Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๑ หน้า ๑ - ๖๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา

พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาวรรค
๑. ปุคคลกถา
ว่าด้วยบุคคล
๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงล้วน ๆ๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
อนุโลมปัญจกะ
[๑] สกวาที๒ ถามว่า ท่านหยั่งรู้บุคคล๓ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์๔ ใช่ไหม๕
ปรวาที๖ ตอบว่า ใช่๗

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมโดยไม่เกี่ยวข้องกับโอกาส กาล และอวัยวะ (องค์ธรรม
ย่อย เช่น ขันธ์ ๕)
๒ สกวาที หมายถึงพระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัด
ทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ ๑ ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน (วิมติ.ฏีกา ๑/๓๘)
๓ บุคคล ในลัทธิของปรวาทีหมายถึงอัตตา สัตตะ หรือชีวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
๔ สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แยกเป็น ๒ คำ คือ สัจฉิกัฏฐะ + ปรมัตถะ คำว่า สัจฉิกัฏฐะ แปลว่า สภาวะที่แท้จริง
เป็นได้ทั้งสมมติสัจและปรมัตถสัจ ส่วนคำว่า ปรมัตถะ แปลว่า สภาวะขั้นสูงสุด เป็นปรมัตถสัจอย่างเดียว
ได้แก่ สภาวธรรม ๕๗ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ซึ่งก็หมายถึง ปรมัตถธรรม ๔ คือ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ในที่นี้ ปรวาทีใช้คำ ๒ คำนี้ในความหมายรวมกันว่า ความจริงแท้ขั้นสูงสุด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙-๑๓๐, องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๐/๘๖-๘๗)
๕ คำถามนี้มีใจความว่า ท่านเห็นว่า บุคคลมีอยู่จริงใช่ไหม
๖ ปรวาที หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ
นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๒๙)
๗ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม๑
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
สก. ท่านจงรับนิคคหะ๓ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนุโลมปัญจกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ในคำถามนี้ สกวาทีจงใจแยกคำว่า สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ออกจากกันเป็น ๒ คำ ๒ ความหมาย (ดูเชิงอรรถ
ที่ ๔ หน้า ๑) เพื่อไม่เปิดช่องให้ฝ่ายปรวาทีย้อนถามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๐)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีเห็นคล้อยตามฝ่ายสกวาทีว่า สัจฉิกัฏฐะ ปรมัตถะ มีความหมายแยกกันจริง
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๓)
๓ นิคคหะ แปลว่า การข่ม การกดขี่ การปราบ(ด้วยวาทะ) ความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง
ในที่นี้หมายถึงความผิดอันเกิดจากคำพูดที่ขัดแย้งกันเอง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่๑
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม๓ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลเป็นสมมติสัจ ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยอาศัยขันธ์ ๕ รวมกัน(อุปาทาบัญญัติ) (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒/๑๓๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คำถามนี้คลุมเครือ โดยใช้คำว่า “สัจฉิกัฏฐะ” กับคำว่า “ปรมัตถะ” รวม ๆ จึงไม่
อาจตอบยืนยันเหมือนคำตอบที่ ๑ ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๒)
๓ ปฏิกรรม แปลว่า การทำคืน การทำตอบ การโต้กลับ การแก้ไข ในที่นี้หมายถึงการโต้กลับเพื่อยกนิคคหะ
คืนไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒/๑๓๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๓] ปร. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะ๑นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ
อุปนยนจตุกกะ
[๔] ปร. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่ยอม
รับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในอนุโลมปัญจกะนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อนุโลมปัญจกะ (ข้อ ๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่านลง
นิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใด
เป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้น
ของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ
นิคคมจตุกกะ
[๕] ปร. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า
ด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความ๑เป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๑ จบ
๑. สุทธสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
ปัจจนีกปัญจกะ
[๖] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของ
ท่านผิด

เชิงอรรถ :
๑ การดำเนินกระบวนความ หมายถึงวิธีการโต้กลับตั้งแต่ปฏิกัมมจตุกกะ (ข้อ ๒) จนถึงนิคคมจตุกกะ
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
ปัจจนีกปัญจกะ จบ
ปฏิกัมมจตุกกะ
[๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[๘] สก. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ๑นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ
อุปนยนจตุกกะ
[๙] สก. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่
ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ ปัจจนีกปัญจกะ (ข้อ ๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” และข้าพเจ้าเมื่อยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ
นั้น ท่านไม่ควรลงนิคคหะอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงถูกท่าน
ลงนิคคหะโดยมิชอบ ดังที่กล่าวมาว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็น
สัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของท่านผิด”
อุปนยนจตุกกะ จบ
นิคคมจตุกกะ
[๑๐] สก. ท่านไม่ควรลงนิคคหะข้าพเจ้าอย่างนี้ แต่ท่านก็ยังลงนิคคหะ
ข้าพเจ้าด้วยนิคคหะว่า
“หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ คำนั้นของ
ท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า ‘สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า ‘ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์’ ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า ‘ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น’
คำนั้นของท่านผิด”
ฉะนั้น นิคคหะที่ท่านกระทำแล้วเป็นการกระทำโดยมิชอบ ปฏิกรรมเป็นการ
กระทำโดยชอบแล้ว การดำเนินกระบวนความเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
นิคคมจตุกกะ จบ นิคคหะที่ ๒ จบ
๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับโอกาส๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวง๒โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับโอกาส คำว่า โอกาส มีความหมายหลาย
อย่าง เช่น ที่ ที่ตั้ง เวลาที่เหมาะสม เหตุ การขออนุญาต ในที่นี้หมายถึงที่ ที่ตั้ง เช่น สรีระ ภพ ภูมิ โลก
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗)
๒ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงสรีระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑/๑๓๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในรูป แต่ถ้าตอบปฏิเสธก็เท่ากับยอมรับว่า
ชีวะกับสรีระต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
โอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ๑
นิคคหะที่ ๓ จบ
๓. กาลสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับกาล๒
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวง๓โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด

เชิงอรรถ :
๑ ท่านละปฏิกัมมจตุกกะ นิคคหจตุกกะ อุปนยนจตุกกะ และนิคคมจตุกกะไว้
๒ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับกาล คำว่า กาล ในที่นี้หมายถึงช่วงเวลา
ที่กำหนดตามเหตุการณ์ เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต
๓ กาลทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงระยะเวลาของอัตภาพในอดีตชาติ อนาคตชาติและปัจจุบันชาติตั้งแต่เกิดจนถึง
ตาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒/๑๓๗, อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๒/๘๔)
๔ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่าบุคคลในอดีตชาติกับบุคคลในอนาคตชาติไม่แตกต่างกัน
และบุคคลขณะมีชีวิตอยู่กับหลังจากปรินิพพานแล้วไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งฝ่ายปรวาทีรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๔ จบ
๔. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
ว่าด้วยสภาวะที่แท้จริงกับอวัยวะ๑
๑. อนุโลมปัจจนีกะ
[๑๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวง๒โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงปรมัตถธรรมที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะ คำว่า อวัยวะ หมายถึงองค์ธรรมย่อย
คือสภาวธรรม ๕๗ ดังกล่าวมาแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓/๑๓๗)
๒ อวัยวะทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงองค์ธรรมย่อย เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓/๑๓๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็เท่ากับยอมรับว่า มีอัตตาในขันธ์ มีรูปขันธ์ เป็นต้น มีอัตตาในอายตนะมี
จักขายตนะ เป็นต้น ซึ่งฝ่ายปรวาทียอมรับไม่ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ใน
อวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๕ จบ
๒. โอกาสสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวง
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้ในโอกาสทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๖ จบ
๓. กาลสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๕] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้ในกาลทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๔. อวัยวสัจฉิกัฏฐะ
๒. ปัจจนีกานุโลมะ
[๑๖] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะทั้งปวงโดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้ในอวัยวะ
ทั้งปวงโดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
นิคคหะที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๕. สุทธิกสังสันทนะ
การเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรมล้วน ๆ๑
[๑๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงการเปรียบเทียบบุคคลกับสภาวธรรมแต่ละอย่างในสภาวธรรม ๕๗
ประการ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะขัดกับลัทธิของตนที่ว่ามีสภาพบางอย่างที่เป็นบุคคลซึ่งถือว่าเหมือน
กับรูปก็มิใช่ ต่างกับรูปก็มิใช่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๘-๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๖๑-๖๒,
อภิ.อนุฏีกา ๓/๑๗-๒๗/๘๕-๘๖) และขัดกับพระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาในเรื่องนี้
(สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๔๑๖/๓๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สัททายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสายตนะ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ชิวหาธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัททธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้คันธธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รสธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายวิญญาณ
ธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ฆานินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชิวหินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้กายินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มนินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ชีวิตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อิตถินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ปุริสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สุขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ทุกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้โสมนัสสินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้โทมนัสสินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อุเปกขินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิริยินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ปัญญินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็น
คนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตา-
วินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”๑
และ๒ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่ง
รู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๖/๑๔๕, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕
๒ ความข้อนี้แปลต่างกับข้อ ๑๗-๒๑ หน้า ๑๖-๑๘ เพราะข้อความข้างหน้าใช้ในความหมายเปรียบเทียบ
ความเหมือน ส่วนในที่นี้ใช้ในความหมายเปรียบเทียบความแตกต่าง
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปัญหานี้เกี่ยวกับความเหมือนและความต่างระหว่างสมมติ(บุคคล) กับปรมัตถ์ (รูป)
ซึ่งเป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ แต่ต่างกับเหตุผลที่ฝ่ายปรวาทียกขึ้นมาอ้าง(ดูเชิงอรรถที่ ๒
ข้อ ๑๗ หน้า ๑๖ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗-๒๗/๑๓๙, อภิ.มูลฏีกา ๒/๑๗-๒๗/๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี
อยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ หยั่งรู้สัญญา ฯลฯ หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และ
ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณ
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู’่ และ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคล
เป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้กายธาตุ
ฯลฯ หยั่งรู้รูปธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้โผฏฐัพพธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ
หยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๖] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้โสตินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๒๗] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
สุทธิกสังสันทนะ จบ
๖. โอปัมมสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยข้ออุปมา
[๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูป
กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม
รับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใด ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละ
อย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจ
หยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง
ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึง
เป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณ
กับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้
ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละ
อย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน
ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่าง
กัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้น
ของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับ
อัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น
นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญิน-
ทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับ
บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๗] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละ
อย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้า
หยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น)
รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๓๘] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๓๙] ปร. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๔๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๑] ปร. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๒] ปร. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
ฯลฯ
[๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ
หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้
มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๔๔] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ
ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ
[๔๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ
ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้
อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตา-
วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้
อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็น
คนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตา-
วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ
หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์
จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัด
แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตา-
วินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของ
ท่านผิด ฯลฯ
โอปัมมสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๗. จตุกกนยสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยนัย ๔ ประการ๑
[๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นบุคคล๒ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการเทียบเคียงบุคคลกับสภาวธรรม ๕๗ โดยนัย ๔ ประการ เช่น เทียบเคียง
บุคคลกับรูป ดังนี้ (๑) รูปเป็นบุคคล (๒) บุคคลอาศัยรูป (๓) บุคคลเป็นอื่นจากรูป (๔) รูปอาศัยบุคคล
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖-๕๒/๑๔๐)
๒ นัยที่ ๑
๓ ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๖-๕๒/๑๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลอาศัยรูป๑ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป๒ ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล๓
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“รูปอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปอาศัยบุคคล” คำ
นั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
รูปอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
เวทนา ฯลฯ เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ
สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา
ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ ฯลฯ วิญญาณอาศัย
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

เชิงอรรถ :
๑ นัยที่ ๒
๒ นัยที่ ๓
๓ นัยที่ ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล”
คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้น
ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า
วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็น
อื่นจากจักขายตนะ ฯลฯ จักขายตนะอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ
อาศัยบุคคล ฯลฯ
จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคล
อาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่น
จากจักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญา-
ตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใด
ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมี
อยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ ท่านกล่าว
คำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปเป็นบุคคล” คำนั้น
ของท่านผิด ฯลฯ
[๕๑] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. บุคคลอาศัยรูป ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากรูป ฯลฯ รูปอาศัยบุคคล ฯลฯ
เวทนาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยเวทนา ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากเวทนา ฯลฯ
เวทนาอาศัยบุคคล ฯลฯ สัญญาเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยสัญญา ฯลฯ
บุคคลเป็นอื่นจากสัญญา ฯลฯ สัญญาอาศัยบุคคล ฯลฯ สังขารเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยสังขาร ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากสังขาร ฯลฯ สังขารอาศัยบุคคล ฯลฯ
วิญญาณเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยวิญญาณ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากวิญญาณ
ฯลฯ วิญญาณอาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น
นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณอาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำ
ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณอาศัยบุคคล” คำนั้น
ของท่านผิด ฯลฯ
[๕๒] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จักขายตนะเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขายตนะ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขายตนะ ฯลฯ จักขายตนะอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมายตนะเป็นบุคคล
ฯลฯ บุคคลอาศัยธัมมายตนะ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อาศัยบุคคล ฯลฯ จักขุธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุธาตุ ฯลฯ บุคคล
เป็นอื่นจากจักขุธาตุ ฯลฯ จักขุธาตุอาศัยบุคคล ฯลฯ ธัมมธาตุเป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยธัมมธาตุ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากธัมมธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุอาศัย
บุคคล ฯลฯ
จักขุนทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ บุคคลอาศัยจักขุนทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจาก
จักขุนทรีย์ ฯลฯ จักขุนทรีย์อาศัยบุคคล ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์เป็นบุคคล ฯลฯ
บุคคลอาศัยอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ บุคคลเป็นอื่นจากอัญญาตาวินทรีย์ ฯลฯ
อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” คำนั้นของ
ท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์อาศัยบุคคล” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์
อาศัยบุคคล” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
จตุกกนยสังสันทนะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๘. ลักขณยุตติ
ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะ๑
[๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต๒
ฯลฯ บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
[๕๔] ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓
ปร. บุคคลไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคล
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ บุคคลเที่ยง ฯลฯ บุคคลไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลมีนิมิต ฯลฯ
บุคคลไม่มีนิมิตใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
ลักขณยุตติ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการซักถามถึงลักษณะแห่งบุคคล เช่น บุคคลมีลักษณะเหมือนกับสภาวธรรมหรือไม่
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๓/๑๔๒)
๒ นิมิต ในที่นี้หมายถึงเหตุให้เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๓/๑๔๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลแม้เป็นสมมติสัจ แต่ไม่มีลักษณะแห่งความเป็นผู้มีปัจจัยปรุงแต่งหรือไม่มี
ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๔/๑๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๙. วจนโสธนะ
ว่าด้วยการซักฟอกถ้อยคำ
[๕๕] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ สภาวะที่หยั่งรู้ได้เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ สภาวะที่หยั่งรู้ได้บางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ได้ บางส่วนเป็นสภาวะที่หยั่งรู้ไม่ได้ใช่
ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๖] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่แท้จริง สภาวะที่แท้จริงเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่แท้จริง สภาวะที่แท้จริงบางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่แท้จริง บางส่วนไม่เป็นสภาวะที่แท้จริง
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่คงอยู่ สภาวะที่คงอยู่เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่คงอยู่ สภาวะที่คงอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง
ไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่คงอยู่ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่คงอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏ สภาวะที่ปรากฏเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่ปรากฏ สภาวะที่ปรากฏบางอย่างเป็นบุคคล บาง
อย่างไม่เป็นบุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่ปรากฏ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่เป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่บางอย่างเป็นบุคคล บางอย่าง
ไม่เป็นบุคคล
สก. บุคคลบางส่วนเป็นสภาวะที่มีอยู่ บางส่วนเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่มีอยู่ สภาวะที่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ใช่ ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่มีอยู่ สภาวะที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นบุคคลทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
วจนโสธนะ จบ
๑๐. ปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงบัญญัติ
[๖๑] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีรูปเป็นนามบัญญัติที่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับรูปภูมิ และรูปกายเป็นสิ่งที่มีปรากฏ
จริงในรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๖๒] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๖๓] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๔] สก. ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้มีกามในกามธาตุเป็นสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๕] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นบุคคล ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นบุคคล และ
บางคนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีรูปขาดสูญ บุคคลผู้ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๖] สก. ผู้มีรูปในรูปธาตุเป็นสัตว์ ผู้ไม่มีรูปในอรูปธาตุเป็นสัตว์ และบาง
คนจุติจากรูปธาตุแล้วเข้าถึงอรูปธาตุมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีกามเป็นนามบัญญัติที่มิใช่ได้มาเพราะเกี่ยวข้องกับกามภูมิ แต่เป็นบัญญัติที่ได้มา
เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลสกาม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑-๖๖/๑๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สัตว์มีรูปขาดสูญ สัตว์ไม่มีรูปเกิดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๗] สก. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับ
บุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่าน
กล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ
หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้
นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อ
บัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับ
สรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความ
หมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะ
กับบุคคล ให้มีความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมาย
อย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคน
ละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อ
บัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน เมื่อบัญญัติว่า บุคคลกับชีวะ หรือบัญญัติว่า ชีวะกับบุคคล ให้มี
ความหมายว่า บุคคล โดยไม่แยก ชีวะและบุคคลนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน แต่
ไม่ยอมรับว่า ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๖๘] ปร. เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน
เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า
กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วน
เท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ตนเองมีอยู่’ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน”
ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อบัญญัติว่า กายกับ
สรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระ
และกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ แต่ไม่ยอมรับว่า
กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มี
ความหมายว่า กาย โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลตนเองมีอยู่” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เมื่อบัญญัติว่า กายกับสรีระ หรือบัญญัติว่า สรีระกับกาย ให้มีความหมายว่า กาย
โดยไม่แยก สรีระและกายนี้นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีส่วนเท่ากัน
มีสภาพเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’
แต่ไม่ยอมรับว่า กายกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด (ย่อ)
ปัญญัตตานุโยคะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๑๑. คติอนุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงคติ
[๖๙] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๗๐] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลก
นี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒
[๗๑] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๓

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-
๗๓/๑๔๖)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ) จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๓ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๙-๗๓/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๗๒] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ท่องเที่ยว
จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๑
[๗๓] สก. บุคคลท่องเที่ยวไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกัน บุคคลคนละคนกัน บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและ
คนละคนกัน บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่
ท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๒
[๗๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลก
อื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลนั้นท่องเที่ยวไป ๗ ชาติเป็นอย่างมาก
ก็จะทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป” ๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอมราวิกเขปทิฏฐิ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยงไม่แน่นอนตายตัว) จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๒ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เอกัจจสัสสตทิฏฐิ และอมราวิกเขปทิฏฐิ จึงตอบ
ปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๙-๗๓/๑๔๖)
๓ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๒๔, ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๒๔/๓๖๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[๗๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเบื้อง
ต้นและเบื้องปลายรู้ไม่ได้ (ที่สุด)เบื้องต้น (ที่สุด)เบื้องปลายไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์
ผู้ถูกอวิชชากีดขวาง ถูกตัณหาผูกไว้ วนเวียนท่องเที่ยวไป” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ได้
[๗๖] สก. บุคคลท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่น
มาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๗] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นเทวดาก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม๒
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๒๔/๒๑๕
๒ ฝ่ายสกวาทีประสงค์จะแยกมนุษย์กับเทวดาว่ามีคติภพต่างกัน (อภิ. ปญฺจ.อ. ๗๗/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๗๘] สก. มนุษย์กับเทวดาเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลเป็นมนุษย์แล้วจึงเป็นเทวดา เป็นเทวดาแล้วจึงเป็นมนุษย์
(ดังนั้น) ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับเทวดาจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็น
มนุษย์คนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศล
และอกุศลให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นมนุษย์แล้วเป็นยักษ์มีอยู่ ... เป็นเปรต ... เป็นสัตว์นรก ...
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... เป็นอูฐ ... เป็นโค ... เป็นลา ... เป็นสุกร ... เป็นกระบือ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐] สก. มนุษย์กับกระบือเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นมนุษย์แล้วเป็นกระบือ เป็นกระบือแล้วเป็นมนุษย์ (ดังนั้น)
ผู้เกิดเป็นมนุษย์กับกระบือจึงเป็นคนละคนกัน คำที่ว่า “บุคคลผู้เกิดเป็นมนุษย์คน
เดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากบุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวไป จุติจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น
มิใช่คนละคนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความตายก็จักไม่มี แม้แต่ปาณาติบาตก็หยั่งรู้ไม่ได้
กรรมมีอยู่ ผลของกรรมก็มีอยู่ ผลของกรรมทั้งหลายที่ทำแล้วก็มีอยู่ เมื่อกุศลและอกุศล
ให้ผลอยู่ คำที่ว่า “บุคคลคนเดียวกันนี้นั่นแหละท่องเที่ยวไป” ดังนี้ จึงผิด
[๘๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กษัตริย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒] สก. บุคคลบางคนเป็นกษัตริย์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทรมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กษัตริย์กับศูทรเป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓] สก. บุคคลบางคนเป็นพราหมณ์แล้วเป็นแพศย์ ... เป็นศูทร ... เป็น
กษัตริย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พราหมณ์กับกษัตริย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔] สก. บุคคลบางคนเป็นแพศย์แล้วเป็นศูทร ... เป็นกษัตริย์ ... เป็น
พราหมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. แพศย์กับพราหมณ์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕] สก. บุคคลบางคนเป็นศูทรแล้วเป็นกษัตริย์ ... เป็นพราหมณ์ ... เป็น
แพศย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศูทรกับแพศย์เป็นบุคคลคนเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๖] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม ...
คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คนมีหัว
แม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนมือแป ... คน
เป็นโรคเรื้อน ... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ...
คนเป็นโรคลมบ้าหมู ... อูฐก็เป็นอูฐอยู่เหมือนเดิม ... โค ... ลา ... สุกร ...
กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้
ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลคน
เดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
[๘๘] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไป
เกิดในเทวโลกแล้วยังเป็นโสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า
“บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดใน
เทวโลกแล้ว ยังเป็นมนุษย์อยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า “บุคคล
คนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐] สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม
... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คน
มีหัวแม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนเป็นโรคเรื้อน
... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิม
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้มีรูป๑ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงท่องเที่ยวไปพร้อมกับรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้อยู่ในอันตรภพเมื่อจุติไปเกิดในครรภ์มารดา(ในภพอื่น) จะไปพร้อมกับรูป
กายของตนขณะอยู่ในอันตรภพ (คล้ายสัมภเวสี) คำว่า อันตรภพ หมายถึงภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด
หรือถพนี้กับภพหน้า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑/๑๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๙๒] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. เป็นผู้ไม่มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๔
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๓] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะฝ่ายปรวาทียังยืนยันในเรื่องอันตรภพเหมือนเดิม
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในอรูปภพเป็นผู้ไม่มีรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า มีสัญญีภพซึ่งมีเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๙๒/๑๔๘)
๔ เพราะมีความเห็นว่า มีอุปปัตติภพอื่นนอกจากสัญญีภพจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๒/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๔] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าไม่มีรูป ก็ไม่มีบุคคล ดังนั้น เมื่อบุคคลท่องเที่ยวไปจึงท่องเที่ยวไปด้วยรูปนั้น (อภิ.ปญฺจอ.
๙๓/๑๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
สก. เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลนั้นแตกดับ
ก็จะเป็นอุจเฉททิฏฐิที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเว้น
เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลไม่แตกดับ
บุคคลก็จะเที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน๑
คติอนุโยคะ จบ
๑๒. อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติ๒
[๙๕] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน หมายถึง นิพพานคือภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ ถ้าถือว่าบุคคลเที่ยงเหมือนนิพพาน
ก็จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๔/๑๔๘)
๒ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒ หน้า ๓ ในเล่มนี้
๓ ปรวาทียังยึดถือความเห็นเดิมของตนที่ว่า บุคคเที่ยง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๕/๑๔๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๙๖] สก. เพราะอาศัยเวทนา ฯลฯ เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะ
อาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๗] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยรูปสีเขียว จึงบัญญัติบุคคลสีเขียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยรูปสีเหลือง ฯลฯ เพราะอาศัยรูปสีแดง ฯลฯ เพราะอาศัย
รูปสีขาว ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่เห็นไม่ได้ ฯลฯ
เพราะอาศัยรูปที่กระทบได้ ฯลฯ เพราะอาศัยรูปที่กระทบไม่ได้ จึงบัญญัติบุคคล
ที่กระทบไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๘] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เวทนาที่เป็นกุศล มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล
น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี
มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๙] สก. เพราะอาศัยเวทนาจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๐] สก. เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยเวทนาที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๑] สก. เพราะอาศัยสัญญา ฯลฯ เพราะอาศัยสังขาร ฯลฯ เพราะอาศัย
วิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นกุศลมีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี มีผล
น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลน่าปรารถนา มีผลน่ายินดี
มีผลน่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒] สก. เพราะอาศัยวิญญาณจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓] สก. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๔] สก. เพราะอาศัยจักษุ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลมีจักษุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจักษุดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีจักษุดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ
เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมโนดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโนดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๑๐๕] สก. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ
ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคล
เป็นมิจฉาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาสมาธิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๖] สก. เพราะอาศัยสัมมาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสัมมาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมา-
วายามะ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยสัมมาสมาธิ ท่านจึง
ยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสัมมาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นสัมมาสมาธิดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗] สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยรูป เพราะอาศัยเวทนา เพราะอาศัยสัญญา เพราะอาศัย
สังขาร เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยขันธ์ ๕ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๐๘] สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ จึงบัญญัติ
บุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักขายตนะ เพราะอาศัยโสตายตนะ ฯลฯ เพราะอาศัย
ธัมมายตนะ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ จึงบัญญัติบุคคล ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๙] สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยธาตุ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักขุธาตุ เพราะอาศัยโสตธาตุ ฯลฯ เพราะอาศัยธัมมธาตุ
จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยธาตุ ๑๘ จึงบัญญัติบุคคล ๑๘ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๐] สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยจักขุนทรีย์ เพราะอาศัยโสตินทรีย์ ฯลฯ เพราะอาศัย
อัญญาตาวินทรีย์ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยอินทรีย์ ๒๒ จึงบัญญัติบุคคล ๒๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๑] สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ๑ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจตุโวการภพ๒ จึงบัญญัติบุคคล ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยเอกโวการภพ จึงบัญญัติบุคคล ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยปัญจโวการภพ๓ จึงบัญญัติบุคคล ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในจตุโวการภพมีบุคคลเพียง ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเอกโวการภพมีบุคคลเพียง ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เอกโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๑ คือรูปขันธ์ ได้แก่ อสัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐)
๒ จตุโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๔ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ได้แก่ สัญญีภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐, ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
๓ ปัญจโวการภพ หมายถึงภพของสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่ กามภพและรูปภพ (อภิ.วิ.อ. ๒๓๔/๑๙๘-๒๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ในปัญจโวการภพมีบุคคลเพียง ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๒] สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ต้นไม้กับเงาไม้เป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๓] สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน บ้านกับชาวบ้านเป็นคนละอย่างกัน
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้น
เหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๔] สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น