Google Analytics 4




พจนานุกรมพุทธศาสน์ ท-ธ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หรือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ออนไลน์

ทธิ นมส้ม, นมเปรี้ยว

ทนต์ ฟัน

ทมะ การฝึก, การฝึกฝนปรับปรุงตน, การรู้จักข่มจิตข่มใจ บังคับควบคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่ พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ดีงามสมควรเป็นประโยชน์ รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับ ปรุงตนด้วยปัญญาไตร่ตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ (ข้อ ๒ ในฆราวาสธรรม ๔)

ทมิฬ ชื่อชนเผ่าหนึ่งในเกาะลังกา เคยชิงราชสมบัติพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้

ทรกรรม การทำให้ลำบาก

ทรง ในประโยคว่า “ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง” ครอง, นุ่งห่ม, มีไว้เป็นสิทธิ์, เก็บไว้, ครอบครอง

ทรง ในประโยคว่า “พึงทรงอติเรกบาตรไว้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง” ใช้, มี, เก็บไว้, รักษาไว้, ครอบครอง

ทรมาน ข่ม, ปราบ, ฝึก, ทำให้เสื่อมพยศ, ทำให้เสื่อมการถือตัว, ทำให้กลับใจ บัดนี้มักหมายถึง ทำให้ลำบาก

ทรยศ คิดร้ายต่อมิตรหรือผู้มีบุญคุณ

ทวดึงสกรรมกรณ์ วิธีลงโทษ ๓๒ อย่าง ซึ่งใช้ในสมัยโบราณ เช่น โบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบองตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดศีรษะ เอาขวานผ่าอก เป็นต้น

ทวดึงสาการ ดู ทวัตติงสาการ

ทวัตติงสกรรมกรณ์ ดู ทวดึงสกรรมกรณ์

ทวัตติงสาการ อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน ๓๒ อย่างในร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดู เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ); ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย; ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน

ทวาร ประตู, ทาง, ช่องตามร่างกาย 1. ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ คือ ๑. จักขุทวาร ทางตา ๒. โสตทวาร ทางหู ๓. ฆาน ทวาร ทางจมูก ๔. ชิวหาทวาร ทางลิ้น ๕. กายทวาร ทางกาย ๖. มโนทวาร ทางใจ 2. ทางทำกรรม มี ๓ คือ ๑. กายทวาร ทางกาย ๒. วจีทวาร ทางวาจา ๓. มโนทวาร ทางใจ

ทวารบาล คนเฝ้าประตู

ทวารเบา ช่องปัสสวะ

ทวารหนัก ช่องอุจจาระ

ทวิช ชื่อหนึ่งสำหรับเรียกพราหมณ์ในภาษาไทยเป็นทิชาจารย์หรือทวิชาจารย์ก็มี แปลว่าเกิดสองหน หมายถึงเกิดโดย กำเนิดครั้งหนึ่ง เกิดโดยได้รับครอบเป็นพราหมณ์ครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนนกซึ่งเกิดสองหนเหมือนกัน คือเกิดจาก ท้องแม่ออกเป็นไข่หนหนึ่งเกิดจากไข่เป็นตัวอีกหนหนึ่ง นกจึงมีชื่อเรียกว่า ทวิช หรือทิช ซึ่งแปลว่าเกิดสองหนอีก ชื่อหนึ่งด้วย

ทวิบท สัตว์สองเท้า มี กา ไก่ นก เป็นต้น

ทศพลญาณ ดู ทสพลญาณ

ทศพิธราชธรรม ดู ราชธรรม

ทศมาส สิบเดือน

ทศวรรค สงฆ์มีพวกสิบ คือ สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อยจึงจะครบองค์ ทำสังฆกรรมประเภท นั้นๆ ได้ เช่น การอุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องใช้สงฆ์ทศวรรค

ทสกะ หมวด ๑๐

ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของ พระตถาคต) ๑๐ คือ ๑. ฐานาฐานญาณ ๒. กรรมวิปากญาณ ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ๔. นานาธาตุญาณ ๕. นา- นาธิมุตติกญาณ ๖.อินทริยปโรปริยัตตญาณ ๗ ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ๘. ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ๙. จุตูปปาตญาณ ๑๐. อาสวักขยญาณ; นิยมเขียน ทศพลญาณ; ดู ญาณ ชื่อนั้น ๆ

ทองอาบ ของอาบด้วยทอง, ของชุบทอง, ของแช่ทองคำให้จับผิว

ทอด ในประโยคว่า “ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย” ทิ้ง, ปล่อย, ละ

ทอดกฐิน ดู กฐิน, กฐินทาน

ทอดธุระ ไม่เอาใจใส่, ไม่สนใจ, ไม่เอาธุระ

ทอดผ้าป่า เอาผ้าถวายโดยทิ้งไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง ดู ผ้าป่า

ทักขิณ, ทักษิณ ขวา, ทิศใต้

ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา หมายถึงอาจารย์ (ตามความหมายในทิศ ๖) ดู ทิศหก

ทักขิณา, ทักษิณา ทานที่ถวายเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

ทักขิณานุปทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

ทักขิณาบถ เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้

ทักขิณาวัฏ เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เขียน ทักขิณาวัฏฏ์ หรือ ทักษิณาวรรตก็มี

ทักขิเณยยบุคคล บุคคลผู้ควรรับทักษิณา

ทกฺขิเณยฺโย ผู้ควรแก่ทักขิณา, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของทำบุญ คือไทยธรรม มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ที่มีผู้บริจาค (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ ๙)

ทักขิโณทก น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน

ทักขิไณย ผู้ควรแก่ทักขิณา, ผู้ควรรับของทำบุญที่ทายกถวาย

ทักขิไณยบุคคล บุคคลผู้ควรรับทักษิณา ดู ทักขิไณย

ทักษิณานิกาย นิกายพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่พวกอุตรนิกายตั้งชื่อให้ว่าหีนยานใช้บาลีมคธ บัดนี้ นิยมเรียกว่า เถรวาท

ทักษิณา ทานเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

ทักษิณานุประทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

ทักษิโณทก น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่องหมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่นที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้

ทัณฑกรรม การลงอาชญา, การลงโทษ; ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษสามเณรคล้ายกับการปรับอาบัติภิกษุได้แก่กัก บริเวณ ห้ามไม่ให้เข้า ห้ามไม่ให้ออกจากอาราม หรือการใช้ตักน้ำ ขนฟืน ขนทราย เป็นต้น

ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ หมายถึงการไล่ออกจากสำนัก เช่น ที่ทำแก่กัณฑกสามเณร ผู้กล่าวตู่ พระธรรมเทศนาว่า ธรรมที่ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

ทัณฑปาณิ กษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอัญชนะ เป็นพระเชฏฐาของพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา

ทันต์ ฟัน

ทันตชะ อักษรเกิดแต่ฟัน คือ ต ถ ท ธ น และ ส

ทัพพมัลลบุตร พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผลครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระ อรหัต ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตุเทศก์ ได้รับยกยองว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาเสนาสนปัญญาปกะ

ทัพสัมภาระ เครื่องเคราและส่วนประกอบทั้งหลาย, สิ่งและเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถหรือเกวียน เป็นต้น; เขียน เต็มว่า ทัพพสัมภาระ

ทัศนีย์ งาม, น่าดู

ทัสสนะ การเห็น, การเห็นด้วยปัญญา, ความเห็น, สิ่งที่เห็น

ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน; ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)

ทัฬหีกรรม การทำให้มั่น เช่น การให้อุปสมบทซ้ำ

ทาฐธาตุ, ทาฒธาตุ พระธาตุคือเขี้ยว, พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๔ องค์ ตำนานว่า พระเขี้ยวแก้วบนขวา ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ในดาวดึงสเทวโลก, องค์ล่างขวาไปอยู่ ณ แคว้นกาลิงคะ แล้วต่อไปยังลังกาทวีป, องค์บนซ้ายไปอยู่ ณ แคว้นคันธาระ, องค์ล่างซ้ายไปอยู่ในนาคพิภพ

ทาน การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น; ทาน ๒ คือ ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม; ทาน ๒ อีกหมาดหนึ่งคือ ๑. สังฆทาน ให้แก่ สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม ๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

ทานกถา เรื่องทาน, พรรณนาทาน คือการให้ว่าคืออะไร มีคุณอย่างไร เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอนุบุพพิกถา)

ทานบน ถ้อยคำหรือสัญญาว่าจะไม่ทำผิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้

ทานบารมี จรรยาอย่างเลิศคือทาน (ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐)

ท่านผู้มีอายุ เป็นคำสำหรับพระผู้ใหญ่ใช้เรียกพระผู้น้อย คือ พระที่มีพรรษาอ่อนกว่า (บาลีว่า อาวุโส)

ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน (ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

ทายก ผู้ให้ (ชาย)

ทายาท ผู้สืบสกุล, ผู้ควรรับมรดก

ทายิกา ผู้ให้ (หญิง)

ทารก เด็กที่ยังไม่เดียงสา

ทารุณ หยาบช้า, ร้ายกาจ, รุนแรง, ดุร้าย, โหดร้าย

ทารุณกรรม การทำโดยความโหดร้าย

ทาส บ่าวทั่วไป, คนรับใช้

ทำกรรมเป็นวรรค สงฆ์ทำสังฆกรรมโดยแยกเป็นพวก ๆ ไม่สามัคคีกัน

ทำกัปปะ ทำเครื่องหมายด้วยของ ๓ อย่าง คือ คราม ตม และดำคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งในเอกเทศ คือส่วนหนึ่งแห่ง จีวร เรียกสามัญว่า พินทุ

ทำการเมือง งานของแว่นแคว้น, งานของหลวง

ทำการวัด งานของวัด, งานของพระในอาราม

ทำกาละ ตาย

ทำคืน แก้ไข

ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประ กอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่ที่พูด กันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ

ทำร้ายด้วยวิชา ได้แก่ ร่ายมนต์อาคมต่าง ๆ ใช้ภูตใช้ผีเพื่อทำผู้อื่นให้เจ็บตายจัดเป็นดิรัจฉานวิชา เทียบตัวอย่างที่จะ เห็นในบัดนี้ เช่น ฆ่าด้วยกำลังไฟฟ้าซึ่งประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้

ทำโอกาส ให้โอกาส ดู โอกาส

ทิฆัมพร ท้องฟ้า

ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน, กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น (ข้อ ๑ ในกรรม ๑๒)

ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ๒. อารักข สัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่ กำลังทรัพย์ที่หาได้; มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่นพระ ผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

ทิฏฐาวิกัมม์ การทำความเห็นให้แจ้งได้แก่แสดงความเห็นแย้ง คือภิกษุผู้เข้าประชุมในสงฆ์บางรูปไม่เห็นร่วมด้วยคำ วินิจฉัยอันสงฆ์รับรองแล้วก็ให้แสดงความเห็นแย้งได้

ทิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี; ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ; อีกหมวดหนึ่งมี ๓ คือ ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น; ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความ เห็น (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)

ทิฏฐิบาป ความเห็นลามก

ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ, พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่ เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้าไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล ๗

ทิฏฐิมานะ ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข มานะ ความถือตัว รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว

ทิฏฐิวิบัติ วิบัติแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตน นอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)

ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความ หลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ์ ๗)

ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้ (ข้อ ๖ ในสารณีย ธรรม ๖)

ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง,การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง (ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

ทิพพจักขุ จักษุทิพย์, ตาทิพย์, ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่ สัตว์ที่เป็นไปต่าง ๆ กันเพราะอำนาจกรรม เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ ดู อภิญญา

ทิพพจักขุญาณ ญาณ คือทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงตาทิพย์

ทิพพโสต หูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา ดู อภิญญา

ทิพย์ เป็นของเทวดา, วิเศษ, เลิศกว่าของมนุษย์

ทิพยจักษุ ตาทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ดูอะไรเห็นได้หมดตามปรารถนา ดู ทิพพจักขุ

ทิวงคต ไปสู่สวรรค์, ตาย

ทิวาวิหาร การพักผ่อนในเวลากลางวัน

ทิศ ด้าน, ข้าง, ทาง, แถบ; ทิศแปด คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม (หรือ ปัจจิม) พายัพ; ทิศสิบ คือ ทิศแปดนั้น และทิศเบื้องบน (อุปริมทิศ) ทิศเบื้องล่าง (เหฏฐิมทิศ)

ทิศทักษิณ ทิศใต้, ทิศเบื้องขวา

ทิศบูร ทิศตะวันออก, ทิศเบื้องหน้า

ทิศบูรพา ทิศตะวันออก

ทิศปัจจิม ทิศตะวันตก, ทิศเบื้องหลัง

ทิศพายัพ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ทิศหก บุคคลประเภทต่าง ๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑ ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้อง หน้า ได้แก่ บิดา มารดา : บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้ ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ ๒. ช่วยทำกิจของ ท่าน ๓. ดำรงวงศ์สกุล ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน; มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๔. หาคู่ ครองที่สมควรให้ ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร ๒. ทักขิณทิส ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : ศิษย์พึง บำรุงครูอาจารย์ ดังนี้ ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ ๒. เข้าไปหา ๓. ใฝ่ใจเรียน ๔. ปรนนิบัติ ๕. เรียนศิลปวิทยาโดย เคารพ; ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ดังนี้ ๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ๓. สอนศิลปวิทยาให้ สิ้นเชิง ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน ๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศ คือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไป เลี้ยงชีพทำการงานได้ ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา : สามีพึงบำรุงภรรยาดังนี้ ๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา ๒. ไม่ดูหมิ่น ๓. ไม่นอกใจ ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้ ๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส; ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้ ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย ๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ๓. ไม่นอกใจ ๔. รักษา สมบัติที่หามาได้ ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย : พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน ๒. พูดจามีน้ำใจ ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๔. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย ๕. ซื่อสัตย์จริงใจ ต่อกัน; มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบดังนี้ ๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ สมบัติของเพื่อน ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร ๕. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน : นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ดังนี้ ๑. จัดการงานให้ทำตาม กำลังความสามารถ ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่ ๓. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยาม เจ็บไข้ เป็นต้น ๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้ ๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร; คน รับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นายดังนี้ ๑. เริ่มทำงานก่อน ๒. เลิกงานทีหลัง ๓. เอาแต่ของที่นายให้ ๔. ทำการงานให้ เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น ๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่ ๖. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์: คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ ๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา ๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วย เมตตา ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔; พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความ ชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้ แจ่มแจ้ง ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

ทิศหรดี ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศอาคเนย์ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ทิศอีสาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ทิศอุดร ทิศเหนือ, ทิศเบื้องซ้าย

ทิศานุทิศ ทิศน้อยทิศใหญ่ ทิศทั่วๆ ไป

ทิศาปาโมกขEอาจารย์ผู้เป็นประธานในทิศ, อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง

ทีฆะ สระมีเสียงยาวได้แก่ อา อี อู เอ โอ

ทีฆนขะ ชื่อปริพาชกผู้หนึ่ง ตระกูลอัคคิเวสสนะ ขณะที่พระพุทธเจ้าเทศนาเวทนาปริคคหสูตรโปรดปริพาชกผู้นี้ พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ได้ฟังเทศนานั้น ได้สำเร็จพระอรหัต ส่วนทีฆนขะ เพียงแต่ได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา

ทีฆนิกาย นิกายที่หนึ่งแห่งพระสุตตันตปิฎก ดู ไตรปิฎก

ทีฆายุ อายุยืน

ทีฆาวุ พระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติ ราชาแห่งแคว้นโกศล ซึ่งถูกพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาสี ชิงแคว้น จับได้และประหารชีวิตเสีย ทีฆาวุกุมารดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระบิดาที่ตรัสก่อนจะถูกประหารภายหลังได้ ครองราชสมบัติทั้ง ๒ แคว้น คือ แคว้นกาสีกับแคว้นโกศล

ที่ลับตา ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้ พอจะทำความชั่วได้

ที่ลับหู ที่แจ้งไม่มีอะไรบัง แต่อยู่ห่างคนอื่นไม่ได้ยิน พอจะพูดเกี้ยวกันได้

ที่สุด ๒ อย่าง ข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดไม่อาจนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ๒ อย่าง คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วย ความสุขในกามทั้งหลาย เรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยค ๒. การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า หรือการทรมาน ตนให้ลำบากเปล่า เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ทุกะ หมวด ๒

ทุกกฎ “ทำไม่ดี” ชื่ออาบัติเบาอย่างหนึ่ง เป็นความผิดถัดรองลงมาจากปาฏิเทสนียะ เช่น ภิกษุสวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ ผ้าโพกศีรษะต้องอาบัติทุกกฎ ดู อาบัติ

ทุกข์ 1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจาก ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่ กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ใน เวทนา ๓) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

ทุกขขันธ์ กองทุกข์

ทุกขขัย สิ้นทุกข์, หมดทุกข์

ทุกขตา ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้ ดู ทุกขลักษณะ

ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ หมายถึงพระนิพพาน เรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด เรียกสั้น ๆ ว่า มรรค

ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑. ถูกการ เกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข

ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย

ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกรกิริยา กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ใคร ๆ จะทำได้ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรม วิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่าง ๆ เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรง ปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง; เขียนเต็ม เป็น ทุกกรกิริยา

ทุคติ คติชั่ว, ภูมิชั่ว, ทางดำเนินที่มีความเดือดร้อน, สถานที่ไปเกิดอันชั่ว, ที่เกิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต (บางทีรวมอสุรกาย ด้วย) ดู คติ, อบาย

ทุจริต ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดี มี ๓ คือ ๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย ๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่ว ด้วยวาจา ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ

ทุฏฐุลลวาจา วาจาชั่วหยาบ เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๓ ที่ว่าภิกษุผู้มีความกำหนัด พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว หยาบ คือ พูดเกี้ยวหญิง กล่าววาจาหยาบโลนพาดพิงเมถุน

ทุฏฐุลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส แต่ในบางกรณีท่านหมายเอาเฉพาะอาบัติสังฆาทิเสส

ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตกวิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา

ทุติยสังคายนา การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน ดู สังคายนา ครั้งที่ ๒

ทุติยสังคีติ การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒

ทุพภาสิต “พูดไม่ดี” “คำชั่ว” “คำเสียหาย” ชื่ออาบัติเบาที่สุดที่เกี่ยวกับคำพูด เป็นความผิดในลำดับถัดรองจากทุกกฎ เช่น ภิกษุพูดกับภิกษุที่มีกำเนิดเป็นจัณฑาลว่า เป็นคนชาติจัณฑาล ถ้ามุ่งว่ากระทบให้อัปยศ ต้องอาบัติทุกกฎ แต่ถ้า มุ่งเพียงล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาสิต ดู อาบัติ

ทุลลภธรรม สิ่งที่ได้ยาก, ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ ๑. ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่ เราโดยทางชอบธรรม ๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง ๓. ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์ ; ดู ธรรมเป็นเหตุให้สมหมายด้วย

ทุศีล มีศีลชั่ว คือประพฤติไม่ดี มักละเมิดศีล

ทูต ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนทางราชการแผ่นดิน, ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปเจรจาแทน

ทูตานุทูต ทูตน้อยใหญ่, พวกทูต

ทูตานุทูตนิกร หมู่พวกทูต

ทูเรนิทาน เรื่องห่างไกล หมายถึงพุทธประวัติตั้งแต่เริ่มเป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติในอดีตมาโดย ลำดับ จนถึงชาติสุดท้าย คือเวสสันดร และอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต

เทพ เทพเจ้า, ชาวสวรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ ๑. สมมติเทพ เทวดาโดสมมติ = พระราชา, พระเทวี พระราชกุมาร ๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย

เทพเจ้า พระเจ้าบนสวรรค์ ลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้บันดาลสุขทุกข์ให้แก่มนุษย์

เทพธิดา นางฟ้า, หญิงชาวสวรรค์, เทวดาผู้หญิง

เทพบุตร เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย

เทวะ เทวดา, เทพ, เทพเจ้า (ชั้นสวรรค์และชั้นพรหม)

เทวดา หมู่เทพ, ชาวสวรรค์ เป็นคำรวมเรียกชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง

เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดาตามที่มีอยู่ในตน (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)

เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา (ข้อ ๕ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)

เทวทหะ ชื่อนครหลวงของแคว้นโกลิยะที่กษัตริย์โกลิยวงศ์ปกครอง พระสิริมหามายาพุทธมารดา เป็นชาวเทวทหะ

เทวทหนิคม คือกรุงเทวทหะ นครหลวงของแคว้นโกลิยะนั่นเอง แต่ในพระสูตรบางแห่งเรียก นิคม

เทวทัตต์ ราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถ กุมาร เจ้าชายเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธ์ พระอานนท์และ กัลบกอุบาลี เป็นต้น บำเพ็ญฌานจนได้โลกีย อภิญญา ต่อมามีความมักใหญ่ ได้ยุยงพระเจ้าอชาตศัครูและคบคิดกันพยายามประทุษร้ายพระพุทธเจ้า ก่อเรื่องวุ่นวาย ในสังฆมณฑลจนถึงทำสังฆเภท และถูกแผ่นดินสูบในที่สุด

เทวทูต ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิต มิให้มีความประมาท จัดเป็น ๓ ก็มี ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย, จัดเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์); ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรกเป็นเทวทูต ส่วน สมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔ หาเรียกเทว ทูต ๔ ไม่ อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิง ว่าอาจเรียกทั้งสี่อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่าเป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)

เทวธรรม ธรรมของเทวดา, ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา หมายถึงธรรม ๒ อย่างคือ หิริ ความละอายแก่ใจคือละอายต่อ ความชั่ว และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาป คือ เกรงกลัวต่อความชั่ว

เทวบุตร เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย

เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร, เทวบุตรเป็นมาร เพราะเทวบุตรบางตนที่มุ่งร้าย คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ไม่ให้สละ ความสุขออกไปบำเพ็ญคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นพินาศจากความดี, คัมภีร์สมัยหลัง ๆ ออกชื่อว่า พญาวสวัต ดีมาร (ข้อ ๕ ในมาร ๕)

เทวรูป รูปเทวดาที่นับถือ ตามลัทธิที่นับถือเทวดา

เทวรูปนาคปรก เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่ เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์

เทวโลก โลกของเทวดา, ที่อยู่ของเทวดา ได้แก่สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น คือ ๑. จาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี

เทฺววาจิก มีวาจาสอง หมายถึง ผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม ในสมัยที่ยังไม่มีพระสงฆ์ ได้ แก่ พาณิชสอง คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ

เทวสถาน ที่ประดิษฐานเทวรูป, โบสถ์พราหมณ์

เทวาธิบาย ความประสงค์ของเทวดา

เทเวศร์ เทวดาผู้ใหญ่, หัวหน้าเทวดา

เทโวโรหณะ “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่ง การบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระ พุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จ ลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวด ล้อมลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธ เจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ถือเป็นกาล กำหนดสำรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมาดังปรากฏในประเทศ ไทย เรียกกันว่าตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวัน มหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดเลยจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

เทศกาล คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณี เพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษสงกรานต์ เข้าพรรษา สารท เป็นต้น

เทศนา การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา, การชี้แจงให้รู้จักดีรู้จักชั่ว, คำสอน; มี ๒ อย่าง คือ ๑. บุคคลาธิษฐาน เทศนา เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง ๒. ธรรมาธิษฐาน เทศนา เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง

เทสนาคามินี อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้วจะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง, อาบัติที่แสดงแล้วก็พ้นได้, อาบัติที่ปลงตกด้วยการ แสดงที่เรียกว่า แสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาสิต; ตรงข้าม กับ อเทสนาคามินี ซึ่งเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส

เทสนาปริสุทธิ ความหมดจดแห่งการแสดงธรรม

เทือกเถา ต้นวงศ์ที่นับสายตรงลงมา, ญาติโดยตรงตั้งแต่บิดามารดาขึ้นไปถึงทวด

โทณพราหมณ์ พราหมณ์ผู้ใหญ่ซึ่งมีฐานะเป็นครูอาจารย์ เป็นที่เคารพนับถือของคนจำนวนมากในชมพูทวีป เป็นผู้ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้สำเร็จได้โดยสันติวิธี เป็นผู้สร้างตุมพสตูป บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารี ริกธาตุ

โทมนัส ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ ดู เวทนา

โทสะ ความคิดประทุษร้าย (ข้อ ๒ ในอกุศลมูล ๓)

โทสจริต คนมีพื้นนิสัยหนักในโทสะ หงุดหงิด โกรธง่าย แก้ด้วยเจริญเมตตา (ข้อ ๒ ในจริต ๖)

โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน, ลำเอียงเพราะชัง (ข้อ ๒ ในอคติ ๔)

ไทยธรรม ของควรให้, ของทำบุญต่าง ๆ, ของถวายพระ

ธงแห่งคฤหัสถ์ เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนุ่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน

ธงแห่งเดียรถีย์ เครื่องนุ่งห่มของเดียรถีย์ เช่น หนังสือ ผ้าคากรอง เป็นต้น, การนุ่งห่มอย่างที่ชื่นชมกันของนักบวช นอกพระศาสนา

ธนสมบัติ สมบัติ คือ ทรัพย์สินเงินทอง

ธนิต พยัญชนะออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะที่ ๒ ที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ

ธนิยะ ชื่อพระที่เอาไม้หลวงไปทำกุฎีเป็นต้นบัญญัติทุติยปาราชิกสิกขาบท

ธนู มาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๑ วา คือ ๔ ศอก

ธมกรก กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์, เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า, กระบอกก้นผูกผ้า

ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมา- รมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความ ชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม ในประโยคว่า “ให้กล่าวธรรมโดยบท” บาลีแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ท่านเรียงไว้ จะเป็นพุทธภาษิต ก็ตาม สาวกภาษิตก็ตาม ฤษีภาษิตก็ตาม เทวดาภาษิตก็ตาม เรียกว่าธรรมในประโยคนี้

ธรรม (ในคำว่า “การกรานกฐินเป็นธรรม”) ชอบแล้ว, ถูกระเบียบแล้ว

ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง คือ ๑. รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด ๒. อรูปธรรม ได้แก่นามขันธ์ ๔ และนิพพาน; อีกหมวด หนึ่ง คือ ๑. โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก ๒. โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑; อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

ธรรมกถา การกล่าวธรรม, คำกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่กล่าวถึงธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม

ธรรมกถึก ผู้กล่าวสอนธรรม, ผู้แสดงธรรม, นักเทศก์

ธรรมกามะ ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบตริตรองสอดส่องธรรม

ธรรมกาย “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปา ฏิกวรรค) หมายความว่าพระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็น เหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออก มาแก่ชาวโลก; อนึ่ง ธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจน ไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริย ชน ดังตัว อย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพาน ตามความในคัมภีร์ อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดา ของหม่อมฉัน.รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็ เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต: สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกายก็คือ โลกุตตรธรรม ๙ หรืออริยสัจ

ธรรมของฆราวาส ๔ ดู ฆราวาสธรรม

ธรรมขันธ์ กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติ ขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน

ธรรมคุ้มครองโลก ดู โลกบาลธรรม

ธรรมจริยา การประพฤติธรรม, การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูก ตามธรรม เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ ๑๐

ธรรมจักร จักรคือธรรม, วงล้อธรรมหรืออาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจ วัคคีย์ (ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)

ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา; ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่โสดาปัตติ มรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม, ผู้ประพฤติเป็นธรรม, ผู้ประพฤติถูกธรรม

ธรรมเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระธรรมคือ จารึกพระพุทธพจน์ เช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ลงในใบลานแล้วนำไป บรรจุในเจดีย์ (ข้อ ๓ ในเจดีย์ ๔)

ธรรมเจติยสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยข้อความที่พระเจ้า ปเสนทิโกศลกราบทูลพระพุทธเจ้า พรรณนาความเลื่อมใสศรัทธาของพระองค์ที่มีต่อพระรัตนตรัย

ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น

ธรรมฐิติ ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา

ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ; สามัญ, ปกติ, พื้น ๆ

ธรรมทาน การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดู ทาน

ธรรมทายาท ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม,ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติ ปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยตรงหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชาที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท

ธรรมทำให้งาม ๒ คือ ๑. ขันติ ความอดทน ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยมหรือความมีอัธยาศัยประณีต

ธรรมทินนา ดู ธัมมทินนา

ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ดู อภิณหปัจจเวกขณ์

ธรรมเทศนา การแสดงธรรม, การบรรยายธรรม

ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

ธรรมเทศนาสิกขาบท สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำเว้นแต่มีบุรุษผู้รู้ เดียงสาอยู่ด้วย (สิกขาบทที่ ๗. ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)

ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง, สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์, ธรรม ทั้งปวงเป็นอนัตตา ดู ไตรลักษณ์

ธรรมเนียม ประเพณี, แบบอย่างที่เคยทำกันมา, แบบอย่างที่นิยมใช้กัน

ธรรมบท บทแห่งธรรม, บทธรรม, ข้อธรรม; ชื่อคาถาบาลีหมวดหนึ่งจัดเป็นคัมภีร์ที่ ๒ ในขุททกนิกาย พระ สุตตันตปิฎก มี ๔๒๓ คาถา

ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม

ธรรมปฏิรูป ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม

ธรรมปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดย เอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่งธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอย่างบริบูรณ์คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วย เหลือสงเคราะห์ แก้ไขปัญหา บรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอัน เป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร

ธรรมเป็นโลกบาล ๒ คือ ๑. หิริ ความละอายแก่ใจ ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ดู โลกบาลธรรม

ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ธรรมพิเศษ ธรรมชั้นสูง หมายถึงโลกุตตรธรรม

ธรรมไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรม ด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจน บริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหมด ดู ไพบูลย์, เลปุลละ

ธรรมภาษิต ถ้อยคำที่เป็นธรรม, ถ้อยคำที่แสดงธรรม หรือเกี่ยวกับธรรม

ธรรมมีอุปการะมาก ๒ คือ ๑. สติ ความระลึกได้ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

ธรรมยุต, ธรรมยุติกนิกาย ดู คณะธรรมยุต

ธรรมราชา พระราชาแห่งธรรม, พระราชาโดยธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า และบางแห่งหมายถึง พระเจ้าจักรพรรดิ

ธรรมวัตร ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาเรียบๆ ที่แสดงอยู่ทั่วไป อันต่างไปจากทำนองเทศน์แบบมหาชาติ, ทำนองแสดง ธรรม ซึ่งมุ่งอธิบายตามแนวเหตุผล มิใช่แบบเรียกร้องอารมณ์

ธรรมวาที “ผู้มีปกติกล่าวธรรม”, ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลักไม่พูด ผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม

ธรรมวิจัย การเฟ้นธรรม ดู ธัมมวิจยะ

ธรรมวิจารณ์ การใคร่ครวญพิจารณาข้อธรรมต่าง ๆ ว่าแต่ละข้อมีอรรถคือความหมายอย่างไร ตื้นลึกเพียงไร แล้ว แสดงความคิดเห็นออกมาว่าธรรมข้อนั้นข้อนี้มีอรรถคือความหมายอย่างนั้นอย่างนี้

ธรรมวินัย ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ, วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ; ธรรม = เครื่อง ควบคุมใจ, วินัย = เครื่องควบคุมกายและวาจา

ธรรมวิภาค การจำแนกธรรม, การจัดหัวข้อธรรมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบาย และทำความเข้าใจ

ธรรมสภา ที่ประชุมฟังธรรม, โรงธรรม

ธรรมสมโภค คบหากันในทางเรียนธรรม ได้แก่สอนธรรมให้หรือขอเรียนธรรม

ธรรมสมาทาน การสมาทานยึดถือปฏิบัติธรรม, การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ การทำกรรมบางอย่าง ให้ทุกข์ ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

ธรรมสวนะ การฟังธรรม, การหาความรู้ความเข้าใจในหลักความจริง ความถูกต้องดีงาม ด้วยการเล่าเรียนอ่านและ สดับฟัง, การศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ; ธัมมัสสวนะ ก็เขียน

ธรรมสวามิศร ผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า

ธรรมสังคาหกะ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา

ธรรมสังคาหกาจารย์ อาจารย์ผู้ร้อยกรองธรรม, ดู ธรรมสังคาหกะ

ธรรมสังคีติ การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม, การจัดสรรธรรมเป็นหมวดหมู่

ธรรมสังเวช ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์) ดู สังเวช

ธรรมสากัจฉา การสนทนาธรรม, การสนทนากันในทางธรรม

ธรรมสามัคคี ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่าง ๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น

ธรรมสามิสร ดู ธรรมสวามิตร

ธรรมสามี ผู้เป็นเจ้าของธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า

ธรรมเสนา กองทัพธรรม, กองทัพพระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา

ธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม, ผู้เป็นนายทัพธรรม เป็นคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร ซึ่งเป็นกำลังใหญ่ของพระศาสดาใน การประกาศพระศาสนา

ธรรมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรมวินัย, ศิษย์ผู้เรียนธรรมวินัย

ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่, คือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงามและเหตุผลเป็นใหญ่ ทำการด้วย ปัญญา โดยเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา มุ่งเพื่อความดีงาม ความจริง ความชอบธรรมเป็นประมาณ ดู อธิปไตย

ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือเทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่าศรัทธาศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อม นำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กันกับบุคคลาธิษฐาน

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อย สอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย, ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม; ดู วุฑฒิ

ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล

ธรรมารมณ์ อารมณ์ทางใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด

ธรรมาสน์ ที่สำหรับนั่งแสดงธรรม

ธรรมิกอุบาย อุบายที่ประกอบด้วยธรรม, อุบายที่ชอบธรรม, วิธีที่ถูกธรรม

ธรรมิศราธิบดี ผู้เป็นอธิบดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า (คำกวี)

ธรรมีกถา ถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม, การพูดหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม

ธรรมุเทศ ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อ, หัวข้อธรรม

ธัญชาติ ข้าวชนิดต่างๆ พืชจำพวกข้าว

ธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม, ความพอใจและสนใจในธรรม, ความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาธรรม และใฝ่ในความดี ดู นาถ กรณธรรม

ธัมมคารวตา ดู คารวะ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อ ของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือ ความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก

ธัมมทินนา พระเถรีมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นกุลธิดาชาวพระนครราชคฤห์เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อม ใสในพระพุทธศาสนาบวชในสำนักนางภิกษุณี บำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอต- ทัคคะ ในทางเป็นธรรมกถึก (เขียนธรรมทินนา ก็มี)

ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ข้อ ๙ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ธัมมปฏิสันถาร ดู ธรรมปฏิสันถาร

ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้เห็นผลก็สืบ สาวไปหาเหตุได้ (ข้อ ๒ ในปฏิสัมภิทา ๔)

ธัมมปทัฏฐกถา คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธรรมบทแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์ รจนา หรือเป็นหัวหน้าในการรจนาขึ้น เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑,๐๐๐ (ชื่อเฉพาะว่า ปรมัตถโชติกา)

ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม ได้แก่หวงแหนความรู้ ไม่ยอมบอก ไม่ยอมสอนคนอื่น เพราะเกรงว่าเขาจะรู้เท่าตน (ข้อ ๕ ในมัจฉริยะ ๕)

ธรรมวิจยะ ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม (ข้อ ๒ ในโพชฌงค์ ๗)

ธมฺมสมฺมุขตา ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัย และสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย

ธัมมสากัจฉา ดู ธรรมสากัจา

ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์; ตามอธิบายในบาลีหมายถึง รู้หลัก หรือรู้หลักการ เช่น ภิกษุเป็นธัมมัญญู คือ รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จัดเป็นนวังคสัตถุศาสน์ ดู สัปปุริส ธรรม

ธัมมัปปมาณิกา ถือธรรมเป็นประมาณผู้เลื่อมใสเพราะพอใจในเนื้อหาธรรมและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น ชอบฟัง ธรรม ชอบเห็นภิกษุรักษามารยาทเรียบร้อยสำรวมอินทรีย์

ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม, การสดับคำแนะนำสั่งสอน ดู ธรรมสวนะ

ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม (ข้อ ๘ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ธัมมัสสวนานิสงส์ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม, ผลดีของการฟังธรรม, ประโยชน์ที่จะได้จากการฟังธรรม มี ๕ อย่าง คือ ๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๒. สิ่งที่เคยฟัง ก็เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้ ๔. ทำความ เห็นให้ถูกต้องได้ ๕. จิตของเขาย่อมผ่องใส

ธัมมาธิปเตยยะ ถือธรรมเป็นใหญ่คือ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ บัดนี้นิยมเขียน ธรรมาธิปไตย ดู อธิปเตยยะ

ธัมมานุธัมมปฏิบัติปัตติ ดู ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

ธัมมานุปัสสนา การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, สติพิจารณาธรรมที่ เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)

ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม (ข้อ ๒ ในอนุสติ ๑๐)

ธัมมานุสารี “ผู้แล่นไปตามธรรม”, “ผู้แล่นตามไปด้วยธรรม”, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีปัญญิน- ทรีย์แรงกล้า (ถ้าบรรลุผลกลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ) ดู อริยบุคคล ๗

ธัมมีกถา ดู ธรรมีกถา

ธาตุ สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย, ธาตุ ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่าธาตุแข้งแข็งหรือธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่าธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕. อากาสธาตุสภาวะที่ว่าง ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้

ธาตุ กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวม ๆ ว่าพระธาตุ (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้น ๆ เช่น พระทาฐธาตุ)

ธาตุกถา ชื่อคัมภีร์ที่สามแห่งพระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยการสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายเข้ากับ ขันธ์ อายตนะและธาตุ (พระไตรปิฎกเล่ม ๓๖)

ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์, กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียง ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ธาตุเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ข้อ ๑ ในเจดีย์ ๔)

ธิติ 1. ความเพียร, ความเข้มแข็งมั่นคง, ความหนักแน่น, ความอดทน 2. ปัญญา

ธีระ นักปราชญ์, ผู้ฉลาด

ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลา กิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์-เกี่ยวกับจีวร มี ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล ๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียงสามผืน; หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ -เกี่ยวกับบิณฑบาต มี ๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ ๔. สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน ๕. เอกาสนิกังคะ ฉันเนื้อ เดียว ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม; หมวดที่ ๓ เสนา สนปฏิสังยุตต์ -เกี่ยวกับเสนาสนะมี ๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า ๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้ ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่ กลางแจ้ง ๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า ๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้; หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุตต์-เกี่ยว กับความเพียร มี ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน (นี้แปลเอาความสั้น ๆ ความหมายละเอียดพึงดูตามลำดับ อักษรของคำนั้น ๆ)

ธุระ “สิ่งที่จะต้องแบกไป”, หน้าที่ภารกิจ, การงาน, เรื่องที่จะต้องรับผิดชอบ, กิจในพระศาสนา แสดงไว้ในอรรถกถา ๒ อย่างคือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

ธุลี ฝุ่น, ละออง, ผง

ธุวยาคู ยาคูที่เขาถวายเป็นประจำ เช่น ที่นางวิสาขาถวายเป็นประจำ หรือที่จัดทำเป็นของวัดแจกกันเอง

โธตกมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

โธโตทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๔ ของเจ้าสีหหนุเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น