Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๗-๑๔ หน้า ๘๒๐ - ๘๘๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗-๑๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ



พระอภิธรรมปิฎก
กถาวัตถุ
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๔] สก. สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลพึงฆ่าสัตว์ เพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปาณาติบาตมีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมวิบากมีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบากไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปาณาติบาตไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลพึงลักทรัพย์ ฯลฯ พูดเท็จ ฯลฯ พูดส่อเสียด ฯลฯ พูดคำหยาบ
ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ ตัดช่องย่องเบา ฯลฯ ปล้นสะดม ฯลฯ ปล้นเรือนหลังเดียว
ฯลฯ ดักปล้นในทางเปลี่ยว ฯลฯ ผิดภรรยาผู้อื่น ฯลฯ ปล้นชาวบ้าน ฯลฯ
ปล้นชาวนิคม ฯลฯ พึงถวายทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ
ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะวิบากของกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา (๑๖๘)
สก. กรรมวิบากมีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมวิบากไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารไม่มีผลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สิ่งทั้งปวงนี้เป็นไปเพราะกรรม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรม
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน
เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้ แล่นไปอยู่ฉะนั้น๑
บุคคลได้เกียรติ ความสรรเสริญ
ความเสื่อม การถูกฆ่า และการถูกจองจำก็เพราะกรรม
บุคคลทราบชัดกรรมนั้นที่ทำให้ต่างกันได้
ไฉนเล่า จะพึงกล่าวว่ากรรมไม่มีในโลก”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สิ่งทั้งปวงนี้จึงเป็นไปเพราะกรรม
สัพพมิทังกัมมโตติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๔๖๐/๕๘๑-๕๘๒, ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๖๖๐/๖๕๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
ว่าด้วยสิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์
[๗๘๖] สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย
เกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์”
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผัน
ไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ทุกข์ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ (สิ่งที่มีชีวิต) ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะเป็นสภาวะที่สิ่งมีชีวิต
ทนได้ยาก (๒) ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ (สิ่งที่ไม่มีชีวิต) ที่เรียกว่าทุกข์ เพราะตกอยู่ในสภาพที่ไม่ยั่งยืน
ในที่นี้ปรวาทีเห็นว่า ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นจัดเป็นทุกข์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ทุกข์
ทั้งที่เนื่องด้วยอินทรีย์และไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ จัดเป็นทุกข์ทั้งนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๖-๗๘๗/๒๙๒)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๖-๗๘๗/๒๙๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๔. อินทริยพัทธกถา (๑๖๙)
สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปรผัน
ไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ มีความแปร
ผันไปเป็นธรรมดา แต่สิ่งนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๘๗] สก. สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่อง
ด้วยอินทรีย์ก็ไม่เที่ยง” มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ สิ่งที่ไม่เนื่องด้วย
อินทรีย์ไม่เที่ยง” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์”
[๗๘๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นเป็นทุกข์” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของพระผู้มีพระภาค เพื่อ
กำหนดรู้ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เหมือนกำหนดรู้ทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทุกข์ที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ที่พระอริยะกำหนดรู้แล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นอีก
เหมือนทุกข์ที่เนื่องด้วยอินทรีย์ที่พระอริยะกำหนดรู้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีกใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น สิ่งที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้นจึงเป็นทุกข์
อินทริยพัทธกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
ว่าด้วยการยกเว้นอริยมรรค
[๗๘๙] สก. ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อริยสัจมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒) ทุกขสมุทัย
(๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยสัจ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ๔ อย่าง คือ (๑) ทุกข์ (๒)
ทุกขสมุทัย (๓) ทุกขนิโรธ (๔) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“อริยสัจมีเพียง ๓ อย่าง เท่านั้น”
สก. แม้ทุกขสมุทัยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุกวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากที่อริยมรรค ท่านเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฉะนั้น อริยมรรค จึง
ไม่ชื่อว่าเป็นทุกข์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๘๙-๗๙๐/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา (๑๗๐)
สก. โดยความหมายว่าอย่างไร
ปร. โดยความหมายว่าไม่เที่ยง
สก. อริยมรรคไม่เที่ยงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั่น ฯลฯ
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นไม่เป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุกขสมุทัยไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยมรรคไม่เที่ยง แต่อริยมรรคนั้นเป็นทุกข์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอริยมรรคเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“ยกเว้นอริยมรรค สังขารที่เหลือเป็นทุกข์”
ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์รับทักษิณา
[๗๙๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (มหาปุญญวาที) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๑-๗๙๒/๒๙๓-๒๙๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ว่าโดยปรมัตถ์ มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ ขึ้นชื่อว่าสงฆ์อื่นไปจากมรรคและผล
ย่อมไม่มี มรรคและผลย่อมรับอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์รับทักษิณาได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๗๙๑-๗๙๒/๒๙๓-๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา (๑๗๑)
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่
พระสงฆ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์รับทักษิณาได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“พระสงฆ์ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิย่อมรับทักษิณาได้
เหมือนไฟรับการบูชา เหมือนแผ่นดินรับน้ำฝนจากเมฆ”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระสงฆ์จึงรับทักษิณาได้
[๗๙๒] ปร. พระสงฆ์รับทักษิณาได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรครับได้ ผลก็รับได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิคคัณหาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจด
[๗๙๓] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”๑ ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมด
จดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ให้หมดจดได้ ในที่นี้หมายถึงทำให้มีผลมาก คือ ทำของที่น้อยให้มีผลมาก ทำของที่มากให้มีผลมากยิ่งขึ้น
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้น ไม่สามารถทำทักษิณาให้
หมดจดได้ ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๓-๗๙๔/๒๙๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา (๑๗๒)
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายทานแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
สก. บุคคลบางพวกที่ถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่มแด่พระ
สงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้”
[๗๙๔] ปร. พระสงฆ์ทำทักษิณาให้หมดจดได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคทำทักษิณาให้หมดจดได้ ผลก็ทำทักษิณาให้หมดจดได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังวิโสเธตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (๑๗๓)
๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา (๑๗๓)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าพระสงฆ์ฉันได้
[๗๙๕] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกที่ทำสังฆภัต อุทเทสภัต ยาคู และน้ำปานะมีอยู่
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากคณโภชนะ ปรัมปรโภชนะ อติริตตโภชนะ อนติริตตโภชนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว
ลิ้มได้”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. น้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๕/๒๙๕)
๒ เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้นชื่อว่าสงฆ์ มรรคและผลเหล่านั้นย่อมฉันอะไร ๆ ไม่ได้ ดังนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๕/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
สก. หากน้ำปานะพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำลูกหว้า
น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์ น้ำเหง้าบัว น้ำมะปราง
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้”
[๗๙๖] ปร. พระสงฆ์ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. มรรคฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ ผลก็ฉัน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา จบ
๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก
[๗๙๗] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ฯลฯ
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวาย
แด่พระสงฆ์มีผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗/๒๙๕)
๒เพราะมีความเห็นว่า มรรคและผลเท่านั้น ชื่อว่าสงฆ์ บุคคลไม่สามารถที่จะให้หรือรับอะไรจากมรรคและ
ผลเหล่านั้น การให้ทานแก่มรรคและผลจึงไม่เกิดอุปการะอะไร ดังนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ทานที่บุคคล
ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๗-๗๙๘/๒๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๔)
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นผู้ควรแก่
ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก”
[๗๙๘] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด
เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว จักชื่อว่าเป็นผู้ได้บูชาอาตมภาพและสงฆ์”๑ มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์มีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ท้าวสักกะจอมเทพได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก
นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๗๖/๔๒๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ด้วยว่า พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่ ไพบูลย์
หาประมาณมิได้ ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง
ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานถวายดีแล้ว
บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว
เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติและโสมนัส
กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลได้
ท่องเที่ยวไปในโลก ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน
จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระสงฆ์จึงมีผลมาก
นวัตตัพพังสังฆัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ
๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
ว่าด้วยไม่ควรยอมรับว่าทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก
[๗๙๙] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๔๓-๖๔๕/๗๑,๗๕๒-๗๕๔/๘๗-๘๘
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๙๙/๒๙๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงฉันอะไร ๆ แต่เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก ย่อมทรงแสดงพระ
องค์เหมือนกับว่าทรงฉันอยู่ ดังนั้น การถวายทานแด่พระพุทธเจ้าจึงไม่ควรกล่าวว่ามีผลมาก (อภิ.ปญฺจ.อ.
๗๙๙/๒๙๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา (๑๗๕)
สก. พระผู้มีพระภาคเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้อุดม
เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้๑ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้
เสมอมิได้๒ ไม่มีใครเปรียบเทียบ๓ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ๔ หาบุคคลเปรียบเทียบ
มิได้๕ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน
เป็นผู้อุดม เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หาผู้เสมอมิได้ เสมอกับ
บุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีใครเปรียบเทียบ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หาบุคคล
เปรียบเทียบมิได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามี
ผลมาก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใคร ๆ ที่เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่มี
สก. หากใคร ๆ ผู้เสมอเหมือนพระพุทธเจ้าโดยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มี
ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก”

เชิงอรรถ :
๑ หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงไม่มีสรรพสัตว์เท่าเทียมกับพระองค์ เพราะไม่มีบุคคลจะเปรียบเทียบได้ (องฺ.เอกก.อ.
๑/๑๗๔/๑๐๕)
๒ เสมอกับบุคคลผู้หาผู้เสมอมิได้ หมายถึงทรงเป็นผู้เสมอกับสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีตและ
อนาคต ซึ่งหาผู้เสมอมิได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๓ ไม่มีใครเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๔ ไม่มีผู้ทำกิจเปรียบเทียบ หมายถึงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ได้ เช่น
สติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่มีใครสามารถแสดงย่อให้เหลือเป็น ๓ ประการ หรือเพิ่มให้เป็น ๕ ประการได้
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)
๕ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญาณว่า เราเป็นพระพุทธเจ้าได้เหมือนพระ
ตถาคต (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้ามีผลมาก” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกอื่นก็ตาม
ไม่มีผู้ที่จะประเสริฐกว่า
หรือจะทัดเทียมพระพุทธเจ้า
ผู้ถึงความเป็นยอดแห่งอาหุไนยบุคคล
ของเหล่าชนผู้มีความต้องการบุญ ผู้แสวงหาผลไพบูลย์”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ทานที่ถวายแด่พระพุทธเจ้าจึงมีผลมาก
นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัปผลันติกถา จบ
๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ว่าด้วยทักษิณาบริสุทธิ์
[๘๐๐] สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายก(ผู้ให้)เท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
(ผู้รับ) ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกมีอยู่
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในการให้ทานนั้น ฝ่ายปฏิคาหก ไม่จำเป็นต้องบริสุทธิ์ เพียงทายกบริสุทธิ์ก็พอ
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๐-๘๐๑/๒๙๖-๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
สก. หากปฏิคาหกบางพวกเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของ
โลกมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่าย
ปฏิคาหก”
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้ควร
แก่ทักษิณามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นผู้
ควรแก่ทักษิณา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแก่พระโสดาบันแล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
สก. บุคคลบางพวกให้ทานแด่พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ฯลฯ
พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลบางพวกให้ทานแด่พระอรหันต์แล้วให้ทักษิณาบริบูรณ์มีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
[๘๐๑] ปร. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงไม่บริสุทธิ์
ฝ่ายทายกใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] ๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา (๑๗๖)
ปร. บุคคลอื่นทำให้แก่คนหนึ่ง สุขทุกข์มีผู้อื่นเป็นตัวการ บุคคลคนละคนกัน
ทั้งทำและเสวยผลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่ง
ทักษิณา ๔ ประการนี้
ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม
เลวทราม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างนี้
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม และปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๗. สัตตรสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร
คือ ทายกในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มี
กัลยาณธรรม ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างนี้
อานนท์ ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ ประการนี้”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทานบริสุทธิ์ฝ่ายทายกเท่านั้น แต่ไม่
บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก”
ทักขิณาวิสุทธิกถา จบ
สัตตรสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตถิอรหโตปุญญูปจโยติกถา ๒. นัตถิอรหโตอกาลมัจจูติกถา
๓. สัพพมิทังกัมมโตติกถา ๔. อินทริยพัทธกถา
๕. ฐเปตวาอริยมัคคันติกถา ๖. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณังปฏิค-
คัณหาตีติกถา
๗. นวัตตัพพังสังโฆทักขิณัง- ๘. นวัตตัพพังสังโฆภุญชตีติกถา
วิโสเธตีติกถา
๙. นวัตตัพพังสังฆัสสทินนัง- ๑๐. นวัตตัพพังพุทธัสสทินนังมหัป-
มหัปผลันติกถา ผลันติกถา
๑๑. ทักขิณาวิสุทธิกถา


เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๓๘๑/๔๓๐-๔๓๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
๑๘. อัฏฐารสมวรรค
๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
ว่าด้วยมนุษยโลก
[๘๐๒] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ใน
มนุษยโลก” ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เจดีย์ อาราม วิหาร คาม นิคม นคร รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคย
ประทับอยู่มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเจดีย์ อาราม วิหาร คาม นิคม รัฐ ชนบทที่พระพุทธเจ้าเคย
ประทับอยู่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรง
อยู่ในมนุษยโลก”
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่ป่าลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ประกาศ
ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ ปรินิพพานที่กรุงกุสินารา
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคประสูติที่ป่าลุมพินี ฯลฯ ปรินิพพานที่กรุง
กุสินารา ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ใน
มนุษยโลก”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าที่เราเห็นอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงพุทธนิมิต ส่วนพระองค์จริงยังสถิตอยู่บน
ชั้นดุสิตตลอดกาล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๑. มนุสสโลกกถา (๑๗๗)
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่
ณ ควงไม้สาละ ในสุภควัน เขตกรุงอุกกัฏฐะ” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
เราแรกตรัสรู้พักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ตำบลอุรุเวลา” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
เราพักอยู่ ณ เวฬุวันสถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์” ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ เชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี” ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราพักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก
[๘๐๓] ปร. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลกใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อัน
โลกไม่แปดเปื้อน๑ ครอบงำโลกอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงกำเนิดในโลก ทรงเจริญในโลก แต่ทรงเป็นผู้อัน
โลกไม่แปดเปื้อน ครอบงำโลกอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงดำรงอยู่ในมนุษยโลก”
มนุสสโลกกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้อันโลกไม่แปดเปื้อน หมายถึงไม่ถูกกิเลสในโลกธรรม ๘ ประการ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ แปดเปื้อน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๒-๘๐๓/๒๙๗-๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
ว่าด้วยการแสดงธรรม
[๘๐๔] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม”
ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ใครแสดง
ปร. พระพุทธนิมิต
สก. พระพุทธนิมิตเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ใครแสดง
ปร. ท่านพระอานนท์
สก. ท่านพระอานนท์เป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๕] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม”
ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเวตุลลกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๔-๘๐๖/๒๙๘)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตพระองค์มาเพื่อทรงแสดงธรรมในมนุษย์ ดังนั้น พระพุทธเจ้า
ที่ปรากฏอยู่ในโลกมนุษย์จึงมิใช่พระองค์จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๔-๘๐๖/๒๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๒. ธัมมเทสนากถา (๑๗๘)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “สารีบุตร เราแสดงธรรมโดยย่อ
ก็ได้ เราแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เราแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารก็ได้
แต่บุคคลผู้รู้ทั่วถึงหาได้ยาก” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม
[๘๐๖] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒
จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดงธรรม เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้
ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดงธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีเหตุ แสดงธรรมที่มีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลาย
ควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำพร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี
ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’ เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้อยู่ โลกธาตุมีหมื่น
จักรวาลได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว” ๓ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม
ธัมมเทสนากถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๓/๑๘๕
๒ รู้ยิ่งแล้ว ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ
๗ เวทนา ๗ เจตนา ๗ สัญญา ๗ จิต ๗ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕)
๓ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๖/๓๗๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๓. กรุณากถา (๑๗๙)
๓. กรุณากถา (๑๗๙)
ว่าด้วยกรุณา
[๘๐๗] สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เมตตาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมตตาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มุทิตา ฯลฯ อุเบกขาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๗-๘๐๘/๒๙๘-๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สัตว์ผู้มีราคะแสดงความกรุณาต่อผู้ที่ตนรักใคร่เอ็นดูออกมาด้วยอำนาจราคะ จึง
เข้าใจว่า ราคะนั้นแหละคือกรุณา พระผู้มีพระภาคไม่มีราคะเช่นนั้น จึงชื่อว่าไม่มีกรุณา (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๐๗-๘๐๘/๒๙๘-๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๓. กรุณากถา (๑๗๙)
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคไม่ใช่ผู้ประกอบด้วยกรุณาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยกรุณา ทรงเกื้อกูลชาวโลก ทรง
อนุเคราะห์ชาวโลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลกมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยกรุณา ทรงเกื้อกูลชาวโลก
ทรงอนุเคราะห์ชาวโลก ทรงประพฤติประโยชน์แก่ชาวโลก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มี” ฯลฯ
สก. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระผู้มีพระภาคทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าไม่มี”
[๘๐๘] ปร. กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีอยู่ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคยังทรงมีราคะใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น กรุณาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจึงไม่มี
กรุณากถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๔. คันธชาติกถา (๑๘๐)
๔. คันธชาติกถา (๑๘๐)
ว่าด้วยคันธชาติ
[๘๐๙] สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
หอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. พระผู้มีพระภาคทรงใช้ของหอมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากพระผู้มีพระภาคเสวยข้าวสุกและขนมกุมมาส ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ”
สก. พระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหอมกว่า
คันธชาติอื่น ๆ ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกที่อาบทา ไล้ทาพระบังคนหนัก พระบังคนเบา ของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เก็บไว้ในหีบ บรรจุไว้ในผอบ แผ่ขายที่ตลาดและใช้ของ
หอมนั้นแทนของหอมมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
คันธชาติกถา จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๐๙/๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระบังคนหนักและพระบังคนเบาของพระพุทธเจ้ามีกลิ่นหอมกว่าคันธชาติอื่น ๆ
ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้ เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้าแต่ไม่ได้พิจารณาให้แยบคายจึงเห็นผิด (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๐๙/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
ว่าด้วยทางสายเดียว
[๘๑๐] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียวใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ด้วยมรรคไหน
ปร. ด้วยอรหัตตมรรค

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะบางพวกและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๐/๒๙๙)
๒ เพราะมีความเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงสามารถบรรลุอริยผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรคเดียว คือ อรหัตตมรรค
เท่านั้น ปรวาทีมีความเห็นเช่นนี้เพราะมีความรักในพระพุทธเจ้า และไม่ได้พิจารณาโดยแยบคาบ จึงเห็นผิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๐/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วย
อรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละสังโยชน์ ๓ ประการได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นโสดาปัตติผล
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละสังโยชน์ ๓ ประการได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
โสดาปัตติผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้
ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
สก. ความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
สกทาคามิผลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เป็นสกทาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะ
อย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอรหัตตมรรค”
สก. พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด
ได้ด้วยอรหัตตมรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทรงละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตต-
มรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผล มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากการละกามราคะและพยาบาทได้เด็ดขาด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น
อนาคามิผล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงละกามราคะอย่างละเอียด
พยาบาทอย่างละเอียดได้ด้วยอรหัตตมรรค”
[๘๑๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔
ได้ด้วยอริยมรรคมรรคเดียว” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๕. เอกมัคคกถา (๑๘๑)
ปร. พระผู้มีพระภาคเจริญโสดาปัตติมรรคแล้วใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคเป็นพระโสดาบันใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. พระผู้มีพระภาคเจริญสกทาคามิมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรคแล้วใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระผู้มีพระภาคเป็นพระอนาคามีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๒] สก. พระผู้มีพระภาคทรงทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค
มรรคเดียว แต่พระสาวกทั้งหลายทำให้แจ้งสามัญญผล ๔ ได้ด้วยอริยมรรค ๔
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสาวกทั้งหลายเห็นธรรมที่พระองค์ไม่ทรงเห็น บรรลุธรรมที่พระองค์
ไม่ทรงบรรลุ ทำให้แจ้งธรรมที่พระองค์ไม่ทรงทำให้แจ้งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกมัคคกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
ว่าด้วยการเลื่อนฌาน
[๘๑๓] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. เลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เลื่อนจากทุติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งทุติยฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๓-๘๑๖/๓๐๐)
๒ เพราะมีความเห็นว่า บุคคลสามารถเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้ โดยไม่ต้องผ่านอุปจารแห่ง
ฌาน(ภาวนาวิถีจิต)นั้น ๆ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๓-๘๑๖/๓๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ผู้ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้” ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฐมฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นของ
มีโทษใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นของ
มีโทษใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฐมฌานมีวิตก มีวิจารใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานมีวิตก มีวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากปฐมฌานไปสู่ทุติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ปฐมฌานกับทุติยฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๔] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งตติยฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้”
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. ทุติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการวิตกวิจารโดยความเป็นของมี
โทษใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการวิตกวิจารโดยความเป็นของมี
โทษใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทุติยฌานยังมีปีติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานยังมีปีติใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากทุติยฌานไปสู่ตติยฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ทุติยฌานกับตติยฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๕] สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานก็เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า
“ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานก็เพื่อความเกิดขึ้น
แห่งจตุตถฌาน” ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๖. ฌานสังกันติกถา (๑๘๒)
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้”
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการปีติ โดยความเป็นของมีโทษ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จตุตถฌานเกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้มนสิการปีติ โดยความเป็นของมีโทษ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ตติยฌานสหรคตด้วยสุขใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จตุตถฌานสหรคตด้วยสุขใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โยคีบุคคลเลื่อนจากตติยฌานไปสู่จตุตถฌานได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตติยฌานกับจตุตถฌานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
[๘๑๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “โยคีบุคคลเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าจตุตถฌานอยู่”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น โยคีบุคคลจึงเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่งได้
ฌานสังกันติกถา จบ
๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
ว่าด้วยสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[๘๑๗] สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างผัสสะ ฯลฯ สมาธิที่เกิดในระหว่างปัญญามีอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน มีอยู่ในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดู ม.อุ. (แปล) ๑๔/๑๖/๒๓-๒๔
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะและนิกายอันธกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๗/๓๐๑)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ทุติยฌานในปัญจกนัย เป็นฌานในระหว่างแห่งฌานที่ ๑ กับฌานที่ ๒ ในจตุกกนัย
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๑๗/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่”
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌาน
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่”
[๘๑๘] สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานกับทุติย-
ฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างทุติยฌานกับตติยฌานใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างตติยฌานกับจตุตถฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานไม่มีในระหว่างปฐมฌานกับทุติยฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๑๙] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๗. ฌานันตริกกถา (๑๘๓)
สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒๐] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง ๒ ที่เกิด
ขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเมื่อสมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารเป็นไปอยู่ ปฐมฌานดับไป ทุติยฌาน
เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่า
สมาธิที่เกิดในระหว่างฌานมีอยู่ในระหว่างฌานทั้ง ๒ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า”
[๘๒๑] ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร เป็นปฐมฌาน ฯลฯ ทุติยฌาน ฯลฯ
ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร จึงชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
[๘๒๒] สก. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
สก. สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ๓ อย่าง คือ (๑) สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร
(๒) สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร (๓) สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “สมาธิไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ชื่อว่าสมาธิที่เกิดในระหว่างฌาน”
ฌานันตริกกถา จบ
๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
ว่าด้วยผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง
[๘๒๓] สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ผู้เข้าสมาบัติเห็นรูปทางตา ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก
ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผู้เข้าสมาบัติเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๓-๘๒๕/๓๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า ในขณะที่เข้าสมาบัติอยู่ บุคคลสามารถได้ยินเสียงด้วยหูธรรมดาได้ โดยอ้างพระ
พุทธพจน์ที่ว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้เข้าฌานไม่สามารถ
ได้ยินเสียงอะไรได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๓-๘๒๕/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากสมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียงได้”
สก. สมาธิมีแก่ผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ ผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ
ได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๒๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌานมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากเสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผู้เข้าสมาบัติได้ยินเสียง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา (๑๘๔)
[๘๒๕] สก. เสียงพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน เพราะเหตุ
นั้น ผู้เข้าสมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิตกวิจาร พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อทุติยฌาน ทุติยฌาน
นั้นยังมีวิตกวิจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เสียง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อปฐมฌาน ดังนั้น ผู้เข้า
สมาบัติจึงได้ยินเสียงได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปีติ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อตติยฌาน ฯลฯ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อจตุตถฌาน ฯลฯ รูปสัญญา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์
ต่อผู้เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ อากาสานัญจายตนสัญญา ตรัสว่าเป็น
ปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนสัญญา ตรัสว่า
เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ อากิญจัญญายตนสัญญา
ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ สัญญาและ
เวทนา ตรัสว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ผู้เข้าสัญญาเวทยิต-
นิโรธสมาบัตินั้นยังมีสัญญาและเวทนาอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
ว่าด้วยเห็นรูปทางตา
[๘๒๖] สก. บุคคลเห็นรูปทางตาใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลเห็นรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเห็นรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นมโนวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลเห็นรูปทางตาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตามีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๖-๘๒๗/๓๐๒)
๒ เพราะมีความเห็นว่า จักขุปสาท(ประสาทคือตา) เป็นผู้เห็นรูป มิใช่จักขุวิญญาณ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า จักขุปสาททำหน้าที่รับ(ดู) แต่จักขุวิญญาณทำหน้าที่รู้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๒๖-๘๒๗/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] ๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา (๑๘๕)
สก. ตาไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากตาไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลเห็นรูปทางตา”
สก. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลถูกต้องรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลถูกต้องรูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลรับรู้รูปด้วยรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นมโนวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายมีความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๘. อัฏฐารสมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. กายไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย”
[๘๒๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลเห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย”๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงเห็นรูปทางตา ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย
จักขุนารูปังปัสสตีติกถา จบ
อัฏฐารสมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มนุสสโลกกถา ๒. ธัมมเทสนากถา
๓. กรุณากถา ๔. คันธชาติกถา
๕. เอกมัคคกถา ๖. ฌานสังกันติกถา
๗. ฌานันตริกกถา ๘. สมาปันโนสัททังสุณาตีติกถา
๙. จักขุนารูปังปัสสตีติกถา


เชิงอรรถ :
๑ ดูความเต็มในข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๑๒-๓๑๓ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
๑๙. เอกูนวีสติวรรค
๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
ว่าด้วยการละกิเลส
[๘๒๘] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลให้ธรรมที่ดับแล้วดับไป ให้ธรรมที่หายไปแล้วหายไป ให้ธรรมที่
สิ้นไปแล้วสิ้นไป ให้ธรรมที่สูญไปแล้วสูญไป ให้ธรรมที่ดับสูญไปแล้วดับสูญไปได้
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อดีตดับไปแล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้”
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอดีตไม่มีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอดีตไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่
เป็นอดีตได้”

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๘-๘๓๑/๓๐๓-๓๐๔)
๒ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากอริยบุคคลละกิเลสในอดีตได้แล้วจึงชื่อว่าละกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบันได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๒๘-๘๓๑/๓๐๓-๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
[๘๒๙] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลให้ธรรมที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด ให้ธรรมที่ยังไม่เกิดพร้อมไม่ให้เกิดพร้อม
ให้ธรรมที่ยังไม่บังเกิดไม่ให้บังเกิด ให้ธรรมที่ยังไม่ปรากฏไม่ให้ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอนาคตยังไม่เกิดมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอนาคตยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละ
กิเลสที่เป็นอนาคตได้”
สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นอนาคตได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กิเลสที่เป็นอนาคตไม่มีมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกิเลสที่เป็นอนาคตไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่
เป็นอนาคตได้”
[๘๓๐] สก. บุคคลละกิเลสที่เป็นปัจจุบันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กำหนัดละราคะ ผู้ขัดเคืองละโทสะ ผู้หลงละโมหะ ผู้เศร้าหมอง
ละกิเลสได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๑. กิเลสชหนกถา (๑๘๖)
สก. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะด้วยโมหะ ละกิเลส ด้วยกิเลส
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะสัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะเป็นอกุศล ส่วนมรรคเป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบมาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกัน
เหลือเกิน ๔ อย่างนี้
สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ
มาประชุมกันได้”
[๘๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต
กิเลสที่เป็นปัจจุบันได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลที่ละกิเลสได้ไม่มีใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น บุคคลจึงละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็น
ปัจจุบันได้
กิเลสชหนกถา จบ
๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
ว่าด้วยความว่าง
[๘๓๒] สก. ความว่าง๑นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต๔ก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ความว่าง แปลมาจากศัพท์ว่า “สุญฺ�ตา” ซึ่งมีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) อนัตตลักขณะ(ลักษณะ
ที่เป็นอนัตตา)ของขันธ์ทั้งหลาย (๒) นิพพาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๓ เพราะมีความเห็นว่า ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์โดยไม่แยก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ความว่างที่เป็นอนัตตลักษณะของขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น จึงจะชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ได้ ส่วนความว่างที่
เป็นนิพพานไม่ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๒/๓๐๔)
๔ นิพพานที่ไม่มีนิมิต หมายถึงนิพพานที่ไม่มีนิมิตคือกิเลสทั้งปวง (ขุ.อป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
สก. ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง๑ นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีนิมิต ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่าง ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่าง นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ไม่ใช่ไม่เที่ยง ไม่ใช่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ใช่อาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น ไม่ใช่มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ
สิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสังขารขันธ์ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์”

เชิงอรรถ :
๑ นิพพานที่ไม่มีที่ตั้ง หมายถึงนิพพานที่ไม่มีที่ตั้งคือกิเลส (ขุ.อป.อ. ๒/๒๐๙/๑๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๒. สุญญตากถา (๑๘๗)
[๘๓๓] สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในรูปขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งเวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
นับเนื่องในสังขารขันธ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในรูปขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งรูปขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในเวทนาขันธ์
ฯลฯ นับเนื่องในสัญญาขันธ์ ฯลฯ นับเนื่องในวิญญาณขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความว่างแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านไม่ยอมรับว่า “นับเนื่องในสังขาร-
ขันธ์” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความว่างนับเนื่องในสังขารขันธ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้ว่างจาก
อัตตาหรือจากสิ่งที่นับเนื่องด้วยอัตตา” ๑ มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความว่างจึงนับเนื่องในสังขารขันธ์
สุญญตากถา จบ
๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
ว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะ
[๘๓๕] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ๒ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๓ ใช่๔
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะ เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น
เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพาน
เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๖๙/๗๕
๒ ผลแห่งความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงวิปากจิตแห่งอริยมรรคในมรรควิถีและในผลสมาบัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)
๓ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)
๔ เพราะมีความเห็นว่า การละกิเลสและความเกิดขึ้นแห่งผลจิตจัดเป็นผลแห่งความเป็นสมณะ ฉะนั้นจึงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๕-๘๓๖/๓๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๖] สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผลแห่งความเป็นสมณะเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๓. สามัญญผลกถา (๑๘๘)
สก. สกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อรหัตตมรรคเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สกทาคามิผล ฯลฯ
อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สามัญญผลกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
๔. ปัตติกถา (๑๘๙)
ว่าด้วยการได้
[๘๓๗] สก. การได้๑ เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๒ ใช่๓
สก. การได้เป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่ระลึก เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๘] สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ การได้ แปลมาจากศัพท์ว่า “ปตฺติ” อรรถกถา แก้เป็น ปฏิลาโภ ซึ่งหมายถึงการบรรลุก็ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)
๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)
๓ เพราะมีความเห็นว่า การบรรลุฌาน มรรค ผล และการได้ทรัพย์สินจัดเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๓๗-๘๔๐/๓๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้บิณฑบาต ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. การได้จีวรเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้บิณฑบาต
ฯลฯ การได้เสนาสนะ ฯลฯ การได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๕ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๕ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๓๙] สก. การได้ปฐมฌานเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ
(ควรให้พิสดารทั้งหมดโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว) การได้ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ...
จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนะ ... วิญญาณัญจายตนะ ... อากิญจัญญายตนะ
... เนวสัญญานาสัญญายตนะ ... โสดาปัตติมรรค ... โสดาปัตติผล ...
สกทาคามิมรรค ... สกทาคามิผล ... อนาคามิมรรค ... อนาคามิผล ...
อรหัตตมรรค ... การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การได้เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๔. ปัจตติกถา (๑๘๙)
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. การได้โสดาปัตติมรรคเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้
โสดาปัตติผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ฯลฯ การได้อรหัตตมรรคเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง การได้อรหัตตผลเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๙ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๙ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การได้เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. การได้เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น การได้จึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๕. ตถตากถา (๑๙๐)
๕. ตถตากถา (๑๙๐)
ว่าด้วยความเป็นจริง
[๘๔๑] สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๒] สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นรูปแห่งรูปนั้นเป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะบางพวก (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๑/๓๐๖)
๒ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวง มีความเป็นจริงอยู่อย่างหนึ่งเรียกว่าสภาวะ
สภาวะนั้นเป็นอสังขตะ (ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ธรรมที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งกับสภาวะแห่งธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจัดเป็นสังขตะเช่นเดียวกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๑/๓๐๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๕. ตถตากถา (๑๙๐)
สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นเวทนาแห่งเวทนา ความเป็นเวทนา ฯลฯ ความเป็นสัญญา
แห่งสัญญา ความเป็นสัญญา ฯลฯ ความเป็นสังขารแห่งสังขาร ความเป็นสังขาร
ฯลฯ ความเป็นวิญญาณแห่งวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ความเป็นวิญญาณแห่งนิพพาน ฯลฯ เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความเป็นรูปแห่งรูป ความเป็นรูปเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ฯลฯ ความเป็นวิญญาณแห่งวิญญาณ ความเป็นวิญญาณเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี ๖ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๖ อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็น
สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมทั้งปวงจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง
ตถตากถา จบ
๖. กุสลกถา (๑๙๑)
ว่าด้วยกุศล
[๘๔๔] สก. นิพพานธาตุเป็นกุศลใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิพพานไม่มีโทษจึงจัดเป็นกุศล ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิพพาน
เป็นอัพยากฤต ถึงแม้จะไม่มีโทษ แต่ก็ไม่มีการเผล็ดผล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๔/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๖. กุสลกถา (๑๙๑)
สก. นิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากนิพพานธาตุรับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความ
ตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล”
[๘๔๕] สก. อโลภะเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้ง
ใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อโลภะเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานธาตุเป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๙. เอกูนวีสติมวรรค] ๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
สก. อโทสะเป็นกุศล ฯลฯ อโมหะ ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ
สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นกุศล แต่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มี
ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๔๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิพพานธาตุเป็นกุศล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิพพานธาตุไม่มีโทษมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากนิพพานธาตุไม่มีโทษ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “นิพพานธาตุ
เป็นกุศล”
กุสลกถา จบ
๗. อัจจันตนิยามกถา (๑๙๒)
ว่าด้วยความแน่นอนโดยส่วนเดียว
[๘๔๗] สก. ความแน่นอนโดยส่วนเดียวของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม
ปร.๑ ใช่๒
สก. บุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ผู้ฆ่าบิดา ฯลฯ ผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ฯลฯ ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ฯลฯ ผู้ทำลายสงฆ์
ให้แตกกัน เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗)
๒ เพราะมีความเห็นว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคล ไปเกิดในอบายแล้วไม่สามารถพ้นจากอบายได้ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า แม้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลก็มิได้หมายความว่าจะอยู่ในอบายภูมิตลอดไป
เพียงแต่ต้องอยู่ในอบายนานกว่าผลกรรมอื่น ๆ จึงเรียกว่า นิยตบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๔๗/๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า :๘๘๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น