Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๘-๔ หน้า ๑๘๑ - ๒๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร



พระวินัยปิฎก
ปริวาร
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการถูกต้องกายกับมาตุคามเป็นปัจจัย ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีถูกต้องกายกับมาตุคาม
ในกายสังสัคคสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ
ในทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา (๒) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๓) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่
ของตน ต่อหน้ามาตุคามเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของ
ตนต่อหน้ามาตุคาม
ในอัตตกามปาริจริยสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๕. สัญจริตตสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการทำหน้าที่ชักสื่อเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระอุทายี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระอุทายีทำหน้าที่ชักสื่อ
ในสัญจริตตสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วย ๖ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกาย มิใช่เกิด
ทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางจิต
(๓) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๔) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
(๕) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๖) เกิดทางกายวาจากับจิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๖. กุฏิการสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมา
เองเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีสร้างกุฎีด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ขอมาเอง
ในกุฏิการสิกขาบทมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๗. วิหารการสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะการสร้างวิหารใหญ่เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะแผ้วถางพื้นที่สร้างวิหาร ได้สั่งให้ตัดไม้รุกข
เจดีย์ต้นหนึ่ง
ในวิหารการสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
ในปฐมทุฏฐโทสสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น
เป็นเลสใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเมตติยะและพระภุมมชกะอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์
เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิก
ในทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพระเทวทัต
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พระเทวทัตพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ในสังฆเภทสิกขาบทนั้น มี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุที่ประพฤติตามสนับสนุนแก่ภิกษุผู้
พยายามทำลายสงฆ์ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุหลายรูปประพฤติตามสนับสนุนพระเทวทัตผู้พยายาม
ทำลายสงฆ์
ในสังฆเภทานุวัตตกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๑๒. ทุพพจสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุผู้ว่ายาก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
ตอบ : ทรงปรารภท่านพระฉันนะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ท่านพระฉันนะถูกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนโดยชอบ
ธรรม กลับทำตนให้เป็นที่ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้
ในทุพพจสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
ถาม : ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสเพราะการไม่สละกรรมจนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัยแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนีย
กรรมแล้วกลับกล่าวหาว่าพวกภิกษุลำเอียงเพราะชอบ ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียง
เพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัว
ในกุลทูสกสิกขาบทนั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติทุกกฏเพราะภิกษุไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลง
ในน้ำเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง
บ้วนน้ำลายบ้างลงในน้ำ
ในสิกขาบทที่ ๑๕ นั้น มี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต
มิใช่เกิดทางวาจา
กัตถปัญญัตติวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. กตาปัตติวาร
วาระว่าด้วยต้องอาบัติเท่าไร
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๓] ถาม : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังมิได้ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติ
ปาราชิก
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๓. ภิกษุสอดองคชาตเข้าในปากที่อ้าแต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ท่อนยาง
เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ถาม : เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๕
มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคาเกิน
กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๓. ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ โดยส่วนแห่งจิตคิดจะลัก มีราคา ๑
มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
เพราะการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ถาม : เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. ขุดหลุมพรางไว้เจาะจงมนุษย์ว่า “บุคคลชื่อนี้จะตกลงไปตาย” ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๒. เมื่อบุคคลชื่อนั้นตกไปได้รับทุกขเวทนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เขาตาย ต้องอาบัติปาราชิก
เพราะความจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ถาม : เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริ-
มนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุกล่าวว่า “ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเป็นพระ
อรหันต์” เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๘๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
เพราะการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริงเป็นปัจจัย ต้อง
อาบัติ ๓ อย่างเหล่านี้
ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ
๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในสังฆาทิเสสกัณฑ์เป็นต้น
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
[๑๙๔] ถาม : เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้อง
อาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. จงใจ พยายาม น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
เพราะการพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง
เหล่านี้
๒. กายสังสัคคสิกขาบท
ถาม : เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่าง คือ
๑. ภิกษุณีมีความกำหนัด ยินดีการจับต้องกายของชายผู้กำหนัด
บริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือหัวเข่าขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก
๒. ภิกษุใช้กายจับต้องกาย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๓. ใช้กายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๔. ใช้ของที่เนื่องด้วยกายจับต้องของที่เนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๕. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ
เพราะการถูกต้องกายเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๕ อย่างเหล่านี้
๓. ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท
เพราะการพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓
อย่าง คือ
๑. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงทวารหนัก ทวารเบา ต้อง อาบัติ
สังฆาทิเสส
๒. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงบริเวณใต้รากขวัญลงมา เหนือเข่า
ขึ้นไป เว้นทวารหนัก ทวารเบา ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. พูดชมบ้าง พูดติบ้าง พาดพิงถึงของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ
๔. อัตตกามปาริจริยสิกขาบท
เพราะการกล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนเป็นปัจจัย ภิกษุต้อง
อาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้ามาตุคาม ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
๒. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าบัณเฑาะก์ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. กล่าวสรรเสริญการบำเรอความใคร่ของตนต่อหน้าสัตว์ดิรัจฉาน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
๕. สัญจริตตสิกขาบท
เพราะการทำหน้าที่ชักสื่อเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. รับคำ ไปบอก กลับมาบอก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๒. รับคำ ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. รับคำ ไม่ไปบอก ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑาทิ
๖. กุฏิการสิกขาบท
เพราะการสร้างกุฎีด้วยการขอเอาเองเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๗. วิหารการสิกขาบท
เพราะการสร้างวิหารใหญ่เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. กำลังใช้ให้สร้าง ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะพยายาม
๒. ยังเหลืออิฐอีกก้อนหนึ่งจึงจะเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. อิฐก้อนสุดท้ายเสร็จแล้ว ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
เพราะการใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกที่ไม่มีมูลเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ
๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติ เพราะ
กล่าวเสียดสี
๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
เพราะการอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยปาราชิก
เป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะให้พ้นจากพรหมจรรย์ จึงโจท
ต้องอาบัติทุกกฏกับสังฆาทิเสส
๒. ขอโอกาสก่อน มีความประสงค์จะด่า จึงโจท ต้องอาบัติ เพราะ
กล่าวเสียดสี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๒. กตาปัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑาทิ
๑๐. สังฆเภทสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๑. สังฆเภทานุวัตตกสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุที่ประพฤติตามสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๒. ทุพพจสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ว่ายาก ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๑๓. กุลทูสกสิกขาบท
เพราะการไม่สละ(เรื่องนั้น)จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล ต้องอาบัติ ๓ อย่าง คือ
๑. จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
๒. จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
๓. จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๓. วิปัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจำนวนอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย
ภิกษุผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
เพราะการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย ภิกษุผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ
๓. วิปัตติวาร
วาระว่าด้วยเป็นวิบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๕] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔
อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็น
วิบัติ ๒ อย่าง คือ (๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๔. สังคหิตวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบวิบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
วิปัตติวารที่ ๓ จบ
๔. สังคหิตวาร
วาระว่าด้วยจัดเข้ากองอาบัติ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๖] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง
จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย
(๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๔) กองอาบัติทุกกฏ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๕. สมุฏฐานวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบจัดกองอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กอง
อาบัติทุกกฏ
สังคหิตวารที่ ๔ จบ
๕. สมุฏฐานวาร
วาระว่าด้วยสมุฏฐาน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๗] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิด
ทางวาจา
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๖. อธิกรณวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมุฏฐานอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑
สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา ฯลฯ
สมุฏฐานวารที่ ๕ จบ
๖. อธิกรณวาร
วาระว่าด้วยจัดเป็นอธิกรณ์
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๘] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔
อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง
จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๗. สมถวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบอธิกรณ์ในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอธิกรณ์ไหน
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์
อธิกรณวารที่ ๖ จบ
๗. สมถวาร
วาระว่าด้วยระงับด้วยสมถะ
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๑๙๙] ถาม : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗
อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขา
วินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสมถะในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำเป็นปัจจัย บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขา
วินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมถวารที่ ๗ จบ
๘. สมุจจยวาร
วาระว่าด้วยการสรุปรวม
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
[๒๐๐] ถาม : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่าง คือ
๑. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดกิน ต้องอาบัติ
ปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๑๙๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๒. ภิกษุเสพเมถุนธรรมในซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินโดยมาก ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๓. ภิกษุสอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้า แต่มิได้ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
๔. ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใช้ท่อนยาง
เพราะการเสพเมถุนธรรมเป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้
ถาม : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากอง
อาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ
๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัติเหล่านั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๒ อย่าง คือ
(๑) สีลวิบัติ (๒) อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๔ กอง คือ (๑) กองอาบัติ
ปาราชิก (๒) กองอาบัติถุลลัจจัย (๓) กองอาบัติปาจิตตีย์ (๓) กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุวิภังค์] ๘. สมุจจยวาร ๗. เสขิยกัณฑ์
๗. เสขิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสรุปรวมอาบัติในเสขิยกัณฑ์
ฯลฯ
๗. ปาทุกวรรค
ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๕
ถาม : เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงใน
น้ำเป็นปัจจัย ภิกษุต้องอาบัติเท่าไร
ตอบ : เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เป็นปัจจัย ต้องอาบัติ ๑ อย่าง คือ อาบัติทุกกฏ
เพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำเป็นปัจจัย
ต้องอาบัติ ๑ อย่างนี้
ถาม : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติเท่าไร บรรดากองอาบัติ
๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติเท่าไร บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วย
สมุฏฐานเท่าไร บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์ไหน บรรดาสมถะ ๗ อย่าง
ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : อาบัตินั้น บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง จัดเป็นวิบัติ ๑ อย่าง คือ อาจารวิบัติ
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติ ๑ กอง คือ กองอาบัติทุกกฏ
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ
เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอาปัตตาธิกรณ์
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย
(๒) ปฏิญญาตกรณะ (๓) สัมมุขาวินัยกับติณวัตถารกะ
สมุจจยวารที่ ๘ จบ ปัจจยวาร ๘ จบ
โสฬสมหาวารในมหาวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
๒. ภิกขุนีวิภังค์
โสฬสมหาวาร ตอน ๒
๑. กัตถปัญญัตติวาร
วาระว่าด้วยบัญญัติ ณ ที่ไหน
๑. ปาราชิกกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาราชิกกัณฑ์
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร
เพราะเรื่องอะไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น มีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุปปันนบัญญัติ
สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ
อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
บรรดาปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ จัดเข้าในอุทเทสไหน
นับเนื่องในอุทเทสไหน มาสู่อุทเทสโดยอุทเทสไหน
บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย อะไรเป็น
พระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิปาติโมกข์ อะไรเป็นวิบัติ อะไรเป็นสมบัติ อะไรเป็นข้อ
ปฏิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรง
อาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร ใครศึกษาอยู่ ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว สิกขาบทนี้
ตั้งอยู่ในใคร ใครทรงเอาไว้ เป็นถ้อยคำของใคร ใครนำมา
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕
[๒๐๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕๑ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทามีความกำหนัดยินดีการถูกต้องกาย
กับชายผู้กำหนัด
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุป-
ปันนบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ
ไม่มีอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ

เชิงอรรถ :
๑ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑-๔ ของภิกษุณีอนุโลมตามของภิกษุ ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๔/๓๒,๙๑/๘๐,๑๗๑/
๑๔๐-๑๔๑,๑๙๗/๑๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ จัด
เข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๒
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง จัดเข้ากองอาบัติไหน
ตอบ : จัดเข้ากองอาบัติปาราชิก
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทาง
วาจา
ถาม : บรรดาอธิกรณ์ ๔ อย่าง เป็นอธิกรณ์อย่างไหน
ตอบ : เป็นอาปัตตาธิกรณ์
ถาม : บรรดาสมถะ ๗ อย่าง ระงับด้วยสมถะเท่าไร
ตอบ : ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ (๑) สัมมุขาวินัย (๒) ปฏิญญาตกรณะ
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้นอะไรเป็นพระวินัย อะไรเป็นอภิวินัย
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย
ถาม : ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ นั้น อะไรเป็นพระปาติโมกข์ อะไรเป็นอธิ-
ปาติโมกข์
ตอบ : พระบัญญัติเป็นพระปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์
ถาม : อะไรเป็นวิบัติ
ตอบ : ความไม่สำรวมเป็นวิบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ถาม : อะไรเป็นสมบัติ
ตอบ : ความสำรวมเป็นสมบัติ
ถาม : อะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ตอบ : การที่ภิกษุณีสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า “เราจะไม่ทำกรรม
อย่างนี้อีก” แล้วศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเป็นข้อปฏิบัติ
ถาม : พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร
ตอบ : ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทรงอาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุณีผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๖. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย
ถาม : ใครศึกษาอยู่
ตอบ : ภิกษุณีผู้เป็นพระเสขะและเป็นกัลยาณปุถุชนศึกษาอยู่
ถาม : ใครศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ตอบ : ภิกษุณีผู้เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ศึกษาสิกขาเรียบร้อยแล้ว
ถาม : สิกขาบทนี้ตั้งอยู่ในใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล(ผู้ใคร่ศึกษา)
ถาม : ใครทรงเอาไว้
ตอบ : ภิกษุณีทั้งหลายผู้ทรงจำปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ได้ทรงเอาไว้
ถาม : เป็นถ้อยคำของใคร
ตอบ : เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖
[๒๐๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๑. ปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทารู้อยู่ ไม่ทักท้วงภิกษุณีผู้ต้องธรรมคือ
ปาราชิกด้วยตนเอง ไม่บอกแก่คณะ
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน คือ เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗
[๒๐๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพ-
บุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้งที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน๑ ฯลฯ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘
[๒๐๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

เชิงอรรถ :
๑ ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือเกิดจากการทอดธุระในการแสดงอาการทางกายหรือทางวาจาว่า “เราสละเรื่องนั้น”
(ดู วิ.อ. ๒/๔๑๕/๑๑๒) เกิดโดยสมุฏฐานที่ ๖ คือ กายวาจากับจิต ธุรนิกเขปสมุฏฐาน คือสมนุภาน-
สมุฏฐานนั่นเอง (วิ.อ. ๒/๖๖๙-๗๐/๔๖๗, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๖๖/๑๑๖, วิมติ.ฏีกา ๑/๖๖/๑๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ๑
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖
สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
ปาราชิก ๘ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
พระมหาวีระทรงบัญญัติปาราชิกซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการขาดอย่างไม่ต้องสงสัย คือ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการยินดีการจับต้องที่บริเวณเหนือเข่าขึ้นไป
ของชาย
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการปกปิดโทษ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยวัตถุ ๘ มีการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น
ปาราชิก ๘ สิกขาบทนี้เป็นมูลแห่งการตัดขาดอย่างไม่ต้องสงสัย

เชิงอรรถ :
๑ ทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการ ดูรายละเอียดในเชิงอรรถ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๗๕/๒๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๒๐๖] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาท ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะ
เรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
[๒๐๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาท ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาก่อคดีพิพาท
ถาม : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ
อนุปปันนบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระ
อนุบัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ
ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ
ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ
ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ
ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๐๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
ถาม : บรรดาปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นี้จัดเข้า
ในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน
ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส
ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน
ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๓
ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน
ตอบ : เป็นสีลวิบัติ
ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน
ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส
ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่
เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต
ถาม : ใครนำมา
ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบ ๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ
พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป
เป็นผู้นำพระวินัยสืบ ๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ
จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ
พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ
พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย
ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
[๒๐๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีที่บวชให้สตรีผู้เป็นโจร ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิด
ทางกาย (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
[๒๐๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไปสู่ละแวกหมู่บ้านรูปเดียว
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๓ พระอนุบัญญัติ บรรดา
สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิก
สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
[๒๑๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้เรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
อุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์
ทั้งไม่รับรู้ฉันทะของคณะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
อุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์
ทั้งไม่รับรู้ฉันทะของคณะ
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
[๒๑๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้กำหนัดรับของเคี้ยวหรือของฉันจากมือชาย
ผู้กำหนัดด้วยมือของตนแล้วฉัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัดรับอามิสจากมือชายผู้กำหนัด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
[๒๑๒] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด
แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับ
ประเคนของนั้นด้วยมือของตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด
แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับ
ประเคนของนั้นด้วยมือของตนเอง แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
[๒๑๓] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้โกรธ ไม่พอใจ ไม่ยอมสละกรรม จน
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีโกรธไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันขอ
บอกคืนพระพุทธ บอกคืนพระธรรม บอกคืนพระสงฆ์ บอกคืนสิกขา”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
[๒๑๔] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณี ผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง
โกรธไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง
โกรธไม่พอใจกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียง
เพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว”
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเลสกัณฑ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
[๒๑๕] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้อยู่คลุกคลีกัน ไม่ยอมสละ จน
กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปอยู่คลุกคลีกัน
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
[๒๑๖] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณีผู้ส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่” ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด
สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ
๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในสังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการก่อคดีพิพาท
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการบวชให้สตรีผู้เป็นโจร
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการเข้าละแวกหมู่บ้านตามลำพังเป็นต้น
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการเรียกภิกษุณีที่ถูกสงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการรับโภชนะจากมือชายผู้กำหนัด
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการส่งเสริมภิกษุณีให้รับโภชนะ
จากมือชายผู้กำหนัด
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการบอกคืนพระรัตนตรัย
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยภิกษุณีโกรธเพราะถูกตัดสิน
ให้แพ้คดีในอธิกรณ์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยภิกษุณีมีความประพฤติเลวทราม
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการยุยงส่งเสริมให้ภิกษุณีประพฤติเลวทราม
รวมอาบัติสังฆาทิเสส ๑๐ สิกขาบท

ฯลฯ
๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑
[๒๑๗] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ทำการสะสมบาตร ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทำการสะสมบาตร
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้อธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวร แล้วให้
แจกกัน
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้แลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืน
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอาคืน
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วกลับออก
ปากขอของอีกอย่าง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วกลับ
ออกปากขอของอีกอย่างหนึ่ง
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วกลับให้ซื้อของ
อีกอย่างหนึ่ง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาสั่งให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วกลับให้ซื้อ
ของอีกอย่างหนึ่ง
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยนของ
อย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ แลกเปลี่ยน
ของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๑๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่สงฆ์ ที่ขอมาเอง แลก
เปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่ภิกษุณีจำนวนมาก
ที่ขอมาเอง แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่ง
อาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ผู้ให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่
ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้เอาบริขารที่เขาถวายเพื่อประโยชน์
แก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่เขาถวายอุทิศของอย่างหนึ่ง ที่เขาบริจาคแก่บุคคล ที่ขอมาเอง
แลกเปลี่ยนของอย่างอื่น
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ขอผ้าห่มหนา เกินราคา ๔ กังสะ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากทูลขอผ้ากัมพล๑จากพระราชา
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เช่น สักหลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร รวมสิกขาบทที่มีในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ขอผ้าห่มบาง เกินราคา ๒ กังสะครึ่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากทูลขอผ้าเปลือกไม้จากพระราชา
ในนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐาน
แห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑๒ สิกขาบท จบ
รวมสิกขาบทที่มีในนิสสัคคิยกัณฑ์
สิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการสะสมบาตร
สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการแจกอกาลจีวร
สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนจีวร
สิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วออกปาก
ขอของอย่างอื่น
สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการให้ซื้อของอย่างหนึ่งแล้วให้ซื้อของอย่างอื่น
สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๑
สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายสงฆ์ข้อที่ ๒
สิกขาบทที่ ๘ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายคณะข้อที่ ๑
สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายคณะข้อที่ ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนบริขารที่เขาถวายบุคคล
สิกขาบทที่ ๑๑ ว่าด้วยการขอผ้าห่มหนาในฤดูหนาว
สิกขาบทที่ ๑๒ ว่าด้วยการขอผ้าห่มบางในฤดูร้อน
๔. ปาจิตติยกัณฑ์
คำถาม - คำตอบสถานที่บัญญัติเป็นต้นในปาจิตติยกัณฑ์
๑. ลสุณวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๑๘] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ฉันกระเทียม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้นำกระเทียมไปโดยไม่รู้จักประมาณ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ถอนขนในที่แคบ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณี ๒ รูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณี ๒ รูปใช้ฝ่ามือตบองค์กำเนิดกัน
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์เพราะใช้ท่อนยาง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้ท่อนยาง
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ องคุลี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ แคว้นสักกะ
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้น้ำชำระลึกเกินไป
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ปรนนิบัติภิกษุผู้กำลังฉันด้วยน้ำดื่มและด้วยการพัด
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งปรนนิบัติภิกษุผู้กำลังฉันด้วยน้ำดื่มหรือ
ด้วยการพัด
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ออกปากขอข้าวเปลือกดิบมาฉัน๑ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปออกปากขอข้าวเปลือกดิบมาฉัน
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เทอุจจาระ หรือปัสสาวะ น้ำลาย หยากเยื่อหรือของ
เป็นเดนภายนอกฝา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

เชิงอรรถ :
๑ คือออกปากขอมาคั่วหรือตำหุงแล้วฉัน (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๒๑/๑๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๑. ลสุณวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง น้ำลายบ้าง
หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้างที่ภายนอกฝา
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เทอุจจาระ หรือปัสสาวะ น้ำลาย หยากเยื่อ หรือ
ของเป็นเดนบนของเขียว ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง น้ำลายบ้าง
หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้างบนของเขียว
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมดนตรี ณ
ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การ
ประโคมดนตรี
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
ลสุณวรรคที่ ๑ จบ
๒. รัตตันธการวรรค(อันธการวรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๒๑๙] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืน
ไม่มีประทีป ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในเวลาค่ำคืน
ไม่มีประทีป
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๒๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนเคียงคู่สองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ยืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในถนน ในตรอกตัน
หรือในทางสามแพร่ง ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๐ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทายืนเคียงคู่กันสองต่อสองกับชายในถนนบ้าง
ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเถยยสัตถสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหารแล้วนั่งบน
อาสนะจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนภัตตาหารแล้ว
นั่งบนอาสนะจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ตระกูลในเวลาหลังภัตตาหารนั่งบนอาสนะ
โดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๑ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาหลังภัตตาหาร
นั่งบนอาสนะจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล๑ แล้วปูเองหรือใช้ให้ปูที่นอน
โดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่ง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้
ปูที่นอน โดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่ง
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ เวลาวิกาล ในที่นี้ประสงค์ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงอรุณขึ้น (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๘๖๖/๑๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๒ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๒. รัตตันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เข้าใจผิดให้ผู้อื่นโพนทะนา ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งให้ผู้อื่นโพนทะนาเพราะเข้าใจผิด เพราะ
ใคร่ครวญผิด
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้สาปแช่งตนหรือผู้อื่น ด้วยนรกหรือพรหมจรรย์ ณ
ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีสาปแช่งตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง ด้วยนรกบ้าง
ด้วยพรหมจรรย์บ้าง
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๓ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ร้องไห้ทุบตีตนเอง ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีร้องไห้ทุบตีตนเอง
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
รัตตันธการวรรคที่ ๒ จบ
๓. นหานวรรค(นัคควรรค)
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๐] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เปลือยกายอาบน้ำ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปเปลือยกายอาบน้ำ
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๔ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้ทำผ้าอาบน้ำเกินขนาด ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าอาบน้ำไม่ได้ขนาด
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้เลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรแล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ทั้งไม่
ขวนขวายใช้ผู้อื่นให้เย็บ
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้วาระผลัดเปลี่ยนสังฆาฏิที่มีกำหนด ๕ วันล่วงเลยไป
ณ ที่ไหน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๕ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปฝากจีวรไว้กับภิกษุณีทั้งหลายแล้วมีเพียง
อุตตราสงค์กับอันตรวาสกจาริกไปสู่ชนบท
ในสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ใช้จีวรสับเปลี่ยนกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งห่มจีวรของภิกษุณีอื่นโดยไม่บอกก่อน
ในสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นกฐินสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้ ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๖ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้
ในสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้คัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม
ในสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน แก่ปริพาชกหรือแก่ปริพาชิกา
ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๗ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๓. นหานวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน
ในสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๖ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ให้สมัยแห่งจีวรกาลล่วงไปด้วยความหวังในจีวรที่
เลื่อนลอย ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมัยแห่งจีวรกาลล่วงเลยไปด้วยความ
หวังในจีวรที่เลื่อนลอย
ในสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้คัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๘ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม
ในสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
นหานวรรคที่ ๓ จบ
๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๒๒๑] ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ๒ รูป ผู้นอนบนเตียงเดียวกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปนอนบนเตียงเดียวกัน(เตียงละ) ๒ รูป
ในสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี ๒ รูป ผู้ใช้ผ้าผืนเดียวกันเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม
นอนร่วมกัน ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๓๙ }

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์] ๑. กัตถปัญญัตติวาร ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ๔. ตุวัฏฏวรรค
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูปใช้ผ้าผืนเดียวกันเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้า
ห่มนอนร่วมกัน ๒ รูป
ในสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน เป็นเอฬกโลมสมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้จงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร
ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา
ถาม : เพราะเรื่องอะไร
ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี
ในสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน
เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงบัญญัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุณีผู้ไม่ดูแลช่วยเหลือ หรือไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล
ช่วยเหลือสหชีวินี๑ผู้ได้รับความลำบาก ณ ที่ไหน
ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี
ถาม : ทรงปรารภใคร

เชิงอรรถ :
๑ สหชีวินี หมายถึงภิกษุณีผู้เป็นสัทธิวิหารินีที่ตนเป็นปวัตตินีคืออุปัชฌาย์บวชให้ (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๙๔๘/
๒๒๑,๑๑๑๓/๓๑๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า :๒๔๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น