Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๒ หน้า ๖๔ - ๑๒๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา รัฐกับพระราชาเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๕] สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน
ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีรูป ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน ตรวน
กับผู้ถูกจำตรวนเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น
ชื่อว่าผู้มีรูป รูปกับผู้มีรูปเป็นคนละอย่าง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๖] สก. มีการบัญญัติบุคคลในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ ในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ๒

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในจิตดวงที่ ๑ กับบุคคลในจิตดวงที่ ๒ จะกล่าวว่าเป็นคนเดียวกันหรือเป็นคน
ละคนกันก็ไม่ได้ เพราะถ้ายอมรับว่าเป็นคนเดียวกัน ก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และถ้ายอม
รับว่าเป็นคนละคนกันก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๖/๑๕๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จะเป็นการขัดกับภาษาที่ชาวโลกใช้พูดกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า
ไม่ยอมรับว่า เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นคนเดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเด็กชายหรือเป็นเด็กหญิง” คำนั้นของท่านผิด
[๑๑๗] สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกัน
หรือเป็นคนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นสตรีหรือเป็นบุรุษ
เป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิต เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากเมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้า
ไม่ยอมรับว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือเป็นคนละคนกัน’ เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อนึ่ง เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น หากท่านยอมรับว่า “เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์”
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายอมรับว่า
เป็นคนเดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า
“ข้าพเจ้ายอมรับว่า เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า ‘เป็นคน
เดียวกันหรือว่าเป็นคนละคนกัน เมื่อจิตดวงที่ ๒ เกิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงยอมรับว่า
เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ
[๑๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น
เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ๑
สก. ใช่๒
ปร. หากบุคคลใดเห็น เห็นรูปใด เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นเห็น เห็นรูปนั้น
เห็นด้วยจักษุนั้น ดังนั้น ท่านจึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๑๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลใดฟัง ฯลฯ บุคคลใดดม ฯลฯ บุคคลใดลิ้มรส ฯลฯ บุคคลใด
ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์นั้น
รู้ด้วยมโนนั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำถามนี้ มีใจความว่า ผู้เห็นมีอยู่จริง รูปที่ถูกเห็นก็มีอยู่จริง ตาที่เห็นก็มีอยู่จริง
๒ เพราะมุ่งถึงสมมติสัจจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๑๘/๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลใดรู้ รู้ธรรมารมณ์ใด รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นรู้ รู้ธรรมารมณ์
นั้น รู้ด้วยมโนนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๒๐] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น
ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้นมิใช่หรือ
ปร. ใช่๑
สก. หากบุคคลใดไม่เห็น ไม่เห็นรูปใด ไม่เห็นด้วยจักษุใด บุคคลนั้นไม่เห็น
ไม่เห็นรูปนั้น ไม่เห็นด้วยจักษุนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใดไม่ฟัง ฯลฯ บุคคลใดไม่ดม ฯลฯ บุคคลใดไม่ลิ้มรส ฯลฯ
บุคคลใดไม่ถูกต้อง ฯลฯ บุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้
ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลใดไม่รู้ ไม่รู้ธรรมารมณ์ใด ไม่รู้ด้วยมโนใด บุคคลนั้นไม่รู้
ไม่รู้ธรรมารมณ์นั้น ไม่รู้ด้วยมโนนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๒๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมุ่งหมายเอาบุคคล ๕ จำพวก คือ (๑) คนตาบอด (๒) อสัญญีสัตว์ (๓) บุคคลผู้เกิดในอรูปภพ
(๔) บุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติ (๕) คนตาไม่บอดแต่ไม่ดูรูป จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๐/๑๕๑-๑๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นหมู่สัตว์ผู้
กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๑๒๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังปฏิสนธิ ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรม” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นรูป
สก. รูปเป็นบุคคล รูปจุติ รูปปฏิสนธิ รูปเป็นไปตามกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นบุคคล
สก. บุคคลเป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง
สีขาว สิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ กระทบที่จักษุ มาสู่คลองจักษุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๕๙/๒๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูป หรือทรงเห็นบุคคลได้ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
ปร. ทรงเห็นได้ทั้ง ๒ อย่าง
สก. ทั้ง ๒ อย่าง เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเขียว
ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีเหลือง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีแดง ทั้ง ๒ อย่างเป็นสีขาว ทั้ง ๒
อย่างเป็นสิ่งที่จะรู้ได้ทางจักษุ ทั้ง ๒ อย่างกระทบที่จักษุ ทั้ง ๒ อย่างมาสู่คลองจักษุ
ทั้ง ๒ อย่างจุติ ทั้ง ๒ อย่างปฏิสนธิ ทั้ง ๒ อย่างเป็นไปตามกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ จบ
๑๓. ปุริสการานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้กระทำ
[๑๒๓] ปร. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๑๒๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำทั้ง ๒ นั้น
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๒ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีมุ่งจะถามให้สกวาทียอมรับว่า อัตตามีอยู่จริง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๒)
๒ เพราะปรวาทีเห็นว่า ถ้าตอบรับก็จะมีความผิด ๒ ประการ คือ (๑) เท่ากับยอมรับว่ามีผู้สร้างอยู่จริง (๒)
เท่ากับยอมรับลัทธิพระเจ้าสร้างโลก (อภิ.ปญ.จ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๒๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำนั้น
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๑
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้บันดาล ผู้สั่งให้บันดาลซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา๒นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
บุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๗] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
นิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทียอมรับว่ามีผู้สร้างคือบิดามารดา ซึ่งทำหน้าที่ให้เกิด ตั้งชื่อ และเลี้ยงดู และยอมรับว่ามีผู้สั่ง
ให้สร้าง คือ กัลยาณมิตร หรือ ครู อาจารย์ ที่ให้ศึกษาศิลปวิทยา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๔/๑๕๒-๑๕๓)
๒ บุคคลทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมา คือ ชั้นที่ ๑ ได้แก่ ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรม, ชั้นที่ ๒ ได้แก่ ผู้สร้าง ผู้สั่งให้สร้างซึ่งผู้ทำ
ผู้สั่งให้ทำกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๓/๑๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพีได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
มหาปฐพี ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาสมุทรได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
มหาสมุทรได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้ภูเขาสิเนรุได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ
ภูเขาสิเนรุได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้น้ำได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำน้ำได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้ไฟได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำไฟได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้ลมได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้ทำ
ผู้สั่งให้ทำหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้ทำผู้สั่งให้ทำกรรมดีและกรรมชั่วเป็นคน
ละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
[๑๓๖] ปร. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีกลัวว่าจะตรงกับสักกายทิฏฐิที่ว่า (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๓๕/๑๕๓, ม.อุ.(แปล)
๑๔/๘๗/๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย(ได้รับ)วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๓๙] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๐] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๔๑] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๒] สก. ท่านหยั่งรู้วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้
บุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากของกรรมดีและกรรมชั่วกับบุคคลผู้เสวยวิบากของกรรมดีและ
กรรมชั่วเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุขได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๔] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย บุคคลผู้เสวยทิพยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพยสุข
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทิพยสุขได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทิพย-
สุขได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ทิพยสุขกับบุคคลผู้เสวยทิพยสุขเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๑] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขนั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๓] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
สุขของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๕] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข
ของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๖] สก. ท่านหยั่งรู้สุขของมนุษย์ได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยสุข
ของมนุษย์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขของมนุษย์กับบุคคลผู้เสวยสุขของมนุษย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๗] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๕๙] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะก็ไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๐] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๑] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๒] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๖๓] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในอบายได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในอบายได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ที่มีในอบายกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในอบายเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔] ปร. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยทุกข์ที่
มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทุกข์นั้นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๖] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยทุกข์
ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้ผู้เสวยบุคคลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๖๗] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้นิพพานได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยนิพพานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๘] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวย
ทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านหยั่งรู้มหาปฐพี ฯลฯ หยั่งรู้มหาสมุทร ฯลฯ หยั่งรู้ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ
หยั่งรู้น้ำ ฯลฯ หยั่งรู้ไฟ ฯลฯ หยั่งรู้ลม ฯลฯ หยั่งรู้หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้
เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้เสวยหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๙] สก. ท่านหยั่งรู้ทุกข์ที่มีในนรกได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคลผู้
เสวยทุกข์ที่มีในนรกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกข์ที่มีในนรกกับบุคคลผู้เสวยทุกข์ที่มีในนรกเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๐] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๗๑] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ๑ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๒] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๓] สก. บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๔] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๕] สก. บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์มีทั้งตนเองเป็นตัวการและผู้อื่นเป็นตัวการใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ. ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๑/๑๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๗๖] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ทั้งทำและ
เสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๗] สก. บุคคลจะว่าเป็นคนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่
ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขและทุกข์เกิดขึ้นเองจะว่ามีตนเองเป็นตัวการก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็น
ตัวการก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๘] สก. ท่านหยั่งรู้กรรมดีและกรรมชั่วได้ เพราะเหตุนั้น จึงหยั่งรู้บุคคล
ผู้ทำ ผู้สั่งให้ทำ ผู้เสวยวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและเสวย
บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็นคน
เดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๗๙] สก. บุคคลคนเดียวกันทั้งทำและเสวย บุคคลคนละคนกันทั้งทำและ
เสวย บุคคลทั้งที่เป็นคนเดียวกันและคนละคนกันทั้งทำและเสวย บุคคลจะว่าเป็น
คนเดียวกันก็มิใช่ จะว่าเป็นคนละคนกันก็มิใช่ ทั้งทำและเสวยใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. สุขและทุกข์มีตนเองเป็นตัวการ สุขและทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและ
ทุกข์ทั้งมีตนเองและผู้อื่นเป็นตัวการ สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง จะว่ามีตนเองเป็นตัวการ
ก็มิใช่ จะว่ามีผู้อื่นเป็นตัวการก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๐] ปร. กรรมมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ทำกรรมมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๑] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๒] สก. บุคคลผู้ทำกรรมนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้ทำซึ่งบุคคลผู้ทำกรรมทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๓] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๔] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๕] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๖] สก. กรรมมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ทำกรรมจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมกับบุคคลผู้ทำกรรมเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๗] ปร. วิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เสวยวิบากมีอยู่ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๘] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๘๙] สก. บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็ไม่มี
แก่บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลผู้เสวยวิบากทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยซึ่งบุคคลจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๐] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยนิพพานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๑] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาปฐพีมีอยู่ ฯลฯ มหาสมุทร ฯลฯ ภูเขาสิเนรุ ฯลฯ น้ำ ฯลฯ ไฟ
ฯลฯ ลม ฯลฯ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่ามีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยหญ้า
ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๙๒] สก. วิบากมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เสวยวิบากจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากเป็นอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสวยวิบากก็เป็นอย่างหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ (ย่อ)
กัลยาณวรรค๑ ที่ ๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า กัลยาณวรรค นี้เป็นชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของปุริสการานุโยคะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๒/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
๑๔. อภิญญานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอภิญญา
[๑๙๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุได้ ฯลฯ รู้จิตของบุคคลอื่นได้
ฯลฯ หวนระลึกถึงชาติปางก่อนได้ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุได้ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนทำให้แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้มีอยู่ ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนแสดงฤทธิ์ได้มีอยู่” จึงยอม
รับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้แสดงฤทธิ์ได้เท่านั้นจึงจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้แสดงฤทธิ์ไม่ได้ไม่
จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๑๙๖] สก. บุคคลผู้ฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุได้ ฯลฯ รู้จิตของบุคคลอื่นได้
ฯลฯ หวนระลึกถึงชาติปางก่อนได้ ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพยจักษุได้ ฯลฯ ทำให้
แจ้งความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ จึงจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ทำให้แจ้งความสิ้นไปแห่ง
อาสวะไม่ได้ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อภิญญานุโยคะ จบ
๑๕.-๑๘. ญาตกานุโยคาทิ ๑
ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ เป็นต้น
[๑๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มารดามีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากมารดามีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บิดามีอยู่ ฯลฯ พี่ชายน้องชายมีอยู่ ฯลฯ พี่สาวน้องสาวมีอยู่ ฯลฯ
กษัตริย์มีอยู่ ฯลฯ พราหมณ์มีอยู่ ฯลฯ แพศย์มีอยู่ ฯลฯ ศูทรมีอยู่ ฯลฯ
คฤหัสถ์มีอยู่ ฯลฯ บรรพชิตมีอยู่ ฯลฯ เทวดามีอยู่ ฯลฯ มนุษย์มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑มี ๔ ตอน คือ (๑) ญาตกานุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงญาติ (๒) ชาติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการเกิด
(๓) ปฏิปัตติอนุโยคะ ว่ าด้วยการซักถามถึงข้อปฏิบัติ (๔) อุปปัตติอนุโยคะ ว่าด้วยการซักถามถึงการอุบัติ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๙๗/๑๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. หากมนุษย์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคล
ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๑๙๙] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่ง
รู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นมารดาแล้วมาเป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบิดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ
ไม่เคยเป็นพี่สาวน้องสาว ฯลฯ ไม่เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ
ไม่เคยเป็นแพศย์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นศูทร ฯลฯ ไม่เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ ไม่เคย
เป็นบรรพชิต ฯลฯ ไม่เคยเป็นเทวดา ฯลฯ ไม่เคยเป็นมนุษย์แล้วมาเป็นมนุษย์มี
อยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “มารดามีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นมารดาแล้วไม่เป็นมารดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบิดา ฯลฯ เคยเป็นพี่ชายน้องชาย ฯลฯ เคยเป็น
พี่สาวน้องสาว ฯลฯ เคยเป็นกษัตริย์ ฯลฯ เคยเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เคยเป็นแพศย์
ฯลฯ เคยเป็นศูทร ฯลฯ เคยเป็นคฤหัสถ์ ฯลฯ เคยเป็นบรรพชิต ฯลฯ เคยเป็น
เทวดา ฯลฯ เคยเป็นมนุษย์แล้วไม่เป็นมนุษย์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาตกานุโยคาทิ จบ
๑๙. ปฏิเวธานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงผู้บรรลุธรรม (พระอริยะ)
[๒๐๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอนาคามีมีอยู่
ฯลฯ บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์มีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นอุภโตภาควิมุตมีอยู่ ฯลฯ
บุคคลผู้เป็นปัญญาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นกายสักขีมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ทิฏฐิปัตตะมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตมีอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้เป็นธัมมานุสารีมีอยู่
ฯลฯ บุคคลผู้เป็นสัทธานุสารี๑มีอยู่ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลผู้เป็นสัทธานุสารีมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๓] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระโสดาบันแล้วมาเป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๔] สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระ
อนาคามี ฯลฯ ไม่เคยเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ไม่เคยเป็นอุภโตภาควิมุต ฯลฯ
ไม่เคยเป็นปัญญาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นกายสักขี ฯลฯ ไม่เคยเป็นทิฏฐิปัตตะ ฯลฯ
ไม่เคยเป็นสัทธาวิมุต ฯลฯ ไม่เคยเป็นธัมมานุสารี ฯลฯ ไม่เคยเป็นสัทธานุสารี
แล้วเป็นสัทธานุสารีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนไม่เคยเป็นบุคคลแล้วมาเป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอยู่” จึงยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ คำแปลและความหมายของคำเหล่านี้ ดูใน อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๔-๓๐/๑๕๓-๑๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระโสดาบันแล้วไม่เป็นพระโสดาบันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นพระสกทาคามี ฯลฯ เคยเป็นพระอนาคามีแล้ว
ไม่เป็นพระอนาคามีมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนเคยเป็นบุคคลแล้วไม่เป็นบุคคลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิเวธานุโยคะ จบ
๒๐. สังฆานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสงฆ์
[๒๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๐๗] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล มีอยู่”
จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้า
ปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลปรากฏได้ เพราะพระพุทธเจ้าปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว บุคคลก็ขาดสูญไป
บุคคลไม่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สังฆานุโยคะ จบ
๒๑. สัจฉิกัตถสภาคานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงสภาวะแห่งสัจฉิกัฏฐะ
[๒๐๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(สังขตะ)ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(อสังขตะ)ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๐๙] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓
อีกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๐] สก. นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วน
ที่ ๓ อีกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๒ ประการนี้
ธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (๒) ธาตุที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นี้คือ ธาตุ ๒ ประการ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “นอกจากสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งและ
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ยังมีส่วนที่ ๓ อีก”
[๒๑๑] สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่ไม่ถูกปัจจัย และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๒] สก. ขันธ์เป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิ
ใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ขันธ์ นิพพานและบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๕๒/๓๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๑๓] สก. รูปเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูป นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มิใช่ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งก็มิใช่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณ นิพพาน และบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๔] สก. บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่
มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเป็นสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะ
แห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นปรากฏ (๒) ความดับ
สลายปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันปรากฏ”๑ บุคคลมีความเกิดขึ้นปรากฏ
มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่มีความแปรผันปรากฏ ดังนั้น บุคคลจึงเป็น
สภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๑๕] สก. บุคคลไม่มีความเกิดขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อ
ดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
แห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ (๒) ความดับ
สลายไม่ปรากฏ (๓) เมื่อดำรงอยู่ ความแปรผันไม่ปรากฏ”๑ บุคคลไม่มีความเกิด
ขึ้นปรากฏ ไม่มีความดับสลายปรากฏ เมื่อดำรงอยู่ ไม่มีความแปรผันปรากฏ
ดังนั้น บุคคลจึงเป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
[๒๑๖] สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน
ปร. มีอยู่ในนิพพาน๒
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้เที่ยงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วมีอยู่ในนิพพานหรือไม่มีอยู่ในนิพพาน
ปร. ไม่มีอยู่ในนิพพาน
สก. บุคคลปรินิพพานแล้วเป็นผู้ขาดสูญใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔
[๒๑๗] สก. บุคคลอาศัยอะไรดำรงอยู่
ปร. บุคคลอาศัยภพดำรงอยู่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๘/๒๐๙
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งบุคคลหลังจากปรินิพานแล้วจะไปอยู่ในที่นั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๑๖/๑๕๗)
๓ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นสัสสตทิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)
๔ เพราะฝ่ายปรวาทีกลัวจะเป็นอุจเฉททิฏฐิจึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๖/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ภพ๑ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๑๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนามีอยู่”
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา
มีอยู่” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๑๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนเมื่อเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึง
รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวย
อทุกขมสุขเวทนา” มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้
โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
๑ ภพ ในที่นี้หมายถึงอุปปัตติภพ (ภพคือที่เกิด ได้แก่ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๑๗/๑๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๐] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า
ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา” เท่านั้น
จัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่เสวยสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา”นั้น
ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ที่เสวยทุกขเวทนาอยู่ ฯลฯ บุคคลผู้ที่เสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้เสวย
อทุกขมสุขเวทนาอยู่แต่ไม่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” นั้นไม่จัดเป็น
บุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๑] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนเมื่อเสวยสุขเวทนาจึงรู้ชัดว่า
เราเสวยสุขเวทนา มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สุขเวทนากับบุคคลผู้เสวยสุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยสุขเวทนา”
เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนากกับบุคคลผู้ที่เสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่รู้ชัดว่า “ข้าพเจ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา” เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลบางคนพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต
ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลบางคนพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
[๒๒๔] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ไม่
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้นไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เท่านั้นจัดเป็นบุคคล บุคคลผู้ที่ไม่พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ ไม่จัดเป็นบุคคลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๕] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลบางคนพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีอยู่” จึงยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ จิต ฯลฯ ธรรมกับบุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลก๑โดยความว่างเปล่า
มีสติทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”

เชิงอรรถ :
๑ โลก ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๖/๑๕๘)
๒ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๑๒๖/๗๗๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๘/๓๒๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๗] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป๑
ปร. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูป
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พิจารณาเห็น(โลก)พร้อมกับรูปหรือเว้นจากรูป
ปร. พิจารณาเห็น(โลก)เว้นจากรูป
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๒๘] สก. บุคคลพิจารณาเห็น(โลก)ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
ปร. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็น
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อยู่ภายใน(รูป)พิจารณาเห็นหรือออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
ปร. ออกไปภายนอก(รูป)แล้วจึงพิจารณาเห็น
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ รูป ในที่นี้หมายถึงรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๒๘/๑๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
[๒๒๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที๑ กาลวาที๒ ภูตวาที๓ ตถวาที๔
อวิตถวาที๕ อนัญญถวาที๖ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง๗
มีอยู่” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๒๓๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ สัจจวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงที่อิงอริยสัจ (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๒ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาอันเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๓ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๔ ตถวาที หมายถึงตรัสตามที่ทรงกระทำมา (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔)
๕ อวิตถวาที หมายถึงตรัสเรื่องที่ไม่คลาดเคลื่อน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๗)
๖ อนัญญถวาที หมายถึงตรัสเรื่องจริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๖-๖๗)
๗ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๓/๒๐๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์
[๒๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๗๐/๒๒
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๕๖/๓๙๑-๓๙๒, สํ.ข. (แปล) ๑๗/๙๐/๑๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อริยสาวกไม่สงสัย ไม่เคลือบ
แคลงใจว่า เมื่อเกิด ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป อริยสาวกนั้นมี
ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย กัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จัดว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วชิราภิกษุณีกล่าวกับมารผู้มีบาปดังนี้ว่า
“มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อใครหนอว่าเป็นสัตว์
ร่างกายที่เป็นกองแห่งสังขารล้วน ๆ นี้
บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้
เหมือนเสียงพูดว่ารถย่อมมีได้
เพราะการคุมกันแห่งส่วนประกอบ
อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป
นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไปเลย” ๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๑๕/๒๔-๒๕
๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๗๑/๒๒๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๖/๕๒๗-๕๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเพียงไรเล่าหนอ จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง’
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘โลกว่าง’
ก็อะไรเล่าชื่อว่าว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
คือ จักษุว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา รูปว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ จักขุวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ
จักขุสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น
สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจากอัตตา
หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา โสตะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ สัททะ
ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ฆานะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา
ฯลฯ คันธะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ชิวหาว่างจากอัตตาหรือ
สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ รสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ กายว่าง
จากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ โผฏฐัพพะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ มนะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ ธรรมารมณ์ว่าง
จากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ มโนวิญญาณว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่อง
ด้วยอัตตา ฯลฯ มโนสัมผัสว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฯลฯ แม้ความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
โลกว่าง”๑ ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่
ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะพึงมี’ ใช่ไหม
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า ‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’
เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเราก็จะ
พึงมี’ ใช่ไหม
‘ใช่ พระพุทธเจ้าข้า’
เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริง โดยความแน่แท้
ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งที่คงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม
(ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ
‘ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว๒ พระพุทธเจ้าข้า”
ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๕/๗๘
๒ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๔๔/๒๖๐-๒๖๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เสนิยะ ศาสดา ๓ จำพวก
เหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก
ศาสดา ๓ จำพวกเหล่าไหน คือ
๑. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
๒. ศาสดาบางคนในโลกนี้บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของมีจริง
โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า โดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
๓. ศาสดาบางคนในโลกนี้ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็นของ
มีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้า
โดยความเป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และบัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัสสตวาทะ (วาทะว่าอัตตา
และโลกเที่ยง)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน แต่ไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความ
เป็นของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า อุจเฉทวาทะ (วาทะว่า
อัตตาและโลกขาดสูญ)
บรรดาศาสดา ๓ จำพวกนั้น ศาสดาที่ไม่บัญญัติอัตตาในปัจจุบันโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน และไม่บัญญัติอัตตาในภพหน้าโดยความเป็น
ของมีจริง โดยความเป็นของยั่งยืน (วาทะ)นี้เรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ ศาสดา ๓
จำพวกนี้แหละมีปรากฏอยู่ในโลก”๑ ดังนี้ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๗] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า “หม้อเนยใส” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใคร ๆ ทำหม้อเนยใส๒มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓๑/๑๘๒
๒ หม้อเนยใส สกวาทีชี้แจงว่า หม้อที่ทำด้วยเนยใสจริง ๆ เช่น หม้อทองคำ นั้นไม่มี แต่นิยมเรียกหม้อใส่
เนยใสว่า หม้อเนยใส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๗/๖๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๑. ปุคคลกถา รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์”
[๒๓๘] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัจจวาที กาลวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที
อนัญญถวาที มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคเคยตรัสว่า หม้อน้ำมัน ฯลฯ หม้อน้ำผึ้ง ฯลฯ
หม้อน้ำอ้อย ฯลฯ หม้อน้ำนม ฯลฯ หม้อน้ำ ฯลฯ ภาชนะน้ำดื่ม ฯลฯ
กระบอกน้ำดื่ม ฯลฯ ขันน้ำดื่ม ฯลฯ นิตยภัต ฯลฯ ธุวยาคู (ยาคูเที่ยง) ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาคูบางอย่างเที่ยง ยั่งยืน คงทน ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์” (ย่อ)
รวมประเด็นสำคัญในปุคคลกถา ๘ ประเด็น คือ

๑. อัฏฐกนิคคหะ ๒. เปยยาละ
๓. สันธาวนิยะ (คติอนุโยคะ) ๔. อุปาทายะ (อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ)
๕. จิตตะ ๖. กัลยาณะ (ปุริสการานุโยคะ)
๗. อิทธิ (อภิญญานุโยคะ) ๘. สุตตาหารณะ

ปุคคลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
๒. ปริหานิกถา
ว่าด้วยความเสื่อม
๑. วาทยุตติปริหานิ
ว่าด้วยหลักการโต้วาทะในเรื่องความเสื่อม
[๒๓๙] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาส๓ทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ๔
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในโอกาสทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่๕
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม๖ของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ นิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสัพพัตถิกวาท และนิกายมหาสังฆิกะ
บางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์มีโอกาสเสื่อมจากอรหัตตผลได้ หมายถึงเสื่อมจากอรหัตตผลลงไปสู่
อริยผลที่ต่ำลงไปตามลำดับ จนถึงโสดาปัตติผล และพระอรหันต์ที่จะเสื่อมได้นั้นจะต้องเป็นพระอรหันต์ใน
กามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๓ โอกาส ในที่นี้หมายถึงภพทุกภพและภูมิธรรมของพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๔ ข้อความที่ ฯลฯ ไว้นี้ต้องเติมให้เต็มตามนัยแห่งนิคคหนัยในปุคคลกถา และในกถาอื่น ๆ ในเล่มนี้ก็ควร
เติมให้เต็มเช่นนี้
๕ เพราะมีความเห็นว่า โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพทั้งปวง จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๓๙/๑๖๑)
๖ สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อม ในที่นี้หมายถึงกามราคะ และพยาบาทซึ่งมีอยู่ในกามภพเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๒๓๙/๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ในโอกาสทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ทุกองค์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเป็นเหตุเสื่อมของพระอรหันต์ทุกองค์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์
๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากความเป็นเศรษฐีใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาเสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. เศรษฐีครองความเป็นเศรษฐีอยู่ได้ก็ด้วยทรัพย์ ๔๐๐,๐๐๐ เมื่อทรัพย์
๑๐๐,๐๐๐ หมดสิ้นไปก็เสื่อมจากสมบัติทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ย่อมเสื่อมจากผลทั้ง ๔ ประการ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
วาทยุตติปริหานิ จบ
๒. อริยปุคคลสังสันทนปริหานิ
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องความเสื่อม
[๒๔๐] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีไม่เสื่อมจากอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีไม่เสื่อมจากสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๑] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
สก. พระอนาคามีเมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
สก. พระสกทาคามีเมื่อเสื่อมจากสกทาคามิผล ตั้งอยู่ในธรรมอะไร
ปร. ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
สก. พระโสดาบันเมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากพระอรหันต์ เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในอนาคามิผล พระอนาคามี
เมื่อเสื่อมจากอนาคามิผล ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล พระสกทาคามี เมื่อเสื่อมจาก
สกทาคามิผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “พระโสดาบัน
เมื่อเสื่อมจากโสดาปัตติผล ตั้งอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน”
สก. พระอรหันต์เมื่อเสื่อมจากอรหัตตผล ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถัดจากโสดาปัตติผล ท่านก็ทำให้แจ้งอรหัตตผลได้เลยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๒] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์ละกิเลสได้มากกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจากอนาคามิ-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
[๒๔๓] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก
อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีก็เสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้”
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครละกิเลสได้มากกว่ากัน
ปร. พระสกทาคามี
สก. หากพระสกทาคามีละกิเลสได้มากกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจาก
โสดาปัตติผลได้”
[๒๔๔] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรคได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจากอรหัตต-
ผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระโสดาบัน ใครเจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ เจริญ
สัมมัปปธาน ฯลฯ เจริญอิทธิบาท ฯลฯ เจริญอินทรีย์ ฯลฯ เจริญพละ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์หรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์
ได้ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผล
ได้”
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์หรือพระอนาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอรหันต์
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอรหันต์ยังเสื่อมจาก
อรหัตตผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้”
[๒๔๕] สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อมจาก
อนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล
ได้”
สก. พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีหรือพระสกทาคามี ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระอนาคามี
สก. หากพระอนาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระอนาคามียังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๔๖] สก. พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีหรือพระโสดาบัน ใครเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ได้
ยิ่งกว่ากัน
ปร. พระสกทาคามี
สก. หากพระสกทาคามีเจริญโพชฌงค์ได้ยิ่งกว่า พระสกทาคามียังเสื่อมจาก
สกทาคามิผลได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล
ได้ ฯลฯ”
[๒๔๗] สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัยแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นนิโรธแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นมรรคแล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์เห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๔๘] สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ
เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๔๙] สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ
เห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันเห็นสัจจะ ๔ แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๐] สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นทุกข์แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นสมุทัย ฯลฯ เห็นนิโรธ ฯลฯ เห็นมรรค ฯลฯ เห็น
สัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเห็นทุกข์ ฯลฯ เห็นสัจจะ ๔ แล้วไม่เสื่อมจาก
สกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
[๒๕๑] สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละโมหะ ฯลฯ ละมานะ ฯลฯ ละทิฏฐิ ฯลฯ
ละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละถีนะ ฯลฯ ละอุทธัจจะ ฯลฯ ละอหิริกะ ฯลฯ ละ
อโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละราคะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโทสะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ฯลฯ ละโมหะที่เป็น
เหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างหยาบ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยังเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างหยาบได้แล้วยัง
เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละราคะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละสีลัพพตปรามาส ฯลฯ ละกามราคะ
อย่างละเอียด ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค] ๒. ปริหานิกถา
สก. พระอรหันต์ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะได้แล้วยังเสื่อมจากอรหัตตผล
ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยัง
เสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๒๕๒] สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละวิจิกิจฉา ฯลฯ ละพยาบาทอย่างละเอียดได้แล้วยังเสื่อม
จากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ละโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้
แล้วยังเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีละสักกายทิฏฐิได้แล้วยังเสื่อมจากอนาคามิผลได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๑๒๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น