Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๑๕ หน้า ๘๘๓ - ๙๔๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
[๘๔๘] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิจิกิจฉาพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. วิจิกิจฉาไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละวิจิกิจฉาได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นไป
ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์
ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ
(แต่ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ฯลฯ (แต่
ยัง) เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วน
เดียวละวิจิกิจฉาได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล”
[๘๔๙] สก. อุจเฉททิฏฐิ๑ พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอุจเฉททิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. อุจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละอุจเฉททิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) คือเห็นว่าอัตตาและโลกจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป (ที.สี. (แปล)
๙/๑๖๘/๑๔๖)
๒ สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) คือเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (ที.สี. (แปล)
๙/๑๖๘/๑๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑ ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิละอุจเฉททิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[๘๕๐] สก. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสัสสตทิฏฐิพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
สก. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เขาละสัสสตทิฏฐิได้แล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ละได้ด้วยมรรคไหน
ปร. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นสภาวธรรมนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ฯลฯ๑
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิละสัสสตทิฏฐิได้ด้วยมรรคฝ่าย
อกุศล”
[๘๕๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว เขาจมแล้ว
ครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”๒ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนจึงมีอยู่
[๘๕๒] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำ
โดยส่วนเดียว เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง”๓ จึงยอมรับว่า “ความแน่
นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้โผล่ขึ้นแล้วจมลง”๔ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วกลับจมลงทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๘๔๘ หน้า ๘๘๓ ในเล่มนี้ ประกอบ
๒-๔ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ประกอบด้วยสภาวธรรมที่เป็นอกุศลฝ่ายดำโดยส่วนเดียว
เขาจมแล้วครั้งเดียวก็ยังจมอยู่นั่นเอง” จึงยอมรับว่า “ความแน่นอนโดยส่วนเดียว
ของปุถุชนจึงมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้เป็นผู้โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป โผล่ขึ้น
แล้วได้ที่พึ่ง” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. เขาโผล่ขึ้นแล้วก็ได้ที่พึ่งทุกครั้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อัจจันตนิยามกถา จบ
๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
ว่าด้วยอินทรีย์
[๘๕๓] สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๑-๒๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๓/๒๒๗-๒๒๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาทและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙)
๓ เพราะมีความเห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่เรียกว่าอินทรีย์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่าอินทรีย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๓/๓๐๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. วิริยินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ ฯลฯ
ชีวิตที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชีวิตที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๔] สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสมนัสที่เป็นโลกิยะมีอยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ชีวิตที่เป็น
โลกิยะมีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๘. อินทริยกถา (๑๙๓)
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มโนที่เป็นโลกิยะมีอยู่ มนินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มี ฯลฯ ชีวิตที่เป็นโลกิยะ
มีอยู่ ชีวิตินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๕] สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์
ที่เป็นโลกุตตระก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกิยะก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศรัทธาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ สัทธินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นโลกิยะมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่
เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. ปัญญาที่เป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญินทรีย์ที่เป็นโลกุตตระไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๖] สก. อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดู
โลกด้วยพุทธจักษุ๑ ก็ได้เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตา๒ น้อย มีธุลีในดวงตามาก
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้
รู้ได้ยาก บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นสิ่งน่ากลัว” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น อินทรีย์ ๕ ที่เป็นโลกิยะจึงมีอยู่
อินทริยกถา จบ
เอกูนวีสติมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิเลสชหนกถา ๒. สุญญตากถา
๓. สามัญญผลกถา ๔. ปัตติกถา
๕. ตถตากถา ๖. กุสลกถา
๗. อัจจันตนิยามกถา ๘. อินทริยกถา


เชิงอรรถ :
๑ พุทธจักษุ หมายถึง (๑) อินทริยปโรปริยัตติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ทั้งหลาย คือรู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหนเพียงไร มีกิเลสมาก กิเลสน้อย
มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ (๒) อาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สถานที่
ที่นอนเนื่องอยู่ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕) และดูเทียบ ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๑๑๑-๑๑๕/๑๗๒-๑๗๗
๒ ดวงตา หมายถึงปัญญาจักษุ (ม.มู.อ. ๒/๒๘๓/๘๗, วิ.อ. ๓/๙/๑๕)
๓ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๙/๑๔, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๓/๓๐๗-๓๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
๒๐. วีสติมวรรค
๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ว่าด้วยความไม่จงใจ
[๘๕๗] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ พูดเท็จ ชื่อว่าเป็น
ผู้พูดเท็จใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ ไม่จงใจพูดเท็จ
ชื่อว่าไม่เป็นผู้พูดเท็จใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุแห่งอนันตริยกรรม (บิดา มารดา พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์) เป็น
สิ่งล้ำเลิศและยิ่งใหญ่ เมื่อบุคคลทำลายวัตถุเหล่านั้น แม้โดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นอนันตริยกรรมได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การกระทำทุกอย่างที่จะจัดเป็นกรรมต้องประกอบด้วยเจตนา หากไม่
ประกอบด้วยเจตนา ไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๕๘] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[๘๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตบิดาแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตบิดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา
ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคล
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้วมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย-
กรรม”
[๘๖๐] สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่า
เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
[๘๖๑] สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อ
ว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อุบาลี บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้
แตกกันเป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ไม่เป็นผู้เข้าถึงอบาย ไม่เข้าถึงนรกตลอดกัป ไม่ใช่ผู้แก้ไขไม่ได้”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม”
[๘๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรมจึงทำลาย
สงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
อสัญจิจจกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๖๕๗ หน้า ๗๑๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๒. ญาณกถา (๑๙๕)
๒. ญาณกถา (๑๙๕)
ว่าด้วยญาณ
[๘๖๓] สก. ญาณ๑ ไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม
ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ๓ ไม่มีแก่
ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ
ของปุถุชนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนด
จำเพาะของปุถุชนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[๘๖๔] สก. ญาณไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”

เชิงอรรถ :
๑ ญาณ โดยทั่วไปมี ๒ อย่าง คือ (๑) โลกิยญาณ ได้แก่ ญาณในสมาบัติและกัมมัสสกตาญาณ
(๒) โลกุตตรญาณ ได้แก่ มัคคญาณและผลญาณ ในที่นี้ปรวาทีหมายเอาโลกุตตรญาณเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๓/๓๑๑)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๓/๓๑๑)
๓ ตั้งแต่คำว่า ปัญญา จนถึง ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ นี้ล้วนเป็นไวพจน์ของญาณทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๓/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
สก. ปุถุชนเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ
อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌาน
ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ พึงให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต
ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากปุถุชนให้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ญาณไม่มีแก่ปุถุชน”
[๘๖๕] ปร. ญาณของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ ด้วย
ญาณนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ
๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
ว่าด้วยนายนิรยบาล
[๘๖๖] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เครื่องสำหรับลงอาญาไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในนรก นายนิรยบาลที่เป็นบุคคลไม่มี กรรมของสัตว์นรกนั้นเองเป็นนายนิรยบาล
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีนายนิรยบาลที่เป็นบุคคลเกิดจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์และผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกและผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรก แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์ แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๖๗] ปร. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ท้าวเวสสภู๑ ท้าวเปตติราช๒
ท้าวโสมะไม่ได้ฆ่า ท้าวยมะ
และท้าวเวสวัณก็ไม่ได้ฆ่า
กรรมของตนเองฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้
เกิดในปรโลกในนรกนั้น”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงไม่มีในนรก

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ท้าวเวสสภู เป็นชื่อของเทพองค์หนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑)
๒ คำว่า ท้าวเปตติราช เป็นเทพผู้มีฤทธิ์มากกว่าเปรตในเปตวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
[๘๖๘] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลทำ
กรรมกรณ์ (เครื่องสำหรับลงอาญา)ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู
เหล็กแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนากล้า
อย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป” ๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล
ฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอา
มีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว
โชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขา
เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ เขาถูก
ต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง
เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่
ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาทุ่มลงไปในมหานรก
ก็มหานรกนั้น (มีลักษณะ) ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๑-๑๙๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๙๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งกำหนดออกเป็นส่วน
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก
มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชติช่วง
แผ่ความร้อนไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์
ตั้งอยู่ทุกเมื่อ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
นิรยปาลกถา จบ
๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉาน
[๘๖๙] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. เทวดามีอยู่ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๗๐-๗๑/
๑๗๙,๒๔๐-๒๔๑/๒๐๖, ๖๙๓-๖๙๔/๒๘๑, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๒/
๔๐๒-๔๐๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๙/๓๑๒)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในเทวโลก มีเทวบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เอราวัณเทพบุตร ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า เทพบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานไม่มี แต่มีเทพบุตรจำแลงเป็นสัตว์ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๖๙/๓๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
สก. เทวโลกเป็นภูมิของสัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในหมู่เทวดานั้น มีแมลง ตั้กแตน ยุง แมลงวัน งู แมลงป่อง ตะขาบ
ไส้เดือนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๐] ปร. สัตว์ดิรัจฉานไม่มีในหมู่เทวดาใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ช้างประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ ยานทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัวมีอยู่ในหมู่
เทวดานั้นมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากช้างประเสริฐชื่อว่าเอราวัณ ยานทิพย์เทียมด้วยม้าพันตัวมีอยู่
ในหมู่เทวดานั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในเทวโลก”
[๘๗๑] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในเทวโลกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในเทวโลกนั้น มีพวกผูกช้าง พวกผูกม้า พวกตะพุ่นหญ้า พวกผู้ฝึก
พวกทำอาหารสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ดังนั้น สัตว์ดิรัจฉานจึงไม่มีในเทวโลก
ติรัจฉานกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
๕. มัคคกถา (๑๙๘)
ว่าด้วยมรรค
[๘๗๒] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “มรรคมีองค์ ๕”
สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บรรดามรรค มรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะ สัจจะ ๔ ประเสริฐที่สุด
บรรดาธรรม วิราคธรรม๓ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัตว์สองเท้า๔ พระตถาคตผู้มีพระจักษุ๕
ประเสริฐที่สุด”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เมื่อว่าโดยตรงแล้ว มรรคมีองค์ ๕ เท่านั้นมิใช่มีองค์ ๘ โดยอ้างว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นจิตตวิปปยุต (ไม่ประกอบด้วยจิต)จึงไม่จัดเป็นมรรค เป็นเพียงวิญญัติรูป
ไม่ใช่เจตสิก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มรรคทั้ง ๓ ดังกล่าวมาเป็นมรรค สัมปยุตด้วยจิต
เป็นเจตสิก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๒/๓๑๒-๓๑๓)
๓ วิราคธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๔)
๔ สัตว์สองเท้า หมายถึงมนุษย์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๕๔)
๕ จักษุ หมายถึงปัญญาจักษุ (วิ.อ. ๓/๑๓/๑๗), ดูเทียบ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๒๗๓/๑๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
[๘๗๓] สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค แต่สัมมาทิฏฐินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค แต่สัมมาวาจานั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาอาชีวะ
นั้นไม่เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรค แต่สัมมาสมาธินั้นไม่
เป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจาเป็นองค์มรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นองค์มรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๕. มัคคกถา (๑๙๙)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค และสัมมาอาชีวะ
นั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมา-
สมาธิเป็นองค์มรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นองค์มรรค
และสัมมาอาชีวะนั้นเป็นมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๔] ปร. อริยมรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “กายกรรม วจีกรรม อาชีวะของ
บุคคลนั้นจัดว่าบริสุทธิ์ดีแล้วในเบื้องต้นนั้นแล เมื่อเป็นอย่างนี้อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ของเขาย่อมถึงความเจริญเต็มที่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๕
[๘๗๕] สก. มรรคมีองค์ ๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มี
อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓
ย่อมไม่มีสมณะที่ ๔๒ ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ ย่อมมี

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๔๓๑/๑๖๒
๒ สมณะที่ ๑-๒-๓-๔ หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ (ที.ม.อ.
๒๑๔/๑๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
สมณะที่ ๒ ย่อมมีสมณะที่ ๓ ย่อมมีสมณะที่ ๔ สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรค
มีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
สมณะที่ ๓ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น
ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ
โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น มรรคจึงมีองค์ ๘
มัคคกถา จบ
๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ว่าด้วยญาณ
[๘๗๖] สก. ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โลกุตตรญาณมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๑๔/๑๖๒
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ในมัคคจิตแต่ละดวง มีญาณที่ทำหน้าที่รับรู้ ๑๒ ประการ (ในมัคคจิตหนึ่ง ๆ มี
๓ ญาณ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวมเป็น ๑๒ ญาณ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ในมัคคจิตแต่ละดวง มีสัจจญาณอย่างเดียว จึงไม่ยอมรับว่ามี ๑๒ ญาณ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๖/๓๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
สก. โสดาปัตติมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค ฯลฯ อรหัตตมรรคมีอย่างละ ๑๒
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตผลมี ๑๒ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๗๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ เป็นโลกุตตระ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน
ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] ๖. ญาณกถา (๑๙๙)
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละเสีย
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย
ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราควรให้เจริญ
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา
เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ให้เจริญแล้ว”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ญาณที่มีวัตถุ ๑๒ จึงเป็นโลกุตตระ
ญาณกถา จบ
วีสติมวรรค จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๒-๕๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสัญจิจจกถา ๒. ญาณกถา
๓. นิรยปาลกถา ๔. ติรัจฉานกถา
๕. มัคคกถา ๖. ญาณกถา

จตุตถปัณณาสก์ จบ
รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑๖ เริ่มด้วยนิคคหกถา
วรรคที่ ๑๗ เริ่มด้วยอัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา
วรรคที่ ๑๘ เริ่มด้วยมนุสสโลกกถา
วรรคที่ ๑๙ เริ่มด้วยกิเลสชหนกถา
วรรคที่ ๒๐ เริ่มด้วยอสัญจิจจกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๑. สาสนกถา (๒๐๐)
๒๑. เอกวีสติมวรรค
๑. สาสนกถา (๒๐๐)
ว่าด้วยหลักคำสอน
[๘๗๘] สก. คำสอน๑ ดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนดัดแปลงใหม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังโยชน์ ฯลฯ เนื่องด้วยคันถะ
ฯลฯ เนื่องด้วยโอฆะ ฯลฯ เนื่องด้วยโยคะ ฯลฯ เนื่องด้วยนิวรณ์ ฯลฯ เนื่อง
ด้วยปรามาส ฯลฯ เนื่องด้วยอุปาทาน ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ คำสอน หมายถึงหลักคำสอนของพระตถาคต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การทำสังคายนาก็คือการปรับปรุงคำสอนใหม่ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็น
ว่า การทำสังคายนามิใช่การปรับปรุงคำสอนใหม่ แต่เป็นการรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำสอนเดิม
เพราะคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไม่มีใครสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๘/๓๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๐๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๑. สาสนกถา (๒๐๐)
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนของพระตถาคตใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสติปัฏฐานใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงสัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ
พละ ฯลฯ โพชฌงค์ใหม่ได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลัง
ดัดแปลงให้เป็นกุศลได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลบางคนดัดแปลงคำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วย
สังกิเลสในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนของพระตถาคตดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สติปัฏฐานดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมัปปธาน ฯลฯ อิทธิบาท ฯลฯ อินทรีย์ ฯลฯ พละ ฯลฯ โพชฌงค์
ดัดแปลงใหม่อีกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. คำสอนที่เคยเป็นอกุศลในกาลก่อน ในภายหลังดัดแปลงให้เป็นกุศลได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
สก. คำสอนที่เนื่องด้วยอาสวะ ฯลฯ เนื่องด้วยสังกิเลสในกาลก่อน ใน
ภายหลังดัดแปลงไม่ให้เนื่องด้วยสังกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สาสนกถา จบ
๒. อวิวิตตกถา (๒๐๑)
ว่าด้วยผู้ไม่สงัด
[๘๗๙] สก. ปุถุชนไม่สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากผัสสะที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เวทนาที่เป็นไปในธาตุ ๓
ฯลฯ สัญญาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ เจตนาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ จิต
ที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สัทธาที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ วิริยะที่เป็นไปในธาตุ ๓
ฯลฯ สติที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ สมาธิที่เป็นไปในธาตุ ๓ ฯลฯ ปัญญาที่เป็นไป
ในธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในขณะที่ถวายจีวร ปุถุชนเข้าปฐมฌานอยู่ ฯลฯ เข้าอากาสานัญ-
จายตนฌานอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ สภาวธรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓ หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร (อภิ.ปญฺจ.อ.
๖๗๙/๓๑๕)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ยังละสภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ไม่ได้ ชื่อว่ามีสภาวธรรม ๓ ประการนี้
ได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ปุถุชนไม่สามารถมีสภาวธรรม ๓
ประการได้พร้อมกัน ในขณะเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๗๙/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
สก. ในขณะที่ถวายบิณฑบาต ฯลฯ ถวายเสนาสนะ ฯลฯ ถวายคิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขาร ปุถุชนเข้าจตุตถฌานอยู่ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชนกำหนดรู้กรรมที่ให้เข้าถึงรูปธาตุและอรูปธาตุได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงไม่สงัดจากกรรมที่เป็นไปในธาตุ ๓
อวิวิตตกถา จบ
๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
ว่าด้วยสังโยชน์
[๘๘๑] สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระโยคีละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ สีลัพพตปรามาส ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุ
อรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๑/๓๑๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ทั้งหลายไม่สามารถรู้พุทธวิสัย (สัพพัญญุตญาณ) ฉะนั้น จึงชื่อว่าละ
อวิชชาและวิจิกิจฉาได้ไม่หมด ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละ
สังโยชน์ได้ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับการรู้และการไม่รู้พุทธวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๑/๓๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๓. สัญโญชนกถา (๒๐๒)
สก. พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
โมหะ(ความหลง) มานะ(ความถือตัว) มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ
(ความตีเสมอ) อุปายาส(ความคร่ำครวญ) กิเลส(สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง) อยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ มักขะ ปลาสะ อุปายาส
กิเลส มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลมีอยู่”
[๘๘๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
บรรลุอรหัตตผลมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์ย่อมรู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระโยคีละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วบรรลุอรหัตตผลจึงมีอยู่
สัญโญชนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
ว่าด้วยฤทธิ์
[๘๘๓] สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงมีใบเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือ
พระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ขอต้นไม้จงผลิดอกเป็นนิจ ฯลฯ ออกผลเป็นนิจ
ฯลฯ ขอสถานที่แห่งนี้จงสว่างเป็นนิจ ฯลฯ จงเกษมเป็นนิจ ฯลฯ จงมีภิกษา
หาได้ง่ายเป็นนิจ ฯลฯ จงมีฝนดีเป็นนิจ” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกสามารถทำอะไรได้ทุกอย่างด้วยอำนาจฤทธิ์ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกไม่สามารถเปลี่ยนธรรมนิยามคือไตรลักษณ์ได้ เช่น
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เป็นสิ่งที่เที่ยงได้ด้วยอำนาจฤทธิ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๓/๓๑๕-๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๔. อิทธิกถา (๒๐๓)
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิต
ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้ว
อย่าดับไป” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณจงเป็นของเที่ยง” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่าได้
เกิดเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอย่าได้แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้ง
หลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตาย
เป็นธรรมดาอย่าได้ตายเลย” ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรยอมรับอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๘๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ฤทธิ์ตามที่ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระ
สาวกมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ ผู้เป็น
จอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทก็ได้กลายเป็นทองไป
จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๕. พุทธกถา (๒๐๔)
ปร. หากท่านพระปิลินทวัจฉะได้อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าแผ่นดินมคธ
ผู้เป็นจอมทัพ พระนามว่าพิมพิสารว่า “จงเป็นทอง” และปราสาทนั้นก็ได้กลายเป็น
ทองไปจริง ๆ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ฤทธิ์ที่เป็นเหตุให้สำเร็จได้ตามความ
ประสงค์ของพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกมีอยู่”
อิทธิกถา จบ
๕. พุทธกถา (๒๐๔)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้า
[๘๘๕] สก. พระพุทธเจ้ากับพระพุทธเจ้าด้วยกันยังมีความยิ่งความหย่อนกว่า
กันใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. โดยสติปัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โดยสัมมัปปธาน ฯลฯ โดยอิทธิบาท ฯลฯ โดยอินทรีย์ ฯลฯ โดยพละ
ฯลฯ โดยโพชฌงค์ ฯลฯ โดยความชำนาญ ฯลฯ โดยสัพพัญญุตญาณทัสสนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พุทธกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๕/๓๑๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพุทธธรรมไม่เท่ากัน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีพุทธธรรมเท่ากัน เว้น ๓ อย่าง คือ พระพุทธสรีระ พระชนมายุ และ
พระรัศมี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๕/๓๑๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๖. สัพพทิสากถา (๒๐๕)
๖. สัพพทิสากถา (๒๐๕)
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าประทับอยู่ทั่วทุกทิศ
[๘๘๖] สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศทั้งปวงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศตะวันออกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร มีพระชาติอะไร มี
พระโคตรอะไร พระบิดาและพระมารดาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีพระนาม
ว่าอย่างไร คู่พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นมีนามว่าอย่างไร
อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคนั้นมีนามว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้งทรง
จีวรเช่นไร ทรงบาตรเช่นไร ประทับอยู่ในบ้าน นิคม นคร รัฐ หรือชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทิศใต้ ฯลฯ ทิศตะวันตก ฯลฯ ทิศเหนือ ฯลฯ
ทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องล่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๖/๓๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์ ประทับอยู่ในโลกธาตุทั้งปวงโดยรอบ โลกธาตุละ ๑
พระองค์ ในขณะเดียวกัน จึงถือว่ามีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในทุกทิศ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๖/๓๑๗, ดู องฺ.
เอกก. (แปล) ๒๐/๒๗๗/๓๔ ประกอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระนามว่าอย่างไร ฯลฯ ประทับอยู่ใน
ชนบทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ประทับอยู่ในทิศเบื้องบนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ประทับอยู่ในชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ ชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ชั้นยามา ฯลฯ
ชั้นดุสิต ฯลฯ ชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ชั้นพรหมโลกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัพพทิสากถา จบ
๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
ว่าด้วยสภาวธรรม
[๘๘๗] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากรูป มีสภาวะเป็นรูปแน่นอน ไม่มีสภาวะเป็นเวทนา เป็นต้น ฉะนั้น ธรรม
ทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่แน่นอนตามสภาวะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมกับสภาวะของ
ธรรมเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อธรรมไม่แน่นอน สภาวะของธรรมก็ไม่แน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๗/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๗. ธัมมกถา (๒๐๖)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กองที่ผิด
และแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑)
กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๘. กัมมกถา (๒๐๗)
[๘๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็นรูป
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นสภาวะที่แน่นอน
เพราะมีสภาวะเป็นวิญญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปเป็นเวทนา ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขาร ฯลฯ เป็นวิญญาณ
ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นรูป ฯลฯ เป็นเวทนา
ฯลฯ เป็นสัญญา ฯลฯ เป็นสังขารใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น รูปจึงเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าแปรผันไป เวทนา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เป็นสภาวะที่แน่นอน เพราะมีสภาวะเป็น
วิญญาณ
ธัมมกถา จบ
๘. กัมมกถา (๒๐๗)
ว่าด้วยกรรม
[๘๘๙] สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๘๙/๓๑๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า กรรมทุกอย่างเป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เช่น กรรมที่ให้ผลใน
ปัจจุบันก็ต้องให้ผลในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า กรรมทุกอย่าง
อาจเปลี่ยนแปลง เช่น กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ถ้าไม่ให้ผลก็กลายเป็นอโหสิกรรมได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๘๙/๓๑๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] ๘. กัมมกถา (๒๐๗)
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)ที่ไม่แน่นอนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
สก. กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอนใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) กอง
ที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกอง(แห่งสภาวธรรม)พระผู้มีพระภาคตรัสกองไว้ ๓ อย่าง คือ (๑)
กองที่ผิดและแน่นอน (๒) กองที่ถูกและแน่นอน (๓) กองที่ไม่แน่นอน ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงเป็นสภาวะที่แน่นอน”
[๘๙๐] สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอนโดยอรรถว่าเป็นกรรม
อันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรม เป็นสภาวะที่แน่นอน
โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อปราปริยเวทนียกรรมนั้นเป็นสภาวะที่ผิดและให้ผลแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๑. เอกวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. เป็นสภาวะที่ถูกและให้ผลแน่นอนใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน
โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ
อปราปริยเวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึง
เสวยในอัตภาพต่อ ๆ ไป” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เป็นอปราปริยเวทนีย-
กรรม ฯลฯ อุปปัชชเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็นอปราปริย-
เวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริยเวทนียกรรมเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม เป็น
อุปปัชชเวทนียกรรมใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจึงเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่า
เป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยในปัจจุบัน อุปปัชชเวทนียกรรม ฯลฯ อปราปริย-
เวทนียกรรมเป็นสภาวะที่แน่นอน โดยอรรถว่าเป็นกรรมอันบุคคลพึงเสวยใน
อัตภาพต่อ ๆ ไป
กัมมกถา จบ
เอกวีสติมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สาสนกถา ๒. อวิวิตตกถา
๓. สัญโญชนกถา ๔. อิทธิกถา
๕. พุทธกถา ๖. สัพพทิสากถา
๗. ธัมมกถา ๘. กัมมกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑. ปรินิพพานกถา (๒๐๘)
๒๒. พาวีสติมวรรค
๑. ปรินิพพานกถา (๒๐๘)
ว่าด้วยปรินิพพาน
[๘๙๒] สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ละสักกายทิฏฐิ ฯลฯ อโนตตัปปะบางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ยังมีราคะ ฯลฯ ยังมีกิเลสอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ไม่มีราคะ ฯลฯ ไม่มีกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานมีอยู่”
[๘๙๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้ว
ปรินิพพานมีอยู่” ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๒/๓๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มีพระอรหันต์ที่ปรินิพพานทั้งที่ยังละอวิชชาและวิจิกิจฉาไม่ได้ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๒/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
ปร. พระอรหันต์รู้พุทธวิสัยได้ทั้งหมดใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระอรหันต์ละสังโยชน์บางอย่างยังไม่ได้แล้วปรินิพพานจึงมีอยู่
ปรินิพพานกถา จบ
๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
ว่าด้วยกุศลจิต
[๘๙๔] สก. พระอรหันต์ มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ยังสร้างสมปุญญาภิสังขาร ฯลฯ อาเนญชาภิสังขาร ฯลฯ
ทำกรรมที่เป็นไปเพื่อคติ ฯลฯ เพื่อภพ ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ ฯลฯ
เพื่อความเป็นใหญ่ ฯลฯ เพื่อมีสมบัติมาก ฯลฯ เพื่อมีบริวารมาก ฯลฯ เพื่อ
ความงามในหมู่เทพ ฯลฯ เพื่อความงามในมนุษย์แล้วปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ ไม่สั่งสมอยู่ ฯลฯ ละอยู่ ยึดมั่นอยู่ ฯลฯ กำจัดอยู่
ก่ออยู่ ฯลฯ ทำลายอยู่ ปรับปรุงอยู่ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๔/๓๑๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ เมื่อปรินิพพานก็ปรินิพพานอย่างผู้มีสติ-
สัมปชัญญะ ดังนั้น จึงชื่อว่าปรินิพพานด้วยกุศลจิต (จิตที่เป็นกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระอรหันต์ปรินิพพานด้วยอัพยากตจิต (มหาวิปากจิต) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๔/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๒. กุสลจิตตกถา (๒๐๙)
สก. พระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสมแล้ว
ดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์สั่งสมอยู่ก็มิใช่ ไม่สั่งสมอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ไม่สั่งสม
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ละอยู่ก็มิใช่ ยึดมั่นอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ละแล้วดำรงอยู่
กำจัดอยู่ก็มิใช่ ก่ออยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้กำจัดแล้วดำรงอยู่ ทำลายอยู่ก็มิใช่
ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลายแล้วดำรงอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ทำลายอยู่ก็มิใช่ ปรับปรุงอยู่ก็มิใช่ แต่เป็นผู้ทำลาย
แล้วดำรงอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
[๘๙๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระอรหันต์มีสติตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะปรินิพพาน ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์มีจิตเป็นกุศลปรินิพพาน”
กุสลจิตตกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๓. อาเนญชกถา (๒๑๐)
๓. อาเนญชกถา (๒๑๐)
ว่าด้วยอาเนญชสมาธิ (จตุตถฌานจิต)
[๘๙๖] สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิต๓ ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในปกติจิตปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตกิริยาจิต ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๑๙-๓๒๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ปรินิพพานขณะดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ(จตุตถฌานจิต)โดยอ้าง
พระสูตรที่ว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานขณะอยู่ในอาเนญชสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
พระผู้มีพระภาคทรงออกจากอาเนญชสมาธิก่อนแล้วจึงปรินิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๑๙-๓๒๐)
๓ ปกติจิต ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๖/๓๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตวิปากจิต ปรินิพพานมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระอรหันต์ดำรงอยู่ในอัพยากตวิปากจิต ปรินิพพาน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพาน”
สก. พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิ ปรินิพพานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในลำดับติดต่อกัน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในลำดับติดต่อกัน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์ดำรงอยู่ในอาเนญชสมาธิปรินิพพาน”
อาเนญชกถา จบ
๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
ว่าด้วยการบรรลุธรรม
[๘๙๗] สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม การสนทนาธรรม การสอบถาม การ
สมาทานศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันในภพก่อนอยู่ในครรภ์ของมารดาแล้วคลอดออกมา จึงเข้าใจ
ว่ามีการบรรลุธรรมขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การบรรลุธรรมไม่
สามารถมีได้ในขณะอยู่ในครรภ์มารดา เพราะผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีการเจริญภาวนา ไม่มีสติสัมปชัญญะ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๗/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๔. ธัมมาภิสมยกถา (๒๑๑)
โภชนะ การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยาม
แห่งราตรี ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียรเป็น
เครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากการแสดงธรรม การฟังธรรม ฯลฯ การหมั่นประกอบความเพียร
เป็นเครื่องตื่นทั้งในปฐมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรีของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ไม่มี
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้”
สก. การบรรลุธรรมสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑) ปรโตโฆสะ
(คำแนะนำจากผู้อื่น) (๒) โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี) มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ (๑)
ปรโตโฆสะ (๒) โยนิโสมนสิการ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การบรรลุธรรมของ
สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้”
สก. การบรรลุธรรมของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ธัมมาภิสมยกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๕-๗. ติสโสปิกถา (๒๑๒-๒๑๔)
๕-๗. ติสโสปิกถา๑ (๒๑๒-๒๑๔)
ว่าด้วยเรื่องการบรรลุอีก ๓ เรื่อง
[๘๙๘] สก. การบรรลุอรหัตตผลของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มีได้ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๙๙] สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้ฝันมีได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุธรรมของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๐๐] สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้ฝันมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้หลับ ผู้ประมาท ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี
สัมปชัญญะมีได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ติสโสปิกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการบรรลุธรรมอีก ๓ เรื่องเป็นเรื่องที่ ๕-๗ คือ (๕) อรหัตตัปปัตติกถา ว่าด้วยเรื่อง
การบรรลุอรหัตตผลขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา (๖) ธัมมาภิสมยกถา ว่าด้วยการบรรลุธรรมของบุคคล
ผู้ฝัน (๗) อรหัตตัปปัตติกถา ว่าด้วยการบรรลุอรหัตตผลของบุคคลผู้ฝัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๘/๓๒๑)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๙๘/๓๒๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ขณะอยู่ในครรภ์ของมารดา บุคคลก็สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๙๘/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
๘. อัพยากตกถา (๒๑๕)
ว่าด้วยอัพยากตจิต
[๙๐๑] สก. จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลอาจฆ่าสัตว์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิต
ของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
สก. บุคคลอาจลักทรัพย์ได้ด้วยความฝัน ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด
ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ
ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ
ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม ฯลฯ เสพเมถุนธรรมได้ด้วยความฝัน ฯลฯ
อสุจิของผู้ฝันอาจเคลื่อนได้ ฯลฯ อาจให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ
เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของขบเคี้ยว ฯลฯ ของกิน ฯลฯ
น้ำดื่ม ฯลฯ อาจไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ อาจยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ
เครื่องลูบไล้ขึ้นไว้บนพระเจดีย์ ฯลฯ อาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จิตของบุคคลผู้ฝันเป็นอัพยากฤต โดยอ้างพระสูตรว่า เจตนาของบุคคลผู้ฝัน
เป็นอัพโพหาริก (ไม่สามารถจะเรียกว่าเป็นกุศลหรืออกุศล) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า จิตของ
บุคคลผู้ฝันอาจจะเป็นได้ทั้งกุศล อกุศล และอัพยากฤต แต่ไม่สามารถที่จะให้ผลได้ ฉะนั้น จึงจัดเป็น
อัพโพหาริก แต่ไม่เป็นอัพยากฤต (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๑-๙๐๒/๓๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. หากบุคคลอาจทำประทักษิณพระเจดีย์ได้ด้วยความฝัน ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
[๙๐๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. จิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก” มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากจิตของบุคคลผู้ฝัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอัพโพหาริก”
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตของบุคคลผู้ฝันทุกดวงเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ
๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
ว่าด้วยความเป็นอาเสวนปัจจัย
[๙๐๓] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาต
(การฆ่าสัตว์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก
อำนวยผลให้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต วิบาก
แห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีอายุสั้นแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๓
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมทุกอย่างตั้งอยู่ชั่วขณะเดียว แม้มีสภาวธรรมบางอย่างตั้งอยู่ชั่วมุหุตตะเดียว
ก็เป็นอาเสวนปัจจัยไม่ได้ ฉะนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงไม่มี ธรรมบางอย่างที่เกิดเพราะ
อาเสวนปัจจัยไม่มีด้วย ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ตั้งอยู่ครู่เดียวเป็นอาเสวนปัจจัยได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๓-๙๐๕/๓๒๒) ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๒๒ หน้า ๗๗๐ ในเล่มนี้
๓ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อทินนาทาน
(การลักทรัพย์) ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก
อำนวยผลให้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต
วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์แก่
ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
วิบากแห่งมุสาวาท (การพูดเท็จ) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ถูกกล่าวตู่ด้วย
คำไม่จริงแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้แตกจากมิตรแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบาก
แห่งผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้ได้ฟังเรื่องที่
ไม่น่าฟังแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ วิบากแห่งสัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
อย่างเบาที่สุด ย่อมอำนวยผลให้มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์ ฯลฯ
การดื่มสุราเมรัยที่บุคคลเสพ ฯลฯ วิบากแห่งการดื่มสุราเมรัยอย่างเบาที่สุด
ย่อมอำนวยผลให้เป็นผู้วิกลจริตแก่ผู้เกิดเป็นมนุษย์”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
[๙๐๔] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิที่บุคคล
เสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมอำนวยผลให้ไปเกิดในนรก อำนวยผลให้ไปเกิด
ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อำนวยผลให้ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๔๐/๓๐๑-๓๐๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อาเสวนปัจจยตากถา (๒๑๖)
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะ
ฯลฯ มิจฉาสมาธิ ที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ ย่อมอำนวยผลให้
ไปเกิดในภูมิแห่งเปรต” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
[๙๐๕] สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเสพ
เจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
สก. ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะที่
บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้ว ฯลฯ สัมมาสมาธิที่บุคคลเสพ เจริญ ทำให้
มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นจุดมุ่งหมาย มีอมตะเป็นที่สุด” มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ความเป็นอาเสวนปัจจัยบางอย่างจึงมีอยู่
อาเสวนปัจจยตากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
ว่าด้วยสภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
[๙๐๖] สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มหาปฐพี มหาสมุทร ภูเขาสิเนรุ น้ำ ไฟ ลม หญ้า ไม้ และไม้เจ้าป่า
ล้วนแต่ดำรงอยู่ได้ในจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ จักษุ
ที่เป็นอายตนะภายใน ไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองจักษุ
และความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้น
ก็ไม่ปรากฏ จักษุที่เป็นอายตนะภายใน ไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอก
มาสู่คลองจักษุ แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจาก

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายอปรเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๖-๙๐๗/๓๒๒-๓๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สังขตธรรม(ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) คือรูปกับนาม มีอายุเท่ากัน คือ ชั่วขณะจิตหนึ่ง
ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป ๑ ขณะมีอายุเท่ากับจิต ๑๗ ขณะ นาม (จิต เจตสิก) เท่านั้น
ที่มีอายุเท่ากับชั่วขณะจิตหนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๖-๙๐๗/๓๒๒-๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๑๐. ขณิกกถา (๒๑๗)
จักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูป
ที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองจักษุ และความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็มี
เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจากจักษุและรูปนั้นย่อมปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้”๑ มี
อยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “จักขายตนะเกิดพร้อมกับจักขุวิญญาณ”
สก. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ กายายตนะ
เกิดพร้อมกับกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ กาย
ที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลองกาย
และความใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะก็ไม่มี ฯลฯ กายที่เป็นอายตนะ
ภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองกาย แต่ความ
ใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะไม่มี ฯลฯ แต่เมื่อใด กายที่เป็นอายตนะ
ภายในไม่แตกทำลาย โผฏฐัพพะที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่คลองกายและโผฏฐัพพะ
และความใส่ใจอันเกิดจากกายและโผฏฐัพพะก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่เกิดจาก
กายและโผฏฐัพพะนั้นย่อมปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “กายายตนะเกิดพร้อมกับกายวิญญาณ”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๐๖/๓๓๘-๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[๙๐๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมทั้งปวงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สภาวธรรมทั้งปวงเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมทั้งปวงจึงเป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง
ขณิกกถา จบ
พาวีสติมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปรินิพพานกถา ๒. กุสลจิตตกถา
๓. อาเนญชกถา ๔. ธัมมาภิสมยกถา
๕-๗. ติสโสปิกถา ๘. อัพยากตกถา
๙. อาเสวนปัจจยตากถา ๑๐. ขณิกกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๑. เอกาธิปปายกถา (๒๑๘)
๒๓. เตวีสติมวรรค
๑. เอกาธิปปายกถา (๒๑๘)
ว่าด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
[๙๐๘] สก. บุคคลเสพเมถุนธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้เสพเมถุนธรรมไม่ควรเป็นสมณะ ไม่ควรเป็นภิกษุ ควรเป็นผู้มี
มูลขาดแล้ว ควรเป็นปาราชิก ด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเสพเมถุนธรรมด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นเรือนหลังเดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ผิดภรรยา
ของผู้อื่น ปล้นชาวบ้าน ปล้นชาวนิคม ด้วยจุดประสงค์อย่างเดียวกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกาธิปปายกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๘/๓๒๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ถ้าภิกษุมีความเห็นพ้องต้องกับหญิงว่าพวกเราจะเกิดร่วมกันในชาติหน้า สามารถ
เสพเมถุนกับเธอได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๘/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
๒. อรหันตวัณณกถา (๒๑๙)
ว่าด้วยเพศของพระอรหันต์
[๙๐๙] สก. พวกอมนุษย์เสพเมถุนธรรมโดยเพศของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พวกอมนุษย์ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ลักทรัพย์ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด
ฯลฯ พูดคำหยาบ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ
ปล้นเรือนหลังเดียว ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาของผู้อื่น ฯลฯ
ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ ปล้นชาวนิคม โดยเพศของพระอรหันต์ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรหันตวัณณกถา จบ
๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา๓ (๒๒๐-๒๒๔)
ว่าด้วยการทำตามอำนาจความประสงค์
[๙๑๐] สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์
ใช่ไหม
ปร.๔ ใช่๕

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๙/๓๒๓)
๒ เพราะปรวาทีเห็นภิกษุผู้ที่ตนเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์เสพเมถุนธรรม จึงอ้างว่า พระอรหันต์อาจเสพ
เมถุนธรรมได้ ถ้าถูกอมนุษย์สั่งให้เสพ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๐๙/๓๒๓)
๓ หมายถึงตอนที่ว่าด้วยการทำตามอำนาจความประสงค์ ๕ เรื่อง คือ (๓) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วย
การไปสู่วินิบาต เพราะเหตุ ทำตามอำนาจความประสงค์ (๔) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการหยั่งลงสู่
ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๕) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการทำทุกกร-
กิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๖) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการบำเพ็ญตบะอื่น
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ (๗) อิสสริยกามการิกากถา ว่าด้วยการอุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์
๔ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๐/๓๒๔)
๕ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์อาจเกิดในวินิบาตได้ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาจะไปเกิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๙๑๐/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่นรก ฯลฯ สัญชีวนรก ฯลฯ กาลสุตตนรก ฯลฯ
ตาปนนรก ฯลฯ ปตาปนนรก ฯลฯ สังฆาฏนรก ฯลฯ โรรุวนรก ฯลฯ อเวจีนรก
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์ไปสู่วินิบาต
เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๑] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์เข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เพราะ
เหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระโพธิสัตว์ได้เจริญฉันทิทธิบาท ฯลฯ วิริยิทธิบาท ฯลฯ จิตติทธิบาท
ฯลฯ วิมังสิทธิบาทแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำ
ตามอำนาจความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์
หยั่งลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์ เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๒] สก. พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๓. เตวีสติมวรรค] ๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา (๒๒๐-๒๒๔)
สก. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่าโลกเที่ยง ฯลฯ โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ ชีวะ
กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคต๑เกิดอีก ฯลฯ หลัง
จากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ หลังจากตายตถาคตแล้วเกิดอีกและไม่เกิดอีก
ฯลฯ หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เพราะเหตุ
ทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกรกิริยา เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์ทำทุกกร-
กิริยา เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
[๙๑๓] สก. พระโพธิสัตว์ทำความเพียรอื่นอุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๗๐๘ หน้า ๗๕๘ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๘. ปฏิรูปกถา (๒๒๕)
สก. พระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเห็นว่า “โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๔] สก. พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจความ
ประสงค์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจ
ความประสงค์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ไม่มี
สก. หากพระสูตรที่ว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตาม
อำนาจความประสงค์” ไม่มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์อุทิศ
ศาสดาอื่น เพราะเหตุทำตามอำนาจความประสงค์”
อิสสริยกามการิกากถา จบ
๘. ปฏิรูปกถา (๒๒๕)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่เทียบกันได้
[๙๑๕] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ราคะ แต่เทียบได้กับราคะมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๕/๓๒๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ราคะปลอม โทสะปลอม โมหะปลอม กิเลสปลอมก็มี ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ราคะปลอม เป็นต้น ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๕/๓๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ไม่ใช่เวทนาแต่เทียบได้
กับเวทนา ไม่ใช่สัญญาแต่เทียบได้กับสัญญา ไม่ใช่เจตนาแต่เทียบได้กับเจตนา
ไม่ใช่จิตแต่เทียบได้กับจิต ไม่ใช่สัทธาแต่เทียบได้กับสัทธา ไม่ใช่วิริยะแต่เทียบได้
กับวิริยะ ไม่ใช่สติแต่เทียบได้กับสติ ไม่ใช่สมาธิแต่เทียบได้กับสมาธิ ไม่ใช่ปัญญา
แต่เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๙๑๖] สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่โทสะแต่เทียบได้กับโทสะ ไม่ใช่โมหะแต่เทียบ
ได้กับโมหะ ไม่ใช่กิเลสแต่เทียบได้กับกิเลสมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ใช่ผัสสะแต่เทียบได้กับผัสสะ ฯลฯ ไม่ใช่ปัญญาแต่
เทียบได้กับปัญญามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปฏิรูปกถา จบ
๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ(มาจากเหตุ)
[๙๑๗] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. รูปไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อิงอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ไม่ใช่มีความสิ้นไป ไม่ใช่มีความเสื่อมไป ไม่ใช่มีความคลายไป ไม่ใช่มีความดับไป
ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๗/๓๒๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่าสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุ
เพราะตั้งอยู่โดยปราศจากการเกิดดับ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า สภาวธรรมเหล่านั้นเรียกว่า
สภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุ เพราะมีการเกิดดับตามสภาวะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๙๑๗/๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] ๙. อปรินิปผันนกถา (๒๒๖)
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” รูปไม่เที่ยง
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
[๙๑๘] สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ
จักขายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ ฯลฯ จักขุธาตุ ฯลฯ ธัมมธาตุ ฯลฯ จักขุนทรีย์
ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ฯลฯ ไม่ใช่มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็น
ธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๒. พาวีสติมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. หากอัญญาตาวินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์เป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จ”
สก. ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” อัญญาตา-
วินทรีย์ ไม่เที่ยงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นทุกข์” อัญญาตา-
วินทรีย์ไม่เที่ยง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทุกข์เท่านั้นเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จ”
อปรินิปผันนกถา จบ
เตวีสติมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกาธิปปายกถา ๒. อรหันตวัณณกถา
๓-๗. อิสสริยกามการิกากถา ๘. ปฏิรูปกถา
๙. อปรินิปผันนกถา

ขุททกอัฑฒปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ รวมปัณณาสก์ที่มีในกถาวัตถุปกรณ์
รวมวรรคที่มีในขุททกอัฑฒปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๒๑ เริ่มด้วยสาสนกถา
วรรคที่ ๒๒ เริ่มด้วยปรินิพพานกถา
วรรคที่ ๒๓ เริ่มด้วยเอกาธิปปายกถา
รวมปัณณาสก์ที่มีในกถาวัตถุปกรณ์นี้ คือ
๑. มหาปัณณาสก์
๒. นิยามปัณณาสก์ (ทุติยปัณณาสก์)
๓. อนุสยปัณณาสก์ (ตติยปัณณาสก์)
๔. นิคคหปัณณาสก์ (จตุตถปัณณาสก์)
๕. ขุททกอัฑฒปัณณาสก์ (ปัณณาสก์ที่เกินครึ่งไปเล็กน้อย)
ปัณณาสก์เหล่านี้ ในกถาวัตถุปกรณ์ตั้งอยู่ในพระสูตรเดิมเป็นหลัก ย่ำยีนิกายอื่น
รุ่งเรืองในศาสนาของพระพุทธเจ้า
กถาวัตถุปกรณ์มี ๓๕ ภาณวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๙๔๖ }

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น