Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๕ หน้า ๒๕๓ - ๓๑๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ และความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้น
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของอะไร
ปร. เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของชนเหล่านั้นทั้งหมดมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พวกทารกยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พวกทารกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกบัณเฑาะก์ยังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของพวกบัณเฑาะก์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พวกเทวดายังกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พวกเทวดามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๐๙] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว และการลิ้มใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ถุงน้ำอสุจินั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุจจาระปัสสาวะของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การดื่ม และการ
เคี้ยว ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะซึ่งเป็นที่ตั้งของอุจจาระปัสสาวะนั้นมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การ
ดื่ม การเคี้ยว และการลิ้ม ถุงน้ำอสุจินั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ เป็นผลของการฉัน การดื่ม
การเคี้ยว และการลิ้ม (แต่)ถุงน้ำอสุจินั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อุจจาระและปัสสาวะของพระอรหันต์เป็นผลของการฉัน การดื่ม การเคี้ยว
และการลิ้ม (แต่)ลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะของอุจจาระปัสสาวะนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๐] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงเสพเมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด จะพึงอยู่ครอบ
ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร จะพึงใช้สอยผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ จะพึง
ทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนจะพึงเสพ
เมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์จะพึงเสพ
เมถุนธรรม จะพึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะพึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์จะ
ไม่พึงเสพเมถุนธรรม จะไม่พึงให้เมถุนธรรมเกิด ฯลฯ จะไม่พึงยินดีทองและเงิน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของปุถุชนมีอยู่ และปุถุชนจะไม่พึงเสพ
เมถุนธรรม จะไม่พึงให้เมถุนธรรมเกิด จะไม่พึงอยู่ครอบครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
บุตร จะไม่พึงใช้สอยผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ จะไม่พึงทัดทรงดอกไม้ของหอม
และเครื่องลูบไล้ จะไม่พึงยินดีทองและเงินใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ โมหะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ
มานะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ ทิฏฐิพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ วิจิกิจฉา
พระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ ถีนะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ อุทธัจจะพระอรหันต์
ละได้แล้ว ฯลฯ อหิริกะพระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ อโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้
แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๑] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญมรรคเพื่อละราคะแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ
อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์ เพื่อละราคะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพแล้ว
หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแล้ว ถอดลิ่มสลัก กลบคู ถอนเสาระเนียดได้แล้ว ไม่มี
บานประตู เป็นพระอริยะ ปลดธงคือมานะ วางภาระคือขันธ์ หมดเครื่องผูกพัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
ชนะอย่างวิเศษแล้ว กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคแล้ว รู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควร
เจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิ
และการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๒] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน๑
มีอยู่ น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น๒ ไม่มี
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้ฉลาดในธรรมของตน ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นปัญญาวิมุต เพราะบำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ มิได้
สัมผัสวิโมกข์ ๘ แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๒/๑๘๒)
๒ ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ในที่นี้หมายถึงพระอรหันต์ผู้เป็นอุภโตภาควิมุต เพราะบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานได้
สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติและสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๑๒/๑๘๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการ
ปล่อย น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อย
น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการ
ปล่อย น้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อ
ละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ (แต่)น้ำ
อสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ (แต่)น้ำ
อสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำ
อสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว น้ำอสุจิและการ
ปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละโทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
ได้แล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว น้ำอสุจิและ
การปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ ฯลฯ
เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ
น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๑. ปรูปหารกถา (๑๐)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๓] สก. น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นปุถุชน
ถึงพร้อมด้วยศีล มีสติสัมปชัญญะ จำวัด น้ำอสุจิของภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ไหล
ออกมา น้ำอสุจิแม้ของพวกฤาษีนอกศาสนา ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
ย่อมไม่ไหลออกมา ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ใช่โอกาสที่น้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์จะพึงไหลออกมา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “น้ำอสุจิและการปล่อยน้ำอสุจิ
ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไปให้แก่พระอรหันต์
มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๓๕๓/๒๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ปร. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การที่บุคคลอื่น
นำปัจจัยเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ก็มีได้”
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช
บริขารเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ เพราะเหตุนั้น การที่บุคคลอื่นนำ(ปัจจัย)เข้าไป
ให้แก่พระอรหันต์จึงมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลเหล่าอื่นจะพึงนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ
อรหัตตผลเข้าไปให้แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรูปหารกถา จบ
๒. อัญญาณกถา (๑๑)
ว่าด้วยความไม่รู้
[๓๑๔] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ที่ยังไม่รู้ชื่อและโคตรของบุคคลและสถานที่ เป็นต้น ชื่อว่ายังมีอวิชชาอยู่
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๔/๑๘๒-๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชา-
สังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย
อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และอวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ
อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ
อวิชชานุสัย อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของพระอรหันต์
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ แต่อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย
อวิชชาสังโยชน์ อวิชชานิวรณ์ของปุถุชนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำ จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูด
ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยาของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำจะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
พูดเท็จ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ พระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว
จะพึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ และพระอรหันต์ถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ปุถุชนถูกความไม่รู้ครอบงำแล้ว ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่ปล้นชาวบ้าน ไม่ปล้นชาวนิคมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาท
ที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน
เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้
จึงมี ของปุถุชนนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้
จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของปุถุชนมีอยู่ ความไม่รู้ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[๓๑๕] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้วตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่
ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อ
ละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๑๖] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
ของตนละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละ
ราคะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อ
ละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้น
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละ
ได้แล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโนตตัปปะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความไม่รู้ของ
พระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละ
ราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ความ
ไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเจริญโพชฌงค์เพื่อละอโนตตัปปะ
ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความไม่รู้ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๗] สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่ง
รูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๙๕/๖๐๘
๒ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖/๒๔-๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๒. อัญญาณกถา (๑๑)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
พร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติมรรค
พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔
และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑]
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่
ธรรมจักษุที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิด
ขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความไม่รู้ของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๒๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
ปร. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่
รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง
ไม่รู้ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ ดังนั้น ท่านควรยอมรับว่า “ความไม่รู้
ของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์ไม่รู้ชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ไม่รู้ทางและมิใช่ทาง ไม่รู้
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้ เพราะเหตุนั้น ความไม่รู้ของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่รู้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัญญาณกถา จบ
๓. กังขากถา (๑๒)
ว่าด้วยความสงสัย
[๓๑๘] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๑๘/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ยังมีความสงสัยในชื่อต่าง ๆ จึงชื่อว่ายังมีความสงสัยอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๑๘/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของ
พระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของปุถุชนนั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉา-
สังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ใน
ส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความสงสัย
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ฯลฯ ความ
สงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ความสงสัยใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี”
ของพระอรหันต์นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม
ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ ความสงสัยในพระศาสดา ในพระ ธรรม ฯลฯ
ความสงสัยในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชน
นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๑๙] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญ
มรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ
พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
[๓๒๐] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ ความสงสัย
ของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)ความสงสัยของ
พระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว (แต่)ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ
เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน เป็น
ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่ความ
สงสัยของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)ความสงสัยของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว ความสงสัยของพระ
อรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
ฯลฯ เพื่อละโมหะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น
เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความสงสัย
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ ฯลฯ ทำ
ให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ความสงสัยของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๑] สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ
บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้
ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับการ
บรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้น
แห่งโสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะได้รู้ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัยขึ้นสาดส่องท้องฟ้าให้สว่างไสว ฉะนั้น๑
ความสงสัยเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีในอัตภาพนี้หรือในอัตภาพอื่น
ที่มีในความรู้ของตนหรือในความรู้ของผู้อื่น
บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นทั้งหมดได้๒
ทานที่ให้แล้วแก่บุคคลผู้ข้ามความสงสัย
ผู้หมดความสงสัย
ผู้ปราศจากความสงสัยทั้งที่คนทั้งหลายยังมีความสงสัยอยู่
ย่อมมีผลมาก
การประกาศธรรมในธรรมวินัยนี้เป็นเช่นนี้
ไม่มีพระสาวกรูปไหนจะสงสัยอะไร
ในการประกาศธรรมนั้นเลย
พวกข้าพระองค์ขอนอบน้อมพระชินพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นจอมคน ทรงข้ามโอฆะได้
ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑-๓/๓-๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑-๓/๑๗๒-๑๗๖
๒ ดูเทียบ ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๗/๒๗๕
๓ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๕๔/๒๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๓. กังขากถา (๑๒)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์พึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่ทาง
ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าได้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและ
มิใช่ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ความสงสัยของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ในทางและมิใช่
ทาง ในชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่า ดังนั้น ความสงสัยของพระอรหันต์
จึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์จะพึงสงสัยในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
อรหัตตผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กังขากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ว่าด้วยการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
[๓๒๒] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร.๑ใช่๒
สก. พระอรหันต์ถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา
ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น
ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะ
ผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และเขาถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่น
ชักจูงไปอาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่นอยู่ โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านถูกผู้อื่นนำไป
ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ต้องอาศัยผู้อื่นบอก จึงสามารถรู้ชื่อและโคตรของบุคคล และสถานที่
เป็นต้นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านไม่ถูกผู้อื่นนำไป
ไม่ถูกผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี และเขาไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูก
ผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน(เรื่อง)พระศาสดา ใน(เรื่อง)พระธรรม
ใน(เรื่อง)พระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ทั้งในส่วนเบื้องต้น
และส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี
ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจ-
สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน
พระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี” ของปุถุชนนั้นมีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และการรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๓] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด
รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ต่อไปไม่ได้ ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ
สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์มี”
[๓๒๔] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมี แต่
การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)การรับคำ
แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละราคะได้แล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน
ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์
นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่น
ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว การรับคำแนะนำจาก
ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรม
อื่นละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ
ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์
นั้นไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
[๓๒๕] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ
บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ
บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ
เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้
ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง
ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ
คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับ
การบรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ
ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด
ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง
โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕
๒ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“โธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใคร ๆ
ผู้มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ
ก็จะพึงข้ามโอฆะได้เองด้วยประการฉะนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ
อรหันต์มี”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ผู้อื่นจะพึงแนะนำนามและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อ
ของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง
ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี”
สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของ
หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ
พระอรหันต์จึงมีใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐๗๑/๗๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๙/๑๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรวิตารณกถา จบ
๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ว่าด้วยการเปล่งวาจา
[๓๒๖] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในโอกาสทั้งปวง๓ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ในกาลทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๕ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บุคคลบรรลุโสดาปัตติผล จะมีการเปล่งเสียงว่า ทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๒๖/๑๘๓)
๓ โอกาสทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๔ เพราะหมายเอารูปภพอย่างเดียว จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)
๕เพราะหมายเอากาลที่เข้าสมาบัติอื่นนอกจากการเข้าปฐมฌานในขณะโสดาปัตติมรรค จึงตอบปฏิเสธ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานทั้งปวงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจามีอยู่ในสมาบัติทั้งปวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเคลื่อนไหวกายของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเปล่งวาจาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของผู้เข้าฌานมีอยู่ การเคลื่อนไหวกายไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ (แต่)การเปล่งวาจาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะหมายเอาผู้เข้าโลกิยสมาบัติเท่านั้น จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๖/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๒๗] สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย ย่อมเปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ ย่อมเปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ ย่อมเปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่ามรรค ย่อมเปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่าสมุทัย แต่ไม่เปล่งวาจาว่าสมุทัยใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่านิโรธ แต่ไม่เปล่งวาจาว่านิโรธใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อรู้ว่ามรรค แต่ไม่เปล่งวาจาว่ามรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อรู้ว่าทุกข์ แต่ไม่เปล่งวาจาว่าทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๒๘] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌาน มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ๑มีอะไรเป็นโคจร
ปร. ญาณมีสัจจะเป็นโคจร
สก. โสตะ๒ มีสัจจะเป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตะมีอะไรเป็นโคจร
ปร. โสตะมีเสียงเป็นโคจร
สก. ญาณมีเสียงเป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง
เป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียงเป็นโคจร ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ ญาณมีสัจจะเป็นโคจร โสตะมีเสียง
เป็นโคจรใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ ในที่นี้หมายถึงสัจจญาณ ๔ ซึ่งเป็นโลกุตตระ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๘/๑๘๔)
๒ โสตะ ในที่นี้หมายถึงโสตวิญญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๒๘/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การประชุมแห่งผัสสะ ๒ เวทนา ๒ สัญญา ๒ เจตนา ๒ จิต ๒
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๒๙] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไม่มี ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณ ฯลฯ มีอากาสานัญจายตนะ ฯลฯ มีวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
มีอากิญจัญญายตนะ ฯลฯ มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าสมาบัติที่มีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
อารมณ์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยสมาบัติไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยจตุตถฌานไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
[๓๓๐] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกิยทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
[๓๓๑] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถ-
ฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าโลกุตตรปฐมฌานไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร (เครื่องปรุงแต่ง
วาจา) วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจาร
ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า
ฌานมีอยู่”
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การ
เปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกและวิจารของผู้เข้าปฐมฌานที่มีอาโปกสิณ ฯลฯ มีเตโชกสิณ ฯลฯ
มีวาโยกสิณ ฯลฯ มีนีลกสิณ ฯลฯ มีปีตกสิณ ฯลฯ มีโลหิตกสิณ ฯลฯ
มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์มีอยู่ การเปล่งวาจาของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจาร
ของผู้เข้าปฐมฌานมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้า
ฌานมีอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๒๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้
เข้าปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า
ทุติยฌานมีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้พระภาคตรัสว่าวาจามีวิตกเป็นสมุฏฐาน วิตกและวิจารของผู้เข้า
ปฐมฌานมีอยู่ เพราะเหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวาจามีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาของผู้เข้า
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนะ
ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ มีอยู่ วิตกและวิจารของผู้นั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๓] สก. การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระสูตรที่ว่า “วิตกและวิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น วิตกและวิจารของผู้นั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสูตรที่ว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป” มีอยู่จริง เพราะ
เหตุนั้น การเปล่งวาจาของผู้นั้นจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ลมอัสสาสะปัสสาสะของผู้เข้า
จตุตถฌานดับไป รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนะดับไป อากาสานัญจา-
ยตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะดับไป วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้า
อากิญจัญญายตนะดับไป อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานา-
สัญญายตนะดับไป สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป” ๑ มีอยู่จริง
เพราะเหตุนั้น สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นจึงมีอยู่ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน๒ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่”
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุนั้น
การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๖๓/๒๘๙
๒ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๒/๑๕๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๕. วจีเภทกถา (๑๔)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าวิตกและวิจารเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ฯลฯ
ตรัสว่าปีติเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ตรัสว่าลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นปฏิปักษ์ต่อ
จตุตถฌาน ตรัสว่ารูปสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ตรัสว่า
อากาสานัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ตรัสว่า
วิญญาณัญจายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ตรัสว่า
อากิญจัญญายตนสัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตรัสว่า
สัญญาและเวทนาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาของผู้
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก ได้
ประกาศให้หมื่นจักรวาลทราบด้วยเสียงว่า
“ท่านทั้งหลายจงปรารภความเพียร
จงทำความเพียรอย่าหยุดยั้ง
จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดกองทัพแห่งมัจจุ
เหมือนช้างกำจัดเรือนต้นอ้อ ฉะนั้น
ผู้ที่ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัยนี้
ละการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น การเปล่งวาจาของผู้เข้าฌานจึงมีอยู่
วจีเภทกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๕/๒๕๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๖. ทุกขาหารกถา (๑๕)
๖. ทุกขาหารกถา (๑๕)
ว่าด้วยทุกขาหารญาณ๑
[๓๓๔] สก. การกล่าวว่า “ทุกข์” เป็นองค์ของมรรค นับเนื่องในมรรคใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๔ ฯลฯ
สก. ทุกคนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่๕
สก. พาลปุถุชนที่กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่าเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้ฆ่ามารดา ฯลฯ ฆ่าบิดา ฯลฯ ฆ่าพระอรหันต์ ฯลฯ ทำร้ายพระ
พุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน กล่าวว่า “ทุกข์” ชื่อว่า
เจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ทุกขาหารกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ทุกขาหารญาณ หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นขณะที่กล่าวว่าทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้กล่าวว่า ทุกข์ ทุกข์ คือผู้เจริญมรรคจนรู้แจ้งทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๔ เพราะหมายเอาผู้ไม่รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)
๕ เพราะหมายเอาผู้รู้แจ้งทุกข์ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๔/๑๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งจิต
[๓๓๕] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. กึ่งวันเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกกึ่งวันเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ วันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วันหนึ่งเป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีกวันหนึ่งเป็นขณะดับ (ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ วัน ฯลฯ ๘ วัน ฯลฯ ๑๐ วัน ฯลฯ
๒๐ วัน ฯลฯ ๑ เดือน ฯลฯ ๒ เดือน ฯลฯ ๔ เดือน ฯลฯ ๘ เดือน ฯลฯ
๑๐ เดือน ฯลฯ ๑ ปี ฯลฯ ๒ ปี ฯลฯ ๔ ปี ฯลฯ ๘ ปี ฯลฯ ๑๐ ปี ฯลฯ
๓๐ ปี ฯลฯ ๔๐ ปี ฯลฯ ๕๐ ปี ฯลฯ ๑๐๐ ปี ฯลฯ ๒๐๐ ปี ฯลฯ ๔๐๐
ปี ฯลฯ ๕๐๐ ปี ฯลฯ ๑,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๒,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๔,๐๐๐ ปี ฯลฯ
๘,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๑๖,๐๐๐ ปี ฯลฯ ๑ กัป ฯลฯ ๒ กัป ฯลฯ ๔ กัป ฯลฯ
๘ กัป ฯลฯ ๑๖ กัป ฯลฯ ๓๒ กัป ฯลฯ ๖๔ กัป ฯลฯ ๕๐๐ กัป ฯลฯ
๑,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๒,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๔,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๘,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๑๖,๐๐๐
กัป ฯลฯ ๒๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๔๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๖๐,๐๐๐ กัป ฯลฯ ๘๔,๐๐๐
กัปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๕/๑๘๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตไม่มีวันเสื่อมสลาย ทั้งนี้เพราะเห็นว่า จิตที่อยู่ในสมาบัติกับภวังคจิตเป็นไปสืบต่อ
กันโดยตลอด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๕/๑๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. ๔๒,๐๐๐ กัป เป็นขณะเกิดขึ้น (ของจิต) อีก ๔๒,๐๐๐ กัปเป็นขณะดับ
(ของจิต) ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปมากครั้งในวันหนึ่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นสภาว-
ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้เปลี่ยนแปลงได้เร็ว
จนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่าย ๆ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
สก. สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าจิตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น อีกดวงหนึ่งดับไป
ตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็กและป่าใหญ่ จับกิ่งไม้
ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไปฉะนั้น”๑ มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงได้
เร็วกว่าจิต”
[๓๓๖] สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กาย-
วิญญาณ ... จิตที่เป็นอกุศล ... จิตที่สหรคตด้วยราคะ ... ที่สหรคตด้วยโทสะ ...
ที่สหรคตด้วยโมหะ ... ที่สหรคตด้วยมานะ ... ที่สหรคตด้วยทิฏฐิ ... ที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา ... ที่สหรคตด้วยถีนะ ... ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ... ที่สหรคตด้วยอหิริกะ ...
ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๖๑/๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. บุคคลเห็นรูปทางตาด้วยจิตดวงใด ฟังเสียงทางหูด้วยจิตดวงนั้น ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้
แจ้งธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตดวงใด ย่อมเห็นรูป
ทางตาด้วยจิตดวงนั้น ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรส
ทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นนั่นเองใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอดทั้งวันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลก้าวไปด้วยจิตดวงใด ย่อมถอยกลับด้วยจิตดวงนั้น ถอยกลับด้วย
จิตดวงใด ย่อมก้าวไปด้วยจิตดวงนั้น แลดูด้วยจิตดวงใด ย่อมเหลียวดูด้วยจิตดวงนั้น
เหลียวดูด้วยจิตดวงใด ย่อมแลดูด้วยจิตดวงนั้น คู้เข้าด้วยจิตดวงใด ย่อมเหยียดออก
ด้วยจิตดวงนั้น เหยียดออกด้วยจิตดวงใด ย่อมคู้เข้าด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๓๗] สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่
ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่ามนุษย์มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพมีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
สก. เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ... ชั้นยามา ... ชั้นดุสิต
... ชั้นนิมมานรดี ... ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ชั้นพรหมปาริสัชชา ... ชั้นพรหม
ปุโรหิตา ... ชั้นมหาพรหมา ... ชั้นปริตตาภา ... ชั้นอัปปมาณาภา ... ชั้นอาภัสสรา
... ชั้นปริตตสุภา ... ชั้นอัปปมาณสุภา ... ชั้นสุภกิณหา ... ชั้นเวหัปผลา ...
ชั้นอวิหา ... ชั้นอตัปปา ... ชั้นสุทัสสา ... ชั้นสุทัสสี ฯลฯ ชั้นอกนิฏฐา มี
จิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จนตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพมีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป
ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่ามนุษย์มีประมาณอายุ ๑๐๐ ปี ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐๐
ปีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐
กัป ก็มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชมีประมาณอายุ ๕๐๐ ปี ก็มีจิตดวงเดียวตั้ง
อยู่ได้ตลอด ๕๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ ปี
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นยามา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นดุสิต ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นนิมมานรดี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐
ปี ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นพรหมปาริสัชชา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑ ใน ๓ ของกัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้น
พรหมปุโรหิตา ... ตั้งอยู่ได้ตลอดกึ่งกัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นมหาพรหมา ... ตั้งอยู่
ได้ตลอด ๑ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ กัป ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๗. จิตตัฏฐิติกถา (๑๖)
เหล่าเทพชั้นอัปปมาณาภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอาภัสสรา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นปริตตสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอัปปมาณสุภา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๒ กัป ฯลฯ เหล่า
เทพชั้นสุภกิณหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๔ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นเวหัปผลา ...
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอวิหา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ กัป
ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอตัปปา ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสา
... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นสุทัสสี ... ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘,๐๐๐
กัป ฯลฯ เหล่าเทพชั้นอกนิฏฐามีประมาณอายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ก็มีจิตดวงเดียว
ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตเกิดดับเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพจุติปฏิสนธิเป็นระยะ ๆ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียวตั้งอยู่ได้จน
ตลอดอายุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เหล่าเทพผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ปฏิสนธิด้วยจิตดวงใด ย่อม
จุติด้วยจิตดวงนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
จิตตัฏฐิติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ว่าด้วยเถ้ารึง
[๓๓๘] สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สุขเวทนา สุขทางกาย สุขทางใจ ทิพยสุข สุขของมนุษย์ สุขในลาภ
สุขในสักการะ สุขในการไป สุขในการนอน สุขในความมีอำนาจ สุขในความเป็นใหญ่
สุขของคฤหัสถ์ สุขของสมณะ สุขมีอาสวะ สุขไม่มีอาสวะ สุขมีอุปธิ สุขไม่มีอุปธิ
สุขเจืออามิส สุขไม่เจืออามิส สุขมีปีติ สุขไม่มีปีติ สุขในฌาน สุขอันเกิดจากวิมุตติ
สุขในกาม สุขในเนกขัมมะ สุขอันเกิดจากวิเวก สุขอันเกิดจากความสงบ สุขอันเกิด
จากความตรัสรู้ มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสุขเวทนา ฯลฯ สุขอันเกิดจากความตรัสรู้มีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารทั้งปวงเป็นทุกขเวทนา ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายโคกุลิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สังขารทั้งปวงเร่าร้อนดุจถ่านเพลิง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๓๘/๑๘๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของ
ร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นของร้อน รูป
เป็นของร้อน จักขุวิญญาณเป็นของร้อน จักขุสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวย
อารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟ
คือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ
เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส
โสตะ (หู) เป็นของร้อน เสียงเป็นของร้อน ฯลฯ ฆานะ (จมูก) เป็นของร้อน
กลิ่นเป็นของร้อน ฯลฯ ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสเป็นของร้อน ฯลฯ กายเป็นของ
ร้อน โผฏฐัพพะเป็นของร้อน ฯลฯ มโน(ใจ)เป็นของร้อน ธรรมารมณ์เป็นของร้อน
มโนวิญญาณเป็นของร้อน มโนสัมผัสเป็นของร้อน แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
หรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน
ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือ
โมหะ ร้อนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะมรณะ เพราะโสกะ เพราะปริเทวะ เพราะทุกข์
เพราะโทมนัส เพราะอุปายาส”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕
ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (๒) เสียงที่พึงรู้แจ้ง
ทางหู ฯลฯ (๓) กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (๔) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕๔/๖๓-๖๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๘/๒๗-๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
(๕) โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกายที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก
ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ ประการนี้”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา
เห็นนรก๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ขุมแล้ว ในนรก ๖ ขุมนั้น สัตว์ย่อมเห็นรูป
อย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่า
ปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่ไม่น่า
พอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
ไม่น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๖๖/๑๖๗, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๙/๓๐๙
๒ นรก หมายถึงอเวจีมหานรก (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ดีแล้วที่เธอทั้งหลายได้ขณะเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ เรา
ได้เห็นสวรรค์๒ ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ ชั้นแล้ว ในสวรรค์ ๖ ชั้นนั้น บุคคลย่อมเห็น
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทางตาได้ แต่เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่
น่าปรารถนา เห็นได้เฉพาะรูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่ เห็นได้เฉพาะรูปที่
น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ
ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งทางหูได้ ฯลฯ
ดมกลิ่นอย่างใดอย่างหนึ่งทางจมูกได้ ฯลฯ
ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งทางลิ้นได้ ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งทางกายได้ ฯลฯ
รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทางใจได้ แต่รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าปรารถนา ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่
น่าใคร่ ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ รู้แจ้งได้เฉพาะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ ไม่รู้
แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๖๙-๑๗๐
๒ สวรรค์ หมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๕/๕๒)
๓ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑๓๕/๑๗๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้งปวงไม่
่เที่ยงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นทุกข์ สังขารทั้ง
ปวงไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่
จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่เป็นที่พึงพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค] ๘. กุกกุฬกถา (๑๗)
สก. ศีล ฯลฯ อุโบสถ ฯลฯ ภาวนา ฯลฯ พรหมจรรย์ มีผลน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพรหมจรรย์มีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มี
สุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็น
ดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
สก. สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“วิเวก๑เป็นความสุขของผู้สันโดษ๒
ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว ผู้เห็นอยู่
ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
ความเป็นผู้ปราศจากราคะคือความล่วงกามทั้งหลายได้ เป็นสุขในโลก
ความกำจัดอัสมิมานะได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง๓
สุขยิ่งกว่าสุขนั้นเราได้ถึงแล้ว นั้นเป็นสุขอย่างยิ่ง
วิชชา ๓ เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว
นั่นแลเป็นสุขอย่างยิ่ง”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สังขารทั้งปวงเป็นดุจเถ้ารึงโดยไม่จำกัด”
กุกกุฬกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก หมายถึงนิพพานที่สงัดจากอุปธิกิเลส (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๔)
๒ ผู้สันโดษ หมายถึงผู้สันโดษในมัคคญาณ ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคค-
ญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๑๑/๑๐๕)
๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๕/๘-๙, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๑๑/๑๙๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๑๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น