Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๔๐-๑๓ หน้า ๗๒๗ - ๗๘๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐-๑๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑



พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๕๘] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์
๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ
ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นวิบากให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปทำขันธ์ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรม
ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
และ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๒๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำ
มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปทำมหาภูตรูป
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
กฏัตตารูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๔)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
ทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๕)
[๕๙] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑
ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบาก
และทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๒๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
และที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ใน
ปฏิสนธิขณะ กฏัตตารูปทำขันธ์ที่เป็นวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรม
ที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่
เป็นวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑
ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น กฏัตตารูปทำขันธ์ที่เป็นวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๖๐] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและ
ที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
และทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำมหาภูตรูป
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๒๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
อารัมมณปัจจัย
[๖๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเกิดขึ้น
เพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โสตวิญญาณทำโสตายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฆานวิญญาณทำ
ฆานายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ชิวหาวิญญาณทำชิวหายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑
ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒
ทำขันธ์ ๒ และจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย
... ขันธ์ ๓ ทำ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓
ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์
๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่
เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
อธิปติปัจจัย
[๖๒] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อธิปติปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบาก ... มี ๓ วาระ (อธิปติปัจจัย
ไม่มีในปฏิสนธิขณะ)
... ทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็น
อุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๔)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตต-
สมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๕)
[๖๓] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑
ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
และที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรม
ที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่เป็นวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๖๔] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและ
ที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย
ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและ
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำมหาภูตรูปให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
[๖๕] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
อนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอารัมมณปัจจัย)
อัญญมัญญปัจจัย
[๖๖] ... เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุทำ
ขันธ์ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรม
ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์
๓ และหทัยวัตถุทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒
และหทัยวัตถุทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
[๖๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์
๓ ทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑ ให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็น
สมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ทำมหาภูตรูป ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ให้ เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่
เป็นวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากทำ
หทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑
ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและทำจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒
ทำขันธ์ ๒ และจักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย
ฯลฯ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓
ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำ
ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่
เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
นิสสยปัจจัย
[๖๘] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นิสสยปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับสหชาตปัจจัย)
อุปนิสสยปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย
[๖๙] ... เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย ... ได้แก่ ขันธ์ ๓
ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒ ให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย (ปัจจัยนี้
เหมือนกับอนันตรปัจจัย) (ย่อ)
อาเสวนปัจจัย
[๗๐] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำ
ขันธ์ ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ...
ทำขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่
เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ ๑ ทำขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ ทำขันธ์ ๒
และหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
กัมมปัจจัย
[๗๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ (ปัจจัยนี้เหมือนกับสหชาตปัจจัย)
วิปากปัจจัย
[๗๒] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะวิปากปัจจัย ได้แก่
มหาภูตรูป ๓ ทำมหาภูตรูป ๑ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒
ทำมหาภูตรูป ๒ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น
อุปาทายรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นวิบากและ
สภาวธรรมทั้ง ๒ มี ๓ วาระ
... ทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ... มี
๓ วาระ
อาหารปัจจัยเป็นต้น
... เพราะอาหารปัจจัย เพราะอินทรียปัจจัย เพราะฌานปัจจัย เพราะ
มัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย
เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๗๓] เหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๑๗ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
เหตุทุกนัย
[๗๔] อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " มี ๑๗ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับในกุสลติกะ)
อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๗๕] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะ
นเหตุปัจจัย ได้แก่ ... ทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็นวิบาก ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะ ทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ... ทำ
ขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นอเหตุกะทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐานรูป
ทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นในปฏิสนธิขณะซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ (๔)
[๗๖] สภาวธรรมที่เป็นวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบาก ... ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็น
วิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่
เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ โมหะ
ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
นอารัมมณปัจจัย
[๗๗] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทำสภาวธรรมที่เป็น
วิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย (ย่อ พึงขยายทุกบทให้พิสดาร)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๗๘] นเหตุปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๔ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๓๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
นฌานปัจจัย มี ๔ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ
นเหตุทุกนัย
[๗๙] นอารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๓ วาระ ฯลฯ
นกัมมปัจจัย " มี ๑ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๔ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย " มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๔ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับปัจจนียะในกุสลติกะ)
ปัจจนียะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๓. ปัจจยวาร
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๘๐] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๑๗ วาระ ฯลฯ
โนวิคตปัจจัย " มี ๕ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับอนุโลมปัจจนียะในกุสลติกะ)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๘๑] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๙ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๗ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๔ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๙ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๑๒ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๔. นิสสยวาร
ฌานปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
ติกนัย
สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัยและนอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " " มี ๒ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " " มี ๓ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับปัจจนียานุโลมในกุสลติกะ)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัจจยวาร จบ
๓. วิปากติกะ ๔. นิสสยวาร
๑-๔. ปัจจยจตุกกนัย
[๘๒] สภาวธรรมที่เป็นวิบากอิงอาศัยสภาวธรรมที่เป็นวิบากให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อิงอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ
เหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ ฯลฯ
นเหตุปัจจัย มี ๑๒ วาระ ฯลฯ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " มี ๑๒ วาระ
นิสสยวาร จบ
๓. วิปากติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๘๓] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นวิบากเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบาก (ย่อ พึงขยายทุกบทให้พิสดาร)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๘๔] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
(ย่อ พึงนับเหมือนการนับในกุสลติกะ)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
[๘๕] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเกิดระคนกับสภาวธรรมที่เป็นวิบากเพราะนเหตุ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งเป็นวิบาก ฯลฯ ขันธ์ ๒
เกิดระคนกับขันธ์ ๒ (พึงจำแนกทุกบท)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๘๖] นเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๒ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๒ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๒ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับปัจจนียะในกุสลติกะ)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๘๗] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับอนุโลมปัจจนียะในกุสลติกะ)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๘๘] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
มัคคปัจจัย " มี ๑ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " มี ๓ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับปัจจนียานุโลมในกุสลติกะ)
ปัจจนียานุโลม จบ
สังสัฏฐวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
๓. วิปากติกะ ๖. สัมปยุตตวาร
๑-๔. ปัจจยจตุกกนัย
[๘๙] สภาวธรรมที่เป็นวิบากสัมปยุตกับสภาวธรรมที่เป็นวิบากเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ สัมปยุตกับขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ
เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
นเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
สัมปยุตตวาร จบ
๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๙๐] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ
เหตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยเหตุ-
ปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยเหตุปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
[๙๑] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย
อารัมมณปัจจัย
[๙๒] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นวิบากโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศล
และอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผล เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นวิบากโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
ขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่เป็นวิบากด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผล เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็น
วิบาก โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มีความ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นวิบากด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (๓)
[๙๓] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่สั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน
พระเสขะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค พิจารณา
กิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกุศลโดยอารัมมณปัจจัย
อากิญจัญญายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลโดยอารัมมณปัจจัย
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
ขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว
จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ อากาสานัญจายตนกุศลเป็น
ปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ อากิญจัญญายตนกุศล
เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากโดยอารัมมณปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
พิจารณามรรค พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว รู้กิเลส
ที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นวิบากด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย
อากิญจัญญายตนกุศลเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๓)
[๙๔] สภาวธรรมที่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอรหันต์
พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอรหันต์
เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ
... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ
... ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนกิริยาเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนกิริยาโดยอารัมมณปัจจัย
อากิญจัญญายตนกิริยาเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา โดยอารัมมณปัจจัย
ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่
เป็นวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอารัมมณปัจจัย
พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึงเกิดขึ้น
โดยเป็นตทารมณ์ เห็นแจ้งโสตะ ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง
... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๔๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ
โดยอารัมมณปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะพิจารณานิพพาน
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทานและมรรคโดยอารัมมณปัจจัย พระเสขะหรือ
ปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (๓)
อธิปติปัจจัย
[๙๕] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอธิปติ-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอธิปติ-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผลให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นวิบากให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว ได้แก่ สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิบดีธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติ-
ปัจจัย (๔)
[๙๖] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ
อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพาน
เป็นปัจจัยแก่ผลโดยอธิปติปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระ
เสขะพิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
โวทานและมรรคโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น ยินดีเพลิดเพลินโสตะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดี
เพลิดเพลินโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัย
[๙๗] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเกิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ปัญจวิญญาณเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุที่เป็นวิบากโดย
อนันตรปัจจัย มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นวิบากโดย
อนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตโดยอนันตรปัจจัย
มโนธาตุที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาโดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน
เป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ มรรคเป็น
ปัจจัยแก่ผล อนุโลมของพระเสขะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนกุศลของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ โดย
อนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
อนุโลมของพระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของ
ท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากโดยอนันตรปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[๙๘] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยสมนันตร-
ปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)
สหชาตปัจจัย
[๙๙] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยสหชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบาก ฯลฯ มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
โดยสหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ...
ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม
มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นวิบากโดยสหชาตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็น
วิบากและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์
ที่เป็นวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์
ที่เป็นวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยสหชาตปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาต-
ปัจจัย (๑)
อัญญมัญญปัจจัย
[๑๐๐] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอัญญ-
มัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบาก ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็น
ปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัญญมัญญปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่
เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุโดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ (๓)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นวิบากฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นวิบาก ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและหทัยวัตถุ
ฯลฯ (๑) (มี ๗ วาระ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
นิสสยปัจจัย
[๑๐๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยนิสสย-
ปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบาก ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ
กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
เหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
และจักขายตนะ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณและกายายตนะ ฯลฯ
ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑
ที่เป็นวิบากและหทัยวัตถุ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ที่
เป็นวิบากและมหาภูตรูป ฯลฯ (ย่อ) ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากและหทัยวัตถุ ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป (๒) (มี ๑๓
วาระ)
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๐๒] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์
ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำสุขทางกายแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล
ฯลฯ ทำลายสงฆ์ทำทุกข์ทางกายแล้วจึงให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ ทำลายสงฆ์
สุขทางกาย ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาโดย
อุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำสุขทางกายแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำทุกข์ทางกายแล้ว ทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
[๑๐๓] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำศรัทธาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ
ทำศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาจึงให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิอาศัยราคะ ... โทสะ
... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ... ความปรารถนาแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา ... ศีล ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรม
ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่
จตุตถมรรค ฯลฯ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่
ตติยมรรค ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย พระเสขะทำ
มรรคจึงทำกุศลสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯลฯ มรรคของพระเสขะเป็นปัจจัยแก่
อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย
ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ พยาบาท ฯลฯ มาตุฆาตกรรมเป็น
ปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิโดย
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
สังฆเภทกกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอุป-
นิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำศรัทธาแล้วทำตนให้เดือดร้อน ให้ร้อนรน
เสวยทุกข์มีการแสวงหาเป็นมูล ฯลฯ ทำความปรารถนาแล้วทำตนให้เดือดร้อน ให้
ร้อนรน ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่วิบาก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำมรรคแล้วทำกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา มรรคของพระอรหันต์เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ
ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๑๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง
คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ทำอุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วทำ
กิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
ทุกข์ทางกายและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลทำอุตุแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ทำโภชนะ
... เสนาสนะแล้วจึงให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๕๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๐๕] สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ กาย ... รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุ-
ปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว
จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา-
ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
ปุเรชาตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ
และวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ เพราะ
ปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ และหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
ปุเรชาตปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๑๐๖] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเกิดภายหลัง
เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๑๐๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัย
แก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย ฯลฯ โดยอาเสวนปัจจัย
ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
กัมมปัจจัย
[๑๐๘] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยกัมม-
ปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นวิบาก ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ฯลฯ
เจตนาเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็น
วิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดย
กัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดยกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง ได้แก่ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย
กัมมปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่
ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ
ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดย
กัมมปัจจัย (๔)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็น
เหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๕)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยกัมมปัจจัย (๑)
วิปากปัจจัย
[๑๐๙] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยวิปาก
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยวิปากปัจจัย ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยวิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย
วิปากปัจจัย ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปากปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็น
วิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปโดยวิปากปัจจัย (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
อาหารปัจจัย
[๑๑๐] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอาหาร-
ปัจจัย ได้แก่ อาหารที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ มี ๓ วาระ (พึงทำ
แม้ปฏิสนธิให้เป็น ๓ วาระ)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
โดยอาหารปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
อาหารปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑)
อินทรียปัจจัย
[๑๑๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอินทรีย-
ปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มปฏิสนธิ)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
โดยอินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยอินทรียปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรียปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดย
อินทรียปัจจัย กายินทรีย์ ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และจักขุวิญญาณเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย กายินทรีย์และกาย-
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย (๑)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
ฌานปัจจัย
[๑๑๒] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยฌาน-
ปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
โดยฌานปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยฌานปัจจัย ได้แก่ องค์ฌานที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยฌานปัจจัย
มัคคปัจจัย
[๑๑๓] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยมัคค-
ปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยมัคคปัจจัย ได้แก่ องค์มรรคที่ไม่เป็น
วิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยมัคคปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย
[๑๑๔] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยสัมป-
ยุตตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
โดยสัมปยุตตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยสัมปยุตตปัจจัย ได้แก่ขันธ์ ๒ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสัมปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย
[๑๑๕] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
วิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ
สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
วิปปยุตตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยวิปปยุตตปัจจัย (๓)
อัตถิปัจจัย
[๑๑๖] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอัตถิ-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ-
ปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
[๑๑๗] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยอัตถิปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่
เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก ฯลฯ มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยอัตถิปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก
...ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม
มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
ปุเรชาตะ ได้แก่ พระอรหันต์เห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ
ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
อัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะหรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ ยินดี เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อกุศลและอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบาก จึง
เกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ ฯลฯ เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ จิตตุปบาท
ที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดยอัตถิปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ พระเสขะ
หรือปุถุชนเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดี ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อัตถิปัจจัย (๓)
[๑๑๘] สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและ
ปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากและ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๖๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ
สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระและอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นวิบากและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้
ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเกิดภายหลังและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดย
อัตถิปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ
สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์
๓ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอัตถิปัจจัย มี
๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระและอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัย
แก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากซึ่งเกิดภายหลังและ
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒)
นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย
[๑๑๙] สภาวธรรมที่เป็นวิบาก (นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยเหมือนกับอนันตร-
ปัจจัย อวิคตปัจจัยเหมือนกับอัตถิปัจจัย)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๒๐] เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๑๐ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาคนัย
อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๕ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๗ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนการนับอนุโลมแห่งปัญหาวารในกุสลติกะที่นับไว้แล้ว)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๒๑] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบาก
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยสหชาตปัจจัย (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉา-
ชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่
เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยกัมมปัจจัย (๔)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
และที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยสหชาตปัจจัย (๕)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุป-
นิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
เป็นวิบากโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่เป็นวิบาก มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระและอินทรียะ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและ
ปุเรชาตะ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก มี ๔ อย่าง คือ
สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๒๒] นเหตุปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นสหชาตปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นนิสสยปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๔ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๑๔ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑๖ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๐ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
โนอัตถิปัจจัย มี ๑๐ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๑๖ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๑๖ วาระ
โนอวิคตปัจจัย มี ๑๐ วาระ
สภาคนัย
นอารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑๖ วาระ ฯลฯ
โนอวิคตปัจจัย " มี ๑๐ วาระ
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนการนับปัจจนียะในกุสลติกะ)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุสภาคนัย
[๑๒๓] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
นอธิปติปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
นสมนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย " มี ๓ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย " มี ๗ วาระ
นกัมมปัจจัย " มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย " มี ๔ วาระ
นอาหารปัจจัย " มี ๗ วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
นอินทรียปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
นฌานปัจจัย " มี ๗ วาระ
นมัคคปัจจัย " มี ๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
โนวิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ (๑๙)
ฆฏนา
นอารัมมณปัจจัย กับปัจจัย ๕ คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ
มี ๗ วาระ ฯลฯ
นอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ
นวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๔ วาระ ฯลฯ
นสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๓ วาระ ฯลฯ
โนวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๗ วาระ
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนการนับอนุโลมปัจจนียะในกุสลติกะ ผู้รู้พึงสาธยายมัคค-
ปัจจัยนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๒๔] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อธิปติปัจจัย " มี ๑๐ วาระ
อนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย " มี ๗ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๓. วิปากติกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย " มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย " มี ๑๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย " มี ๙ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย " มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย " มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย " มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย " มี ๗ วาระ
อินทรียปัจจัย " มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย " มี ๗ วาระ
มัคคปัจจัย " มี ๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย " มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย " มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย " มี ๑๓ วาระ
นัตถิปัจจัย " มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย " มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย " มี ๑๓ วาระ
ติกนัย
อธิปติปัจจัย กับนเหตุปัจจัย และนอารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี ๑๓ วาระ
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนการนับปัจจนียานุโลมในกุสลติกะ)
ปัจจนียานุโลม จบ
วิปากติกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๗ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ
ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัย
ขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์
เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ
มหาภูตรูป ๒ อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถึอและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๘ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึด
ถือแต่เป็นอารมณ์ ของอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่กรรมประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๗๙ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานและ
อาศัยมหาภูตรูป เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น
อารัมมณปัจจัย
[๒] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของ อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ เพราะอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
ธิปติปัจจัย
[๓] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๐ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอธิปติปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานและ
อาศัยมหาภูตรูป เกิดขึ้น
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๔] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของ อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะ
สหชาตปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป
๑ ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ... มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตต-
สมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มี
อาหารเป็นสมุฏฐาน .... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๑ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ... มี ๓ วาระ
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ (๑)
อัญญมัญญปัจจัย
[๕] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุอาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหา
และทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิด
ขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูป ๒
อาศัยมหาภูตรูป ๒ เกิดขึ้น สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ... อาศัยมหาภูตรูป
๑ ฯลฯ (๑)
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มี
อุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ (๑)
... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๒ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นิสสยปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย
[๖] ... อาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทาน ... เพราะนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ... เพราะอุปนิสสยปัจจัย
มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย
[๗] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย
[๘] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ แต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรม
อันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ฯลฯ (๑)
กัมมปัจจัย
[๙] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะกัมมปัจจัย (มี ๙ วาระ เหมือนกับเหตุปัจจัย)
วิปากปัจจัย
[๑๐] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๓ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะวิปากปัจจัย ได้แก่ ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและ
ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่เป็นวิบากซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน เกิดขึ้น ฯลฯ มี ๙ วาระ
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๑๑] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะอาหารปัจจัย ฯลฯ เพราะอินทรียปัจจัย เพราะ
ฌานปัจจัย เพราะมัคคปัจจัย เพราะสัมปยุตตปัจจัย เพราะวิปปยุตตปัจจัย เพราะอัตถิปัจจัย
เพราะนัตถิปัจจัย เพราะวิคตปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย
(พึงขยายให้พิสดารเหมือนปฏิจจวารแห่งกุสลติกะที่ท่านขยายให้พิสดารตาม
แนวทางแห่งการสาธยาย)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๒] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๕ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๔ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๙ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
เหตุทุกนัย
อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " มี ๙ วาระ
(พึงนับเหมือนการนับปฏิจจะในกุสลติกะที่นับไว้ตามแนวทางแห่งการสาธยาย)
อนุโลม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๕ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๑๓] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น
อเหตุกะซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
เกิดขึ้น ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๓ และ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น หทัยวัตถุ
อาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑
เกิดขึ้น ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น สำหรับเหล่า
อสัญญสัตตพรหม ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของ อุปาทานเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์
ที่เป็นอเหตุกะซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน
รูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและ
เป็นอารมณ์ของ อุปาทานเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น (๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๖ }

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๔. อุปาทินนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์อุปาทานเกิดขึ้น ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น ...
อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น ... ที่
เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน
ฯลฯ อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่เป็นอเหตุกะ
ซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานและอาศัย
มหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
นอารัมมณปัจจัย
[๑๔] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ
กฏัตตารูปอาศัยขันธ์ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดขึ้น หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้น (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๐ หน้า :๗๘๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น