Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๐-๗ หน้า ๒๗๕ - ๓๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร

๙. อกุสลมูลสูตร
ว่าด้วยรากเหง้าของอกุศล
[๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล(รากเหง้าของอกุศล)
๓ ประการนี้
อกุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อกุศลมูล คือ โลภะ(ความอยากได้)
๒. อกุศลมูล คือ โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)
๓. อกุศลมูล คือ โมหะ(ความหลง)
โลภะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น
อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโลภะ ถูกโลภะครอบงำ มีจิตถูกโลภะกลุ้มรุม
ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย
ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น
อกุศลกรรม บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มี
โลภะเป็นแดนเกิด มีโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโลภะนั้นด้วยประการฉะนี้
โทสะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น
อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม
ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสีย
ทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม
บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด
มีโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีโทสะนั้นด้วยประการฉะนี้
โมหะจัดเป็นอกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัดเป็น
อกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่จริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์
ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็นอกุศลกรรม
บาปอกุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด
มีโมหะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่ผู้บุคคลผู้มีโมหะนั้นด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร
บุคคลเช่นนี้เรียกว่า อกาลวาที(กล่าวไม่ถูกเวลา)บ้าง อภูตวาที(กล่าวเรื่องไม่
จริง)บ้าง อนัตถวาที(กล่าวไม่อิงอรรถ)บ้าง อธัมมวาที(กล่าวไม่อิงธรรม)บ้าง
อวินยวาที(กล่าวไม่อิงวินัย)บ้าง
เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง อนัตถวาที
บ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง
เพราะบุคคลนี้ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียด
เบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรง
พลัง”บ้าง เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เมื่อถูกว่า
กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง กลับไม่พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้
เรื่องนี้จึงไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง อภูตวาทีบ้าง
อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล-
ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน
ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วย่อมหวังได้ทุคติ๑
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ
ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ
เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อที่ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด๒
คลุมยอด พันรอบต้น ย่อมถึงความเสื่อม ถึงความพินาศ ถึงความฉิบหายฉันใด
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโลภะครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศล
ธรรมที่เกิดเพราะโลภะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนใน
ปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร
บุคคลเช่นนี้ถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโทสะ ฯลฯ ที่เกิดเพราะโมหะ
ครอบงำ มีจิตถูกบาปอกุศลธรรมที่เกิดเพราะโมหะกลุ้มรุม ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ลำบาก คับแค้น เดือดร้อนในปัจจุบัน หลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล
กุศลมูล(รากเหง้าแห่งกุศล) ๓ ประการนี้
กุศลมูล ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กุศลมูล คือ อโลภะ(ความไม่อยากได้)
๒. กุศลมูล คือ อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย)
๓. กุศลมูล คือ อโมหะ(ความไม่หลง)
อโลภะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโลภะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโลภะ ไม่ถูกโลภะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโลภะ
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน จองจำ
ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัดเป็น
กุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มี
อโลภะเป็นแดนเกิด มีอโลภะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโลภะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
อโทสะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโทสะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโทสะ ไม่ถูกโทสะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโทสะ
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน
จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง”
ก็จัดเป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโทสะ มีอโทสะเป็นเหตุ
มีอโทสะเป็นแดนเกิด มีอโทสะเป็นปัจจัยย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโทสะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
อโมหะจัดเป็นกุศลมูล กรรมที่บุคคลผู้ไม่มีโมหะทำทางกาย วาจา และใจจัด
เป็นกุศลกรรม แม้กรรมของบุคคลผู้ไม่มีโมหะ ไม่ถูกโมหะครอบงำ มีจิตไม่ถูกโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๙. อกุสลมูลสูตร
กลุ้มรุม ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการเบียดเบียน
จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง ทรงพลัง” ก็จัด
เป็นกุศลกรรม กุศลธรรมจำนวนมากเหล่านี้ที่เกิดจากอโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มี
อโมหะเป็นแดนเกิด มีอโมหะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีโมหะนั้นด้วย
ประการฉะนี้
บุคคลเช่นนี้เรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง
วินยวาทีบ้าง
เพราะเหตุไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง
ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง
เพราะบุคคลนี้ไม่ก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ด้วยการ
เบียดเบียน จองจำ ให้เสียทรัพย์ ติเตียน หรือขับไล่ โดยอวดอ้างว่า “เรามีกำลัง
ทรงพลัง” เขาเมื่อถูกว่ากล่าวด้วยเรื่องที่เป็นจริงก็ยอมรับไม่ปฏิเสธ เมื่อถูกว่ากล่าว
ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงก็พยายามที่จะปฏิเสธเรื่องนั้นว่า “แม้เพราะเหตุนี้เรื่องนี้จึง
ไม่จริง ไม่แท้” ฉะนั้นบุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง
ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง
บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อม
ปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน
บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่
เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน
เปรียบเหมือนต้นสาละ ต้นตะแบก หรือต้นสะคร้อ ถูกเถาย่านทราย ๓ ชนิด
คลุมยอดพันรอบต้น ทีนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามาตัดเครือเถาย่านทรายแล้ว
ก็ขุดรอบ ๆ โคน ถอนรากขึ้นแม้กระทั่งเท่ารากหญ้าคา เขาหั่นเถาย่านทรายนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
เป็นท่อนเล็กท่อนน้อยแล้วผ่าออกเอารวมกันเข้า ผึ่งที่ลมและแดดแล้วเอาไฟเผา
ทำให้เป็นเขม่าแล้วโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่ไหลเชี่ยว เถาย่านทรายเหล่า
นั้นถูกบุรุษนั้นตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโลภะเป็นอันบุคคลเช่นนี้ละได้
เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่
เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน
บาปอกุศลธรรมที่เกิดจากโทสะ ฯลฯ ที่เกิดจากโมหะเป็นอันบุคคลเช่นนี้
ละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่
เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในอัตภาพปัจจุบัน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓ ประการนี้แล
อกุสลมูลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ
[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับในวันอุโบสถนั้น ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับนางวิสาขาดังนี้ว่า วิสาขา เธอมาจากที่ไหนแต่ยัง
วันเชียว
นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้หม่อมฉันจะรักษาอุโบสถ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ ประการ
อุโบสถ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โคปาลอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค)
๒. นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์)
๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถปฏิบัติอย่างอริยสาวก)
โคปาลอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ คนเลี้ยงโคในตอนเย็นมอบโคให้เจ้าของย่อมเห็นประจักษ์อย่างนี้ว่า วันนี้
โคทั้งหลายเที่ยวไปในที่โน้น ๆ ดื่มน้ำในแหล่งโน้น ๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ โคทั้งหลาย
จักเที่ยวไปในที่โน้น ๆ จักดื่มน้ำในแหล่งโน้น ๆ ฉันใด คนที่รักษาอุโบสถบางคนใน
โลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดอย่างนี้ว่า “วันนี้ เราเองเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ ๆ
บริโภคของกินชนิดนี้ ๆ พรุ่งนี้ ในตอนนี้ เราจักเคี้ยวกินของเคี้ยวชนิดนี้ ๆ จัก
บริโภคของกินชนิดนี้ ๆ” บุคคลนั้นมีใจประกอบด้วยอภิชฌาย่อมให้วันเวลาผ่านไป
ด้วยโลภะนั้น
วิสาขา โคปาลอุโบสถเป็นอย่างนี้แล โคปาลอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๑)
นิคัณฐอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ มีสมณะนิกายหนึ่งนามว่านิครนถ์ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า
“มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเลยร้อยโยชน์ไป
จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่
อยู่ทางทิศเหนือเลยร้อยโยชน์ไป จงลงอาญาในหมู่สัตว์ที่อยู่ทางทิศใต้เลยร้อยโยชน์
ไป” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนเพื่อเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์บางเหล่าไม่ชักชวนเพื่อเอ็นดู
อนุเคราะห์สัตว์บางเหล่าด้วยประการฉะนี้ นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนสาวกอย่างนี้ใน
วันอุโบสถวันนั้นว่า “มาเถิด พ่อคุณ ท่านจงทิ้งผ้าทุกชิ้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราไม่
เป็นที่กังวลของใคร ๆ ในที่ไหน ๆ และตัวเราก็ไม่มีความกังวลในบุคคลและสิ่งของ
ใด ๆ ในที่ไหน ๆ’ แต่บิดาและมารดาของเขารู้อยู่ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรของเรา” แม้เขาก็รู้ว่า
“ท่านเหล่านี้เป็นบิดาและมารดาของเรา” อนึ่ง บุตรและภรรยาของเขาก็รู้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
“ผู้นี้เป็นสามีของเรา” แม้ตัวเขาก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นบุตรและภรรยาของเรา” พวกทาส
คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดก็รู้ว่า “ผู้นี้เป็นนายของพวกเรา” แม้เขาก็รู้ว่า “คน
เหล่านี้เป็นทาส คนงาน และคนรับใช้ใกล้ชิดของเรา” นิครนถ์เหล่านั้นชักชวนในการ
พูดเท็จในเวลาที่ควรชักชวนในการพูดคำสัตย์ด้วยประการฉะนี้ เรากล่าวถึงกรรม
นี้ของผู้นั้นว่าเป็นมุสาวาท พอล่วงราตรีนั้นไป เขาบริโภคโภคะเหล่านั้นที่เจ้าของไม่
ได้ให้ เรากล่าวถึงกรรมนี้ของผู้นั้นว่าเป็นอทินนาทาน
วิสาขา นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างนี้แล นิคัณฐอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แล
ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก (๒)
อริยอุโบสถ เป็นอย่างไร
คือ ๑. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
เมื่ออริยสาวกระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิต๑เสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำศีรษะที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำศีรษะที่เปี้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยตะกรัน๒ ดินเหนียว น้ำ
และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำศีรษะที่เปื้อนให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” เมื่อเธอระลึกถึง
ตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาพรหมอุโบสถ๑ อยู่ร่วมกับพรหม และเพราะปรารภ
พรหม จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ก)
๒. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า ๊พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้
มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๒ ควร
เรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ
ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำกายที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเชือก ผงอาบน้ำ และ
อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกายที่เปื้อนให้สะอาด
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อเธอระลึกถึงพระ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
ธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาธัมมอุโบสถ๑ อยู่ร่วมกับธรรม และเพราะปรารภธรรม
จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ
จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ข)
๓. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔
คู่ คือ ๘ บุคคล๒ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความ
ปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ความเพียร
การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำผ้าที่เปื้อนให้สะอาดย่อมมีได้เพราะอาศัยเกลือ น้ำด่าง โคมัย น้ำ
และอาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำผ้าที่เปื้อนให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี
พระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” เมื่อเธอระลึกถึง

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
พระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
อริยสาวกนี้เราเรียกว่ารักษาสังฆอุโบสถ๑ อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และเพราะปรารภสงฆ์
จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำ
จิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ค)
๔. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง
ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไป
เพื่อสมาธิ เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำกระจกเงาที่มัวให้ใสย่อมมีได้เพราะอาศัยน้ำมัน เถ้า แปรง และ
อาศัยความพยายามอันเหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำกระจกเงาที่มัวให้ใส
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เมื่อเธอระลึกถึงศีลของตนอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่อง
เศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาสีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล
และเพราะปรารภศีล จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมอง
แห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่าง
นี้แล (๓ ฆ)

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
๕. การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาที่นับเนื่องใน
หมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่น
ใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้น
ประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีศีลเช่นนั้นอยู่พร้อม
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีสุตะ
เช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพ
นั้น แม้ตัวเราก็มีจาคะเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด
จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียรเปรียบเหมือนการ
ทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร
การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ การทำทองที่หมองให้สุกใสย่อมมีได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม เกลือ ยางไม้
คีมและความพยายามที่เหมาะสมแก่เหตุนั้นของบุคคล การทำทองที่หมองให้สุกใส
ย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล
การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความเพียร เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดาว่า “เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้น
ดาวดึงส์ ฯลฯ เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่
เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น แม้ตัวเราก็
มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่พร้อม เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ ฯลฯ
จาคะ ฯลฯ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น
แม้ตัวเราก็มีปัญญาเช่นนั้นอยู่พร้อม” เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
ปัญญาทั้งของตนและของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์
ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า รักษาเทวตาอุโบสถ
อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะปรารภเทวดา จิตของเธอจึงผ่องใส เกิดความปราโมทย์
ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้
ด้วยความเพียร เป็นอย่างนี้แล (๓ ง)
อริยสาวกนั้นย่อมเห็นประจักษ์ว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่า
สัตว์ คือวางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์
เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือวางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และ
รักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือรับเอาแต่ของที่เขาให้
มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาด
จากการลักทรัพย์ ถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็น
คนสะอาด อยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตาม
พระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์๑ คือประพฤติ
พรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดชีวิต แม้เรา
ก็ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจาก
เมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้านอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์
แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือพูดแต่คำสัตย์ ดำรงความ
สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลัก น่าเชื่อถือ
ไม่หลอกลวงชาวโลกอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่า
ทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและมรัย๑อัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉัน
อาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ปริโภคมื้อเดียว ไม่บริโภคตอนกลางคืน
เว้นขาดจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้
เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดู
การละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวง
ดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอด
ชีวิต แม้เราก็เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี การดูการละเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศล และจากการทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของ
หอมและเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัวอยู่ตลอดวันหนึ่งและ
คืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์และรักษาอุโบสถ
พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ
คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจาก
ที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ นอนบนที่นอนต่ำ คือบนเตียงหรือบนที่นอนที่ปูลาดด้วย
หญ้าอยู่ตลอดวันหนึ่งและคืนหนึ่งนี้ในวันนี้ เพราะองค์แม้นี้เราชื่อว่าทำตามพระ
อรหันต์และรักษาอุโบสถ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อริยอุโบสถที่บุคคลรักษาอย่างนี้แลย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อริยอุโบสถมีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมาก
เพียงไร แผ่ไพศาลมากเพียงไร
คือ เปรียบเหมือนพระราชาพระองค์ใดพึงครองราชย์ เป็นอิสราธิบดี(เป็นผู้
ยิ่งใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น)แห่งชนบทใหญ่ ๑๖ แคว้นที่สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
เหล่านี้คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ
สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง
มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ
สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึง
เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แล
ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดย
ราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติ
ของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๒๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรี
นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นยามา ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นยามา ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๔๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรี
นั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นดุสิต ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษ
บางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๘๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรี
โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดย
ปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือสตรี
หรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลังจากตายแล้วพึงเข้า
ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
๑,๖๐๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
๓๐ ราตรี โดยราตรีนั้น เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น ๑ ปี ๑๖,๐๐๐
ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่
เป็นไปได้ คือสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ หลัง
จากตายแล้วพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรา
กล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์
ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๘๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสอง
งดงามส่องสว่างโคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ทรัพย์ คือแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำ ตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖
ของอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติตถายตนสูตร ๒. ภยสูตร
๓. เวนาคปุรสูตร ๔. สรภสูตร
๕. เกสปุตติสูตร ๖. สาฬหสูตร
๗. กถาวัตถุสูตร ๘. อัญญติตถิยสูตร
๙. อกสลมูลสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑. ฉันนสูตร

๓. อานันทวรรค
หมวดว่าด้วยพระอานนท์

๑. ฉันนสูตร
ว่าด้วยฉันนปริพาชก
[๗๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อฉันนะเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ แม้พวกท่านก็บัญญัติ
การละราคะ(ความกำหนัด) โทสะ(ความคิดประทุษร้าย) และโมหะ(ความหลง)หรือ”
พระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ พวกเราเองบัญญัติการละราคะ โทสะ และโมหะ”
ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ ก็พวกท่านเห็นโทษในราคะอย่างไร จึง
บัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะอย่างไรจึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษใน
โมหะอย่างไรจึงบัญญัติการละโมหะ”
พระอานนท์ตอบว่า บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย
ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย-
ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อละ
ราคะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑. ฉันนสูตร
ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ราคะนั่นเองทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่มี
ดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ
พระนิพพาน
บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง
๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนตน ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่
เสวยทุกขโทมนัสทางใจ
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติกาย-
ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติกายทุจริต
วจีทุจริต และมโนทุจริต
บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมไม่รู้ชัดตามความ
เป็นจริงถึงประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เมื่อ
ละโมหะได้แล้ว เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงถึงประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย โมหะนั่นเองทำให้เป็นเหมือนคนตาบอด เป็นเหมือนคนไม่
มีดวงตา ทำให้ไม่รู้อะไร มีปัญญามืดบอด เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไป
เพื่อพระนิพพาน
พวกเราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แลจึงบัญญัติการละราคะ เห็นโทษในโทสะเช่นนี้
จึงบัญญัติการละโทสะ และเห็นโทษในโมหะเช่นนี้จึงบัญญัติการละโมหะ
ฉันนปริพาชกเรียนถามว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะนั้นมีอยู่หรือ”
พระอานนท์ตอบว่า “มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นมีอยู่”
ฉันนปริพาชกเรียนถามต่อไปอีกว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ
และโมหะนั้น เป็นอย่างไร”
พระอานนท์ตอบว่า “คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๒. อาชีวกสูตร
๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

ผู้มีอายุ นี้แลคือมรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น”
ฉันนปริพาชกกล่าวว่า “ผู้มีอายุ มรรคปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ
นั่น ดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ฉันนสูตรที่ ๑ จบ

๒. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยสาวกของอาชีวก
[๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
คหบดีคนหนึ่ง เป็นสาวกของอาชีวก เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ในโลก คนพวกไหนกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว
ดำเนินไปดีแล้ว”
พระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ในเรื่องนี้เราขอย้อนถามท่าน ท่าน
พึงตอบตามที่ท่านพอใจ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละ
ราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นกล่าวธรรมไว้ดีแล้วหรือไม่ หรือท่านมีความ
เข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใด
ปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นปฏิบัติดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ
ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๓ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๒. อาชีวกสูตร
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ
คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือคนพวกใดละ
ราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละ
โมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นดำเนินไปดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือ
ท่านมีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างไร”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ คนพวกใดละโทสะได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่าดำเนินไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเข้าในเรื่องนี้อย่างนี้”
พระอานนท์กล่าวว่า “คหบดี เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวก
ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ คนพวกนั้นชื่อว่ากล่าวธรรมไว้ดีแล้ว’
เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วว่า ‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และ
โมหะ คนพวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้วในโลก’ เรื่องนี้ท่านได้ตอบแล้วเหมือนกันว่า
‘ท่านผู้เจริญ คนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกใดละโทสะ
ได้แล้ว ฯลฯ คนพวกใดละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นชื่อว่า
ดำเนินไปดีแล้วในโลกแล”
คหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านไม่ยกย่อง
ธรรมของตนเอง และไม่มีการรุกรานธรรมของผู้อื่น มีแต่แสดงธรรมตามเหตุผล
กล่าวแต่เนื้อความ และไม่ได้นำความเห็นของตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านแสดงธรรม
เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านกล่าวธรรมไว้ดีแล้ว ท่าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๓. มหานามสักกสูตร
อานนท์ผู้เจริญ ท่านปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะ ท่านปฏิบัติดีแล้วในโลก
ท่านอานนท์ผู้เจริญ ท่านละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านละโทสะได้แล้ว
ฯลฯ ท่านละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านดำเนินไปดีแล้วในโลก
ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก พระคุณเจ้าอานนท์ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้ง
พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าอานนท์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสกผู้เข้าถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อาชีวกสูตรที่ ๒ จบ

๓. มหานามสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้ามหานามศากยะ
[๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากความอาพาธไม่นาน ครั้งนั้น
เจ้ามหานามศากยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานแล้วที่ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคแสดงอย่างนี้ว่า ญาณ(ความรู้) เกิดแก่ผู้มีใจเป็นสมาธิ ไม่เกิดแก่ผู้มีใจไม่
เป็นสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมาธิเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่า ญาณเกิด
ก่อน สมาธิเกิดทีหลัง”
ในขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า “พระผู้มีพระภาคเพิ่งจะทรงหาย
จากความอาพาธได้ไม่นาน เจ้ามหานามศากยะนี้ทูลถามปัญหาที่ลึกซึ้งกับพระผู้มี
พระภาค ทางที่ดี เราควรนำเจ้ามหานามศากยะไปอีกที่หนึ่งแล้วแสดงธรรม(ให้ฟง)”ั

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๓. มหานามสักกสูตร
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พาเจ้ามหานามศากยะหลีกไป ณ ที่สมควรแล้วได้
กล่าวว่า มหานามะ พระผู้มีพระภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็น
ของพระอเสขะ๑ ไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสสมาธิที่เป็นของพระเสขะ๒ไว้ก็มี ตรัส
สมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี พระผู้มีพระภาคตรัสปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
ไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี
ศีลที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล สำรวมด้วยความสังวรในพระปาติโมกข์อยู่ ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลที่เป็นของพระเสขะ
สมาธิที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มี
สุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิที่เป็นของพระเสขะ
ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏปทา” นี้เรียกว่า ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
มหานามะ อริยสาวกนั้นแลผู้เพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วย
สมาธิอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พระผู้มีพระ
ภาคตรัสศีลที่เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสศีลที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่
เป็นของพระเสขะไว้ก็มี ตรัสสมาธิที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของ
พระเสขะไว้ก็มี ตรัสปัญญาที่เป็นของพระอเสขะไว้ก็มีด้วยประการฉะนี้แล
มหานามสักกสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๔. นิคัณฐสูตร

๔. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยนิครนถนาฏบุตร
[๗๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุง
เวสาลี สมัยนั้น เจ้าอภัยลิจฉวีและเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีพากันเข้าไปหาท่านพระ
อานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร เจ้าอภัยลิจฉวีผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียน
ถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถนาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกสิ่ง) มองเห็นทุกอย่าง
ปฏิญญาญาณทัสสนะโดยไม่เหลือว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่น ญาณทัสสนะ๑
ก็ปรากฏเป็นนิตย์’ เขาบัญญัติว่ากรรมเก่าสิ้นสุดเพราะตบะ(การบำเพ็ญเพียรอย่าง
หนัก) บัญญัติการกำจัดเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยเหตุนี้ เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจัก
เป็นอันสลายไป การล่วงพ้นทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป
ซึ่งประจักษ์ชัดด้วยตนเองนี้ ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเรื่องนี้พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างไร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านอภัย ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ๓ ประการนี้
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้น
ความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้นทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำ
พระนิพพานให้แจ้ง
ความบริสุทธิ์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ และรับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า
“ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้น
ไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๕. นิเวสกสูตร
๒. ภิกษุนั้นเพียบพร้อมด้วยศีล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่
มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอไม่ทำกรรมใหม่ และ
รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้
ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้นไป ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. ภิกษุนั้นเพียบพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ เพียบพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เธอไม่ทำกรรมใหม่และรับผล
กรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดว่า “ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะ
พึงเห็นชัดด้วยตนเอง ทำให้กิเลสสิ้นไป ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
ความบริสุทธิ์ที่ทำให้กิเลสสิ้นไป ๓ ประการนี้แลอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงพ้นความโศก ความร่ำไร เพื่อความสิ้น
ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้กล่าวกับเจ้า
อภัยดังนี้ว่า “อภัยเพื่อนรัก ทำไมท่านจึงไม่ชื่นชมคำที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ดีโดย
ความเป็นคำสุภาษิตเล่า”
เจ้าอภัยตอบว่า “บัณฑิตกุมารเพื่อนรัก ไฉนเราจักไม่ชื่นชมคำที่ท่านพระ
อานนท์กล่าวไว้ดีโดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า ความคิดของผู้ที่ไม่ชื่นชมคำที่ท่าน
พระอานนท์กล่าวไว้ดีโดยความเป็นคำสุภาษิต พึงเสื่อมแน่นอน”
นิคัณฐสูตรที่ ๔ จบ

๕. นิเวสกสูตร
ว่าด้วยการชักชวนให้ตั้งมั่นในฐานะ
[๗๖] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๕. นิเวสกสูตร
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร
อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต๑ก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึง
ชักชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการ
ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค”
๒. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ว่า “พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด
ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”
๓. พึงชักชวนให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
“พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก”
มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน) อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) เตโชธาตุ(ธาตุไฟ) และ
วาโยธาตุ(ธาตุลม) อาจกลายเป็นอย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้น เป็น
ไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือพระอริยสาวกนั้นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าจักถือกำเนิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๖. ปฐมภวสูตร
มหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ อาจกลายเป็น
อย่างอื่นได้ แต่พระอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
ธรรม ฯลฯ แต่พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
ไม่พึงแปรเป็นอย่างอื่นได้เลย ในเรื่องนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแปรเป็นอย่างอื่น คือ
พระอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์จักถือกำเนิดในนรก
สัตว์เดรัจฉาน หรือแดนเปรต
อานนท์ เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์คนเหล่าใด และคนเหล่าใดจะเป็นมิตร
อำมาตย์ ญาติ สาโลหิตก็ตาม ให้ความสำคัญคำที่ควรรับฟัง เธอทั้งหลายพึงชัก
ชวนคนเหล่านั้นให้ตั้งมั่นให้ดำรงอยู่ในฐานะ ๓ ประการนี้แล
นิเวสกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๑
[๗๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ
จักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏได้บ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรม๑จึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณ๒จึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้
เพราะธาตุอย่างหยาบ๓ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
ใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๗.ทุติยภวสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
รูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหา จึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้
เพราะธาตุอย่างกลาง๑ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะ
ธาตุอย่างประณีต๒ของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์ ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าว
มานี้แล”
ปฐมภวสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพ สูตรที่ ๒
[๗๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ภพ ภพ’ ด้วยเหตุเพียงไร ภพจึงมีได้ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๗.ทุติยภวสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจัก
ไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้นมี
ตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ในรูป
ธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามต่อไปอีกว่า “อานนท์ ถ้ากรรมที่อำนวยผลให้ใน
อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างไหม”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่พึงปรากฏเลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา
วิญญาณจึงชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาจึงชื่อว่าเป็นยางเหนียว เจตนาแน่วแน่ ความ
ปรารถนาดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องปิดกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไปอีกด้วยประการฉะนี้ อานนท์
ภพมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล”
ทุติยภวสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๙. คันธชาตสูตร

๘. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลและวัตร
[๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ศีลวัตร ชีวิต๑ พรหมจรรย์ และการบำบวง๒ มีผลทุกอย่างหรือ”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัญหาเรื่องนี้ไม่พึงตอบ
โดยแง่เดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำแนก”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพ(รักษา)
ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด อกุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรม
กลับเสื่อมไป ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงนั้นชื่อว่าไม่มีผล ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลนั้นเสพศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการบำบวงใด
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมกลับเจริญยิ่งขึ้น ศีลวัตร ชีวิต พรหมจรรย์ และการ
บำบวงนั้นชื่อว่ามีผล”
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา” จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาท
ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้นพอท่านพระอานนท์หลีกไปได้ไม่นาน พระผู้มีพระ
ภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็นพระเสขะ
แต่ผู้ที่เสมอกับอานนท์ทางปัญญามิใช่หาได้ง่าย”
สีลัพพตสูตรที่ ๘ จบ

๙. คันธชาตสูตร
ว่าด้วยกลิ่นหอม
[๘๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๙. คันธชาตสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอม ๓ อย่าง ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไป
ทวนลมไม่ได้
กลิ่นหอม ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กลิ่นที่เกิดจากราก ๒. กลิ่นที่เกิดจากแก่น
๓. กลิ่นที่เกิดจากดอก
กลิ่นหอม ๓ อย่างนี้แล ลอยไปตามลมเท่านั้น ลอยไปทวนลมไม่ได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปตามลม
และทวนลมก็ได้ มีอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป
ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ มีอยู่
ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กลิ่นหอมที่ลอยไปตามลม
ก็ได้ ลอยไปทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้ เป็นอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อานนท์ ในโลกนี้สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน
ตำบลใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศจากความตระหนี่
อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี
ในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน
สมณพราหมณ์ในทิศทั้งหลายต่างกล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือ
บุรุษในบ้านหรือในตำบลโน้นถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึง
พระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก
การประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม มีใจปราศ
จากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร
แม้พวกเทวดาก็กล่าวสรรเสริญคุณของเขาว่า “สตรีหรือบุรุษในบ้านหรือใน
ตำบลโน้น ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและ
การจำแนกทาน อยู่ครองเรือน” อานนท์ กลิ่นหอมนี้แล ลอยไปตามลมก็ได้ ลอยไป
ทวนลมก็ได้ ลอยไปทั้งตามลมและทวนลมก็ได้
กลิ่นดอกไม้ลอยไปทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา
หรือกลิ่นกะลำพัก ลอยไปทวนลมไม่ได้
ส่วนกลิ่นของสัตบุรุษลอยไปทวนลมได้
เพราะสัตบุรุษขจรไปทั่วทุกทิศ(ด้วยกลิ่นแห่งคุณมีศีลเป็นต้น)
คันธชาตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬนิกาสูตร
ว่าด้วยโลกธาตุขนาดเล็ก
[๘๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขีสถิตอยู่ใน
พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้๑’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย
ประมาณไม่ได้”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขีสถิตอยู่ใน
พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นั้นเป็นเพียงสาวก ส่วนตถาคตทั้งหลาย
ประมาณไม่ได้”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาคว่า ‘อานนท์ สาวกชื่อว่าอภิภูของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสิขีสถิตอยู่ใน
พรหมโลก ใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุรู้เรื่องได้’ ส่วนพระผู้มีพระภาคอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้เรื่องได้ไกลเท่าไร พระพุทธ
เจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เธอได้ฟังเพียงเรื่องสหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก๑เท่านั้น”
พระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นเวลา ข้าแต่พระสุคต
บัดนี้เป็นเวลาแห่งเทศนาที่พระองค์จะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระธรรมเทศนาของ
พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์ สหัสสีโลกธาตุเท่าโอกาสที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรส่องทิศทั้ง
หลายให้สว่างรุ่งโรจน์ ในสหัสสีโลกธาตุนั้น มีดวงจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง มีดวงอาทิตย์
๑,๐๐๐ ดวง มีขุนเขาสิเนรุ ๑,๐๐๐ ลูก มีชมพูทวีป ๑,๐๐๐ มีอปรโคยานทวีป

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๓. อานันทวรรค ๑๐. จูฬนิกาสูตร
๑,๐๐๐ มีอุตตรกุรุทวีป ๑,๐๐๐ มีปุพพวิเทหทวีป ๑,๐๐๐ มีมหาสมุทร ๔,๐๐๐
มีท้าวมหาราช ๔,๐๐๐๑มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราช ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์
๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นยามา ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นดุสิต ๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นนิมมานรดี
๑,๐๐๐ มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ๑,๐๐๐ มีพรหมโลก ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า
สหัสสีโลกธาตุขนาดเล็ก
โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยโลกธาตุขนาดเล็กนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุขนาด
กลาง๒ โลก ๑,๐๐๐ คูณด้วยสหัสสีโลกธาตุขนาดกลางนั้น นี้เรียกว่า สหัสสีโลกธาตุ
ขนาดใหญ่๓
อานนท์ ตถาคตเมื่อมุ่งหมายพึงใช้เสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่
รู้เรื่องได้ หรือใช้เสียงประกาศให้รู้เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย
พระอานนท์ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคพึงใช้พระ
สุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้
เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมาย อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ พระตถาคตในโลกนี้พึงแผ่รัศมีไปทั่ว
สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่ได้ เมื่อใด หมู่สัตว์พึงจำแสงสว่างนั้นได้ เมื่อนั้น พระ
ตถาคตพึงเปล่งพระสุรเสียงให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน อานนท์ พระตถาคตพึงใช้
พระสุรเสียงประกาศให้สหัสสีโลกธาตุขนาดใหญ่รู้เรื่องได้หรือใช้พระสุรเสียงประกาศให้รู้
เรื่องได้เท่าที่มุ่งหมายอย่างนี้แล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลคำนี้ว่า
“เป็นลาภของข้าพระองค์หนอ เป็นโชคของข้าพระองค์หนอที่ข้าพระองค์มีพระศาสดา
ผู้ทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มีอานุภาพอย่างนี้”

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑. สมณสูตร
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีจึงได้กล่าวกับท่าน
พระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ถ้าพระศาสดาของท่านทรงมีฤทธิ์อย่างนี้ มี
อานุภาพอย่างนี้ ในข้อนี้ท่านได้ประโยชน์อะไร”
เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอุทายี
ดังนี้ว่า “อุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ๆ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะมรณภาพไป
อย่างนี้ไซร้ เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น เธอจะครอบครองความเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่
เทวดา ๗ ครั้ง จะครอบครองความเป็นมหาราชในชมพูทวีปนี้แล ๗ ครั้ง อุทายี
แต่อานนท์จักปรินิพพานในปัจจุบันชาตินี้แล”
จูฬนิกาสูตรที่ ๑๐ จบ
อานันทวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฉันนสูตร ๒. อาชีวกสูตร
๓. มหานามสักกสูตร ๔. นิคัณฐสูตร
๕. นิเวสกสูตร ๖. ปฐมภวสูตร
๗. ทุติยภวสูตร ๘ สีลัพพตสูตร
๙. คันธชาตสูตร ๑๐. จูฬนิกาสูต

๔. สมณวรรค
หมวดว่าด้วยสมณะ
๑. สมณสูตร
ว่าด้วยกิจของสมณะ
[๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กิจที่สมณะควรทำ เป็นของ
สมณะ ๓ ประการนี้
กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๐๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๒. คัทรภสูตร
๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)

กิจที่สมณะควรทำ เป็นของสมณะ ๓ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิจิตต-
สิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สมณสูตรที่ ๑ จบ

๒. คัทรภสูตร
ว่าด้วยภิกษุที่ไม่มีไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค
[๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ลาติดตามฝูงโคไปข้างหลังร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้
ตัวเราก็เป็นโค” แต่มันไม่มีสีเหมือนโค ไม่มีเสียงเหมือนโค ไม่มีรอยเท้าเหมือนโค
มันเพียงแต่ติดตามไปข้างหลังเท่านั้น ร้องว่า “แม้ตัวเราก็เป็นโค แม้ตัวเราก็เป็นโค”
แม้ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ติดตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศ
ตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” แต่เธอไม่มีความพอใจในการสมาทาน
อธิสีลสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิจิตตสิกขาเหมือนภิกษุอื่น
ไม่มีความพอใจในการสมาทานอธิปัญญาสิกขาเหมือนภิกษุอื่น ภิกษุนั้นเพียงแต่ติด
ตามไปข้างหลังหมู่ภิกษุ ประกาศตนว่า “แม้เราก็เป็นภิกษุ แม้เราก็เป็นภิกษุ” เท่านั้น
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน
อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
คัทรภสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๔. วัชชีปุตตสูตร

๓. เขตตสูตร
ว่าด้วยกิจเบื้องต้นที่ควรทำในนา
[๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้
กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
คหบดีชาวนาในโลกนี้ ในเบื้องต้น
๑. ต้องไถคราดนาให้เรียบร้อย ๒. ต้องเพาะพืชลงไปตามกาลที่ควร
๓. ต้องไขน้ำเข้าบ้าง ระบายน้ำออกบ้างตามกาลที่ควร
คหบดีชาวนามีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้แล ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้
กิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การสมาทานอธิสีลสิกขา ๒. การสมาทานอธิจิตตสิกขา
๓. การสมาทานอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุมีกิจที่ต้องทำในเบื้องต้น ๓ ประการนี้แล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักมีความพอใจ
อย่างยิ่งในการสมาทานอธิสีลสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทาน
อธิจิตตสิกขา เราจักมีความพอใจอย่างยิ่งในการสมาทานอธิปัญญาสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
เขตตสูตรที่ ๓ จบ

๔. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยภิกษุวัชชีบุตร
[๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตร๑รูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๕. เสกขสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน๑นี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดง
เป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถศึกษาในสิกขาบทนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ ก็เธอจักสามารถศึกษาในสิกขา ๓ คือ
อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาหรือ”
ภิกษุวัชชีบุตรนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถ
ศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาได้”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อใด เธอศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เมื่อนั้น
เธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็จักละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้ เธอจักไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
จักไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก
ครั้นต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อเธอผู้ศึกษาอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาอยู่ ก็ละราคะ โทสะ
และโมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เธอจึงไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล
ไม่ประพฤติสิ่งที่เลวทรามอีก
วัชชีปุตตสูตรที่ ๔ จบ

๕. เสกขสูตร
ว่าด้วยเสกขบุคคล
[๘๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๖.ปฐมสิกขาสูตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า “เสขะ เสขะ” บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ที่เรียกว่า “เสขะ” เพราะยังต้องศึกษา
ศึกษาอะไร คือ ศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขาบ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง
ภิกษุ ที่เรียกว่า เสขะ เพราะยังต้องศึกษาแล
ญาณ๑ในความสิ้นกิเลสย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสขะ
ผู้กำลังศึกษาและปฏิบัติตามทางสายตรง๒ก่อน
ลำดับต่อจากนั้นอรหัตตผลจึงเกิด
ต่อจากนั้น ญาณ๓ในความสิ้นไปแห่งภวสังโยชน์
ว่า “วิมุตติของเราไม่กำเริบ”
ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้หลุดพ้นด้วยอรหัตตผล
เสกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฐมสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนที่กุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์
ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน สิกขา ๓
ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๖.ปฐมสิกขาสูตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มี
ปกติทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อย๑บ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติ
เล็กน้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสม(แก่มรรคผล)ไว้ แต่สิกขาบท๒
เหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัว
และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์๓
๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นโสดาบัน๔ ไม่มีทางตกต่ำ๕ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิ๖ ในวันข้างหน้า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มี
ปกติทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก
น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงใน
สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ
สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีก
เพียงครั้งเดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ
จึงเป็นโอปปาติกะ๑ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้
บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย
ปฐมสิกขาสูตรที่ ๖ จบ

๗. ทุติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒
[๘๘] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนา
ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
สิกขา ๓ ประการนี้เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิพอประมาณ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน๑ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อย่างมาก ๗ ครั้งแล้วทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน๒
ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล๓๒ หรือ ๓ ตระกูล แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน๔ เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่
สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง
เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาพอประมาณ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๗. ทุติยสิกขาสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
ถือปฏิบัติศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอ
จึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี๑ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
สสังขารปรินิพพายี๒ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขาร-
ปรินิพพายี๓ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี๔
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี๕
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์
มีปกติทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจาก
อาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็ก
น้อยนี้ เราไม่กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่ง
พรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบท
เหล่านั้น สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๘.ตติยสิกขาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงบางส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้ทำได้
บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย
ทุติยสิกขาสูตรที่ ๗ จบ

๘. ตติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยการบำเพ็ญไตรสิกขา สูตรที่ ๓
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนา
ประโยชน์ศึกษาอยู่ มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
สิกขา ๓ ประการนี้ เป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
สิกขา ๓ ประการนี้แลเป็นที่รวมของสิกขาบท ๑๕๐ นั้นทั้งหมด
ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์ มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์ มีปกติ
ทำปัญญาให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้นล่วงละเมิดสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ออกจากอาบัติบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในการต้องอาบัติและการออกจากอาบัติเล็กน้อยนี้ เราไม่
ได้กล่าวความเป็นคนไม่เหมาะสมไว้ แต่สิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
สมควรแก่พรหมจรรย์ ภิกษุนั้นมีศีลประจำตัวและมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังไม่
บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็น
อันตราปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้ง
อรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร
หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือเมื่อยัง
ไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ
โทสะ โมหะเบาบาง เธอจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นเอกพีชีโสดาบัน เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงภพเดียว ก็จะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓ ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นโกลังโกลโสดาบัน ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล ๒ หรือ ๓ ตระกูล ก็จะ
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ หรือเมื่อยังไม่บรรลุ ยังไม่รู้แจ้งอรหัตนั้น เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
อย่างมาก ๗ ครั้ง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้ทำได้เพียงบาง
ส่วนย่อมให้สำเร็จได้บางส่วน ด้วยประการฉะนี้แล เรากล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
ไม่เป็นหมันเลย
ตติยสิกขาสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปฐมสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๑
[๙๐] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๐. ทุติยสิกขัตยสูตร
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา” นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล
ปฐมสิกขัตตยสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยสิกขัตตยสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา สูตรที่ ๒
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้
สิกขา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา
๓. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
นี้เรียกว่า อธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า อธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ ประการนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตัตนตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๔. สมณวรรค ๑๑. ปังกธาสูตร
ภิกษุผู้มีความเพียร มีความเข้มแข็ง
มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ
คุ้มครองอินทรีย์ ครอบงำทุกทิศด้วยอัปปมาณสมาธิ๑
ประพฤติอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น
ภายหลังฉันใด เมื่อก่อนก็ฉันนั้น
เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น
เบื้องบนฉันใด เบื้องต่ำก็ฉันนั้น
กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และมีความประพฤติบริสุทธิ์
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบ๒
เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติในโลก
ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้นตัณหา
ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรมเพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับแห่งประทีปฉะนั้น
ทุติยสิกขัตตยสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. ปังกธาสูตร
ว่าด้วยตำบลปังกธา
[๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงตำบลของแคว้นโกศลชื่อปังกธา ทราบว่า พระผู้มีพระ
ภาคประทับอยู่ ณ ตำบลปังกธาของชาวโกศลนั้น

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น