Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๐๗-๗ หน้า ๒๘๑ - ๓๒๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗-๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒



พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลง
สู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น นี้
เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทรและ
สายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่
เคยปรากฏประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา
แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้
เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติ
มิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์
มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐
โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ
ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐
โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง
นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความมหัศจรรย์ในพระธรรมวินัย ๘ ประการ
[๓๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘
ประการ ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไป
ตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้
เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ
ไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
๓. บุคคลใดทุศีลมีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิด
พฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี
แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ
สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นออก
ไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกล
จากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น เหมือนมหาสมุทรไม่อยู่
ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก ทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลใดทุศีล มีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ
ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญา
ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นเธอออกไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่
เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพา กันยินดีใน
ธรรมวินัยนี้
๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและ
โคตรเดิม รวมเรียกว่าสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งสิ้น เหมือนมหา
นทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหา
สมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม
รวมเรียกว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตร นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๕. แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็
ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
โลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ
ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีธรรมวินัยนี้
๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) เหมือนมหาสมุทร
มีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิดคือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลาย
ชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน
๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์
๘ นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ
สกิทาคามิผล พระอนาคามี บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล
พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล เหมือนมหาสมุทร
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา
ติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๔. ปาติโมกขสวนารหะ
โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐
โยชน์บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกิทาคามิ
ผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุอรหัตตผล นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัย
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้๑
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๒
๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ว่าด้วยผู้ควรฟังปาติโมกข์
เรื่องทรงให้ภิกษุสงฆ์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
[๓๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ทำอุโบสถ ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
นี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่เราจะทำอุโบสถ จะยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงฟังปาติโมกข์
รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฎ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปาฎิโมกข์แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ. อฏฺ00ก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๕๖, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๐
๒ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงงดปาติโมกข์อย่างนี้ ในวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕
ค่ำนั้น เมื่อบุคคลนั้นเข้าร่วมประชุมสงฆ์ พึงประกาศขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้าจะงด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว”
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์งดยกปาติโมกข์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเรา” มีอาบัติ
ติดตัว ฟังปาติโมกข์ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายผู้รู้วาระจิตของผู้อื่น บอกภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อนี้ ๆ ปรึกษากันว่า ‘ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเรา’
มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฟังข่าวว่า “ภิกษผู้เถระทั้งหลายผู้รู้วาระจิตของผู้อื่นบอก
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ‘พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อนี้ ๆ ปรึกษากันว่า ‘ใคร ๆ ไม่รู้จักพวก
เรา’ มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”
ภิกษุฉัพพัคคีย์พวกนั้นปรึกษากันว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์
แก่พวกเราก่อน” จึงรีบงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่อง
ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควรเพราะเหตุ
ไม่สมควรเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์งดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร
เพราะเหตุไม่สมควร จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุ
ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม
[๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง การ งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ
งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ
งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยมีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกมิได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขาไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขามิได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
๖. ไม่ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมไม่ค้างอยู่
๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ไม่มีอยู่
๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ไม่มีอยู่
๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ไม่มีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
๖. ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมค้างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติมีอยู่
๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติมีอยู่
๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติมีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
๖. ธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรม
[๓๘๘] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุต้องธรรมคือปาราชิก ด้วยอาการ ด้วย
ลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ต้องธรรมคือปาราชิก ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้อง
ธรรมคือปาราชิกก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมคือ
ปาราชิก” ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้องธรรมคือปาราชิก ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกภิกษุ(นั้น)
ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมชื่อปาราชิก” แต่ภิกษุ(ผู้ต้องธรรมคือปาราชิก)นั้นเองบอก
ภิกษุว่า “ผมต้องธรรมคือปาราชิก”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ต้องธรรมคือปาราชิก ข้าพเจ้างด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๘๙] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น
๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรือ
อาวาสอื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง
ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น”
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง
ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้น
ยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๐] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุบอกคืนสิกขา ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ
ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้บอกคืนสิกขา ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้บอกคืนสิกขา
ก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุนี้บอกคืนสิกขา” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ผู้บอกคืนสิกขา ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้บอกคืนสิกขา” แต่ภิกษุ
(ผู้บอกคืนสิกขา)นั้นเอง บอกภิกษุว่า “ผมบอกคืนสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้บอกคืนสิกขา ข้าพเจ้างดปาติโมกข์
แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
[๓๙๑] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่งในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อผู้นั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาสอื่น
พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล
ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงวินิจฉัยเรื่องนั้น”
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล
ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคล
นั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๒] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมด้วย
อาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ภิกษุ(นั้น) ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วม
สามัคคีที่ชอบธรรม ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคี
ที่ชอธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมไม่
เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๓] ที่ชื่อว่า ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมด้วยอาการ
ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็น
ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้าน
สามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุอื่นก็ไม่
บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ค้านสามัคคีที่ชอบ
ธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมค้านสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ข้าพเจ้า
งดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๔] เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาส
อื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัย
เรื่องนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์
ชอบธรรม
[๓๙๕] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะสีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผู้
เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้
นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้
ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและ
มีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มี
ผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัย” แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ)
นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อ
บุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น
ด้วยนึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะสีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า
ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจาร
วิบัติมีอยู่ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ” ภิกษุ
(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ทั้งภิกษุอื่น
ก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห้น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะ
อาจารวิบัติ แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ)นั้นเอง
บอกภิกษุว่า “ผม มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะทิฏฐิวิบัติด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมาย ที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
ผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” แต่ภิกษุ (ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๗. อัตตาทานอังคะ
และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้าไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม มี ๑๐ อย่างนี้แล
ปฐมภาณวาร จบ
๗. อัตตาทานอังคะ
ว่าด้วยองค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ
[๓๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้น
แล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุ
ผู้ประสงค์จะรับ(ชำระ)อธิกรณ์ ควรรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ” ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๗. อัตตาทานอังคะ
๒. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้ ไม่
ใช่ยังไม่ถึงเวลา” ภิกษุนั้นพึงจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “ข้อที่เรา
ประสงค์จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์ที่เราจะรับนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง”
ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์ที่จะรับนี้ไม่จริง ไม่ใช่เรื่อง
จริง” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๓. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่
เรื่องไม่จริง” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้มีประโยชน์ หรือไม่มี” ถ้าภิกษุพิจารณา
รู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบ
ด้วยประโยชน์” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๔. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า
“เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้จะได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็น
พวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัยหรือไม่” ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้เราจะไม่ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็น
เคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัย” ก็ไม่
ควรรับอธิกรณ์นั้น
๕. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ เราจะ
ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบ
ด้วยวินัย” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้
อธิกรณ์นั้นจะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท
สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กันหรือไม่”
ถ้าภิกษุ พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้น
จะเป็นเหตุ ให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน สงฆ์แตกกัน
สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๘. โจนเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้นจะไม่เป็น
เหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่ง
แยกสงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน” ควรรับอธิกรณ์นั้น
อุบาลี อธิกรณ์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ที่ภิกษุรับแล้วจักไม่กระทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้
๘. โจทเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
ว่าด้วยคุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา
[๓๙๙] ท่านพระอุบาลีกราบทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๒. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๘. โจนเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูก
ตอบโต้อย่างนี้
๓. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๔. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อม
ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่หนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ได้เป็นพหูสูต ทรง
สุตะ มีการสั่งสมสุตะ ได้สดับมาก ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก
ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุผู้โจทก์นั้นนั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า
“เชิญท่านศึกษาพระปริยัติเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นนั้นย่อมจะถูก
ตอบโต้อย่างนี้
๕. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรา
ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัด
ระเบียบถูกต้อง วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๙. โจทเกนอุปัฎฐาเปตัพพธัมมะ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้ทรงจำปาติโมกข์
ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัดระเบียบถูกต้อง
วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะ(ตามข้อ ตามอักษร) ภิกษุ
ผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านศึกษาพระวินัยให้ชำนาญ
เสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาคุณสมบัติภายในตน ๕
อย่างนี้ จึงโจทผู้อื่น
๙. โจทเกนอุปัฏฐาเปตัพพธัมมะ
ว่าด้วยคุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงตั้งไว้ในตน
[๔๐๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติเท่าไรไว้ในตน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติ ๕ อย่างไว้ในตน คือ
๑. เราจะกล่าวโดยกาลที่ควร จะไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร
๒. เราจะกล่าวคำจริง จะไม่กล่าวคำเท็จ
๓. เราจะกล่าวคำสุภาพ จะไม่กล่าวคำหยาบ
๔. เราจะกล่าวคำมีประโยชน์ จะไม่กล่าวคำไร้ประโยชน์
๕. เราจะกล่าวด้วยเมตตาจิต จะไม่มุ่งร้าย
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน
จึงโจทผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
๑๐. โจทกจุทิตกปฏิสังยุตตกถา
ว่าด้วยเรื่องของผู้โจทก์และผู้ถูกโจท
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลที่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง จึงสมควรเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ จึงสมควรเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
ประกอบด้วยประโยชน์ จึงสมควรเดือดร้อน
๕. ท่านมีจิตมุ่งร้าย๑โจท ไม่มีเมตตาจิต จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง
เหล่านี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุแม้อื่นไม่พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วย
เรื่องไม่จริง”
เรื่องผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือด
ร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึง
ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ อนฺตร ใช้ในอรรถว่า จิตฺตโทสนฺตโร...ฯ ทุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (วิ.อฏฺ. ๓/๔๐๐/๔๐๔) “โทสนฺตโร”ติ เอตฺถ
อนฺตรสทฺโท จิตฺตปริยาโย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๐/๕๑๙, วิมติ.ฏีกา ๒/๔๐๐/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลที่ควร จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องที่
เป็นประโยชน์ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทเพราะความมุ่งร้าย ไม่ใช่ถูกโจทเพราะเมตตาจิต จึงไม่
สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕
อย่างเหล่านี้”
เรื่องผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วย
อาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึง
เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่โจทโดยกาลไม่ควร จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ได้มุ่งร้าย จึงไม่สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นก็พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วยเรื่องจริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
ผู้ถูกโจทโดยชอบธรรมต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ
เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือด
ร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่กาลอันไม่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไม่จริง จึงสมควรเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่คำหยาบ จึงสมควรเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ไม่เป็นประโยชน์ จึงสมควร
เดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เพราะมุ่งร้าย จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้”
คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ ๕ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการ
คุณสมบัติภายในตนเท่าไรแล้วจึงโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึง
มนสิการคุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์
๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ
๕. ยึดวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการคุณสมบัติภายในตน
๕ อย่างเหล่านี้ก่อน แล้วจึงโจทผู้อื่น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒
อย่าง คือ
๑. ความจริง ๒. ความไม่ขุ่นเคือง
ทุติยภาณวาร จบ
ปาติโมกขฐปนขันธกะที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร
รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
เรื่องในวันอุโบสถ ภิกษุผู้มีบาปถูกไล่ ๓ ครั้ง
ไม่ยอมออกไป ถูกพระโมคคัลลานะฉุดออกไป
เรื่องความอัศจรรย์ในพระธรรมวินัย
คือ มีการศึกษาไปตามลำดับ
เปรียบด้วยมหาสมุทรที่ต่ำลาดลึกลงตามลำดับ
พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท
เปรียบด้วยมหาสมุทรมีปกติไม่ล้นฝั่ง
สงฆ์ย่อมขับไล่ผู้ทุศีลออก
เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง
วรรณะ ๔ มาบวชเป็นบรรพชิตแล้ว
ย่อมละชื่อและโคตรเดิม เปรียบด้วยแม่น้ำใหญ่
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิม
ภิกษุจำนวนมากปรินิพพาน
เปรียบด้วยน้ำไหลลงมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสอย่างเดียว
เปรียบด้วยมหาสมุทรมีรสเค็มอย่างเดียว
พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก
เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก
เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของสัตว์ขนาดใหญ่
แล้วยังคุณในพระศาสนาให้ดำรงอยู่
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้งดปาติโมกข์
แก่ผู้มีอาบัติติดตัวในวันอุโบสถ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่าใคร ๆ ไม่รู้จักเรา
ทั้งที่มีอาบัติติดตัวก็ยังทำอุโบสถแล้วกลัวว่า
ภิกษุผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์แก่ตน
จึงรีบกล่าวโทษผู้อื่นก่อน
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ และอาชีววิบัติ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๕ กอง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๖ คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๗ กอง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏและ
ทุพภาสิต(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์ เพราะวิบัติ ๘ คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติและอาชีววิบัติ ที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๙ วิธี คือ เพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ ที่ภิกษุทำ ไม่ได้ทำ ทั้งที่ทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ผู้รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ภิกษุงดปาติโมกข์มีลักษณะ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
(๑) ภิกษุเป็นปาราชิก
(๒) ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
(๓) ภิกษุบอกคืนสิกขา
(๔) ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
(๕) ภิกษุไม่ร่วมสามัคคี
(๖) พูดค้านสามัคคี
(๗) คำค้านสามัคคีค้างอยู่
(๘-๑๐) มีผู้ได้เห็นได้ยินและนึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะเห็นเอง ผู้อื่นบอกเธอหรือ
ผู้เป็นปาราชิกนั้นบอกความจริงแก่เธอ
บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย
สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต และพรหมจรรย์ อธิบายความเรื่องงด
ปาติโมกข์ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรมตามที่กำหนดไว้
ภิกษุผู้โจทก์พึงตั้งคุณสมบัติภายในตน คือ
กล่าวโดยกาลที่ควร กล่าวคำจริง คำที่มีประโยชน์
จะเป็นพรรคพวกมีทะเลาะกันเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย
วาจาบริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต
รู้ปาติโมกข์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุพึงโจทโดยกาลอันควร กล่าวด้วยเรื่องจริง
ด้วยคำสุภาพ ด้วยคำที่มีประโยชน์
ด้วยเมตตาจิตเพราะถูกโจทโดยไม่
ชอบธรรมภิกษุเดือดร้อน
ก็พึงบรรเทาความเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ภิกษุผู้โจทก์และผู้ถูกโจทชอบธรรม
พึงบรรเทาความเดือดร้อน
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศข้อปฎิบัติของภิกษุผู้จะโจทไว้
๕ อย่าง คือ ความการุณ มุ่งประโยชน์ มีความเอ็นดู
การออกจากอาบัติและยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในความจริงและไม่ขุ่นเคือง
ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๑๐. ภิกขุนีขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
๑. มหาปชาปติโคตมีวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
[๔๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ๑ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระ
นางประชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาส มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตประกาศไว้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส มาตุ-
คามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้วเลย”
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
อนุญาตให้ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๒๒๗/๓๓๑-๓๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ประกาศไว้” ทรงเป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ กันแสงอยู่พลาง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระอัธยาศัยแล้วเสด็จจาริก
ไปจากกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระ
ภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น
คราวนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีปลงพระเกศา ทรงนุ่งผ้ากาสายะ
พร้อมด้วย นางศากิยานีจำนวนมาก เสด็จไปทางกรุงเวสาลี เสด็จเข้าไปยังกูฏาคาร
สาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี โดยลำดับ เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตร
นองพระพักตร์ ประทับ ยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก
ท่านพระอานนท์เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก จึงถามดังนี้ว่า “โคตมี เพราะเหตุไร พระองค์จึงมีพระ
บาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก”
พระนางตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “โคตมี ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงรออยู่ที่นี่สักครู่ จน
กว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ
ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี
โคตมีมีพระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เนตรนองพระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอกด้วยคิดว่า ‘พระผู้มีพระ
ภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้’ ขอประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้เลย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศไว้ อย่า
กระนั้นเลย เราพึงทูลขอพระองค์ให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยอุบายบางอย่าง”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มาตุคามออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ จะสามารถทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ถ้ามาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิ
ผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก เคยประคับประคองดูแลถวายเกษียรธาร
(น้ำนม) เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มีพระภาคดื่มเกษียรธาร ขอประทานวโรกาส
ขอมาตุคาม พึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศไว้แล้วด้วย เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
๒.อัฏฐครุธัมมะ
ว่าด้วยครุธรรม ๘ ข้อ๑
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี
รับครุธรรม ๘ ข้อ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหา
ปชาบดีโคตมีนั้น คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ
นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ องฺ. อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๓๓๔-๓๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ๑ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่
ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง
สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่
พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ข้อนี้ (การรับครุธรรม)
นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่ไม่มีภิกษุ หมายถึงสำนักของภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือมี
ภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ แต่เส้นทางที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้นไม่ปลอดภัย (ดู วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) ๓/๑๐๔๘/๒๘๐, กงฺขา.อ. ๓๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๗ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไป
หาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดี
โคตมีดังนี้ว่า “โคตมี ถ้าพระนางรับครุธรรม ๘ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็น
การอุปสมบทของพระนาง คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ
นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่
ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๘ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง
สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
โคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ นี้ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็นการ
อุปสมบทของพระองค์”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ข้อนี้
ปฏิบัติไม่ละเมิดไปจนตลอดชีวิตทีเดียว เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มผู้ชอบ
แต่งกาย เมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้วได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวน ก็ใช้มือทั้ง
สองประคองรับไว้เหนือศีรษะฉะนั้น”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระนางมหา
ปชาบดีโคตมียอมรับครุธรรม ๘ ข้อแล้ว พระมาตุจฉาของพระองค์อุปสมบทแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม
จะดำรงอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคต ประกาศไว้แล้ว บัดนี้พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้
เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น๑

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี หมายความว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลา
ผ่านไป ๕๐๐ ปีก็จะไม่มีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ใน
ระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์
สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่
ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่าปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัติธรรม
ก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ.๓/๔๐๓/๔๐๖-๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๙ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อยจะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลี ซึ่งอุดมสมบูรณ์ก็ทำให้นาข้าวนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ซึ่งภิกษุณีทั้งหลายไม่พึง
ละเมิดไปจนตลอดชีวิต ก็เหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหล
(เข้า)ออกไปฉะนั้น
อัฏฐครุธัมมะ จบ
๓. ภิกขุนีอุปสัมปทานุชานนะ
ว่าด้วยการอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
[๔๐๔] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางปชาบดีโคตมี
ผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันจะปฏิบัติอย่างไร
กับนางสากิยานีพวกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๐ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี
ทั้งหลาย”
ต่อมา ภิกษุณีเหล่านั้น กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “แม่เจ้ายัง
ไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
‘ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้ว
อภิวาทได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณี
ทั้งหลายกล่าวกับดิฉันอย่างนี้ว่า แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ในเวลาที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม
๘ ก็ชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลขอพร
[๔๐๕] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก
ครั้นแล้วอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์ ดิฉันจะทูลขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ขอประทานวโรกาส
พระผู้มีพระภาคพึงอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
และภิกษุณีทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๑ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ดิฉันจะทูล
ขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึง
อนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายและภิกษุณี
ทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่ตถาคตจะอนุญาต
การกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคาม อานนท์ เพราะพวกเดียรถีย์
เหล่านี้ผู้กล่าวธรรมไว้ไม่ดีก็ยังไม่กราบ ไม่ลุกรับ ไม่ไหว้ ไม่ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม
ไฉนตถาคตจะอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคามเล่า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกราบ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงไหว้ ไม่พึง
ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลถามถึงสิกขาบท
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางมหาปชาบดี
โคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวก
หม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาธารณบัญญัติ๑กับภิกษุ
ทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่เป็นสาธารณบัญญัติกับภิกษุทั้งหลาย เหมือนที่ภิกษุทั้งหลายศึกษากันฉะนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ สาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุสงฆ์บัญญัติไว้ เป็นข้อปฎิบัติสำหรับ
ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์พึงรักษาด้วย จำนวน ๑๗๔ สิกขาบท ดังที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑ และภาค ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๒ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระนางทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของ
ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นอสาธารณบัญญัติ๑ กับภิกษุทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่เป็นอสาธารณบัญญัติ กับภิกษุทั้งหลายตามที่เราบัญญัติไว้”
ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการ๒
[๔๐๖] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ
ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
โดยย่อ ที่เมื่อหม่อมฉันฟังแล้ว จะพึงหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ
เพียร
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย

เชิงอรรถ :
๑ อสาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้ภิกษุณีสงฆ์ไม่ต้อง
รักษาจำนวน ๔๖ สิกขาบทและที่ทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้เฉพาะสำหรับภิกษุณีสงฆ์บัญญัติฝ่ายเดียว
จำนวน ๑๓๐ สิกขาบท ตามที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
๒ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๒/๕๓/๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๓ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
โคตมี ท่านพึงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่
สัตถุศาสน์’
โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความ
กำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความ
เกียจคร้าน
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี ท่านจงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า “นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็น
สัตถุศาสน์”
ทรงอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๔๐๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย” ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอควรยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๔ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักของภิกษุณีทั้งหลายแล้วยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จะอภิรมย์กับภิกษุณี
เหล่านี้”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วยกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่ทราบว่า “จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอธิบาย
ให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบว่า พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอย่างนี้”
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีรับอาบัติของกันและกัน
[๔๐๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ทำคืนอาบัติ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ทำคืนอาบัติไม่ได้ รูปใดไม่
กระทำคืน ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “พึงทำคืนอาบัติอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๕ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำคืนอาบัติอย่างนี้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอพึงรับอาบัติของภิกษุณี
ทั้งหลาย” จึงไปนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับอาบัติ
ของภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพบภิกษุที่ถนนบ้าง ตรอกบ้าง ทางสามแพร่งบ้าง
ได้วางบาตรไว้บนพื้น ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือ ทำ
คืนอาบัติ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุและภิกษุณีล่วงเกินกันตอนกลางคืน
เวลานี้กำลังขอขมา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับอาบัติของ
ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดรับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี
ทั้งหลายรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “จะพึงรับอาบัติอย่างนี้” จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงรับอาบัติอย่างนี้”
ทรงอนุญาตให้ทำกรรมเป็นต้น
[๔๐๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรม๑ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษทางพระวินัย เช่นตัชชนียกรรมเป็นต้น (วิ.อ.๓/๔๐๙/๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๖ }

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอพึงทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย” จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายทำกรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกทำกรรมแล้ว พบภิกษุที่ถนนบ้าง ตรอกบ้าง
ทางสามแพร่งบ้าง ได้วางบาตรไว้บนพื้น ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ ขอขมาว่า “จะไม่ทำอย่างนี้อีก”
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ล่วงเกินกันตอน
กลางคืน เวลานี้กำลังขอขมา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “จะพึงทำกรรมอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำกรรมอย่างนี้”
[๔๑๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกัน ท่ามกลางสงฆ์ ไม่อาจจะระงับอธิกรณ์นั้นได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์
ของภิกษุณีทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น