Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๗ หน้า ๓๔๕ - ๔๐๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.จิตติทธิบาท
[๔๓๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๓. จิตติทธิบาท
[๔๓๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร เป็น
อย่างไร
ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตต-
สมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมอันเกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือยหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อจิตตสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
จิตตสมาธิและปธานสังขาร
[๔๓๙] บรรดาธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้และด้วย
ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าประกอบด้วยจิตตสมาธิ
ปธานสังขาร
[๔๔๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๔๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำวิมังสาให้เป็นอธิบดีแล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า
วิมังสาสมาธิ
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด
ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุนั้นสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ธรรมเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ประมวลย่อวิมังสาสมาธิและปธานสังขารเข้าเป็นอย่างเดียวกัน จึงนับได้ว่า
วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๒] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธาน-
สังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร
[๔๔๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ
วิญญาณขันธ์ของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
สุตตันตภาชนีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๔๔] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๔๕] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์๑
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐม-
ฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๒ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๖] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘,๒๗๗/๒๗๐ ๒ อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.วิริยิทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๗] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๔๘] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
[๔๔๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓. จิตติทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๐] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๓. จิตติทธิบาท
[๔๕๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๒] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิตนี้ ด้วยสมาธินี้ และด้วย
ปธานสังขารนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิ
และปธานสังขาร
[๔๕๓] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๕๔] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๕] บรรดาธรรมเหล่านั้น วิมังสา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑. ฉันทิทธิบาท
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขารนี้ ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
[๔๕๖] คำว่า อิทธิ มีอธิบายว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี กิริยาที่
สำเร็จ กิริยาที่สำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้เฉพาะ ความถึง ความถึงด้วยดี
ความถูกต้อง การทำให้แจ้ง ความเข้าถึงสภาวธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท มีอธิบายว่า ความกระทบ ฯลฯ การประคอง ความไม่
ฟุ้งซ่านของบุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท มีอธิบายว่า ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งสภาวธรรม
เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
[๔๕๗] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ฉันทิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือฉันทะ)
๒. วิริยิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิริยะ)
๓. จิตติทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือจิตตะ)
๔. วิมังสิทธิบาท (ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จคือวิมังสา)

๑. ฉันทิทธิบาท
[๔๕๘] บรรดาอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความพอใจ การทำ
ความพอใจ ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า
ฉันทิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๔.วิมังสิทธิบาท
๒. วิริยิทธิบาท
[๔๕๙] วิริยิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า วิริยิทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยิทธิบาท
๓. จิตติทธิบาท
[๔๖๐] จิตติทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น จิต มโน มานัส ฯลฯ
มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท
๔. วิมังสิทธิบาท
[๔๖๑] วิมังสิทธิบาท เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัดฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิมังสิทธิบาท สภาวธรรม
ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิมังสิทธิบาท
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๖๒] อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๖๓] บรรดาอิทธิบาท ๔ อิทธิบาทเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๖๔] อิทธิบาท ๔ เป็นกุศลอย่างเดียว
อิทธิบาท ๔ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
อิทธิบาท ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน
อิทธิบาท ๔ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
อิทธิบาท ๔ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี
อิทธิบาท ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
อิทธิบาท ๔ เป็นของเสขบุคคล
อิทธิบาท ๔ เป็นอัปปมาณะ
อิทธิบาท ๔ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ เป็นชั้นประณีต
อิทธิบาท ๔ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ มีมรรคเป็นเหตุ
อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอธิบดี
อิทธิบาท ๔ ที่เกิดขึ้นก็มี ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นก็มี แต่กล่าวไม่ได้ว่า จักเกิดขึ้น
แน่นอน
อิทธิบาท ๔ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
อิทธิบาท ๔ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
อิทธิบาท ๔ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๖๕] วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุ อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นเหตุ อิทธิบาท ๔ มีเหตุ
อิทธิบาท ๔ สัมปยุตด้วยเหตุ วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุและมีเหตุ อิทธิบาท ๓
กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
วิมังสิทธิบาทเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ อิทธิบาท ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ วิมังสิทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่
มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒-๙. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ มีปัจจัยปรุงแต่ง อิทธิบาท ๔ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อิทธิบาท ๔ เห็นไม่ได้ อิทธิบาท ๔ กระทบไม่ได้
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นรูป อิทธิบาท ๔ เป็นโลกุตตระ
อิทธิบาท ๔ จิตบางดวงรู้ได้ อิทธิบาท ๔ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอาสวะ อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
อิทธิบาท ๔ วิปปยุตจากอาสวะ อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและ
เป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
อิทธิบาท ๔ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ อิทธิบาท ๔ วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ รับรู้อารมณ์ได้ อิทธิบาท ๓ ไม่เป็นจิต จิตติทธิบาทเป็นจิต
อิทธิบาท ๓ เป็นเจตสิก จิตติทธิบาทไม่เป็นเจตสิก อิทธิบาท ๓ สัมปยุต
ด้วยจิต จิตติทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า สัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิต จิตติทธิบาทกล่าวไม่ได้ว่า ระคนกับจิต หรือไม่
ระคนกับจิต อิทธิบาท ๓ มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อิทธิบาท ๓ เกิดพร้อมกับจิต จิตติทธิบาทไม่เกิดพร้อมกับจิต อิทธิบาท ๓
เป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่เป็นไปตามจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๙.อิทธิปาทวิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิต
และมีจิตเป็นสมุฏฐาน อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อม
กับจิต จิตติทธิบาทไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
อิทธิบาท ๓ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต จิตติทธิบาทไม่
ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
อิทธิบาท ๓ เป็นภายนอก จิตติทธิบาทเป็นภายใน อิทธิบาท ๔ ไม่เป็น
อุปาทายรูป
อิทธิบาท ๔ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
๑๑-๑๓. อุปาทานโคจฉกาทิวิสัชนา
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
อิทธิบาท ๔ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
อิทธิบาท ๔ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี อิทธิบาท ๔ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี
ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
อิทธิบาท ๔ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี อิทธิบาท ๔ ที่
สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นกามาวจร อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นรูปาวจร
อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นอรูปาวจร อิทธิบาท ๔ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
อิทธิบาท ๔ เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ อิทธิบาท ๔ ให้ผลแน่นอน
อิทธิบาท ๔ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อิทธิบาท ๔ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อิทธิปาทวิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๐. โพชฌังควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
[๔๖๖] โพงฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ)
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือธัมมวิจยะ)
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ)
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ)
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ)
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ)
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา)

[๔๖๗] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้
ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นาน ๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นาน ๆ ได้ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑)
(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้น
ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒)
(วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ความเพียร ความไม่ย่อท้อ อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวน
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓)
(ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร นี้เรียกว่า ปีติ-
สัมโพชฌงค์ (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ (๕)
(สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ (๖)
(อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน)
ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (๗)
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
[๔๖๘] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๖๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี สติในธรรมภายในตน ก็คือ
สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสติใน
ธรรมภายนอกตน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน (๑)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเลือกสรรธรรมในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี ความ
เลือกสรรธรรมในธรรมภายในตน ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเลือกสรรธรรมในธรรมภายนอกตน ก็คือ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความเพียรทางกายก็มี ทางใจก็มี ความเพียรทางกาย ก็คือวิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเพียรทางใจ ก็คือ
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๓)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจาร
ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึง
ปีติที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๔)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
กายปัสสัทธิก็มี จิตตปัสสัทธิก็มี กายปัสสัทธิ ก็คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงจิตตปัสสัทธิ ก็คือ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ( ๕)
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาธิที่มีทั้งวิตกและ
วิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงสมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๖)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขาในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี อุเบกขาในธรรมภายใน
ตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ถึงอุเบกขาในธรรมภายนอกตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓
[๔๗๐] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
(๒) เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๓) เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๔) เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๕) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๖) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
(๗) เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๔๗๓] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ
สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ก็เกิดขึ้น
[๔๗๔] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับ
เนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑)
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมา-
ทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒)
วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็น
องค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓)
ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง
ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ปีติสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์ (๔)
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความสงบ ความสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ นี้
เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (๕)

เชิงอรรถ :
๑ ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๒๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ความตั้งมั่นแห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ (๖)
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (๗)
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุต
ด้วยโพชฌงค์ ๗
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๕] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๖] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก
ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวาง
เฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๗๗] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๗๘] ในสภาวธรรมเหล่านั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา๑ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเปกขาสัมโพชฌงค์
ก็เกิดขึ้น
[๔๗๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า (อภิ.สงฺ.อ. ๒๗๗/๑๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
ฯลฯ
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็นกลาง อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า โพชฌงค์ ๗
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยโพชฌงค์ ๗
[๔๘๐] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

[๔๘๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญาซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือ
ชื่อว่า สัมปยุตด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์
อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
ปฐมฌานเป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ
อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น อุเบกขา ความวางเฉย ความเพ่งเฉย ความวางจิตเป็น
กลาง อุเปกขาสัมโพชฌงค์ นี้เรียกว่า อุเปกขาสัมโพชฌงค์ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า
สัมปยุตด้วยอุเปกขาสัมโพชฌงค์
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๔๘๒] โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๔๘๓] บรรดาโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์เท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล เท่าไร
เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๔๘๔] โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ สัมปยุตด้วยสุขเวทนา โพชฌงค์ ๖ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
โพชฌงค์ ๗ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน
โพชฌงค์ ๗ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
โพชฌงค์ ๗ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้ง
วิตกและวิจารก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคต
ด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคต
ด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณะ
โพชฌงค์ ๗ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ เป็นชั้นประณีต
โพชฌงค์ ๗ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
โพชฌงค์ ๗ มีธรรมเป็นภายนอกตนเป็นอารมณ์
โพชฌงค์ ๗ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๔๘๕] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุ โพชฌงค์ ๖ สัมปยุตด้วยเหตุ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุและมีเหตุ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ
และมีเหตุ หรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า
เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
โพชฌงค์ ๖ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์กล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็น
เหตุแต่มีเหตุ หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ มีปัจจัยปรุงแต่ง โพชฌงค์ ๗ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
โพชฌงค์ ๗ เห็นไม่ได้ โพชฌงค์ ๗ กระทบไม่ได้
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นรูป โพชฌงค์ ๗ เป็นโลกุตตระ
โพชฌงค์ ๗ จิตบางดวงรู้ได้ โพชฌงค์ ๗ จิตบางดวงรู้ไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอาสวะ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ วิปปยุตจากอาสวะ โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะ
และเป็นอารมณ์ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
โพชฌงค์ ๗ วิปปยุตจากอาสวะ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
๔-๙. สัญโญชนโคจฉกาทิวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
๑๐-๑๒. มหันตรทุกาทิวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ รับรู้อารมณ์ได้ โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นจิต
โพชฌงค์ ๗ เป็นเจตสิก โพชฌงค์ ๗ สัมปยุตด้วยจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิต โพชฌงค์ ๗ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โพชฌงค์ ๗ เกิดพร้อมกับจิต โพชฌงค์ ๗ เป็นไปตามจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตมี
จิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
โพชฌงค์ ๗ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต โพชฌงค์ ๗
เป็นภายนอก
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอุปาทายรูป โพชฌงค์ ๗ กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิไม่ยึดถือ
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐.โพชฌังควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ ๗ ไม่ต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค โพชฌงค์ ๗ ไม่มี
เหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
โพชฌงค์ ๗ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี โพชฌงค์ ๗ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิจารก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่มีปีติ โพชฌงค์ ๖ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยปีติ โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์สหรคตด้วยสุข โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
ปีติสัมโพชฌงค์ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา โพชฌงค์ ๖ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นกามาวจร โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นรูปาวจร
โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นอรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
โพชฌงค์ ๗ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี โพชฌงค์ ๗ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
โพชฌงค์ ๗ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
โพชฌังควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๑. มัคควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
อริยมรรคมีองค์ ๘ นัยที่ ๑
[๔๘๖] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)

[๔๘๗] บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน
การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้เรียกว่า สัมมาวาจา (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑. มัคควิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
... เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
... เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
... เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เรียกว่า สัมมาสติ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มี
วิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุ
ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มี
แต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับ
ไปก่อน บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ (๘)
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๔๘๘] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

[๔๘๙] บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง ฯลฯ เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก วิราคะ และนิโรธ น้อมไป
เพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๔๙๐] มรรคมีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
๘. สัมมาสมาธิ
[๔๙๑] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น
[๔๙๒] บรรดามรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ๑ (๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ๒ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากวจีทุจริต ๔ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งวจีทุจริต ๔)
สัมมาวาจา อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวาจา๓ (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากกายทุจริต ๓ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งกายทุจริต ๓)
สัมมากัมมันตะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ๔ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุเว้นจากมิจฉาอาชีวะ การไม่
ทำ การเลิกทำ การไม่ล่วงละมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุ(แห่งมิจฉาอาชีวะ)
สัมมาอาชีวะ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ๕ (๕)

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๗/๘๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๘/๘๘ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๒๙๙/๘๘
๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๐/๘๙ ๕ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๑/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ๑ (๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ๒ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ๓ (๘)
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘
ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๙๓] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๔๙๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๒/๘๙ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๓/๘๙ ๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๓๐๔/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
[๔๙๕] บรรดามรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน
เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค
นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๔๙๖] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๔๙๗] บรรดามรรคมีองค์ ๕ เหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อ
ว่าสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ
อัฏฐังคิกวาร
[๔๙๘] มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

[๔๙๙] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ถึง
นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรค
มีองค์ ๘
ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๐๐] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๕๐๑] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๐๒] มรรคมีองค์ ๕ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ
๕. สัมมาสมาธิ

[๕๐๓] บรรดามรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความ
เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องใน
มรรค นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสติ
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้
ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ
ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล
ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา-
ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ
อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ความตั้งอยู่แห่งจิต ความตั้งมั่นด้วยดี ความดำรงมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมาธิ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค
นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
๓. ปัญหาปุจฉกะ
[๕๐๔] อริยมรรคมีองค์ ๘๑ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
[๕๐๕] บรรดาองค์มรรค ๘ องค์มรรคเท่าไรเป็นกุศล เท่าไรเป็นอกุศล
เท่าไรเป็นอัพยากฤต ฯลฯ เท่าไรเป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ เท่าไรไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
๑. ติกมาติกาวิสัชนา
๑-๒๒. กุสลติกาทิวิสัชนา
[๕๐๖] องค์มรรค ๘ ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัมมาสังกัปปะสัมปยุตด้วยสุขเวทนา องค์มรรค ๗ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
องค์มรรค ๘ กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๔๘๖/๓๔๒.

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๑.ติกมาติกาวิสัชนา
องค์มรรค ๘ กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส
สัมมาสังกัปปะไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร องค์มรรค ๗ ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่
ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยปีติ สหรคตด้วยสุขแต่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์
มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และ
นิพพานก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี
องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณะ
องค์มรรค ๘ มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ เป็นชั้นประณีต
องค์มรรค ๘ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่ใช่มีมรรคเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่กล่าวไม่ได้ว่า
มีมรรคเป็นเหตุ หรือมีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ มีอนาคตธรรมเป็น
อารมณ์ หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตน
และภายนอกตนก็มี
องค์มรรค ๘ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
องค์มรรค ๘ เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
๒. ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๕๐๗] สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ องค์มรรค ๗ ไม่เป็นเหตุ
องค์มรรค ๘ มีเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุและมีเหตุ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุและมี
เหตุหรือมีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น
เหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ หรือสัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ
องค์มรรค ๗ ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ สัมมาทิฏฐิกล่าวไม่ได้ว่า ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
หรือไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
องค์มรรค ๘ มีปัจจัยปรุงแต่ง องค์มรรค ๘ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
องค์มรรค ๘ เห็นไม่ได้ องค์มรรค ๘ กระทบไม่ได้
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นรูป องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ
องค์มรรค ๘ จิตบางดวงรู้ได้ องค์มรรค ๘ จิตบางดวงรู้ไม่ได้
๓-๙. อาสวโคจฉกาทิวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอาสวะ องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
องค์มรรค ๘ วิปปยุตจากอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์
ของอาสวะ หรือเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ หรือสัมปยุต
ด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ
องค์มรรค ๘ วิปปยุตจากอาสวะ
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นโอฆะ ฯลฯ
ไม่เป็นโยคะ ฯลฯ ไม่เป็นนิวรณ์ ฯลฯ ไม่เป็นปรามาส ฯลฯ
๑๐-๑๒. มหันตรทุกาทิวิสัชนา
องค์มรรค ๘ รับรู้อารมณ์ได้ องค์มรรค ๘ ไม่เป็นจิต
องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิก องค์มรรค ๘ สัมปยุตด้วยจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิต องค์มรรค ๘ มีจิตเป็นสมุฏฐาน
องค์มรรค ๘ เกิดพร้อมกับจิต องค์มรรค ๘ เป็นไปตามจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน องค์มรรค ๘ ระคนกับจิต
มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
องค์มรรค ๘ ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต องค์มรรค ๘
เป็นภายนอก
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอุปาทายรูป องค์มรรค ๘ กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ ไม่เป็นกิเลส ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
องค์มรรค ๘ ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
องค์มรรค ๘ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้องบน ๓
สัมมาสังกัปปะไม่มีวิตก องค์มรรค ๗ ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัมมาสังกัปปะมีวิจาร องค์มรรค ๗ ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัมมาสังกัปปะมีปีติ องค์มรรค ๗ ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัมมาสังกัปปะ สหรคตด้วยปีติ องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยปีติก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๑.มัคควิภังค์] ๓.ปัญหาปุจฉกะ ๒.ทุกมาติกาวิสัชนา
สัมมาสังกัปปะสหรคตด้วยสุข องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่
สหรคตด้วยสุขก็มี
สัมมาสังกัปปะไม่สหรคตด้วยอุเบกขา องค์มรรค ๗ ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นกามาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นรูปาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นอรูปาวจร
องค์มรรค ๘ ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์
องค์มรรค ๘ ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจาก
วัฏฏทุกข์ก็มี
องค์มรรค ๘ ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
องค์มรรค ๘ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
องค์มรรค ๘ ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
ปัญหาปุจฉกะ จบ
มัคควิภังค์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์] ๑. สุตตันตภาชนีย์
๑๒. ฌานวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
มาติกา
[๕๐๘] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษที่มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบความ
เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม หมั่นประกอบความเพียรใน
การเจริญโพธิปักขิยธรรมอย่างต่อเนื่อง มีปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ ๑ ทำความรู้สึกตัวในการ
แลดู การเหลียวดู ๑ ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก ๑ ทำความรู้สึก
ตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม ๑ ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑ ทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง ๑
ภิกษุนั้นอาศัยเสนาสนะที่สงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ดง
ที่แจ้ง กองฟาง ที่สงัดมีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ไม่มีคนสัญจรไปมา ไม่มี
คนพลุกพล่าน เหมาะเป็นที่หลีกเร้น ภิกษุนั้นอยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลกได้ มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อภิชฌา ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็น
ผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งมวล ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความ
คิดประทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้ได้อาโลก-
สัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว
เป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่านอยู่ มีจิตสงบภายในตน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละ
วิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมอยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา๑

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี. ๙/๒๑๔-๒๑๗/๗๑-๗๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง ทอนกำลังปัญญา
สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขและทุกข์ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
จึงได้บรรลุอากาสานัญจายตนะ โดยบริกรรมว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้อยู่ เพราะ
ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงได้บรรลุวิญญาณัญจายตนะ
โดยบริกรรมว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้อยู่ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะได้
โดยประการทั้งปวง จึงได้บรรลุอากิญจัญญายตนะโดยบริกรรมว่า “อะไร ๆ สักน้อย
หนึ่งก็ไม่มี” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง จึงได้
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
มาติกา จบ
มาติกานิทเทส
[๕๐๙] คำว่า ในธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า ในความเห็นนี้ ในความพอใจนี้
ในความชอบใจนี้ ในลัทธินี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในธรรมวินัยนี้ ในปาพจน์นี้
ในพรหมจรรย์นี้ และในคำสอนของพระศาสดานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ในธรรม-
วินัยนี้๑
[๕๑๐] คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา ชื่อว่าภิกษุ
เพราะการปฏิญญาตน ชื่อว่าภิกษุ เพราะขอ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ชื่อว่าภิกษุ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ป. ๓๑/๑๖๔/๑๘๗, ๑๐/๔๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
เพราะเป็นผู้เข้าถึงภิกขาจาร ชื่อว่าภิกษุ เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลาย๑ ชื่อว่าภิกษุ
เพราะทำลายบาปอกุศลธรรมได้แล้ว ชื่อว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้เฉพาะส่วน ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะละกิเลสได้โดยไม่เฉพาะส่วน ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นพระเสขะ ชื่อ
ว่าภิกษุ เพราะเป็นพระอเสขะ ชื่อว่าภิกษุ เพราะไม่เป็นพระเสขะและพระอเสขะ
ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เลิศ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เจริญ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้
ผุดผ่อง ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้มีสาระ ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้อุปสมบทด้วย
ญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบ๒ สมควรแก่เหตุ ด้วยสงฆ์ผู้พร้อมเพียงกัน
[๕๑๑] คำว่า ปาติโมกข์ อธิบายว่า ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธาน เพื่อ
ความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล
คำว่า สังวร อธิบายว่า ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทั้งทาง
กายและวาจา
คำว่า เป็นผู้สำรวม อธิบายว่า เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงพร้อมแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
[๕๑๒] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไป
อยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๑๓] คำว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร อธิบายว่า อาจาระก็มี
อนาจาระก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระ เป็นไฉน
ความล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า อนาจาระ
ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อนาจาระ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓ ๒ คือถูกต้อง มั่นคง (วิ.มหาวิ. ๑/๔๕/๓๓, อภิ.วิ.อ. ๕๑๐/๓๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อนาจาระ
อาจาระ เป็นไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา ทั้งทางกายและวาจา นี้เรียกว่า
อาจาระ ศีลสังวรแม้ทั้งหมดก็เรียกว่า อาจาระ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ให้ดอกไม้ ให้
ผลไม้ ให้เครื่องสนาน ให้ไม้ชำระฟัน การพูดยกย่องเพราะต้องการประจบให้เขารัก
การพูดทีเล่นทีจริงเหมือนแกงถั่ว การรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ส่งข่าวสาร หรือด้วย
มิจฉาอาชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ นี้เรียกว่า อาจาระ
[๕๑๔] คำว่า โคจร อธิบายว่า โคจรก็มี อโคจรก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น อโคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร
มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้านสุราเป็น
โคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวก
เดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูล
ที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ๑ปรารถนาแต่สิ่งที่
มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร๒
โคจร เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีหญิง
หม้ายเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ไม่เป็น
ผู้มีภิกษุณีเป็นโคจร ไม่เป็นผู้มีร้านสุราเป็นโคจร ไม่อยู่คลุกคลีกับพระราชา

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๑๙๙/๑๑๔ ๒ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่ง
เรืองไปด้วยผ้ากาสาวะ๑ อบอวลไปด้วยกลิ่นของฤษี ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นความผาสุก ปรารถนาแต่ความหลุด
พ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า โคจร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยอาจาระนี้และด้วยโคจรนี้
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร๒
[๕๑๕] ในคำว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย อธิบายว่า ในคำว่า เห็น
ภัยในโทษมีประมาณน้อย นั้น โทษมีประมาณน้อย เป็นไฉน
โทษอย่างต่ำ อย่างเบา ที่สมมติกันว่าโทษเบา ที่จะพึงทำด้วยความสำรวม
ระวัง และด้วยจิตตุปบาทที่เนื่องด้วยมนสิการ เหล่านี้เรียกว่า โทษมีประมาณน้อย
ภิกษุเป็นผู้เห็นโทษ ภัย ความชั่วร้าย และเห็นการสลัดออกในโทษที่มีประมาณ
น้อยเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๖] ในคำว่า สมาทานศึกษาในสิกขาทั้งหลาย นั้น สิกขา เป็นไฉน
สิกขา ๔ คือ
๑. สิกขาของภิกษุ เรียกว่า ภิกขุสิกขา
๒. สิกขาของภิกษุณี เรียกว่า ภิกขุนีสิกขา
๓. สิกขาของอุบาสก เรียกว่า อุปาสกสิกขา
๔. สิกขาของอุบาสิกา เรียกว่า อุปาสิกาสิกขา
เหล่านี้เรียกว่า สิกขา
ภิกษุสมาทานในสิกขาเหล่านี้ทั้งหมดด้วยการสมาทานทุกอย่าง ไม่ให้มีส่วนเหลือ
ประพฤติอยู่ในสิกขาเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สมาทานศึกษา
ในสิกขาทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ผ้ากาสาวะ” ได้แก่ ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดมีน้ำแก่นขนุนเป็นต้น
๒ ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๑๗] คำว่า คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความเป็นผู้คุ้ม
ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็มี ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง
เสียงด้วยหู ฯลฯ สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว รวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความไม่
คุ้มครอง กิริยาที่ไม่คุ้มครอง ความไม่รักษา ความไม่สำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้
เรียกว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๑
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ฯลฯ สูดกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์นั้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ความ
คุ้มครอง กิริยาที่คุ้มครอง ความรักษา ความสำรวมอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ นี้เรียกว่า
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๒
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๒/๓๐๒, อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๕/๔๔๐ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๔/๓๐๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๓.อัปปมัญญาวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๑๘] คำว่า รู้จักประมาณในการบริโภค อธิบายว่า ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในการบริโภคก็มี ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารเพื่อเล่น
เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว เพื่อความอ้วนพี ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ความเป็นผู้ไม่พิจารณาในการบริโภคนั้น นี้เรียกว่า ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค เป็นไฉน
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคอาหารไม่ใช่เพื่อ
เล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อประเทืองผิว และเพื่อความอ้วนพี แต่เพื่อกายนี้ดำรงอยู่
เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ โดยอุบาย
นี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่ง
ชีวิตินทรีย์ ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา ดังนี้ แล้วจึงบริโภค
อาหาร ความสันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ การพิจารณาในการบริโภคนั้น
นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค๑
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
การบริโภคนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
[๕๑๙] ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐม-
ยามและปัจฉิมยาม เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วย
การเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุ
ความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์
โดยการนอนตะแคงข้างขวา เท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการ
เดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้หมั่นประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามด้วยประการฉะนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๓/๓๐๓, อภิ.วิ. ๓๕/๙๐๕/๔๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๒๐] คำว่า ความเพียรที่เป็นไปติดต่อ อธิบายว่า การปรารภความเพียร
ทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ
[๕๒๑] คำว่า ปัญญาเป็นอุบายในกิจทั้งปวง อธิบายว่า ปัญญา กิริยาที่
รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
[๕๒๒] ในคำว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
นั้น โพธิปักขิยธรรม เป็นไฉน
โพชฌงค์ ๗ คือ

๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์

เหล่านี้เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม
ภิกษุเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม
[๕๒๓] ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร จีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด
การนิ่ง เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป ถอยกลับ ๑ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะแลดู เหลียวดู ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า เหยียดออก ๑ เป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะในการครองผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น
การพูด และการนิ่ง ๑
[๕๒๔] บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความระลึก
ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ
นี้เรียกว่า สติ๑
[๕๒๕] ในคำว่า มีสัมปชัญญะ นั้น สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด
ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญา
เหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง
ความรู้ดี ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือน
ศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ๒
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้
ด้วยประการฉะนี้ ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะก้าวไป
ถอยกลับ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะแลดู เหลียวดู ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะคู้เข้า
เหยียดออก ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร ๑ เป็น
ผู้มีสติสัมปชัญญะในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใน
การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด และการนิ่ง ๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๘/๓๐๔ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๓๕๙/๓๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๒๖] คำว่า สงัด อธิบายว่า แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ใกล้ แต่
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าสงัด แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ที่ห่างไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วย
เหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสงัด
[๕๒๗] คำว่า เสนาสนะ อธิบายว่า เสนาสนะ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน
วิหาร เพิง ปราสาท ป้อม โรงกลม ที่เร้นลับ ถ้ำ โคนไม้ พุ่มไผ่ หรือสถานที่
ที่ภิกษุยับยั้งอยู่ ที่ทั้งหมดนี้ชื่อว่าเสนาสนะ
[๕๒๘] คำว่า อาศัยเสนาสนะที่สงัดอยู่ อธิบายว่า อาศัย อาศัยอยู่ด้วยดี
พักอยู่ เข้าไปพักอยู่ พักอาศัยเสนาสนะที่สงัดนี้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อาศัย
เสนาสนะที่สงัดอยู่
[๕๒๙] คำว่า ป่า อธิบายว่า สถานที่ออกไปนอกเขตเมืองทั้งหมด นี้ชื่อว่าป่า
[๕๓๐] คำว่า โคนไม้ อธิบายว่า รุกขมูลคือโคนไม้ บรรพตคือภูเขากันทระ
คือซอกเขา คิริคุหาคือถ้ำในภูเขา สุสานคือป่าช้า อัพโภกาสคือที่แจ้ง ปลาลปุญชะ
คือกองฟาง
[๕๓๑] คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ห่างไกล
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่มีป่าทึบ
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่าหวาดกลัว
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่น่ากลัวจนขนพองสยองเกล้า
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ตั้งอยู่ปลายแดน
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ไม่อยู่ใกล้มนุษย์
คำว่า ดง นี้ เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ได้ยาก
[๕๓๒] คำว่า มีเสียงน้อย อธิบายว่า แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ใกล้ แต่
เสนาสนะนั้นไม่พลุกพล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น
จึงชื่อว่ามีเสียงน้อย แม้หากเสนาสนะจะอยู่ในที่ห่างไกล แต่เสนาสนะนั้นไม่พลุก
พล่านด้วยเหล่าคฤหัสถ์และบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่ามีเสียงน้อย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๓๓] คำว่า มีเสียงอึกทึกน้อย อธิบายว่า เสนาสนะใดมีเสียงน้อย
เสนาสนะนั้นชื่อว่ามีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะใดมีเสียงอึกทึกน้อย เสนาสนะนั้น
ชื่อว่าไม่มีคนสัญจรไปมา เสนาสนะใดไม่มีผู้คนสัญจรไปมา เสนาสนะนั้นชื่อว่าเป็น
สถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้๑ เสนาสนะใดเป็นสถานที่ที่มนุษย์แอบทำการได้
เสนาสนะนั้นก็ชื่อว่าสมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่
[๕๓๔] คำว่า เป็นผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง อธิบายว่า เป็น
ผู้อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง
[๕๓๕] คำว่า นั่งคู้บัลลังก์ อธิบายว่า เป็นผู้นั่งขัดสมาธิ
[๕๓๖] คำว่า ตั้งกายตรง อธิบายว่า กายที่ดำรงไว้ ตั้งไว้ ย่อมเป็นกายตรง
[๕๓๗] ในคำว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สตินี้เป็นอันภิกษุดำรงไว้มั่นแล้ว ตั้งไว้ดีแล้วที่ปลายจมูก หรือที่นิมิตเหนือ
ริมฝีปาก เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ดำรงสติมั่นมุ่งเฉพาะกรรมฐาน
[๕๓๘] ในคำว่า ละอภิชฌาในโลกได้ นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
โลก เป็นไฉน
อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่า โลก
อภิชฌานี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้วในโลกนี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอภิชฌาในโลกได้
[๕๓๙] ในคำว่า มีจิตปราศจากอภิชฌา นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.วิ.อ. ๕๓๓/๓๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
จิตนี้เป็นธรรมชาติปราศจากอภิชฌา เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตปราศจาก
อภิชฌา
[๕๔๐] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ดำเนินไปอยู่ รักษาอยู่ เป็น
ไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๔๑] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา นั้น อภิชฌา เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า
อภิชฌา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอภิชฌานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
[๕๔๒] คำว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว อธิบาย
ว่า ความพยาบาทก็มี ความประทุษร้ายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายอัน
ใด อันนั้นเป็นความพยาบาท ความพยาบาทนี้ และความคิดประทุษร้ายนี้ เป็นอัน
สงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้
เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ละความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๔๓] ในคำว่า มีจิตไม่พยาบาท นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นจิตไม่พยาบาท เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิตไม่พยาบาท
[๕๔๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าอยู่
[๕๔๕] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษ
ร้าย อธิบายว่า ความพยาบาทก็มี ความคิดประทุษร้ายก็มี
ใน ๒ อย่างนั้น ความพยาบาท เป็นไฉน
จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความ
ขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความขุ่นจิต
ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้
(และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิด
ปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความพยาบาท
ความคิดประทุษร้าย เป็นไฉน
ความพยาบาทอันใด อันนั้นเป็นความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย
อันใด อันนั้นเป็นความพยาบาท
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากความพยาบาทและความคิดประทุษร้ายนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความคิดประทุษร้าย
[๕๔๖] คำว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้นแยกเป็น ถีนะ
อย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะ
ที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ๑
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความง่วงนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ๒
ถีนะและมิทธะนี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้
พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละถีนมิทธะได้แล้ว
[๕๔๗] คำว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจาก
ถีนมิทธะ เพราะสละ คลาย ปล่อย วาง สละคืน ละและสละคืนถีนมิทธะนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ
[๕๔๘] คำว่า อยู่ อธิบายว่า ฯลฯ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อยู่
[๕๔๙] ในคำว่า ได้อาโลกสัญญา นั้น สัญญา เป็นไฉน
ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ นี้เรียกว่า สัญญา สัญญานี้เป็น
ความสว่าง เปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องใส เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ได้อาโลกสัญญา
[๕๕๐] ในคำว่า มีสติสัมปชัญญะ นั้น สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ
สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๒/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๓/๒๗๐, อภิ.วิ. ๓๕/๕๕๑/๓๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยสตินี้และสัมปชัญญะนี้ด้วย
ประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ
[๕๕๑] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ อธิบายว่า ถีนมิทธะนั้น
แยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง มิทธะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ฯลฯ ภาวะที่ท้อถอยแห่งใจ นี้เรียกว่า ถีนะ
มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ฯลฯ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่า มิทธะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากถีนมิทธะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ
[๕๕๒] คำว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว อธิบายว่า อุทธัจจกุกกุจจะนั้น
แยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ๑
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่า ควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ
ไม่มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือด
ร้อนใจ ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ๒
อุทธัจจะและกุกกุจจะนี้เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำ
ให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๕/๒๗๑ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๑๑๖๖/๒๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๕๓] คำว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะสละ
คลาย ปล่อยวาง ละ สลัดออก ละและสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะนั้น เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
[๕๕๔] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
[๕๕๕] คำว่า ภายในตน อธิบายว่า เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
ในคำว่า มีจิตสงบ นั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
จิตนี้เป็นธรรมชาติสงบระงับ สงบเงียบภายในตน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า มีจิต
สงบภายในตน
[๕๕๖] คำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ อธิบายว่า อุทธัจจ-
กุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง กุกกุจจะอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่พล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า อุทธัจจะ
กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ฯลฯ ความยุ่งใจ นี้เรียกว่า กุกกุจจะ
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุด
พ้นจากอุทธัจจะและกุกกุจจะนี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อุทธัจจกุกกุจจะ
[๕๕๗] ในคำว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ความคิดเห็น
ไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็น ๒ แง่ ความเห็นเหมือนทาง ๒
แพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป
ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาโดยเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต
ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
วิจิกิจฉานี้ เป็นอันสงบระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป
ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือดแห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ละวิจิกิจฉาได้แล้ว
[๕๕๘] คำว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉานี้
คือ ข้ามขึ้น ข้ามออกถึงฝั่ง ถึงความสำเร็จตามลำดับ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว
[๕๕๙] คำว่า อยู่ อธิบายว่า สืบเนื่องกันอยู่ ฯลฯ พักอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า อยู่
คำว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม อธิบายว่า ไม่เคลือบแคลง ไม่สงสัย
ไม่มีความสงสัย หมดความสงสัย ปราศจากความสงสัยในกุศลธรรมด้วยวิจิกิจฉานี้
เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม
[๕๖๐] ในคำว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา นั้น วิจิกิจฉา เป็นไฉน
ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะที่เคลือบแคลง ฯลฯ ความ
กระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา
จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน นี้เรียกว่า จิต
ภิกษุชำระจิตนี้ให้บริสุทธิ์ ให้ผุดผ่อง ให้หมดจด ให้หลุด ให้พ้น ให้หลุดพ้น
จากวิจิกิจฉานี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒.ฌานวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์
[๕๖๑] คำว่า ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อธิบายว่า นิวรณ์ ๕ นี้เป็นอันสงบ
ระงับ สงบเงียบ ดับไป ดับสิ้นไป ถูกทำให้พินาศไป ให้พินาศย่อยยับไป ให้เหือด
แห้งไป ให้เหือดแห้งไปด้วยดี ให้สิ้นไปแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ละนิวรณ์ ๕
เหล่านี้
[๕๖๒] คำว่า ที่เป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมอง อธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เหล่า
นี้เป็นเครื่องทำให้จิตเศร้าหมอง
[๕๖๓] คำว่า ทอนกำลังปัญญา อธิบายว่า ปัญญาที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิด
และปัญญาที่เกิดแล้วก็จะดับไป เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า
ทอนกำลังปัญญา
[๕๖๔] ในคำว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น กาม เป็นไฉน
ฉันทะชื่อว่ากาม ราคะชื่อว่ากาม ฉันทราคะชื่อว่ากาม สังกัปปะชื่อว่ากาม
ราคะชื่อว่ากาม สังกัปปราคะชื่อว่ากาม เหล่านี้เรียกว่า กาม
อกุศลธรรม เป็นไฉน
กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เหล่านี้เรียกว่า
อกุศลธรรม
ภิกษุเป็นผู้สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายดังกล่าวมานี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
[๕๖๕] คำว่า มีวิตกวิจาร อธิบายว่า วิตกวิจารนั้นแยกเป็นวิตกอย่างหนึ่ง
วิจารอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนั้น วิตก เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่าง ๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ
นี้เรียกว่า วิตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น