนะหมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๗ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ
มนายตนะหมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๘ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ
มนายตนะหมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๙ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนายตนะหมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
มนายตนะหมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
มนายตนะหมวดละ ๑ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
มนายตนะหมวดละ ๒ ได้แก่ มนายตนะที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
มนายตนะหมวดละ ๓ ได้แก่ มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
มนายตนะหมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า มนายตนะ (๖)
[๑๖๒] รูปายตนะ เป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นได้และกระทบได้ เช่น
สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีดำ สีหงสบาท๑ สีคล้ำ สีเขียวใบไม้ สีม่วง ยาว
สั้น ละเอียด หยาบ กลม รี สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม สิบหกเหลี่ยม ลุ่ม
ดอน เงา แดด สว่าง มืด เมฆ หมอก ควัน ละออง แสงจันทร์ แสงอาทิตย์
แสงดาว แสงกระจก แสงแก้วมณี แสงสังข์ แสงแก้วมุกดา แสงแก้วไพฑูรย์
แสงทอง แสงเงิน หรือรูปแม้อื่นใด ที่เป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น
ได้และกระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยเห็น กำลังเห็น จักเห็น หรือพึงเห็นรูปใดที่เห็น
ได้และกระทบได้ ด้วยจักษุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รูปบ้าง รูปายตนะบ้าง
รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ๒ (๗)
[๑๖๓] สัททายตนะ เป็นไฉน
เสียงใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น เสียงกลอง
เสียงตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงขับร้อง เสียงประโคม เสียงกรับ เสียง
ปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงมนุษย์
เสียงอมนุษย์ หรือเสียงแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
มีอยู่ เช่น บุคคลเคยฟัง กำลังฟัง จักฟัง หรือพึงฟังเสียงใด ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
ด้วยโสตะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า สัททะบ้าง สัททายตนะบ้าง สัททธาตุ
บ้าง นี้เรียกว่า สัททายตนะ๓ (๘)

เชิงอรรถ :
๑ สีหงสบาท สีคล้ายเท้าหงส์ สีแดงปนเหลือง สีแดงเรื่อ หรือ สีแสดก็ว่า (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย-
สถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๑๖/๑๘๘ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๐/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๑๖๔] คันธายตนะ เป็นไฉน
กลิ่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น กลิ่นรากไม้
กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า
กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยดม กำลังดม จักดม หรือพึงดมกลิ่นใดที่เห็นไม่ได้แต่
กระทบได้ ด้วยฆานะที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธะบ้าง คันธายตนะบ้าง
คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธายตนะ๑ (๙)
[๑๖๕] รสายตนะ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เช่น รสรากไม้
รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ รสเปรี้ยว หวาน ขม เผ็ด เค็ม
ขื่น เฝื่อน ฝาด อร่อย ไม่อร่อย หรือรสแม้อื่นใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ เช่น บุคคลเคยลิ้ม กำลังลิ้ม จักลิ้ม หรือพึงลิ้มรสใดที่เห็น
ไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยชิวหาที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า รสบ้าง รสายตนะ
บ้าง รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสายตนะ๒ (๑๐)
[๑๖๖] โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ที่แข็ง อ่อน ละเอียด หยาบ มีสัมผัสเป็นสุข
มีสัมผัสเป็นทุกข์ หนัก เบา เช่น บุคคลเคยถูกต้อง กำลังถูกต้อง จักถูกต้อง
หรือพึงถูกต้องโผฏฐัพพะใดที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ด้วยกายที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพายตนะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
โผฏฐัพพายตนะ๓ (๑๑)
[๑๖๗] ธัมมายตนะ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่ง
นับเนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง๔
เวทนาขันธ์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๔/๑๙๒ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๒๘/๑๙๓
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๔๗/๑๙๖
๔ คำบาลีคือ อสงฺขตา ธาตุ แปลว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพาน (อภิ.วิ.อ. ๑๖๗/๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (๑)
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (๒)
สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (๓)
รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๔)
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ธาตุที่
ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง (๕)
นี้เรียกว่า ธัมมายตนะ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๑๖๘] อายตนะ ๑๒ คือ
๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ
ฯลฯ
๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ
[๑๖๙] บรรดาอายตนะ ๑๒ อายตนะเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์
ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๑๗๐] อายตนะ ๑๐ เป็นอัพยากฤต อายตนะ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
๒. เวทนาติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา มนายตนะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาก็มี
๓. วิปากติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก อายตนะ ๒ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
อายตนะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททายตนะกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน อายตนะ ๔ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี อายตนะ ๒ ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อายตนะ ๒
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่
เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๖. สวิตักกติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มนายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ธัมมายตนะที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้ง
วิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
๗. ปีติติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขา อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๘. ทัสสนติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อายตนะ ๒ ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้อง
บน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อายตนะ ๒ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน
๓ ก็มี
๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน อายตนะ ๒ ที่เป็น
เหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ
จุติ และนิพพานก็มี
๑๑. เสกขติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล อายตนะ ๒ ที่เป็นของ
เสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นปริตตะ อายตนะ ๒ ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี
ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๔. หีนติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นชั้นกลาง อายตนะ ๒ ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี
ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น อายตนะ ๒ ที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่เป็น
ธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
อายตนะ ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้น
ก็มี สัททายตนะที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
อายตนะ ๕ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ธัมมายตนะ
ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยัง
ไม่เกิดขึ้น หรือจักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
๑๘. อตีตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ธัมมายตนะ
ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอดีต เป็น
อนาคต หรือเป็นปัจจุบันก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ก็มี
๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๒ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ อายตนะ ๒ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
รูปายตนะเห็นได้และกระทบได้ อายตนะ ๙ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ อายตนะ
๒ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ติกมาติกาวิสัชนา จบ
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๑๗๑] อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นเหตุ ธัมมายตนะที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุ อายตนะ ๒ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากเหตุ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้
ว่า มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ธัมมายตนะที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น
เหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วย
เหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุต
ด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธัมมายตนะที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มนายตนะที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ธัมมายตนะที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและ
ไม่มีเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ มีปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมายตนะที่มีปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่มีปัจจัย
ปรุงแต่งก็มี
อายตนะ ๑๑ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมายตนะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งก็มี
รูปายตนะเห็นได้ อายตนะ ๑๑ เห็นไม่ได้
อายตนะ ๑๐ กระทบได้ อายตนะ ๒ กระทบไม่ได้
อายตนะ ๑๐ เป็นรูป มนายตนะไม่เป็นรูป ธัมมายตนะที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็น
รูปก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
อายตนะ ๑๒ ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นอาสวะ ธัมมายตนะที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอาสวะ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอาสวะ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
วิปปยุตจากอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็น
อารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
หรือวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นสังโยชน์ ธัมมายตนะที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์
ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากสังโยชน์ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นสังโยชน์และ
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่
เป็นสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ อายตนะ ๒
ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของ
สังโยชน์ หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นคันถะ ธัมมายตนะที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของคันถะ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากคันถะ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่
วิปปยุตจากคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็น
อารมณ์ของคันถะ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของ
คันถะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและ
เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ ที่
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็น
คันถะก็มี ธัมมายตนะที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่
ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ
หรือวิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ธัมมายตนะ
ที่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากนิวรณ์ อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่
วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุต
ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยนิวรณ์
แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมายตนะที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุต
ด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์
หรือที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
หรือวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นปรามาส ธัมมายตนะที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาส
ก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของปรามาส อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากปรามาส มนายตนะที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่
วิปปยุตจากปรามาสก็มี ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือ
เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
และเป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ธัมมายตนะที่เป็น
ปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็น
ปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส อายตนะ ๒
ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและ
ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์
ของปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ มนายตนะรับรู้อารมณ์ได้ ธัมมายตนะที่รับรู้
อารมณ์ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
มนายตนะเป็นจิต อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นจิต
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นเจตสิก ธัมมายตนะที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็นเจตสิกก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากจิต ธัมมายตนะที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจาก
จิตก็มี มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
อายตนะ ๑๐ ไม่ระคนกับจิต ธัมมายตนะที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิต
ก็มี มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
อายตนะ ๖ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อายตนะ ๖ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐานก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่เกิดพร้อมกับจิต ธัมมายตนะที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิด
พร้อมกับจิตก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นไปตามจิต ธัมมายตนะที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไป
ตามจิตก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ธัมมายตนะที่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ธัมมายตนะ
ที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ธัมมายตนะ
ที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี
อายตนะ ๖ เป็นภายใน อายตนะ ๖ เป็นภายนอก
อายตนะ ๙ เป็นอุปาทายรูป อายตนะ ๒ ไม่เป็นอุปาทายรูป ธัมมายตนะที่
เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๕ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ สัททายตนะกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ อายตนะ ๖ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นอุปาทาน ธัมมายตนะที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็น
อุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอุปาทาน อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี
ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมมายตนะที่เป็น
อุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็น
อารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือ
สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมมายตนะที่เป็น
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทาน
แต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน อายตนะ ๒
ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
อายตนะ ๑๑ ไม่เป็นกิเลส ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นอารมณ์ของกิเลส อายตนะ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง อายตนะ ๒ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี
ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากกิเลส อายตนะ ๒ ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุต
จากกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของ
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่เป็น
อารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของ
กิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลส
ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า กิเลส
ทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี
ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มนายตนะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส ที่
สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี ธัมมายตนะที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่
เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
อายตนะ ๑๐ วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส อายตนะ ๒ ที่
วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
หรือวิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อายตนะ ๒ ที่ต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อายตนะ ๒ ที่ต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค อายตนะ ๒ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ อายตนะ ๒ ที่มีเหตุ
ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๒.อายตนวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อายตนะ ๑๐ ไม่มีวิตก อายตนะ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีวิจาร อายตนะ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่มีปีติ อายตนะ ๒ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่สหรคตด้วยปีติ อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่สหรคตด้วยสุข อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา อายตนะ ๒ ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อายตนะ ๑๐ เป็นกามาวจร อายตนะ ๒ ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
กามาวจรก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นรูปาวจร อายตนะ ๒ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นอรูปาวจร อายตนะ ๒ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็น
อรูปาวจรก็มี
อายตนะ ๑๐ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ อายตนะ ๒ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อายตนะ ๒ ที่เป็นเหตุนำออก
จากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
อายตนะ ๑๐ ให้ผลไม่แน่นอน อายตนะ ๒ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่
นอนก็มี
อายตนะ ๑๐ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อายตนะ ๒ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มี
ธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
อายตนะ ๑๐ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ อายตนะ ๒ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
๓. ธาตุวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๗๒] ธาตุ ๖ คือ

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
๓. เตโชธาต (ธาตุไฟ)
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
๕. อากาสธาตุ (ธาตุคือที่ว่าง)
๖. วิญญาณธาตุ (ธาตุคือวิญญาณ)

[๑๗๓] บรรดาธาตุ ๖ นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุมี ๒ อย่าง คือ ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน
มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม
ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง
ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน
ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น เหล็ก
โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว
ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด
กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อปฐวีธาตุที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ (๑)
[๑๗๔] อาโปธาตุ เป็นไฉน
อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น
น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ
ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายในตน มี
เฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใด
มีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน
อาโปธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว
ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น น้ำรากไม้ น้ำลำต้น น้ำเปลือกไม้ น้ำใบไม้
น้ำดอกไม้ น้ำผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำในพื้นดิน
น้ำในอากาศ หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ซึมซาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่
เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุ
ที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออาโปธาตุที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียว
กัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๑๗๕] เตโชธาตุ เป็นไฉน
เตโชธาตุมี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
ซึ่งเป็นภายในตน เช่น เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ที่
ทำให้เร่าร้อนและที่ทำให้ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ถึงความย่อยไปด้วยดี
หรือความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่
อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน
เตโชธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติ
ที่อบอุ่น เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็น
ภายนอกตน เช่น ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟ
อสนิบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน
ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ
ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอกตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้
เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อเตโชธาตุที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ (๓)
[๑๗๖] วาโยธาตุ เป็นไฉน
วาโยธาตุมี ๒ อย่าง คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็นภายในตน
มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา๑
ลมมีดโกน๑ ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา
ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปเป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า
วาโยธาตุที่เป็นภายใน
วาโยธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอกตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น ลม
ตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว
ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมปีกครุฑ ลมใบกังหัน
ลมพัดโบก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป
เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่อวาโยธาตุที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวด
เดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ (๔)
[๑๗๗] อากาสธาตุ เป็นไฉน
อากาสธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
ในอากาสธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภาย
ในตน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว

เชิงอรรถ :
๑ ในอรรถกถาขยายว่า (สตฺถกวาตาติ สนฺธิพนฺธนานิ กตฺตริยา ฉินฺทนฺตา วิย ปวตฺตวาตา. ขุรก-
วาตาติ ขุเรน วิย หทยํ ผาลนกวาตา) คำว่า สตฺถกวาตา อธิบายว่า ลมที่พัดหมุนไป ประดุจตัดสิ่งที่
ต่อกันไว้ที่ผูกกันไว้ด้วยมีดโกน คำว่า ขุรกวาตา อธิบายว่า ลมที่เฉือดเฉือน ประดุจเฉือนหทัยด้วยมีด
อันคม (อภิ.วิ.อ. ๑๗๖/๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มและช่องสำหรับของกิน
ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มไหลลงเบื้องต่ำ หรืออากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ
ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง
ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็น
ภายใน
อากาสธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน
อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความ
ว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้องแล้ว เป็น
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็นภายนอก
ประมวลย่ออากาสธาตุที่เป็นภายในและอากาสธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ (๕)
[๑๗๘] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ (๖)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
[๑๗๙] ธาตุ ๖๑ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. สุขธาตุ ๒. ทุกขธาตุ
๓. โสมนัสสธาตุ ๔. โทมนัสสธาตุ
๕. อุเปกขาธาตุ ๖. อวิชชาธาตุ

[๑๘๐] บรรดาธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๗๙/๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความสำราญทางกาย ความสุขทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็น
สุข อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่กายสัมผัส
นี้เรียกว่า สุขธาตุ (๑)
ทุกขธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขธาตุ (๒)
โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
นี้เรียกว่า โสมนัสสธาตุ (๓)
โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ (๔)
อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน
ความสำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่
ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ (๕)
อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมความ ความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง
รอบคอบ ความไม่ใคร่ครวญ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความด้อย
ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานะคืออวิชชา ลิ่มคือ
อวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ (๖)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓๙ }


[๑๘๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ
๓. วิหิงสาธาตุ ๔. เนกขัมมธาตุ
๕. อัพยาปาทธาตุ ๖. อวิหิงสาธาตุ

[๑๘๒] บรรดาธาตุ ๖ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ
ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่า กามธาตุ๑
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวนับเนื่อง
อยู่ในระหว่างนี้ ชั้นต่ำมีอเวจีนรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด
นี้เรียกว่า กามธาตุ (๑)
พยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
พยาบาท นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ๒
อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาตในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ความอาฆาตที่รุนแรง
ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความพิโรธตอบ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก
ความกำเริบหนักขึ้น ความคิดร้าย ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายหนัก
ความที่จิตคิดพยาบาท ความที่จิตคิดประทุษร้าย ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่
โกรธ ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพยาบาท
กิริยาที่พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ กามมี ๒ คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ธาตุที่เกี่ยวเนื่องกับกิเลสกามเป็นชื่อของกามวิตก ธาตุที่เกี่ยว
เนื่องกับวัตถุกามเป็นชื่อสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร (อภิ.วิ.อ. ๑๘๑/๘๐)
๒ พยาปาทธาตุนี้เป็นชื่อของพยาบาทวิตก (อภิ.วิ.อ. ๑๘๑/๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ มิจฉาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
วิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือเชือก
อย่างใดอย่างหนึ่งเบียดเบียนสัตว์ ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความรังแก
กิริยาที่รังแก ความเกรี้ยวกราด กิริยาที่กระทบกระทั่งอย่างรุนแรง ความเข้าไป
เบียดเบียนสัตว์อื่นเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ (๓)
เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบ
ด้วยเนกขัมมะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ
สภาวธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดชื่อว่า เนกขัมมธาตุ (๔)
อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะที่ประกอบด้วย
อัพยาบาท นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ
ความมีไมตรี ความเจริญเมตตา ภาวะที่แผ่เมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เมตตา-
เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นทางใจที่มีเมตตาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ (๕)
อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริที่ประกอบด้วยอวิหิงสา
ความที่จิตแนบแน่นในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ
กรุณา ความเจริญกรุณา ภาวะที่แผ่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ
(ความหลุดพ้นทางใจที่มีกรุณาเป็นอารมณ์) นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ (๖)
เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
ประมวลย่อธาตุ ๖ สามหมวดนี้เข้าเป็นหมวดเดียวกันจึงเป็นธาตุ ๑๘ ด้วย
อาการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๑๘๓] ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

[๑๘๔] บรรดาธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน
จักษุใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้
เรียกว่า จักขุธาตุ (๑)
รูปธาตุ เป็นไฉน
รูปใดเป็นสีต่าง ๆ อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า
รูปธาตุ (๒)
จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น นี้เรียกว่า
จักขุวิญญาณธาตุ (๓)
โสตธาตุ เป็นไฉน
โสตะใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้
เรียกว่า โสตธาตุ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สัททธาตุ เป็นไฉน
สัททะ (เสียง) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้
ชื่อสัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ (๕)
โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยโสตะ (หู) และเสียงเกิดขึ้น
นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ (๖)
ฆานธาตุ เป็นไฉน
ฆานะ (จมูก) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง
นี้เรียกว่า ฆานธาตุ (๗)
คันธธาตุ เป็นไฉน
คันธะ (กลิ่น) ใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้
ชื่อว่าคันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ (๘)
ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดขึ้น นี้เรียก
ว่า ฆานวิญญาณธาตุ (๙)
ชิวหาธาตุ เป็นไฉน
ชิวหา (ลิ้น) ใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง
นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ (๑๐)
รสธาตุ เป็นไฉน
รสใดอาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้ชื่อว่ารสธาตุ
บ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ (๑๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยชิวหาและรสเกิดขึ้น นี้เรียก
ว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ (๑๒)
กายธาตุ เป็นไฉน
กายใดเป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้ชื่อว่าบ้านว่างบ้าง นี้เรียก
ว่า กายธาตุ (๑๓)
โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน
ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้ชื่อว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ (๑๔)
กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดขึ้น นี้
เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ (๑๕)
มโนธาตุ เป็นไฉน
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่ง
จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งกาย-
วิญญาณธาตุ หรือการพิจารณาอารมณ์ครั้งแรกในสภาวธรรมทั้งปวง จิต มโน
มานัส ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่
เหมาะสมกันเกิดขึ้น
นี้เรียกว่า มโนธาตุ (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ธัมมธาตุ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับ
เนื่องในธัมมายตนะ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
บรรดาธัมมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ (๑)
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ (๒)
สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
สังขารขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สังขารขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ฯลฯ
สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ (๓)
รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (๔)
ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง เป็นไฉน
สภาวธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งราคะ เป็นที่สิ้นไปแห่งโทสะและเป็นที่สิ้นไปแห่งโมหะ
นี้เรียกว่า ธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง นี้เรียกว่า ธัมมธาตุ (๕-๑๗)
มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง
การเกิดดับแห่งมโนธาตุ
มโนธาตุเกิดขึ้นในลำดับแห่งการเกิดดับแห่งจักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ โสต-
วิญญาณธาตุ ฯลฯ ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ
กายวิญญาณธาตุ
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน เกิดขึ้นในลำดับแห่ง
การเกิดดับแม้แห่งมโนธาตุ
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน อาศัยภวังคจิตและธรรมารมณ์
เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ (๑๘)
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๑๘๕] ธาตุ ๑๘ คือ

๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

๑. ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๑๘๖] บรรดาธาตุ ๑๘ ธาตุเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไรเป็น
อัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑. กุสลติกวิสัชนา
[๑๘๗] ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
๒. เวทนาติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา หรือ
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ธาตุ ๕ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา กายวิญญาณ-
ธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี มโนวิญญาณธาตุที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาก็มี ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา หรือสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
๓. วิปากติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ธาตุ ๕ เป็นวิบาก มโนธาตุ
ที่เป็นวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ธาตุ ๒ ที่เป็นวิบาก
ก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
๔. อุปาทินนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน สัททธาตุ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน ธาตุ ๕ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ธาตุ ๒ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
๕. สังกิลิฏฐติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ธาตุ ๒ ที่กิเลส
ทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๖. สวิตักกติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๕ ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร มโนธาตุมีทั้งวิตกและวิจาร มโนวิญญาณธาตุ
ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ธัมมธาตุที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร หรือไม่มีทั้งวิตกและ
วิจารก็มี
๗. ปีติติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วย
อุเบกขา ธาตุ ๕ สหรคตด้วยอุเบกขา กายวิญญาณธาตุไม่สหรคตด้วยปีติ ที่
สหรคตด้วยสุขแต่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยสุขก็มี
ธาตุ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุข หรือสหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
๘. ทัสสนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ธาตุ ๒ ที่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่
ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
๙. ทัสสนเหตุติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ธาตุ ๒ ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี
๑๐. อาจยคามิติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ธาตุ ๒ ที่เป็นเหตุให้ถึง
ปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๑. เสกขติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคล ธาตุ ๒ ที่เป็นของเสขบุคคล
ก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
๑๒. ปริตตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ เป็นปริตตะ ธาตุ ๒ ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็น
อัปปมาณะก็มี
๑๓. ปริตตารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ มีปริตตะเป็นอารมณ์ ธาตุ ๒ ที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า มีปริตตะเป็นอารมณ์ มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ หรือมีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ก็มี
๑๔. หีนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ เป็นชั้นกลาง ธาตุ ๒ ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้น
ประณีตก็มี
๑๕. มิจฉัตตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ เป็นธรรมชาติไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น ธาตุ ๒ ที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่เป็นธรรมชาติไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
๑๖. มัคคารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มี
มรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดี ธาตุ ๒ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค
เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ มีมรรค
เป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑๗. อุปปันนติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
สัททธาตุที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ธาตุ ๖ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ธัมมธาตุที่เกิดขึ้นก็มี
ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้น หรือ
จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
๑๘. อตีตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ธัมมธาตุที่เป็น
อดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอดีต เป็นอนาคต
หรือเป็นปัจจุบันก็มี
๑๙. อตีตารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ ธาตุ ๒ ที่
มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็น
อารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
๒๐. อัชฌัตตติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๘ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๖ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ธาตุ ๒ ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า มีธรรมภายใน
ตนเป็นอารมณ์ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ หรือมีธรรมภายในตนและภายนอก
ตนเป็นอารมณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒๒. สนิทัสสนติกวิสัชนา
รูปธาตุเห็นได้และกระทบได้ ธาตุ ๙ เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ ธาตุ ๘ เห็น
ไม่ได้และกระทบไม่ได้
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๑๘๘] ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นเหตุ ธัมมธาตุที่เป็นเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุ ธาตุ ๒ ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากเหตุ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจากเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ มโน-
วิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ ที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ธัมมธาตุที่เป็นเหตุและมีเหตุก็มี ที่มีเหตุแต่ไม่เป็น
เหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่
ไม่เป็นเหตุ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ ที่สัมปยุต
ด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ธัมมธาตุ
ที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี ที่กล่าวไม่
ได้ว่า เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ มโนวิญญาณธาตุที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี
ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี ธัมมธาตุที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มี
เหตุก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ มีปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมธาตุที่มีปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ธัมมธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มี ที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มี
รูปธาตุเห็นได้ ธาตุ ๑๗ เห็นไม่ได้
ธาตุ ๑๐ กระทบได้ ธาตุ ๘ กระทบไม่ได้
ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ ไม่เป็นรูป ธัมมธาตุที่เป็นรูปก็มี ที่ไม่เป็นรูปก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
ธาตุ ๑๘ ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นอาสวะ ธัมมธาตุที่เป็นอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอาสวะ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ ที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วย
อาสวะ หรือสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะก็มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือวิปปยุต
จากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นสังโยชน์ ธัมมธาตุที่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากสังโยชน์ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็น
อารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มโนวิญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์
และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นสังโยชน์
และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ หรือเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุต
ด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังโยชน์และ
สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย
สังโยชน์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
สังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ หรือสัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ของสังโยชน์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
หรือวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
ธาต ๑๗ ไม่เป็นคันถะ ธัมมธาตุที่เป็นคันถะก็มี ที่ไม่เป็นคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของคันถะ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากคันถะ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์
ของคันถะ ที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์
ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่
เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและเป็นอารมณ์
ของคันถะ หรือเป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือสัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วย
คันถะ ที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยคันถะแต่
ไม่เป็นคันถะก็มี ธัมมธาตุที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่สัมปยุตด้วย
คันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ หรือ
สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุตจาก
คันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ หรือวิปปยุตจากคันถะ
และไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๖-๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ธัมมธาตุที่
เป็นนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากนิวรณ์ ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุต
จากนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์
ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และเป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์
และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือเป็นอารมณ์ของนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือสัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วย
นิวรณ์ ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยนิวรณ์
แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ธัมมธาตุที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย
นิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนิวรณ์และสัมปยุตด้วยนิวรณ์ หรือ
สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์ก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ธาตุ ๒ ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของ
นิวรณ์ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หรือวิปปยุต
จากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นปรามาส ธัมมธาตุที่เป็นปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของปรามาส ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากปรามาส มโนวิญญาณธาตุที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี
ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจาก
ปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็น
อารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาส
และเป็นอารมณ์ของปรามาส ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ที่
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี ธัมมธาตุที่เป็น
ปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส หรือเป็นอารมณ์ของ
ปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาสก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็น
อารมณ์ของปรามาสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของ
ปรามาส หรือวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ธาตุ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ ธัมมธาตุที่รับรู้อารมณ์
ได้ก็มี ที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ก็มี
ธาตุ ๗ เป็นจิต ธาตุ ๑๑ ไม่เป็นจิต
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นเจตสิก ธัมมธาตุที่เป็นเจตสิกก็มี ที่ไม่เป็นเจตสิกก็มี
ธาตุ ๑๐ วิปปยุตจากจิต ธัมมธาตุที่สัมปยุตด้วยจิตก็มี ที่วิปปยุตจากจิตก็มี
ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ ไม่ระคนกับจิต ธัมมธาตุที่ระคนกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตก็มี
ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
ธาตุ ๑๒ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ธาตุ ๖ ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่เกิดพร้อมกับจิต ธัมมธาตุที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อม
กับจิตก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นไปตามจิต ธัมมธาตุที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตาม
จิตก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน ธัมมธาตุที่ระคนกับจิตและ
มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต ธัมมธาตุที่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็น
สมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิตก็มี
ธาตุ ๑๗ ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต ธัมมธาตุที่ระคน
กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐาน
และเป็นไปตามจิตก็มี
ธาตุ ๑๒ เป็นภายใน ธาตุ ๖ เป็นภายนอก
ธาตุ ๙ เป็นอุปาทายรูป ธาตุ ๘ ไม่เป็นอุปาทายรูป ธัมมธาตุที่เป็น
อุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๐ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ สัททธาตุกรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ธาตุ ๗ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นอุปาทาน ธัมมธาตุที่เป็นอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอุปาทาน ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่
วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน หรือเป็น
อารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็น
อุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็น
อุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมม-
ธาตุที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่
ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
หรือเป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุต
ด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทาน
และสัมปยุตด้วยอุปาทาน ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ธัมมธาตุที่เป็นอุปาทานและ
สัมปยุตด้วยอุปทานก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานก็มี ที่กล่าว
ไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน หรือสัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่
เป็นอุปาทานก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ธาตุ ๒ ที่วิปปยุต
จากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน หรือวิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
ธาตุ ๑๗ ไม่เป็นกิเลส ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นอารมณ์ของกิเลส ธาตุ ๒ ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง ธาตุ ๒ ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่
กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากกิเลส ธาตุ ๒ ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุต
จากกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์
ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอารมณ์
ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่
เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์
ของกิเลส หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้
เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า กิเลสทำให้
เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่
กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและกิเลสทำให้
เศร้าหมอง หรือกิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส มโนวิญญาณธาตุกล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็น
กิเลสก็มี ธัมมธาตุที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
เป็นกิเลสก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส หรือสัมปยุตด้วย
กิเลสแต่ไม่เป็นกิเลสก็มี
ธาตุ ๑๖ วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส ธาตุ ๒ ที่วิปปยุตจาก
กิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
ก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส หรือวิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
ธาตุ ๑๖ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ธาตุ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ธาตุ ๒ ที่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค ธาตุ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ธาตุ ๒ ที่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
ก็มี
ธาตุ ๑๕ ไม่มีวิตก มโนธาตุมีวิตก ธาตุ ๒ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
ธาตุ ๑๕ ไม่มีวิจาร มโนธาตุมีวิจาร ธาตุ ๒ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่มีปีติ ธาตุ ๒ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่สหรคตด้วยปีติ ธาตุ ๒ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
ปีติก็มี
ธาตุ ๑๕ ไม่สหรคตด้วยสุข ธาตุ ๓ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วย
สุขก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๓.ธาตุวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
ธาตุ ๑๑ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ธาตุ ๕ สหรคตด้วยอุเบกขา ธาตุ ๒
ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ธาตุ ๑๖ เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นรูปาวจร ธาตุ ๒ ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นอรูปาวจร ธาตุ ๒ ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
ธาตุ ๑๖ นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ธาตุ ๒ ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ธาตุ ๒ ที่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี
ธาตุ ๑๖ ให้ผลไม่แน่นอน ธาตุ ๒ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ธาตุ ๑๖ มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ธาตุ ๒ ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
กว่าก็มี
ธาตุ ๑๖ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ ธาตุ ๒ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี (๑๓)
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [ ๔. สัจจวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๔. สัจจวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๘๙] อริยสัจ๑ ๔ คือ
๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์)
๑. ทุกขสัจ
[๑๙๐] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสเป็นทุกข์ การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพราก
จากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์๒ ๕ เป็นทุกข์๓
[๑๙๑] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชาติ๔

เชิงอรรถ :
๑ ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่พระอริยะพึงรู้ (วิภงฺคมูลฏี.
๑๘๙/๕๘)
๒ อภิธัมมัตถวิ. ๒๒๗
๓ วิ.ม. ๔/๑๔/๑๔, ม.มู. ๑๒/๙๑/๖๖, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๘, อภิ.วิ.อ. ๑๙๐/๑๐๐
๔ ที.ม. ๑๐/๓๘๗/๒๖๑, ม.มู. ๑๒/๙๓/๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙,
อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๕/๑๖๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.ทุกขสัจ
[๑๙๒] ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว
ย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา๑
[๑๙๓] มรณะ เป็นไฉน
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ
มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ๒
[๑๙๔] โสกะ เป็นไฉน
ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่
ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๓
[๑๙๕] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่ร้องไห้
ภาวะที่คร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรรำพัน กิริยาที่
พิไรรำพัน ภาวะที่พิไรรำพัน ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่
ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๔

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๓๘๙/๒๖๐, ม.มู.๑๒/๙๒/๖๖-๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๗, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,๒๘/๔๒,๓๓/๕๕,
ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๓.
๒ ที.ม. ๑๐/๓๙๐/๒๖๐, ม.มู. ๑๒/๙๒/๖๗, ม.อุ.๑๔/๓๗๓/๓๑๘, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓,๒๗/๔๑,๒๘/๔๒,๓๓/๕๕,
ขุ.ม. ๒๙/๔๑/๑๐๒, ขุ.ป.๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๖/๑๖๔
๓ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖,๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๗/๑๖๔
๔ ขุ.ม. ๒๙/๔๔/๑๐๖,๙๗/๒๑๐, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๖, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๘/๑๖๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.ทุกขสัจ
[๑๙๖] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๑
[๑๙๗] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญ
เป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๒
[๑๙๘] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ
ความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ
(หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส๓
[๑๙๙] การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน
การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่เป็นที่
ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่
เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะ๔ ของเขา
นี้เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์๕
[๒๐๐] การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน
การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อัน
เป็นที่ปรารถนาเป็นที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๕๙/๑๕๘, อภิ.วิ. ๓๕/๒๓๙/๑๖๔
๒ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙, อภิ.สงฺ. ๓๔/๔๑๗/๑๑๖, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๐/๑๖๔
๓ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๓๙-๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๑/๑๖๕
๔ ดู โยคะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๘๘ ในเล่มนี้
๕ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐, อภิ.วิ. ๓๕/๒๔๑/๑๖๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.ทุกขสัจ
หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความเกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความเกษมจาก
โยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์
ญาติ หรือสายโลหิต นี้เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์๑
[๒๐๑] การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นไฉน
เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ
ขอเราอย่าได้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้
ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์
เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา
ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก
ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความ
พิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอ
ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่า
ได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความต้องการ นี้เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่
ต้องการเป็นทุกข์๒
[๒๐๒] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
รูปูปาทานขันธ์ (กองรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์ (กอง
เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) สัญญูปาทานขันธ์ (กองสัญญาที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน) สังขารูปาทานขันธ์ (กองสังขารที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) และ
วิญญาณูปาทานขันธ์ (กองวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่า
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๓
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐
๒ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐
๓ ม.อุ. ๑๔/๓๗๓/๓๑๘, ขุ.ป. ๓๑/๓๓/๔๐-๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.สมุทยสัจ
๒. สมุทยสัจ
[๒๐๓] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ
เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ก็ตัณหานี้แหละเมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน
ปิยรูปสาตรูป๑ เป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูป-
สาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักษุนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้ง
อยู่ที่จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
รูปนี้ เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก
ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธรรมนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่
ที่ธรรมนี้
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณ
นี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ...
ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้
เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก

เชิงอรรถ :
๑ ปิยรูปสาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ ส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดตัณหา (อภิ.วิ.อ. ๒๐๓/๑๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.สมุทยสัจ
ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก
เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธ-
สัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด
ก็เกิดที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ
ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รสสัญเจตนา ...ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก
ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้
เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา (ความติดใจในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธ-
ตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่
รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.นิโรธสัจ
รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิด
ที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ...
ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้๑
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. นิโรธสัจ
[๒๐๔] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความสำรอกและความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความ
ส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่
ก็ตัณหานี้เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ ก็
ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักษุนี้ เมื่อดับก็ดับที่
จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก
มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้
เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรม
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธรรมนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธรรมนี้

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป.๓๑/๓๔/๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.นิโรธสัจ
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้
เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก
ชิวหาวิญญาณ ...ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ...ในโลก ชิวหาสัมผัส
... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อ
ละ ก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่
เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิด
แต่ชิวหาสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา
... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหา
นี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนา
นี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ...
ในโลก รสสัญเจตนา ...ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่
ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ...
ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อละ ก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมตัณหานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.มัคคสัจ
รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ
ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก
โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละ
ที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อ
ดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ใน
โลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อละ
ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้๑
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. มัคคสัจ
[๒๐๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นแล คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้
ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับทุกข์) นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการ
ไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๓๔/๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๔.สัจจวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.มัคคสัจ
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วย
สัมมาอาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕)
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทำบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ไม่
เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า
สัมมาวายามะ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้เรียกว่า
สัมมาสติ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น