Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๑-๔ หน้า ๑๖๒ - ๒๑๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๓๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
นวดเฟ้นท่านจนถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๐ )
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วย
กันนวดเฟ้นท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่อง ๔๑)
เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันอาบน้ำให้ท่าน ท่านถึง
แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๔๒ )
สมัยนั้น ภิกษุหนึ่งรูปอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
อาบน้ำให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแก่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
อาบน้ำให้ท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๔)
เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเอาน้ำมันมาทาให้ท่าน
ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๔๕ )
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
เอาน้ำมันมาทาให้ท่าน ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
เอาน้ำมันมาทาให้ท่าน แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔๗)
เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง
[๑๘๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันพยุงให้ท่าน
ลุกขึ้น ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า
ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่๔๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
พยุงให้ท่านลุกขึ้น ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๔๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
พยุงให้ท่านลุกขึ้น แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้า
พระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๐)
เรื่องทำให้ล้ม ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันทำให้ท่านล้มลง ท่าน
ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
ทำให้ท่านล้มลง ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๕๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
ทำให้ท่านล้มลง แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๓)
เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงช่วยกันให้ท่านฉันข้าว ท่านถึง
แก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ”
(เรื่องที่ ๕๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่าจึงช่วยกัน
ให้ท่านฉันข้าว ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเรา
ต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๕๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงช่วยกัน
ให้ท่านฉันข้าว แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวก
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๖)
เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายให้ท่านดื่มน้ำ ท่านถึงแก่
มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงให้ท่าน
ดื่มน้ำ ท่านถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๕๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายมีความประสงค์จะฆ่า จึงให้ท่าน
ดื่มน้ำ แต่ท่านไม่ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอคิดอย่างไร” “พวกข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะฆ่า พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่
ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๕๙)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงมีครรภ์กับชายชู้ ๑ เรื่อง
[๑๘๖] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ม่ายผัวร้าง ได้มีครรภ์กับชายชู้ นาง
บอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ท่านรับคำแล้ว
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงนั้น ทารกถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๐)
เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตร จักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ท่านรับคำแล้ว ได้
ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน ทารกถึงแก่ความตาย แต่มารดาไม่ตาย ท่านเกิด
ความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๑)
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน มารดาถึงแก่ความตายแต่ทารกไม่ตาย ภิกษุ
นั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๒)
เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนตาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน มารดาและบุตรถึงแก่ความตายทั้ง ๒ คน
ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก”
(เรื่องที่ ๖๓)
เรื่องฆ่ามารดาและบุตรทั้ง ๒ คนไม่ตาย ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ชายคนหนึ่งมีภรรยา ๒ คน คนหนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งไม่เป็นหมัน
หญิงหมันบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “ถ้านางคนนั้นคลอดบุตรจักได้ครอบครอง
ทรัพย์สมบัติทั้งหมด พระคุณเจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว
ได้ให้ยาทำแท้งแก่หญิงที่ไม่เป็นหมัน แต่มารดาและบุตรไม่ตาย ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๖๔)
เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง
[๑๘๗] สมัยนั้น หญิงมีครรภ์คนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณ
เจ้าโปรดหายาทำแท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง เธอจงรีด” นางรีด
ครรภ์ทำให้แท้งบุตร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๕)
เรื่องนาบครรภ์ให้ร้อน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงมีครรภ์บอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหายาทำ
แท้งให้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิง เธอจงนาบครรภ์ให้ร้อน” นางนาบ
ครรภ์ให้ร้อนจนแท้งบุตร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงหมันคนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้าโปรดหา
ยาที่ทำให้ดิฉันมีลูกได้ด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้วได้ให้ยาแก่หญิงหมันนั้น นางถึง
แก่ความตาย ภิกษุนั้นเกิดกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖๗)
เรื่องหญิงไม่เป็นหมัน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น หญิงไม่เป็นหมันคนหนึ่งบอกภิกษุที่นางอุปถัมภ์ว่า “พระคุณเจ้า
โปรดหายาที่ทำให้ดิฉันหยุดมีลูกด้วยเถิด” ภิกษุนั้นรับคำแล้วได้ให้ยาแก่หญิงลูกดก
นั้น นางถึงแก่ความตาย ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖๘)
เรื่องจี้ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้นิ้วมือจี้ภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มพวกภิกษุ
สัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เธอเหนื่อยหายใจไม่ทันถึงแก่มรณภาพ ภิกษุเหล่านั้นเกิด
ความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๖๙)
เรื่องทับ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ช่วยกันทับภิกษุรูปหนึ่งในกลุ่มพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์จนถึงแก่มรณภาพ ด้วยตั้งใจว่าจักลงโทษ พวกเธอเกิดความกังวลใจว่า
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์” ๑ (เรื่องที่ ๗๐)

เชิงอรรถ :
๑ ยสฺมา ปน เต กมฺมาธิปฺปายา น มรณาธิปฺปายา, ตสฺมา ปาราชิกํ น วุตฺตํ เพราะภิกษุเหล่านั้นมีความ
ประสงค์จะทำกรรม ไม่มีความประสงค์จะฆ่า จึงไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๑/๑๘๗/๕๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ฆ่ายักษ์ตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๑)
เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหารมียักษ์ดุ พวกยักษ์ฆ่าภิกษุ
นั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหาร
มียักษ์ดุ พวกยักษ์ฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัส
ว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังวิหารที่มี
ยักษ์ดุ พวกยักษ์ไม่ฆ่าเธอ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอไม่ต้องปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมีสัตว์ร้าย เหล่าสัตว์
ร้ายฆ่าท่านมรณภาพ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมี
สัตว์ร้าย เหล่าสัตว์ร้ายฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๖)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปยังที่กันดารมีสัตว์ร้าย เหล่าสัตว์
ร้ายไม่ฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
ปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๗๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมีโจร พวกโจรฆ่าท่าน
มรณภาพ ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๗๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดาร
มีโจร พวกโจรฆ่าภิกษุนั้นมรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๗๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ที่กันดารมี
โจร พวกโจรไม่ฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘๐)
เรื่องสำคัญว่าใช่ ๔ เรื่อง
[๑๘๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญ
ภิกษุนั้นว่าเป็นภิกษุนั้น จึงฆ่าภิกษุนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุนั้น
ว่าเป็นภิกษุนั้นแต่ฆ่าภิกษุอื่น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๒)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุที่
จองเวรกันว่าเป็นภิกษุอื่น แต่ฆ่าภิกษุผู้จองเวรนั้น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๓)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าภิกษุที่จองเวรกัน สำคัญภิกษุที่
จองเวรกันว่าเป็นภิกษุอื่นและได้ฆ่าภิกษุอื่น ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๔)
เรื่องประหาร ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งทุบตีท่านจนถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุรูปที่ทุบตีนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความ
ประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘๕)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงทุบตี
ท่านจนถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงทุบตี
ท่าน ภิกษุนั้นไม่ถึงแก่มรณภาพ ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๘๗)
เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้บุคคลผู้ทำความดีฟัง เขาน้อม
ใจเชื่อแล้วถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๘๘)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้บุคคลผู้
ทำความดีฟัง เขาน้อมใจเชื่อแล้วถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๘๙)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่า จึงพรรณนาเรื่องสวรรค์ให้
บุคคลผู้ทำความดีฟัง เขาน้อมใจเชื่อแต่ไม่ตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๐)
เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิดในนรกฟัง เขาตกใจถึง
แก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์
จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๑)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิด
ในนรกฟัง เขาตกใจถึงแก่ความตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๒)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงพรรณนาเรื่องนรกให้ผู้ควรเกิด
ในนรกฟัง เขาตกใจแต่ไม่ถึงตาย ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๓)
เรื่องต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง
[๑๘๙] สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้างจึงช่วยกันตัดตันไม้
ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้” ภิกษุรูปนั้น จึงยืนตัดที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ
ตรงนั้น ต้นไม้ล้มทับถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๔)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้าง จึงช่วยกันตัดต้นไม้
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้”
ต้นไม้ล้มทับเธอผู้ยืนตัดอยู่ที่นั้นถึงแก่มรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๕)
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีจะทำการก่อสร้าง จึงช่วยกันตัดต้นไม้
ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าจึงบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “ท่านจงยืนตัดที่ตรงนี้”
ต้นไม้ล้มทับเธอผู้ยืนตัดอยู่ที่นั้นแต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่บอกเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๖)
เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง
[๑๙๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า พวกชาวบ้านถูกไฟคลอกตาย
ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ไม่มีความประสงค์จะฆ่า ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๙๗)
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะฆ่า จึงเผาป่า พวกชาวบ้าน
ถูกไฟคลอกตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๙๘)
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มีความประสงค์จะฆ่า จึงเผาป่า พวกชาวบ้าน
ถูกไฟคลอก แต่ไม่ตาย ภิกษุเหล่านั้นเกิดความกังวลใจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิก
หรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๙๙)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วินีตวัตถุ

เรื่องไม่ให้ลำบาก ๑ เรื่อง
[๑๙๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ตะแลงแกง๑ บอกนายเพชฌฆาตว่า
“ท่านอย่าทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว” เพชฌฆาต
รับคำแล้วประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๐)
เรื่องไม่ทำตามท่าน ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรุปหนึ่งไปที่ตะแลงแกงบอกนายเพชฌฆาตว่า “ท่านอย่า
ทรมานนักโทษคนนี้เลย จงประหารชีวิตด้วยการฟันครั้งเดียว” เพชฌฆาตกล่าวว่า
“ข้าพเจ้าจะไม่ทำตามคำของท่าน” แล้วประหารชีวิตนักโทษนั้น ภิกษุนั้นเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ”
(เรื่องที่ ๑๐๑)
เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง
[๑๙๒] สมัยนั้น บุรุษมือเท้าด้วนคนหนึ่ง พวกหมู่ญาติช่วยกันดูแลอยู่ใน
เรือน ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับพวกญาติของบุรุษนั้นว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่าน
อยากให้บุรุษคนนี้ตายไหม”
“พวกเราอยากให้เขาตาย เจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มเปรียง”
หมู่ญาตินั้นจึงให้บุรุษนั้นดื่มเปรียงจนบุรุษนั้นถึงแก่ความตาย
ภิกษุรูปที่บอกวิธีฆ่าเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้อง
อาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๒)

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ตะแลงแกง” หมายถึงสถานที่สำหรับฆ่านักโทษ ภาษาโบราณหมายถึงทางสี่แพร่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องให้ดื่มยาโลณโสวีรกะ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น บุรุษมือเท้าด้วนคนหนึ่ง พวกหมู่ญาติช่วยกันดูแลอยู่ในเรือน
ภิกษุณีรูปหนึ่งได้กล่าวกับหมู่ญาติของบุรุษนั้นว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอยากให้
บุรุษคนนี้ตายไหม”
“พวกเราอยากให้เขาตาย เจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น จงให้เขาดื่มยาโลณโสวีรกะ”๑
หมู่ญาติจึงให้บุรุษนั้นดื่มยาโลณโสวีรกะจนบุรุษนั้นถึงแก่ความตาย
ภิกษุณีนั้นเกิดความกังวลใจ จึงเล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ พวก
ภิกษุณีแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติ
ปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐๓)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
[๑๙๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมาก เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมา
จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา คราวนั้น วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง
ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว
เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดว่า “บัดนี้
วัชชีชนบทเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปัน
ส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้
ทำอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำ
พรรษาอย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุบางพวกเสนอว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกเรามาช่วยกันทำงาน
ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อช่วยทำงาน พวกเขาก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละ พวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา
อย่างผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย
กันทำงานของพวกคฤหัสถ์ ขอให้พวกเรามาช่วยกันทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวก
คฤหัสถ์จะดีกว่า เมื่อทำอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา
โดยวิธีนี้แหละพวกเราก็จะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกันอยู่จำพรรษา
อย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ภิกษุอีกพวกเสนอว่า “อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ทำไมพวกเราจะต้องไปช่วย
กันทำงานหรือทำหน้าที่ทูตนำข่าวสารให้พวกคฤหัสถ์ ทางที่ดีพวกเรามากล่าวอวด
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า ‘ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูป
โน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา
รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้น
ได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖’ เมื่อพูดอย่างนี้ พวกคฤหัสถ์ก็คงจะพอใจถวาย
บิณฑบาตแก่พวกเรา โดยวิธีนี้พวกเราจะพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาอย่างผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ในที่สุด ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดตกลงกันว่า “ท่านทั้งหลาย วิธีที่พวกเราพากัน
กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น”
[๑๙๔] ต่อมาภิกษุเหล่านั้นได้พากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกัน
และกันให้พวกคฤหัสถ์ฟังว่า “ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้จตุตถฌาน
รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน ฯลฯ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ”
ครั้งนั้นแล ประชาชนก็พากันยินดีว่า “เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้
ดีแล้วหนอที่มีภิกษุทั้งหลายเช่นนี้มาอยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อนนี้พวกเราไม่มีภิกษุ
ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติ เหมือนอย่างภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้มาอยู่จำ
พรรษาเลย” โภชนะ (อาหาร) ... ขาทนียะ (ของขบเคี้ยว) ... สายนียะ (ของลิ้ม) ...
ปานะ (เครื่องดื่ม) ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่รับประทาน
ไม่ขบเคี้ยว ไม่ลิ้ม ไม่ดื่มด้วยตนเอง ทั้งไม่ให้แก่มารดาบิดา บุตร ภรรยา คนรับใช้
กรรมกร มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต
ภิกษุเหล่านั้น จึงเป็นผู้มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิว
พรรณผุดผ่อง มีประเพณีอยู่ว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วจะไปเข้าเฝ้าพระผู้
มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วจึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตร
และจีวรออกเดินทางมุ่งไปสู่กรุงเวสาลี จาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงเวสาลี ผ่านป่ามหา
วัน ไปถึงกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงถวาย
บังคม แล้วนั่งลงอยู่ ณ ที่สมควร
ภิกษุต่างทิศมาเข้าเฝ้า
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาอยู่ในทิศต่างๆ ดูซูบผอม ซอมซ่อ มีผิว
พรรณหมองคล้ำ ซีด เหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ส่วนภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทากลับ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา
มีน้ำมีนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีใบหน้าเอิบอิ่ม มีผิวพรรณผุดผ่อง อนึ่ง การที่พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั่นก็เป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกหรือ และบิณฑบาตไม่
ลำบากหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ยังสบายดีพระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
พุทธประเพณี
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรง
ทราบกาลอันควรตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัส
ถามเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย สอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า “ทำ
อย่างไร เธอทั้งหลายจึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน อยู่จำพรรษา
ผาสุกและบิณฑบาตไม่ลำบาก”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีคุณวิเศษนั่นจริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงตำหนิ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ
พวกเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา
ไฉนพวกเธอจึงพากันกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง
เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้องเล่า พวกเธอใช้มีดชำแหละโคอันคมคว้านท้องยังดีกว่า
การกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง เพราะอะไรเล่า
เพราะผู้ใช้มีดชำแหละโคอันคมคว้านท้องก็จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
เพราะการกระทำนั้นเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วก็ไม่ต้องไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก ส่วนผู้กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมของกันและกันให้พวกคฤหัสถ์ฟัง หลังจากตาย
แล้วก็จะต้องไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โมฆบุรุษทั้งหลาย การทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบาง
พวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ได้ทรงกระทำธรรมีกถาตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า
มหาโจร ๕ จำพวก
[๑๙๕] ภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. มหาโจรบางคนในโลกนี้ ปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักมีบริวารเป็น
ร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ทำการฆ่าเอง
สั่งให้ผู้อื่นฆ่า ตัด(มือเท้าผู้อื่น)เอง สั่งให้ผู้อื่นตัด เผา(บ้าน)เอง สั่งให้ผู้อื่นเผา ต่อมา
มหาโจรนั้น ก็ได้มีบริวารเป็นร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม
และราชธานี ทำการฆ่าเอง สั่งให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง สั่งให้ผู้อื่นตัด เผาเอง สั่งให้ผู้อื่นเผา
ฉันใด ภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปรารถนาว่า เมื่อไรหนอ เรา
จักมีภิกษุบริวารเป็นร้อยหรือเป็นพันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี
อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช ต่อมา ภิกษุนั้นก็ได้มีภิกษุบริวารเป็นร้อยหรือเป็น
พันห้อมล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคาม นิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสัก
การะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๑ ที่มีปรากฏอยู่ในโลก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา
๒. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว อวดอ้างว่าเป็นของตน ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๒
ที่มีปรากฏอยู่ในโลก
๓. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ โจทเพื่อนภิกษุผู้บริสุทธิ์
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ด้วยเรื่องที่ทำลายพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ภิกษุ
ทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลาย ยังมีภิกษุชั่วบางรูปในธรรมวินัยนี้ สงเคราะห์ประจบ
คฤหัสถ์ด้วยครุภัณฑ์ของสงฆ์คืออาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก
หมอน หม้อ โลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน
เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าแฝก หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือมหาโจรจำพวกที่ ๔
๕. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง
จัดเป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันอาหารของ
ชาวบ้านด้วยไถยจิต
นิคมคาถา
ภิกษุผู้ประกาศตนซึ่งมีภาวะเป็นอย่างหนึ่งให้
คนเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ฉันอาหารด้วยไถยจิต
เหมือนพรานนกลวงจับนกมากินฉะนั้น ภิกษุชั่ว
จำนวนมากมีผ้ากาสายะพันที่คอ มีธรรมเลวทราม
ไม่สำรวม พวกเธอย่อมตกนรก เพราะบาปกรรม
ทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุทุศีลไม่สำรวม กินก้อน
เหล็กที่ร้อนเหมือนเปลวไฟยังดีกว่า บริโภค
อาหารของชาวบ้านไม่ดีเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พระบัญญัติ

ทรงบัญญัติสิกขาบท
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาโดยประการต่างๆ
แล้ว ได้ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยากบำรุงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้ง
หลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๙๖] ก็ ภิกษุใด ไม่รู้ยิ่ง กล่าวอวดอุตริมนุสสธรรมอันเป็นญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ ให้น้อมเข้ามาในตนว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้”
ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม เธอผู้ต้องอาบัติแล้ว
หวังความบริสุทธิ์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้
กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้ประโยชน์
เป็นคำเท็จ” แม้ภิกษุนี้เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุชาวฝั่งแม้น้ำวัคคุมุทา จบ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
[๑๙๗] สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมาก เข้าใจมรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง พากันพยากรณ์
มรรคผลด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของภิกษุเหล่านั้นเอนเอียงไปทางความ
กำหนัดบ้าง ทางความขัดเคืองบ้าง ทางความหลงบ้าง เกิดความกังวลใจว่า พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว แต่พวกเราเข้าใจมรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรค
ผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงแจ้งเรื่องนั้นให้
พระอานนท์ทราบ พระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีอยู่เหมือนกัน อานนท์ ที่ภิกษุทั้งหลายเข้าใจ
มรรคผลที่ยังมิได้เห็นว่าได้เห็น มิได้ถึงว่าได้ถึง มิได้บรรลุว่าได้บรรลุ มิได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
ว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่กรณีนี้ไม่ควรกล่าว
ว่ามี”๑
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถา เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้ยิ่ง กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นญาณทัสสนะที่
ประเสริฐอันสามารถ ให้น้อมเข้ามาในตนว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้”
ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม เธอผู้ต้องอาบัติแล้ว
หวังความบริสุทธิ์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้
กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้ประโยชน์
เป็นคำเท็จ” เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๙๘] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ไม่รู้ยิ่ง คือ ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นกุศลธรรมในตนซึ่งไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง หา
ไม่ได้ กล่าวว่า เรามีกุศลธรรม
ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี
ในเรือนว่าง

เชิงอรรถ :
๑ ข้อความนี้ แปลมาจากบาลีว่า “อพฺโพหาริกํ” คือกล่าวไม่ได้ว่ามี มีเหมือนไม่มี มีแต่ไม่ปรากฏ จึงไม่
ได้โวหารว่ามี นำมากล่าวอ้างไม่ได้ ถือเป็นกรณีพิเศษที่ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างได้ (ดู วิ.อ. ๑/๑๙๖/๕๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
คำว่า น้อมเข้ามาในตน ได้แก่ น้อมกุศลธรรมเหล่านั้นเข้าในตน หรือน้อม
ตนเข้าในกุศลธรรมเหล่านั้น
คำว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
คำว่า ทัสสนะ ได้แก่ ญาณก็คือทัสสนะ ทัสสนะก็คือญาณ
คำว่า กล่าวอวด คือ บอกแก่ชายหรือแก่หญิง แก่บรรพชิตหรือแก่คฤหัสถ์
คำว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ความว่า “ข้าพเจ้ารู้ธรรมเหล่านั้น เห็น
ธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าย่อมเห็นชัดธรรมเหล่านั้น”
คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น คือ ล่วงขณะ ลยะ ครู่ ที่กล่าวอวดนั้น๑
คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ มีผู้โจทก์ในเรื่องที่เธอกล่าวอ้างว่า
“ท่านบรรลุอะไร บรรลุอย่างไร บรรลุเมื่อไร บรรลุที่ไหน ละกิเลสเหล่าไหนได้ ได้
ธรรมอะไร”
คำว่า ไม่โจท คือ ไม่มีใคร ๆ กล่าว
คำว่า ผู้ต้องอาบัติแล้ว ความว่า ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริงไม่เป็นจริง ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
คำว่า หวังความบริสุทธิ์ คือ ประสงค์จะเป็นคฤหัสถ์ อุบาสก อารามิก (คนวัด)
หรือสามเณร
คำว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ข้าพเจ้าไม่เห็น
อย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ความว่า ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้ธรรมเหล่านั้น ไม่
เห็นธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นไม่มี และข้าพเจ้าก็ไม่เห็นชัดธรรมเหล่านั้น”
คำว่า กล่าวคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ ความว่า ข้าพเจ้ากล่าวคำไร้
ประโยชน์ กล่าวเท็จ กล่าวไม่จริง กล่าวสิ่งที่ไม่มี ข้าพเจ้าไม่รู้กล่าวไปแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ ดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้งเป็น ๑ ขณะ, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ, ๑๐ ขณลยะเป็น ๑ ครู่
(ดู อภิธา.ฏี. คาถา ๖๖-๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
คำว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือ ยกเว้นการสำคัญว่าได้บรรลุ
คำว่า แม้ภิกษุนี้ คือ ภิกษุที่พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบกับภิกษุรูปก่อน ๆ
คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยาก
ครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีอยู่ไม่เป็นจริง ย่อมไม่เป็นสมณะไม่เป็น
เชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่อาจงอกได้ต่อไป ดังนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นปาราชิก”
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทศที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุ
รูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “หาสังวาสมิได้”
บทภาชนีย์
[๑๙๙] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ฌาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจาก
กิเลส ความยินดีในเรือนว่าง
คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
คำว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓
คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง
คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน
สุทธิกวารกถา
สุทธิกฌาน
ปฐมฌาน
[๒๐๐] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
[๒๐๑] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าว
เท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่” ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๒] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๓] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๔] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๖
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน” ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๐๕] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๔
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๕
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้น กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพราง
ความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว” ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
[ปฐมฌานนี้นักปราชญ์ให้พิสดารแล้ว ฉันใด แม้ฌานทั้งมวลก็พึงให้พิสดาร
ฉันนั้น]
ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน
[๒๐๖] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุทธิกวิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์
[๒๐๗] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่
... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตวิโมกข์ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สุทธิกสมาธิ
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิและอัปปณิหิตสมาธิ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาธิแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สุทธิกสมาบัติ
สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติและอัปปณิหิตสมาบัติ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสุญญตสมาบัติแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่
... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... ข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สุทธิกญาณทัสสนะ
วิชชา ๓
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าวิชชา ๓ แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุทธิกมัคคภาวนา
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าสติปัฏฐาน ๔ แล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
อินทรีย์ ๕ และพละ ๕
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว ...
ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าโพชฌงค์ ๗ แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ฯลฯ
อริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘
... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติ
ปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

สุทธิกอริยผล
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าโสดาปัตติผลแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้า
เข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... ข้าพเจ้าทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สุทธิกกิเลสปหาน
สละราคะ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ข้าพเจ้าคายราคะแล้ว
ข้าพเจ้าพ้นราคะแล้ว ข้าพเจ้าละราคะแล้ว ข้าพเจ้าสลัดราคะแล้ว ข้าพเจ้าเพิกราคะ
แล้ว ข้าพเจ้าถอนราคะขึ้นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สละโทสะ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ถอนโทสะขึ้นแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สละโมหะ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้น
แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
สุทธิกจิตตวินีวรณะ
จิตปลอดจากราคะ โทสะและโมหะ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
คือ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพราง
ความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพราง
ความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
สุทธิกะ จบ

ขัณฑจักร
ปฐมฌานและทุติยฌาน
[๒๐๘] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
ทุติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานและตติยฌาน
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
และตติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและตติยฌานให้แจ้ง
แล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานและจตุตถฌาน
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
และจตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและจตุตถฌานให้
แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๑๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ปฐมฌานกับสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์และอัปปณิหิตวิโมกข์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ปฐมฌานและ
อัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตวิโมกข์ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌาน
และอัปปณิหิตวิโมกข์ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับสุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิและอัปปณิหิตสมาธิ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาธิแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตสมาธิ ฯลฯ ปฐมฌานและ
อัปปณิหิตสมาธิแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
อัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับสุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติและอัปปณิหิตสมาบัติ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสุญญตสมาบัติแล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ ปฐมฌาน
และอัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ได้ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานและวิชชา ๓
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและวิชชา ๓ แล้ว ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและ
วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว ...
ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

ปฐมฌานกับสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ และอิทธิบาท ๔
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ ปฐมฌาน
และอิทธิบาท ๔ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ได้ปฐมฌานและอิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
อิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับอินทรีย์ ๕ และพละ ๕
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอินทรีย์ ๕ แล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและพละ ๕ แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและพละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ...
ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับโพชฌงค์ ๗
[๒๐๙] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้
ปฐมฌานและโพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและ
โพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับอริยมรรคมีองค์ ๘
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอริยมรรค
มีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและโสดาปัตติผลแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและสกทาคามิผล ฯลฯ ปฐมฌานและอนาคามิผล

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ฯลฯ ปฐมฌานและอรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌานและอรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ปฐมฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ปฐมฌานกับการสละราคะ โทสะและโมหะ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ... และข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ฯลฯ และข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว
ฯลฯ และข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ฯลฯ
ปฐมฌานกับภาวะที่จิตปลอดจากราคะ โทสะและโมหะ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ... และจิตของข้าพเจ้าปลอดจาก
ราคะ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ
(๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
(๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
ขัณฑจักร จบ

พัทธจักร
[๒๑๐] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ได้ทุติยฌานและตติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและ
ตติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ...ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน
และจตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานและจตุตถฌานให้
แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ทุติยฌานและ
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ทุติยฌานและสุญญตสมาธิ ฯลฯ ทุติยฌานและอนิมิตตสมาธิ
ฯลฯ ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาธิ ฯลฯ ทุติยฌานและสุญญตสมาบัติ ฯลฯ ทุติย
ฌานและอนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ ทุติยฌานและอัปปณิหิตสมาบัติ ฯลฯ ทุติยฌานและ
วิชชา ๓ ฯลฯ ทุติยฌานและสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ทุติยฌานและสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ
ทุติยฌานและอิทธิบาท ๔ ฯลฯ ทุติยฌานและอินทรีย์ ๕ ฯลฯ ทุติยฌานและพละ ๕
ฯลฯ ทุติยฌานและโพชฌงค์ ๗ ฯลฯ ทุติยฌานและอริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ ทุติยฌาน
และโสดาปัตติผล ฯลฯ ทุติยฌานและสกทาคามิผล ฯลฯ ทุติยฌานและอนาคามิผล
ฯลฯ ทุติยฌานและอรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและอรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ทุติยฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว...ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำทุติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ...
ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้า
ทุติยฌานแล้ว ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว
ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ
๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌานและปฐมฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ทุติยฌานและปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ... (๗) อำพรางความ
ประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก.
พัทธจักร จบ
พึงตั้งอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่งๆ หมุนเวียนไปจนครบด้วยวิธีนี้
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นคำที่ท่านย่อไว้
พัทธจักร เอกมูลกนัย
[๒๑๑] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและจตุตถฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและอรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้า
อยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌานและอรหัตตผล ...
ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำตติยฌานและอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้อง
อาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌาน... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำตติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ
ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ...
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและทุติยฌานแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
เข้าแล้ว ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ตติยฌานและทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... ข้าพเจ้าทำ
ตติยฌานและทุติยฌานให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
ปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน
ฯลฯ และจตุตถ ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๑๒] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้า
เข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตวิโมกข์ ...
อัปปณิหิตวิโมกข์แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตวิโมกข์ให้แจ้งแล้ว ต้องอาบัติ
ปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
สุญญตสมาธิแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาธิ ... อัปปณิหิตสมาธิ
แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาธิ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอด
จากโมหะ และข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาธิให้แจ้งแล้ว ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
สุญญตสมาบัติแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอนิมิตตสมาบัติ ...
อัปปณิหิตสมาบัติแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อัปปณิหิตสมาบัติ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอัปปณิหิตสมาบัติให้แจ้งแล้ว ต้อง
อาบัติปาราชิก ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
วิชชา ๓ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้วิชชา ๓ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้
ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าทำวิชชา ๓ ให้แจ้งแล้ว ...
ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะและข้าพเจ้าเข้า
สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าสัมมัปปธาน ๔ ...อิทธิบาท ๔
แล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อิทธิบาท ๔ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอด
จากโมหะและข้าพเจ้าทำอิทธิบาท ๔ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
[๒๑๓] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และ
ข้าพเจ้าเข้าอินทรีย์ ๕ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าเข้าพละ ๕ แล้ว ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ...จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และ
ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้พละ ๕ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
และข้าพเจ้าทำพละ ๕ ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
โพชฌงค์ ๗ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้โพชฌงค์ ๗ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ
... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำโพชฌงค์ ๗ ให้แจ้งแล้ว ... ต้อง
อาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้า
แล้ว จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อริยมรรคมีองค์ ๘ ... ข้าพเจ้า
เป็นผู้ชำนาญ ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอริยมรรคมีองค์ ๘
ให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้า
โสดาปัตติผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ข้าพเจ้าเข้าสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล
ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ... ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ... จิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเป็นผู้ได้อรหัตตผล ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญ...จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าสละราคะ
แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย
พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ฯลฯ จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลัง
กล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพราง
ความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพราง
ความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
พัทธจักรเอกมูลกนัย จบ
แม้พัทธจักรทุมูลกนัยเป็นต้นก็พึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัยที่ให้
พิสดารแล้ว
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักรสัพพมูลกนัย
พัทธจักร สัพพมูลกนัย
[๒๑๔] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล ...
ข้าพเจ้าเข้าอยู่ ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า
สละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... จิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ จิตของข้าพเจ้าปลอด
จากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
เท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความ
พอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาราชิก
สัพพมูลกนัย จบ
สุทธิกวารกถา จบ

วัตตุกามวารกถา
ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย
วัตถุวิสารกะ
[๒๑๕] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง
ที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ อนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ
สุญญตสมาธิ ฯลฯ อนิมิตตสมาธิ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาธิ ฯลฯ สุญญตสมาบัติ
ฯลฯ อนิมิตตสมาบัติ ฯลฯ อัปปณิหิตสมาบัติ ฯลฯ วิชชา ๓ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔
ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ
โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ ฯลฯ โสดาปัตติผล ฯลฯ สกทาคามิผล
ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผลแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น
ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ฯลฯ จิตของ
ข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ
(๒) กำลังกล่าวอยู่ ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว
(๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ขัณฑจักรแห่งเอกมูลกนัย วัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ
[๒๑๖] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้ง
ที่รู้ว่าข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
พัทธจักร เอกมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์

หัวข้อแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้
[๒๑๗] ภิกษุต้องการกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่
รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ฯลฯ ด้วยอาการ ๗
อย่าง ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อ
เขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ ที่ท่านย่อไว้ จบ

ขัณฑจักรทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้อง
อาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานและทุติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ
๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ขัณฑจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าจตุตถฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ
ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานและตติยฌานแล้ว แต่กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗
อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ

พัทธจักร ทุมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ และจิตของข้าพเจ้า
ปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ ด้วยอาการ ๓
อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ฯลฯ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่น
เข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุวิสารกะที่ท่านย่อไว้ จบ
พัทธจักร ติมูลกนัยก็ดี จตุมูลกนัยก็ดี ปัญจมูลกนัยก็ดี ฉมูลกนัยก็ดี
สัตตมูลกนัยก็ดี อัฏฐมูลกนัยก็ดี นวมูลกนัยก็ดี ทสมูลกนัยก็ดี แห่งวัตถุวิสารกะ
บัณฑิตพึงตั้งขยายให้เหมือน พัทธจักรแม้ที่เป็นเอกมูลกนัยแห่งนิกเขปบทที่ขยายไว้แล้ว
พึงขยายให้พิสดารเหมือนพัทธจักรเอกมูลกนัยที่ท่านขยายให้พิสดารไว้แล้วเถิด
คำที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นพัทธจักร สัพพมูลกนัย
[๒๑๘] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผลแล้ว
ฯลฯ ข้าพเจ้าสละราคะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าสละ คาย
พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะและจิต
ของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
[๒๑๙] ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตตผล ข้าพเจ้า
สละราคะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละโทสะแล้ว ... ข้าพเจ้าสละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก
ถอนโมหะขึ้นแล้ว ... จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าเข้าตติยฌานและจตุตถฌาน ฯลฯ และ
จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ และข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า
ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ
ภิกษุต้องการจะกล่าวว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโมหะ ข้าพเจ้าเข้า
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฯลฯ จิตของข้าพเจ้าปลอดจากราคะ
แต่กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า จิตของข้าพเจ้าปลอดจากโทสะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร สัพพมูลกนัยแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
จักรเปยยาลแห่งวัตถุวิสารกะ จบ
วัตตุกามวารกถา จบ

ปัจจยปฏิสังยุตตวารกถา
เปยยาล ๑๕ หมวด
[๒๒๐] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น
เข้าปฐมฌานแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน
... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ปฐมฌานแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ... เป็น
ผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วย
อาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑)
เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทภาชนีย์
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ
อัปปณิหิตสมาบัติ วิชชา ๓ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
และอรหัตตผล ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้อรหัตตผล ...
เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำอรหัตตผลให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้
อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นสละราคะ
แล้ว ฯลฯ สละโมหะแล้ว ฯลฯ สละ คลาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอนโมหะขึ้นแล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุรูปนั้น
ปลอดจากราคะ ... จากโทสะ ... จิตปลอดจากโมหะ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่า
กำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น
(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้นเข้า
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ในเรือนว่างแล้ว ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้า
แล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้จตุตถฌานในเรือนว่าง ... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำ
จตุตถฌานให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ คือ (๑) เบื้องต้น
เธอรู้ว่า จักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าว
แล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
แม้ที่เหลือก็พึงขยายให้พิสดารเหมือนกับที่ได้ขยายมานี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
[๒๒๑] ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า ภิกษุรูปใดใช้สอยจีวรของท่าน ภิกษุรูปใด
ฉันบิณฑบาตของท่าน ภิกษุรูปใดใช้สอยเสนาสนะของท่าน ภิกษุรูปใดบริโภค
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่าน วิหารของท่านภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว จีวรของท่าน
ภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว บิณฑบาตของท่านภิกษุรูปใดฉันแล้ว เสนาสนะของท่าน
ภิกษุรูปใดใช้สอยแล้ว คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของท่านภิกษุรูปใดบริโภคแล้ว ท่าน
อาศัยภิกษุรูปใดแล้วได้ถวายวิหาร ได้ถวายจีวร ได้ถวายบิณฑบาต ได้ถวาย
เสนาสนะ ได้ถวายคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุรูปนั้น เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุตถฌาน ในเรือนว่าง ... เข้าอยู่ ... เป็นผู้เข้าแล้ว ... ภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ได้
จตุตถฌาน ในเรือนว่าง ... เป็นผู้ชำนาญ ... ภิกษุรูปนั้นทำจตุตถฌานให้แจ้งแล้ว
ในเรือนว่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่า จัก
กล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าว
เท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ
(๗) อำพรางความประสงค์ เมื่อผู้อื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจ
ต้องอาบัติทุกกฏ
เปยยาล ๑๕ หมวด จบ
ปัจจัยปฏิสังยุตตวารกถา จบ
อุตตริมนุสสธรรมจักรเปยยาล จบ

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๒๒๒] ๑. ภิกษุผู้สำคัญว่าได้บรรลุ
๒. ภิกษุผู้ไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๕. ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๖. ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ คาถารวมวินีตวัตถุ

คาถารวมวินีตวัตถุ
เรื่องที่ทรงวินิจฉัยแล้ว
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ เรื่อง___เรื่องอยู่ป่า ๑ เรื่อง
เรื่องเที่ยวบิณฑบาต ๑ เรื่อง___เรื่องพระอุปัชฌาย์ ๒ เรื่อง
เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง___เรื่องละสังโยชน์ ๑ เรื่อง
เรื่องธรรมในที่ลับ ๒ เรื่อง___เรื่องภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๑ เรื่อง
เรื่องภิกษุผู้ได้รับการบำรุง ๑ เรื่อง___เรื่องทำไม่ยาก ๑ เรื่อง
เรื่องความเพียร ๑ เรื่อง___เรื่องไม่กลัวความตาย ๑ เรื่อง
เรื่องความร้อนใจ ๑ เรื่อง___เรื่องความประกอบถูกต้อง ๑ เรื่อง
เรื่องปรารภความเพียร ๑ เรื่อง___เรื่องประกอบความเพียร ๑ เรื่อง
เรื่องอดกลั้นเวทนา ๒ เรื่อง___เรื่องพราหมณ์ ๕ เรื่อง
เรื่องพยากรณ์มรรคผล ๓ เรื่อง___เรื่องอยู่ครองเรือน ๑ เรื่อง
เรื่องห้ามกาม ๑ เรื่อง___เรื่องความยินดี ๑ เรื่อง
เรื่องหลีกไป ๑ เรื่อง___เรื่องอัฏฐิกสังขลิกเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องมังสเปสิเปรต ๑ เรื่อง___เรื่องมังสปิณฑเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องนิจฉวิเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องอสิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
เรื่องสัตติโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องอุสุโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง
เรื่องสูจิโลมเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องกุมภัณฑเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องสูจกเปรตเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องเปรตจมหลุมคูถเพศชาย ๑ เรื่อง
เรื่องเปรตกินคูถเพศชาย ๑ เรื่อง___เรื่องนิจฉวิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
เรื่องมังคุลิเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง___เรื่องโอกิรินีเปรตเพศหญิง ๑ เรื่อง
เรื่องกพันธเปรต ๑ เรื่อง
เรื่องนักบวชทำกรรมชั่วในศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ๕ เรื่อง คือ
เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุ ๑ เรื่อง___เรื่องเปรตมีรูปเป็นภิกษุณี ๑ เรื่อง
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสิกขมานา ๑ เรื่อง ___เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณร ๑ เรื่อง
เรื่องเปรตมีรูปเป็นสามเณรี ๑ เรื่อง___เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง
เรื่องการสู้รบในกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง___เรื่องได้ยินเสียงช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง
เรื่องพระอรหันต์โสภิตะระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป ๑ เรื่อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

วินีตวัตถุ
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ เรื่อง
[๒๒๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประกาศว่าได้อรหัตตผลเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ” (เรื่องที่ ๑)
เรื่องอยู่ป่า ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงอยู่ป่า
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขา
บทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยปรารถนาว่าจะได้รับคำยกย่อง ภิกษุใดอยู่ป่าด้วยปรารถนา
อย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๒)
เรื่องเที่ยวบิณฑบาต ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงเที่ยว
บิณฑบาต ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเที่ยวบิณฑบาตด้วยปรารถนาว่าจะได้รับคำยกย่อง ภิกษุใด
เที่ยวบิณฑบาตด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๓)
เรื่องพระอุปัชฌาย์ ๒ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “พวกภิกษุสัทธิวิหาริกของพระ
อุปัชฌาย์ของพวกเรา ล้วนเป็นพระอรหันต์” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
ปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์
ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าวอวด
พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๔)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระ
อุปัชฌาย์ของพวกเราล้วนมีฤทธานุภาพมาก” ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระ
องค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าว
อวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”
(เรื่องที่ ๕)
เรื่องอิริยาบถ ๔ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงเดิน
จงกรม ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือ
หนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่าง
นั้น ภิกษุใดเดินจงกรมด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๖)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงยืน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุ
ใดยืนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๗)
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้จึงนั่ง
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุใด
นั่งด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๘)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารถนาว่า ประชาชนจักยกย่องเราอย่างนี้ จึงนอน
ประชาชนก็ยกย่องท่าน ท่านเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนด้วยปรารถนาอย่างนั้น
ภิกษุใดนอนด้วยปรารถนาอย่างนั้น ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๙)
เรื่องละสังโยชน์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง แม้
ภิกษุรูปนั้นก็กล่าวอวดว่า “แม้กระผมก็ละสังโยชน์๑ ได้” ท่านเกิดความกังวลใจว่า
เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิก” (เรื่องที่ ๑๐)
เรื่องธรรมในที่ลับ ๒ เรื่อง
[๒๒๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่สงัด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
ภิกษุผู้รู้ความคิดของผู้อื่นรูปหนึ่งตักเตือนท่านว่า “ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น เพราะ
ท่านไม่มีธรรมเช่นนั้น” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๑)
สมัยนั้น ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่สงัด กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม เทพดาตัก
เตือนท่านว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าอย่ากล่าวอย่างนั้น เพราะพระคุณเจ้าไม่มี
ธรรมอย่างนั้น” ภิกษุรูปนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุ เธอไม่
ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ” (เรื่องที่ ๑๒)

เชิงอรรถ :
๑ สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (๔) กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
(๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ (๖) รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม (๗) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
(๘) มานะ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ (๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง (ดู สํ.ม. ๑๙/
๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๓/๑๔, อภิ.วิ. ๓๕/๙๔๐/๔๖๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกอุบาสกคนหนึ่งว่า “อุบาสก ภิกษุรูปที่อยู่ในวิหาร
ของท่านเป็นพระอรหันต์” และตัวท่านก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น ท่านเกิดความ
กังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
ประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๓)
เรื่องภิกษุผู้ได้รับการบำรุง ๑ เรื่อง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งบอกอุบาสกคนหนึ่งว่า “อุบาสก ภิกษุรูปที่ท่านบำรุง
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น เป็นพระอรหันต์”
และอุบาสก ก็บำรุงภิกษุนั้นอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ภิกษุนั้นเกิดความกังวลใจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
“ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ เธอไม่ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย” (เรื่องที่ ๑๔)
เรื่องทำไม่ยาก ๑ เรื่อง
[๒๒๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า “ท่านมี
อุตตริมนุสสธรรมอยู่หรือ” ท่านตอบว่า “การบรรลุอรหัตตผลทำได้ไม่ยาก” ท่าน
เกิดความกังวลใจว่า เฉพาะพระอริยสาวกของพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่ควรกล่าวอย่างนั้น
แต่เราไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค๑ เราต้องอาบัติปาราชิกหรือหนอ จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอคิด
อย่างไร” “ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุ
เธอไม่มีความประสงค์จะกล่าวอวด ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๑๕)

เชิงอรรถ :
๑ ท่านมีความเห็นว่า พระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะชื่อว่าเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (วิ.อ. ๑/๒๒๕/
๕๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า :๒๑๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น