Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๗ หน้า ๓๗๙ - ๔๔๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๒ อย่างคือ มังสโสตะและทิพยโสตะ”
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากโสตะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มี ๒ อย่าง คือ มังสโสตะและ
ทิพยโสตะ” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โสตะมีอย่างเดียวเท่านั้น”
ทิพพโสตกถา จบ
๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
ว่าด้วยยถากัมมูปคตญาณ
[๓๗๗] สก. ยถากัมมูปคตญาณ๑ เป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. บุคคลมนสิการถึงสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมและเห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการถึงสัตว์ที่เป็นไปตามกรรมและเห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ยถากัมมูปคตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงสัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๗/๑๙๘)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมนสิการว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้หนอ มนสิการว่า
‘ประกอบกายทุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบวจีทุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบ
มโนทุจริต’ มนสิการว่า ‘เป็นผู้กล่าวร้ายพระอริยะ’ มนสิการว่า ‘มีความเห็นผิด’
มนสิการว่า ‘ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด’ และมนสิการว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”
บุคคลมนสิการว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ มนสิการว่า
‘ประกอบกายสุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบวจีสุจริต’ มนสิการว่า ‘ประกอบ
มโนสุจริต’ มนสิการว่า ‘ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ’ มนสิการว่า ‘มีความเห็นชอบ’
มนสิการว่า ‘ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ’ และมนสิการว่า ‘หลังจาก
ตายแล้ว สัตว์เหล่านั้นก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เห็นรูปด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลมนสิการว่า “หลังจากตายแล้วสัตว์เหล่านั้นก็ไปบังเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์” เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๗๘] สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา (๒๙)
สก. บางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ได้ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้ว่า
“สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบางคนไม่มีทิพยจักษุ ไม่ได้ ไม่บรรลุ ไม่ทำให้แจ้งทิพยจักษุ แต่รู้
ว่า “สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมมีอยู่” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณ
เป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
สก. ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรรู้ยถากัมมูปคตญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระสารีบุตรมีทิพยจักษุใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาไว้เพื่อปุพเพนิวาสญาณ๑
ทิพพจักขุญาณ๒ เจโตปริยญาณ๓ อิทธิวิธญาณ๔
ทิพพโสตญาณ๕ และจุตูปปาตญาณ”๖
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ยถากัมมูปคตญาณเป็นทิพยจักษุ”
ยถากัมมูปคตญาณกถา จบ
๑๐. สังวรกถา (๓๐)
ว่าด้วยความสำรวม
[๓๗๙] สก. ความสำรวม๗มีอยู่ในหมู่เทวดา๘ ใช่ไหม
ปร.๙ ใช่
สก. ความไม่สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปุพเพนิวาสญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนทั้งของตนและของผู้อื่นได้ (ขุ.เถร.อ.
๒/๙๙๖/๔๔๓)
๒-๖ ทิพพจักขุญาณ หมายถึงญาณให้มีตาทิพย์
เจโตปริยญาณ หมายถึงปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
อิทธิวิธญาณ หมายถึงญาณที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
ทิพพโสตญาณ หมายถึงญาณพิเศษที่ทำให้มีหูทิพย์
จุตูปปาตญาณ หมายถึงปรีชาหยั่งรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย (ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล)
๒๖/๙๙๖/๓๙๖,ขุ.เถร.อ. ๒/๙๙๖/๕๐๓)
๗ ความสำรวม หมายถึงเจตนาระวังมิให้ล่วงละเมิดศีล ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น แต่ฝ่ายปรวาทีเข้าใจผิดว่า
การไม่ล่วงละเมิด ศีล ๕ เป็นสังวร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙)
๘ หมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๙/๑๙๙, มูลฏีกา ๓/๘๔, อนุฏีกา
๓/๑๒๙-๑๓๐)
๙ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ และนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๗๓/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ใน
หมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้
หากความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล และความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความ
ไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา
แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล ความไม่สำรวมนั้นมี
อยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล
ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ความสำรวมจาก
ความไม่สำรวมเป็นศีล ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน
ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมเป็นศีล ความ
สำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ไม่ยอมรับว่า ความสำรวมจากความไม่สำรวมใดเป็นศีล
ความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ในหมู่เทวดา” คำนั้นของท่านจึงผิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา ความไม่สำรวมก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่เทวดา แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมมีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่ความไม่สำรวมไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๘๐] สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทมีอยู่
ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทไม่มี
ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่
มนุษย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา การฆ่าสัตว์ก็มีอยู่ในหมู่
เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๐. สังวรกถา (๓๐)
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(และ)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ
แห่งความประมาทก็มีอยู่ในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่เทวดา แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่
เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่การฆ่าสัตว์ไม่มีในหมู่
มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่เทวดา(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทไม่มีในหมู่เทวดานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การงดเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาทมีอยู่ในหมู่มนุษย์(แต่)การเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาทไม่มีในหมู่มนุษย์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ความสำรวมไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ปร. เทวดาทั้งปวงเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ความสำรวมจึงมีอยู่ในหมู่เทวดา
สังวรกถา จบ
๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
ว่าด้วยอสัญญสัตว์
[๓๘๑] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็น
สัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้
อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็น
สัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการ
ได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า อสัญญสัตว์มีสัญญาได้เฉพาะในขณะจุติและปฏิสนธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่
อสัญญสัตว์”
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑๒ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากภพแห่งอสัญญสัตว์ เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส
... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์”
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ หมายถึงกามภพ รูปภพ (เว้นอสัญญสัตว์) (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)
๒ อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ หมายถึงอสัญญสัตว์ (ขุ.ป.อ. ๑/๕/๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
[๓๘๒] สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา
เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่มี
สัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
สัญญา เป็นคติที่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่มีสัญญา เป็นสงสารที่มีสัญญา เป็น
กำเนิดที่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๕
เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นเป็นภพที่มี
ขันธ์ ๕ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้ ด้วย
สัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ อสัญญสัตว์ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่ไม่
มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา
เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่ไม่มีสัญญา ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มี
ขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ และโลกของมนุษย์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ฯลฯ
เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ แต่อสัญญสัตว์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วย
สัญญาได้ ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่มนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ทำกิจที่ควรทำด้วยสัญญาได้
ด้วยสัญญานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๑. อสัญญกถา (๓๑)
[๓๘๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มีเทพชื่ออสัญญ-
สัตว์ จุติ(เคลื่อน)จากชั้นนั้น เพราะเกิดสัญญาขึ้น”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สัญญาจึงมีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์
สก. สัญญามีอยู่ในหมู่อสัญญสัตว์ใช่ไหม
ปร. บางคราวมี บางคราวไม่มี
สก. อสัญญสัตว์บางคราวเป็นสัญญสัตว์ บางคราวเป็นอสัญญสัตว์ ภพแห่ง
อสัญญสัตว์บางคราวเป็นภพที่มีสัญญา บางคราวเป็นภพที่ไม่มีสัญญา บางคราว
เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ บางคราวเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บางคราวสัญญามีในหมู่อสัญญสัตว์ บางคราวไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คราวไหนมี คราวไหนไม่มี
ปร. ในจุติกาล๒ ในปฏิสนธิกาลมี๓ แต่ในฐิติกาล(ปวัตติกาล)ไม่มี๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๔๖/๓๓
๒ จุติกาล หมายถึงเวลาหลังจากตายแล้วจิตเคลื่อนไปสู่อีกภพหนึ่ง
๓ ปฏิสนธิกาล หมายถึงเวลาเกิด
๔ ฐิติกาล หมายถึงเวลาที่จิตดำรงอยู่ระหว่างปฏิสนธิกาลกับจุติกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. อสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นสัญญสัตว์ ในฐิติกาล
เป็นอสัญญสัตว์ ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีสัญญา ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่ไม่มีสัญญา ในจุติกาล ในปฏิสนธิกาล เป็นภพที่มีขันธ์ ๕ ในฐิติกาล เป็นภพ
ที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อสัญญกถา จบ
๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๓๘๔] สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. หากเป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่
ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภพนั้นเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า สัญญา
มีอยู่”
[๓๘๕] สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้น เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มี
สัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา
เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา
เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และ
ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ...
เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการ
ได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่
มีสัญญาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่”
และในเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นก็เป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้
อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง
อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่าสัญญามีอยู่”
[๓๘๖] สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน
อากาสานัญจายนตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔
แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔
ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่
มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ควรยอม
รับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่”
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน
เนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีและไม่มี” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
สก. อากาสานัญจายตนภพ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตน-
ภพ มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔
ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญา
ก็ใช่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า
“มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อทุกขมสุขเวทนามีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า
มีเวทนาก็ใช่ ไม่มีเวทนาก็ใช่” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ
ตติยวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลกถา ๒. อริยันติกถา
๓. วิมุตติกถา ๔. วิมุจจมานกถา
๕. อัฏฐมกกถา ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา
๗. ทิพพจักขุกถา ๘. ทิพพโสตกถา
๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา ๑๐. สังวรกถา
๑๑. อสัญญกถา ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
๔. จตุตถวรรค
๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
ว่าด้วยคฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์
[๓๘๗] สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. คิหิสังโยชน์๓ ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากคิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์
เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากคิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า คฤหัสถ์ก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ที่เห็นอย่างนี้เพราะกำหนดความเป็นคฤหัสถ์
ด้วยเพศคฤหัสถ์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่กำหนดความเป็นคฤหัสถ์ด้วยคิหิสังโยชน์ มิได้ถือเอา
เพศคฤหัสถ์เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ คฤหัสถ์ผู้สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ ต้องละคิหิสังโยชน์ได้แล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๘๗/๒๐๑)
๓ คิหิสังโยชน์ หมายถึงเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ ซึ่งมีทรัพย์สมบัติ บุตร ข้าทาส บริวาร และกามคุณ
๕ ประการ อันเป็นเหตุให้ครองชีวิตแบบคฤหัสถ์เรื่อยไป (ม.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๓๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันมี
อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากคฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน
ปัจจุบันไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าแต่
ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคนผู้ยังละคิหิสังโยชน์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ’ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ คฤหัสถ์ผู้ยังละคิหิ-
สังโยชน์ยังไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ไม่มีเลย” ๑ มีอยู่จริง มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม พึงให้เมถุนธรรมเกิดขึ้น พึงอยู่ครอบ
ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ พึงทัดทรง
ดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน พึงรับแพะ แกะ ไก่ สุกร
ช้าง วัว ม้า ลา นกกระทา นกคุ่ม หางนกยูง พึงทรงเครื่องประดับมวยผมที่มี
รัดเกล้าสีเหลือง ทรงผ้าขาวมีชายยาว เป็นผู้ครองเรือนจนตลอดชีวิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๖/๒๑๗-๒๑๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศคฤหัสถ์
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศ
คฤหัสถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้”
คิหิสสอรหาติกถา จบ
๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ว่าด้วยการปฏิสนธิ
[๓๘๘] สก. บุคคลเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๓ ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมุ่งหมายเอาผู้ไปเกิดในชั้นสุทธาวาส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า จิตขณะปฏิสนธิของผู้จะบรรลุโสดาบันยังเป็นโลกิยจิตอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๘/๒๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระโสดาบันพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระสกทาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเป็นพระอนาคามีพร้อมกับการปฏิสนธิไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[๓๘๙] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสารีบุตรเถระเป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ เป็นพระ
อรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. พระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสารีบุตรเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. พระมหาโมคคัลลานเถระ ฯลฯ พระมหากัสสปเถระ ฯลฯ พระมหา-
กัจจายนเถระ ฯลฯ พระมหาโกฏฐิกเถระ ฯลฯ พระมหาปันถกเถระ ไม่ได้เป็น
พระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระมหาปันถกเถระไม่ได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
[๓๙๐] สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำให้แจ้งอรหัตตผลได้ด้วยปฏิสนธิจิตที่เป็นโลกิยะ ยังมีอาสวะ ฯลฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง
ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
สก. หากปฏิสนธิจิตไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส
ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้”
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลละราคะ โทสะ โมหะ อโนตตัปปะได้ด้วยปฏิสนธิจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิสนธิจิตเป็นมรรค ฯลฯ เป็นสติปัฏฐาน ... เป็นสัมมัปปธาน ...
เป็นอิทธิบาท ... เป็นอินทรีย์ ... เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วย
ปฏิสนธิจิตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการปฏิสนธิได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จุติจิตเป็นมรรคจิต ปฏิสนธิจิตเป็นผลจิตได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อุปปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
๓. อนาสวกถา (๓๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
[๓๙๑] สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ...
โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ... สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ...
อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ... อรหัตตมรรค ... อรหัตตผล ... สติปัฏฐาน ...
สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักษุของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักษุของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค
... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กาย ของพระอรหันต์ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ทุกสิ่งที่เนื่องกับพระอรหันต์ล้วนปราศจากอาสวกิเลส (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๑/๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของพระอรหันต์เป็นมรรค ... ผล ... นิพพาน ... โสดาปัตติมรรค
... โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกยกย่องและถูกข่ม ถูกตัดและทำลาย เป็น
ของทั่วไปแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะยังถูกยกย่องและถูกข่ม ยังถูก
ตัดและทำลาย เป็นของทั่วแก่ฝูงกา แร้ง และเหยี่ยวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในกายของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ยาพิษ ศัสตรา ไฟ พึงกล้ำกรายเข้าไปในสภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายของพระอรหันต์ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อคา เครื่องจอง
จำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน เครื่องจองจำคือนิคม
เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจองจำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ยังถูกจองจำด้วยเครื่องจองจำคือ
ขื่อคา เครื่องจองจำคือเชือก เครื่องจองจำคือโซ่ตรวน เครื่องจองจำคือบ้าน
เครื่องจองจำคือนิคม เครื่องจองจำคือนคร เครื่องจองจำคือชนบท ด้วยการจอง
จำมีการผูกที่คอเป็นที่ ๕ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๒] สก. หากพระอรหันต์ให้จีวรแก่ปุถุชน จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ
... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากพระอรหันต์ให้บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
แก่ปุถุชน คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มรรคไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผล ... สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ
... โพชฌงค์ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายจีวรแก่พระอรหันต์ จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จีวรนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๓. อนาสวกถา (๓๕)
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. หากปุถุชนถวายบิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่
พระอรหันต์ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่เป็นอารมณ์ของอาสวะกับจีวรที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นอัน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้วไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะเป็นอารมณ์ของอาสวะแล้ว
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ”
อนาสวกถา จบ
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์
[๓๙๓] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์๑ด้วยผล ๔ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔
ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔
ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ บริบูรณ์ โดยทั่วไปหมายถึงความบริบูรณ์ ๒ อย่างคือ (๑) ความบริบูรณ์ที่เกิดแก่จิตในขณะหนึ่ง ๆ
(สมงฺคีภาวสมนฺนาคม) เช่น ในขณะที่มัคคจิตหรือผลจิตเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมัคคจิตหรือผลจิต
(๒) ความบริบูรณ์ที่เกิดจากการได้รับภูมิธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌานหรืออรูปฌาน (ปฏิลาภ-
สมนฺนาคม) ความบริบูรณ์นี้จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ภูมิธรรมนั้น ๆ ยังไม่เสื่อม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า นอกจากความบริบูรณ์ ๒ อย่างดังกล่าวแล้ว ยังมีความบริบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า
ปัตติธรรม หมายถึงคุณวิเศษใด ๆ ที่บรรลุแล้ว คุณวิเศษนั้น ๆ จะคงมีอยู่ตลอดไป แม้จะบรรลุคุณธรรม
ที่สูงขึ้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ไม่ยอมรับปัตติธรรมเช่นนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี
สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๔] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์กับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอรหันต์กับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์กับพระอนาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีกับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๕] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล”
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด
พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ
ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี
สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล”
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ
พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล”
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
นั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ
ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี
สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๓๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒”
สก. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๔ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น จึงชื่อ
ว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอนาคามีได้มรรค ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น จึง
ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามีได้มรรค ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น
จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมันนาคตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา (๓๗)
๕. อุเปกขาสมันนาคตกถา (๓๗)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา
[๓๙๗] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่ ๒
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๖ ฯลฯ เวทนา ๖ ฯลฯ สัญญา ๖
ปัญญา ๖ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์เห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรส
ทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย รู้ธรรมารมณ์ทางใจ ฯลฯ เมื่อรู้ธรรมารมณ์ทางใจ
จึงเห็นรูปทางตา ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ มั่นคงด้วยอุเบกขา ๖ เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่
ระคนกัน อุเบกขา ๖ ปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ไม่สามารถให้อุเบกขา ๖ ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน (อภิ.ปญฺจ.อ.
๓๙๗/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ปร. พระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีอุเบกขา ๖ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระ
อรหันต์ บริบูรณ์ด้วยอุเบกขา ๖”
อุเปกขาสมันนาคตกถา จบ
๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ว่าด้วยชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
[๓๙๘] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไป หายไป ระงับไปแล้ว ไม่จัดว่าเป็น
พุทธะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จะเรียกว่าพุทธะได้ก็เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และ มีปรากฏตลอดไปเช่นเดียวกับ
สี เช่น จะเรียกว่าคนขาว ก็เพราะมีผิวขาว จะเรียกว่าคนดำ ก็เพราะมีผิวดำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็น
เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
ตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต
นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่ทำกิจที่ควร
ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจ
ที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่กำหนดรู้ทุกข์
ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจที่
ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด
รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
[๓๙๙] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระพุทธะ บริบูรณ์ มั่นคง ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่าง
เนือง ๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างปรากฏใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้”
สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชื่อว่าโพธิ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โพธิยาพุทโธติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
๗. ลักขณกถา (๓๙)
ว่าด้วยลักษณะ
[๔๐๐] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะบางส่วน เป็นพระโพธิสัตว์บางส่วนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓ ส่วน เป็นพระโพธิสัตว์ ๓ ส่วนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะครึ่งหนึ่ง เป็นพระโพธิสัตว์ครึ่งหนึ่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็
เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะต้องบริบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ทุกภพทุกชาติ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๐/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
สก. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะ พระเจ้าจักรพรรดิก็
เป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรมของ
พระโพธิสัตว์เป็นเช่นไร บุรพประโยค บุรพจริยา การบอกกล่าวธรรม การแสดงธรรม
ของพระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นเช่นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๑] สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง
ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติ หมู่เทวดารับก่อน หมู่มนุษย์รับภายหลัง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววาง
ไว้ตรงพระพักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอ
พระทัยเถิด พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันใด เมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิ ประสูติ เทพบุตร ๔ องค์ รับพระเจ้าจักรพรรดินั้นแล้ววางไว้ตรงพระ
พักตร์ของพระมารดา แล้วทูลว่า “ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงพอพระทัยเถิด
พระโอรสผู้มีศักดิ์ใหญ่ของพระองค์ประสูติแล้ว” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อน
ไหลลงจากอากาศ ชนทั้งหลายสรงพระโพธิสัตว์และพระมารดา ฉันใด เมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิประสูติ ธารน้ำทั้ง ๒ คือ ธารน้ำเย็นและธารน้ำร้อนไหลลงจากอากาศ
ชนทั้งหลายสรงพระเจ้าจักรพรรดิและพระมารดา ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๗. ลักขณกถา (๓๙)
สก. พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสอง
อันราบเรียบ บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป
ทรงแลดูทิศทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันใด พระเจ้า
จักรพรรดิพอประสูติแล้วเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันราบเรียบ
บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ดำเนินไปได้ ๗ ก้าว มีฉัตรขาวกั้นตามไป ทรงแลดูทิศ
ทั้งปวง และเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นใหญ่ในโลก เราเป็น
ผู้ประเสริฐในโลก นี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติย่อมปรากฏแสงสว่างรัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหว
อย่างสะท้านสะเทือน ฉันใด เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิประสูติก็ย่อมปรากฏแสงสว่าง
รัศมีอันเจิดจ้า แผ่นดินไหวอย่างสะท้านสะเทือน ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระกายตามปกติของพระโพธิสัตว์ ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ
ฉันใด พระกายตามปกติของพระเจ้าจักรพรรดิก็ฉายพระรัศมีออกไปวาหนึ่งโดยรอบ
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงมหาสุบิน
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะเป็นพระโพธิสัตว์”
ใช่ไหม
สก. ใช่๑

เชิงอรรถ :
๑ เพราะมีความเห็นว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ เช่น พระเจ้าจักพรรดิ มิได้เป็นพระโพธิสัตว์ก็มี
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๒/๒๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษสมบูรณ์
ด้วยลักษณะ ๓๒ ประการ มีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์
โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗
ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว
(๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส
มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต
๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีกิเลสในโลก”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ผู้บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึงเป็นพระโพธิสัตว์ได้
ลักขณกถา จบ
๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม
[๔๐๓] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม๒ ประพฤติพรหมจรรย์๒ แล้วใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๕๙-๑๖๐
๒ คำว่า นิยามก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค ดังนั้น คำว่า หยั่งลงสู่นิยาม หมายถึง
บรรลุอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)
๔ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์โชติปาละเคยได้อริยมรรคมาแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภูมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภู ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ
ผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟัง”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระ
ผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผลเพียง ๓ เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๔๐๓/๒๐๖)
๒ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
โชติปาละ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ.๔๐๓/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
[๔๐๔] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา(การทำความเพียรที่คนทั่วไปทำได้ยาก)
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ(โสดาปัตติมรรค)จึงทำทุกกรกิริยาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นและนับถือศาสดาอื่น๑] ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะจะพึงนับถือศาสดาอื่นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) ท่านพระอานนท์จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ศาสดาอื่น ในที่นี้หมายถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๔/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) จิตตคหบดี ท่านหัตถกะ
ชาวเมืองอาฬวี จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มี
พระภาคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม
ว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสาวกล่วงไปชาติหนึ่งแล้วกลับไม่เป็นสาวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์
แล้วในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ในอนาคต” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑ รู้ธรรมทั้งปวง๒
มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๑ ละธรรมทั้งปวง๑ ได้สิ้นเชิง
หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง
แล้วจะพึงอ้างใครเล่า

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
เราไม่มีอาจารย์๑ เราไม่มีผู้เสมอเหมือน
เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก
เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเองเพียงผู้เดียว เป็นผู้เยือกเย็น
ดับกิเลสได้แล้วในโลก
เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร
ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน’
อุปกาชีวกกราบทูลว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา
อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ”๒
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ
พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มี
พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’

เชิงอรรถ :
๑ อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖)
๒ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๕/๓๑๑, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๔๑/๔๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แส่งสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ เราละได้แล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรให้เจริญ’
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า
‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๖๖-๕๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม
ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
นิยาโมกกันติกถา จบ
๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
ว่าด้วยผู้บริบูรณ์๑อีกเรื่องหนึ่ง
[๔๐๖] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๓
ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ
เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ
วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔ ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ
เวทนา ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ หน้า ๔๑๐ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อรหัตตมัคคัฏฐบุคคล (บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค) ยังมีโอกาสที่จะทำให้ผลเบื้องต่ำ ๓
คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล เกิดขึ้นได้อีก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๖/๒๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ
เวทนา ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-
ปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธัง-
โสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ
โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุ-
ปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๗] สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระ
โสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลกับพระอนาคามีเป็นคนคนเดียวกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผลกับพระสกทาคามีเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติ-
ผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผลกับพระโสดาบันเป็นคนคน
เดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๘] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดา-
ปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ยังเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุ
ให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
สกทาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค] ๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
อนาคามิผล”
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลนั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว
ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
กามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๐๙] สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
โสดาปัตติผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว
ท่านไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยโสดาปัตติผล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๔๔๑ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น