Google Analytics 4




เล่มที่ ๐๖-๔ หน้า ๑๘๕ - ๒๔๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
รัตติเฉท
ว่าด้วยเหตุให้ขาดราตรี ๔ อย่าง
[๙๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่งอยู่ ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่าง
คือ

๑. สหวาสะ (การอยู่ร่วมกัน)
๒. วิปปวาสะ (การอยู่ปราศ)
๓. อนาโรจนา (การไม่บอก)
๔. อูเนคเณจรณะ (การประพฤติมานัตในคณะสงฆ์อันพร่อง)

อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัติมี ๔ อย่างนี้แล
ทรงอนุญาตให้เก็บมานัต
[๙๓] สมัยนั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันจำนวนมากในกรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ประพฤติมานัตไม่สามารถจะทำมานัตให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บมานัต”
วิธีเก็บมานัต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเก็บมานัตอย่างนี้ ภิกษุผู้ประพฤติมานัตพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าเก็บมานัต” มานัตย่อมเป็นอันเก็บ หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเก็บวัตร” มานัต
ย่อมเป็นอันเก็บ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๕. อัพภานารหวัตตะ
ทรงอนุญาตให้สมาทานมานัต
[๙๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางออกจากกรุงสาวัตถีไปในที่ต่าง ๆ ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตสามารถทำมานัตให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานมานัต”
วิธีสมาทานมานัต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสมาทานมานัตอย่างนี้ ภิกษุผู้ประพฤติมานัตพึงเข้าไป
หาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวว่า
“ข้าพเจ้าสมาทานมานัต” มานัตย่อมเป็นอันสมาทาน หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าสมาทาน
วัตร” มานัตย่อมเป็นอันสมาทาน
มานัตตจาริกวัตตะ จบ
๕. อัพภานารหวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
[๙๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่อัพภานยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้ควรแก่อัพภานยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๕. อัพภานารหวัตตะ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
จริงหรือ”
พวกภิกษุกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ควรแก่อัพภานจึงยินดีการที่ปกตัตต
ภิกษุทั้งหลาย กราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว
ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควร
แก่อัพภานไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลัง
ให้ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำ ของภิกษุผู้ควรแก่อัพภานด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานโดยวิธี
ที่ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานทั้งหลายต้องประพฤติ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
[๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่อัพภานพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติ
โดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๕. อัพภานารหวัตตะ
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
ฯลฯ (พึงอธิบายวัตรของภิกษุผู้ควรแก่มานัต ผู้ประพฤติมานัต
และผู้ควรแก่อัพภาน ทั้ง ๓ ให้เป็นอันเดียวกัน เหมือนวัตรของ
ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ฉะนั้น)
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”
๒๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
ฯลฯ (พึงอธิบายให้พิสดารเหมือนที่ผ่านมา)
๔๔. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มีใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส ฯลฯ
๔๗. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๕. อัพภานารหวัตตะ
ฯลฯ
๕๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๔. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๕. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๖. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๕๗. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๕๘. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๙. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๐. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๑. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๒. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๓. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรม
๖๔-๗๔. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับ
ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่มานัต ...
กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่
กว่า ... ไม่พึงอยู่ในสถานที่ที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้
ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่า ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่า
... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มี พรรษา
แก่กว่า
๗๕. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่านั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึง
นั่งบนอาสนะสูง
๗๖. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่านั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่ง
บนอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาริวาสิกขันธกะ
๗๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มี
พรรษาแก่กว่า
๗๘. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่าเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ
ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมสูง
๗๙. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่าเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน
ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน
กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน จบ
อัพภานารหวัตตะ จบ
ปาริวาสิกขันธกะ ที่ ๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๕ เรื่อง
รวมเรื่องที่มีในปาริวาสิกขันธกะ
เรื่องพวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้
นำที่นอนมาให้ การล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
รับบาตรและจีวร ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ปกตัตตภิกษุผู้มีศีลเป็น ที่รักกล่าวตำหนิ
ภิกษุอยู่ปริวาสผู้ยินดีต้องทุกกฏ ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ด้วยกันตามลำดับพรรษา และทรงอนุญาตกิจ ๕ อย่าง
คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละและภัต
วิธีประพฤติชอบ คือ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
พอใจที่สุดท้าย ไม่พึงให้ภิกษุนำหน้าและตามเข้าตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาริวาสิกขันธกะ
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เป็นอาคันตุกะไป
และมีอาคันตุกะมา บอกในวันอุโบสถ
ในวันปวารณา สั่งทูตให้บอก
ไปสู่อาวาสและสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
ไม่อยู่ในที่มุงบังเดียวกัน เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน
ไม่พึงนั่งบนอาสนะ เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ
ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่บนที่ต่ำ
ไม่พึงเดินจงกรมในที่สูง หรือเดินจงกรมบนพื้นดิน
ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
ไม่พึงอยู่ในที่มุงบังเดียวกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสที่มีพรรษามากกว่า
ทำการใช้ไม่ได้ ราตรีขาด ทำปริวาสให้บริสุทธิ์
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงทราบวิธีเก็บวัตร
วิธีสมาทานวัตร ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
ผู้ควรแก่มานัต ผู้ประพฤติมานัตและผู้ควรแก่อัพภาน
พระวินัยธรรมพึงทราบโดยนัยที่คล้ายกัน
รัตติเฉท ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง ของภิกษุ
ผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่าง การประพฤติให้ครบกำหนดวัน
กรรม ๒ อย่างคล้ายกัน กรรม ๓ อย่างนอกจากนั้นเหมือนกัน
ปาริวาสิกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
๓. สมุจจยขันธกะ
๑. สุกกวิสัฏฐิ
ว่าด้วยวิธีการออกจากอาบัติที่ต้องเพราะทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เรื่องพระอุทายี
[๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นท่านพระอุทายีต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ๑ ไม่ได้ปิดไว้ แล้วบอกภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมต้องอาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้”
อัปปฏิจฉันนมานัตตะ
ว่าด้วยมานัตเพื่ออาบัติที่ไม่ได้ปิดไว้และกรรมวาจา
[๙๘] ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งกราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ท่านผู้เจริญ
กระผมนั้นขอมานัต๒ ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดไว้กับสงฆ์

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ได้แก่ อาบัติที่ภิกษุต้องเพราะจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
๒ มานัต แปลว่า นับ หมายถึงนับราตรี ๖ ราตรี คืออยู่ประพฤติมานัตในเขตที่สงฆ์กำหนดให้เป็นเวลา ๖
ราตรี แล้วสงฆ์จึงสวดระงับอาบัติให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แม้ครั้งที่ ๒ กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดไว้ แม้ครั้งที่ ๓ กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๙๙] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้มานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี นี่เป็น
ญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่
ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้น
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์
ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น
เป็นมติอย่างนี้”
อัปปฏิจฉันนอัพภาน
ว่าด้วยอัพภานสำหรับอาบัติที่ไม่ได้ปิดไว้
[๑๐๐] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้วได้บอกภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้น
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงอัพภาน๑ภิกษุ
อุทายี”

เชิงอรรถ :
๑ อัพภาน แปลว่า การเรียกเข้าหมู่,การรับกลับเข้าหมู่ เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งการออกจากอาบัติ
สังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
วิธีอัพภานและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่กระผม กระผมนั้น ประพฤติมานัตแล้ว
จึงขออัพภานกับสงฆ์
ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
ไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดไว้แก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจึงขออัพภานกับสงฆ์ แม้ครั้งที่ ๒
ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดไว้แก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจึงขออัพภานกับสงฆ์ แม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๐๑] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นได้
ประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงอัพภานภิกษุอุทายี
นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติ
มานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ
อัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายี
นั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ สงฆ์อัพภาน
ภิกษุอุทายี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูป
ใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่
ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุ
อุทายี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุอุทายี สงฆ์อัพภานแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
เอกาหปฏิจฉันนปริวาส
ว่าด้วยปริวาสสำหรับอาบัติที่ปิดไว้วันเดียว
[๑๐๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้วันเดียวแล้วบอกภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงให้ปริวาสวันเดียว
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี
วิธีให้ปริวาส และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอปริวาสวันเดียวเพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๐๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ปริวาส
วันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวนั้นแก่ภิกษุอุทายี
นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้ว ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว
เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว เธอขอปริวาส
วันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุ
อุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ สัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว
สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความ นิ่ง
นั้นเป็นมติอย่างนี้”
เอกาหปฏิจฉันนมานัตตะ
ว่าด้วยมานัตสำหรับอาบัติที่ปิดไว้วันเดียว
[๑๐๔] ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว กระผมนั้นจึงขอ
ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว
แก่กระผม กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นสงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสักกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี
วิธีให้มานัต ๖ ราตรี และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว กระผมนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่กระผม กระผมนั้ นอยู่ปริวาสแล้วขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๐๕] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้น
อยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
ไว้วันเดียวกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุ
อุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ สัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้น
ขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูป
ใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสิฏฐิ ปิดไว้วันเดียวสงฆ์
ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
เอกาหปฏิจฉันนอัพภาน
ว่าด้วยอัพภานสำหรับอาบัติปิดไว้วันเดียว
[๑๐๖] ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้วบอกภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว กระผมนั้นขอปริวาส
วันเดียวเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่
กระผม กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจะ
ปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี”
วิธีอัพภานและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว กระผมนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่กระผม กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วัน
เดียวแก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๐๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียวเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วัน
เดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้น
ประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงอัพภานภิกษุอุทายี
นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาส
แล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วัน
เดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์
สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว ภิกษุอุทายีนั้น
ขอปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาสวันเดียว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้น
ประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
ภิกษุอุทายี สงฆ์อัพภานแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
เอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปัญจาหปฏิจฉันนปริวาส
ว่าด้วยปริวาสสำหรับอาบัติปิดไว้ ๕ วัน
[๑๐๘] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้ ๒ วัน ... ปิดไว้ ๓ วัน ... ปิดไว้ ๔ วัน ... ปิดไว้ ๕ วัน แล้วบอกแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้ ๕ วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี
วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๐๙] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่
ภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่
ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายี
นั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันสงฆ์ให้
แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น
เป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ปาริวาสิกมูลายปฏิกัสสนา
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้อยู่ปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
[๑๑๐] ท่านพระอุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผม
ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕
วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม กระผม
นั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้
กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้”
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม กระผมนั้นกำลังอยู่
ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้น
จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๑๑] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุ
อุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลัง
อยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุ
อุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิใน
ระหว่างไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์จึงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่างไม่ได้
ปิดไว้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้น
ขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิด
ไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์จึงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่างไม่ได้ปิดไว้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุอุทายี สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
มานัตตารหมูลายปฏิกัสสนา
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้ควรแก่มานัตเข้าหาอาบัติเดิม
[๑๑๒] ท่านพระอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรแก่มานัตต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผม
นั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน
แก่กระผม กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผม
นั้นอยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้”
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไป
หาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส
ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึง
ขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้
ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิในระหว่างไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรแก่มานัต
ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นขอการ
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้
ปิดไว้กับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๑๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
อุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหา
อาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุ
อุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวในระหว่างชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้วพึงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้น
กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการชักภิกษุ
อุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้
ปิดไว้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุอุทายี สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ติกาปัตติมานัตตะ
ว่าด้วยมานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
[๑๑๔] ท่านพระอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผม
นั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน
แก่กระผมแล้ว กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้น
อยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติ
เดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้น
อยู่ปริวาสแล้วจะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงให้มานัต ๖
ราตรีเพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี”
วิธีให้มานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผมแล้ว กระผมนั้นกำลังอยู่
ปริวาสต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้น
จึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรแก่มานัต
ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอ
การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้
ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๑๕] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุ
อุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นยู่ปริวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
แล้วเป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้
ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่
ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึง
ให้มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วันเพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลัง
อยู่ปริวาสต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุ
อุทายีนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อ
อาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้น
อยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุอุทายี สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ ๓ ตัวแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
มานัตตจาริกมูลายปฏิกัสสนา
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้ประพฤติมานัตเข้าหาอาบัติเดิม
[๑๑๖] ท่านพระอุทายีนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผม
ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕
วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผมแล้ว
กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาสต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวแก่กระผม กระผมนั้นกำลัประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
แล้วให้มานัต ๖ ราตรี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไป
หาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๕ วัน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผมแล้ว
กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่
ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่กระผม กระผมนั้นกำลังประพฤติมานัตต้อง
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ท่านผู้เจริญ กระผม
นั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๑๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุ
อุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่
ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลัง
ประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายี
นั้น กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตินกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติ เดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี แล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นจึงขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ภิกษุอุทายี สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
วิธีให้มานัตและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรีอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ฯลฯ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว
แก่กระผมแล้ว กระผมนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้น
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่
ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชัก
ภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี
นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต
๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อัพภานารหมูลายปฏิกัสสนา
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเข้าหาอาบัติเดิม
[๑๑๘] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
“ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ฯลฯ
กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้ว ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
แล้วให้มานัต ๖ ราตรี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี อย่างนี้ ภิกษุอุทายี สงฆ์ได้ให้
มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้"
มูลายปฏิกัสสิตอัพภาน
ว่าด้วยอัพภานภิกษุผู้ถูกชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๑๑๙] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ฯลฯ
กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี”
วิธีอัพภาน และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน แก่กระผมแล้ว กระผม
นั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้
ปิดไว้ กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่
ได้ปิดไว้ กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสักกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นอยู่ปริวาส
แล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่อ
อาบัติ ๓ ตัวแก่กระผมแล้ว กระผมนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แก่กระผมแล้ว กระผมนั้น
ประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ กระผมจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แก่กระผมแล้ว ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นประพฤติ
มานัตแล้ว ขออัพภานกับสงฆ์ ๋
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒๐] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติ เดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้
ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรีเพื่ออาบัติ
๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติ
เดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภาน ต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์
พึงอัพภานภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๕ วัน ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภานกับ
สงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ภิกษุอุทายี สงฆ์อัพภานแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปักขปฏิจฉันนปริวาส
ว่าด้วยปริวาสสำหรับอาบัติที่ปิดไว้ ๑ ปักษ์
[๑๒๑] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้ ๑ ปักษ์ บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้ปักขปริวาส
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี”
วิธีให้ปักขปริวาส และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปักขปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอปักขปริวาส เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒๒] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปักขปริวาสเพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้
ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี
นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ให้ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้
๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ สงฆ์
ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น
เป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ปักขปริวาสิกมูลายปฏิกัสสนา
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้อยู่ปักขปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
[๑๒๓] ท่านพระอุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ กระผมนั้นขอ
ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑
ปักษ์แก่กระผมแล้ว กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน
แล้วให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน”
วิธีชักเข้าหาอาบัติเดิม และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีนั้นเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ คือ ภิกษุ
อุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่
พรรษาทั้งลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้อง
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ กระผมนั้นขอปักขปริวาส
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์แก่กระผมแล้ว
กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ปิดไว้ ๕ วัน ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่างปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส ๑ ปักษ์เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปักขปริวาส
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุ
อุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึง
ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ปิดไว้ ๕ วัน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปักขปริวาส เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปักขปริวาส เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ภิกษุอุทายี สงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
สโมธานปริวาส
ว่าด้วยสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อนและกรรมวาจา
[๑๒๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อนอย่างนี้
คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ กระผมนั้นขอ
ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์
แก่กระผมแล้ว กระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นจึงขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้น
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน แก่กระผมแล้ว ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปักขปริวาส เพื่ออาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปักขปริวาส เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุ
อุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการ ชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุ
อุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน แก่ภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ภิกษุอุทายีนั้น
กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายี
นั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกาวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
มานัตตารหมูลายปฏิกัสสนาทิ
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้ควรแก่มานัตเข้าหาอาบัติเดิมเป็นต้น
[๑๒๗] ท่านพระอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรแก่มานัตต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ
กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วเป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน แล้วให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีนั้นเข้าหาอาบัติเดิม อย่างนี้ คือ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน อย่างนี้คือ ฯลฯ
สงฆ์ให้ ฯลฯ
สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้
๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ติกาปัตติมานัตตะ
ว่าด้วยมานัตเพื่ออาบัติ ๓ ตัว
[๑๒๘] ท่านพระอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ
กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุอุทายี”
วิธีให้มานัตและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒๙] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้มานัต ๖
ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่ภิกษุ
อุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว แก่
ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัว สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
มานัตตจาริกมูลายปฏิกัสสนาทิ
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้ประพฤติมานัตเข้าหาอาบัติเดิมเป็นต้น
[๑๓๐] ท่านพระอุทายีนั้น กำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ
กระผมนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน แล้วให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน แล้วให้มานัต ๖ ราตรี”
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีนั้นเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อนอย่างนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี อย่างนี้ ฯลฯ สงฆ์ให้ ฯลฯ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้
๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
อัพภานารหมูลายปฏิกัสสนาทิ
ว่าด้วยการชักภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเข้าหาอาบัติเดิมเป็นต้น
[๑๓๑] ท่านพระอุทายีนั้น ประพฤติมานัตแล้ว ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน บอกแก่ภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์
ฯลฯ กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงชักภิกษุอุทายีเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน
แล้วให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน แล้วให้มานัต ๖ ราตรี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงชักภิกษุอุทายีนั้นเข้าหาอาบัติเดิมอย่างนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติตัวก่อนอย่างนี้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรีอย่างนี้ ฯลฯ สงฆ์ให้ ฯลฯ
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้
๕ วัน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปักขปฏิจฉันนอัพภาน
ว่าด้วยอัพภานสำหรับอาบัติที่ปิดไว้ ๑ ปักษ์และกรรมวาจา
[๑๓๒] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ
กระผมนั้นประพฤติมานัดแล้ว กระผมจะปฎิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงอัพภานภิกษุอุทายี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
วิธีอัพภาน และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงอัพภานภิกษุอุทายีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้น พึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ กระผมนั้นขอปักขปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่อ
อาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่กระผมแล้ว กระผมนั้น
กำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่างปิดไว้ ๕ วัน
กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้น
ขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผมแล้ว
กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผม
นั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธาน
ปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม
กระผมขออยู่ปริวาสแล้วจึงขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวแก่กระผมแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
กระผมนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ใน
ระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธาน-
ปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่
กระผม กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม
กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน
กับสงฆ์ สงฆ์ชักกระผมนั้นเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กระผมนั้นขอสโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม กระผมนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง
ปิดไว้ ๕ วันแก่กระผม ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้ว จึงขออัพภาน
กับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๓๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ภิกษุอุทายีนั้นขอปักขปริวาส เพื่ออาบัติ
๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๑ ปักษ์
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นกำลังอยู่ปริวาส ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้
๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว เป็นผู้ควรแก่มานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหา
อาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายีเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
ตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๓ ตัวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ
๓ ตัวแก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นกำลังประพฤติมานัต ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๑. สุกกวิสัฏฐิ
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี
ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี
เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่างปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ ๑ ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕
วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายี เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
ตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้
๕ วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ ๕ วันแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขอ
อัพภานกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงอัพภานภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ ๑ ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ ๑ ปักษ์ ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภาน
กับสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ภิกษุอุทายี สงฆ์อัพภานแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
สุกกวิสัฏฐิ จบ
๒. ปริวาส
ว่าด้วยการอยู่ชดใช้
อัคฆสโมธานปริวาส
ว่าด้วยปริวาสประมวลค่าแห่งอาบัติ และกรรมวาจา
[๑๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑
ตัวปิดไว้ ๑ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๓ วัน อาบัติ ๑
ตัวปิดไว้ ๔ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๕ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๖ วัน อาบัติ ๑ ตัว
ปิดไว้ ๗ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๘ วัน อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๙ วัน อาบัติ ๑ ตัว
ปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุนั้นบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน
กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น บรรดาอาบัติเหล่านั้น
อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน สงฆ์จงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุนั้น
วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๖ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน
ท่านผู้เจริญ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน กระผมนั้นขออัคฆสโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๓๕] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดา
อาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุชื่อนี้ขออัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติ
นั้นกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน
สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดาอาบัติ
เหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุชื่อนี้ขออัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นกับ
สงฆ์ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน สงฆ์ก็ให้อัคฆสโมธานปริวาส
เพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วัน ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติใดปิดไว้ ๑๐ วันอัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น
เป็นมติอย่างนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๗ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
สัพพจิรปฏิจฉันนอัคฆสโมธาน
ว่าด้วยปริวาสประมวลค่าแห่งอาบัติ
ที่ปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมดเข้าด้วยกัน
[๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑
ตัวปิดไว้ ๑ วัน อาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ วัน อาบัติ ๓ ตัวปิดไว้ ๓ วัน อาบัติ ๔
ตัวปิดไว้ ๔ วัน อาบัติ ๕ ตัวปิดไว้ ๕ วัน อาบัติ ๖ ตัวปิดไว้ ๖ วัน อาบัติ ๗
ตัวปิดไว้ ๗ วัน อาบัติ ๘ ตัวปิดไว้ ๘ วัน อาบัติ ๙ ตัวปิดไว้ ๙ วัน อาบัติ ๑๐
ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน ภิกษุนั้นบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐
วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น บรรดาอาบัติเหล่านั้น
อาบัติเหล่าใด ปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด สงฆ์จงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่อ
อาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้น
วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ
๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน ท่านผู้เจริญ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นาน
กว่าอาบัติทั้งหมด กระผมนั้นขออัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๘ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๓๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน
บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด ภิกษุชื่อนี้ขอ
อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว บรรดาอาบัติ
เหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
หลายตัว คือ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๑ วัน ฯลฯ อาบัติ ๑๐ ตัวปิดไว้ ๑๐ วัน บรรดา
อาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด ภิกษุชื่อนี้ขออัคฆสโมธาน
ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์ บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่า
อาบัติทั้งหมด สงฆ์ให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ บรรดา
อาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมดท่านรูปใดเห็นด้วยกับการ
ให้อัคฆสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
บรรดาอาบัติเหล่านั้น อาบัติเหล่าใดปิดไว้นานกว่าอาบัติทั้งหมด อัคฆสโมธาน-
ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓๙ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
เทฺวมาสปริวาส
ว่าด้วยปริวาสสำหรับอาบัติ ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือน
[๑๓๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือน
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์”
ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์
ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุ
นั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า “เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือน เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์
จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิด
ละอายใจว่า ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิดไว้ ๒ เดือน
กับสงฆ์”
ภิกษุนั้นได้บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน กระผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้
๒ เดือนกับสงฆ์’ กระผมนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่กระผมแล้ว
เมื่อกระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน เรานั้นได้คิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ กระผมนั้นจึง
ขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒
เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่กระผม เมื่อกระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๐ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์’ ดังนี้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น”
วิธีให้ปริวาส ๒ เดือน และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ฯลฯ กล่าวอย่างนี้ว่า ๊ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน กระผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้
๒ เดือนกับสงฆ์’ กระผมนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่
กระผมแล้ว เมื่อกระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์’ ดังนี้ กระผมนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่
กระผม เมื่อกระผมนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้น
จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๑ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
[๑๓๙] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับ
สงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว
เมื่อภิกษุชื่อนี้กำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน เรานั้นได้คิดว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ดังนี้ เรานั้น
จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส
คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิดไว้ ๒ เดือนกับ
สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒
เดือนแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือน ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้
๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือนเพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว
เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
เรานั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัวปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรานั้น เมื่อเรานั้นกำลังอยู่
ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือนเพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๒ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ดังนี้ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้
๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิดไว้ ๒ เดือน
แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้
ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือน สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
เทฺวมาสาปริวสิตัพพวิธิ
วิธีอยู่ปริวาส ๒ เดือนเพื่ออาบัติปิดไว้ ๒ เดือน
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน ภิกษุนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือน ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุ
นั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัวปิดไว้ ๒ เดือน
เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน ไฉนหนอ
เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ เรานั้นได้ขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติ ๑ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส คิดละอายใจว่า
‘ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๓ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิด
ไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวรู้ อาบัติ ๑ ตัวไม่รู้ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติตัวที่ภิกษุนั้นรู้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัตินั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส รู้อาบัติแม้
นอกนี้ ภิกษุนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน
คืออาบัติ ๑ ตัวรู้ อาบัติ ๑ ตัวไม่รู้ จึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่รู้ซึ่งปิด
ไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือนเพื่ออาบัตินั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา
เรานั้นกำลังอยู่ปริวาส รู้อาบัติแม้นอกนี้ ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ
อาบัติแม้นอกนี้ที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
แม้นอกนี้ที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ที่
ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงเทียบเคียงอาบัตินั้น แล้วอยู่ปริวาส ๒ เดือน
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวระลึกได้ อาบัติ ๑ ตัวระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่ระลึกได้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลัง
อยู่ปริวาส ระลึกอาบัติแม้นอกนี้ได้ ภิกษุนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวระลึกได้ อาบัติ ๑ ตัวระลึก
ไม่ได้ เรานั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติที่ระลึกได้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัตินั้น ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา เมื่อเรานั้นกำลัง
อยู่ปริวาส ระลึกอาบัติแม้นอกนี้ได้ ไฉนหนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๔ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
อาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’ ภิกษุนั้นจึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติ
แม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ที่
ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวแน่ใจ อาบัติ ๑ ตัวไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอปริวาส
๒ เดือน เพื่ออาบัติตัวที่แน่ใจปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัตินั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาสแน่ใจใน
อาบัติแม้นอกนี้ ภิกษุนั้นมีความคิดดังนี้ว่า ‘เราต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒
เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวแน่ใจ อาบัติ ๑ ตัวไม่แน่ใจ เรานั้นขอปริวาส ๒ เดือน
เพื่ออาบัติตัวที่แน่ใจ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือนเพื่ออาบัติ
นั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่เรา เมื่อเรานั้นกำลังอยู่ปริวาส แน่ใจในอาบัติแม้นอกนี้ ไฉน
หนอ เราพึงขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์’
ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติแม้นอกนี้ที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงอยู่ปริวาส ๒ เดือน นับต่อจากเดือนก่อน
ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้
๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวรู้แต่ปิดไว้ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้โดยไม่รู้ ภิกษุนั้นขอ
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
๒ เดือนเพื่ออาบัติเหล่านั้น ที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้น เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่
ปริวาส ภิกษุรูปอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๕ }

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๓. สมุจจยขันธกะ] ๒. ปริวาส
มาถึง กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่อ
อาบัติอะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒
ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวรู้แต่ปิดไว้ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้โดยไม่รู้ ภิกษุ
นั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว ท่าน ภิกษุนี้
ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาส เพื่ออาบัติเหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่รู้แต่ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อม
ฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่ไม่รู้ปิดไว้ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อม
ฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัตเพื่ออาบัติ ๑ ตัว’
[๑๔๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัวระลึกได้แต่ปิดไว้ อาบัติ ๑ ตัวปิดไว้โดยระลึกไม่ได้
ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือนกับสงฆ์ เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อ
ภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส ภิกษุรูปอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา มาถึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้
อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติอะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส ๒ ตัว ปิดไว้ ๒ เดือน คือ อาบัติ ๑ ตัว ระลึกได้แต่ปิดไว้ อาบัติ ๑
ตัวปิดไว้โดยระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้นขอปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒
เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส ๒ เดือน เพื่ออาบัติเหล่านั้นที่ปิดไว้ ๒ เดือนแก่
ภิกษุนั้นแล้ว ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย การให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่ระลึกได้แต่ปิดไว้
ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่ระลึกไม่ได้ปิดไว้
ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัต
เพื่ออาบัติ ๑ ตัว’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔๖ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น