Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๒๑-๘ หน้า ๓๐๖ - ๓๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต



พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๕.มหาวรรค ๘.อัตตันตปสูตร
หญ้าคาเท่านี้เพื่อบังและลาด’ แม้เหล่าชนทั้งที่เป็นทาส เป็นคนรับใช้ เป็นคนงาน
ของพระราชานั้นก็ย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้
ทำการงานอยู่ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบใน
การทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น
ให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลนั้นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว
ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก
ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ด้วยตนเองแล้ว
ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๑ มีความงามในท่ามกลาง๒
และมีความงามในที่สุด๓ ประกาศพรหมจรรย์๔ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๕.มหาวรรค ๘.อัตตันตปสูตร
คหบดีหรือบุตรคหบดีผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่งฟังธรรมนั้นแล้ว
ได้ศรัทธาในตถาคต ได้ศรัทธาแล้วพิจารณาเห็นว่า ‘ฆราวาส(การอยู่ครองเรือน)
คับแคบ๑ เป็นทางมาแห่งธุลี๒ บรรพชาปลอดโปร่ง๓ การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะ
ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี
เราควรจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’
สมัยต่อมา เขาได้ละกองโภคทรัพย์น้อยใหญ่และเครือญาติน้อยใหญ่แล้ว
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ๔เสมอกับภิกษุทั้งหลาย
ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มีความละอาย มีความ
เอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ คือ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของ
ที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
เป็นผู้ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือ ประพฤติพรหมจรรย์๕
เว้นห่างไกลอสัทธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๕.มหาวรรค ๘.อัตตันตปสูตร
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำ
เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ไปบอก
ฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลาย
ฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลิน
ต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี
เป็นผู้ละเว้นขาดจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ
เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ
เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิง
ประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด
ประกอบด้วยประโยชน์เหมาะแก่เวลา
ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันมื้อเดียว ไม่ฉัน
ตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๑ เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง
ประโคมดนดรี และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ
ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่ง
การแต่งตัว เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจาก
การรับธัญญาหารดิบ๒ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาด
จากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เว้นขาดจากการ
รับเรือกสวนไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
เว้นขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วย
เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้น
ขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่
กรรโชก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๕.มหาวรรค ๘.อัตตันตปสูตร
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ เธอ
ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์อย่างนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน
ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมใน
จักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู
... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมในมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอผู้ประกอบด้วยอริยอินทรีย-
สังวรอย่างนี้ จึงชื่อว่าเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การ
เหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะ
พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ที่แจ้ง
ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้วก็นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ในโลก
แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือ
พยาบาท (ความคิดร้าย) มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ
อยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉา เธอครั้นละนิวรณ์เหล่านี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทอนกำลัง
ปัญญาแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๕.มหาวรรค ๘.อัตตันตปสูตร
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒
ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐
ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐
ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล
มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพ
โน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์
และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลาย
ชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ และชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่
สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต
กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด
พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่
ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็น
ชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะ
ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง
งามและไม่งาม เกิดดีและ เกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้
ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้
อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๙.ตัณหาสูตร
เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์๑
แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็น
ผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้แล
และบุคคลนั้นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน
เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก”
อัตตันตปสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหา
[๑๙๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ไป
ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อโลกนี้ ซึ่งยุ่ง
เหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่
ให้ล่วงพ้นอบาย๒ ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ไป ซ่านไป เกาะเกี่ยว
อยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อโลกนี้ ซึ่งยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย
อันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้น
อบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ นั้นเป็นอย่างไร
คือ ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธปัญจก๓ภายใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๙.ตัณหาสูตร
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้อาศัยขันธปัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธปัญจกภายใน อะไรบ้าง คือ

๑. เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็น’
๒. ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงมี
๓. ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงมี
๔. ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี
๕. ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้เที่ยง’ จึงมี
๖. ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงมี
๗. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็น’ จึงมี
๘. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงมี
๙. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’ จึงมี
๑๐. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี
๑๑. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’ จึงมี
๑๒. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง’ จึงมี
๑๓. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง’ จึงมี
๑๔. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงมี
๑๕. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’ จึงมี
๑๖. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนี้’ จึงมี
๑๗. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงมี
๑๘. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี

นี้คือตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธปัญจกภายใน
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธปัญจกภายนอก อะไรบ้าง คือ

๑. เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’
๒. ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๓. ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๔. ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๕. ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๖. ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๙.ตัณหาสูตร
๗. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๘. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๙. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๑๐. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๑๑. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
๑๒. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
๑๓. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
๑๔. ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี
๑๕. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๑๖. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๑๗. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
๑๘. ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี

นี้คือตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธปัญจกภายนอก
ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธปัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการ
อาศัยขันธปัญจกภายนอก ด้วยประการฉะนี้ รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริต ๓๖ ประการ
ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้ ที่เป็นอดีต ๓๖ ประการ อนาคต ๓๖ ประการ ปัจจุบัน
๓๖ ประการ รวมเป็นตัณหาวิจริต๑ ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้นั้นแล เช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป แผ่ไป ซ่านไป
เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อโลกนี้ ซึ่งยุ่งเหมือนกลุ่มด้าย
อันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย
ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้”
ตัณหาสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๑๐.เปมสูตร

๑๐. เปมสูตร
ว่าด้วยความรักและความชัง
[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเกิด
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. ความรักเกิดเพราะความรัก ๒. ความชังเกิดเพราะความรัก
๓. ความรักเกิดเพราะความชัง ๔. ความชังเกิดเพราะความชัง

ความรักเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ
ประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ของเราด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ เขาจึงเกิดความรักในคนเหล่านั้น
ความรักเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างนี้แล
ความชังเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ
ประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจของเราด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’ เขาจึงเกิด
ความชังในคนเหล่านั้น ความชังเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างนี้แล
ความรักเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นๆ ก็ประพฤติต่อบุคคลที่ชังนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’
เขาจึงเกิดความรักในคนเหล่านั้น ความรักเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างนี้แล
ความชังเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๑๐.เปมสูตร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่น ๆ ก็ประพฤติต่อคนที่ชังนั้นด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่นๆ ประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ เขาจึงเกิดความชัง
ในบุคคลเหล่านั้น ความชังเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิด
สมัยใด ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
อยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความชังที่
เกิดเพราะความรักย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความชังย่อมไม่มีแก่
ภิกษุนั้น แม้ความชังที่เกิดเพราะความชังย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
สมัยใด เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะ
ปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความชังที่เกิดเพราะความรักย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้
ความรักที่เกิดเพราะความชังย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความชังที่เกิดเพราะความชัง
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
สมัยใด ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรักเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด ตัด
รากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ความชังที่เกิดเพราะความรักเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด ตัด
รากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ความรักที่เกิดเพราะความชังเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด ตัด
รากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ แม้ความชังที่เกิดเพราะความชังเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๑๐.เปมสูตร
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ๑ ไม่โต้ตอบ๒ ไม่บังหวนควัน๓ ไม่
ลุกโพลง๔ ไม่ถูกไฟไหม้๕
ภิกษุชื่อว่ายึดถือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็น
อัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณา
เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนา
ในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็น
อัตตาในสัญญา พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็น
อัตตาว่ามีสังขาร พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ภิกษุชื่อว่ายึดถือ
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่เห็นรูปในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในรูป ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่
เห็นอัตตาว่ามีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในเวทนา ไม่เห็น
สัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในอัตตา หรือ
ไม่เห็นอัตตาในสัญญา ไม่เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีสังขาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๑๐.เปมสูตร
ไม่เห็นสังขารในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในสังขาร ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาใน
วิญญาณ ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าโต้ตอบ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้ตอบ
คนที่ถียง ภิกษุชื่อว่าโต้ตอบ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่
เถียงโต้ตอบคนที่ถียง ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าบังหวนควัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็น’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็น
ผู้เที่ยง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็น’ จึงมี
ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง” จึงมี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง” จึงมี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราจักเป็นอย่างน’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจัก
เป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ภิกษุชื่อว่าบังหวนควัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่บังหวนควัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อไม่มีตัณหาว่า ‘เราเป็น’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า
‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประกอบอื่น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง” จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึง
เป็น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์] ๕.มหาวรรค ๑๐.เปมสูตร
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงไม่มี
ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่น’ จึงไม่มี ภิกษุชื่อว่าไม่บังหวนควัน เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าลุกโพลง เป็นอย่างไร
คือ เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้ด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้เที่ยงด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’
จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เรา
พึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจก
นี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างอื่น
ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้นด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
ภิกษุชื่อว่าลุกโพลง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ลุกโพลง เป็นอย่างไร
คือ เมื่อไม่มีตัณหาว่า “เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” ตัณหาว่า “เราเป็น
อย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้”
จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า
“เราเป็นผู้เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วย
ขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วย
ขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]
๕.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็น
อย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจก
นี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี
ตัณหาว่า “เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราจักเป็นอย่างนี้
ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มีตัณหาว่า “เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี
ตัณหาว่า “เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ภิกษุชื่อว่าไม่
ลุกโพลง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าถูกไฟไหม้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังละอัสมิมานะไม่ได้เด็ดขาด ยังไม่ได้ตัดรากถอนโคน
ให้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าถูกไฟไหม้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ถูกไฟไหม้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุชื่อว่าไม่ถูกไฟไหม้ เป็นอย่างนี้แล

เปมสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสตานุคตสูตร ๒. ฐานสูตร
๓. ภัททิยสูตร ๔. สาปุคิยาสูตร
๕. วัปปสูตร ๖. สาฬหสูตร
๗. มัลลิกาเทวีสูตร ๘. อัตตันตปสูตร
๙. ตัณหาสูตร ๑๐. เปมสูตร

จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๑๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๑. สิกขาปทสูตร

๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. สัปปุริสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตบุรุษ
๑. สิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบท
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ๑และ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษ๒และสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอ
ทั้งหลาย๓ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูด
เท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า
อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง
เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและ
ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ
ตนเองเป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวน
ผู้อื่นให้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียก
ว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๒.อัสสัทธสูตร
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน
ผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการเสพ
ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
ที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
สิกขาปทสูตรที่ ๑ จบ

๒. อัสสัทธสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีศรัทธาและผู้มีศรัทธา
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะ
น้อย๑ เป็นผู้เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๓.สัตตกัมมสูตร
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีศรัทธา
ตนเองเป็นผู้ไม่มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีหิริ ตนเองเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะและชักชวน
ผู้อื่นให้ไม่มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นผู้มีสุตะน้อยและชักชวนผู้อื่นให้มีสุตะน้อย ตนเอง
เป็นผู้เกียจคร้านและชักชวนผู้อื่นให้เกียจคร้าน ตนเองหลงลืมสติและชักชวนผู้อื่นให้
หลงลืมสติ ตนเองมีปัญญาทรามและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่า
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต
ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้มีศรัทธา
ตนเองเป็นผู้มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้มีหิริ ตนเองเป็นผู้มีโอตตัปปะและชักชวนผู้อื่น
ให้มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นพหูสูตและชักชวนผู้อื่นให้เป็นพหูสูต ตนเองมีสติตั้งมั่น
และชักชวนผู้อื่นให้มีสติตั้งมั่น ตนเองเป็นผู้มีปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญา
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
อัสสัทธสูตรที่ ๒ จบ

๓. สัตตกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรม ๗ ประการ
[๒๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๓.สัตตกัมมสูตร
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง
เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและชัก
ชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตน
เองเป็นผู้พูดส่อเสียดและชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบและ
ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
เท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้
เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้
งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน
ผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดและ
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูด
เพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่
ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
สัตตกัมมสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๔. ทสกัมมสูตร

๔. ทสกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรม ๑๐ ประการ
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒
ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ตนเอง
เป็นผู้มีจิตพยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและ
ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้ของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและชักชวน
ผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มี
จิตไม่พยาบาท ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้
เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
ทสกัมมสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๕.อัฏฐังคิกสูตร

๕. อัฏฐังคิกสูตร
ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘
[๒๐๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ฯลฯ๑
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
มีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด) มีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) มีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด)
มีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด) มีมิจฉาสติ (ระลึกผิด) มีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา-
ทิฏฐิ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสังกัปปะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสังกัปปะ ตนเองเป็น
ผู้มีมิจฉาวาจาและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวาจา ตนเองเป็นผู้มีมิจฉากัมมันตะและ
ชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉากัมมันตะ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะและชักชวนผู้อื่นให้มี
มิจฉาอาชีวะ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาวายามะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวายามะ ตนเอง
เป็นผู้มีมิจฉาสติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสติ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสมาธิและชัก
ชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสมาธิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ
ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยง
ชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มีสัมมาสมาธิ
(ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๖. ทสมัคคสูตร
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา-
ทิฏฐิ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสังกัปปะ ตนเองเป็น
ผู้มีสัมมาวาจาและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวาจา ตนเองเป็นผู้มีสัมมากัมมันตะและ
ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมากัมมันตะ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาอาชีวะและชักชวนผู้อื่นให้มี
สัมมาอาชีวะ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาวายามะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวายามะ ตนเอง
เป็นผู้มีสัมมาสติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสติ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสมาธิและชักชวน
ผู้อื่นให้มีสัมมาสมาธิ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
อัฏฐังคิกสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทสมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค ๑๐ ประการ
[๒๐๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ฯลฯ๑
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๒ มีมิจฉาญาณะ มีมิจฉา-
วิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ๒ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเอง
เป็นผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่
ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๑. สัปปุริสวรรค ๗. ปฐมปาปธัมมสูตร
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๑ มีสัมมาญาณะ มี
สัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา-
ทิฏฐิ ฯลฯ๑ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเอง
เป็นผู้มีสัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่ง
กว่าสัตบุรุษ
ทสมัคคสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๑
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่วและคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว จักแสดง
คนดีและคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี๒ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๓
คนชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๔ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า
คนชั่ว
คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๔
ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่วที่ยิ่ง
กว่าคนชั่ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๑.สัปปุริสวรรค ๘. ทุติยปาปธัมมสูตร
คนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า คนดี
คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็น
สัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
ปฐมปาปธัมมสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๒
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่วและคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว จักแสดง
คนดีและคนดีที่ยิ่งกว่าคนดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๒
คนชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๓ มีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด) มี
มิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด) บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่ว
คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ๓ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเองเป็น
ผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว
คนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๓ มีสัมมาญาณะ มี
สัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๑. สัปปุริสวรรค ๙. ตติยปาปธัมมสูตร
คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา-
ทิฏฐิ ฯลฯ๑ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเอง
เป็นผู้มีสัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนดีที่ยิ่งกว่า
คนดี
ทุติยปาปธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๓
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมชั่วและบุคคลผู้มีธรรมชั่วที่
ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว จักแสดงบุคคลผู้มีธรรมดีและบุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่า
บุคคลผู้มีธรรมดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๒
บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓ เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า
บุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓
ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มี
ธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓ เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัฐจมปัณณาสก์]
๑. สัปปุริสวรรค ๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร
บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น
ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑ ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี
ตติยปาปธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๔
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมชั่วและบุคคลผู้มีธรรมชั่วที่
ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว จักแสดงบุคคลผู้มีธรรมดีและบุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่า
บุคคลผู้มีธรรมดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๒
บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๓ มีมิจฉาญาณะ มีมิจฉา-
วิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ๓ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเอง
เป็นผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มี
ธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๓ มีสัมมาญาณะ
มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์] ๒.โสภณวรรค ๑.ปริสาสูตร
บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ๑ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเองเป็นผู้มี
สัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่ง
กว่าบุคคลผู้มีธรรมดี
จตุตถปาปธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
สัปปุริสวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาปทสูตร ๒. อัสสัทธสูตร
๓. สัตตกัมมสูตร ๔. ทสกัมมสูตร
๕. อัฏฐังคิกสูตร ๖. ทสมัคคสูตร
๗. ปฐมปาปธัมมสูตร ๘. ทุติยปาปธัมมสูตร
๙. ตติยปาปธัมมสูตร ๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร

๒. โสภณวรรค
หมวดว่าด้วยผู้ทำบริษัทให้งาม
๑. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท
[๒๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้เป็นผู้
ประทุษร้ายบริษัท
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
๒. ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์] ๒.โสภณวรรค ๒. ทิฏฐิสูตร
๓. อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
๔. อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้เป็นผู้ทำบริษัทให้งาม
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ

๑. ภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
๒. ภิกษุณีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
๓. อุบาสกผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
๔. อุบาสิกาผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลเป็นผู้ทำบริษัทให้งาม
ปริสาสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๒๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
๔. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๒.โสภณวรรค ๓.อกตัญญุตาสูตร
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
๔. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทิฏฐิสูตรที่ ๒ จบ

๓. อกตัญญุตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่รู้คุณและความเป็นผู้รู้คุณ
[๒๑๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต ๔. อกตัญญุตา อกตเวทิตา๑

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต ๔. กตัญญุตา กตเวทิตา

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่
ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
อกตัญญุตาสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๒.โสภณวรรค ๕. ปฐมมัคคสูตร

๔. ปาณาติปาตีสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๒๑๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ฯลฯ๑
ปาณาติปาตีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๑
[๒๑๕] ฯลฯ๑
๑. มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด)
๓. มีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด)
ฯลฯ๑
๑. มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
ฯลฯ๑
ปฐมมัคคสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๒.โสภณวรรค ๗.ปฐมโวหารปถสูตร

๖. ทุติยมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๒
[๒๑๖] ฯลฯ๑
๑. มีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๒. มีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด)
๓. มีมิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๔. มีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
ฯลฯ๑

๑. มีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๒. มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๓. มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๔. มีสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
ฯลฯ๑
ทุติยมัคคสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมโวหารปถสูตร
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๑
[๒๑๗] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
ฯลฯ๑
ปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๒.โสภณวรรค ๙. อหิริกสูตร

๘. ทุติยโวหารปถสูตร
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๒
[๒๑๘] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ฯลฯ๑
ทุติยโวหารปถสูตรที่ ๘ จบ

๙. อหิริกสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีหิริและผู้มีหิริ
[๒๑๙] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๔. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
ฯลฯ๑
อหิริกสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๒.โสภณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๐. ทุสสีลสูตร
ว่าด้วยผู้ทุศีลและผู้มีศีล
[๒๒๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้เกียจคร้าน ๔. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๔. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ทุสสีลสูตรที่ ๑๐ จบ
โสภณวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปริสาสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร
๓. อกตัญญุตาสูตร ๔. ปาณาติปาตีสูตร
๕. ปฐมมัคคสูตร ๖. ทุติยมัคคสูตร
๗. ปฐมโวหารปถสูตร ๘. ทุติยโวหารปถสูตร
๙. อหิริกสูตร ๑๐. ทุสสีลสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค ๒. ทิฏฐิสูตร

๓. ทุจจริตวรรค
หมวดว่าด้วยทุจริตและสุจริต
๑. ทุจจริตสูตร
ว่าด้วยทุจริตและสุจริต
[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้
วจีทุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด)
๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ)

ภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้
วจีสุจริต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัจจวาจา (พูดจริง) ๒. อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด)
๓. สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) ๔. มันตภาสา๑ (พูดด้วยปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ ประการนี้แล
ทุจจริตสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิ
[๒๒๒] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียนและประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค ๓.อกตัญญุตาสูตร
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
๔. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แลย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน
และประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
๔. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แลย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่
ถูกผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก
ทิฏฐิสูตรที่ ๒ จบ

๓. อกตัญญุตาสูตร
ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่รู้คุณและความเป็นผู้รู้คุณ
[๒๒๓] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย
ธรรม ๔ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้
ติเตียนและประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค ๕. ปฐมมัคคสูตร
๑. กายทุจริต ๒. วจีทุจริต
๓. มโนทุจริต ๔. อกตัญญุตา อกตเวทิตา๑
ฯลฯ๒

๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต
๓. มโนสุจริต ๔. กตัญญุตา กตเวทิตา
ฯลฯ๒
อกตัญญุตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปาณาติปาตีสูตร
ว่าด้วยผู้ฆ่าสัตว์และผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
[๒๒๔] ฯลฯ๒
๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๒. เป็นผู้ลักทรัพย์
๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๔. เป็นผู้พูดเท็จ
ฯลฯ๒

๑. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
ฯลฯ๒
ปาณาติปาตีสูตรที่ ๔ จบ

๕. ปฐมมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๑
[๒๒๕] ฯลฯ๒
๑. มีมิจฉาทิฏฐิ ๒. มีมิจฉาสังกัปปะ
๓. มีมิจฉาวาจา ๔. มีมิจฉากัมมันตะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค ๗.ปฐมโวหารปถสูตร
ฯลฯ๑
๑. มีสัมมาทิฏฐิ ๒. มีสัมมาสังกัปปะ
๓. มีสัมมาวาจา ๔. มีสัมมากัมมันตะ
ฯลฯ๑
ปฐมมัคคสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค สูตรที่ ๒
[๒๒๖] ฯลฯ๑
๑. มีมิจฉาอาชีวะ ๒. มีมิจฉาวายามะ
๓. มีมิจฉาสติ ๔. มีมิจฉาสมาธิ
ฯลฯ๑

๑. มีสัมมาอาชีวะ ๒. มีสัมมาวายามะ
๓. มีสัมมาสติ ๔. มีสัมมาสมาธิ
ฯลฯ๑
ทุติยมัคคสูตรที่ ๖ จบ

๗. ปฐมโวหารปถสูตร๒
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๑
[๒๒๗] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้
ฯลฯ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค ๘. ทุติยโวหารปถสูตร
๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
ฯลฯ๑
ปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยโวหารปถสูตร๒
ว่าด้วยครรลองแห่งโวหาร สูตรที่ ๒
[๒๒๘] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔. เป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้
ฯลฯ๑
ทุติยโวหารปถสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค ๑๐.ทุปปัญญสูตร

๙. อหิริกสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีหิริและผู้มีหิริ
[๒๒๙] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๔. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
ฯลฯ๑
อหิริกสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุปปัญญสูตร
ว่าด้วยผู้มีปัญญาทรามและผู้มีปัญญา
[๒๓๐] ฯลฯ๑
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล
๓. เป็นผู้เกียจคร้าน ๔. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ฯลฯ๑

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล
๓. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๔. เป็นผู้มีปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๔
ประการนี้แลย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูก
ผู้รู้ติเตียนและประสพบุญเป็นอันมาก
ทุปปัญญสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๓.ทุจจริตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. กวิสูตร
ว่าด้วยกวี
[๒๓๑] ภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกนี้
กวี ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ

๑. จินตากวี๑ ๒. สุตกวี๒
๓. อัตถกวี๓ ๔. ปฏิภาณกวี๔

ภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกนี้แล
กวิสูตรที่ ๑๑ จบ
ทุจจริตวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุจจริตสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร
๓. อกตัญญุตาสูตร ๔. ปาณาติปาตีสูตร
๕. ปฐมมัคคสูตร ๖. ทุติยมัคคสูตร
๗. ปฐมโวหารปถสูตร ๘. ทุติยโวหารปถสูตร
๙. อหิริกสูตร ๑๐. ทุปปัญญสูตร
๑๑. กวิสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๑.สังขิตตสูตร

๔. กัมมวรรค
หมวดว่าด้วยกรรม
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยกรรมและวิบากแห่งกรรมโดยย่อ
[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ๑ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำ๒มีวิบากดำ๓
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว๔
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๕ เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์] ๔.กัมมวรรค ๒.วิตถารสูตร

๒. วิตถารสูตร
ว่าด้วยกรรมและวิบากแห่งกรรมโดยพิสดาร
[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่ง๑กายสังขาร๒ที่มีความเบียดเบียน๓ ปรุงแต่ง
วจีสังขาร๔ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร๕ที่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว
เหมือนพวกสัตว์นรก นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์] ๔.กัมมวรรค ๒.วิตถารสูตร
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียนและปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว
เหมือนพวกเทวดา๑ชั้นสุภกิณหะ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูก
ต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขา
ถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้าย่อมเสวย
เวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน
เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก๒ และวินิปาติกะ๓บางพวก นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำ
และขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๓.โสณกายนสูตร
คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๑เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อ
ละกรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาวที่มีวิบากทั้งดำ
และขาว นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
วิตถารสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสณกายนสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อโสณกายนะ
[๒๓๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อสิขาโมคคัลลานะ๒เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว โสณกายนมาณพ๓ไปหาข้าพเจ้า
ถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงบัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ๔ ก็เมื่อ
บัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญแห่งโลก ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ได้ด้วยการก่อกรรมมิใช่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นโสณกายนมาณพเลย
ที่ไหนจะได้กล่าวปราศรัยอย่างนี้เล่า กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕.ปัฐจมปัณณาสก์]
๔.กัมมวรรค ๓.โสณกายนสูตร
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม

กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียน เขาครั้น
ปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนย่อมถูก
ต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียน
กระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวก
สัตว์นรก นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน
เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว
เหมือนพวกเทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างย่อมถูกต้องบุคคลผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า :๓๔๙ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น