Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๓๕-๑ หน้า ๑ - ๕๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕-๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์



พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก
วิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑] ขันธ์๑ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

๑. รูปขันธ์
[๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต รูปที่เป็นปัจจุบัน
รูปที่เป็นภายในตน รูปที่เป็นภายนอกตน รูปหยาบ รูปละเอียด รูปชั้นต่ำ รูปชั้น
ประณีต รูปไกล หรือรูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า รูปขันธ์

เชิงอรรถ :
๑ สฺวายมิธ ราสิโต อธิปฺเปโต ขันธ์ในที่นี้ท่านหมายถึงกอง เช่นกองรูป ฯลฯ (อภิ.วิ.อ. ๑/๒-๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
[๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปที่เป็นอดีต เป็นไฉน
รูปใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทายรูป) นี้เรียกว่า รูปที่
เป็นอดีต
รูปที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่
เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัย
มหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นอนาคต
รูปที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
รูปใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นปัจจุบัน
[๔] รูปที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ๑ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายในตน
รูปที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน
มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔
และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปที่เป็นภายนอกตน
[๕] รูปหยาบ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่า รูปหยาบ

เชิงอรรถ :
๑ ตัณหาและทิฏฐิที่เกิดพร้อมกับการกระทำที่ยึดติดโดยความเป็นอารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
รูปละเอียด เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร๑ นี้เรียกว่า รูปละเอียด
[๖] รูปชั้นต่ำ เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่าตำหนิ ไม่น่า
ยกย่อง เป็นชั้นต่ำ รู้กันว่าเป็นชั้นต่ำ สมมติกันว่าเป็นชั้นต่ำ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก
ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปชั้นต่ำ
รูปชั้นประณีต เป็นไฉน
รูปใดของสัตว์นั้น ๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่
น่าตำหนิ น่ายกย่อง เป็นชั้นประณีต รู้กันว่าเป็นชั้นประณีต สมมติกันว่าเป็นชั้น
ประณีต น่าปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
นี้เรียกว่า รูปชั้นประณีต
พึงทราบรูปชั้นต่ำ รูปชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
[๗] รูปไกล เป็นไฉน
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ในที่ไม่
ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปไกล๒
รูปใกล้ เป็นไฉน
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่น มีอยู่ในที่ใกล้ ในที่ใกล้ชิด
ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่า รูปใกล้๓
พึงทราบรูปไกล รูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๖๓๒-๖๔๕/๑๙๔-๙๖
๒ หมายถึงสุขุมรูป รูปละเอียด (อภิ.วิ.อ. ๗/๑๓)
๓ หมายถึงโอฬาริกรูป รูปหยาบ (อภิ.วิ.อ. ๗/๑๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
[๘] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เวทนาที่
เป็นปัจจุบัน เวทนาที่เป็นภายในตน เวทนาที่เป็นภายนอกตน เวทนาหยาบ เวทนา
ละเอียด เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เวทนาไกล หรือเวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
[๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
เวทนาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอดีต
เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็น
อนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ
อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นอนาคต
เวทนาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
เวทนาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นปัจจุบัน
[๑๐] เวทนาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายในตน

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงเวทนาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ.๘/๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
เวทนาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาที่เป็นภายนอกตน
[๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
เวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่เป็นอัพยา-
กฤตเป็นเวทนาละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา
เป็นเวทนาละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนา
เป็นเวทนาละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนา
ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด
พึงทราบเวทนาหยาบ เวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[๑๒] เวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนา
ชั้นประณีต เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
เวทนาชั้นประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
เวทนาชั้นประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาชั้นต่ำ อทุกขมสุขเวทนาเป็น
เวทนาชั้นประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาชั้นต่ำ เวทนาของผู้เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาชั้นประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นต่ำ
เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาชั้นประณีต
พึงทราบเวทนาชั้นต่ำ เวทนาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต เวทนา
ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลเป็น
เวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต เวทนาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต
เป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นกุศล เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาไกลจาก
เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่
เป็นอัพยากฤต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุข-
เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกล
จากทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา
ไกลจากสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา
สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้า
สมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น
เวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา
ไกลจากเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
เวทนาไกลจากเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาไกล
เวทนาใกล้ เป็นไฉน
เวทนาที่เป็นอกุศลเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นอกุศล เวทนาที่เป็นกุศลเป็น
เวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็นกุศล เวทนาที่เป็นอัพยากฤตเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่
เป็นอัพยากฤต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้
กับสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น
เวทนาใกล้กับเวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา
ใกล้กับเวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนา
ใกล้กับเวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า เวทนาใกล้
พึงทราบเวทนาไกล เวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
๓. สัญญาขันธ์
[๑๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน สัญญาที่เป็นภายในตน สัญญาที่เป็นภายนอกตน สัญญา
หยาบ สัญญาละเอียด สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต สัญญาไกล หรือสัญญา
ใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์
[๑๕] ในสัญญาขันธ์นั้น สัญญาที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สัญญาใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ
แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่โสตสัมผัส สัญญาที่
เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญา
ที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอดีต
สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สัญญาใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดเฉพาะ
ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่
เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นอนาคต
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สัญญาใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า
สัญญาที่เป็นปัจจุบัน
[๑๖] สัญญาที่เป็นภายในตน เป็นไฉน

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงสัญญาขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๑๔/๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุ-
สัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภายในตน
สัญญาที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สัญญาใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิด
ในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ สัญญา
ที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า สัญญาที่เป็นภาย
นอกตน
[๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน
สัญญาที่เกิดแต่ปฏิฆสัมผัส๑ (คือสัมผัสที่เกิดทางปัญจทวาร) เป็นสัญญาหยาบ
สัญญาที่เกิดแต่อธิวจนสัมผัส(คือสัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) เป็นสัญญาละเอียด
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญา
ละเอียด สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
สัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
พึงทราบสัญญาหยาบ สัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[๑๘] สัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่เป็น

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงความสัมผัสถูกต้องกันแห่งรูปที่กระทบกันได้ เช่นจักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์เป็นต้น (อภิ.วิ.อ.
๑๗/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
อัพยากฤตเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นต่ำ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาชั้นประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สัญญาชั้นต่ำ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาชั้นประณีต
พึงทราบสัญญาชั้นต่ำ สัญญาชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
สัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่
เป็นกุศลเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สัญญาที่เป็นอกุศล
และอัพยากฤตเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นกุศลและอกุศล สัญญาที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสัญญา
ไกลจากสัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกล
จากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุข
เวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วย
อทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้า
สมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า สัญญาไกล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สัญญาใกล้ เป็นไฉน
สัญญาที่เป็นอกุศลเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอกุศล สัญญาที่เป็นกุศล
เป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นกุศล สัญญาที่เป็นอัพยากฤตเป็นสัญญาใกล้กับ
สัญญาที่เป็นอัพยากฤต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับ
สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้
กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของ
ผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า สัญญาใกล้
พึงทราบสัญญาไกล สัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
๔. สังขารขันธ์
[๒๐] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สังขารขันธ์ เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง๑ คือ สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต สังขาร
ที่เป็นปัจจุบัน สังขารที่เป็นภายในตน สังขารที่เป็นภายนอกตน สังขารหยาบ สังขาร
ละเอียด สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต สังขารไกล หรือสังขารใกล้ ประมวลย่อเข้า
เป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
[๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารที่เป็นอดีต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับ
ส่วนอดีต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เจตนาที่เกิด
แต่ฆานสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เจตนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เจตนาที่เกิด
แต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอดีต

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๐/๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
สังขารที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ
เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นอนาคต
สังขารที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิด
ขึ้น เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า
สังขารที่เป็นปัจจุบัน
[๒๒] สังขารที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มี
เฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ เจตนาที่เกิดแต่
จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่เป็นภายในตน
สังขารที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
สังขารเหล่าใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
เจตนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เจตนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า สังขารที่
เป็นภายนอกตน
[๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สังขารละเอียด สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารหยาบ สังขารที่เป็นอัพยากฤต
เป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขารของผู้เข้า
สมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารหยาบ
สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๔.สังขารขันธ์
พึงทราบสังขารหยาบ สังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
[๒๔] สังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็น
สังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่เป็น
อัพยากฤตเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นต่ำ สังขาร
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารชั้นประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร
ชั้นต่ำ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารชั้นประณีต
พึงทราบสังขารชั้นต่ำ สังขารชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอัพยากฤต สังขาร
ที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศล
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต สังขารที่เป็นอกุศลและ
อัพยากฤตเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขาร
ไกลจากสังขารที่เป็นกุศลและอกุศล สังขารที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นสังขารไกลจาก
สังขารที่เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ
อทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขม-
สุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจาก
สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกล
จากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารไกล
สังขารใกล้ เป็นไฉน
สังขารที่เป็นอกุศลเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอกุศล สังขารที่เป็นกุศลเป็น
สังขารใกล้กับสังขารที่เป็นกุศล สังขารที่เป็นอัพยากฤตเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
เป็นอัพยากฤต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขาร
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้า
สมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์
ของอาสวะ เหล่านี้เรียกว่า สังขารใกล้
พึงทราบสังขารไกล สังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
๕. วิญญาณขันธ์
[๒๖] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง๑ คือ วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณที่เป็นภายในตน วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต วิญญาณไกล
หรือวิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์

เชิงอรรถ :
๑ ได้แก่ที่เป็นไปในภูมิ ๔ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิ (อภิ.วิ.อ. ๒๖/๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
[๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณที่เป็นอดีต เป็นไฉน
วิญญาณใดล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นปราศจากไปแล้ว ที่เป็นอดีต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
และมโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอดีต
วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นไฉน
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิด
เฉพาะ ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม
ที่เป็นอนาคต สงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ
นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นอนาคต
วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน
วิญญาณใดเกิดอยู่ เป็นอยู่ เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ เกิดขึ้น
เกิดขึ้นพร้อม ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นปัจจุบัน สงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน
ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน
[๒๘] วิญญาณที่เป็นภายในตน เป็นไฉน
วิญญาณใด ของสัตว์นั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน เกิดในตน มีเฉพาะ
บุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายในตน
วิญญาณที่เป็นภายนอกตน เป็นไฉน
วิญญาณใดของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นนั้น ๆ ที่เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
เกิดในตน มีเฉพาะบุคคล ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ได้แก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณที่เป็นภายนอกตน
[๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่
เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
หยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น
วิญญาณหยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น
วิญญาณละเอียด
พึงทราบวิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้น ๆ
เป็นชั้น ๆ ไป
[๓๐] วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณ
ที่เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็น
วิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณ
ชั้นประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณชั้นต่ำ
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณชั้นประณีต วิญญาณของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณชั้นประณีต
วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะเป็นวิญญาณชั้นประณีต
พึงทราบวิญญาณชั้นต่ำ วิญญาณชั้นประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ
นั้น ๆ เป็นชั้น ๆ ไป
[๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
วิญญาณที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอกุศล วิญญาณ
ที่เป็นกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอกุศลและอัพยากฤต วิญญาณที่เป็น
อกุศลและอัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศล วิญญาณที่เป็น
อัพยากฤตเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นกุศลและอกุศล วิญญาณที่เป็นกุศล
และอกุศลเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต วิญญาณที่สัมปยุตด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๑.สุตตันตภาชนีย์ ๕.วิญญาณขันธ์
ทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณ
ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจาก
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาและทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ
ไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น
วิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ
ไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณ
ไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า วิญญาณไกล
วิญญาณใกล้ เป็นไฉน
วิญญาณที่เป็นอกุศลเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอกุศล วิญญาณที่เป็น
กุศลเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นกุศล วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตเป็นวิญญาณ
ใกล้กับวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ
ใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็น
วิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณ
ของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้
เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์
ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียก
ว่า วิญญาณใกล้
พึงทราบวิญญาณไกล วิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้น ๆ เป็น
ชั้น ๆ ไป
สุตตันตภาชนีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
๒. อภิธรรมภาชนีย์
[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ

๑. รูปขันธ์ (กองรูป)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ)

๑. รูปขันธ์
[๓๓] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน
รูปขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ รูปทั้งหมด ไม่เป็นเหตุ ไม่มีเหตุ วิปปยุตจากเหตุ
มีปัจจัยปรุงแต่ง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของโอฆะ เป็นอารมณ์ของ
โยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เป็นอารมณ์ของกิเลส เป็นอัพยากฤต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่เป็นเจตสิก วิปปยุตจาก
จิต ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์
ของกิเลส ไม่ใช่มีทั้งวิตกและวิจาร ไม่ใช่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
ไม่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยสุข ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและ
มรรคเบื้องบน ๓ ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพาน ไม่เป็นของเสขบุคคล
และอเสขบุคคล เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร ไม่เป็นรูปาวจร ไม่เป็นอรูปาวจร นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ เป็นสภาวะไม่แน่นอน ไม่เป็นเหตุ
นำออกจากวัฏฏทุกข์ เป็นธรรมที่เกิดขึ้น อันวิญญาณ ๖ รู้ได้ เป็นของไม่เที่ยง ถูก
ชราครอบงำ๑
รูปขันธ์หมวดละ ๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๒

เชิงอรรถ :
๑ นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๗)
๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๖๙,๕๙๔/๑๘๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
ทุกนัย
ปกิณณกทุกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี๑ ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
รูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
รูปที่เห็นได้ก็มี ที่เห็นไม่ได้ก็มี
รูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
รูปที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี
รูปที่เป็นมหาภูตรูปก็มี ที่ไม่เป็นมหาภูตรูปก็มี
รูปที่เป็นวิญญัตติรูปก็มี ที่ไม่เป็นวิญญัตติรูปก็มี
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานก็มี
รูปที่เกิดพร้อมกับจิตก็มี ที่ไม่เกิดพร้อมกับจิตก็มี
รูปที่เป็นไปตามจิตก็มี ที่ไม่เป็นไปตามจิตก็มี
รูปที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี
รูปที่หยาบก็มี ที่ละเอียดก็มี
รูปที่ไกลก็มี ที่ใกล้ก็มี ฯลฯ
รูปที่เป็นกวฬิงการาหารก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๒
รูปขันธ์หมวดละ ๒ มีด้วยอาการอย่างนี้๓
(ในที่นี้ก็พึงจำแนกรูปขันธ์ที่เหลือเหมือนในรูปกัณฑ์)
สุขุมรูปทุกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับคำบาลีว่า อุปาทินฺน (อภิ.สงฺ.อ. ๔/๙๐)
๒ คำว่า กวฬิงการาหาร หมายถึงอาหารที่ทำเป็นคำกลืนกิน (อภิ.สงฺ.อ. ๖๔๕/๓๘๘)
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๔/๑๖๘-๑๗๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
ติกนัย
ปกิณณกติกะ
อัชฌัตติกอุปาทาติกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ รูปที่เป็นภายในเป็นอุปาทายรูป รูปที่เป็นภาย
นอกที่เป็นอุปาทายรูปก็มี ที่ไม่เป็นอุปาทายรูปก็มี
อัชฌัตติกอุปาทินนติกะ
รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ รูปที่เป็น
ภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
รูปที่เป็นภายในเป็นรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน รูปที่เป็นภายนอกที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึด
ถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
รูปที่เป็นภายในไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูปที่เป็นภายนอกที่เป็นกวฬิงการาหาร
ก็มี ที่ไม่เป็นกวฬิงการาหารก็มี๑
รูปขันธ์หมวดละ ๓ มีด้วยอาการอย่างนี้
สุขุมรูปติกะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๕/๑๗๑-๑๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๑๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
จตุกกนัย
อุปาทินนจตุกกะ
รูปขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ รูปที่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วย
ตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี รูปที่
ไม่เป็นอุปาทายรูป ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
อุปาทาอุปาทินนุปาทานิยจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูปที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
อุปาทาสัปปฏิฆจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
อุปาทาโอฬาริกจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี รูปที่ไม่เป็น
อุปาทายรูปที่เป็นรูปหยาบก็มี ที่เป็นรูปละเอียดก็มี
อุปาทาทูเรจตุกกะ
รูปที่เป็นอุปาทายรูปที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี รูปที่ไม่เป็นอุปาทายรูป
ที่เป็นรูปไกลก็มี ที่เป็นรูปใกล้ก็มี
ฯลฯ
ทิฏฐาทิจตุกกะ
รูปเป็นรูปที่เห็นได้ เป็นรูปที่สดับได้ เป็นรูปที่รู้ได้ เป็นรูปที่รู้แจ้งได้
รูปขันธ์หมวดละ ๔ มีด้วยอาการอย่างนี้๑

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๖/๑๗๖-๑๗๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๑.รูปขันธ์
ปัญจกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ รูปที่เป็นปฐวีธาตุ รูปที่เป็นอาโปธาตุ รูปที่เป็น
เตโชธาตุ รูปที่เป็นวาโยธาตุ รูปที่เป็นอุปาทายรูป
รูปขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้๑
ฉักกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ รูปที่โสตวิญญาณรู้ได้ รูปที่
ฆานวิญญาณรู้ได้ รูปที่ชิวหาวิญญาณรู้ได้ รูปที่กายวิญญาณรู้ได้ รูปที่มโนวิญญาณ
รู้ได้
รูปขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้๒
สัตตกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่มโนธาตุรู้ได้
รูปที่มโนวิญญาณธาตุรู้ได้
รูปขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้๓
อัฏฐกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ รูปที่จักขุวิญญาณรู้ได้ ฯลฯ รูปที่กายวิญญาณ
รู้ได้ ที่มีสัมผัสเป็นสุขก็มี ที่มีสัมผัสเป็นทุกข์ก็มี รูปที่มโนธาตุรู้ได้ รูปที่มโน-
วิญาณธาตุรู้ได้
รูปขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้๔

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๗/๑๗๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๘/๑๗๙
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๘๙/๑๗๙ ๔ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๐/๑๗๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
นวกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์
ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ และรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์
รูปขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้๑
ทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ และรูป
ที่ไม่เป็นอินทรีย์ ที่กระทบได้ก็มี ที่กระทบไม่ได้ก็มี
รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้๒
เอกาทสกนัย
รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ ได้แก่ รูปที่เป็นจักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ
ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ
โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ
รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ มีด้วยอาการอย่างนี้๓
นี้เรียกว่า รูปขันธ์
๒. เวทนาขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๓๔] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๑/๑๘๐ ๒ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๒/๑๘๐
๓ อภิ.สงฺ. ๓๔/๕๙๓/๑๘๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็น
รูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นสุขินทรีย์ก็มี ที่เป็น
ทุกขินทรีย์ก็มี ที่เป็นโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่เป็นโทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่เป็นอุเปกขินทรีย์
ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิด
แต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส๑
เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิด
แต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุ-
สัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่
เกิดแต่กายสัมผัส ที่เป็นสุขก็มี ที่เป็นทุกข์ก็มี เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณ-
ธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.มู. ๑๒/๙๗/๗๐, สํ.นิ. ๑๖/๒/๓, สํ.ข. ๑๗/๕๖/๔๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่เป็นสุขก็มี ที่เป็นทุกข์ก็มี เวทนาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส
เวทนาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็น
อัพยากฤตก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๓๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี๑ ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี๒ ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับบาลีว่า ทสฺสเนน ปหาตพฺพ หมายถึงธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค (อภิ.สงฺ.อ. ๘/๙๐)
๒ ตรงกับบาลีว่า ภาวนาย ปหาตพฺพ หมายถึงธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ (อภิ.สงฺ.อ. ๘/๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี๑ ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี๒ ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะ(กามาวจร)ก็มี ที่เป็นมหัคคตะ(รูปาวจรและอรูปาวจร)
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะ(โลกุตตระ)ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี๓
เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับบาลีว่า อาจยคามิ หมายถึงธรรมเป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๐/๙๑)
๒ ตรงกับบาลีว่า อปจยคามิ หมายถึงธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน (อภิ.สงฺ.อ. ๑๐/๙๑)
๓ อภิ.สงฺ.อ. ๑๗/๙๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๓๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลส
และไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
เวทนาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
เวทนาขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏ-
ทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี๑
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ อภิ.สงฺ.อ. ๘๓-๑๐๐/๙๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๓๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ทุกมูลกวาร จบ
ติกมูลกวาร
[๓๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๓๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุก็มี๑
เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี

เชิงอรรถ :
๑ เวทนาที่อยู่ในอเหตุกจิต ๑๘ นั้น เวทนาไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (อภิธัมมัตถสังคหะ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็น
อธิบดีก็มี
เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุตจาก
เหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ
อุภโตวัฑฒกวาร๑
[๔๓] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็น
เหตุและไม่มีเหตุก็มี

เชิงอรรถ :
๑ วาระที่ขยายทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ติกะและทุกะให้มากขึ้น (อภิ.วิ.อ. ๓๔/๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบาง
ดวงรู้ไม่ได้ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๔๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่
วิปปยุตจากอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติ-
มรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็น
ของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๓] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่
ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลาง
ก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
[๕๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่
วิปปยุตจากคันถะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์
ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรค
เป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุต
จากโอฆะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๕๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์
ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี๑ ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอก
ตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุต
จากโยคะก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ดู โยคะ ๔ ข้อ ๙๓๘ หน้า ๕๙๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์
ก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ
พหุวิธวาร
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจร
ก็มี ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่
เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ จึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆาน-
สัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบาก ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็น
กามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๒.เวทนาขันธ์
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑
ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์
ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็นอัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑
ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นกุศล ๑ ที่เป็นอกุศล ๑ ที่เป็น
อัพยากฤต ๑ ที่เป็นกามาวจร ๑ ที่เป็นรูปาวจร ๑ ที่เป็นอรูปาวจร ๑ ที่ไม่นับเนื่อง
ในวัฏฏทุกข์ ๑ จึงมี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ เพราะจักขุสัมผัสเป็น
ปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เวทนาขันธ์ที่เป็นวิบาก ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑
ที่ไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ๑ จึงมี
ฯลฯ
เวทนาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่เป็นกามาวจรก็มี
ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างมีด้วยอาการอย่างนี้
นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
พหุวิธวาร จบ
๓. สัญญาขันธ์
ทุกมูลกวาร
[๖๒] บรรดาขันธ์ ๕ นั้น สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๔ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่เป็นรูปาวจร
ก็มี ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขินทรีย์ก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยโสมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วย
โทมนัสสินทรีย์ก็มี ที่สัมปยุตด้วยอุเปกขินทรีย์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่
โสตสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส สัญญาที่เกิด
แต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณ-
ธาตุสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี สัญญาที่เกิดแต่
มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส
สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณ-
ธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ มีด้วยอาการอย่างนี้
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ได้แก่ สัญญาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดแต่กายสัมผัส ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยทุกข์ก็มี สัญญาที่เกิดแต่
มโนธาตุสัมผัส สัญญาที่เกิดแต่มโนวิญญาณธาตุสัมผัส ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็น
อกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๓] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี๑ ที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วย
อุเบกขาก็มี
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี

เชิงอรรถ :
๑ ตรงกับคำบาลีว่า วิปากธมฺมธมฺมา (อภิ.สงฺ.อ. ๓/๘๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
ก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
ปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่
ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตก
และวิจารก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขา
ก็มี
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรค
เบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่
ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของอเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของ
เสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลางก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่
่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีมรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี
ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่
มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็นภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและ
ภายนอกตนก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
สัญญาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระก็มี
สัญญาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวงรู้ไม่ได้ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจาก
อาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
สังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจาก
คันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะ
และไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจากนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่วิปปยุตจาก
นิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยปรามาสก็มี ที่วิปปยุตจากปรามาสก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี ที่วิปปยุต
จากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสก็มี
สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือก็มี ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอุปาทานก็มี ที่วิปปยุตจากอุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากอุปาทานแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่วิปปยุต
จากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองก็มี
สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจากกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่วิปปยุตจาก
กิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
โสดาปัตติมรรคก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วย
มรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้อง
ประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีวิตกก็มี ที่ไม่มีวิตกก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีวิจารก็มี ที่ไม่มีวิจารก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีปีติก็มี ที่ไม่มีปีติก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยปีติก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยสุขก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยสุขก็มี
สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี ที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นกามาวจรก็มี ที่ไม่เป็นกามาวจรก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นรูปาวจรก็มี
สัญาขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรก็มี ที่ไม่เป็นอรูปาวจรก็มี
สัญญาขันธ์ที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏ-
ทุกข์ก็มี
สัญญาขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
[๖๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
(พึงขยายติกะแม้ทั้งหมดให้พิสดารเหมือนในกุสลติกะ)
ทุกมูลกวาร จบ
ติกมูลกวาร
[๖๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๖๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายนอกตนเป็น
อารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
ติกมูลกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
อุภโตวัฑฒกวาร
[๗๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุก็มี ที่ไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่
เป็นอัพยากฤตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุก็มี ที่วิปปยุต
จากเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็มี ที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็มี ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๓] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุก็มี ที่ไม่
เป็นเหตุและไม่มีเหตุก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นวิบากก็มี ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากก็มี ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นโลกิยะก็มี ที่เป็นโลกุตตระ
ก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและ
ทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่จิตบางดวงรู้ได้ก็มี ที่จิตบางดวง
รู้ไม่ได้ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็น
อารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี ที่กิเลส
ไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลสก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยอาสวะก็มี ที่วิปปยุต
จากอาสวะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สหรคตด้วยปีติก็มี ที่สหรคต
ด้วยสุขก็มี ที่สหรคตด้วยอุเบกขาก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์
ของอาสวะก็มี ที่วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
ก็มี ที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
และมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๗๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดา-
ปัตติมรรคก็มี ที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี ที่ไม่มีเหตุต้องประหาณ
ด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ก็มี ที่
วิปปยุตจากสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติก็มี
ที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานก็มี ที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติ และนิพพานก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็น
อารมณ์ของสังโยชน์ก็มี ที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นของเสขบุคคลก็มี ที่เป็นของ
อเสขบุคคลก็มี ที่ไม่เป็นของเสขบุคคลและอเสขบุคคลก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นปริตตะก็มี ที่เป็นมหัคคตะ
ก็มี ที่เป็นอัปปมาณะก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๓] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยคันถะก็มี ที่วิปปยุต
จากคันถะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์
ของคันถะก็มี ที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นชั้นต่ำก็มี ที่เป็นชั้นกลาง
ก็มี ที่เป็นชั้นประณีตก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนก็มี
ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนก็มี ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโอฆะก็มี ที่วิปปยุต
จากโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี ที่มี
มรรคเป็นเหตุก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์
ของโอฆะก็มี ที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เกิดขึ้นก็มี ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็มี
ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑.ขันธวิภังค์] ๒.อภิธรรมภาชนีย์ ๓.สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี
ที่เป็นปัจจุบันก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๘๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยโยคะก็มี ที่วิปปยุต
จากโยคะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์
ของโยคะก็มี ที่วิปปยุตจากโยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นภายในตนก็มี ที่เป็น
ภายนอกตนก็มี ที่เป็นภายในตนและภายนอกตนก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
[๙๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี ที่ไม่
เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ก็มี
สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ ได้แก่ สัญญาขันธ์ที่มีธรรมภายในตนเป็นอารมณ์ก็มี
ที่มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี ที่มีธรรมภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์ก็มี
ฯลฯ
สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ มีด้วยอาการอย่างนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า :๕๗ }

2 ความคิดเห็น :