Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๔-๔ หน้า ๑๓๒ - ๑๗๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔-๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๑
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และไม่
ชักชวนผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๓)
สุกกปักษ์ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ตนเองประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ตนเองประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ตนเองประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
วิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ตนเองประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
กัณหปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๕)
สุกกปักษ์ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษา
เกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้
นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๖)
กัณหปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๑ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย


เชิงอรรถ :
๑ มีสีลวิบัติในอธิสีล อาจารวิบัติในอัชฌาจาร ทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ดูข้อ ๘๔ หน้า ๑๒๖ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๗)
สุกกปักษ์ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา ๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษา
เกิน ๑๐

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๘)
กัณหปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่สามารถพยาบาลเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. ไม่สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. ไม่สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิด
ขึ้นโดยธรรม
๔. ไม่รู้จักอาบัติ
๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
สุกกปักษ์ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถพยาบาลเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือ
สัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้
๒. สามารถระงับเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสัน
๓. สามารถบรรเทาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้น
โดยธรรม
๔. รู้จักอาบัติ
๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๐)
กัณหปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. ไม่สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๔. อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ
สุกกปักษ์ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
๒. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจาริกาสิกขา
๓. สามารถแนะนำในอภิธรรม
๔. สามารถแนะนำในอภิวินัย
๕. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๒)
กัณหปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสอง๑โดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๓)

เชิงอรรถ :
๑ ปาติโมกข์ทั้งสอง หมายถึงอุภโตวิภังค์ คือ ภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์ (วิ.อ. ๓/๘๕/๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
สุกกปักษ์ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (๑๔)
อุปสัมปาเทตัพพฉักกะ ๑๔ หมวด จบ
๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ว่าด้วยภิกษุผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์
ติตถิยปริวาส
[๘๖] สมัยนั้น ภิกษุผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ถูกพระอุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม
ได้โต้เถียงพระอุปัชฌาย์ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ดังเดิมแล้วกลับมาขออุปสมบทกับภิกษุอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ถูกพระ
อุปัชฌาย์ว่ากล่าวโดยชอบธรรม ได้โต้เถียงพระอุปัชฌาย์ ไปเข้ารีตเดียรถีย์ดังเดิม
มาแล้ว สงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวัง
บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ผู้นั้นอยู่ปริวาส ๔ เดือน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
วิธีให้ติตถิยปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ติตถิยปริวาสอย่างนี้ ก่อนอื่นพึงให้กุลบุตรที่เคย
เป็นอัญเดียรถีย์ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วสั่งว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้”
แล้วให้ว่าสรณคมน์ดังนี้
ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็นอัญเดียรถีย์นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวคำขอติตถิย
ปริวาสอย่างนี้ว่า
คำขอติตถิยปริวาสและกรรมวาจาให้ติตถิยปริวาส
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรม
วินัยนี้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้นี้มีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ หวัง
อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
พึงให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้นี้มีชื่อนี้เคยเป็นอัญเดียรถีร์ หวังอุปสมบท
ในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อ
นี้ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้
ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปริวาส ๔ เดือน สงฆ์ให้แล้วแก่ผู้มีชื่อนี้ซึ่งเคยเป็นอัญเดียรถีย์ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
อย่างนี้ เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้
ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
อย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เข้าหมู่บ้านเช้าเกินไป
กลับสายเกินไป๑ แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้มีหญิง
แพศยาเป็นโคจร๒ มีหญิงม่ายเป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
หรือมีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ เข้าหมู่บ้านเช้าเกินไป หมายถึงเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายทำวัตร
กลับสายเกินไป หมายถึงมัวแต่คุยเรื่องของชาวบ้านกับสตรี บุรุษ เด็กชาย และเด็กหญิงเป็นต้นในตระกูล
ทั้งหลาย ฉันในตระกูลเหล่านั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรและจีวรแล้วเรียนบาลีและอรรถกถาอยู่ หรือ
หลีกเร้นอยู่ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ผู้นั้นจึงกลับมาไม่ทำอุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร เข้าไปที่พักแล้ว
นอน (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๑)
๒ มีหญิงแพศยาเป็นโคจร หมายถึงไปมาหาสู่หญิงแพศยาด้วยปรารถนาความเป็นมิตร มีความคุ้นเคยกับ
หญิงแพศยา (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๗/๒๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๓๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่ขยัน
เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ไม่ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น ไม่อาจทำ ไม่อาจจัด แม้เช่นนี้
ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ไม่มีฉันทะ
แรงกล้าในอุทเทส ในปริปุจฉา๑ ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ออกจากลัทธิ
ของครูใด เมื่อมีผู้กล่าวติเตียนครูนั้น กล่าวติเตียนความเห็นของครูนั้น ความ
ชอบใจของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น ความยึดถือของครูนั้น ก็โกรธ ไม่พอใจ
ไม่ชอบใจ เมื่อมีผู้กล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับพอใจ
ร่าเริง ชอบใจ ก็หรือออกจากลัทธิของครูใด เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญครูนั้น กล่าว
สรรเสริญความเห็นของครูนั้น ความชอบใจของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น
ความยึดถือของครูนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ เมื่อกล่าวสรรเสริญพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวน
ในข้อปฏิบัติที่ไม่ชวนให้สงฆ์ยินดีของกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี
อย่างนี้ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้มาแล้ว ไม่พึงให้
อุปสมบท
ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์นี้ เข้าหมู่บ้านไม่เช้านัก
กลับไม่สายนัก แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ อุทเทส หมายถึงการเรียนบาลี
ปริปุจฉา หมายถึงอรรถกถา (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๕. อัญญติตถิยปุพพกถา
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ไม่เป็นผู้มีหญิง
แพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงม่ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์
เป็นโคจร หรือไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น อาจทำ อาจจัด แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ เป็นผู้มีฉันทะ
แรงกล้าในอุทเทส ในปริปุจฉา ในอธิสีล อธิจิต อธิปัญญา แม้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี
ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ออกจากลัทธิของ
ครูใด เมื่อมีผู้กล่าวติเตียนครูนั้น กล่าวติเตียนความเห็นของครูนั้น ความชอบใจ
ของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น ความยึดถือของครูนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ
เมื่อเขากล่าวติเตียนพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ
ก็หรือออกจากลัทธิของครูใด เมื่อเขากล่าวสรรเสริญครูนั้น กล่าวสรรเสริญความ
เห็นของครูนั้น ความชอบใจของครูนั้น ความพอใจของครูนั้น ความยึดถือของ
ครูนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เมื่อเขากล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม
หรือพระสงฆ์ ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในข้อปฏิบัติที่ชวน
ให้สงฆ์ยินดีของกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์
ภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้
กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้ มาแล้ว พึงให้อุปสมบท
เรื่องอัญเดียรถีย์เปลือยไม่โกนผม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์เปลือยกายมา พึงแสวงหาจีวร
ซึ่งมีอุปัชฌาย์เป็นเจ้าของ ถ้ายังไม่ปลงผมมา สงฆ์พึงอปโลกน์เพื่อปลงผม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
เรื่องชฎิลบูชาไฟ
ภิกษุทั้งหลาย พวกชฎิลบูชาไฟมาแล้ว พึงให้อุปสมบท ไม่ต้องให้ปริวาสแก่
พวกเธอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชฎิลเหล่านั้นเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที๑
เรื่องอัญเดียรถีย์ศากยะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็นอัญเดียรถีย์มา ศากยะนั้นมาแล้ว
พึงให้อุปสมบท ไม่ต้องให้ปริวาสแก่ศากยะนั้น เราให้สิทธิพิเศษส่วนนี้เฉพาะแก่หมู่
ญาติ
อัญญติตถิยปุพพกถา จบ
ภาณวารที่ ๗ จบ
๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
ว่าด้วยอาพาธ ๕ ชนิด
เรื่องอันตรายิกธรรม
[๘๘] สมัยนั้น ในแคว้นมคธเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ (๑) โรคเรื้อน
(๒) โรคฝี (๓) โรคกลาก (๔) โรคมองคร่อ๒ (๕) โรคลมบ้าหมู พวกมนุษย์ถูกโรค ๕
ชนิดเบียดเบียน พากันไปหาหมอชีวกโกมารภัจ กล่าวว่า “ขอโอกาส คุณหมอ
ช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”
หมอชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พระสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษาได้”
มนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า “คุณหมอ ทรัพย์สมบัติยกให้ท่านทั้งหมด ทั้งพวก
ข้าพเจ้ายอมเป็นทาสของท่าน ขอโอกาส ขอความกรุณารักษาพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า “กรรมมีอยู่ ผลของกรรมมีอยู่ ” (วิ.อ. ๓/๘๗/๕๕)
๒ โรคมองคร่อ คือโรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่
เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
หมอชีวกโกมารภัจตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ นางสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษา (พวกท่าน) ได้”
ขณะนั้น มนุษย์เหล่านั้นมีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เหล่านี้มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด
ถ้ากระไรพวกเราพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร ในที่นั้นภิกษุทั้งหลาย
จักพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจจักรักษา” ต่อมา จึงเข้าไปขอบรรพชา ภิกษุ
ทั้งหลาย ได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท
พวกภิกษุก็ต้องพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจก็ต้องรักษาพวกเขา
ครั้นต่อมา ภิกษุทั้งหลายพยาบาลภิกษุไข้เป็นอันมาก เป็นผู้มากด้วยการขอ
มากด้วยการออกปากขอว่า “จงให้อาหารสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้ จงให้อาหารสำหรับ
ภิกษุพยาบาลไข้ จงให้ยาสำหรับภิกษุผู้เป็นไข้”
แม้หมอชีวกโกมารภัจมัวรักษาภิกษุไข้เป็นอันมาก ก็ปฏิบัติราชการบางอย่าง
บกพร่อง
[๘๙] ฝ่ายบุรุษคนหนึ่งถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน ก็เข้าไปหาหมอชีวก
โกมารภัจเรียนว่า “ขอโอกาส คุณหมอช่วยรักษากระผมด้วยเถิด”
หมอชีวกโกมารภัจกล่าวว่า “แน่ะนาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พระสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผม
ก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถรักษาได้”
“คุณหมอ ทรัพย์สมบัติยกให้ท่านทั้งหมด ทั้งกระผมยอมเป็นทาสของท่าน
ขอโอกาส โปรดรักษากระผมด้วยเถิด”
“แนะพนาย ผมมีกิจมาก มีงานต้องทำมาก พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
นางสนมและภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผมก็ต้องพยาบาล ผมไม่สามารถ
รักษาได้”
ขณะนั้น บุรุษนั้นมีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้ากระไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๖. ปัญจาพาธวัตถุ
พวกเราพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร ในที่นั้นภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล
และหมอชีวกโกมารภัจจักรักษา เราหายโรคก็จะสึก” จึงเข้าไปขอการบรรพชา ภิกษุ
ทั้งหลายได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท
พวกภิกษุก็ต้องพยาบาลและหมอชีวกโกมารภัจก็ต้องรักษา เขาหายโรคแล้วก็
สึก
หมอชีวกโกมารภัจเห็นบุรุษนั้นสึกจึงถามว่า “ท่านได้บรรพชาในหมู่ภิกษุมิใช่หรือ”
บุรุษนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
“ท่านได้ทำเช่นนั้นเพื่ออะไร”
บุรุษนั้นได้บอกเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจทราบ
หมอชีวกโกมารภัจจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้า
ทั้งหลาย จึงให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียนบรรพชาเล่า” แล้วเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึง
ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียนบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี
กถาแล้ว
ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้วจึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณจากไป
ทรงห้ามคนเป็นโรคติดต่อบรรพชา
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดเบียดเบียน
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๗. ราชภฏวัตถุ
๒๗. ราชภฏวัตถุ
ว่าด้วยราชภัฏบรรพชา๑
พระเจ้าพิมพิสารทูลขออนุญาต
[๙๐] สมัยนั้น เขตชายแดนของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเกิดความ
วุ่นวายขึ้น ท้าวเธอทรงรับสั่งเหล่ามหาอมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกองว่า “ท่าน
ทั้งหลายจงไปปราบเขตชายแดนให้สงบ”
เหล่ามหาอมาตย์ ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ทูลรับสนองพระกระแสรับสั่งของ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ขณะนั้น พวกทหารที่มีชื่อเสียงต่างมีความปริวิตกว่า พวกเรายินดีในการรบ
จะไปทำบาปกรรม และจะประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
พวกเราจะพึงเว้นจากกรรมชั่ว และทำกรรมดีได้เล่า
ทหารเหล่านั้นก็มีความคิดว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ประพฤติ
ธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าววาจาสัตย์ มีศีล มีกัลยาณ
ธรรม ถ้าพวกเราจะพึงบรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไซร้ ด้วยอุบาย
อย่างนี้ พวกเราจะพึงเว้นจากกรรมชั่วและทำกรรมดีได้” จึงพากันเข้าไปขอการ
บรรพชา ภิกษุทั้งหลาย ได้ให้บรรพชาให้อุปสมบท
เหล่ามหาอมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ถามพวกราชภัฏว่า “ทหารผู้มีชื่อนี้
และมีชื่อนี้หายไปไหน”
พวกราชภัฏเรียนว่า “ทหารผู้มีชื่อนี้และมีชื่อนี้ไปบรรพชาในหมู่ภิกษุแล้ว
ขอรับ”
เหล่ามหาอมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายจึงได้ให้ราชภัฏบรรพชาเล่า” แล้ว
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ราชภัฏ หมายถึงอมาตย์ มหาอมาตย์ หรือคนรับใช้ได้รับฐานันดรบางอย่างแล้วหรือยังไม่ได้รับ เป็นผู้ที่
พระราชาทรงเลี้ยงดูด้วยข้าวและเงินเดือน (วิ.อ. ๓/๙๐/๕๗-๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๗. ราชภฏวัตถุ
เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทูลขอห้ามให้ราชภัฏบรรพชา
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ตรัสถามคณะมหาอมาตย์ผู้
พิพากษาว่า “ท่าน ภิกษุรูปใด ให้ผู้ที่เป็นราชภัฏบรรพชา ภิกษุรูปนั้นต้องโทษสถานใด”
คณะมหาอมาตย์ผู้พิพากษากราบบังคมทูลว่า “ขอเดชะ พระอุปัชฌาย์ต้องถูก
ตัดศีรษะ พระอนุสาวนาจารย์ต้องถูกดึงลิ้น พระคณปูรกะ๑ต้องถูกหักซี่โครงไปแถบหนึ่ง
พระเจ้าข้า”
ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระราชาทั้งหลายผู้ไม่ทรงศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่ พระราชา
เหล่านั้น จะพึงรบกวนเหล่าภิกษุด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยได้ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงให้ราชภัฏบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐเห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วกระทำประทักษิณเสด็จ
จากไป
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นราชภัฏภิกษุไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ คณปูรกะ คือ ภิกษุที่ทำให้องค์ประชุมครบจำนวน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๒๙. การเภทกโจรวัตถุ
๒๘. อังคุลิมาลโจรวัตถุ
ว่าด้วยโจรองคุลีมาลบรรพชา
[๙๑] สมัยนั้น โจรองคุลีมาลได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ ชาวบ้านเห็นเข้าต่างหวาด
กลัวบ้าง ตกใจบ้าง หนีไปบ้าง ไปเสียทางอื่นบ้าง หลบหน้าไปบ้าง ปิดประตูบ้าง
คนทั้งหลาย พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรทั้งหลายจึงให้โจรที่มีชื่อโด่งดังบรรพชาเล่า”
เรื่องห้ามโจรมีชื่อเสียงบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรที่มีชื่อโด่งดัง ไม่พึงให้บรรพชา
รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
๒๙. การเภทกโจรวัตถุ
ว่าด้วยโจรแหกเรือนจำบรรพชา
[๙๒] สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า
“กุลบุตรเหล่าใดได้บรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น
ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้วถูกเจ้าหน้าที่จองจำไว้ในเรือนจำ เขาแหก
เรือนจำหนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ มนุษย์ทั้งหลายพบเข้าแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
“ภิกษุรูปนี้คือโจรแหกเรือนจำคนนั้น เอาเถอะ พวกเราจะจับภิกษุนั้นไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๐. ลิขิตกโจกวัตถุ
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไรมิได้
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้หลบหนีภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรทั้งหลายจึงให้โจรแหกเรือนจำบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรผู้แหกเรือนจำไม่พึงให้บรรพชา
รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
๓๐. ลิขิตกโจรวัตถุ
ว่าด้วยโจรถูกออกหมายจับบรรพชา
[๙๓] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้วได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ และ
เขาถูกเจ้าหน้าที่ออกหมายจับทั่วราชอาณาจักรว่า “พบเข้าในที่ใด พึงฆ่าเสียในที่นั้น”
มนุษย์ทั้งหลายพบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือโจรผู้ถูกออกหมายจับคนนั้น
เอาเถอะ พวกเราจะฆ่าภิกษุนั้นเสีย”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไรมิได้
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๒. ลักขณาหตวัตถุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรจึงให้โจรผู้ถูกออกหมายจับบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โจรผู้ถูกออกหมายจับไม่พึงให้
บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
๓๑. กสาหตวัตถุ
ว่าด้วยบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชา
[๙๔] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวายบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
๓๒. ลักขณาหตวัตถุ
ว่าด้วยบุรุษถูกสักหมายโทษบรรพชา
[๙๕] สมัยนั้น บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาสักหมายโทษได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๔๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๓. อิณายิกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษไม่พึง
ให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
๓๓. อิณายิกวัตถุ
ว่าด้วยลูกหนี้บรรพชา
[๙๖] สมัยนั้น ชายผู้เป็นลูกหนี้๑คนหนึ่งได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกเจ้า
ทรัพย์พบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น เอาเถอะ
พวกเราจงจับภิกษุนั้นไว้”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ พระเจ้า
พิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไร
มิได้ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุด
ทุกข์โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้คนมีหนี้บรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนมีหนี้ไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ หนี้ ในที่นี้หมายเอาทั้งหนี้ที่บุคคลนั้น ๆ ยืมมาเองและหนี้ที่บิดาและปู่ของบุคคลนั้นยืมไว้ก่อนแล้ว จะให้
บุคคลผู้มีหนี้เช่นนี้บรรพชาไม่ควร แต่ถ้ามีญาติและคนมีสายสัมพันธ์รับภาระหนี้แทน จะให้บุคคลเช่นนี้
บรรพชา ควรอยู่ (วิ.อ. ๓/๙๖/๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๕. กัมมารภัณฑวัตถุ
๓๔. ทาสวัตถุ
ว่าด้วยทาสบรรพชา
[๙๗] สมัยนั้น ทาสคนหนึ่งได้หนีไปบรรพชาในหมู่ภิกษุ พวกเจ้านายพบเข้า
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คือทาสของพวกเราคนนั้น เอาเถอะ พวกเราจงจับ
ภิกษุนั้นไว้”
มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ เพราะพระ
เจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า ‘กุลบุตรเหล่าใดได้
บรรพชาในพวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้นใคร ๆ จะทำอะไรมิได้
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์
โดยชอบเถิด”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้ปลอดภัย ใคร ๆ จะทำอะไรมิได้ ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรทั้งหลายจึงให้ทาสบรรพชาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนเป็นทาสไม่พึงให้บรรพชา รูปใด
ให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
๓๕. กัมมารภัณฑวัตถุ
ว่าด้วยบุตรช่างทองผมจุกห้าแหยมบรรพชา
[๙๘] สมัยนั้น บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่งทะเลาะกับมารดาบิดา ได้ไปยัง
อารามบรรพชาในหมู่ภิกษุ ต่อมา มารดาบิดาได้ออกตามหาบุตร ไปถึงอารามถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านได้พบเด็กชายมีรูปร่างเช่นนี้บ้างไหม เจ้าข้า”
พวกภิกษุที่ไม่รู้เลยก็กล่าวว่า “พวกอาตมาไม่รู้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ
พวกภิกษุที่ไม่เห็นเลยก็กล่าวว่า “พวกอาตมาไม่เห็น”
ขณะมารดาบิดาตามหาได้พบบุตรบรรพชาในหมู่ภิกษุจึงพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ไม่มีความละอาย ทุศีล
ชอบพูดเท็จ รู้อยู่แท้ ๆ ก็กล่าวว่า พวกอาตมาไม่รู้ เห็นอยู่ชัด ๆ ก็กล่าวว่า
พวกอาตมาไม่เห็น เด็กนี้ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุเสียแล้ว”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาของบุตรช่างทองผมจุกตำหนิ ประณาม
โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อปโลกน์๑ต่อสงฆ์เพื่อ
การปลงผม”
๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ๒
ว่าด้วยเด็กชายอุบาลีบรรพชา
[๙๙] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีเด็กชายผู้เป็นเพื่อนกัน ๑๗ คน เด็กชาย
อุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้
ปรึกษากันดังนี้ว่า “เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่
ลำบากด้วยวิธีใดหนอ” ลำดับนั้นมารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ปรึกษากันอีกว่า
“ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี
จะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกไปว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ นิ้ว
มือจะระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป
เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” และวิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียน
วิชาคำนวณก็จะแน่นหน้าอก ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน ด้วยวิธีอย่างนี้
เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี จะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก” แล้วก็วิตก

เชิงอรรถ :
๑ อปโลกน์ หมายถึงการบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบร่วมกัน หรือการสอบถามขอความเห็นชอบ
ร่วมกันในกิจของสงฆ์เช่นสอบถามการปลงผม การอุปสมบท การบรรพชา (วิ.อ. ๓/๙๘-๙/๖๕)
๒ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๐๒/๕๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ
อีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน นัยน์ตาเขาจะปวด พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้มีลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี
นอนในห้องมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลีได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบาย และไม่ลำบาก”
เด็กชายอุบาลีออกบวช
เด็กชายอุบาลีได้ยินคำสนทนาของมารดาบิดา ครั้นแล้วเด็กชายอุบาลีจึงได้ไป
หาพวกเด็ก ๆ ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว ได้กล่าวกับพวกเด็ก ๆ เหล่านั้น ดังนี้ว่า
“เพื่อนทั้งหลาย มาเถิด พวกเราจะไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร”
เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า “เพื่อนเอ๋ย ถ้าเจ้าบวช พวกเราก็จะบวชเช่นกัน”
ครั้นแล้วเด็ก ๆ เหล่านั้น ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน แล้วได้กล่าว
ขออนุญาตดังนี้ว่า “พ่อแม่โปรดอนุญาตให้พวกลูก ๆ ออกจากเรือนไปบวชเป็น
บรรพชิตเถิด”
มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นอนุญาตด้วยคิดว่า “เด็กพวกนี้ต่างพร้อมใจมีความ
ปรารถนาสิ่งที่ดีงามทุกคน”
พวกเด็กเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้เด็ก
เหล่านั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว
ครั้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ว่า “ท่านทั้งหลาย
โปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยว”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “เธอทั้งหลาย รอให้สว่างเสียก่อน ถ้ามีข้าวต้ม
พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีข้าวสวย พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีของเคี้ยว พวกเธอจะได้เคี้ยว
แต่ถ้าข้าวต้มข้าวสวยหรือของเคี้ยวไม่มี พวกเธอต้องเที่ยวบิณฑบาตมาฉัน”
ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังพากันร้องไห้ว่า
“ท่านทั้งหลายโปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยวเถิด” พากันถ่าย
อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง รดเสนาสนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๖. อุปาลิทารกวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก
ครั้นได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ เสียงเด็กร้องไห้เพราะ
เหตุใดหรือ”
ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
เรื่องทรงห้ามกุลบุตรอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุรู้อยู่ ก็ยังให้บุคคลอายุ
หย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบทจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้นรู้อยู่แต่ก็ยังให้บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีอุปสมบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน
ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย
คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน
ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี
จึงจะอดทน อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจาก
เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึก
ทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบ
จะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นแล้วได้ทรงแสดง
ธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ไม่พึงให้บุคคลผู้มี
อายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท พึงปรับอาบัติตามธรรม๑”

เชิงอรรถ :
๑ ตามธรรม คือ ตามความผิด,ตามโทษานุโทษ ในที่นี้ ปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๕
แห่งสัปปาณกวรรค (วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๐๓/๕๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๗. อหิวาตกโรควัตถุ
๓๗. อหิวาตกโรควัตถุ
ว่าด้วยอหิวาตกโรค
กำหนดอายุผู้บรรพชาเป็นสามเณร
[๑๐๐] สมัยนั้น ครอบครัวหนึ่งได้ถึงแก่กรรมด้วยอหิวาตกโรค เหลือเพียง
บิดากับบุตร คนทั้ง ๒ ได้บรรพชาในหมู่ภิกษุแล้วเที่ยวบิณฑบาตด้วยกัน ครั้งนั้น
เมื่อเขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้บิดา สามเณรน้อยก็วิ่งไปหาแล้วได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็น
บิดานั้นว่า “พ่อจ๋า ให้หนูบ้าง พ่อจ๋า ให้หนูบ้าง”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยแม้รูปนี้คงจะเกิดจาก
ภิกษุณี”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมนุษย์เหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เด็กชายมีอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปี
ไม่พึงให้บรรพชา รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องบรรพชาให้เด็กอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปีของตระกูลมีศรัทธา
สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ถึงแก่กรรม
ด้วยอหิวาตกโรค เหลือเพียงเด็กชาย ๒ คน เด็กชายทั้ง ๒ เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว
ก็วิ่งเข้าไปหาด้วยกิริยาที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ไล่ไปเสีย เด็กทั้ง ๒
เมื่อถูกภิกษุไล่ก็ร้องไห้ ขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เด็กชายมีอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปี ไม่พึงให้บรรพชา ก็เด็ก
ทั้ง ๒ คนนี้มีอายุหย่อนกว่า ๑๕ ปี ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เด็กทั้ง ๒ นี้จึงจะไม่
เสียโอกาส” ทีนั้นท่านพระอานนท์จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ก็เด็กทั้ง ๒ นั้นสามารถไล่กาได้ไหม”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๓๙. อาหุนทริกวัตถุ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้เด็กชายมีอายุ
หย่อนกว่า ๑๕ ปี ซึ่งสามารถไล่กาได้บรรพชา”
๓๘. กัณฏกวัตถุ
ว่าด้วยสามเณรกัณฏกะ
[๑๐๑] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ ๒ รูป คือ
สามเณรกัณฏกะและสามเณรมหกะ เธอทั้ง ๒ ชอบรังแกกันและกัน ภิกษุทั้งหลาย
จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้ประพฤติไม่
สมควรเช่นนี้เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียวไม่ควรมีสามเณรรับใช้
๒ รูป รูปใดให้รับใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
๓๙. อาหุนทริกวัตถุ
ว่าด้วยทิศคับแคบ
[๑๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์เพียงแห่งเดียว
ทั้งฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ทิศทั้งหลายคับแคบ มืดมนสำหรับพวกพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ จึงมองไม่เห็นทิศทาง”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกับพระอานนท์ว่า “อานนท์ เธอจงไป
ถอดดาลแจ้งภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า “อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงประสงค์จะเสด็จจาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่าน
ผู้นั้นจงมา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว จึงถอดดาลแจ้งภิกษุทั้งหลาย
ในบริเวณวิหารว่า “อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์จะเสด็จจาริกไปยัง
ทักขิณาคิรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา”
ภิกษุทั้งหลายเรียนชี้แจงว่า “ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติให้
ภิกษุถือนิสสัยอยู่ ๑๐ พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาครบ ๑๐ ให้นิสสัยได้ พวกผม
จะต้องไปในทักขิณาคิรีชนบทนั้น ก็ต้องถือนิสสัย พักอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ต้องกลับ
มาอีก และต้องถือนิสสัยอีกด้วย ถ้าพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของพวกผมไป
พวกผมก็จะไปด้วย ถ้าพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ของพวกผมไม่ไป พวกผมก็จะ
ไม่ไป ท่านพระอานนท์ ความที่พวกผมมีจิตใจโลเลจักปรากฏ”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จจาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบทพร้อมด้วยภิกษุ
สงฆ์จำนวนน้อย
๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ว่าด้วยการถือนิสสัยและการพ้นนิสสัย
[๑๐๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัยแล้ว
ก็เสด็จกลับมายังกรุงราชคฤห์ตามเดิมอีก ได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาสอบถามว่า
“อานนท์ ตถาคตได้จาริกไปยังทักขิณาคิรีชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนน้อย
เพราะเหตุไร”
ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้ถือนิสสัย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถถือนิสสัยอยู่
๕ พรรษา ให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาดถือนิสสัยอยู่จนตลอดชีวิต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัยไม่ได้
คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๑)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๒)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๓)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๔)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๕)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๕๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๗)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๘)
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ

๑. ไม่รู้จักอาบัติ ๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา ๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. รู้จักอาบัติ ๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา ๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๑๐)
ปัญจกทสวาร จบ
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
[๑๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ
๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๑)
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ
๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ
๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ
๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ
๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๒)
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้เกียจคร้าน
๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ๖. มีพรรษาหย่อน ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๓)
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๔)
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ

๑. เป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๐. นิสสยมุจจนกกถา
๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม ๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๕)
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล
๒. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
๕. เป็นผู้มีปัญญา
๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๖)
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
๑. ไม่รู้จักอาบัติ
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่อง
แคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
๖. มีพรรษาหย่อน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
๑. รู้จักอาบัติ
๒. รู้จักอนาบัติ
๓. รู้จักอาบัติเบา
๔. รู้จักอาบัติหนัก
๕. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
๖. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (๘)
นิสสัยมุจจนกกถา จบ
อภยูวรภาณวารที่ ๘ จบ
๔๑. ราหุลวัตถุ
ว่าด้วยพระราหุลกุมารบรรพชา
พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร
[๑๐๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์
ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้น
เวลาเช้า ทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จไปยังพระนิเวศน์พระเจ้าสุทโธทน
ศากยะ ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ได้ปูลาดไว้
ขณะนั้น พระเทวีมารดาพระราหุลกุมารได้ทรงมีพระเสาวนีย์ว่า “แน่ะราหุล
สมณะนั้นเป็นบิดาของเจ้า เจ้าจงไปทูลขอทรัพย์มรดกเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
พระราหุลกุมารจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ประทับยืน ณ เบื้องพระพักตร์
พลางกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ พระฉายาของพระองค์เป็นสุข”
พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป พระกุมารก็เสด็จ
ติดตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ พลางกราบทูลขอว่า “พระสมณะได้โปรดประทาน
ทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน พระสมณะได้โปรดประทานทรัพย์มรดกแก่หม่อมฉัน”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมารับสั่งว่า “สารีบุตร
ถ้าอย่างนั้นเธอจงให้ราหุลกุมารบรรพชาเถิด”
ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะให้ราหุลกุมารบรรพชาอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณร
ด้วยไตรสรณคมน์”๑
วิธีให้บรรพชา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบรรพชา อย่างนี้
ในเบื้องต้น พึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะ
ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนม
มือแล้วสั่งว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้” แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ เดิมที พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ต่อมาทรงห้ามอุปสมบทด้วย
ไตรสรณคมน์ ทรงอนุญาตวิธีอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม แต่ไม่ได้ทรงห้ามการบรรพชา ทั้งไม่ได้ทรง
อนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ใช้วิธีนี้ต่อไปอีก แต่มีพระประสงค์ที่จะอนุญาตให้บรรพชาสามเณรด้วยไตรสรณคมน์
พระสารีบุตรทราบพุทธอัธยาศัย จึงกราบทูลให้ทรงอนุญาตการบรรพชาอีก และใช้วิธีการบรรพชาด้วย
ไตรสรณคมน์ บวชราหุลกุมารเป็นสามเณรรูปแรก (วิ.อ. ๓/๑๐๕/๗๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๕ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้า ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ข้าพเจ้า ขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบรรพชาเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้”
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้ให้พระราหุลบรรพชาแล้ว
เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร๑
ครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนศากยะได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้พระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระเจ้าข้า หม่อมฉันทูลขอพรพระผู้มีพระภาคอย่างหนึ่ง”

เชิงอรรถ :
๑ ในวันที่ ๒ หลังจากที่เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า
พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว จึงเสด็จไปหา ตรัสว่า การที่พระพุทธองค์เสด็จเที่ยวบิณฑบาตนี้ ทำให้
ข้าพระองค์ละอายยิ่งนัก พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
แล้วตรัสพระคาถาว่า
ไม่ควรประมาทในบิณฑบาตที่พึงลุกรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เมื่อตรัสพระคาถานี้จบ พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าพระ
นิเวศน์ตรัสพระคาถาว่า
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้ทุจริต
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุสกทาคามิผล วันต่อมาได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก ทรงบรรลุอนาคามิผล
ก่อนที่จะสวรรคตประทับบนแท่นบรรทมภายใต้เศวตฉัตร ทรงบรรลุอรหัตตผล (วิ.อ. ๓/๑๐๕/๗๑-๗๒,
สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๐๕/๓๐๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๖ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๑. ราหุลวัตถุ
พระผู้มีพระภาคถวายพระพรว่า “มหาบพิตรผู้โคดม ตถาคตทั้งหลายเลิก
พรเสียแล้ว”
พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลว่า “หม่อมฉันทูลขอพรที่สมควรและไม่มีโทษ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โปรดตรัสบอกพรนั้นเถิด มหาบพิตรผู้โคดม”
พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลว่า “เมื่อพระองค์ทรงผนวช หม่อมฉันมีทุกข์ไม่
น้อย เมื่อนันทะผนวชก็เช่นเดียวกัน ครั้นราหุลบรรพชา ยิ่งเกิดทุกข์เหลือ
ประมาณ พระพุทธเจ้าข้า ความรักในพระโอรสย่อมตัดผิว ตัดผิวแล้วก็ตัดหนัง
ตัดหนังแล้วก็ตัดเนื้อ ตัดเนื้อแล้วก็ตัดเอ็น ตัดเอ็นแล้วก็ตัดกระดูก ตัดกระดูก
แล้วก็จดเยื่อในกระดูก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงให้
บุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาตบรรพชา พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระเจ้าสุทโธทนศากยะทรงเห็นชัด
ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น
ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้นพระเจ้าสุทโธทนศากยะผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำ
ประทักษิณเสด็จกลับ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นเหตุ แล้วรับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาตไม่พึงให้บรรพชา
รูปใดให้บรรพชา ต้องอาบัติทุกกฏ”
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ตามพระอัธยาศัยแล้ว ได้
เสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดีเขตกรุงสาวัตถีนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๗ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๒. สิกขาปทกถา
ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรหลายรูปไว้อุปัฏฐาก
สมัยนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระสารีบุตรส่งเด็กชายไปยังสำนักของท่าน
ด้วยมอบหมายว่า “ขอพระเถระโปรดให้เด็กคนนี้บรรพชา”
ขณะนั้น ท่านพิจารณาเห็นว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุรูปเดียว
ไม่พึงใช้สามเณร ๒ รูปให้อุปัฏฐาก ก็เรามีสามเณรราหุลนี้อยู่แล้ว จะพึงปฏิบัติ
อย่างไรหนอ” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ
รูปเดียวซึ่งเป็นผู้ฉลาดสามารถ ใช้สามเณร ๒ รูปให้อุปัฏฐากได้ หรืออนุญาตให้ใช้
สามเณรเท่าที่สามารถจะตักเตือนพร่ำสอนให้อุปัฏฐากได้”
๔๒. สิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทของสามเณร
[๑๐๖] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลายได้มีความคิดคำนึงว่า “สิกขาบทของพวกเรา
มีเท่าไรหนอ และเราจะต้องศึกษาในสิกขาบทไหน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเณร
และให้สามเณรศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ
๑. เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. เจตนางดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์
๔. เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. เจตนางดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๘ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ
๗. เจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรีและดูการละเล่น
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
๘. เจตนางดเว้นจากการทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้
เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
๙. เจตนางดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
๑๐. เจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้แก่สามเณร และให้สามเณร
ศึกษาในสิกขาบท ๑๐ เหล่านี้”
๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ
ว่าด้วยการลงทัณฑกรรมสามเณร
[๑๐๗] สมัยนั้น สามเณรทั้งหลายไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความ
ประพฤติไม่เข้ากันกับภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกสามเณรจึงได้
ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความประพฤติไม่เข้ากันกับภิกษุทั้งหลายเล่า”
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่
สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่ภิกษุทั้งหลาย
๒. พยายามเพื่อความพินาศแก่ภิกษุทั้งหลาย
๓. พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แก่ภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่า บริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๖๙ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๓. ทัณฑกัมมวัตถุ
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความสงสัยว่า “จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ”
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมคือการห้าม”
เรื่องวิธีลงทัณฑกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ลงทัณฑกรรมคือห้ามสามเณรเข้าสังฆารามทุกแห่ง
พวกสามเณรเข้าอารามไม่ได้ จึงหลีกไปบ้าง สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์บ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงลงทัณฑกรรมคือห้ามสังฆาราม
ทุกแห่ง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ
ห้ามเฉพาะที่อยู่ของตนหรือที่ที่ตนจะเข้าไป”
เรื่องห้ามฉันทางปาก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ลงทัณฑกรรม คือห้ามฉันอาหารทางปาก๑ มนุษย์
ทั้งหลายต้มน้ำยาคูบ้าง ทำสังฆภัตบ้าง นิมนต์พวกสามเณรว่า “จงมาดื่มยาคูเถิด
ขอรับ จงมาฉันภัตตาหารเถิด ขอรับ”
พวกสามเณรกล่าวว่า “พวกอาตมาทำอย่างนั้นไม่ได้ดอกโยม เพราะภิกษุ
ทั้งหลายได้ลงทัณฑกรรมห้ามไว้”
มนุษย์ทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จึงได้ลงทัณฑกรรรม ห้ามฉันอาหารทางปากเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงลงทัณฑกรรมห้ามฉันอาหาร
ทางปาก รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ทัณฑกัมมวัตถุ จบ.

เชิงอรรถ :
๑ ห้ามฉันอาหารทางปาก หมายถึงห้ามอย่างนี้ว่า “วันนี้ เธออย่าเคี้ยว อย่าฉัน” (วิ.อ. ๓/๑๐๗/๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๐ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๕. อปลาฬนวัตถุ
๔๔. อนาปุจฉาวรณวัตถุ
ว่าด้วยการกักกันสามเณรโดยไม่บอกอุปัชฌาย์
[๑๐๘] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ถามพระอุปัชฌาย์ก่อน ได้กักกัน
พวกสามเณรไว้ พระอุปัชฌาย์ตามหาด้วยนึกสงสัยว่า “ทำไมหนอ พวกสามเณร
ของเราจึงหายไป”
ภิกษุทั้งหลายได้เรียนว่า “พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กักกันไว้ ขอรับ”
พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายพากัน ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไม่ถามพวกเราก่อนกักกันสามเณรทั้งหลายของพวกเราไว้เล่า” จึง
กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ขออนุญาตอุปัชฌาย์ก่อน
ไม่พึงทำการกักกันสามเณรไว้ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
๔๕. อปลาฬนวัตถุ
ว่าด้วยการเกลี้ยกล่อมสามเณร
ทรงห้ามเกลี้ยกล่อมสามเณร
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันเกลี้ยกล่อมพวกสามเณรของภิกษุผู้เป็น
เถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายต้องหยิบไม้ชำระฟันบ้าง ตักน้ำล้างหน้าบ้าง
ด้วยตนเอง ย่อมลำบาก จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงเกลี้ยกล่อมบริษัทของภิกษุอื่น
รูปใดเกลี้ยกล่อม ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๑ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๖. กัณฏกสามเณรวัตถุ
๔๖. กัณฏกสามเณรวัตถุ
ว่าด้วยการนาสนะ๑สามเณรกัณฏกะ
องค์ ๑๐ สำหรับนาสนะสามเณร
สมัยนั้น สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อกัณฏกะ ได้ประทุษร้าย
ภิกษุณีชื่อกัณฏกี
ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสามเณร จึงได้
ประพฤติไม่สมควรเช่นนี้เล่า” จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๑๐ คือ
๑. ฆ่าสัตว์
๒. ถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. ประพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์
๔. พูดเท็จ
๕. ดื่มน้ำเมา
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
๙. มีความเห็นผิด
๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เหล่านี้”

เชิงอรรถ :
๑ นาสนะ มี ๓ อย่าง คือ (๑) สังวาสนาสนะ ไล่ออกจากการร่วมกิจกรรม (๒) ลิงคนาสนะ ไล่สึก
(๓) ทัณฑกรรม ลงโทษไล่ให้พ้นจากสังกัด ในที่นี้ หมายเอาลิงคนาสนะ คือไล่สึก (วิ.อ. ๒/๔๒๘/๔๒๐
วิ.อ. ๓/๑๐๘/๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๒ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๗. ปัณฑกวัตถุ
๔๗. ปัณฑกวัตถุ
ว่าด้วยบัณเฑาะก์บรรพชา
ห้ามบัณเฑาะก์๑อุปสมบท
[๑๐๙] สมัยนั้น บัณเฑาะก์คนหนึ่งได้บรรพชาในหมู่ภิกษุ เขาเข้าไปหาภิกษุ
หนุ่ม ๆ พูดชวนว่า “นี้พวกท่านจงมาประทุษร้ายผมเถิด๒ ขอรับ”
พวกพระหนุ่มพูดไล่ว่า “เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ
เจ้าจะมีประโยชน์อะไร”
เขาถูกพวกภิกษุไล่ จึงเข้าไปหาพวกสามเณรโค่งร่างใหญ่ กำยำ พูดชวนว่า
“พวกเธอจงมาประทุษร้ายผมเถิด ขอรับ”
พวกสามเณรก็พูดรุกรานว่า “เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ
เจ้าจะมีประโยชน์อะไร”
เขาถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า
พูดชวนว่า “พวกคุณจงมาประทุษร้ายเราเถิด จ้ะ”
พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้าชำเราแล้ว ก็พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์ บรรดาสมณะ

เชิงอรรถ :
๑ บัณเฑาะก์มี ๕ ประเภท คือ
๑. คนที่ดับความใคร่เร่าร้อน (เพราะกาม) ของตนโดยการใช้ปากอมองคชาตของผู้อื่นแล้วให้น้ำอสุจิราด
ตัวเอง ชื่อว่า อาสิตตบัณเฑาะก์
๒. คนที่เมื่อเห็นผู้อื่นประพฤติล่วงเกินทางเพศกัน เกิดความริษยาขึ้น ความเร่าร้อนจึงระงับไป
ชื่อว่า อุสูยบัณเฑาะก์
๓. คนที่ถูกตัดองคชาต ชื่อว่า โอปักกมิกบัณเฑาะก์
๔. คนที่เป็นบัณเฑาะก์ในเวลาข้างแรมด้วยอานุภาพอกุศลวิบาก แต่ในเวลาข้างขึ้น ความเร่าร้อน
ย่อมระงับไป ชื่อว่า ปักขบัณเฑาะก์
๕. คนที่เป็นบัณเฑาะก์โดยกำเนิด ชื่อว่า นปุงสกบัณเฑาะก์
ในบัณเฑาะก์ ๕ ประเภทนี้ อาสิตตบัณเฑาะก์ และอุสูยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา ส่วนบัณเฑาะก์อีก
๓ ประเภทที่เหลือ ห้ามบรรพชา อนึ่งในกุรุนทีกล่าวว่า ปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาเฉพาะในปักษ์ที่เป็น
บัณเฑาะก์ (ข้างแรม) (วิ.อ. ๓/๑๐๙/๘๑-๘๒)
๒ ประทุษร้าย ในที่นี้ หมายถึง ร่วมเพศ เสพสังวาสกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๓ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๘. เถยยสังวาสวัตถุ
เหล่านี้ แม้ที่มิใช่บัณเฑาะก์ก็ชำเราบัณเฑาะก์เหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณะเหล่านี้
จึงล้วนแต่มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้าเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นบัณเฑาะก์ ไม่พึง
ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๑)
๔๘. เถยยสังวาสวัตถุ
ว่าด้วยคนลักเพศ๑และคนเข้ารีตเดียรถีย์บรรพชา
ห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีตอุปสมบท
[๑๑๐] สมัยนั้น บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นคนบอบบาง มีหมู่ญาติใน
ตระกูลสิ้นไป เขามีความคิดว่า “เราเป็นคนบอบบาง ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์
ที่ยังไม่มี หรือจะทำโภคทรัพย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยวิธีใดหนอ เราจะอยู่สุขสบาย
และไม่ลำบาก” คิดได้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีลักษณะนิสัยดี
ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี ๆ นอนในห้องอันมิดชิด ถ้ากระไรเราพึงเตรียม

เชิงอรรถ :
๑ คนลักเพศ แปลมาจากคำว่า “เถยยสังวาสกะ” คนลักเพศมี ๓ จำพวก คือ (๑) คนลักเพศ
(๒) คนลักสังวาส (๓) คนลักทั้งเพศและสังวาส
คนที่บวชเองแล้วไปวัด ไม่คำนึงพรรษาของภิกษุ ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ไม่ห้ามอาสนะ
ไม่เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น นี้ชื่อว่าคนลักเพศ
คนที่ภิกษุทั้งหลายบวชให้ ขณะยังเป็นสามเณร ไปต่างถิ่น พูดเท็จว่า “ผมบวชมาแล้ว ๑๐ พรรษา
หรือ ๒๐ พรรษา” คำนึงพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ เข้าร่วมในอุโบสถ
และปวารณาเป็นต้น เพราะเหตุเพียงลักสังวาสเท่านั้น นี้ชื่อว่า คนลักสังวาส ก็กิริยาทุกประเภทมีการนับ
พรรษาของภิกษุเป็นต้นพึงทราบว่า “สังวาส”
คนที่บวชเองแล้วไปวัด คำนึงถึงการนับพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ
เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น เพราะลักเพศและสังวาส นี้ชื่อว่า คนลักทั้งเพศและสังวาส (วิ.อ.
๓/๑๑๐/๘๒-๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๔ }

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ] ๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ
บาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเสียเอง แล้วไปยังอารามอยู่ร่วม
กับภิกษุทั้งหลาย”
ต่อมา เขาได้เตรียมบาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเอง
ไปยังอารามไหว้ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านมีพรรษาได้เท่าไรล่ะ”
เขาย้อนถามว่า “ที่ชื่อว่ามีพรรษาเท่าไร นั่นคืออะไร ขอรับ”
“ท่าน ก็ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านล่ะ”
“ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นคือใคร ขอรับ”
ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้แก่ท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี ขอนิมนต์ท่าน
สอบสวนบรรพชิตรูปนี้ดูเถิด”
ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวนจึงยอมบอกเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีได้บอก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นคนลักเพศ ไม่พึง
ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ไม่พึงให้อุปสมบท๑ ที่
อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (๒-๓)
๔๙. ติรัจฉานคตวัตถุ
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานบรรพชา
นาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบรรพชา
[๑๑๑] สมัยนั้น นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา รังเกียจกำเนิดนาค ต่อมา
นาคนั้นมีความดำริว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะพึงพ้นจากกำเนิดนาค

เชิงอรรถ :
๑ อนุปสัมบันที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์นั้น ไม่เพียงแต่ไม่พึงให้อุปสมบทเท่านั้น ยังเป็นผู้ที่ไม่พึงบรรพชาให้อีกด้วย
(วิ.อ. ๓/๑๑๐/๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า :๑๗๕ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น