Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๒-๔ หน้า ๑๘๕ - ๒๔๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. ปาจิตติยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
๑. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๑. มุสาวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
เรื่องพระหัตถกศากยบุตร
[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระหัตถกศากยบุตรเป็นนักโต้
วาทะ๑ เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่ง
มากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน
พวกเดียรถีย์จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระหัตถกศากยบุตร
เมื่อเจรจากับพวกเรา จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบ
เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า”
พวกภิกษุได้ยินพวกเดียรถีย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงเข้าไปหาพระ
หัตถกศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระหัตถกศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่าน

เชิงอรรถ :
๑ วาทกฺขิตฺต ที่แปลว่า “เป็นนักโต้วาทะ” นั้น ตามอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “วาทํ กริสฺสามี”ติ เอวํ
ปริวิตกฺกิเตน วาเทน ปรวาทีสนฺติกํ ขิตฺโต ปกฺขิตฺโต, ปหิโต เปสิโตติ อตฺโถ วาทมฺหิ วา สเกน จิตฺเตน
ขิตฺโต, ยตฺร ยตฺร วาโท ตตฺร ตตฺเรว สนฺทิสฺสตีติปิ วาทกฺขิตฺโต ถูกวาทะที่กำหนดไว้ว่า เราจักโต้วาทะ
เหวี่ยงไป ไสไป ส่งไปยังสำนักปรวาที อีกประการหนึ่ง คือถูกจิตของตนส่งไปในสถานที่โต้วาทะ คือในที่ใดๆ
มีการโต้วาทะกัน ย่อมไปปรากฏตัวในที่นั้นๆ (วิ.อ. ๒/๑/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
หัตถกะ ได้ทราบว่า เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้
คลาดเคลื่อน จริงหรือ”
พระหัตถกศากยบุตรตอบว่า “เราต้องเอาชนะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นด้วยวิธีใด
วิธีหนึ่ง พวกเราไม่ควรให้ชัยชนะแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้น”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระหัตถกศากยบุตรเมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ
เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้
คลาดเคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระหัตถกศากยบุตรโดยประการต่าง ๆ
แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพระหัตถกศากยบุตรว่า “หัตถกะ ทราบว่า เมื่อเธอเจรจากับพวกเดียรถีย์
ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ” พระหัตถกศากยบุตรทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอ
เมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าว
กลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า โมฆ
บุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้
เรื่องพระหัตถกศากยบุตร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๓] ที่ชื่อว่า กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งออก คำเป็นทาง
วจีเภท เจตนาที่ให้รู้ทางวาจาของผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดความจริง ได้แก่ ถ้อยคำ
ของอนารยชน ๘ อย่าง คือ

๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น
๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยิน
๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบ
๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้
๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น
๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน
๗. ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ
๘. รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้

บทภาชนีย์
๑. ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่ได้เห็นด้วยตา
๒. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู
๓. ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้
สัมผัสด้วยกาย
๔. ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ
๕. ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือ ได้เห็นด้วยตา
๖. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู
๗. ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย
๘. ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อาการกล่าวเท็จทั้งที่รู้
๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น
[๔] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๕ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ
เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓)
ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น
ชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๕] ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
[๖] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและรู้แล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๘๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ
แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และรู้แล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว
และรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และได้
เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบแล้ว รู้แล้ว และได้
เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้เห็นแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และ
ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น ได้ยินและทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ
แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่าไม่ได้เห็น
[๗] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ
(๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง
ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง
คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่าไม่ได้ยิน
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
๗. ทราบ แต่กล่าวว่าไม่ทราบ
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
๘. รู้ แต่กล่าวว่าไม่รู้
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ
(๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น
กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ
(๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๘] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่ารู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ทราบแล้วและรู้แล้ว
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง
... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ได้ยิน แต่กล่าวว่ารู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้วและได้เห็นแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่าได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ทราบ แต่กล่าวว่าได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓
อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ
๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยินและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้วและทราบแล้ว”
ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น - แต่ไม่แน่ใจ
[๙] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้เห็น กำหนดสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ จำสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้
หลงลืมสิ่งที่ได้เห็น กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ยิน กำหนดสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ หลงลืมสิ่ง
ที่ได้ยิน ฯลฯ
ทราบ - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ทราบ กำหนดสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้
หลงลืมสิ่งที่ได้ทราบ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๑.มุสาวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
รู้ - แต่ไม่แน่ใจ เป็นต้น
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ หลง
ลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จ
ทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าว
เท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้
กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย
อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลัง
กล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
[๑๐] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืม
สิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว”
ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ
ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้
ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น
(๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑] ๑. ภิกษุกล่าวพลั้ง
๒. ภิกษุกล่าวพลาด
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
มุสาวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค
๒. โอมสวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเสียดสี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทะเลาะ
กับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติ
กำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง
ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่
หยาบบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม
ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงาน
บ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง
ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้างเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทะเลาะกับพวก
ภิกษุผู้มีศีลดีงาม กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง
ด้วยชื่อบ้าง ด้วยตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความ
เจ็บไข้บ้าง ด้วยรูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้าง
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๑๙๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ
ตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลดีงาม
กล่าวเสียดสีภิกษุผู้มีศีลดีงาม ด่า สบประมาทด้วยชาติกำเนิดบ้าง ด้วยชื่อบ้าง ด้วย
ตระกูลบ้าง ด้วยหน้าที่การงานบ้าง ด้วยศิลปวิทยาบ้าง ด้วยความเจ็บไข้บ้าง ด้วย
รูปลักษณ์บ้าง ด้วยกิเลสบ้าง ด้วยอาบัติบ้าง ด้วยคำด่าที่หยาบบ้างเล่า โมฆบุรุษ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อม
ใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
โคนันทิวิสาล
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา
มีโคถึกชื่อนันทิวิสาล ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกชื่อนันทิวิสาลได้กล่าวกับ
พราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐
กหาปณะกับเศรษฐีว่า โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้”
ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พราหมณ์ได้ไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ
กับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า “โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มเทียมโคถึกนันทิวิสาล
แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “เจ้าโคโกง แกจงฉุด เจ้าโคโกง แกจงลากไป”
ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนนิ่งเฉยอยู่ ณ ที่นั้นเอง พราหมณ์นั้นแพ้พนัน
เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ เศร้าซึมไป
ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า “ท่านพราหมณ์ เหตุ
ไรท่านจึงเศร้าซึม”
พราหมณ์ตอบว่า “ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้เสียทรัพย์ไปถึง ๑,๐๐๐
กหาปณะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท พระบัญญัติ
โคถึกนันทิวิสาลกล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ท่านเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่า
โกงทำไมเล่า ท่านจงไปทำการพนันเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีด้วย
กล่าวว่า ‘โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้’ แต่ท่านอย่าเรียก
ข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยคำว่าโกง”
พราหมณ์จึงไปพนันเอาทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีด้วยกล่าวว่า
“โคถึกของเราจะลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปได้” ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว
พราหมณ์นั้นก็ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่ม เทียมโคนันทิวิสาลแล้ว จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“พ่อมหาจำเริญ เชิญฉุดไป พ่อมหาจำเริญ เชิญลากไปเถิด” ครั้งนั้นแล โคถึก
นันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกติดกันไปแล้ว
บุคคลพึงกล่าวคำไพเราะ
ไม่พึงกล่าวคำไม่ไพเราะ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์กล่าวคำไพเราะ
โคถึกโคนันทิวิสาลก็ลากเกวียนหนักไปได้
ทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์
ตนเองก็ดีใจที่พราหมณ์ได้ทรัพย์
เพราะการกระทำของตนนั้น๑
ภิกษุทั้งหลาย คำด่า คำสบประมาทไม่เป็นที่พอใจของเราแม้ในกาลนั้น
ไฉนบัดนี้ คำด่า คำสบประมาทจะเป็นที่พอใจเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท
นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๔] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเสียดสี
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๒๘/๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕] ที่ชื่อว่า กล่าวเสียดสี ได้แก่ ภิกษุกล่าวเสียดสีด้วยอาการ ๑๐ อย่าง
คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง (๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง
(๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง (๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง
(๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ
(๒) ชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑ นี้จัดเป็นชาติกำเนิด
ต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้
จัดเป็นชาติกำเนิดสูง
ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ ชื่อ ๒ อย่าง คือ (๑) ชื่อที่เลว (๒) ชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ชื่อที่เลว ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ
ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ๒ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่เลว

เชิงอรรถ :
๑ ปุกฺกุส คนเทขยะ ในโยชนาว่า “คนเทอุจจาระ” (ปุ วุจฺจติ กรีสํ, ตํ กุสติ อปเนตีติ ปุกฺกุโส, ปุปฺผํ
วุจฺจติ กรีสํ, กุสุมํ วา, ตํ ฉฑฺเฑตีติ ปุปฺผฉฑฺฑโก อุจจาระท่านเรียกว่า “ปุ” ผู้ที่นำปุ คืออุจจาระนั้นไปทิ้ง
ชื่อว่า ปุกกุสะ อุจจาระท่านเรียกว่า ปุปผะ(ดอกไม้) ผู้ที่ขนดอกไม้คืออุจจาระนั้นทิ้ง ชื่อว่า ปุปผฉัฑฑกะ
(ปาจิตฺยาทิโยนา ๔ ม.)
ในที่นี้ ปุกกุสศัพท์เป็นไวพจน์ของปุปผฉัฑฑกศัพท์ (ปุกฺกุสชาตีติ ปุปฺผฉฑฺฑกชาติ - วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗)
จะแปลว่า “คนเทอุจจาระ” ก็ได้
๒ ชื่อทั้ง ๕ นี้ คือ (๑) อวกัณณกะ (๒) ชวกัณณกะ (๓) ธนิฏฐกะ (๔) สวิฏฐกะ (๕) กุลวัฑฒกะ เป็นชื่อ
ของพวกทาสถือเป็นชื่อชั้นต่ำ เป็นชื่อที่เลว (วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชื่อที่ดี ได้แก่ ชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธ ที่เกี่ยวกับพระธรรม ที่เกี่ยวกับ
พระสงฆ์ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น
นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นชื่อที่ดี
ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ ตระกูล ๒ อย่าง คือ (๑) ตระกูลชั้นต่ำ (๒) ตระกูลชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ตระกูลชั้นต่ำ ได้แก่ ตระกูลโกสิยะ ตระกูลภารทวาชะ อีกอย่างหนึ่ง
ตระกูลที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ
นี้จัดเป็นตระกูลชั้นต่ำ
ที่ชื่อว่า ตระกูลชั้นสูง ได้แก่ ตระกูลโคตมะ ตระกูลโมคคัลลานะ ตระกูล
กัจจายนะ ตระกูลวาเสฏฐะ อีกอย่างหนึ่ง ตระกูลที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม
ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นตระกูลชั้นสูง
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงาน ได้แก่ หน้าที่การงาน ๒ อย่าง คือ (๑) หน้าที่การงาน
ชั้นต่ำ (๒) หน้าที่การงานชั้นสูง
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงานชั้นต่ำ ได้แก่ งานช่างถากไม้ งานเทขยะ๑ อีกอย่างหนึ่ง
การงานที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่น
นั้น ๆ นี้จัดเป็นการงานชั้นต่ำ
ที่ชื่อว่า หน้าที่การงานชั้นสูง ได้แก่ ทำนา ค้าขาย เลี้ยงโค อีกอย่างหนึ่ง
การงานที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกันใน
ท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นการงานชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยา ได้แก่ ศิลปวิทยา ๒ อย่าง คือ (๑) ศิลปวิทยาชั้นต่ำ
(๒) ศิลปวิทยาชั้นสูง
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นต่ำ ได้แก่ วิชาช่างจักสาน วิชาช่างหม้อ วิชาช่างหูก
วิชาช่างหนัง วิชาช่างกัลบก อีกอย่างหนึ่ง ศิลปวิทยาที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม
เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นต่ำ

เชิงอรรถ :
๑ ปุปฺผฉฑฺฑกกมฺมํ งานเทขยะ หรือเทอุจจาระ (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ศิลปวิทยาชั้นสูง ได้แก่ วิชานับ วิชาคำนวณ วิชาเขียน อีกอย่างหนึ่ง
ศิลปวิทยาที่เขาไม่เย้ยหยัน ไม่เหยียดหยาม ไม่เกลียดชัง ไม่ดูหมิ่น นับถือกัน
ในท้องถิ่นนั้น ๆ นี้จัดเป็นศิลปวิทยาชั้นสูง
ความเจ็บไข้ ทุกชนิดจัดเป็นสิ่งที่เลว ส่วนโรคเบาหวาน๑ จัดเป็นโรคที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ ได้แก่ รูปลักษณ์ ๒ อย่าง คือ (๑) รูปลักษณ์ที่เลว
(๒) รูปลักษณ์ที่ดี
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่เลว คือ สูงเกินไป เตี้ยเกินไป ดำเกินไป ขาวเกินไป นี้
จัดเป็นรูปลักษณ์ที่เลว
ที่ชื่อว่า รูปลักษณ์ที่ดี คือ ไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก นี้จัด
เป็นรูปลักษณ์ที่ดี
กิเลส ทั้งปวง ชื่อว่าเลว
อาบัติ (โทษทางพระวินัย) ทุกอย่างเป็นเรื่องที่เลว แต่โสดาบัติ (การเข้าถึง
กระแสธรรม) สมาบัติ (การเข้าฌาน) เป็นเรื่องที่ดี
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี๒ หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้
แต่สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ

เชิงอรรถ :
๑ มธุเมโห อาพาโธ โรคเบาหวาน บางอาจารย์ว่าโรคอ้วน (ถูลกายสฺส มํสูปจโยติ เอเก-วชิร.ฏีกา ๓๗๐)
๒ คำว่า “การร่วมประเวณี” แปลมาจากคำว่า ยกาเรน ภกาเรน (ยภ เมถุเน. มิถุนสฺส ชนทฺวยสฺส อิทํ
กมฺมํ เมถุนํ, ตสฺมึ เมถุเน ยภธาตุ วตฺตติ ยภ-ธาตุใช้ในความหมายว่าเมถุนธรรม คือด่าด้วยคำว่า
ยภ หมายถึงด่าถึงเรื่องของคน ๒ คน คือชายกับหญิงมีเพศสัมพันธ์กัน (นีติธาตุ ๑๖๙, วชิร. ฏีกา ๓๗๐,
สารตฺถ. ฏีกา ๓/๑๕/๔, วิมติ.ฏีกา ๒/๑๕/๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๑๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้
เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล
ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็น
นายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านกษัตริย์
ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านกษัตริย์ ท่าน
พราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๑๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ชื่ออวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบัน
ชื่อสวิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ
ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่าน
ชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ
กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อสวิฏฐกะ
กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต
กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่าน
ธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
[๑๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
คือ กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็น
คนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล
กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคน
ตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็นคนตระกูล
โคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคน
ตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว
กับอุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล
กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคน
ตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
[๑๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่
การงานชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะ
ว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงาน
ชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น
สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน
เป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น
สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบันผู้
เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
[๒๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้น
ต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับ
อุปสัมบันผู้เป็นช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า
“ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็นช่างหนัง ท่านเป็น
ช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นต่ำ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็น
นักเขียนว่า “ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น
ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับอุปสัมบันผู้เป็น
ช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า “ท่านเป็นช่าง
นับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาทต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อเขิน
กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักเขียน
ว่า “ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
[๒๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรค
กลาก กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่าน
เป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรค
ลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อ
เขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่าน
เป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๐๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคกลาก
กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่านเป็นโรค
เบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
[๒๒] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว
คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป
กับอุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็น
คนดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำนัก กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวนักว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคน
ดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าว
กับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป กับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนักท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำเกินไป กับ
อุปสัมบันผู้ไม่ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็น
คนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
[๒๓] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้
ถูกโมหะกลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่าน
เป็นผู้ถูกโมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจาก
โมหะว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโมหะ
กลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็นผู้ปราศ
จากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กับอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้
ปราศจากโมหะว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น
ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
[๒๔] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้
ต้องอาบัติปาราชิก กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุกกฏ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านต้อง
อาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ท่านต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติทุกกฏ ท่านต้องอาบัติ
ทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมสูงด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบัน
ผู้ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ อุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านเป็นโสดาบัน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมชั้นสูง คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าหยาบ
[๒๕] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีความประพฤติเลวด้วยคำด่าที่หยาบ คือ
กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ
กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์
นรกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติชั้นสูงด้วยคำด่าที่หยาบ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ
อุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ
ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ
หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีประชดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติเลวด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ กับ
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับอุปสัมบัน
ผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์นรกว่า
“ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็น
ธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอุปสัมบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้
เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคน
จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็น
พราหมณ์” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๒๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่ออวกัณณกะ
ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำพูด ฯลฯ
กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่อพุทธรักขิต ชื่อธัมม
รักขิต ชื่อสังฆรักขิต” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโกสิยะ ตระกูล
ภารทวาชะ ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโคตมะ ตระกูล
โมคคัลลานะ ตระกูลกัจจายนะ ตระกูลวาเสฏฐะ ฯลฯ”
๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างถากไม้ เป็นคน
เทขยะ ฯลฯ”
กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นชาวนา เป็นพ่อค้า
เป็นคนเลี้ยงโค ฯลฯ”
๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างจักสาน เป็นช่าง
หม้อ เป็นช่างหูก เป็นช่างหนัง เป็นช่างกัลบก ฯลฯ”
กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นช่างนับ เป็นนัก
คำนวณ เป็นนักเขียน ฯลฯ”
๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคฝี
เป็นโรคกลาก เป็นโรคมองคร่อ เป็นโรคลมบ้าหมู ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโรคเบาหวาน
ฯลฯ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคนสูงเกินไป เป็นคน
เตี้ยเกินไป เป็นคนดำเกินไป เป็นคนขาวเกินไป ฯลฯ”
กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคนไม่สูงนัก เป็นคน
ไม่เตี้ยนัก เป็นคนไม่ดำนัก เป็นคนไม่ขาวนัก ฯลฯ”
๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกถูกราคะกลุ้มรุม ถูก
โทสะกลุ้มรุม ถูกโมหะกลุ้มรุม ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกที่ปราศจากราคะ ปราศ
จากโทสะ ปราศจากโมหะ ฯลฯ”
๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ
ต้องอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ”
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นโสดาบัน ฯลฯ”
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่หยาบ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกมีความประพฤติดังอูฐ
มีความประพฤติดังแพะ มีความประพฤติดังโค มีความประพฤติดังลา มีความ
ประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน มีความประพฤติดังสัตว์นรก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีสุคติ หวัง
ได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
[๒๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวก เป็นบัณฑิต
เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ
หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคน
จักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ
คำพูด ฯลฯ๑
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนัก
ปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน
ช่างรถ คนเทขยะ ฯลฯ๑
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าที่สุภาพ
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา
ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๖-๒๕ หน้า ๒๐๕-๒๑๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน๑
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[๓๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับ
อนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้ฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็น คนจัณฑาล
เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ฯลฯ”
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ อนุปสัมบันของภิกษุ คือผู้มิได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ได้แก่ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา
คฤหัสถ์ชาย-หญิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อนุปสัมบัน
เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ
คน เทขยะ ฯลฯ
พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเราไม่มี
ทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๒] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็น
คนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบัน
ผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน
ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่ง
ถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน
เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๑๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
ถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัก
สาน กับอุปสัมบันผู้เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคน
เทขยะว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)
ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า
“ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านเป็นพราหมณ์” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ
กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่เลว ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี
ฯลฯ กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อดีด้วยชื่อที่ดี ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนัก
ปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็น
บัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก
ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๓] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำ
ให้อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
ภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคน
เทขยะ” ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ
ทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคน
จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล
คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ พหูสูต ธรรมกถึก พวกเรา
ไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอนุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
[๓๔] อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะ
ทำให้อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย
(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วยชาติกำเนิดต่ำ
ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วยชาติกำเนิดสูง ฯลฯ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ชาติกำเนิดสูงด้วยชาติกำเนิดสูง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
กล่าวกับอนุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอนุปสัมบัน
ผู้เป็นบัณฑิต กับอนุปสัมบันผู้เป็นคนฉลาด กับอนุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ
อนุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอนุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่าน
เป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ
หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มี
อนุปสัมบันบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ
เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“ในพระธรรมวินัยนี้ มีอนุปสัมบันบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนัก
ปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเขาไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้อง
อาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “อนุปสัมบันพวกใดกันแน่
เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“อนุปสัมบันพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๒.โอมสวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิด
อุปสัมบันไม่ต้องการจะด่า ไม่ต้องการจะสบประมาท ไม่ต้องการจะทำให้
อนุปสัมบันเก้อเขิน แต่ต้องการจะเล่น กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล
คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ฯลฯ
๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่า
“พวกเราไม่ใช่บัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก
พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติทุพภาสิตทุก ๆ คำพูด
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๓๕] ๑. ภิกษุมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุมุ่งธรรม
๓. ภิกษุมุ่งพร่ำสอน
๔. ภิกษุวิกลจริต
๕. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
๖. ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอมสวาทสิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค
๓. เปสุญญสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยุแหย่พวก
ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุ
นั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรง
ยิ่งขึ้น
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟัง
เรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้
เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความ
บาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปยุแหย่พวก
ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อ
ทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น
ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธ
เจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้
บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลาย
ข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความ
บาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๓๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะส่อเสียดภิกษุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ได้แก่ คำส่อสียดด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ต้อง
การให้ผู้อื่นชอบตน (๒) ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
ภิกษุกล่าวส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง
(๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง (๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง
(๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง (๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ
(๒) ชาติกำเนิดสูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน
ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑ นี้จัดเป็นชาติ
กำเนิดต่ำ
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้จัด
เป็นชาติกำเนิดสูง ฯลฯ๒
ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ
ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค
ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ
เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง
นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ
ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด
ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่
สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันกล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๙] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้กล่าว
ถึงท่านว่า “ท่านกษัตริย์ ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

เชิงอรรถ :
๑ คนเทขยะ หรือคนเทอุจจาระ ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒
๒ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒-๒๐๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
๒. กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ
ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๓. กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่าน
เป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด
๔. กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๕. กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น
ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๖. กล่าวส่อเสียดด้วยความเจ็บไข้
[๔๐] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็น
โรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๗. กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคนดำเกินไป
ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็นคนไม่ดำนัก
ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๘. กล่าวส่อเสียดด้วยกิเลส
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูก
โมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น
ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๙. กล่าวส่อเสียดด้วยอาบัติ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย ท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติ
ทุกกฏ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าหยาบ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๒๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็น
พหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
[๔๑] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ
ชื่อนี้กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน
เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึง
ท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ ภิกษุนั้นไม่
กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ๑
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังสุคติแน่นอน ภิกษุนั้นไม่
กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อ
นี้กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน

เชิงอรรถ :
๑ ดูความพิสดาร ข้อ ๓๙-๔๐ หน้า ๒๒๖-๒๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์
เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต
เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังสุคติได้แน่นอน ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่น
แต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ ภิกษุ
นั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด ฯลฯ
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้
กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก
พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน”
ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำพูด
เป็นอาบัติตามวัตถุ
[๔๒] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำพูด
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๓.เปสุญญสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๓] ๑. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน
๒. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน
๓. ภิกษุวิกลจริต
๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
เปสุญญสิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค
๔. ปทโสธัมมสิกขาบท
ว่าด้วยการให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนอุบาสก
ให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้
เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสอนอุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ เล่า พวกอุบาสก
จึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย” ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอสอนอุบาสกให้
กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ปฏิบัติให้เหมาะ
สมในภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงสอน
อุบาสกให้กล่าวธรรมแข่งกันเป็นบท ๆ เล่า พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง
ไม่ปฏิบัติให้เหมาะสมในภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๔๕] ก็ ภิกษุใดสอนอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุและภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
ที่ชื่อว่า เป็นบท ๆ ได้แก่ กล่าวเป็นบท กล่าวเป็นอนุบท กล่าวเป็นอนุอักขระ
กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นบท คือ ภิกษุกับอนุปสัมบันเริ่มสวดพร้อมกัน จบลง
พร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุบท คือ เริ่มสวดแยกกัน แต่จบลงพร้อมกัน
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุอักขระ คือ เมื่อภิกษุสอนว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันสวดพร้อมกันว่า๑ “รู” แล้วหยุด
ที่ชื่อว่า กล่าวเป็นอนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนให้ว่า “รูปํ อนิจฺจํ” แต่
อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับพร้อมกัน๑ว่า “เวทนา อนิจฺจา”
บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ ทั้งหมดนี้ชื่อว่าธรรมเป็นบท ๆ
ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ พุทธภาษิต สาวกภาษิต ฤๅษีภาษิต เทวดาภาษิต ที่
ประกอบด้วยอรรถ ที่ประกอบด้วยธรรม

เชิงอรรถ :
๑ คือเปล่งเสียงรับพร้อมกันกับภิกษุผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
คำว่า สอนให้กล่าว คือ สอนให้กล่าวเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ
บท สอนให้กล่าวเป็นอักษร ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ อักษร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็น
บท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สอนให้กล่าวธรรมเป็นบท ๆ ไม่ต้อง
อาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๔๘] ๑. ภิกษุผู้เรียนพระพุทธพจนะที่อาจารย์สอนให้ว่าพระพุทธวจนะพร้อม
กันกับอนุปสัมบัน
๒. ภิกษุผู้สาธยายพร้อมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๔.ปทโสธัมมสิกขาบท อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุผู้ช่วยอนุปสัมบันผู้สวดคัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก๑ สวด(ส่วนที่
ไม่คล่อง)พร้อมกันกับตน
๔. ภิกษุผู้ให้อนุปสัมบันที่สวดคลาดเคลื่อนไปสวดใหม่พร้อมกันกับตน
๕. ภิกษุวิกลจริต
๖. ภิกษุต้นบัญญติ
ปทโสธัมมสิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ เยภุยฺเยน ปคุณํ คนฺถํ คัมภีร์ที่คล่องส่วนมาก หมายถึงว่า “ถ้าคาถา ๑ คาถา จำไม่ได้เสีย ๑ บาท
ส่วนบาทที่เหลือจำได้” (สเจ เอกคาถาย เอโก ปาโท นาคจฺฉติ, อวเสสา อาคจฺฉนฺติ, อยํ เยภุยฺเยน
ปคุณคนฺโถ นาม - กงฺขา. ฏีกา ๓๗๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑.มุสาวาทวรรค
๕. สหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกัน
เรื่องภิกษุบวชใหม่
[๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขต
เมืองอาฬวี สมัยนั้น พวกอุบาสกมาฟังธรรมที่อาราม เมื่อพระธรรมกถึกแสดง
ธรรมแล้ว พระภิกษุเถระทั้งหลายกลับไปที่อยู่ พวกภิกษุบวชใหม่นอนร่วมกันกับ
อุบาสกในโรงฉัน ขาดสติสัมปชัญญะเปลือยกายละเมอ กรน พวกอุบาสกพากัน
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงนอนขาดสติสัมปชัญญะ
เปลือยกายละเมอ กรน เล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนาแล้ว บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
จึงนอนขาดสติสัมปชัญญะเปลือยกายละเมอ กรน เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิ
พวกภิกษุบวชใหม่โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรง
ตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุบวชใหม่ จบ
เรื่องสามเณรราหุล
[๕๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี ตามพระอัธยาศัยแล้ว
ได้เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ พทริการาม เขตกรุงโกสัมพีนั้น
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านราหุล๑ ดังนี้ว่า “ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ท่านราหุล ท่านจงหาที่นอน”
คืนนั้น ท่านราหุลหาที่นอนไม่ได้จึงไปนอนในวัจกุฎี๒
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเสด็จไปวัจกุฎี ครั้นถึงแล้วจึง
ทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ
“ใครอยู่ในที่นี่”
“ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า”
“ราหุล เธอมานอนที่นี่ทำไม”
ทีนั้น ท่านราหุลจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
ได้ ๒-๓ คืน” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ พระราหุลยังบวชเป็นสามเณรอยู่
๒ “วัจกุฎี” คือห้องสุขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๕๑] อนึ่ง ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องสามเณรราหุล จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อนึ่ง...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
คำว่า เกิน ๒-๓ คืน คือ มากกว่า ๒-๓ คืน
คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือ
มีเครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก
คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ เมื่ออนุปสัมบันนอน
ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอนอนุปสัมบันก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
หรือทั้งภิกษุและอนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอน
อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๓] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓
คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๓๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ไม่ต้อง
อาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๔] ๑. ภิกษุนอนพัก ๒-๓ คืน
๒. ภิกษุพักต่ำกว่า ๒-๓ คืน
๓. ภิกษุพัก ๒ คืน พอคืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณขึ้นแล้วกลับเข้ามา
๔. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบัง
ทั้งหมด
๕. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุง
ทั้งหมด
๖. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบัง
ส่วนมาก
๗. ภิกษุนั่งในเมื่ออนุปสัมบันนอน
๘. ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง
๙. ภิกษุนั่งและอนุปสัมบันก็นั่ง
๑๐. ภิกษุวิกลจริต
๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
๑. มุสาวาทวรรค
๖. ทุติยสหเสยยสิกขาบท
ว่าด้วยการนอนร่วมกันข้อที่ ๒
เรื่องพระอนุรุทธะ
[๕๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะเดินทางไปกรุงสาวัตถี
แคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งในเวลาเย็น สมัยนั้น มีหญิงคนหนึ่งจัดสร้างเรือน
พักแรมไว้ในหมู่บ้านนั้น ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วได้กล่าวกับหญิงนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง ถ้าเธอไม่ลำบากใจ อาตมาขอพักใน
เรือนพักแรมสัก ๑ คืน”
นางกล่าวว่า “นิมนต์ท่านพักเถิด เจ้าข้า”
ฝ่ายพวกคนเดินทางเหล่าอื่นก็ได้เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าว
กับหญิงนั้นดังนี้ว่า “คุณนายขอรับ หากคุณนายไม่ลำบากใจ พวกเราขอพักในเรือน
พักแรมสัก ๑ คืน”
นางกล่าวว่า “หากพระคุณเจ้าผู้เข้ามาก่อนอนุญาต ก็เชิญพวกท่านพักแรมได้”
พวกคนเดินทางจึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับ
ท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า “ท่านขอรับ ถ้าท่านไม่ลำบากใจ พวกกระผมขอพักใน
เรือนพักแรมสัก ๑ คืน”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “เชิญท่านทั้งหลายพักเถิด”
ครั้งนั้นแล หญิงนั้นมีจิตรักใคร่ในท่านพระอนุรุทธะตั้งแต่แรกเห็น ดังนั้น นาง
จึงเข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าอยู่ปะปน
กับคนพวกนี้ไม่สะดวก ทางที่ดี ดิฉันควรจัดเตียงข้างในห้องถวายพระคุณเจ้า”
ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
ครั้นแล้ว นางจึงจัดเตียงข้างในห้องถวายด้วยตนเอง แล้วแต่งตัว ประพรม
เครื่องหอม เข้าไปหาพระเถระถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับท่านพระอนุรุทธะนั้น
ดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉันก็รูปงาม น่าดู
น่าชม ทางที่ดี ดิฉันควรเป็นภรรยาของพระคุณเจ้า” เมื่อนางกล่าวอย่างนี้ ท่าน
พระอนุรุทธะได้นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ หญิงนั้นก็กล่าวกับท่าน
พระอนุรุทธะนั้นดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า พระคุณเจ้ารูปงาม น่าดู น่าชม ส่วนดิฉัน
ก็รูปงาม น่าดู น่าชม ทางที่ดี ขอให้พระคุณเจ้ารับตัวดิฉันและสมบัติทั้งปวงเถิด”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอนุรุทธะก็ได้นิ่งเสีย
ลำดับนั้น นางจึงเปลื้องผ้าออก เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างต่อหน้า
พระเถระ
ทีนั้น พระเถระสำรวมอินทรีย์ ไม่แลดู ไม่พูดกับนาง
หญิงนั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี คนส่วนมากส่งทรัพย์มาให้เรา ๑๐๐
กหาปณะบ้าง ๑,๐๐๐ กหาปณะบ้าง แต่พระสมณะรูปนี้เราอ้อนวอน ก็ยังไม่
ปรารถนาที่จะรับตัวเราและสมบัติทั้งปวง จึงนุ่งผ้าแล้วน้อมศีรษะลงแทบเท้าท่าน
พระอนุรุทธะขอขมาว่า “พระคุณเจ้า ดิฉันได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบา
ปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้ ขอพระคุณเจ้าจงให้อภัยโทษแก่ดิฉันเพื่อสำรวมต่อไป”
พระเถระกล่าวว่า “น้องหญิง เอาเถิด การที่เธอได้ทำความผิดไปเพราะความโง่
เขลาเบาปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไข
ให้ถูกต้อง ข้อนั้นอาตมายอมรับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว
แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
ครั้นราตรีนั้นผ่านพ้นไป หญิงนั้นได้เอาของเคี้ยวของฉันอย่างดีประเคนท่าน
พระอนุรุทธะด้วยตนเอง กระทั่งท่านพระอนุรุทธะฉันเสร็จ ละมือจากบาตร จึง
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้หญิงนั้นผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น หญิงนั้นซึ่งท่านพระอนุรุทธะได้ชี้แจงให้เห็น
ชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้
สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะว่า “พระคุณเจ้า ภาษิต
ของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้า ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระ
คุณเจ้าประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดี
จักเห็นรูป พระคุณเจ้า ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงทรงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะ ตั้ง
แต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จากนั้นพระเถระเดินทางไปกรุงสาวัตถีแล้วแจ้งเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
พระอนุรุทธะจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอนุรุทธะ
โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามท่านพระอนุรุทธะว่า “อนุรุทธะ ทราบว่า เธอนอนร่วมกับมาตุคาม จริง
หรือ” ท่านพระอนุรุทธะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ อนุรุทธะ ไฉนเธอจึงนอนร่วมกับมาตุคามเล่า อนุรุทธะ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๖] ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับมาตุคาม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอนุรุทธะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย หญิงมนุษน์นั้นโดยที่สุดกระทั่งเด็กหญิงซึ่งเกิดในวันนั้น หญิง
โตกว่านี้ไม่ต้องกล่าวถึง
คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน
ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือมี
เครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก
คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดง เมื่อมาตุคามนอน ภิกษุก็นอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอน มาตุคามก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือทั้ง
ภิกษุและมาตุคามนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอนอีก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๘] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ภิกษุนอนร่วมกัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์] ๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุนอนร่วมกันกับนางยักษ์ นางเปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าเป็นมาตุคาม ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๕๙] ๑. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบัง
ทั้งหมด
๒. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุง
ทั้งหมด
๓. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบัง
ส่วนมาก
๔. ภิกษุนั่ง ในเมื่อมาตุคามนอน
๕. ภิกษุนอน มาตุคามนั่ง
๖. ภิกษุนั่งและมาตุคามก็นั่ง
๗. ภิกษุวิกลจริต
๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยสหเสยยสิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า :๒๔๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น