Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๑๑ หน้า ๕๗๖ - ๖๓๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๑๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๒๐] วิธา ๓ เป็นไฉน
วิธา ๓ คือ ความถือตัวว่า
๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ๒. เป็นผู้เสมอเขา
๓. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า วิธา ๓ (๑๒)
[๙๒๑] ภัย ๓ เป็นไฉน
ภัย ๓ คือ

๑. ชาติภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชาติ)
๒. ชราภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยชรา)
๓. มรณภัย (ภัยเกิดเพราะอาศัยความตาย)

บรรดาภัย ๓ นั้น ชาติภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความเกิด นี้เรียกว่า ชาติภัย
ชราภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยชรา นี้เรียกว่า ชราภัย
มรณภัย เป็นไฉน
ความกลัว ความขยาด ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า ความ
สะดุ้งแห่งจิต เพราะอาศัยความตาย นี้เรียกว่า มรณภัย
เหล่านี้ชื่อว่าภัย ๓ (๑๓)
[๙๒๒] ตมะ๑ ๓ เป็นไฉน
ตมะ ๓ คือ

เชิงอรรถ :
๑ ตมนฺธกาโร สมฺโมโห อวิชฺโชโฆ มหพฺภโยติ วจนโต อวิชชา ตโม นาม (อภิ.วิ.อ. ๙๒๒/๕๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
๑. บุคคลเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภ
อดีตกาล
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล
เหล่านี้ชื่อว่าตมะ ๓ (๑๔)
[๙๒๓] ติตถายตนะ ๓๑ เป็นไฉน
ติตถายตนะ ๓ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหมดนั้น
เพราะเคยการทำเหตุมาก่อน
๒. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะเหตุคือผู้เป็นใหญ่สร้างให้
๓. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ
เห็นอย่างนี้ว่า คนเรานี้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง การเสวยสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขทั้งหมดนั้น
เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
เหล่านี้ชื่อว่าติตถายตนะ ๓ (๑๕)
[๙๒๔] กิญจนะ ๓๒ เป็นไฉน
กิญจนะ ๓ คือ
๑. กิญจนะคือราคะ ๒. กิญจนะคือโทสะ
๓. กิญจนะคือโมหะ
เหล่านี้ชื่อว่ากิญจนะ ๓ (๑๖)

เชิงอรรถ :
๑ ถิ่น หรือบ่อเกิดทิฏฐิ ๖๒ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๓/๕๓๘) ๒ อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อังคณะ ๓๑ เป็นไฉน
อังคณะ ๓ คือ
๑. อังคณะคือราคะ (กิเลสเพียงดังเนินคือราคะ)
๒. อังคณะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโทสะ)
๓. อังคณะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังเนินคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอังคณะ ๓ (๑๗)
มละ ๓๒ เป็นไฉน
มละ ๓ คือ
๑. มละคือราคะ (มลทินคือราคะ)
๒. มละคือโทสะ (มลทินคือโทสะ)
๓. มละคือโมหะ (มลทินคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ามละ ๓ (๑๘)
วิสมะ ๓๓ เป็นไฉน
วิสมะ ๓ คือ
๑. วิสมะคือราคะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือราคะ)
๒. วิสมะคือโทสะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโทสะ)
๓. วิสมะคือโมหะ (ความประพฤติไม่สม่ำเสมอคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ ๓ (๑๙)
วิสมะ ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
วิสมะ ๓ คือ
๑. วิสมะทางกาย ๒. วิสมะทางวาจา
๓. วิสมะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่าวิสมะ ๓ (๒๐)

เชิงอรรถ :
๑ แปลว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙)
๒ มละเป็นมลทินทำจิตให้เศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙)
๓ คำว่า “วิสมะ” หมายถึงความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
อัคคิ๑ ๓ เป็นไฉน
อัคคิ ๓ คือ
๑. อัคคิคือราคะ (ไฟคือราคะ)
๒. อัคคิคือโทสะ (ไฟคือโทสะ)
๓. อัคคิคือโมหะ (ไฟคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่าอัคคิ ๓ (๒๑)
กสาวะ ๓ เป็นไฉน
กสาวะ ๓ คือ
๑. กสาวะคือราคะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือราคะ)
๒. กสาวะคือโทสะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโทสะ)
๓. กสาวะคือโมหะ (กิเลสเพียงดังน้ำฝาดคือโมหะ)
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ ๓ (๒๒)
กสาวะ ๓ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
กสาวะ ๓ คือ
๑. กสาวะทางกาย ๒. กสาวะทางวาจา
๓. กสาวะทางใจ
เหล่านี้ชื่อว่ากสาวะ ๓ (๒๓)
[๙๒๕] อัสสาททิฏฐิ๒ เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็นผู้มีความเห็น
อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายไม่มีโทษ ดังนี้ จึงบริโภคกาม นี้เรียกว่า อัสสาททิฏฐิ
อัตตานุทิฏฐิ เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ

เชิงอรรถ :
๑ แปลว่า ไฟ ท่านเปรียบกิเลสเหมือนไฟ (อภิ.วิ.อ. ๙๒๔/๕๓๙)
๒ ความเห็นผิดที่สัมปยุตด้วยความยินดี (อภิ.วิ.อ. ๙๒๕/๕๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตนหรือ
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ
สัญญาเป็นตน ฯลฯ สังขารเป็นตน ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือย่อมพิจารณา
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นผิด
ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้รู้ยิ่งเห็นจริงประจักษ์แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศ
ให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลกนี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัสสาททิฏฐิ สักกายทิฏฐิ
ชื่อว่าอัตตานุทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ (๒๔)
[๙๒๖] อรติ เป็นไฉน
ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความกระสัน
ความดิ้นรนในเสนาสนะที่สงัด หรือในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอธิกุศลอย่างใด
อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อรติ
วิเหสา เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย
ท่อนไม้ ด้วยศัสตรา ด้วยเชือก อย่างใดอย่างหนึ่ง ความบีบคั้น ความรบกวน
ความเบียดเบียน ความเบียดเบียนหนักขึ้น การทำให้เดือดร้อน การทำให้เดือด
ร้อนอย่างหนัก การทำร้ายสัตว์อื่น มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า วิเหสา
อธรรมจริยา เป็นไฉน
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางกาย ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย
ความประพฤติไม่เป็นธรรมทางวาจา ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา ความ
ประพฤติไม่เป็นธรรมทางใจ ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ นี้เรียกว่า อธรรม-
จริยา (๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
[๙๒๗] โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความยึดถือ
ข้างขัดขืน ความพอใจในการโต้แย้ง กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เอื้อเฟื้อ ความ
ไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี
ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น นี้เรียกว่า
ปาปมิตตตา
นานัตตสัญญา เป็นไฉน
สัญญาที่เกี่ยวด้วยกาม สัญญาที่เกี่ยวด้วยความพยาบาท สัญญาที่เกี่ยวด้วย
ความเบียดเบียน นี้เรียกว่า นานัตตสัญญา สัญญาที่เป็นอกุศลแม้ทั้งหมดชื่อว่า
นานัตตสัญญา (๒๖)
[๙๒๘] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบ ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้เรียกว่า
อุทธัจจะ
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ
ปมาทะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำที่ไม่มั่นคง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาทในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยาที่
ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๗)
[๙๒๙] อสันตุฏฐิตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ
ปรารถนา ความไม่สันโดษ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่ง
จิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อสันตุฏฐิตา
อสัมปชัญญตา เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญตา
มหิจฉตา เป็นไฉน
ความอยากได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของบุคคลผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ หรือด้วยกามคุณ ๕ ความอยาก ความ
ปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่ง
จิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า มหิจฉตา (๒๘)
[๙๓๐] อหิริกะ เป็นไฉน
ความไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย ความไม่ละอาย
ต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อหิริกะ
อโนตตัปปะ เป็นไฉน
ความไม่เกรงกลัวการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว ความไม่เกรงกลัว
ต่อกการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า อโนตตัปปะ
ปมาทะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การทำโดยไม่เคารพ การทำโดยไม่ติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ
ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ
ความประมาท ในการเจริญสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ความประมาท กิริยา
ที่ประมาท ภาวะที่ประมาท มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปมาทะ (๒๙)
[๙๓๑] อนาทริยะ เป็นไฉน
ความไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ความ
ไม่เชื่อถือ กิริยาที่ไม่เชื่อถือ ภาวะที่ไม่เชื่อถือ ความไม่มีศีล ความไม่ยำเกรง นี้
เรียกว่า อนาทริยะ
โทวจัสสตา เป็นไฉน
ความที่เป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความถือรั้น
ความพอใจในการโต้แย้ง ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ
ความไม่เชื่อฟังในเมื่อถูกว่ากล่าวโดยชอบธรรม นี้เรียกว่า โทวจัสสตา
ปาปมิตตตา เป็นไฉน
บุคคลเหล่าใดไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล เป็นผู้มีสุตะน้อย มีความตระหนี่ มี
ปัญญาทราม การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การเสพเฉพาะ การคบ
การคบด้วยดี ความภักดี ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มไปตามบุคคลเหล่านั้น
นี้เรียกว่า ปาปมิตตตา (๓๐)
[๙๓๒] อัสสัทธิยะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ
พระสงฆ์ ความไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่เชื่อ กิริยาที่ไม่ปักใจเชื่อ ความไม่เลื่อมใสยิ่ง มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อัสสัทธิยะ
อวทัญญุตา เป็นไฉน
ความตระหนี่มี ๕ อย่างคือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความถี่เหนียว
ความปกปิด ภาวะที่จิตหวงแหน มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อวทัญญุตา
โกสัชชะ เป็นไฉน
ความปล่อยจิต การเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
หรือในกามคุณ ๕ การไม่ทำโดยเคารพ การไม่ทำโดยติดต่อ การทำโดยไม่มั่นคง
ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ
ไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจมั่น ความไม่หมั่นประกอบ ความ
ประมาทในการเจริญสภาวธรรมที่เป็นกุศล นี้เรียกว่า โกสัชชะ (๓๑)
[๙๓๓] อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่าย ความพล่านไปแห่งจิต นี้
เรียกว่า อุทธัจจะ
อสังวร เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปด้วยตาแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่ปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียด้วยหู ฯลฯ
สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรวบถือ แยกถือ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่
สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษา
มนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า อสังวร
ทุสสีลยะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๓.ติกนิทเทส
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทาง
กายและทางวาจา นี้เรียกว่า ทุสสีลยะ (๓๒)
[๙๓๔] อริยานัง อทัสสนกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระอริยะ เป็นไฉน
พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าเรียกว่า พระอริยะ ความไม่ต้องการจะ
พบ ความไม่ต้องการจะเห็น ความไม่ต้องการจะเข้าใกล้ ความไม่ต้องการจะสมาคม
กับพระอริยะเหล่านี้ นี้เรียกว่า อริยานัง อทัสสนกัมยตา
สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น สัทธรรม เป็นไฉน
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เรียกว่า สัทธรรม
ความไม่ต้องการจะฟัง ความไม่ต้องการจะสดับ ความไม่ต้องการจะเรียน
ความไม่ต้องการจะทรงจำสัทธรรมนี้ นี้เรียกว่า สัทธัมมัง อโสตุกัมยตา
อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
บรรดาบทเหล่านั้น อุปารัมภจิตตตา เป็นไฉน
ความคิดแข่งดี ความคิดแข่งดีเนือง ๆ กิริยาที่คิดแข่งดี กิริยาที่คิดแข่งดี
เนือง ๆ ภาวะที่คิดแข่งดีเนือง ๆ ความดูถูก ความดูหมิ่น ความดูแคลน ความ
เป็นผู้คอยแสวงหาโทษ นี้เรียกว่า อุปารัมภจิตตตา (๓๓)
[๙๓๕] มุฏฐัสสัจจะ เป็นไฉน
ความระลึกไม่ได้ ความหวนระลึกไม่ได้ ความย้อนระลึกไม่ได้ ความระลึกไม่ได้
ภาวะที่ระลึกไม่ได้ ความทรงจำไม่ได้ ความเลื่อนลอย ความหลงลืม นี้เรียกว่า
มุฏฐัสสัจจะ
อสัมปชัญญะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า
อสัมปชัญญะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
เจตโสวิกเขปะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ความพล่าน
ไปแห่งจิต นี้เรียกว่า เจตโสวิกเขปะ (๓๔)
[๙๓๖] อโยนิโสมนสิการ เป็นไฉน
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายใน
สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน
ความไม่ใส่ใจโดยแยบคายในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือความนึก ความนึกเนือง ๆ
ความคำนึง ความพิจารณา ความใคร่ครวญแห่งจิตโดยผิดจากความจริง นี้เรียกว่า
อโยนิโสมนสิการ
กุมมัคคเสวนา เป็นไฉน
บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น กุมมัคคะ เป็นไฉน
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า กุมมัคคะ
การเสพ การเสพเป็นนิตย์ การเสพด้วยดี การคบ การคบด้วยดี ความภักดี
ความจงรักภักดี ความเป็นผู้โน้มน้าวไปตามทางผิด นี้เรียกว่า กุมมัคคเสวนา
เจตโสลีนัตตะ เป็นไฉน
ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความท้อถอย
ความย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความซึมเซา กิริยาที่ซึมเซา
ภาวะที่จิตซึมเซา นี้เรียกว่า เจตโสลีนัตตะ (๓๕)
ติกนิทเทส จบ
๔. จตุกกนิทเทส
[๙๓๗] บรรดาจตุกกมาติกาเหล่านั้น อาสวะ ๔ เป็นไฉน
อาสวะ ๔ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามาสวะ
ภวาสวะ เป็นไฉน
ความพอใจในภพ ฯลฯ ความหมกมุ่นในภพ นี้เรียกว่า ภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ไม่ใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้
นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐาสวะ
อวิชชาสวะ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ
เหล่านี้ชื่อว่าอาสวะ ๔ (๑)
[๙๓๘] คันถะ ๔ เป็นไฉน
คันถะ ๔ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ ๒. พยาบาทกายคันถะ
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
บรรดาคันถะ ๔ นั้น อภิชฌากายคันถะ เป็นไฉน
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ นี้
เรียกว่า อภิชฌากายคันถะ
พยาปาทกายคันถะ เป็นไฉน
ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา ฯลฯ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบาน นี้เรียกว่า พยาปาทกายคันถะ
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย วิปลาส
มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสกายคันถะ
อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า หรือโลกไม่เที่ยง นี้เท่า
นั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ฯลฯ ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ
ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
เว้นสีลัพพตปรามาสกายคันถะแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่าอิทังสัจจา-
ภินิเวสกายคันถะ
เหล่านี้ชื่อว่าคันถะ ๔ (๒)
โอฆะ ๔ ฯลฯ โยคะ ๔ ฯลฯ อุปาทาน ๔ เป็นไฉน
อุปาทาน ๔ คือ

๑. กามุปาทาน (ความถือมั่นกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความถือมั่นทิฏฐิ)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความถือมั่นศีลพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความถือมั่นวาทะว่ามีตัวตน)

บรรดาอุปาทาน ๔ เหล่านั้น กามุปาทาน เป็นไฉน
ความพอใจในกาม ฯลฯ ความหมกมุ่นในกาม นี้เรียกว่า กามุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน เป็นไฉน
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์
ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรู้ยิ่งเห็นจริงแจ้งประจักษ์โลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วสอน
ให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดโดยวิปลาส มี
ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน
เว้นสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทานแล้ว มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐุปาทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
สีลัพพตุปาทาน เป็นไฉน
สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้ มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยศีล
ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน เป็นไฉน
ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีสุตะน้อย ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปเป็นตน
หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป เห็นเวทนาเป็นตน ฯลฯ เห็น
สัญญาเป็นตน ฯลฯ เห็นสังขารเป็นตน ฯลฯ เห็นวิญญาณเป็นตน หรือย่อม
พิจารณาเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ดังนี้
ทิฏฐิ ความเห็นผิด ฯลฯ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า
อัตตวาทุปาทาน
เหล่านี้ชื่อว่าอุปาทาน ๔ (๕)
[๙๓๙] ตัณหุปาทาน เป็นไฉน
ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุ เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ
เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ หรือเพราะคิลานปัจจัยอันมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย
เป็นต้นที่ประณีตและประณีตยิ่งด้วยประการฉะนี้เป็นเหตุ
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหุปาทาน (๖)
อคติคมนะ ๔ เป็นไฉน
บุคคลย่อมถึงความลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เพราะเกลียดชัง เพราะเขลา
เพราะกลัว
ความลำเอียง การถึงความลำเอียง การลำเอียงเพราะรักใคร่กัน ความ
ลำเอียงเพราะเป็นพรรคพวกกัน ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล มีลักษณะเช่นว่านี้
เหล่านี้เรียกว่า อคติคมนะ ๔ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
วิปริเยสะ ๔ เป็นไฉน
การแสวงหาผิดด้วยอำนาจความเข้าใจ ความคิด และความเห็นว่าเที่ยงใน
สิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเป็นสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นตัวตนในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน และว่า
งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้ชื่อว่าวิปริเยสะ ๔ (๘)
อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน
อนริยโวหาร ๔ คือ

๑. เรื่องที่ไม่เห็นพูดว่าเห็น ๒. เรื่องที่ไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. เรื่องที่ไม่รู้พูดว่ารู้ ๔. เรื่องที่ไม่รู้แจ้งพูดว่ารู้แจ้ง

เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๙)
อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
อนริยโวหาร ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. เรื่องที่เห็นพูดว่าไม่เห็น ๒. เรื่องที่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓. เรื่องที่รู้พูดว่าไม่รู้ ๔. เรื่องที่รู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง

เหล่านี้เรียกว่า อนริยโวหาร ๔ (๑๐)
ทุจริต ๔ เป็นไฉน
ทุจริต ๔ คือ
๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๑)
ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ทุจริต ๔ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด)
๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๔ (๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๔.จตุกกนิทเทส
ภัย ๔ เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. ชาติภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชาติ)
๒. ชราภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยชรา)
๓. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยพยาธิ)
๔. มรณภัย (ภัยที่เกิดเพราะอาศัยความตาย)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๓)
ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. ราชภัย (ภัยเกิดแต่พระราชา)
๒. โจรภัย (ภัยเกิดแต่โจร)
๓. อัคคิภัย (ภัยเกิดแต่ไฟ)
๔. อุทกภัย (ภัยเกิดแต่น้ำท่วม)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๔)
ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. อูมิภัย (ภัยเกิดแต่คลื่น)
๒. กุมภีลภัย (ภัยเกิดแต่จระเข้)
๓. อาวัฏฏภัย (ภัยเกิดแต่น้ำวน)
๔. สุสุกาภัย (ภัยเกิดแต่ปลาร้าย)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๕)
ภัย ๔ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ภัย ๔ คือ

๑. อัตตานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการติเตียนตนเอง)
๒. ปรานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการถูกผู้อื่นติเตียน)
๓. ทัณฑภัย (ภัยเกิดจากการถูกลงอาชญา)
๔. ทุคคติภัย (ภัยเกิดจากทุคติ)

เหล่านี้เรียกว่า ภัย ๔ (๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
ทิฏฐิ ๔ เป็นไฉน
ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์ตนทำขึ้นเอง และสุขทุกข์คนอื่น
ทำให้
ความเห็นเกิดขึ้นโดยจริงแท้มั่นคงว่า สุขทุกข์เป็นสิ่งที่ตนทำขึ้นเองและผู้อื่นทำให้
สุขทุกข์ไม่ใช่ตนเองและผู้อื่นทำให้ แต่เกิดขึ้นเองโดยเฉพาะ
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๔ (๑๗)
จตุกกนิทเทส จบ
๕. ปัญจกนิทเทส
[๙๔๐] บรรดาปัญจกมาติกานั้น โอรัมภาคิยสังโยชน์๑ ๕ เป็นไฉน
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต)
๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ)
๕. พยาบาท (ความขัดเคือง แค้นใจ)

เหล่านี้ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (๑)
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ

๑. รูปราคะ (ความกำหนัดในรูป)
๒. อรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป)
๓. มานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว)
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๕. อวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

เหล่านี้ชื่อว่าอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (๒)

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพต่ำ คือกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๐/๕๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
มัจฉริยะ ๕ เป็นไฉน
มัจฉริยะ ๕ คือ

๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่)
๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล)
๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ)
๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ)
๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม)

เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ ๕ (๓)
สังคะ ๕ เป็นไฉน
สังคะ ๕ คือ

๑. สังคะคือราคะ (เครื่องข้องคือราคะ)
๒. สังคะคือโทสะ (เครื่องข้องคือโทสะ)
๓. สังคะคือโมหะ (เครื่องข้องคือโมหะ)
๔. สังคะคือมานะ (เครื่องข้องคือมานะ)
๕. สังคะคือทิฏฐิ (เครื่องข้องคือทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าสังคะ ๕ (๔)
สัลละ ๕ เป็นไฉน
สัลละ ๕ คือ

๑. สัลละคือราคะ (ลูกศรคือราคะ)
๒. สัลละคือโทสะ (ลูกศรคือโทสะ)
๓. สัลละคือโมหะ (ลูกศรคือโมหะ)
๔. สัลละคือมานะ (ลูกศรคือมานะ)
๕. สัลละคือทิฏฐิ (ลูกศรคือทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าสัลละ ๕ (๕)
[๙๔๑] เจโตขีละ ๕ เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
เจโตขีละ ๕ คือ
๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
๒. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม
๓. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์
๔. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา
๕. บุคคลย่อมมีจิตขุ่นเคือง ไม่พอใจ มีจิตกระทบกระทั่ง มีจิต
กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
เหล่านี้ชื่อว่าเจโตขีละ ๕ (๖)
เจตโสวินิพันธะ ๕ เป็นไฉน
เจตโสวินิพันธะ ๕ คือ
๑. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม
๒. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย
๓. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ
ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่
ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป
๔. บุคคลบริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว ประกอบ
ขวนขวาย หาสุขในการนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่
๕. บุคคลปรารถนาจะเกิดในหมู่เทพหมู่หนึ่งแล้วประพฤติพรหม
จรรย์ด้วยผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้
มีศักดิ์น้อยองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล๑นี้ ด้วยวัตรนี้ ด้วยตบะนี้
หรือด้วยพรหมจรรย์นี้
เหล่านี้ชื่อว่าเจตโสวินิพันธะ ๕ (๗)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ศีล” ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ คือ ปาติโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล
และปัจจยสันนิสิตศีล (อภิ.วิ.อ. ๙๔๑/๕๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน
นิวรณ์ ๕ คือ

๑. กามฉันทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือกามฉันทะ)
๒. พยาปาทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือพยาบาท)
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือถีนมิทธะ)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคืออุจธัจจ-
กุกกุจจะ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือวิจิกิจฉา)

เหล่านี้ชื่อว่านิวรณ์ ๕ (๘)
อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน
อนันตริยกรรม ๕ คือ

๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา)
๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา)
๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์)
๔. โลหิตุปบาท (มีจิตประทุษร้ายทำร้ายพระพุทธเจ้าจน
ถึงยังพระโลหิตให้ห้อด้วยจิตคิดร้าย)
๕. สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน)

เหล่านี้ชื่อว่าอนันตริยกรรม ๕ (๙)
ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๕ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี
สัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง
๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่
มีสัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง
๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ หลังจากตายแล้วเป็น
สภาวะที่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความไม่ปรากฏ ความไม่มีแห่งสัตว์ที่ยังปรากฏมีอยู่
๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๕ (๑๐)
[๙๔๒] เวร ๕ เป็นไฉน
เวร ๕ คือ

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน (ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท)

เหล่านี้ชื่อว่าเวร ๕ (๑๑)
พยสนะ ๕ เป็นไฉน
พยสนะ ๕ คือ

๑. ญาติพยสนะ (ความพินาศแห่งญาติ)
๒. โภคพยสนะ (ความพินาศแห่งโภคทรัพย์)
๓. โรคพยสนะ (ความพินาศเพราะโรค)
๔. สีลพยสนะ (ความพินาศแห่งศีล)
๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความพินาศแห่งทิฏฐิ)

เหล่านี้ชื่อว่าพยสนะ ๕ (๑๒)
โทษแห่งความไม่อดทน ๕ เป็นไฉน
โทษแห่งความไม่อดทน ๕ คือ
๑. ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของชนมาก
๒. มีเวรมาก
๓. มีโทษมาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕.ปัญจกนิทเทส
๔. หลงลืมสติตาย
๕. หลังจากตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เหล่านี้ชื่อว่าโทษแห่งความไม่อดทน ๕ (๑๓)
ภัย ๕ เป็นไฉน
ภัย ๕ คือ

๑. อาชีวกภัย (ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพ)
๒. อสิโลกภัย (ภัยเกิดแต่การติเตียน)
๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความขลาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม)
๔. มรณภัย (ภัยเกิดแก่มรณะ)
๕. ทุคคติภัย (ภัยเกิดแต่ทุคติ)

เหล่านี้ชื่อว่าภัย ๕ (๑๔)
[๙๔๓] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน
ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตานี้เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมเพราะเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
เพราะกามเหล่านั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ
ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่อัตตา
นี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบัน
อันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานใน
ปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๕. ปัญจกนิทเทส
๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะวิตกวิจารที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บัณฑิตกล่าวว่ายังเป็นของ
หยาบอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไปแล้ว อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานที่
ผ่องใส ฯลฯ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะ
หรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของ
สัตว์อย่างนี้
๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า อัตตา
ที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่บรรลุ
นิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะเหตุไร
เพราะปีติและความลำพองใจที่มีอยู่ในทุติยฌานนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะปีติจางคลายไป อัตตานี้ ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตา
นี้จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์
พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้
๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ
เหตุไร เพราะจิตยังคำนึงถึงสุขมีอยู่ในตติยฌานนั้น บัญฑิตกล่าวว่ายัง
หยาบอยู่ เพราะเหตุที่ละสุขและทุกข์เสียได้ อัตตานี้ ฯลฯ จึงบรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า
บรรลุนิพพานในปัจจุบันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้๑
เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ (๑๕)
ปัญจกนิทเทส จบ

เชิงอรรถ :
๑ ที.สี. ๙/๙๔-๙๘/๓๖-๓๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
๖. ฉักกนิทเทส
[๙๔๔] บรรดาฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน
วิวาทมูล ๖ คือ

๑. โกธะ (โกรธ)
๒. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
๓. อิสสา (ริษยา)
๔. สาเถยยะ (โอ้อวด)
๕. ปาปิจฉตา (ปรารถนาลามก)
๖. สันทิฏฐิปรมาสิตา (ยึดถือแต่ความเห็นของตน)

เหล่านี้ชื่อว่าวิวาทมูล ๖ (๑)
ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน
ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ คือ
๑. ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต
ที่อาศัยกามคุณในรูปที่น่าชอบใจ
๒. ความกำหนัด ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ
๓. ความกำหนัด ฯลฯ ในกลิ่นที่น่าชอบใจ
๔. ความกำหนัด ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ
๕. ความกำหนัด ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ
๖. ความกำหนัด ฯลฯ ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนัก
แห่งจิตที่อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ (๒)
วิโรธวัตถุ ๖ เป็นไฉน
วิโรธวัตถุ ๖ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
๑. ความอาฆาต ความกระทบแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานในรูปที่ไม่น่าชอบใจ
๒. ความอาฆาต ฯลฯ ในเสียงที่ไม่น่าชอบใจ
๓. ความอาฆาต ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
๔. ความอาฆาต ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ
๕. ความอาฆาต ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ
๖. ความอาฆาต ฯลฯ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ
ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานใน
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ
เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ ๖ (๓)
ตัณหากาย ๖ เป็นไฉน
ตัณหากาย ๖ คือ

๑. รูปตัณหา (ตัณหาในรูป)
๒. สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง)
๓. คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น)
๔. รสตัณหา (ตัณหาในรส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรม)

เหล่านี้ชื่อว่าตัณหากาย ๖ (๔)
[๙๔๕] อคารวะ ๖ เป็นไฉน
อคารวะ ๖ คือ
๑. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา
๒. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรม
๓. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์
๔. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในสิกขา
๕. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในปฏิสันถาร
เหล่านี้ชื่อว่าอคารวะ ๖ (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
ปริหานิยธรรม ๖ เป็นไฉน
ปริหานิยธรรม ๖ คือ
๑. กัมมารามตา (ความยินดีในการงาน)
๒. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา)
๓. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ)
๔. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่)
๕. สังสัคคารามตา (ความยินดีในการติดต่อเกี่ยวข้อง)
๖. ปปัญจารามตา (ความยินดีในธรรมเป็นเหตุเนิ่นช้า)
เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม ๖ (๖)
[๙๔๖] ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน
ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ

๑. กัมมารามตา (ความยินดีในการทำงาน)
๒. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา)
๓. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ)
๔. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่)
๕. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
๖. ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว)

เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม ๖ (๗)
โสมนัสสุปวิจาร๑ ๖ เป็นไฉน
โสมนัสสุปวิจาร ๖ คือ
๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้วครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ โสมนสฺเสน สทฺธึ อุปจรนฺตีติ โสมนสฺสุปวิจารา (อภิ.วิ.อ. ๙๔๖/๕๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส
เหล่านี้ชื่อว่าโสมนัสสุปวิจาร ๖ (๘)
โทมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน
โทมนัสสุปวิจาร ๖ คือ
๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งโทมนัส
เหล่านี้ชื่อว่าโทมนัสสุปวิจาร ๖ (๙)
อุเปกขูปวิจาร ๖ เป็นไฉน
อุเปกขูปวิจาร ๖ คือ
๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ
๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ
๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้ชื่อว่าอุเปกขูปวิจาร ๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖.ฉักกนิทเทส
[๙๔๗] เคหสิตโสมนัส๑ ๖ เป็นไฉน
เคหสิตโสมนัส ๖ คือ
๑. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่
สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่
สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณในรูป
อันเป็นที่ชอบใจ
๒. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ
๓. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ
๔. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ
๕. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ชอบใจ
๖. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์
ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณใน
ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโสมนัส ๖ (๑๑)
เคหสิตโทมนัส๒ ๖ เป็นไฉน
เคหสิตโทมนัส ๖ คือ
๑. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์
ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวย
อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัย
กามคุณในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ

เชิงอรรถ :
๑ โสมนัส หมายถึงสุขทางใจที่อาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑)
๒ โทมนัสคือทุกข์ทางใจที่อาศัยกามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๖. ฉักกนิเทส
๒. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๓. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๔. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๕. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ
๖. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวย
อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยา
ที่เสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่
อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโทมนัส ๖ (๑๒)
เคหสิตุเปกขา๑ ๖ เป็นไฉน
เคหสิตุเปกขา ๖ คือ
๑. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ
เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ
ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๒. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๓. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๔. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
๕. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา
๖. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ
เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย
อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ
ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตุเปกขา ๖ (๑๓)

เชิงอรรถ :
๑ อุเปกขาเวทนาที่สัมปยุตด้วยความไม่รู้ ได้แก่ อัญญาณุเปกขาที่อาศัยกามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
[๙๔๘] ทิฏฐิ๑ ๖ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๖ คือ
๑. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่
๒. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี
๓. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
๔. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตา
(ความไม่มีตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน)
๕. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้
ด้วยอนัตตา (ความไม่มีตัวตน)
๖. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้น
เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้ เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในภพ
นั้น ๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่มีมาแล้วในอดีต
อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นสภาวะที่เที่ยง
ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๖ (๑๔)
ฉักกนิทเทส จบ
๗. สัตตกนิทเทส
[๙๔๙] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน
อนุสัย ๗ คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ)

เชิงอรรถ :
๑ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๘/๕๕๑-๕๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส

๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าอนุสัย ๗ (๑)
สังโยชน์ ๗ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๗ คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๗. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๗ (๒)
ปริยุฏฐานะ ๗ เป็นไฉน
ปริยุฏฐานะ ๗ คือ

๑. กามปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือกาม)
๒. ปฏิฆปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือปฏิฆะ)
๓. มานปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือมานะ)
๔. ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคือภวราคะ)
๗. อวิชชาปริยุฏฐานะ (กิเลสเป็นเครื่องครอบงำจิตคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าปริยุฏฐานะ ๗ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
[๙๕๐] อสัทธรรม ๗ เป็นไฉน
อสัทธรรม ๗ คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. ไม่มีหิริ
๓. ไม่มีโอตตัปปะ ๔. มีสุตะน้อย
๕. เกียจคร้าน ๖. หลงลืมสติ
๗. มีปัญญาทราม

เหล่านี้ชื่อว่าอสัทธรรม ๗ (๔)
ทุจริต ๗ เป็นไฉน
ทุจริต ๗ คือ

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

เหล่านี้ชื่อว่าทุจริต ๗ (๕)
มานะ ๗ เป็นไฉน
มานะ ๗ คือ

๑. มานะ (ความถือตัว)
๒. อติมานะ (ความถือตัวจัด)
๓. มานาติมานะ (ความเย่อหยิ่ง)
๔. โอมานะ (ความดูหมิ่นตนเอง)
๕. อธิมานะ (ความสำคัญว่าได้บรรลุ)
๖. อัสมิมานะ (ความสำคัญว่ามีตัวตน)
๗. มิจฉามานะ (ความถือตัวผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามานะ ๗ (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
[๙๕๑] ทิฏฐิ ๗ เป็นไฉน
ทิฏฐิ ๗ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูปสำเร็จมาจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา
หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้
อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดขึ้นอีกของสัตว์อย่างนี้
๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่น กล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
จะไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์๑
มีรูปเป็นกามาวจร๒ บริโภคข้าวเป็นอาหาร ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์ อย่างนี้
๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่
ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์มีรูป
สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องมีอยู่จริง ท่านยังไม่รู้
ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ
พินาศไป ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และ
ความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ อัตตาที่เป็นทิพย์ หมายถึงอัตตาที่เกิดในเทวโลก (อภิ.วิ.อ. ๙๕๑/๕๕๓)
๒ เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัสดี (ที.สี.อ.
๘๖/๑๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๗.สัตตกนิทเทส
๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
อากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้ว
ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึง
ขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้
เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
วิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง
อากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์อย่างนี้
๖. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้
ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
อากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรา
รู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลังจากตายแล้วย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิด
อีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือ
พราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิด
อีกของสัตว์อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
๗. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกับสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตา
นี้ไม่ใช่ขาดสูญโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุเพียงเท่านี้ ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะเสียได้โดย
ประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น แต่เรารู้เห็น เพราะอัตตานั้นแล หลัง
จากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก เพราะเหตุเพียงเท่านี้แล
อัตตานี้จึงขาดสูญโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ และความไม่เกิดอีกของสัตว์อย่างนี้
เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๗
สัตตกนิทเทส จบ
๘. อัฏฐกนิทเทส
[๙๕๒] บรรดาอัฏฐกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๘ เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๘ คือ

๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว)
๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๗. ถีนะ (ความหดหู่ท้อแท้) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๘
[๙๕๓] กุสีตวัตถุ ๘ เป็นไฉน
กุสีตวัตถุ ๘ คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีการงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้อง
ทำการงาน แต่เมื่อเรากำลังทำการงานอยู่จักลำบากกาย เอาละ เรานอนดี
กว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
๒. ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว เมื่อ
เรากำลังทำการงานอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่
เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ
ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางแน่ เมื่อ
เรากำลังเดินทางกายจักลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ
ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางแล้วนะ เมื่อ
เรากำลังเดินทางอยู่กายก็ลำบาก เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่ม
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังบ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ
กายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึง
นอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้โภชนะหยาบหรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรานะเที่ยวไป
บิณฑบาตยังบ้านหรือนิคมได้โภชนะหยาบหรือประณีตเพียงพอแก่ความ
ต้องการแล้ว กายของเราหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วหมัก
เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า
กุสีตวัตถุข้อที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเกิดอาพาธขึ้น
เล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอน เอาละ เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุข้อที่ ๗
๘. ภิกษุหายไข้แล้วแต่หายยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายไข้แล้ว
แต่หายยังไม่นาน กายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน เอาละ
เรานอนดีกว่า เธอจึงนอน ไม่เริ่มความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ชื่อว่า
กุสีตวัตถุข้อที่ ๘
เหล่านี้ชื่อว่ากุสีตวัตถุ ๘
[๙๕๔] จิตกระทบในโลกธรรม ๘ เป็นไฉน
จิตกระทบในโลกธรรม ๘ คือ

๑. ความยินดีในลาภ ๒. ความยินร้ายในความเสื่อมลาภ
๓. ความยินดีในยศ ๔. ความยินร้ายในความเสื่อมยศ
๕. ความยินดีในการสรรเสริญ ๖. ความยินร้ายในการนินทา
๗. ความยินดีในสุข ๘. ความยินร้ายในทุกข์

เหล่านี้ชื่อว่าจิตกระทบในโลกธรรม ๘ เหล่านี้
[๙๕๕] อนริยโวหาร ๘ เป็นไฉน
อนริยโวหาร ๘ คือ

๑. เมื่อไม่เห็น พูดว่าเห็น ๒. เมื่อไม่ได้ยิน พูดว่าได้ยิน
๓. เมื่อไม่รู้ พูดว่ารู้ ๔. เมื่อไม่เข้าใจ พูดว่าเข้าใจ
๕. เมื่อเห็น พูดว่าไม่เห็น ๖. เมื่อได้ยิน พูดว่าไม่ได้ยิน
๗. เมื่อรู้ พูดว่าไม่รู้ ๘. เมื่อเข้าใจ พูดว่าไม่เข้าใจ

เหล่านี้ชื่อว่าอนริยโวหาร ๘
[๙๕๖] มิจฉัตตะ ๘ เป็นไฉน
มิจฉัตตะ ๘ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๘
[๙๕๗] บุรุษโทษ ๘ เป็นไฉน
บุรุษโทษ ๘ คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นแก้ตัว
โดยการอ้างว่าไม่มีสติอย่างนี้ว่า เราระลึกไม่ได้ เราระลึกไม่ได้ นี้ชื่อว่า
บุรุษโทษข้อที่ ๑
๒. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโต้ตอบผู้โจทว่า
การพูดกับท่านผู้โง่เขลา ไม่ฉลาดจะมีประโยชน์อะไร แม้ท่านก็ยังเข้าใจ
ผมว่าควรว่ากล่าว นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๒
๓. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกลับปรับอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้โจทนั่นว่า ถึงท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงแสดงอาบัตินั้นเสียก่อน นี้
ชื่อว่าบุรษโทษข้อที่ ๓
๔. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นยกเหตุอื่น ๆ มาพูด
กลบเกลื่อน พูดชักให้เขวไปนอกเรื่อง เคือง แสดงความโกรธ เคืองและ
อาการไม่พอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๔
๕. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นโบกมือปฏิเสธในท่าม
กลางสงฆ์ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๕
๖. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นนิ่งเฉยเสียด้วยคิดว่า
เราไม่ต้องอาบัติเลย แต่ความจริงเราต้องอาบัติ แกล้งสงฆ์ให้ลำบาก นี้
ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๖
๗. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่
เอื้อเฟื้อโจท หลีกไปตามชอบใจ ทั้งที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ นี้ชื่อว่าบุรุษ
โทษข้อที่ ๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๘.อัฏฐกนิทเทส
๘. ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้ถูกโจทด้วยอาบัตินั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
ทำไมหนอ ท่านจึงวุ่นวายกับกระผมนัก บัดนี้กระผมจักลาสิกขาไปเป็น
คฤหัสถ์ เธอก็ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้า
บัดนี้แลท่านคงพอใจ นี้ชื่อว่าบุรุษโทษข้อที่ ๘
เหล่านี้ชื่อว่าบุรุษโทษ ๘
[๙๕๘] อสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
๑. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน๑ หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๒. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๓. อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๔. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๕. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๖. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๗. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
๘. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว ไม่มีสัญญา
เหล่านี้ชื่อว่าอสัญญีวาทะ ๘
[๙๕๙] เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ เป็นไฉน
สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า
๑. อัตตามีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๒. อัตตาไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๓. อัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
๔. อัตตามีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ยั่งยืน ตรงกับคำบาลีว่า อโรโค แปลว่า ไม่มีโรค ไม่มีการทรุดโทรม หรือไม่มีความเปลี่ยนแปลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกกนิทเทส
๕. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
๖. อัตตาไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
ก็มิใช่
๗. อัตตามีที่สุดและไม่มีที่สุด ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่
๘. อัตตามีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว มีสัญญาก็
มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘
อัฏฐกนิทเทส จบ
๙. นวกนิทเทส
[๙๖๐] บรรดานวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน
อาฆาตวัตถุ ๙ คือ

๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรา
๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรา
๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกนิทเทส

๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น
ที่ชอบพอของเรา

เหล่านี้ชื่อว่าอาฆาตวัตถุ ๙
[๙๖๑] ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน
ปุริสมละ ๙ คือ

๑. โกธะ (ความโกรธ)
๒. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน)
๓. อิสสา (ความริษยา)
๔. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๕. มายา (ความเจ้าเล่ห์)
๖. สาเถยยะ (ความโอ้อวด)
๗. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๘. ปาปิจฉตา (ความปรารถนาลามก)
๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่าปุริสมละ ๙
[๙๖๒] มานะ ๙ เป็นไฉน
มานะ ๙ คือ

๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๔. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
๕. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
๖. เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
๗. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าเขา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๙.นวกนิทเทส
๘. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าเสมอเขา
๙. เป็นผู้ด้อยกว่าเขา ถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
เหล่านี้ชื่อว่ามานะ ๙
[๙๖๓] ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน
ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ

๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น
๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย ฉันทราคะจึงเกิดขึ้น
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น
๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น
๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น

๙. เพราะอาศัยการรักษา สภาวธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลหลายประการ คือ
การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นมึงกู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จจึงเกิดขึ้น
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหามูลกธรรม ๙
[๙๖๔] อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน
อิญชิตะ ๙ คือ
๑. ความหวั่นไหวว่า เรามี
๒. ความหวั่นไหวว่า เราเป็น
๓. ความหวั่นไหวว่า เราเป็นสิ่งนี้
๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี
๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าอิญชิตะ ๙
[๙๖๕] มัญญิตะ ๙ ฯลฯ ผันทิตะ ๙ ฯลฯ ปปัญจิตะ ๙ ฯลฯ
สังขตะ ๙ เป็นไฉน
สังขตะ ๙ คือ
๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี
๒. ความปรุงแต่งว่า เราเป็น
๓. ความปรุงแต่งว่า เราเป็นสิ่งนี้
๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
เหล่านี้ชื่อว่าสังขตะ ๙
นวกนิทเทส จบ
๑๐. ทสกนิทเทส
[๙๖๖] บรรดาทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ

๑. โลภะ (ความโลภ) ๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. โมหะ (ความหลง) ๔. มานะ (ความถือตัว)
๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๖. วิจิกิจฉา (ความสงสัย)
๗. ถีนะ (ความหดหู่) ๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๙. อหิริกะ (ความไม่ละอายบาป) ๑๐. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวบาป)

เหล่านี้ชื่อว่ากิเลสวัตถุ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๙๖๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ที่รักที่ชอบพอของเรา
๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ที่รักที่ชอบพอของเรา
๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่
เป็นที่ชอบพอของเรา
๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา

๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร
เหล่านี้ชื่อว่าอาฆาตวัตถุ ๑๐
[๙๖๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ)
๕. ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
๙. พยาบาท (ปองร้ายเขา) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม)

เหล่านี้ชื่อว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส
[๙๖๙] สังโยชน์ ๑๐ เป็นไฉน
สังโยชน์ ๑๐ คือ

๑. กามราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือปฏิฆะ)
๓. มานสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมานะ)
๔. ทิฏฐิสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือวิจิกิจฉา)
๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือสีลัพ-
พตปรามาส)
๗. ภวราคสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือภวราคะ)
๘. อิสสาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออิสสา)
๙. มัจฉริยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคือมัจฉริยะ
๑๐. อวิชชาสังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)

เหล่านี้ชื่อว่าสังโยชน์ ๑๐
[๙๗๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน
มิจฉัตตะ ๑๐ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด)

เหล่านี้ชื่อว่ามิจฉัตตะ ๑๐
[๙๗๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ๑๐.ทสกนิทเทส

๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล
๒. ความเห็นว่า การบูชาไม่มีผล
๓. ความเห็นว่า การเซ่นสรวงไม่มีผล
๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี
๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี
๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี
๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มีคุณ
๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มีคุณ
๙. ความเห็นว่า สัตว์ผู้เป็นโอปปาติกะไม่มี
๑๐. ความเห็นว่า สมณะพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่ง
เห็นจริงแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วย
ตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ไม่มีในโลก

นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
[๙๗๒] อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน
อันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ

๑. ความเห็นว่า โลกเที่ยง
๒. ความเห็นว่า โลกไม่เที่ยง
๓. ความเห็นว่า โลกมีที่สุด
๔. ความเห็นว่า โลกไม่มีที่สุด
๕. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
๖. ความเห็นว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
๗. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต๑ เกิดอีก
๘. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๙. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มี ไม่
เกิดอีกก็มี


เชิงอรรถ :
๑ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า
อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
๑๐. ความเห็นว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้ชื่อว่าอันตัคคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐
ทสกนิทเทส จบ
ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๓] บรรดามาติกานั้น ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน
เป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน คือ
๑. ตัณหาว่า เรามี
๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้
๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น
๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น
๕. ตัณหาว่า เราจักเป็น
๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้
๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น
๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง
๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง
๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็น
๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้
๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น
๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น
๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง
๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง
๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง
๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๔] ตัณหาว่า เรามี เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเรามี ได้มานะว่าเรามี
ได้ทิฏฐิว่าเรามี เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มี
ว่าเราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น หรือเราเป็นโดยประการอื่นก็มี (๑)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์หรือเป็นศูทร เป็น
คฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ เป็นพรหมที่มีรูปหรือเป็น
พรหมที่ไม่มีรูป เป็นพรหมที่มีสัญญาหรือเป็นพรหมที่ไม่มีสัญญา หรือเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ก็มี (๒)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็เป็นพราหมณ์เหมือนกัน เขาเป็นแพศย์
เราก็เป็นแพศย์เหมือนกัน เขาเป็นศูทร เราก็เป็นศูทรเหมือนกัน เขาเป็นคฤหัสถ์
เราก็เป็นคฤหัสถ์เหมือนกัน เขาเป็นบรรพชิต เราก็เป็นบรรพชิตเหมือนกัน เขา
เป็นเทวดา เราก็เป็นเทวดาเหมือนกัน เขาเป็นมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน
เขาเป็นพรหมมีรูป เราก็เป็นพรหมมีรูปเหมือนกัน เขาเป็นพรหมไม่มีรูป เราก็เป็น
พรหมไม่มีรูปเหมือนกัน เขาเป็นพรหมมีสัญญา เราก็เป็นพรหมมีสัญญาเหมือนกัน
เขาเป็นพรหมไม่มีสัญญา เราก็เป็นพรหมไม่มีสัญญาเหมือนกัน หรือว่าเขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็
มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นก็มี (๓)
ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่ได้
เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราไม่ได้เป็นพราหมณ์เหมือนเขา
เขาเป็นแพศย์ แต่เราไม่ได้เป็นแพศย์เหมือนเขา เขาเป็นศูทรแต่เราไม่ได้เป็นศูทร
เหมือนเขา เขาเป็นคฤหัสถ์ แต่เราไม่ได้เป็นคฤหัสถ์เหมือนเขา เขาเป็นบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
แต่เราไม่ได้เป็นบรรพชิตเหมือนเขา เขาเป็นเทวดา แต่เราไม่ได้เป็นเทวดาเหมือนเขา
เขาเป็นมนุษย์ แต่เราไม่ได้เป็นมนุษย์เหมือนเขา เขาเป็นพรหมมีรูป แต่เราไม่ได้เป็น
พรหมมีรูปเหมือนเขา เขาเป็นพรหมมีสัญญา แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญาเหมือนเขา
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญา
ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นก็มี (๔)
ตัณหาว่า เราจักเป็น เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราจักเป็น ได้มานะว่า
เราจักเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราจักเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราจักเป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราจักเป็นโดย
ประการอื่นก็มี (๕)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์หรือจักเป็นพราหมณ์ จักเป็นแพศย์หรือจักเป็น
ศูทร จักเป็นคฤหัสถ์หรือจักเป็นบรรพชิต จักเป็นเทวดาหรือจักเป็นมนุษย์ จักเป็น
พรหมมีรูปหรือจักเป็นพรหมไม่มีรูป จักเป็นพรหมมีสัญญาหรือจักเป็นพรหมไม่มีสัญญา
จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่หรือจักเป็นพรหมไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า
เราจักเป็นอย่างนี้ก็มี (๖)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นก็มี (๗)
ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราจักไม่
เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราจักไม่เป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมี
สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่น
ก็มี (๘)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเที่ยง เรายั่งยืน
เราคงทน เราไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง
ก็มี (๙)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่จำแนกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ
จักพินาศ จักไม่มี อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงก็มี (๑๐)
ตัณหาว่า เราพึงเป็น เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็น ได้มานะ
ว่าเราพึงเป็น ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็น เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น หรือว่าเราพึง
เป็นโดยประการอื่นก็มี (๑๑)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์หรือเป็นพราหมณ์ พึงเป็นแพศย์หรือเป็นศูทร
พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ พึงเป็นพรหมมีรูป
หรือเป็นพรหมไม่มีรูป พึงเป็นพรหมมีสัญญาหรือเป็นพรหมไม่มีสัญญา หรือพึงเป็น
ผู้มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ก็มี (๑๒)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นก็มี (๑๓)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่น เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์แต่เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา ฯลฯ
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมี
สัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการ
อื่นก็มี (๑๔)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นบ้าง เป็นอย่างไร
บุคคลไม่แยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นบ้าง ได้
มานะว่าเราก็พึงเป็นบ้าง ได้ทิฏฐิว่าเราก็พึงเป็นบ้าง เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่
สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ก็มีว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง
หรือว่าเราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้างก็มี (๑๕)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์บ้าง พึงเป็นแพศย์หรือเป็น
ศูทรบ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิตบ้าง พึงเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์บ้าง
พึงเป็นพรหมมีรูป หรือเป็นพรหมไม่มีรูปบ้าง หรือพึงเป็นพรหมมีสัญญา จะพึง
เป็นพรหมไม่มีสัญญาบ้าง หรือเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่บ้าง
อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้บ้างก็มี (๑๖)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ
หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้างก็มี (๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราไม่พึงเป็นพราหมณ์เหมือนเขา
บ้าง ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็น
โดยประการอื่นบ้างก็มี (๑๘)
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายใน
[๙๗๕] ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก เป็นไฉน
ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก คือ
๑. ตัณหาว่า เราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๒. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๓. ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๔. ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๕. ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๖. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๗. ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๘. ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๙. ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๐. ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๑. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๒. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๓. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๔. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
๑๕. ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๖. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๗. ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
๑๘. ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้บ้าง ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
[๙๗๖] ตัณหาว่า เราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่าเรา
เป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เราเป็น
อย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าเราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพราหมณ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
ศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
เป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ เป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมมี
สัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นพรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ หรือเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
ก็มี (๒)
ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็เป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์เราก็เป็น
พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๓)
ตัณหาว่า เราเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่ได้
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์แต่เราไม่
ได้เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่ได้เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็น
โดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๔)
ตัณหาว่า เราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราจักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่าเรา
จักเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้นมีอยู่ สภาวธรรม
เครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เราจักเป็น
อย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าเราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๕)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพราหมณ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
จักเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ จักเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นเทวดาด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น
พรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ จักเป็นพรหมมีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ จักเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าจักเป็นพรหมมีสัญญาก็
มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็น
อย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๖)
ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็จักเป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็จักเป็น
พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่า เขาเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็จักเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราจักเป็นอย่างนั้น
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๗)
ตัณหาว่า เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
อย่างไร
ตัณหาเกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราจักไม่เป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เราจักไม่
เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่าเขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราจักไม่เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราจัก
เป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๘)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยง เรา
เป็นผู้ยั่งยืน เราคงทนอยู่ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๙)
ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว มีตัณหาว่า เราจักขาดสูญ จักพินาศ
จักไม่มีด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่างนี้ตัณหาว่า เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยรูปนี้
ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๐)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือรูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ ได้มานะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ ได้ทิฏฐิว่า
เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๑)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพราหมณ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้
พึงเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้ พึงเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นเทวดาด้วย
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นมนุษย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็น
พรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพรหมไม่มีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้ พึงเป็นพรหมมีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ หรือว่าพึง
เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ อย่าง
นี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๒)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน เขาเป็นพราหมณ์ เราก็พึง
เป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน ฯลฯ หรือว่าเขาเป็นพรหม
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกัน อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้น
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๓)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ เป็น
อย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา เขาเป็นพราหมณ์ แต่เรา
ไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา ฯลฯ หรือว่า เขาเป็น
พรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขา อย่างนี้ตัณหาว่า เราพึง
เป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้ก็มี (๑๔)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร
บุคคลแยกสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูป ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณออกจากกันแล้ว ได้ฉันทะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ
หรือวิญญาณนี้บ้าง ได้มานะว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
ได้ทิฏฐิว่าเราพึงเป็นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เมื่อสภาวธรรมทั้ง ๓ นั้น
มีอยู่ สภาวธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านี้ว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง ว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง หรือว่า
เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๕)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็นอย่างไร
ตัณหาว่า เราพึงเป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็น
พราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นแพศย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นศูทรด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นคฤหัสถ์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นบรรพชิตด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นเทวดาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นมนุษย์
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือ
วิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีรูปด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗.ขุททกวัตถุวิภังค์] ตัณหาวิจริตนิทเทส
พรหมไม่มีสัญญาด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมไม่มีสัญญา
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง อย่างนี้ชื่อว่าตัณหาว่า พึงเป็นอย่างนี้ด้วย
รูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๖)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง เป็น
อย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ เราก็พึงเป็น
กษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ เราก็
พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง ฯลฯ หรือว่าเขา
เป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เราก็พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนกันบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า
เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๗)
ตัณหาว่า เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้าง
เป็นอย่างไร
ตัณหาที่เกิดขึ้นเพราะเปรียบเทียบกับคนอื่นว่า เขาเป็นกษัตริย์ แต่เราไม่พึง
เป็นกษัตริย์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง เขาเป็นพราหมณ์ แต่
เราไม่พึงเป็นพราหมณ์ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง ฯลฯ หรือว่า
เขาเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ แต่เราไม่พึงเป็นพรหมมีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้เหมือนเขาบ้าง อย่างนี้ตัณหาว่า
เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือวิญญาณนี้บ้างก็มี (๑๘)
เหล่านี้ชื่อว่าตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้อาศัยเบญจขันธ์ภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ เหล่านี้
อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก ด้วยประการฉะนี้
ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต ๓๖
ตัณหาวิจริตตามที่กล่าวมานี้เป็นอดีต ๓๖ เป็นอนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖
ประมวลย่อเข้าเป็นอันเดียวกัน เป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖๓๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น