พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑-๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๘ ปัฏฐาน ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระอภิธรรมปิฎก
ธัมมานุโลม ติกปัฏฐาน
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
ฯลฯ มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
นิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
มิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อุปนิสสยปัจจัยมี ๒ อย่างคือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วทําฌานที่เป็น
มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น
อัปปมาณะ ... ปัญญา แล้วทําฌานที่เป็นมหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น
ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
มหัคคตะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทําสมาบัติที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๗๕] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ...
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาตปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
อัปปมาณะโดยปุเรชาตปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๗๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน
โดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๗๗] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
ปริตตะซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานนั้นเองโดยอาเสวนปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
เองโดยอาเสวนปัจจัย บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็น
ปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอาเสวนปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย
อาเสวนปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอาเสวน-
ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ
ซึ่งเกิดหลัง ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย (๑)
กัมมปัจจัย
[๗๘] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมม-
ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเป็น
ปริตตะและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมม-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง
เป็นมหัคคตะโดยกัมมปัจจัย (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมม-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยกัมม-
ปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
มหัคคตะโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง
เป็นมหัคคตะและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
[๗๙] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ
โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่ง
เป็นอัปปมาณะโดยกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยกัมมปัจจัย
ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
อัปปมาณะโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฐานรูปโดยกัมมปัจจัย (๓)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
วิปากปัจจัย
[๘๐] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
วิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งเป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่
หทัยวัตถุโดยวิปากปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยวิปากปัจจัย
ฯลฯ (มี ๓ วาระ พึงเพิ่มปวัตติกาลและปฏิสนธิกาล) (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย
วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ (มีเฉพาะปวัตติกาล)
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๘๑] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อาหารปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย
มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย
ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย
ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
วิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ
โดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
อัปปมาณะโดยวิปปยุตตปัจจัย (๓)
[๘๒] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
วิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
วิปปยุตตปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยวิปปยุตต-
ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
วิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
วิปปยุตตปัจจัย (๑)
อัตถิปัจจัย
[๘๓] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัย
แก่หทัยวัตถุโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๑
ฯลฯ สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิ-
ปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย
แก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ
โดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอัตถิปัจจัย
มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะ
โดยอัตถิปัจจัย (๓)
[๘๔] สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิ-
ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
อัตถิปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
มหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓)
[๘๕] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ
โดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดย
อัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย
อัตถิปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
อัปปมาณะโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (๓)
[๘๖] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นปริตตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และ
อินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่
กายนี้โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัปปมาณะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัปปมาณะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓
โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๒)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ
โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและมหาภูตรูปเป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กาย
นี้โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
มหัคคตะโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดย
อัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นมหัคคตะ และ
หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ และหทัยวัตถุ ฯลฯ
เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย (๒)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๘๗] เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๑๑ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๔ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๗ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๗ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๗ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๘ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๘๘] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดย
อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย
กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
มหัคคตะโดยสหชาตปัจจัยและกัมมปัจจัย (๔)
[๘๙] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ
โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอารัมมณ-
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อารัมมณปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย (๓)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็น
อัปปมาณะโดยสหชาตปัจจัย (๔)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
ปริตตะ มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
อัปปมาณะ มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๒)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ
มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๑)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะและที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น
มหัคคตะ มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๙๐] นเหตุปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นนิสสยปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๔ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๔ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๑๕ วาระ ฯลฯ
นมัคคปัจจัย มี ๑๕ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๑๒ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๑๐ วาระ
โนอัตถิปัจจัย มี ๑๐ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๑๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๑๕ วาระ
โนอวิคตปัจจัย มี ๑๐ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๙๑] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๗ วาระ ฯลฯ
นมัคคปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๗ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๙๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๑๑ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๒. ปริตตติกะ ๗. ปัญหาวาร
อัญญมัญญปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๙ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี ๔ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๗ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
ปริตตติกะ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เกิด
ขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เกิด
ขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... ในปฏิสนธิขณะ ... อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒... (๑)
อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๒] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย (ย่อ) เพราะอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๓] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๔] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งมีปริตตะ
เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๓
อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... โมหะที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งมีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งมี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
นอธิปติปัจจัย
[๕] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[๖] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่
มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์ไม่มีปฏิสนธิ) (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (นปัจฉาชาตปัจจัยและ
นอาเสวนปัจจัยเหมือนกับนอธิปติปัจจัย)
นกัมมปัจจัย
[๗] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยขันธ์ที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยขันธ์ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์เกิดขึ้นเพราะนกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัย
ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น (๑)
นวิปากปัจจัยเป็นต้น
[๘] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนวิปากปัจจัย (ไม่มีปฏิสนธิ) เพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปัญจวิญญาณเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... เพราะ
นมัคคปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งมีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนมัคคปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งมี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
นวิปปยุตตปัจจัย
[๙] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์อาศัยสภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑
ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๑๐] นเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๑๑] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สมนันตรปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี ๒ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย ” มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย ” มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย ” มี ๒ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
(พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปฏิจจวาร จบ
(สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร และสัมปยุตตวารเหมือน
กับปฏิจจวาร)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๓] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เหตุที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๑๔] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
แล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว พระอริยะพิจารณากิเลสที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาทิพพจักขุ พิจารณาทิพพโสตธาตุ
พิจารณาอิทธิวิธญาณที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณ เห็น
แจ้งขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะ
ซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒)
[๑๕] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะ
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาอิทธิวิธญาณที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ
ฯลฯ อนาคตังสญาณ เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโต-
ปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌานปัจจเวกขณะ ฯลฯ
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนปัจจเวกขณะ พิจารณาทิพพจักขุปัจจเวกขณะ
พิจารณาทิพพโสตธาตุปัจจเวกขณะ พิจารณาอิทธิวิธญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ
เจโตปริยญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ
ยถากัมมูปคญาณปัจจเวกขณะ ฯลฯ อนาคตังสญาณปัจจเวกขณะ พระอริยะ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
พิจารณากิเลสที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้
กิเลสที่เคยเกิดขึ้น บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น
ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของ
บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ด้วยเจโต-
ปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (๒)
[๑๖] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว
พิจารณามรรค พิจารณาผล บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็น
อัปปมาณะซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นอัปปมาณะซึ่ง
มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน
พิจารณามัคคปัจจเวกขณะ พิจารณาผลปัจจเวกขณะ พิจารณานิพพานปัจจเวกขณะ
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นปริตตะซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
ด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่เจโต-
ปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณาเจโตปริยญาณที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์ พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ พิจารณาอนาคตังสญาณ รู้จิต
ของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ด้วย
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (๓)
อธิปติปัจจัย
[๑๗] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นปริตตะซึ่งมีปริตตะเป็น
อารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล
พิจารณาทิพพจักขุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพโสตธาตุ ฯลฯ
อิทธิวิธญาณที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสา-
นุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒)
[๑๘] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาวิญญาณัญจายตนะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ อิทธิวิธญาณที่มี
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
มหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ
ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดี
เพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นมหัคคตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคล
พิจารณาปฐมฌานปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณา
อนาคตังสญาณปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่
เป็นปริตตะซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๒)
[๑๙] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ
สหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะ
พิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณามัคคปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผล
ปัจจเวกขณะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานปัจจเวกขณะให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น (๒)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระเสขะ
พิจารณาเจโตปริยญาณที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณาปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น (๓)
อนันตรปัจจัย
[๒๐] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติ-
จิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็น
ปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
อาวัชชนจิตที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๓)
[๒๑] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
อุปปัตติจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิตที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ภวังคจิตที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
อาวัชชนจิตที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดย
อนันตรปัจจัย (๓)
[๒๒] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตร-
ปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล
ผลเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ มัคคปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ผลปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ นิพพาน
ปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ เจโตปริยญาณที่มีอัป-
ปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ อนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีปริตตะเป็นอารมณ์โดย
อนันตรปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ มัคคปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มี
มหัคคตะเป็นอารมณ์ ผลปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
นิพพานปัจจเวกขณะเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ผลเป็นปัจจัย
แก่วุฏฐานะที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยอนันตรปัจจัย (๓)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
สมนันตรปัจจัย
[๒๓] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย)
สหชาตปัจจัยเป็นต้น
[๒๔] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย เป็นปัจจัยโดย
นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงเพิ่มให้เหมือนกับปฏิจจวาร)
อุปนิสสยปัจจัย
[๒๕] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ มานะ ฯลฯ
ทิฏฐิ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่มี
ปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้ว ทําฌาน
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ
ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะและความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้
เกิดขึ้น อาศัยศีลที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ สุขทาง
กาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายแล้วทําฌานที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๒๖] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูป-
นิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้น มีมานะถือทิฏฐิอาศัยศีลที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ
ราคะ ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ทําฌานที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ฯลฯ
ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ความปรารถนาโดย
อุปนิสสยปัจจัย (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ความปรารถนา สุขทางกาย และทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์แล้วทําฌาน
ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้
เกิดขึ้นอาศัยศีลที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ความปรารถนาแล้วทําฌานที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ความปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๒๗] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ
อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์แล้วทํา
ฌานที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาแล้ว ทําฌานที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น
ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์แล้วให้
ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำ
วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์
ฯลฯ ปัญญาแล้วให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์ ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญา
สุขทางกาย และทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์แล้วทํา
ฌานที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติ
ให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาแล้วทําฌานที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น
ศรัทธาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
อาเสวนปัจจัย
[๒๘] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีปริตตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ อนุโลมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (๒)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
[๒๙] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดก่อน ๆ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวนปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ อนุโลมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่
โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดยอาเสวนปัจจัย (๒)
[๓๐] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์ซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอาเสวน-
ปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (๑)
กัมมปัจจัย
[๓๑] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีมหัคคตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๒)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
[๓๒] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยกัมมปัจจัย
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
วิบากซึ่งมีอัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีปริตตะเป็นอารมณ์โดยกัมมปัจจัย (๒)
วิปากปัจจัยเป็นต้น
[๓๓] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะ
เป็นอารมณ์โดยวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย
เป็นปัจจัยโดยอัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย เป็น
ปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๓๔] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
อาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๕ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๓ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๓ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๓ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๓ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๓๕] สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็น
อารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
[๓๖] สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะ
เป็นอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
[๓๗] สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี
อัปปมาณะเป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็น
อารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒)
สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์โดยอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๓๘] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ
นนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ
นมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ
โนอัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๓๙] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
นมัคคปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๙๒] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นิสสยปัจจัย ” มี ๓ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ๗. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อาเสวนปัจจัย ” มี ๕ วาระ
กัมมปัจจัย ” มี ๕ วาระ
วิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ ฯลฯ
สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
อัตถิปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นัตถิปัจจัย ” มี ๙ วาระ
วิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
อวิคตปัจจัย ” มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัญหาวาร จบ
ปริตตารัมมณติกะ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๔. หีนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑๔. หีนติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมชั้นต่ำอาศัยสภาวธรรมชั้นต่ำเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ชั้นต่ำเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ เกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมชั้นกลางอาศัยสภาวธรรมชั้นต่ำเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ชั้นต่ำเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมชั้นต่ำและชั้นกลางอาศัยสภาวธรรมชั้นต่ำเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ชั้นต่ำเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
[๒] สภาวธรรมชั้นกลางอาศัยสภาวธรรมชั้นกลางเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ชั้นกลางเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
... อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูป
อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
[๓] สภาวธรรมชั้นประณีตอาศัยสภาวธรรมชั้นประณีตเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
มี ๓ วาระ
[๔] สภาวธรรมชั้นกลางอาศัยสภาวธรรมชั้นกลางและชั้นประณีตเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ชั้นประณีตและอาศัยมหาภูตรูปเกิด
ขึ้น (๑)
[๕] สภาวธรรมชั้นกลางอาศัยสภาวธรรมชั้นต่ำและชั้นกลางเกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ชั้นต่ำและอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
(พึงขยายหีนติกะให้พิสดารเหมือนกับสังกิลิฏฐติกะ บริบูรณ์แล้ว)
หีนติกะ จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ ... (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้
ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัย
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓
และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓)
[๒] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
[๓] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปอาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง
สองเกิดขึ้น ...อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัย-
วัตถุเกิดขึ้น มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ...
จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
[๔] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้
ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้
ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตต-
สมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่นอนและอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๕] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๓
อาศัยขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ
ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น
(ด้วยเหตุนี้ พึงขยายปัจจัยทั้งหมดให้พิสดาร ย่อ)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๖] เหตุปัจจัย มี ๙ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๓ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๙ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๙ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๓ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๗] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป
อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัย
ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ
ที่เป็นภายนอก ฯลฯ ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ฯลฯ
สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วย
อุทธัจจะอาศัยขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอารัมมณปัจจัย
[๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์
ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น (ย่อ)
นอธิปติปัจจัย
[๙] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนอาศัยขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอนอาศัยขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปอาศัย
ขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดขึ้น ฯลฯ อาศัยขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุอาศัยขันธ์เกิดขึ้น ขันธ์อาศัยหทัยวัตถุเกิดขึ้น ...
อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ (๑)
นอนันตรปัจจัย
[๑๐] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองอาศัยสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นเพราะนอนันตรปัจจัย (ย่อ พึงขยายทุกปัจจัยให้พิสดาร)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๑๑] นเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๑๒] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นอนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๑. ปฏิจจวาร
นสมนันตรปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๖ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๙ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๑๓] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สมนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ
สหชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ ฯลฯ
วิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปฏิจจวาร จบ
(สหชาตวารเหมือนกับปฏิจจวาร)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๔] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
[๑๕] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ หทัยวัตถุทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุ
ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง
ทำหทัยวัตถุ ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่
นอน ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผล
แน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำ
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตตสมุฏฐาน-
รูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๔)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำ
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น จิตต-
สมุฏฐานรูปทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๕)
[๑๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและทำหทัยวัตถุให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่
นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่
จิตตสมุฏฐานรูปทำขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำ
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็น
ปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ ทำขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่
นอนและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและทำมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้ผล
แน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (มี ๓
วาระ เหมือนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด)
อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๑๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย (ย่อ พึงจําแนกเหมือน
กับปัจจยวารในกุสลติกะ) เพราะอวิคตปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๑๘] เหตุปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๗ วาระ
อธิปติปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สมนันตรปัจจัย มี ๗ วาระ
สหชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี ๗ วาระ
นิสสยปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี ๗ วาระ
อาเสวนปัจจัย มี ๗ วาระ
กัมมปัจจัย มี ๑๗ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อินทรียปัจจัย มี ๑๗ วาระ
ฌานปัจจัย มี ๑๗ วาระ
มัคคปัจจัย มี ๑๗ วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ
วิปปยุตตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
อัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ
วิคตปัจจัย มี ๗ วาระ
อวิคตปัจจัย มี ๑๗ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๑๙] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทำขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัย
เกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ หทัยวัตถุ
ทำขันธ์ให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ... ทำมหาภูตรูป
๑ ฯลฯ สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ จักขุวิญญาณทำจักขายตนะให้
เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ขันธ์ที่
เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น โมหะที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะทำขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
นอารัมมณปัจจัย
[๒๐] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอารัมมณปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูป
ทำขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (เหมือนกับกุสลติกะ
พึงเพิ่มเป็น ๕ วาระ)
นอธิปติปัจจัย
[๒๑] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนทำขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้
ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอนทำขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐาน
รูปทำขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ทำขันธ์ ๒
ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สําหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ จักขุวิญญาณทำ
จักขายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณทำกายายตนะให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น
ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๒)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบ
และให้ผลแน่นอนทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๓)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่
นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่
อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนทำขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและ
ทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำสภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้
ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอธิปติปัจจัย
ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนทำขันธ์ที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่
นอนและทำหทัยวัตถุให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น (๑)
นอนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๒๒] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองทำสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้นเพราะนอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะโนนัตถิปัจจัย
เพราะโนวิคตปัจจัย
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๒๓] นเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๗ วาระ
นอนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย มี ๖ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๑๗ วาระ
นอาหารปัจจัย มี ๑ วาระ
นอินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย มี ๕ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๒๔] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นอธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๓. ปัจจยวาร
นอนันตรปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ
นสมนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๖ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๑๗ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๗ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๑๗ วาระ
นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
โนนัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ
โนวิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๒๕] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ (ย่อ)
อวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัจจยวาร จบ
(นิสสยวารเหมือนกับปัจจยวาร)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๒๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑
ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๒๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๒๘] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ (ย่อ)
กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ
อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๒๙] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่
แน่นอนโดยอาการทั้งสองเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่
เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (๑)
นอธิปติปัจจัย
[๓๐] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและ
ให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
นปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[๓๑] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี
สภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓
เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒
ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ เกิดระคน
กับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน
ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ผิดและให้ผลแน่นอนเพราะนปัจฉาชาตปัจจัย (บริบูรณ์แล้ว)
นอาเสวนปัจจัยเป็นต้น
[๓๒] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองเพราะนอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ
ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด
และให้ผลแน่นอนเพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ... เกิดระคนกับปัญจวิญญาณ ฯลฯ เพราะ
นมัคคปัจจัย ... เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง
ฯลฯ
สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ
ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓
เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกันขันธ์ ๒
ฯลฯ (๑)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ เกิดระคน
กับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๓๓] นเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ
พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] ๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ
นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ
นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ
นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๓๔] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ
นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๒ วาระ
นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นอาเสวนปัจจัย ” มี ๑ วาระ
นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ
นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๓๕] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ
อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ (ย่อ)
อวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ สังสัฏฐวาร จบ
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น