Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๑๑ หน้า ๖๓๑ - ๖๙๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์ มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่แตก
ดับเป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ไม่
เสวยอารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการเจริญมรรคได้”
[๕๗๗] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่
จริงใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
สก. หากพระสูตรว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
[๕๗๘] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภสัญญา
ฯลฯ ปรารภเจตนา ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ
ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ มีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ มีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (๙๗)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๗๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ มีการ
เจริญมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้ไม่รวบถือ๑ ไม่แยกถือ๒ ฯลฯ ฟังเสียงทางหูแล้ว ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ”๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ จึงมีการเจริญมรรคได้
ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) หมายถึงมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียง
ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ.
๑๓๕๒/๔๕๖-๗)
๒ แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) หมายถึงมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่า
สวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้มหัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก
ก็เกิดอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยก็เกิดอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๓๕๒/๔๕๖-๗)
๓ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๔๙/๓๒๘, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
ว่าด้วยวิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
[๕๘๐] สก. วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่แตกดับ
เป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ไม่เสวย
อารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
วิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่มีความผูกใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕
เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
[๕๘๑] สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๐/๒๕๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า วิญญาณ ๕ เป็นวิบากเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๐/๒๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มี
อยู่จริงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
[๕๘๒] สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (๙๘)
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ
ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภความว่าง
เกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภความ
ว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภอดีตและ
อนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภอดีตและ
อนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ
ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ
ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ
ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น วิญญาณ ๕ จึงเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา จบ
๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
ว่าด้วยวิญญาณ ๕ มีความผูกใจ
[๕๘๔] สก. วิญญาณ ๕ มีความผูกใจใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ”
สก. วิญญาณ ๕ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์ มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่
แตกดับเป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน
ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑,๒ ข้อ ๕๗๙ หน้า ๖๓๓ ในเล่มนี้
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๔/๒๕๒)
๓เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น สามารถพิจารณาแยกแยะสิ่งดี สิ่งไม่ดีได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๔/๒๕๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
สก. หากวิญญาณ ๕ ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ”
[๕๘๕] สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี ฯลฯ
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น” มีอยู่
จริง ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๕. สาโภคาติกถา (๙๙)
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้น
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณมีความผูกใจ มโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภ
โผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณมีความผูกใจ จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภ
โผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
[๕๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ ๕ มีความผูกใจ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกายแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ” มีอยู่จริง มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น วิญญาณ ๕ จึงมีความผูกใจ ฯลฯ
สาโภคาติกถา จบ
๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
ว่าด้วยศีล ๒ อย่าง
[๕๘๗] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล ๒ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ เวทนา ๒
สัญญา ๒ เจตนา ๒ จิต ๒ สัทธา ๒ สติ ๒ สมาธิ ๒ ปัญญา ๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยโลกิยศีลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๗/๒๕๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บรรลุมรรค โลกิยศีลสามารถเกิดร่วมกับโลกุตตรศีลได้ ซึ่งต่างกับความ
เห็นของสกวาทีที่เห็นว่า โลกุตตรศีลเท่านั้นเกิดขึ้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๘๗/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะที่เป็นโลกิยะ
เวทนาที่เป็นโลกิยะ สัญญาที่เป็นโลกิยะ เจตนาที่เป็นโลกิยะ จิตที่เป็นโลกิยะ
สัทธาที่เป็นโลกิยะ วิริยะที่เป็นโลกิยะ สติที่เป็นโลกิยะ สมาธิที่เป็นโลกิยะ
ปัญญาที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยผัสสะที่เป็นโลกิยะและ
โลกุตตระ ฯลฯ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๘] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็น
โลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็น
โลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็น
โลกิยะ ฯลฯ สัมมาวายามะที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สัมมาสติที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ
สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็น
โลกิยะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
ฯลฯ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาวาจาที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาวายามะที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาสติ
ที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๖. ทวีหิสีเลหิกถา (๑๐๐)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมากัมมันตะที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาอาชีวะที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาอาชีวะที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัมมาสังกัปปะที่เป็น
โลกิยะและโลกุตตระ ฯลฯ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๘๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยศีล ๒” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อโลกิยศีลดับไปแล้ว มรรคจึงเกิดขึ้นใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้ทุศีล มีศีลขาด มีศีลทะลุ เจริญมรรคได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจึงเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล ๒
ทวีหิสีเลหิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
ว่าด้วยศีลไม่เป็นเจตสิก
[๕๙๐] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ศีลเป็นรูป ฯลฯ เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
กายายตนะ ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๐/๒๕๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ศีลไม่เกิดดับตามกระแสจิต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ศีลเป็น
วิรติเจตสิกมีการเกิดดับตามกระแสจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๐/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๑] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลมีผลที่ไม่น่าปรารถนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากศีลมีผลที่น่าปรารถนา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก”
สก. สัทธามีผลที่น่าปรารถนา สัทธาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลที่น่าปรารถนา ปัญญา
เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธามีผลที่น่าปรารถนา สัทธาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลที่น่าปรารถนา ปัญญา
ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๒] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลไม่มีผล ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลมีวิบากมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากศีลมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก” ฯลฯ
สก. จักขายตนะไม่เป็นเจตสิก ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิก ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ไม่เป็นเจตสิก ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะไม่เป็นเจตสิกมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
ไม่เป็นเจตสิก มีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๓] สก. สัมมาวาจาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๗. สีลังอเจตสิกันติกถา (๑๐๑)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาอาชีวะไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
สก. สัมมาสมาธิเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับไปแล้วนั้นเป็นผู้ทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ศีลจึงไม่เป็นเจตสิก
สีลังอเจตสิกันติกถา จบ
๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
ว่าด้วยศีลไม่คล้อยไปตามจิต
[๕๙๕] สก. ศีลไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ศีลเป็นรูป ฯลฯ เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๕/๒๕๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากศีลไม่ใช่เจตสิก จึงไม่มีการเกิดดับพร้อมกับจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๕/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
สก. ศีลไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๖] สก. สัมมาวาจาไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา (๑๐๒)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาอาชีวะไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
ไม่คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. สัมมาสมาธิคล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ คล้อยไปตามจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลไม่คล้อยไปตามจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เมื่อศีลเกิดขึ้นแล้วดับไป บุคคลผู้มีศีลดับไปแล้วนั้นเป็นผู้ทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ศีลจึงไม่คล้อยไปตามจิต
สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา จบ
๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
ว่าด้วยศีลมีการสมาทานเป็นเหตุ
[๕๙๘] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๘/๒๕๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เพียงแต่สมาทานศีลเท่านั้น ศีลก็เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๕๙๘/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลเจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือน
ต้นหญ้า เหมือนหญ้าปล้องใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๕๙๙] สก. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกถึงกามวิตก ตรึกถึงพยาบาทวิตก
ตรึกถึงวิหิงสาวิตกอยู่ ศีลเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ๑ เป็นฝ่ายขาว๒ และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ๓ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ฝ่ายดำ หมายถึงสังกิเลสธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘)
๒ ฝ่ายขาว หมายถึงโวทานธรรม (ธรรมเครื่องทำใจให้ผ่องแผ้ว) (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘)
๓ มีส่วนเปรียบ หมายถึงสังกิเลสธรรมเป็นข้าศึกกับโวทานธรรมตามลำดับ โดยการแสดงการเปรียบเทียบว่า
สังกิเลสธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ส่วนโวทานธรรมเป็นธรรมที่ละ (ที.ปา.ฏีกา ๑๔๔/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๙. สมาทานเหตุกถา (๑๐๓)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่าย
มีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๖๐๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์
ปลูกป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมไปสู่สวรรค์”๒
มีอยู่จริง มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ จึงเจริญได้
สมาทานเหตุกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗
๒ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๕๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา (๑๐๔)
๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา (๑๐๔)
ว่าด้วยวิญญัติเป็นศีล
[๖๐๑] สก. วิญญัติเป็นศีลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการลักทรัพย์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการพูดเท็จใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การกราบไหว้เป็นศีล การลุกรับเป็นศีล การทำอัญชลีเป็นศีล การทำ
สามีจิกรรมเป็นศีล การจัดอาสนะให้เป็นศีล การจัดที่นอนให้เป็นศีล การจัดน้ำ
ล้างเท้าให้เป็นศีล การจัดรองเท้าให้เป็นศีล การนวดหลังในเวลาอาบน้ำเป็นศีลใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๑/๒๕๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กายวิญญัติและวจีวิญญัติเป็นศีล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๑/๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. ศีลเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญัติเป็นศีล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น วิญญัติจึงเป็นศีล
วิญญัตติสีลันติกถา จบ
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
ว่าด้วยอวิญญัติเป็นความทุศีล
[๖๐๓] สก. อวิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. อวิญญัติเป็นปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นอทินนาทานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า การทำบาปโดยไม่ได้ตั้งใจและการทำบาปตามคำสั่ง เช่น การทำปาณาติบาตที่ครบองค์
จัดเป็นอวิญญัติ อวิญญัติเช่นนี้ เป็นความทุศีล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. อวิญญัติเป็นกาเมสุมิจฉาจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นมุสาวาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว)แล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป
ทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑ ฯลฯ
สก. บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ เพราะปรวาทีเข้าใจว่า ในขณะให้ทาน บาปจะไม่เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)
๒ เพราะปรวาทีหมายเอาบาปที่ทำโดยไม่เจตนา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๓-๖๐๔/๒๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรมแล้วถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร กราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้ ต้อนรับผู้ควรต้อนรับ ทำอัญชลี
แก่ผู้ควรทำอัญชลี ทำสามีจิกรรมแก่ผู้ควรทำสามีจิกรรม ให้อาสนะแก่ผู้ควรให้
อาสนะ ให้ทางแก่ผู้ควรให้ทาง บุญและบาปทั้ง ๒ อย่างเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุญและบาปทั้ง ๒ อย่าง เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] ๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (๑๐๕)
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล
กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่
มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมี
ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้”
[๖๐๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อวิญญัติเป็นความทุศีล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลเป็นผู้ยึดถือบาปกรรมมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบุคคลเป็นผู้ยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว) ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “อวิญญัติเป็นความทุศีล”
อวิญญัตติทุสลีลยันติกถา จบ
ทสมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๐. ทสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นิโรธกถา
๒. รูปังมัคโคติกถา
๓. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา
๔. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา
๕. สาโภคาติกถา
๖. ทวีหิสีเลหิกถา
๗. สีลังอเจตสิกันติกถา
๘. สีลังนจิตตานุปริวัตตีติกถา
๙. สมาทานเหตุกถา
๑๐. วิญญัตติสีลันติกถา
๑๑. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา
ทุติยปัณณาสก์ จบ
รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๖ เริ่มด้วยนิยามกถา
วรรคที่ ๗ เริ่มด้วยสังคหิตกถา
วรรคที่ ๘ เริ่มด้วยฉคติกถา
วรรคที่ ๙ เริ่มด้วยอานิสังสทัสสาวีกถา
วรรคที่ ๑๐ เริ่มด้วยนิโรธกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
๑๑. เอกาทสมวรรค
๑.-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
ว่าด้วยอนุสัย ๓ เรื่อง๑
[๖๐๕] สก. อนุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อนุสัยเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก อัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น
นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทะนิวรณ์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทะนิวรณ์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ๓ เรื่อง คือ (๑) เรื่องอนุสัยเป็นอัพยากฤต (๒) เรื่องอนุสัยเป็นอเหตุกะ (๓) เรื่องอนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕-๖๑๓/๒๕๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕/๒๕๕-๒๕๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า อนุสัยไม่เป็นอกุศล แต่เป็นอัพยากฤต เป็นอเหตุกะ เป็นสภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อนุสัยเป็นอกุศล เป็นสเหตุกะ และเป็นสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๐๕/๒๕๕-๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. วิจิกิจฉานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็น
อัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสังโยชน์ วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็น
อกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภวราคานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสังโยชน์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสังโยชน์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ภวราคานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมาประชุมกันได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอัพยากฤต
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลมาประชุมกันได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอัพยากฤต
[๖๐๗] สก. อนุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. กามราคานุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กามฉันทนิวรณ์
เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสเหตุกะ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอเหตุกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
ปร. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอเหตุกะ
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอเหตุกะ
[๖๐๙] สก. อนุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
[๖๑๐] สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนกามราคะ
นับเนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๑] สก. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๒] สก. อวิชชานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัย นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา (๑๐๖-๑๐๘)
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนอวิชชานับ
เนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัย วิปปยุตจากจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๔. ญาณกถา (๑๐๙)
ปร. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงวิปปยุตจากจิต
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ราคะจึงวิปปยุตจากจิต
ติสโสปิอนุสยกถา จบ
๔. ญาณกถา (๑๐๙)
ว่าด้วยญาณ
[๖๑๔] สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจาก
ญาณเป็นไปอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอริยบุคคลเมื่อราคะปราศไปแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ปราศจาก
ราคะ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณ
เป็นไปอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๖/๒๕๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อโมหะสิ้นไป ด้วยอำนาจมรรคญาณในขณะที่เห็นรูปเป็นต้น จิต(ของพระอริยบุคคล)
เป็นจิตที่วิปปยุตจากญาณ ไม่ใช่เป็นจิตที่ประกอบด้วยมรรคญาณ จึงไม่ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้มีญาณ ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ควรเรียกว่า เป็นผู้มีญาณ ตามหลักปุคคลบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๑๔/๒๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๔. ญาณกถา (๑๐๙)
สก. พระอริยบุคคลเมื่อโทสะปราศไปแล้ว โมหะปราศไปแล้ว กิเลสปราศ
ไปแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “หมดกิเลส” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อราคะปราศไปแล้ว ท่านยอมรับว่า “ปราศจากราคะ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณเป็น
ไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อโทสะปราศไปแล้ว เมื่อโมหะปราศไปแล้ว เมื่อกิเลส
ปราศไปแล้ว ท่านยอมรับว่า “หมดกิเลส” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณเป็น
ไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๑๕] ปร. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณ
เป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ชื่อว่ามีญาณ ด้วยญาณที่เป็นอดีต ชื่อว่ามีญาณ ด้วยญาณที่ดับไปแล้ว
ปราศไปแล้ว ระงับไปแล้วใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๑๐)
๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๑๐)
ว่าด้วยญาณวิปปยุตจากจิต
[๖๑๖] สก. ญาณ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่
สก. ญาณเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณ นับเนื่องในขันธ์ไหน
ปร. นับเนื่องในสังขารขันธ์
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๖/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา (๑๑๐)
สก. สังขารขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญานับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ญาณนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ปัญญานับเนื่องใน
สังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
[๖๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณวิปปยุตจากจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “มีญาณ”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ญาณ สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ญาณจึงวิปปยุตจากจิต
ปร. พระอรหันต์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ ท่านยอมรับว่า “มีปัญญา”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปัญญา สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปัญญาจึงวิปปยุตจากจิต
ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา จบ
๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
ว่าด้วยการเปล่งวาจาว่านี้ทุกข์
[๖๑๘] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๘/๒๕๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรค จะมีการเปล่งเสียงออกมาว่า “นี้ทุกข์” การเปล่งเสียงนี้
จัดเป็นญาณ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรคนั้น จะไม่มีการเปล่งเสียง
ใด ๆ ทั้งสิ้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๑๘/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกขสมุทัย” ญาณว่า “นี้ทุกขสมุทัย” จึงดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกขนิโรธ” ญาณว่า “นี้ทุกขนิโรธ” จึงดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้มรรค” ญาณว่า “นี้มรรค” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้สมุทัย” แต่ญาณว่า “นี้สมุทัย” ไม่ดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้นิโรธ” ... เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้มรรค” แต่ญาณว่า
“นี้มรรค” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
[๖๑๙] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปไม่เที่ยง” ญาณว่า “รูปไม่เที่ยง” จึงดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง” ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา” จึง
ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา” ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งว่า “รูปไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “รูปไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไป
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๖. อิทังทุกขันติกถา (๑๑๑)
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา”
ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๐] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณว่า “อิ” ว่า “ทํ” ว่า “ทุ” และว่า “ขํ” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อิทังทุกขันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
อิทธิพลกถา (๑๑๒)
ว่าด้วยกำลังฤทธิ์
[๖๒๑] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป๑
ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. อายุนั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ คตินั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ การได้อัตภาพนั้น
ก็สำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอด ๒-๓-๔ กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ กัป ในที่นี้หมายถึงกัป ๓ อย่าง คือ (๑) มหากัปปะ (กัปใหญ่) ช่วงระยะเวลายาวนานจนไม่มีใครนับได้ว่ากี่ปี
บางทีเรียกว่า อสงไขยกัป (๒) กัปเปกเทสะ (ส่วนแห่งกัป) ระยะเวลาที่ยังกำหนดนับได้ ใช้นับอายุของ
พรหม เช่น พวกเทวดาชั้นพรหมมีอายุประมาณ ๑ กัป (๓) อายุกัปปะ (อายุกัป) ช่วงระยะเวลาที่นับเป็นปี
ได้ ใช้นับอายุของสัตว์นรก เทวดา และมนุษย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑-๖๒๔/๒๕๘ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล)
๒๑/๑๒๓/๑๘๗-๑๘๘/๑๕๖/๒๑๖-๒๑๗)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑/๒๕๘)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดมหากัป ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๑/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อยังมีอายุ๑ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ หรือว่าเมื่อหมดอายุก็ดำรง
อยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่
ปร. เมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ได้
สก. หากเมื่อยังมีอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป” ฯลฯ เมื่อยังมีอายุ
ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่ หรือว่าเมื่อหมดอายุก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่
ปร. เมื่อหมดอายุ ก็ดำรงอยู่เท่าที่อายุยังเหลืออยู่
สก. บุคคลที่ตายแล้ว พึงดำรงอยู่ได้ หรือว่าบุคคลที่ทำกาละแล้วพึงดำรง
อยู่ได้
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๒] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย ฯลฯ
สัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า อายุ นี้แปลมาจากคำว่า ชีวิตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
สัทธาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สมาธิ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้
เกิดเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้
แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์
ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๗. อิทธิพลกถา (๑๑๒)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใด
ผู้หนึ่งได้เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม
ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ตลอด ๑ กัป หรือเกินกว่า ๑ กัป”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์จึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[๖๒๔] สก. ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่
ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม
๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่
๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ
๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า
ไม่ตาย
๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้
เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๗/๑๑๒, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๘๒๒/๓๘๕-๓๙๐, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๕๑/๒๗๘-๒๘๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป”
อิทธิพลกถา จบ
๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
ว่าด้วยสมาธิ
[๖๒๕] สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอนาคตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๘๒/๒๕๘-๒๕๙
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาทและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้นนาน ๆ หลายขณะจิตจึงจะเป็นสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้น แม้ในขณะจิตดวงเดียว ก็เป็นสมาธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๕/๒๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๘. สมาธิกถา (๑๑๓)
สก. อดีตดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิดมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ”
[๖๒๖] ปร. สมาธิเป็นไปชั่วขณะจิตเดียวใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณเป็นผู้เข้าสมาบัติใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยฆานวิญญาณ
ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอกุศล ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยโมหะ
ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ เป็นผู้เข้าสมาบัติใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอกุศลเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ
ที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ เป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๙. ธัมมัฏฐิตตากถา (๑๑๔)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “นิครนถ์ เราไม่เคลื่อนไหวกาย
ไม่พูด ฯลฯ สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอด ๗ คืน ๗ วัน”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความสืบต่อแห่งจิตจึงเป็นสมาธิ
สมาธิกถา จบ
๙. ธัมมัฏฐิตตากถา (๑๑๔)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม
[๖๒๗] สก. ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม๒เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว๓ ใช่ไหม
ปร.๔ ใช่๕
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มี แก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๑๘๐/๑๘๕
๒ ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม ในที่นี้หมายถึงปฏิจจสมุปบาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๗/๒๖๐)
๓ สภาวะที่สำเร็จ (ปรินิปฺผนฺน) หมายถึงสำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๗/๒๖๐)
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๗/๒๖๐)
๕ เพราะมีความเห็นว่า ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมสำเร็จมาจากเหตุเพราะมีสภาวธรรมอื่นเป็นเหตุ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมมิใช่สำเร็จมาจากเหตุอื่น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๒๗/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๙. ธัมมัฏฐิตตากถา (๑๑๔)
สก. ความตั้งอยู่แห่งรูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งเวทนา ฯลฯ ความตั้งอยู่แห่งสัญญา ฯลฯ ความตั้งอยู่
แห่งสังขาร ฯลฯ ความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มีแก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ธัมมัฏฐิตตากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑๐. อนิจจตากถา (๑๑๕)
๑๐. อนิจจตากถา (๑๑๕)
ว่าด้วยความไม่เที่ยง
[๖๒๘] สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มี แก่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่แห่งความแก่นั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแก่แห่งความแก่นั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่ความแก่แห่งความแก่ทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๘/๒๖๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ความไม่เที่ยงเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุปัจจัย ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ความไม่เที่ยงเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๒๘/๒๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] ๑๐. อนิจจตากถา (๑๑๕)
สก. ความตายเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตายแห่งความตายนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตายแห่งความตายนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มีแก่ความตายแห่งความตายทั้ง ๒ ชั้นดังกล่าวมาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๒๙] สก. รูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงแห่งรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยง
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งความแก่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธานไปแห่งรูป
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตายเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธาน
ไปแห่งความตายมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๑. เอกาทสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
แต่ความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งวิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแก่แห่งความแก่มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญาณเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธานไป
แห่งวิญญาณมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตายเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว แต่ความแตกสลาย ความอันตรธาน
ไปแห่งความตายมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อนิจจตากถา จบ
เอกาทสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑-๓. ติสโสปิอนุสยกถา ๔. ญาณกถา
๕. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา ๖. อิทังทุกขันติกถา
๗. อิทธิพลกถา ๘. สมาธิกถา
๙. ธัมมัฏฐิตตากถา ๑๐. อนิจจตากถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
๑๒. ทวาทสมวรรค
๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
ว่าด้วยความสำรวมเป็นกรรม
[๖๓๐] สก. ความสำรวมเป็นกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
สำรวมชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๐/๒๖๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เจตนาไม่ชื่อว่ากรรม ความสำรวมและความไม่สำรวมเท่านั้นชื่อว่ากรรม (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๓๐/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๑] สก. ความไม่สำรวมเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ
ความไม่สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๑. สังวโรกัมมันติกถา (๑๑๖)
สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมกายินทรีย์เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ ความ
ไม่สำรวมชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมจักขุนทรีย์เป็นจักขุกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่สำรวมมนินทรีย์เป็นมโนกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความไม่สำรวมโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมฆานินทรีย์ ฯลฯ
ความไม่สำรวมชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมกายินทรีย์ เป็นกายกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี เป็น
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๒. กัมมกถา (๑๑๗)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ทางใจแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดีจึงเป็นกรรม
สังวโรกัมมันติกถา จบ
๒. กัมมกถา (๑๑๗)
ว่าด้วยกรรม
[๖๓๓] สก. กรรมทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๔๙/๓๘๑-๓๘๒, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๔/๒๕
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๓-๖๓๕/๒๖๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างต้องให้ผล ไม่มีอโหสิกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
เจตนาทุกอย่างเป็นกรรม เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลให้ผล ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากฤตไม่ให้ผล
(เป็นอโหสิกรรม) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๓๓-๖๓๕/๒๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๒. ทวาทสมวรรค] ๒. กัมมกถา (๑๑๗)
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยามีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจรมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ที่
เป็นโลกุตตระมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาที่เป็นกามาวจรมีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เจตนาทั้งปวงมีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจร ม
ีวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๖๓๔] สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบากไม่มีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๖๙๓ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น