พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเราเดินทางอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว
ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต
บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่
การงาน จะเหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา
จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีต
วัตถุประการ ที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี
อาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย
เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น
กุสีตวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้
ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กายของเรายัง
อ่อนแอไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย
ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ
ประการที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๕[๓๓๕] อารัมภวัตถุ๑(เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘
๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราจัก ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อ
ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑
๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา
ทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอ
จึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒
๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง การที่
เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่ทำ
ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่
ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓
๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา
เดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้
อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’
เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงเริ่มปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕
๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ
ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา
เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต
บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่
การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ
ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖
๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธ
ขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น อย่ากระนั้น
เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร
ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗
๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่าง
นี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธ
ของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น
อารัมภวัตถุประการที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๖[๓๓๖] ทานวัตถุ๑(เหตุแห่งการให้ทาน) ๘
๑. ให้ทานเพราะประสบเข้า๒
๒. ให้ทานเพราะกลัว๓
๓. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
๔. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
๕. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
๖. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้
การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้
ไม่ควร’
๗. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’
๘. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต๔
๗
[๓๓๗] ทานุปปัตติ๕ (ผลที่เกิดจากการให้ทาน) ๘
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวกขัตติย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจาก
ตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล
หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่
จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น๑ ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะ
เป็นผู้บริสุทธิ์
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นจาตุ-
มหาราช มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับ
พวกเทพชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่
จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ
เป็นผู้บริสุทธิ์
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น
ดาวดึงส์ ฯลฯ
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นยามา ฯลฯ’
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นดุสิต ฯลฯ’
๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น
นิมมานรดี ฯลฯ’
๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น
ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตอยู่
จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ
เป็นผู้บริสุทธิ์
๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นพรหม-
กายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา
อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทพชั้น
พรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขา
นั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น
ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้
ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธาน
ของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๘บริษัท๑ (ชุมนุม) ๘
๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์)
๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์)
๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี)
๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ)
๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช)
๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์)
๗. มารบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นนิมมานรดี)
๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)
๙
โลกธรรม๒ ๘
๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ
๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์
๑๐
[๓๓๘] อภิภายตนะ๓(อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) ๘
๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๔ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒
๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑ เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓
๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่
มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้
เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔
๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสี
เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้า
ในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ
ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕
๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอก
กรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม
ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคล
หนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก
ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๘
เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖
๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
พาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วย
ของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง
มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้
เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗
๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือน
ผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบ
ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้
เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘
๑๑
[๓๓๙] วิโมกข์๑(ความหลุดพ้น) ๘
๑. บุคคลผู้มีรูป๒ เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑
๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔
๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญ-
จายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ ๕
๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖
๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗
๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๘ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๘ จบ
สังคีติหมวด ๙
[๓๔๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๙ ประการที่พระผู้มีพระภาคสังคีติหมวด ๙
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
ธรรมหมวดละ ๙ ประการ คืออะไรคือ
๑
อาฆาตวัตถุ๑ (เหตุผูกอาฆาต) ๙
๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒แก่เรา’
๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’
๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’
๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา’
๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา’
๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรา’
๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
๒อาฆาตปฏิวินยะ๑ (อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต) ๙
๑. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน๒’
๒. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๓. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๔. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น
ทีรักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่
ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๕. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้
เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๖. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่
รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบ
พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๗. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ที่ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๘. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่
เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น
ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
๙. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
๓
[๓๔๑] สัตตาวาส๑ (ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์) ๙
๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพ
บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑
๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ
ชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌาน นี้เป็น
สัตตาวาสที่ ๒
๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ
ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓
๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก
เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๔
๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้นอสัญญี-
สัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕
๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖
๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจาญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็น
สัตตาวาสที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๘
๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙
๔
[๓๔๒] กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑ ๙
๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ
ทรงแสดงธรรม๒ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ
ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้เป็น
กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑
๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ
ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ
ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ข้อที่ ๒
๓. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓
๔. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงอสุรกาย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ
ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔
๕. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓ที่มีอายุยืนชั้นใด
ชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ข้อที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
๖. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับไปเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา
ผ่านไปมา นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ข้อที่ ๖
๗. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น
มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก
หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ ก็ไม่มีในโลก นี้ก็เป็นกาล
ที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗
๘. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน
มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง
สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘
๙. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก และไม่ทรง
แสดงธรรมที่นำความสงบมาให้เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่ง
สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๙
๕[๓๔๓] อนุปุพพวิหารธรรม๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ) ๙
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ
ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจาก
สมาธิอยู่
๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’
๔. เพราะละสุขและทุกข์ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
๕. บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง
๖. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
๗. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-
ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
๘. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนฌานอยู่
๙. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต-
นิโรธอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
๖[๓๔๔] อนุปุพพนิโรธ๑ (ความดับไปตามลำดับ) ๙
๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
๒. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
๔. ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๒ดับไป
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๙ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๙ จบ
สังคีติหมวด ๑๐
[๓๔๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มีสังคีติหมวด ๑๐
พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดย
ชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ คืออะไรคือ
๑
นาถกรณธรรม๑(ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการ
สังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัย
ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถ-
กรณธรรม
๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี
ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ
ถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒ แม้การที่
ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๓. เป็นผู้มีมิตรดี๓ มีสหายดี๔ มีเพื่อนดี๕ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มี
สหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน
รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ
งานต่ำ๑ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้
สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ
ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ
สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม๒ เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความ
ปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม๓ ในพระอภิวินัย๔ แม้การที่ภิกษุเป็น
ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์
อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช-
บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถ-
กรณธรรม
๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ
เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม เกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑อย่างยิ่งระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ
คำที่พูดแม้นาน นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ
เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
๒
[๓๔๖] กสิณายตนะ๒ (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐
๑. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
๒. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ...
๓. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ...
๔. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ...
๕. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ...
๖. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ...
๗. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ...
๘. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ...
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
๙. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ...๑๐. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
๓
[๓๔๗] อกุศลกรรมบถ๑(ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐
๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์)
๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ)
๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)
๙. พยาบาท (ความคิดร้าย)
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
๔
กุศลกรรมบถ๒ (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์)
๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์)
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ)
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด)
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ)
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา)๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย)
๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
๕
[๓๔๘] อริยวาส๑ (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖
๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก
๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ
๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒ อันบรรเทาได้
๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี
๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้
๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้
ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้
ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ได้
ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส
ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่
เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็นผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้น
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑ ภิกษุเป็น
ผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร
คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้
ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้
ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริ
ในพยาบาทได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว
เป็นอย่างนี้แล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไรคือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก
โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละได้
เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
๖
อเสขธรรม๑ (ธรรมที่เป็นอเสขะ) ๑๐
๑. สัมมาทิฏฐิ๒ที่เป็นอเสขะ
๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ
๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด ๑๐
๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ
๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ
๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ
๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ
๙. สัมมาญาณะ๑ที่เป็นอเสขะ
๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว
พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้
ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่
คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย”
สังคีติหมวด ๑๐ จบ
[๓๔๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ ดีแท้ สารีบุตร ที่เธอกล่าวสังคีติปริยาย(แนวทางแห่งการ
สังคายนา)แก่ภิกษุทั้งหลาย” ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว
พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่าน
พระสารีบุตรแล้วแล
สังคีติสูตรที่ ๑๐ จบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑ ประการ
๑๑. ทสุตตรสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑ ถึง ๑๐ ประการ
[๓๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้๑๑. ทสุตตรสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑ ถึง ๑๐ ประการ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
“เราจักกล่าวทสุตตรสูตร
อันเป็นธรรมเครื่องปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์”
ธรรม ๑ ประการ
[๓๕๑] ธรรม ๑ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๑ ประการที่ควรเจริญธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๑ ประการที่ควรละ
ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๑ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๑ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๑ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๑ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
(ก) ธรรม ๑ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๑ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ กายคตาสติ๑ สหรคตด้วยความสำราญ
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรเจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๑ ประการ
(ค) ธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไรคือ ผัสสะที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๑ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ อัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา)
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อโยนิโสมนสิการ๑
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ โยนิโสมนสิการ๒
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๑ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ เจโตสมาธิ อันมีลำดับติดต่อกันไป
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๑ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณอันไม่กำเริบ
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๑ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๒ ประการ
(ญ) ธรรม ๑ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไรคือ เจโตวิมุตติ อันไม่กำเริบ
นี้ คือธรรม ๑ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ธรรม ๒ ประการ
[๓๕๒] ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๒ ประการที่ควรเจริญธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๒ ประการที่ควรละ
ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๒ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๒ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๒ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๒ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
(ก) ธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ
๑. สติ (ความระลึกได้)
๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)๑
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๒ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ
๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ)
๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง)๒
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรเจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๒ ประการ
(ค) ธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไรคือ
๑. นาม
๒. รูป๑
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๒ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ
๑. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง)
๒. ภวตัณหา (ความอยากในภพ)๒
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ
๑. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
๒. ปาปมิตตตา (ความมีบาปมิตร)๓
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ
๑. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย)
๒. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร)๔
นี้คือธรรม ๒ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๒ ประการ
(ฉ) ธรรม ๒ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไรคือ
๑. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย
๒. ธรรมที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
นี้คือธรรม ๒ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๒ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ ๒ ได้แก่
๑. ขยญาณ (ความรู้ในการสิ้นกิเลส)
๒. อนุปปาทญาณ (ความรู้ในการไม่เกิดกิเลส)๑
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๒ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ ๒ ได้แก่
๑. สังขตธาตุ (ธาตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
๒. อสังขตธาตุ (ธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง)
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๒ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง)
๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)๒
นี้ คือธรรม ๒ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๒๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๓ ประการ
ธรรม ๓ ประการ
[๓๕๓] ธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญธรรม ๓ ประการ
ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๓ ประการที่ควรละ
ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
(ก) ธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ___(การคบหาสัตบุรุษ)
๒. สัทธัมมัสสวนะ___(การฟังพระสัทธรรม)
๓. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ___(การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)๑
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สมาธิ๒ ๓ ได้แก่
๑. สมาธิที่มีทั้งวิตก และมีวิจาร
๒. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร
๓. สมาธิที่ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ เวทนา๓ ๓ ได้แก่
๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๓ ประการ
๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๓ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ ตัณหา๑ ๓ ได้แก่
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ อกุศลมูล๒ ๓ ได้แก่
๑. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้)
๒. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
๓. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ กุศลมูล๓ ๓ ได้แก่
๑. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้)
๒. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๓ ประการ
(ฉ) ธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไรคือ ธาตุที่สลัด ๓ ได้แก่
๑. ธาตุที่สลัดกามคือเนกขัมมะ๑
๒. ธาตุที่สลัดรูปคืออรูป๒
๓. การสลัดสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่อาศัยกันและ
กันเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือนิโรธ๓
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ ๓ ได้แก่
๑. อตีตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต)
๒. อนาคตังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต)
๓. ปัจจุปปันนังสญาณ (ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ ธาตุ๔ ๓ ได้แก่
๑. กามธาตุ (ธาตุคือกามภพ)
๒. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปภพ)
๓. อรูปธาตุ (ธาตุคืออรูปภพ)
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ
(ญ) ธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไรคือ วิชชา๑ ๓ ได้แก่
๑. วิชชา คือความหยั่งรู้ที่ทำให้ระลึกถึงชาติก่อนได้
๒. วิชชา คือความหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
๓. วิชชา คือความหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๓๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ธรรม ๔ ประการ
[๓๕๔] ธรรม ๔ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๔ ประการที่ควรเจริญธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๔ ประการที่ควรละ
ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๔ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๔ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๔ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๔ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
(ก) ธรรม ๔ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ จักร๒ ๔ ได้แก่
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่ดี)
๒. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ)
๓. อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบ)
๔. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อนแล้ว)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่มีอุปการะมาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ
(ข) ธรรม ๔ ประการที่ควรเจริญ คืออะไรคือ สติปัฏฐาน๑ ๔ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อาหาร๒ ๔ ได้แก่
๑. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว) ทั้งหยาบและละเอียด
๒. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๔ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ โอฆะ๓ (ห้วงน้ำคือกิเลส) ๔ ได้แก่
๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม)
๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรละ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ
(ง) ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไรคือ โยคะ๑ (เครื่องเกาะเกี่ยว) ๔ ได้แก่
๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม)
๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ)
๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ วิสังโยคะ๒ (ความพราก) ๔ ได้แก่
๑. กามโยควิสังโยคะ (ความพรากจากกามโยคะ)
๒. ภวโยควิสังโยคะ (ความพรากจากภวโยคะ)
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความพรากจากทิฏฐิโยคะ)
๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความพรากจากอวิชชาโยคะ)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๔ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ สมาธิ ๔ ได้แก่
๑. หานภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายเสื่อม)
๒. ฐิติภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายดำรง)
๓. วิเสสภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายวิเศษ)
๔. นิพเพธภาคิยสมาธิ (สมาธิฝ่ายชำแรกกิเลส)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
(ช) ธรรม ๔ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร
คือ ญาณ๓ ๔ ได้แก่
๑. ธัมมญาณ (ความรู้ในธรรม)
๒. อันวยญาณ (ความรู้ในการคล้อยตาม)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๔ ประการ
๓. ปริยญาณ (ความรู้ในการกำหนดจิตของผู้อื่น)๔. สัมมติญาณ (ความรู้ในสมมติ)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๔ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่
๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับแห่งทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งทุกข์)
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๔ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ สามัญญผล๑ (ผลแห่งความเป็นสมณะ) ๔ ได้แก่
๑. โสดาปัตติผล
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล
๔. อรหัตตผล
นี้ คือธรรม ๔ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๔๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการ
[๓๕๕] ธรรม ๕ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๕ ประการที่ควรเจริญธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๕ ประการที่ควรละ
ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๕ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๕ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๕ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๕ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
(ก) ธรรม ๕ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ องค์ของผู้บำเพ็ญความเพียร๑ ๕ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้
อย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย โรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับ
ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะ
แก่การบำเพ็ญเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริง
ในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๕ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยองค์ ๕ ได้แก่
๑. มีปีติแผ่ไป
๒. มีสุขแผ่ไป
๓. มีการกำหนดรู้จิตผู้อื่นแผ่ไป
๔. มีแสงสว่าง๑แผ่ไป
๕. ปัจจเวกขณญาณเป็นนิมิต
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อุปาทานขันธ์๒ (กองแห่งความยึดมั่น) ๕ ได้แก่
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๕ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ นิวรณ์๓ ๕ ได้แก่
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรละ
(ง) ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร
คือ กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู๑ ๕ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา
จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน
พระศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร การที่จิตของ
ภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อ
กระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๑
๒. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ...
๓. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ...
๔. เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา (ข้อที่จะ
ต้องศึกษา) ...
๕. เป็นผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
กระทบ มีจิตแข็งกระด้างในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย จิตของ
ภิกษุผู้โกรธ ไม่พอใจ มีจิตถูกโทสะกระทบ มีจิตแข็งกระด้าง
ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร
เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร
การที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ
เพื่อกระทำต่อเนื่อง เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกิเลสเครื่องตรึงจิต
ดุจตะปูประการที่ ๕
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
(จ) ธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไรคือ อินทรีย์๑ ๕ ได้แก่
๑. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
๒. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
๓. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
๔. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
๕. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
(ฉ) ธรรม ๕ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร
คือ ธาตุที่สลัด๒ ๕ ได้แก่
๑. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย จิตของ
เธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย
แต่เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว
จากกามทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อน
ที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อม
ไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกาม
ทั้งหลาย
๒. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท
จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดพยาบาท
๓. เมื่อภิกษุมนสิการวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการอวิหิงสา จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอวิหิงสา จิตนั้น
ของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว
หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา เธอหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้น
เพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดวิหิงสา
๔. เมื่อภิกษุมนสิการรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการ
อรูป จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป
จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่
ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย เธอ
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดรูปทั้งหลาย
๕. เมื่อภิกษุมนสิการสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่
เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอมนสิการ
สักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ) จิตของเธอจึงแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในสักกายนิโรธ จิตของเธอชื่อว่าเป็น
จิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากสักกายะ เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะสักกายะเป็น
ปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ว่าธาตุที่สลัดสักกายะ
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่แทงตลอดได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
(ช) ธรรม ๕ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไรคือ สัมมาสมาธิ ประกอบด้วยญาณ๑ ๕ ได้แก่
๑. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า “สมาธิ๒นี้มีสุขในปัจจุบัน และ
มีสุขเป็นวิบากต่อไป’
๒. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ เป็นอริยะ ปราศจาก
อามิส๓’
๓. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้มิใช่บุรุษชั่ว๔เสพแล้ว’
๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้ สงบ ประณีต ได้ด้วย
ความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และ
มิใช่บรรลุได้ด้วยการข่ม(ธรรมที่เป็นข้าศึก) ห้ามกิเลส ด้วย
สสังขารจิต๕’
๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรานั้นมีสติ เข้าสมาธิ และเรา
มีสติออกจากสมาธินี้’
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม ๕ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ วิมุตตายตนะ๖(เหตุแห่งความหลุดพ้น) ๕ ได้แก่
๑. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง
ธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมใน
ธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
อยู่ในฐานะครูแสดงธรรมแก่เธอ เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๑
๒. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้ง
ธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอ
แสดงแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อม
เกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ
กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๒
๓. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่
ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ภิกษุ
สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่
ตนได้เรียนมา ที่เธอสาธยายโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้
แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อ
มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่ ๓
๔. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ตนได้สดับ
มาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยายธรรม
ตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุตรึกตาม
ตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตน
ได้เรียนมา เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมตามที่ตนได้สดับมา
ตามที่ตนได้เรียนมา ที่เธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจ
เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๕ ประการ
ปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ ๔
๕. พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูไม่ได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้ไปแสดงธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ไม่ได้สาธยาย
ธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมาโดยพิสดาร และ
ไม่ได้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้
สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา แต่เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใด
อย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา
เธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้นตามที่เธอได้เรียนสมาธิ-
นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอด
ดีด้วยปัญญา เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อมีปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมี
กายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็น
วิมุตตายตนะประการที่ ๕
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม ๕ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่
๑. สีลขันธ์ (กองศีล)
๒. สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
๓. ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา)
๔. วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ)
๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)
นี้ คือธรรม ๕ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
ธรรม ๕๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น
อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ
ธรรม ๖ ประการ
[๓๕๖] ธรรม ๖ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๖ ประการที่ควรเจริญธรรม ๖ ประการ
ธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๖ ประการที่ควรละ
ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่าย
คุณวิเศษ
ธรรม ๖ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๖ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
ธรรม ๖ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๖ ประการที่ควรทำให้แจ้ง
(ก) ธรรม ๖ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร
คือ สารณียธรรม๑ ๖ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๒ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่
แจ้งและในที่ลับ๓ นี้เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง
และในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้
เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่
วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรมในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้ง
และในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม ฯลฯ เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ
๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑ลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต (อาหารในบาตร) บริโภค
รวมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรม
ฯลฯ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๕. มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ แม้นี้ก็เป็น
สารณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อ
ความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
๖. มีอริยทิฏฐิ๒ อันเป็นธรรมเครื่องนำออก๓เพื่อความสิ้นทุกข์
โดยชอบแก่ผู้ทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ แม้นี้ก็เป็นสารณียธรรมที่ทำให้เป็น
ที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอัน
เดียวกัน
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่มีอุปการะมาก
(ข) ธรรม ๖ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร
คือ อนุสสติฏฐาน๔ ๖ ได้แก่
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา)
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรเจริญ
(ค) ธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร
คือ อายตนะภายใน๑ ๖ ได้แก่
๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
๒. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
๔. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
๕. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
๖. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรกำหนดรู้
(ฆ) ธรรม ๖ ประการที่ควรละ คืออะไร
คือ หมวดตัณหา๒ ๖ ได้แก่
๑. รูปตัณหา (ความอยากได้รูป)
๒. สัททตัณหา (ความอยากได้เสียง)
๓. คันธตัณหา (ความอยากได้กลิ่น)
๔. รสตัณหา (ความอยากได้รส)
๕. โผฏฐัพพตัณหา (ความอยากได้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมตัณหา (ความอยากได้ธรรมารมณ์)
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่ควรละ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร] ธรรม ๖ ประการ
(ง) ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไรคือ อคารวะ๑ ๖ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม
(จ) ธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร
คือ คารวะ๒ ๖ ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
๒. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระธรรม
๓. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
๔. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
๕. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
๖. อยู่อย่างมีความเคารพ มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
นี้ คือธรรม ๖ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ
สาธุสาธุครับ
ตอบลบ