Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๙-๖ หน้า ๒๐๖ - ๒๔๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๙-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค



พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ ๒.มโนมยิทธิญาณ
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดี
แล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาวหรือสีนวลร้อยอยู่
ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘แก้วไพฑูรย์อัน
งดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน
มีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาวหรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่
การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ ฉันนั้น
ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
๒. มโนมยิทธิญาณ
[๔๗๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อเนรมิตกายที่เกิดแต่ใจ คือ เนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ
มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เปรียบเหมือนคนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาเห็นว่า ‘นี้คือหญ้าปล้อง นี้คือ
ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้ถูกชักออกมาจากหญ้า
ปล้องนั่นเอง’ เปรียบเหมือนคนชักดาบออกจากฝัก เขาเห็นว่า ‘นี้คือดาบ นี้คือฝัก
ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ดาบถูกชักออกมาจากฝักนั่นเอง’ หรือ
เปรียบเหมือนคนดึงงูออกจากคราบ เขาเห็นว่า ‘นี้คืองู นี้คือคราบ งูเป็นอย่างหนึ่ง
คราบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่งูถูกดึงออกจากคราบนั่นเอง’ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิ
บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่
การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อเนรมิตกายที่เกิดแต่ใจ คือ
เนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ฉันนั้น ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ ๔.ทิพยโสตธาตุญาณ

๓. อิทธิวิธญาณ
[๔๗๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง(และ)ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดิน
เหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัด
สมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือช่างหม้อผู้ชำนาญ เมื่อนวดดินเหนียวดีแล้ว
พึงทำภาชนะที่ต้องการให้สำเร็จได้ เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือช่างงาผู้ชำนาญ
เมื่อแต่งงาดีแล้ว พึงทำเครื่องงาชนิดที่ต้องการให้สำเร็จได้ เปรียบเหมือนช่างทอง
หรือลูกมือช่างทองผู้ชำนาญ เมื่อหลอมทองดีแล้ว พึงทำทองรูปพรรณชนิดที่
ต้องการให้สำเร็จได้ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ภิกษุน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธญาณ แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง(และ)ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดิน
เหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัด
สมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฉันนั้น
ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
๔. ทิพพโสตธาตุญาณ
[๔๗๕] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ ๕.เจโตปริยญาณ
จิตไปเพื่อทิพพโสตธาตุญาณได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่
อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์
เปรียบเหมือนคนเดินทางไกล (มีประสบการณ์มาก) ได้ยินเสียงกลอง เสียง
ตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงเปิงมาง ก็เข้าใจว่า นั่นเสียงกลอง เสียง
ตะโพน เสียงสังข์ เสียงบัณเฑาะว์ เสียงเปิงมาง ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์
ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อทิพพโสตธาตุญาณได้ยินเสียง ๒
ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ ฉันนั้น ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
๕. เจโตปริยญาณ
[๔๗๖] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิต
ไปเพื่อเจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะ
ก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ หรือ
ปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศจากโมหะก็รู้
ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ๑
ก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้
ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า
เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น หรือไม่
หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น
เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตน
ในกระจกใสสะอาดหรือในภาชนะน้ำใส หน้ามีไฝฝ้าก็รู้ว่ามีไฝฝ้า หรือไม่มีไฝฝ้าก็รู้ว่า
ไม่มีไฝฝ้า ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า มหัคคตะ แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ มหัคคตจิต หมายถึงจิตที่ถึงฌานสมาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๐๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ ๖.ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อม
จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมี
ราคะก็รู้ว่ามีราคะ หรือปราศจากราคะก็รู้ว่าปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ
หรือปราศจากโทสะก็รู้ว่าปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่ามีโมหะ หรือปราศจาก
โมหะก็รู้ว่าปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าหดหู่ หรือฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่าก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็น
สมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น
หรือไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าไม่หลุดพ้น ฉันนั้น ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๔๗๗] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติ
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล
มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพ
โน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และ
มีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เปรียบเหมือนคนจากบ้านตนไปบ้านอื่นแล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก เขา
จากบ้านนั้นกลับมายังบ้านเดิมของตน ระลึกได้อย่างนี้ว่า ‘เราได้จากบ้านตนไปบ้าน
โน้น ในบ้านนั้นเราได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉยอย่างนั้น ๆ เราได้จากแม้บ้านนั้นไปยังบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ ๗.ทิพพจักขุญาณ
โน้น แม้ในบ้านนั้นเราก็ได้ยืน นั่ง พูด นิ่งเฉยอย่างนั้น ๆ แล้วกลับจากบ้านนั้นมา
ยังบ้านเดิมของตน’ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติ
บ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ
จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ
มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอ
ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ ฉันนั้น ข้อนี้
จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
๗. ทิพพจักขุญาณ
[๔๗๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้น
สูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ
และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไป
บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ที่ทางสามแพร่งกลางเมืองหลวง คนตาดียืนบน
ปราสาทนั้นเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง ออกจากเรือนบ้าง สัญจรอยู่ตามถนน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ ๘.อาสวักขยญาณ
บ้าง นั่งอยู่ที่ทางสามแพร่งกลางเมืองหลวงบ้าง ก็รู้ว่า ‘คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน คน
เหล่านี้ออกจากเรือน คนเหล่านี้สัญจรอยู่ตามถนน คนเหล่านี้นั่งอยู่ที่ทางสามแพร่ง
กลางเมืองหลวง’ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ
ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้
ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และ
มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่
หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความ
เห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะ
ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล ฉันนั้น ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
๘. อาสวักขยญาณ
[๔๗๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้
อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ
ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๑ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป’๒

เชิงอรรถ :
๑ กิจที่ควรทำในที่นี้ หมายถึง กิจในอริยสัจ ๔ คือ การกำหนดรู้ทุกข์, การละเหตุเกิดแห่งทุกข์, การทำให้
แจ้งซึ่งความดับทุกข์ และการอบรมมรรคมีองค์ ๘ ให้เจริญ (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓ )
๒ ไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความหมดสิ้นแห่งกิเลสอีกต่อไป เพราะพระพุทธศาสนาถือว่า
การบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด (ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๐.สุภสูตร]
วิชชา ๘ ประการ สุภมาณพประกาศตนเป็นอุบาสก
เปรียบเหมือนสระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัวบนยอดภูเขา คนตาดียืนที่ขอบสระนั้น
เห็นหอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวดและก้อนหินหรือฝูงปลากำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง
หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ก็คิดอย่างนี้ว่า ‘สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอย
กาบ ก้อนกรวดและก้อนหิน และฝูงปลาเหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี
ในสระนั้น’ ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธ-
คามินีปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ
และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ฉันนั้น ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
สุภมาณพประกาศตนเป็นอุบาสก
[๔๘๐] มาณพ อริยปัญญาขันธ์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญและทรงให้
ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างนี้ ในพระธรรมวินัยนี้ ไม่มีกรณียกิจที่ต้อง
ปฏิบัติยิ่งขึ้นไปกว่าขั้นอริยปัญญาขันธ์นี้อีกแล้ว”
เขากล่าวว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ อริยปัญญาขันธ์บริบูรณ์แล้ว ไม่
ใช่ไม่บริบูรณ์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นอริยปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์อย่างนี้ในสมณพราหมณ์
เหล่าอื่นนอกพระศาสนานี้เลย ไม่มีกรณียกิจที่ต้องปฏิบัติยิ่งขึ้นไปกว่าขั้นอริยปัญญา
ขันธ์นี้อีกแล้ว ท่านอานนท์ ภาษิตของท่านอานนท์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอานนท์
ภาษิตของท่านอานนท์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านอานนท์ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพเจ้านี้ขอถึง
ท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านอานนท์โปรดจำ
ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สุภสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร] เรื่องบุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะ

๑๑. เกวัฏฏสูตร
ว่าด้วยบุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะ

เรื่องบุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะ
[๔๘๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี เขต
เมืองนาลันทา ครั้งนั้นบุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
กราบพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมืองนาลันทามั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมืองหนาแน่นที่ล้วนเลื่อมใส
ในพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาสเถิด ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดมีพระบัญชาให้ภิกษุสักรูปหนึ่งที่พอจะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์โดย
อุตตริมนุสสธรรม๑ ได้ ซึ่งจะทำให้ชาวเมืองนาลันทาพากันเลื่อมใสในพระผู้มีพระ
ภาคมากขึ้นสุดจะประมาณ”
เมื่อเขากราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกวัฏฏะ เราไม่ได้แสดง
ธรรมแก่ภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิด พวกเธอจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ด้วยอุตตริมนุสส-
ธรรมแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาว”
[๔๘๒] แม้ครั้งที่ ๒ บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะก็กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ไม่ได้คาดคั้นพระผู้มีพระภาคเลย แต่ข้าพระองค์ขอกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมืองนาลันทามั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ มีประชากรมาก มีพลเมือง
หนาแน่นที่ล้วนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
เถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดมีพระบัญญัติให้ภิกษุสักรูปหนึ่งที่พอจะแสดง
อิทธิปาฏิหาริย์โดยอุตตริมนุสสธรรมได้ ซึ่งจะทำให้ชาวเมืองนาลันทาพากันเลื่อมใส
ในพระผู้มีพระภาคมากขึ้นสุดจะประมาณ”

เชิงอรรถ :
๑ อุตตริมนุสสธรรม คือธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ
สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ความที่จิตปลอดจากนิวรณ์ ความ
ยินดีในเรือนว่าง (วิ.มหา. ๑/๑๙๘/๑๒๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๓ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร]
ปาฏิหารย์ ๓ อย่าง ๑.อิทธิปาฏิหาริย์
แม้ครั้งที่ ๓ บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะก็กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ไม่ได้คาดคั้นพระผู้มีพระภาคเลย ฯลฯ พากันเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค
มากขึ้นสุดจะประมาณ”
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง
[๔๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกวัฏฏะ เราทำให้แจ้งปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึงได้ประกาศให้รู้กัน ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างคืออะไรบ้าง คือ
อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์
๑. อิทธิปาฏิหาริย์
[๔๘๔] เกวัฏฏะ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคน
เดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง(และ)ภูเขาไปได ้ไม่ติด
ขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
โดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนก
บินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งที่มีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลาย
อย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง
พรหมโลกก็ได้ ผู้นั้นจะบอกแก่บุคคลผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสว่า ‘น่าอัศจรรย์
จริง ไม่เคยปรากฏ สมณะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากเหลือเกิน ข้าพเจ้าเพิ่งเคยเห็น
ท่านนี้ที่แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้’
เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใส
ว่า ‘ท่าน มีวิชาประเภทหนึ่งเรียกว่าคันธาริ๑ ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ วิชาคันธาริ หมายถึง วิชาที่ฤๅษีคันธาระเป็นผู้ทำ อีกนัยหนึ่ง หมายถึง วิชาที่เกิดขึ้นในแคว้นคันธาระ
ซึ่งมีฤๅษีพำนักอยู่มาก (ที.สี.อ. ๔๘๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร]
ปาฏิหารย์ ๓ อย่าง ๒.อาเทสนาปาฏิหารย์
คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
เพราะมีวิชานั้น’
เกวัฏฏะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูด
กับผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนั้นหรือไม่”
เขากราบทูลว่า “ต้องพูดแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เกวัฏฏะ เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้
จึงเหนื่อยหน่าย ระอา รังเกียจเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์
๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
[๔๘๕] เกวัฏฏะ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่าน
เป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้
เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งที่มีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นทายจิต ทายเจตสิก
ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไป
โดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้ ผู้นั้นจะบอกแก่บุคคลผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสว่า
‘น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ สมณะมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากเหลือเกิน ข้าพเจ้า
เพิ่งเคยเห็นท่านนี้ที่ทายจิต ทายเจตสิก ทายความวิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคล
อื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการอย่างนี้ เป็นดังนี้’
เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับผู้มีศรัทธาเลื่อมใสว่า
‘ท่าน มีวิชาประเภทหนึ่งเรียกว่ามณิกา๑ ภิกษุรูปนั้นทายจิต ทายเจตสิก ทายความ
วิตกวิจารของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า จิตของท่านเป็นอย่างนี้ เป็นไปโดยอาการ
อย่างนี้ เป็นดังนี้ เพราะมีวิชานั้น’

เชิงอรรถ :
๑ วิชามณิกา ได้แก่ วิชาจินดามณี ผู้รู้วิชาจินดามณี สามารถรู้ใจคนอื่นได้ (ที.สี.อ. ๔๘๕/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๕ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร]
เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
เกวัฏฏะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ผู้ที่ยังไม่ศรัทธายังไม่เลื่อมใสจะพูดกับ
ผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนั้นหรือไม่”
เขากราบทูลว่า “ต้องพูดแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เราเล็งเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้ จึง
เหนื่อยหน่าย ระอา รังเกียจเรื่องอาเทสนาปาฏิหาริย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
[๔๘๖] เกวัฏฏะ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ‘ท่านจงตรึกตรองอย่างนี้ อย่าตรึกตรองอย่างนั้น จงใส่ใจ
อย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด’ นี้จัดเป็นอนุสาสนี-
ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
ยังมีอีก เกวัฏฏะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ ฯลฯ๑ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมาใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่า
สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ นี้จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์
อย่างหนึ่ง
ฯลฯ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ น้อม
จิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ นี้จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ฯลฯ รู้ชัดว่า ...
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป นี้จัดเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
เกวัฏฏะ เราทำให้แจ้งปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วจึง
ประกาศให้รู้กัน
เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
[๔๘๗] เกวัฏฏะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุเกิดความคิดคำนึง
ว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่
ไหนหนอ

เชิงอรรถ :
๑ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ และควรดูเทียบจนถึงข้อ ๒๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๖ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร]
เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
[๔๘๘] ทีนั้นแล ภิกษุจึงเข้าสมาธิถึงขั้นที่จิตตั้งมั่นจนเห็นทางไปเทวโลก ครั้น
แล้วเธอเข้าไปหาพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา แล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ มหาภูต-
รูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้ พวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกาตอบว่า ‘พวกเราไม่ทราบที่
ที่มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับสนิทไปเหมือน
กัน แต่ท้าวมหาราช ๔ องค์ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
[๔๘๙] ทีนั้น เธอจึงเข้าไปหาท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ แล้วถามว่า ‘ท่าน
ผู้มีอายุ มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับ
สนิทที่ไหน’ เมื่อเธอถามอย่างนี้ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ตอบว่า ‘แม้พวกเรา
ก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับสนิท
ไปเหมือนกัน แต่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
[๔๙๐] ทีนั้น เธอจึงเข้าไปหาพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่
ไหน’ เมื่อเธอถามอย่างนี้ พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตอบว่า ‘แม้พวกเราก็ไม่ทราบที่ที่
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับสนิทไปเหมือนกัน
แต่ท้าวสักกเทวราชผู้ยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
[๔๙๑] ทีนั้น เธอจึงเข้าไปหาท้าวสักกเทวราชแล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่
ไหน’ เมื่อเธอถามอย่างนี้ ท้าวสักกเทวราชตอบว่า ‘แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป
๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับสนิทไปเหมือนกัน แต่
พวกเทพชั้นยามา ฯลฯ เทพบุตรชื่อสุยาม ฯลฯ พวกเทพชั้นดุสิต ฯลฯ เทพบุตร
ชื่อสันดุสิต ฯลฯ พวกเทพชั้นนิมมานรดี ฯลฯ เทพบุตรชื่อสุนิมมิต ฯลฯ พวก
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ เทพบุตรชื่อวสวัตดีซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเรา
คงจะทราบ’
[๔๙๒] ทีนั้น เธอจึงเข้าไปหาเทพบุตรชื่อวสวัตดีแล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร]
เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
เมื่อเธอถามอย่างนี้ เทพบุตรชื่อวสวัตดีตอบว่า ‘แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป ๔
คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับสนิทไปเหมือนกัน แต่พวก
เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าเราคงจะทราบ’
[๔๙๓] ทีนั้นแล ภิกษุจึงเข้าสมาธิถึงขั้นที่จิตตั้งมั่นจนเห็นทางไปพรหมโลก
ครั้นแล้วเธอเข้าไปหาพวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้ พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมตอบว่า ‘แม้พวกเราก็ไม่ทราบที่
ที่มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ดับสนิทไปเหมือนกัน
แต่พระพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้
กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็น
บิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
เธอถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เวลานี้ท้าวมหาพรหมอยู่ที่ไหน’
พวกเทพเหล่านั้นตอบว่า ‘แม้พวกเราก็ไม่รู้ที่อยู่ของท้าวมหาพรหมหรือ
ทิศทางที่ท้าวมหาพรหมอยู่ แต่มีนิมิตที่สังเกตได้ (คือ) แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาส
ปรากฏขึ้น ท้าวมหาพรหมก็จะปรากฏพระองค์ด้วย การที่แสงสว่างเกิดขึ้น โอภาส
ปรากฏขึ้นนี้ จัดเป็นบุรพนิมิตแห่งการปรากฏของท้าวมหาพรหม’ ต่อมาไม่นาน
ท้าวมหาพรหมได้ปรากฏพระองค์ขึ้น
[๔๙๔] ลำดับนั้น ภิกษุนั้นเข้าไปหาท้าวมหาพรหมแล้วถามว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้ ท้าวมหาพรหมตอบว่า ‘เราเป็นพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่ง
ใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล
ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด’
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุนั้นกล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อาตมาไม่ได้
ถามท่านว่า ท่านเป็นพระพรหมผู้เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้
เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ
เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดหรือ แต่อาตมาถามท่านอย่างนี้ว่า มหา
ภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ไหน’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร] อุปมาด้วยนกบินดูฝั่ง
แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวมหาพรหมก็คงตอบว่า ‘เราเป็นพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้
ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล
ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด’
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุนั้นกล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า ‘ท่านผู้มีอายุ อาตมาไม่ได้
ถามท่านว่า ท่านเป็นพระพรหมผู้เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็น
ถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงการ ผู้
ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดหรือ แต่อาตมาถามท่าน
อย่างนี้ว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อม
ดับสนิทที่ไหน’
[๔๙๕] ทันใดนั้น ท้าวมหาพรหมนั้นจับแขนภิกษุนั้นพาไป ณ ที่สมควรแล้ว
กล่าวว่า ‘ภิกษุ พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเข้าใจว่า ไม่มีอะไรที่พระพรหมไม่ได้
รู้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ทราบ ไม่ได้ประจักษ์แจ้ง ดังนั้น เราจึงไม่ตอบต่อหน้าพวกเทพ
เหล่านั้นว่า แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
และวาโยธาตุดับสนิทเหมือนกัน ฉะนั้น การที่ท่านละเลยพระผู้มีพระภาคแล้วมาหา
คำตอบเรื่องนี้ภายนอก นับว่าทำผิด นับว่าทำพลาด ไปเถิด ภิกษุ ท่านจงไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหานี้ และพึงจำไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ’
[๔๙๖] ลำดับนั้น ภิกษุได้หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏต่อหน้าเรา เปรียบ
เหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือพับแขนเข้าฉะนั้น เธอกราบเราแล้วนั่งลง ณ
ที่สมควร ถามเราว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่ไหนหนอแล’
อุปมาด้วยนกบินดูฝั่ง
[๔๙๗] เมื่อเธอถามอย่างนี้ เราได้ตอบว่า ภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวก
พ่อค้าเดินเรือทะเลนำนกตีรทัสสีลงเรือไป เมื่อมองไม่เห็นฝั่ง พวกเขาจึงปล่อยนก
ตีรทัสสีไป นกนั้นบินไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศเบื้องบน
และทิศเฉียง ถ้ามันยังแลเห็นชายฝั่งรอบ ๆ ก็จะบินเลยไป ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๑.เกวัฏฏสูตร] อุปมาด้วยนกบินดูฝั่ง
รอบก็จะบินกลับมาที่เรือนั้นอีก ภิกษุ เธอก็เช่นกัน เที่ยวเสาะหาไปจนถึงพรหมโลก
ก็ยังไม่ได้คำตอบของปัญหานี้ ในที่สุดต้องกลับมาหาเรา ปัญหานี้เธอไม่ควรถามว่า
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมดับสนิทที่
ไหนหนอแล
[๔๙๘] แต่ควรถามอย่างนี้ว่า
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ในที่ไหน อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียด
และหยาบ งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน
[๔๙๙] ในปัญหานั้น มีคำตอบดังนี้
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ๑ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่มีที่สุด
แต่มีท่าข้าม๒โดยรอบด้าน อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
ละเอียด และหยาบ งามและไม่งาม ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
ในวิญญาณ๑นี้เช่นเดียวกัน นามและรูปย่อมดับสนิท
ในวิญญาณ๑นี้เช่นเดียวกัน เพราะวิญญาณ๓ดับไป
นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”
[๕๐๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะมีใจยินดี
ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
เกวัฏฏสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร] ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ

๑๒. โลหิจจสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ
[๕๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่
ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกา สมัยนั้น โลหิจจพราหมณ์
ปกครองหมู่บ้านสาลวติกา ซึ่งมีประชากรและสัตว์เลี้ยงมากมาย มีพืชพันธุ์
ธัญญาหารและน้ำหญ้าอุดมสมบูรณ์ เป็นพระราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระ
ราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นพรหมไทย (ส่วนพิเศษ)
[๕๐๒] สมัยนั้น โลหิจจพราหมณ์มีความคิดเห็นชั่วร้ายเกิดขึ้นว่า ‘สมณะ
หรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะ
ไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออก
แล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความ
โลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’
[๕๐๓] โลหิจจพราหมณ์ได้ฟังข่าวว่า “พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จ
ผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกาโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมี
กิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก
นี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบพระ
อรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร] ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโลหิจจะ
[๕๐๔] ทีนั้น โลหิจจพราหมณ์เรียกช่างกัลบกชื่อโรสิกะมาสั่งว่า “มานี่แน่ะ
เพื่อนโรสิกะ ท่านจงไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลถามพระสมณโคดมถึงสุขภาพ
ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญตาม
คำของเราว่า โลหิจจพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดมถึงสุขภาพ ความมีโรคาพาธ
น้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ และท่านจงกราบทูลว่า
ขอท่านพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์
ในวันพรุ่งนี้เถิด”
[๕๐๕] โรสิกกัลบกรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบ
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “โลหิจจพราหมณ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึง
สุขภาพ ความมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
และกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตาหารของ
โลหิจจพราหมณ์ในวันพรุ่งนี้เถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณี
[๕๐๖] ทีนั้น โรสิกกัลบกทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึง
ลุกจากที่นั่ง กราบพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์
แล้วบอกว่า “ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคตามคำของท่านว่า ‘โลหิจจ-
พราหมณ์ทูลถามพระผู้มีพระภาค ... ในวันพรุ่งนี้เถิด’ และพระผู้มีพระภาคนั้นก็ทรง
รับนิมนต์แล้ว”
[๕๐๗] ครั้นล่วงราตรีนั้น โลหิจจพราหมณ์ได้จัดของขบฉันอย่างดีไว้ใน
นิเวศน์ของตน เรียบร้อยแล้ว เรียกโรสิกกัลบกมาสั่งว่า “มานี่แน่ะ เพื่อนโรสิกะ ท่าน
จงไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมแล้วกราบทูลภัตกาลว่า ท่านพระโคดม ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
โรสิกกัลบกรับคำของโลหิจจพราหมณ์แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
กราบแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร]
ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์
[๕๐๘] ตอนเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปยังหมู่บ้านสาลวติกาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โรสิกกัลบกตามเสด็จไปเบื้องพระ
ปฤษฎางค์ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์มีความคิดเห็น
ชั่วร้ายเกิดขึ้นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้ว
ไม่ควรสอนคนอื่น เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้
ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบ
อย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาสเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงปลด
เปลื้องโลหิจจพราหมณ์ออกจากความคิดเห็นอันชั่วร้ายนั้นด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โรสิกะ นั่นเป็นหน้าที่ของเรา”
ทีนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโลหิจจพราหมณ์แล้ว
ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ โลหิจจพราหมณ์ประเคนของขบฉันอย่างดีแด่ภิกษุสงฆ์ที่
มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานด้วยตนเองจนอิ่มหนำ
ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์
[๕๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์ โลหิจจพราหมณ์
จึงนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสถามโลหิจจพราหมณ์ว่า “โลหิจจะ ทราบว่า ท่านมีความ
คิดเห็นชั่วร้ายเกิดขึ้นว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อ
บรรลุแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบ
เหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เรา
เรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใด
จะช่วยผู้สอนได้’ ดังนี้ เป็นความจริงหรือ”
เขาทูลตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โลหิจจะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ท่าน
ปกครองหมู่บ้านสาลวติกามิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร]
ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์
เขาทูลตอบว่า “เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “โลหิจจะ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘โลหิจจ-
พราหมณ์ปกครองหมู่บ้านสาลวติกาก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดในหมู่บ้าน
สาลวติกาแต่เพียงผู้เดียว ไม่ควรแบ่งให้ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้จะชื่อว่าทำความ
เดือดร้อนให้แก่คนที่อาศัยท่านเลี้ยงชีพใช่หรือไม่”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อทำความเดือดร้อนให้ จะชื่อว่าหวัง
ประโยชน์หรือไม่หวังประโยชน์ต่อคนเหล่านั้น”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “ผู้ไม่หวังประโยชน์ จะชื่อว่ามีเมตตาจิต
หรือชื่อว่าคิดเป็นศัตรูกับคนเหล่านั้นเล่า”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อคิดเป็นศัตรู จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
หรือสัมมาทิฏฐิเล่า”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน”
[๕๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “โลหิจจะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นว่า
อย่างไร พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปกครองแคว้นกาสีกับแคว้นโกศลมิใช่หรือ”
เขาทูลตอบว่า “เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “โลหิจจะ ผู้ที่กล่าวว่า ‘พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงปกครองแคว้นกาสีกับแคว้นโกศล พระองค์ก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดใน
แคว้นทั้งสองแต่เพียงลำพัง ไม่ควรพระราชทานให้แก่ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้จะ
ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้แก่ท่านและแก่คนอื่นซึ่งอาศัยพระบรมโพธิสมภารของ
พระองค์เลี้ยงชีพใช่หรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๔ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร]
ความขวนขวายของโลหิจจพราหมณ์
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อทำความเดือดร้อนให้ จะชื่อว่า หวัง
ประโยชน์หรือไม่หวังประโยชน์ต่อคนเหล่านั้น”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “ผู้ไม่หวังประโยชน์ จะชื่อว่ามีเมตตาจิต
หรือชื่อว่าคิดเป็นศัตรูกับคนเหล่านั้นเล่า”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อคิดเป็นศัตรู จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
หรือสัมมาทิฏฐิเล่า”
เขาทูลตอบว่า “ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติอย่าง ๑ ใน ๒
อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน
[๕๑๑] โลหิจจะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ผู้กล่าวว่า ‘โลหิจจพราหมณ์ปกครอง
หมู่บ้านสาลวติกาก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดในหมู่บ้านสาลวติกาแต่เพียงผู้เดียว
ไม่ควรแบ่งให้ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้แก่คนที่อาศัยท่าน
เลี้ยงชีพ เมื่อทำความเดือดร้อนให้ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อ
ว่าคิดเป็นศัตรู เมื่อคิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน ผู้ที่กล่าว
ว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้วไม่ควรสอน
คนผู้อื่น เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่อง
จองจำเก่าออกแล้ว สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่าง
นี้ว่าเป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ ผู้ที่กล่าว
อย่างนี้ชื่อว่า ทำความเดือดร้อนให้แก่เหล่ากุลบุตรผู้อาศัยธรรมวินัยที่เราแสดง
แล้วบรรลุคุณวิเศษ คือ ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง ทำให้แจ้งสกทาคามิผลบ้าง
ทำให้แจ้งอนาคามิผลบ้าง ทำให้แจ้งอรหัตตผลบ้าง และชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้
แก่เหล่ากุลบุตรผู้อบรมคุณธรรมให้แก่กล้าเพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ยิ่งขึ้นไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร]
ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท
เมื่อทำความเดือดร้อนให้ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อว่าคิดเป็น
ศัตรู เมื่อคิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติ
อย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดเดรัจฉาน
[๕๑๒] โลหิจจะ คนที่กล่าวว่า ‘พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปกครองแคว้นกาสี
กับแคว้นโกศล พระองค์ก็ควรได้รับผลประโยชน์ที่เกิดในแคว้นทั้งสองแต่เพียง
ลำพัง ไม่ควรพระราชทานให้แก่ผู้อื่น’ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ชื่อว่า ทำความเดือดร้อนให้
แก่ท่านและแก่คนอื่นซึ่งอาศัยพระบรมโพธิสมภารของพระองค์เลี้ยงชีพ เมื่อทำ
ความเดือดร้อนให้ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู เมื่อ
คิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน ผู้ที่กล่าวว่า ‘สมณะหรือ
พราหมณ์ในโลกนี้จะพึงบรรลุกุศลธรรม เมื่อบรรลุแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะไม่มี
ผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว
สร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภ
อันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ ผู้กล่าวอย่างนี้ชื่อว่าทำความ
เดือดร้อนให้แก่เหล่ากุลบุตรผู้อาศัยธรรมวินัยที่เราแสดงแล้วบรรลุคุณวิเศษ คือ
ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง ทำให้แจ้งสกทาคามิผลบ้าง ทำให้แจ้งอนาคามิผลบ้าง
ทำให้แจ้งอรหัตตผลบ้าง และชื่อว่าทำความเดือดร้อนให้แก่เหล่ากุลบุตรผู้อบรม
คุณธรรมให้แก่กล้าเพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ยิ่งขึ้นไป เมื่อทำความเดือดร้อนให้
ก็ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ผู้ไม่หวังประโยชน์ก็ชื่อว่าคิดเป็นศัตรู เมื่อคิดเป็นศัตรูก็ชื่อว่า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเรากล่าวว่า มีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ นรก
หรือกำเนิดเดรัจฉาน
ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท
[๕๑๓] โลหิจจะ ศาสดา ๓ ประเภทต่อไปนี้ สมควรถูกทักท้วง ทั้งการ
ทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนั้นก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ ศาสดา
๓ ประเภทเป็นเช่นไร คือ
(๑) โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต
ยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร]
ศาสดาที่สมควรถูกทักท้วง ๓ ประเภท
ความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ
ความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่
จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น
บรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมาย
แห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อ
ความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านจึงไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และหลีกเลี่ยงที่
จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุรุษที่ประชิดตัวสตรีผู้กำลังถอยหนี หรือ
เปรียบเหมือนบุรุษสวมกอดสตรีที่หันหลังให้ ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นกัน เราเรียกข้อ
เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้
สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๑ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วง
ศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ
[๕๑๔] (๒) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช
เป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุดมุ่ง
หมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์
และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน’ สาวกของเขาก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก
เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไป
บวชเป็นบรรพชิตยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ทั้งที่ยังไม่ได้บรรลุจุด
มุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะแต่กลับแสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์
และเพื่อความสุขแก่พวกท่าน สาวกของท่านก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจเพื่อจะรู้ และไม่หลีก
เลี่ยงที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนคนผู้ละเลยนาของตน เข้าใจนาของ
ผู้อื่นว่าเป็นที่อันตนควรบำรุง ข้ออุปไมยนี้ก็เช่นเดียวกัน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า
เป็นความโลภอันชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภท
ที่ ๒ ซึ่งสมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง
แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ
[๕๑๕] (๓) ยังมีอีก โลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ออกจากเรือนไปบวช
เป็นบรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร] ศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง
ความเป็นสมณะแล้วก็แสดงธรรมสอนสาวกว่า ‘เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อความ
สุขแก่พวกท่าน’ แต่สาวกของเขากลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และยังหลีกเลี่ยง
ที่จะประพฤติตามคำสั่งสอน เขาสมควรถูกทักท้วงว่า ‘ท่านออกจากเรือนไปบวชเป็น
บรรพชิตได้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นสมณะ ครั้นบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความ
เป็นสมณะแล้วก็แสดงธรรมสอนสาวกว่า เรื่องนี้มีเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขแก่
พวกท่าน แต่สาวกของท่านกลับไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งใจเพื่อจะรู้ และยังหลีกเลี่ยงที่จะ
ประพฤติตามคำสั่งสอน เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว สร้าง
เครื่องจองจำใหม่ขึ้นมาแทน เราเรียกข้อเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า เป็นความโลภอัน
ชั่วร้าย เพราะไม่มีผู้รับคำสอนใดจะช่วยผู้สอนได้’ นี้คือศาสดาประเภทที่ ๓ ซึ่ง
สมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาประเภทนี้ก็จัดว่าจริง แท้
เป็นธรรม ไม่มีโทษ
โลหิจจะ ศาสดา ๓ ประเภทเหล่านี้แล สมควรถูกทักท้วง ทั้งการทักท้วงของ
ผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ”
ศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง
[๕๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่าน
พระโคดม ศาสดาซึ่งไม่สมควรถูกทักท้วงมีบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โลหิจจะ ศาสดาซึ่งไม่สมควรถูกทักท้วงมีอยู่”
เขาทูลถามว่า “ศาสดาประเภทนี้เป็นเช่นไร ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โลหิจจะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระ
อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตรมา
ใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่
โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทัก
ท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ และควรดูเทียบจนถึงข้อ ๒๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๒๘ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๒.โลหิจจสูตร]
โลหิจจพราหมณ์ประกาศตนเป็นอุบาสก
มีโทษ ฯลฯ บรรลุทุติยฌานอยู่ บรรลุตติยฌานอยู่ บรรลุจตุตถฌานอยู่ โลหิจจะ
ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทักท้วง การ
ทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ
ฯลฯ น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอด
เยี่ยมเห็นปานนี้ไม่สมควรถูกทักท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัด
ว่าไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้อีกต่อไป โลหิจจะ ศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเห็นปานนี้ไม่
สมควรถูกทักท้วง การทักท้วงของผู้ทักท้วงศาสดาเห็นปานนี้ก็จัดว่าไม่จริง ไม่แท้
ไม่เป็นธรรม มีโทษ”
โลหิจจพราหมณ์ประกาศตนเป็นอุบาสก
[๕๑๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ โลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กำลังจะตกเหวคือนรก แต่ท่านพระโคดมช่วยฉุดให้
กลับขึ้นมายืนอยู่บนที่มั่น เปรียบเหมือนคนผู้หนึ่งคว้าผมของอีกคนหนึ่งซึ่งกำลังจะ
ตกเหวแล้วฉุดให้กลับขึ้นมายืนอยู่บนที่มั่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระ
โคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อม
ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โลหิจจสูตรที่ ๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] ว่าด้วยเรื่องไตรเพท

๑๓. เตวิชชสูตร
ว่าด้วยเรื่องไตรเพท
[๕๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อมนสากฏะ
ประทับอยู่ ณ อัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ด้านเหนือหมู่บ้านมนสากฏะ
[๕๑๙] สมัยนั้น ในหมู่บ้านมนสากฏะ มีพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียง
มาพักอาศัยอยู่หลายคน คือ ๑จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์
ชาณุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์๑ และยังมีพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียง
คนอื่น ๆ อีก
[๕๒๐] ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพกับภารัทวาชมาณพไปเดินเล่น สนทนากันใน
เรื่องทางและไม่ใช่ทาง วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ทางที่โปกขรสาติพราหมณ์
บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้”
ฝ่ายภารัทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ทางที่ตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้น
เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหมได้”
วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้ภารัทวาชมาณพยินยอมได้ ฝ่ายภารัทวาชมาณพก็ไม่
อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้เช่นกัน
[๕๒๑] วาเสฏฐมาณพจึงบอกภารัทวาชมาณพว่า “ภารัทวาชะ ก็พระสมณ-
โคดมพระองค์นี้เป็นศากยบุตร ผนวชแล้วจากศากยตระกูล ประทับอยู่ที่อัมพวัน
ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ด้านเหนือหมู่บ้านมนสากฏะ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อัน

เชิงอรรถ :
๑-๑ จังกีพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านโอปาสาทะ ตารุกขพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านอิจฉานังคละ โปกขรสาติพราหมณ์
อยู่ที่เมืองอุกกัฏฐะ ชาณุสโสณิพราหมณ์อยู่ที่กรุงสาวัตถี โตเทยยพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านตุทิ (ที.สี.อ.
๕๑๙/๓๓๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] ว่าด้วยเรื่องทางและไม่ใช่ทาง
งามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ๑ เป็นพระผู้มีพระภาค’ ภารัทวาชะ มาเถิด
พวกเราจะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วยกัน ทูลถามเรื่องนี้แล้วทรงจำข้อความตามที่
พระสมณโคดมตรัสตอบแก่พวกเรา”
ภารัทวาชมาณพรับคำของวาเสฏฐมาณพแล้ว
ว่าด้วยเรื่องทางและไม่ใช่ทาง
[๕๒๒] วาเสฏฐมาณพและภารัทวาชมาณพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ สนทนากับพระผู้มีพระภาคพอคุ้นเคยดีแล้ว นั่งลง ณ ที่สมควร
วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ขอประทานวโรกาสเถิด เมื่อข้า
พระองค์ทั้งสองไปเดินเล่น ได้สนทนากันในเรื่องทางและไม่ใช่ทาง ข้าพระองค์กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ทางที่โปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป
เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ ภารัทวาชมาณพ
กลับกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดิน
ตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ ท่าน
พระโคดม ในเรื่องนี้ยังมีการถือผิดกัน กล่าวผิดกัน กล่าวต่างกันอยู่”
[๕๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทางที่
โปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก
นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ ภารัทวาชมาณพกลับกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ทางที่ตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป
เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ พวกเธอถือ
ผิดกันในเรื่องไหน กล่าวผิดกันในเรื่องไหน กล่าวต่างกันในเรื่องไหน”
[๕๒๔] วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ในเรื่องทางและไม่ใช่ทาง ท่านพระโคดม
พวกพราหมณ์ทั้งหลาย คือ พวกอัทธริยพราหมณ์ พวกติตติริยพราหมณ์ พวก
ฉันโทกพราหมณ์ พวกพวหาริชฌพราหมณ์บัญญัติทางไว้ต่างกันก็จริง ถึงกระนั้น

เชิงอรรถ :
๑ ความเต็มเหมือนในข้อ ๒๕๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ
ทางทั้งปวงก็ล้วนเป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้
เปรียบเหมือนในที่ใกล้หมู่บ้านหรือนิคม ถึงจะมีทางอยู่หลายเส้นทางก็จริง ถึงกระนั้น
ทุกเส้นทางก็มาบรรจบกันที่กลางหมู่บ้านนั่นเอง ฉันใด พวกพราหมณ์ทั้งหลาย
คือ พวกอัทธริยพราหมณ์ พวกติตติริยพราหมณ์ พวกฉันโทกพราหมณ์ พวก
พวหาริชฌพราหมณ์บัญญัติทางไว้ต่างกันก็จริง ถึงกระนั้น ทางทั้งปวงก็ล้วนเป็นทาง
นำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้ ฉันนั้น”
ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ
[๕๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้น
นำออกได้หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กล่าวว่านำออกได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นนำออกได้หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กล่าวว่านำออกได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นนำออกได้หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กล่าวว่านำออกได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ บรรดาพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท มี
พราหมณ์แม้สักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
แม้สักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ มีปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้
ได้ไตรเพทแม้สักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
สักคนหนึ่งไหมที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนซึ่งเคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็น
พยานได้”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
[๕๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์
ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ได้แก่ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษี
เวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ
และฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทในเวลานี้
ขับตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้ รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้อง
ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นมีไหมที่กล่าว
อย่างนี้ว่า พวกเรารู้ พวกเราเห็นพระพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม”
[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า บรรดา
พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทไม่มีเลยแม้สักคนเดียวที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยาน
ได้ แม้อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทก็ไม่มีเลยแม้สักคนเดียวที่เคยเห็นพรหม
พอจะอ้างเป็นพยานได้ แม้ปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทก็ไม่มีเลย
แม้สักคนเดียวที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพทที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนก็ไม่มีเลยแม้สักคนเดียวที่เคยเห็น
พรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
ได้แก่ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษี
อังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์
บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทในเวลานี้ขับตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่า
ที่ท่านขับไว้กล่อมไว้รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้อง
ตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นก็ไม่มีเลยที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเรารู้ พวกเรา
เห็นพระพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด’ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อความเป็นผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ
อยู่ร่วมกับพระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก
นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’
[๕๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอย๑ มิใช่หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้
ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น
เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้”
[๕๒๙] วาเสฏฐะ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหมือนคนตาบอดเข้าแถว
เกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถวต่างก็มองไม่เห็น
ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นช่างน่าขบขัน ต่ำต้อย เหลวไหล ไร้สาระ
[๕๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทมองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น
แต่ก็ยังอ้อนวอนชื่นชมประนมมือนอบน้อมเดินเวียนอยู่”
เขาทูลตอบว่า “เป็นเช่นนั้น ท่านพระโคดม พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทมองเห็นดวง
จันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น แต่ก็ยังอ้อนวอนชื่นชมประนมมือ
นอบน้อมเดินเวียนอยู่”
[๕๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทมองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น
แต่ก็ยังอ้อนวอนชื่นชมประนมมือนอบน้อมเดินเวียนอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นจะ
สามารถแสดงทางไปอยู่ร่วมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทาง

เชิงอรรถ :
๑ เลื่อนลอย (อปฺปาฏิหีรกตํ) หมายถึง เป็นคำที่ไม่มีปาฏิหาริย์ ขาดเหตุผลที่จะจูงใจฝ่ายตรงข้ามให้เชื่อถือ
หรือยินยอมได้ [ที.สี.ฎีกา(อภินว.) ๒/๔๒๕/๔๙๓]

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ
ตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ละหรือ”
เขาทูลตอบว่า “หามิได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพทมองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น แต่ก็ยังอ้อนวอน
ชื่นชมประนมมือนอบน้อมเดินเวียนอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นไม่สามารถแสดงทาง
ไปอยู่ร่วมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดิน
ตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ได้
[๕๓๒] วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ไม่มีพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็น
พรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็น
พรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่
เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เป็น
อาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนซึ่งเคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ พวกฤๅษี
ผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ได้แก่ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษี
วามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ
ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
ในเวลานี้ขับตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้รวบรวมไว้ กล่าว
ได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นก็ไม่
มีเลยที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเรารู้ พวกเราเห็นพระพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด
หรืออยู่ภพใด’ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเรา
ไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้น
เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหมได้’
[๕๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้
ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น
เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้
เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท
[๕๓๔] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า
‘เราปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จักหญิง
คนนั้นหรือว่าเป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ หรือนางศูทร’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอรู้จักหญิงคนนั้นหรือว่ามีชื่อ ตระกูล
สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ในบ้าน นิคม หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ไม่
รู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
[๕๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า
เลื่อนลอยแน่นอน”
[๕๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้
สรุปได้ว่า ไม่มีพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี
อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี
ปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้
ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนที่เคย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] เปรียบด้วยคนสร้างบันได
เห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ฯลฯ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้
ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ
พระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้
เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’
[๕๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้
ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น
เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้”
เปรียบด้วยคนสร้างบันได
[๕๓๘] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษทำบันไดที่หนทางใหญ่สี่แพร่งเพื่อขึ้น
ปราสาท คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอจะทำบันไดขึ้นปราสาท เธอรู้จักปราสาทนั้น
หรือว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ มีขนาดสูง ต่ำ
หรือปานกลาง’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า
‘เธอจะทำบันไดขึ้นปราสาทที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม
อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’
[๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า
เลื่อนลอยแน่นอน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี
[๕๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้
สรุปได้ว่า ไม่มีพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี
อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี
ปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้
ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนซึ่งเคย
เห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพท ได้แก่ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษี
ยมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่ง
เป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทในเวลานี้ขับตามกล่อมตาม
ซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้
บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นก็ไม่มีเลยที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวก
เรารู้ พวกเราเห็นพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด’ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อ
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป
เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’
[๕๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทก็ถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ”
เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้
ไตรเพทก็ถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้
ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น
เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้
เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี
[๕๔๒] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีมีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)
ดื่มกินได้ ชายคนหนึ่งต้องการจะข้ามฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปถึงฝั่ง ประสงค์จะข้าม เขา
ยืนอยู่ที่ฝั่งนี้ตะโกนเรียกฝั่งโน้นว่า ‘ฝั่งโน้นจงเลื่อนมาฝั่งนี้ ๆ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี
[๕๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เพราะเหตุที่ชายผู้นั้นร้องเรียก อ้อนวอน ปรารถนา หรือสรรเสริญ ฝั่งโน้นของแม่น้ำ
อจิรวดีจะเลื่อนมายังฝั่งนี้ได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “ไม่ได้ ท่านพระโคดม”
[๕๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ การที่
พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์๑ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้
เป็นพราหมณ์มาประพฤติ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราร้องเรียกพระอินทร์ ร้องเรียก
พระจันทร์ ร้องเรียกพระพิรุณ ร้องเรียกพระอีสาน ร้องเรียกพระปชาบดี ร้องเรียก
พระพรหม ร้องเรียกพระมหิทธิ์’ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้น
ละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์มา
ประพฤติ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เพราะการเรียกร้อง
การอ้อนวอน การปรารถนา หรือการสรรเสริญ นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้
[๕๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีมี
น้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ชายคนหนึ่งต้องการข้ามไปฝั่งโน้น แต่กลับเอา
เชือกเหนียวมัดแขนไพล่หลังแน่นหนาอยู่ที่ฝั่งนี้ วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
ชายคนนั้นจะข้ามแม่น้ำอจิรวดีได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “ไม่ได้ ท่านพระโคดม”
[๕๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ กามคุณ๒ ๕
ต่อไปนี้ ในวินัยของพระอริยะเรียกว่า ขื่อคาบ้าง เครื่องจองจำบ้าง กามคุณ ๕
อะไรบ้าง คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนารักใคร่พอใจ ชวนให้รัก ชักให้
ใคร่ พาใจให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู อันน่าปรารถนารักใคร่พอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก อันน่าปรารถนารักใคร่พอใจ

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ (พฺราหฺมณการกา) ในที่นี้หมายถึง ศีล ๕ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐ (ที.สี.อ.
๕๔๔-๕๔๕/๓๓๕)
๒ กาม (สิ่งที่ทำให้เกิดความใคร่) และ คุณ (เครื่องผูกพันหรือพันธนาการ) [ที.สี.อ. ๕๔๖/๓๓๕] ฉะนั้น
กามคุณ จึงหมายถึงสิ่งที่ผูกพันสัตว์ไว้คือกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๓๙ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนารักใคร่
พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่า
ปรารถนารักใคร่พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทผู้กำหนัด สยบ หมกมุ่น มองไม่เห็นโทษ ไม่มี
ปัญญาที่จะสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ อย่างนี้อยู่ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
ละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์มา
ประพฤติ กำหนัด สยบ หมกมุ่น มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะสลัดออก บริโภค
กามคุณ ๕ อยู่ ติดตรวนคือกาม หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้
[๕๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีมี
น้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ชายคนหนึ่งต้องการข้ามไปฝั่งโน้น แต่กลับนอน
คลุมโปงอยู่ที่ฝั่งนี้ วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ชายคนนั้นจะข้ามแม่น้ำ
อจิรวดีได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “ไม่ได้ ท่านพระโคดม”
[๕๔๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕
ต่อไปนี้ ในวินัยของพระอริยะเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง
เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง นิวรณ์ ๕ อะไรบ้าง คือ กามฉันทะ พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล ในวินัย
ของพระอริยะเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง
เครื่องตราตรึงบ้าง”
[๕๔๙] วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถูกนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แลหน่วงเหนี่ยว
กางกั้น รัดรึง ตรึงเอาไว้แล้ว การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทละธรรมที่ทำให้เป็น
พราหมณ์ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์มาประพฤติ ถูกนิวรณ์ ๕
หน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงเอาไว้ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม
กับพรหม นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์

เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์
[๕๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
เธอเคยได้ยินพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่าผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวว่าอย่างไร พรหม
มีเครื่องเกาะเกี่ยว(ภรรยา) หรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมคิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร”
เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดจองเวร ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมคิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน”
เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมมีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง”
เขาทูลตอบว่า “มีจิตไม่เศร้าหมอง ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับจิต
ให้อยู่ในอำนาจไม่ได้”
เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์
ผู้ได้ไตรเพทมีเครื่องเกาะเกี่ยวหรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว”
เขาทูลตอบว่า “มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์คิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร”
เขาทูลตอบว่า “คิดจองเวร ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์คิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน”
เขาทูลตอบว่า “คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์มีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้า
หมอง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์
เขาทูลตอบว่า “มีจิตเศร้าหมอง ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับ
จิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้”
เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ ท่านพระโคดม”
[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พราหมณ์ผู้
ได้ไตรเพทยังมีเครื่องเกาะเกี่ยว แต่พรหมไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ดังนั้น จะเปรียบ
เทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังมีเครื่องเกาะเกี่ยวกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวได้
ละหรือ”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท
เหล่านั้นซึ่งยังมีเครื่องเกาะเกี่ยว หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
ผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังคิด
จองเวร แต่พรหมไม่คิดจองเวร ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังคิด
จองเวรกับพรหมผู้ไม่คิดจองเวรได้ละหรือ”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังคิดเบียดเบียน แต่
พรหมไม่คิดเบียดเบียน ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังคิด
เบียดเบียนกับพรหมผู้ไม่คิดเบียดเบียนได้ละหรือ”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังมีจิตเศร้าหมอง แต่
พรหมมีจิตไม่เศร้าหมอง ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังมีจิต
เศร้าหมองกับพรหมผู้มีจิตไม่เศร้าหมองได้ละหรือ”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังบังคับจิตให้อยู่ใน
อำนาจไม่ได้ แต่พรหมบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้
ได้ไตรเพทที่ยังบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้กับพรหมผู้บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้
ละหรือ”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยัง
บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมผู้
บังคับจิตอยู่ในอำนาจได้ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้
[๕๕๒] วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นจมลงแล้วก็ยังจะจมอยู่ต่อไป
ในโลกนี้ เมื่อจมแล้ว ก็ถึงความย่อยยับ แต่ก็ยังเข้าใจว่า ตนข้ามไปได้ง่าย ๆ ดังนั้น
เราจึงเรียกไตรเพทของพราหณ์ผู้ได้ไตรเพทว่า ป่าใหญ่คือไตรเพทบ้าง ดงกันดารคือ
ไตรเพทบ้าง ความพินาศคือไตรเพทบ้าง”
[๕๕๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ท่าน
พระโคดม ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงทราบทางไปเพื่อความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับพระพรหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร หมู่
บ้านมนสากฏะอยู่ใกล้แค่นี้ ไม่ไกลไปจากนี้ใช่ไหม”
เขาทูลตอบว่า “เป็นเช่นนั้น ท่านพระโคดม”
[๕๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คน
ที่เติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะนี้ เมื่อถูกถามถึงทางไปหมู่บ้านมนสากฏะที่เขาเพิ่ง
จะออกมา มีหรือที่เขาจะชักช้าหรือรีรออยู่”
เขาทูลตอบว่า “ไม่ชักช้าหรือรีรอเลย ท่านพระโคดม เพราะเขาเติบโตมาในหมู่
บ้านมนสากฏะ จึงรู้หนทางในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ผู้ที่เติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะถูกถาม
ถึงทางไปหมู่บ้านนั้นก็ยังอาจจะชักช้าหรือรีรออยู่บ้าง แต่(เรา)ตถาคตถูกถามถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] ทรงแสดงทางไปพรหมโลก
พรหมโลกหรือข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก จะไม่ชักช้าหรือรีรอเลย เพราะเรารู้จัก
พรหมโลกและข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก อีกทั้งรู้ว่า พรหมปฏิบัติอย่างไรจึงได้เข้า
ถึงพรหมโลก”
[๕๕๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ท่าน
พระโคดม ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงแสดงทางไปเพื่อความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับพระพรหม ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงทางไปเพื่อ
ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหม โปรดอนุเคราะห์ชุมชนพราหมณ์ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจะ
กล่าว”
เขาทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ทรงแสดงทางไปพรหมโลก
[๕๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑ (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตร
มาใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณา
เห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้วย่อมเกิดความเบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น
ภิกษุนั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
วาเสฏฐะ กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว
อย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจร เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึง

เชิงอรรถ :
๑ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๔ }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] ทรงแสดงทางไปพรหมโลก
ให้ผู้อื่นได้ยินตลอดทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก วาเสฏฐะ นี้แลเป็นทางไปเพื่อความเป็น
ผู้อยู่ร่วมกับพรหม
ยังมีอีก วาเสฏฐะ ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไป
ตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไป
ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่
มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
วาเสฏฐะ กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่าง
นี้ จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจร เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้
ผู้อื่นได้ยินตลอดทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก วาเสฏฐะ นี้แลเป็นทางไปเพื่อความเป็นผู้
อยู่ร่วมกับพรหม
[๕๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร
ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้จะมีเครื่องเกาะเกี่ยวหรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว”
เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร”
เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดจองเวร ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน”
เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง”
เขาทูลตอบว่า “มีจิตไม่เศร้าหมอง ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับจิตให้อยู่
ในอำนาจไม่ได้”
เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ท่านพระโคดม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร] ทรงแสดงทางไปพรหมโลก
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ภิกษุไม่มีเครื่อง
เกาะเกี่ยว พรหมก็ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่มีเครื่อง
เกาะเกี่ยวกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่ภิกษุนั้นผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว
หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมผู้ไม่มีเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว นั่น
เป็นฐานะที่เป็นไปได้
[๕๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ ภิกษุไม่คิดจองเวร พรหมก็ไม่
คิดจองเวร ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่คิดจองเวรกับพรหมผู้ไม่คิดจองเวรได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุไม่คิดเบียดเบียน พรหมก็ไม่คิดเบียดเบียน
ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่คิดเบียดเบียนกับพรหมผู้ไม่คิดเบียดเบียนได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุมีจิตไม่เศร้าหมอง พรหมก็มีจิตไม่เศร้า
หมอง ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้มีจิตไม่เศร้าหมองกับพรหมผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง
ได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ พรหมก็บังคับ
จิตให้อยู่ในอำนาจได้ ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้กับ
พรหมผู้บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ได้ไหม”
เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่ภิกษุนั้นผู้บังคับจิตให้อยู่ใน
อำนาจได้ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมผู้บังคับจิตให้อยู่ใน
อำนาจได้ นั่นเป็นฐานะที่เป็นไปได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓.เตวิชชสูตร]
มาณพทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก

มาณพทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก
[๕๕๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกับภารัทวาชมาณพ
ได้กราบทูลว่า“ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เตวิชชสูตรที่ ๑๓ จบ
สีลขันธวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พรหมชาลสูตร___๒. สามัญญผลสูตร
๓. อัมพัฏฐสูตร___๔. โสณทัณฑสูตร
๕. กูฏทันตสูตร___๖. มหาลิสูตร
๗. ชาลิยสูตร___๘. มหาสีหนาทสูตร
๙. โปฏฐปาทสูตร___๑๐. สุภสูตร.
๑๑. เกวัฏฏสูตร___๑๒. โลหิจจสูตร
๑๓. เตวิชชสูตร
สีลขันธวรรค จบบริบูรณ์

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค จบ


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น