Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๒-๘ หน้า ๓๒๕ - ๓๗๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒-๘ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน
๒๒. เว้นขาดจากการรับทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่อง
ตวงวัด
๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว
การปล้น และการขู่กรรโชก
[๒๙๔] ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
เธอไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกมีปีกจะบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกของมันเป็น
ภาระบินไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย
และบิณฑบาตพออิ่มท้อง เธอจะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบ
ด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษภายใน
[๒๙๕] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
ความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม
คืออภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)ครอบงำได้
จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทาง
จมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวม
แล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษา
มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอริยอินทรียสังวรนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การหลับ
การตื่น การพูด การนิ่ง
[๒๙๖] ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยสันโดษ อริยอินทรีย-
สังวร และอริยสติสัมปชัญญะนี้แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้
ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์๑ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
ภิกษุนั้นละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา
ละพยาบาทและความมุ่งร้าย มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากพยาบาทและความมุ่งร้าย ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)
เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ)ได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบในภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา
รอยพระบาทของพระตถาคต
[๒๙๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตและ
เป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังได้แล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ข้อนี้เราเรียกว่า
‘ตถาคตบท๒‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต๓‘บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต๔‘บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่
ด่วนตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็น

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๐๗ (มหาสติปัฏฐานสูตร) หน้า ๑๐๒ ในเล่มนี้
๒ ตถาคตบท หมายถึงทางแห่งญาณ หรือร่องรอยแห่งญาณของพระตถาคต ได้แก่ ฐานที่ญาณเหยียบแล้ว
กล่าวคือ ฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นพื้นฐานแห่งญาณชั้นสูง ๆ ขึ้นไปของพระตถาคต (ม.มู.อ.
๒/๒๙๗/๑๒๕)
๓ ตถาคตนิเสวิต หมายถึงฐานที่ซี่โครงคือญาณของพระตถาคตเสียดสีแล้ว (ม.มู.อ. ๒/๒๙๗/๑๒๕)
๔ ตถาคตรัญชิต หมายถึงฐานที่พระเขี้ยวแก้วคือญาณของพระตถาคตกระทบแล้ว (ม.มู.อ. ๒/๒๙๗/๑๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ
ดีแล้ว’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ฯลฯ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ฯลฯ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ข้อนี้เรา
เรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต‘บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกก็
ยังไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
[๒๙๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แม้ข้อนี้เราเรียกว่า
‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต‘บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ด่วน
ตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล้ว แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต‘บ้าง
‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาค เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
[๒๙๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุ
นั้นน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ แม้ข้อนี้เราก็เรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต’
บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกที่ยังไม่ด่วนตัดสินใจก็ตัดสินใจได้เลยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
เมื่อภิกษุนั้นรู้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต’บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกจึงตัดสินใจได้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อความเปรียบเทียบ
ด้วยรอยเท้าช้างเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารแล้ว”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
เปรียบเทียบอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
[๓๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้ง
หลายมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารี-
บุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้า
เหล่านั้นทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่า ‘เป็นยอดของ
รอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าขนาดใหญ่’ แม้ฉันใด กุศลธรรม
ทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน นับเข้าในอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๓๐๑] ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไร
คือ ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕
ประการ เป็นทุกข์
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
รูปูปาทานขันธ์ อะไรบ้าง คือ
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
มหาภูตรูป ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ
๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ
ปฐวีธาตุ
[๓๐๒] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร
คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี
ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูป๑ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ
ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ
พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่า
‘ปฐวีธาตุภายใน’
ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร
เห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็น
จริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากปฐวีธาตุ
เวลาที่อาโปธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ ในเวลานั้น ปฐวีธาตุภายนอก
จะอันตรธานไป ปฐวีธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา

เชิงอรรถ :
๑ อุปาทินนกรูป หมายถึงรูปมีกรรมเป็น สมุฏฐาน คำนี้เป็นชื่อของรูปที่ดำรงอยู่ภายในสรีระ ที่ยึดถือ
จับต้อง ลูบคลำได้ เช่น ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า คำนี้กำหนดจำแนกหมายเอาปฐวีธาตุภายใน
แต่สำหรับอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน พึงทราบความพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
(ม.มู.อ. ๒/๓๐๒/๑๓๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๐ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า
‘เรามีอยู่’ จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา และมีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มี
ความยึดถือในปฐวีธาตุภายในนี้
หากชนเหล่าอื่นจะด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียนภิกษุนั้น ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ทุกขเวทนา
นั้นอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไร
จึงเกิดขึ้นได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้นได้’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ‘ผัสสะ
ไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง’
จิตของภิกษุนั้นย่อมดิ่งไป ย่อมผ่องใส ดำรงมั่นและน้อมไปในอารมณ์คือธาตุนั่นแล
หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่
น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ ด้วยการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง
การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กาย
นี้เป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง การทำร้าย
ด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง’ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ใน
พระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย๑ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทราม
จะพึงใช้เลื่อยที่มีที่จับ ๒ ข้าง เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ในพวกโจรนั้น
ก็ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น’ อนึ่ง ความเพียร
ที่เราเริ่มทำแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม กายที่เราทำให้สงบ
แล้วจักไม่กระวนกระวาย จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ คราวนี้ต่อให้
มีการทำร้ายด้วยฝ่ามือ การทำร้ายด้วยก้อนดิน การทำร้ายด้วยท่อนไม้ หรือการ
ทำร้ายด้วยศัสตราที่กายนี้ก็ตาม เราก็จะทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้
ให้จงได้

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๒๓๒ (กกจูปมสูตร) หน้า ๒๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๑ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่
อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดหดหู่ใจ
เพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ
การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึก
ถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’ หญิงสะใภ้เห็น
พ่อผัวแล้วย่อมสลดหดหู่ใจ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อระลึกถึง
พระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอัน
อาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภ
ของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ
ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม
และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยดี
ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว
อาโปธาตุ
[๓๐๓] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี
อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ
เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน
เป็นของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน
อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึงเห็น
อาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากอาโปธาตุ
เวลาที่อาโปธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ อาโปธาตุภายนอกนั้นย่อมพัดพา
บ้านไปบ้าง นิคมไปบ้าง เมืองไปบ้าง ชนบทไปบ้าง บางส่วนของชนบทไปบ้าง
เวลาที่น้ำในมหาสมุทรลึกลงไป ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐
โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง ๖๐๐ โยชน์บ้าง ๗๐๐ โยชน์บ้าง
ย่อมจะมีได้
เวลาที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ๗ ชั่วลำตาลบ้าง ๖ ชั่วลำตาลบ้าง ๕ ชั่ว
ลำตาลบ้าง ๔ ชั่วลำตาลบ้าง ๓ ชั่วลำตาลบ้าง ๒ ชั่วลำตาลบ้าง ๑ ชั่วลำตาลบ้าง
ย่อมจะมีได้
เวลาที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ๗ ชั่วบุรุษบ้าง ๖ ชั่วบุรุษบ้าง ๕ ชั่วบุรุษบ้าง
๔ ชั่วบุรุษบ้าง ๓ ชั่วบุรุษบ้าง ๒ ชั่วบุรุษบ้าง ๑ ชั่วบุรุษบ้าง ย่อมจะมีได้
เวลาที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่กึ่งชั่วบุรุษบ้าง ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณ
เพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง ย่อมจะมีได้
เวลาที่น้ำในมหาสมุทรไม่มีพอเปียกข้อนิ้วมือ ก็ย่อมจะมีได้
อาโปธาตุภายนอกซึ่งมีมากถึงเพียงนั้น ยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความ
สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า
‘เรามีอยู่’ จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา และมีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่
มีความยึดถือในอาโปธาตุภายนอกนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึก
ถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่
ได้ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำ
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

เตโชธาตุ
[๓๐๔] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร
คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี
เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายใน ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความ
เร่าร้อน ได้แก่ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำ
ร่างกายให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็น
เครื่องย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน นี้เรียกว่า
เตโชธาตุภายใน
เตโชธาตุภายใน และเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ บัณฑิตครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็น
จริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากเตโชธาตุ
เวลาที่เตโชธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ เตโชธาตุภายนอกนั้นย่อมไหม้
บ้านบ้าง นิคมบ้าง นครบ้าง ชนบทบ้าง บางส่วนของชนบทบ้าง เตโชธาตุ
ภายนอกนั้น(ลาม)มาถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แล้ว
เมื่อไม่มีเชื้อ ย่อมดับไปเอง เวลาที่ชนทั้งหลายแสวงหาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการ
ขูดหนังบ้าง ย่อมจะมีได้
เตโชธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา
ไฉนกายซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า
‘เรามีอยู่’ จักไม่ปรากฏ เป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
เป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มีความ
ยึดถือในเตโชธาตุภายนอกนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระ
ธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมดำรงอยู่ได้
ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตาม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว
วาโยธาตุ
[๓๐๕] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี
วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายใน ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่า
วาโยธาตุภายใน
วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากวาโยธาตุ
เวลาที่วาโยธาตุภายนอกกำเริบย่อมจะมีได้ วาโยธาตุภายนอกนั้นย่อมพัดพา
บ้านไปบ้าง นิคมไปบ้าง นครไปบ้าง ชนบทไปบ้าง บางส่วนของชนบทไปบ้าง
เวลาที่ชนทั้งหลายแสวงหาลมด้วยพัดใบตาลบ้าง ด้วยพัดสำหรับพัดไฟบ้าง
ในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคา หญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อมจะมีได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
วาโยธาตุภายนอกซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นยังปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา ไฉนกาย
ซึ่งตั้งอยู่ชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ที่ถูกตัณหาเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ว่า ‘ของเรา’ ว่า ‘เรา
มีอยู่’ จักไม่ปรากฏเป็นของไม่เที่ยง มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป
เป็นธรรมดา มีความแปรผันไปเป็นธรรมดาเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นก็ไม่มีความ
ยึดถือในวาโยธาตุภายนอกนี้
หากชนเหล่าอื่นจะด่า บริภาษ เกี้ยวกราด เบียดเบียนภิกษุนั้น ภิกษุนั้น
รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ทุกขเวทนาอันเกิดจากโสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่ทุกขเวทนา
นั้นอาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไรจึง
เกิดขึ้นได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยผัสสะจึงเกิดขึ้นได้’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ‘ผัสสะเป็น
ของไม่เที่ยง เวทนาเป็นของไม่เที่ยง สัญญาเป็นของไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายเป็น
ของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง’ จิตของภิกษุนั้นย่อมดิ่งไป ย่อมผ่องใส
ดำรงมั่นและน้อมไปในอารมณ์คือธาตุนั่นแล
ผู้ทำตามพระโอวาท
หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่
น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ การทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง
การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘กายนี้มีสภาพเป็นที่รองรับการทำร้ายด้วยฝ่ามือบ้าง การทำร้ายด้วยก้อนดินบ้าง
การทำร้ายด้วยท่อนไม้บ้าง การทำร้ายด้วยศัสตราบ้าง’ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสไว้ในพระโอวาทที่อุปมาด้วยเลื่อย๑ ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติ
ต่ำทราม จะพึงใช้เลื่อยที่มีที่จับ ๒ ข้างเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีใจคิดร้ายแม้ใน

เชิงอรรถ :
๑ ดูข้อ ๒๓๒ (กกจูปมสูตร) หน้า ๒๔๔ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
พวกโจรนั้น ก็ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น’ อนึ่ง
ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม กายที่
เราทำให้สงบแล้วจักไม่กระวนกระวาย จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่
คราวนี้ ต่อให้มีการทำร้ายด้วยฝ่ามือ การทำร้ายด้วยก้อนดิน การทำร้ายด้วย
ท่อนไม้ หรือการทำร้ายด้วยศัสตราที่กายนี้ก็ตาม เราก็จะทำตามคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ให้จงได้
เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์
อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นย่อมสลดหดหู่ใจ
เพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ
การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และ
ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’ หญิงสะใภ้
เห็นพ่อผัวแล้วย่อมสลดหดหู่ใจ แม้ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อระลึก
ถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ถ้าอุเบกขา
อันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้ ย่อมสลดหดหู่ใจเพราะเหตุนั้นว่า ‘ไม่เป็นลาภ
ของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ
ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ไม่ได้’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม
และระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมยังดำรงอยู่ได้ด้วยดี
ภิกษุนั้นย่อมพอใจเพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตามคำสั่ง
สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

ปฏิจจสมุปปันนธรรม
[๓๐๖] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้ เถาวัลย์ หญ้า และดินเหนียว
มาประกอบเข้ากันจึงนับว่า ‘เรือน’ แม้ฉันใด อากาศอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ
และหนังมาประกอบเข้าด้วยกันจึงนับว่า ‘รูป’ ฉันนั้น
หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มา
สู่คลองจักษุ ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นก็ไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิด
จากจักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ
หากจักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอกมาสู่
คลองจักษุ แต่ความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปนั้นไม่มี วิญญาณส่วนที่เกิดจาก
จักษุและรูปนั้นก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด จักษุที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย รูปที่เป็นอายตนะภายนอก
มาสู่คลองจักษุ ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากจักษุและรูปก็มี เมื่อนั้น วิญญาณส่วนที่
เกิดจากจักษุและรูปนั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในรูปูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนา
แห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในเวทนูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือเวทนา) สัญญาแห่ง
สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสัญญูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือสัญญา) สังขารแห่ง
สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสังขารูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณแห่ง
สภาพอย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์(อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ภิกษุนั้น
ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘การรวบรวม การประชุม และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้’
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ‘ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท’ อุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี
ความหมกมุ่นฝังใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัด
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขนิโรธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่า
ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมากแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๓๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
หากโสตะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากฆานะที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากชิวหาที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากกายที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ...
หากมโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกไม่มาสู่คลองมโน ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่มี
วิญญาณส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ
หากมโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลาย ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภาย
นอกมาสู่คลองมโน แต่ความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นไม่มี วิญญาณ
ส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็ไม่ปรากฏ
แต่เมื่อใด มโนที่เป็นอายตนะภายในไม่แตกทำลายธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะ
ภายนอกมาสู่คลองมโน ทั้งความใส่ใจอันเกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้นก็มี เมื่อนั้น
วิญญาณส่วนที่เกิดจากมโนและธรรมารมณ์นั้น ย่อมปรากฏด้วยอาการอย่างนี้
รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในรูปูปาทานขันธ์ เวทนาแห่งสภาพอย่างนั้นจัด
เข้าในเวทนูปาทานขันธ์ สัญญาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสัญญูปาทานขันธ์
สังขารทั้งหลายแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในสังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณแห่งสภาพ
อย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘การรวบรวม
การประชุม และหมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้’
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ‘ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท’ อุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี
หมกมุ่นฝังใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความ
กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการนี้ ชื่อว่าทุกขนิโรธ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุได้ชื่อว่าทำตาม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างมากแล้ว”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล
มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร

๙. มหาสาโรปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
กิ่งและใบแห่งพรหมจรรย์
[๓๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ เมื่อ
พระเทวทัตจากไปแล้วไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัต
ได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว
ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้นทำ
ลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ
นั้น เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้
ไม่มีชื่อเสียง มีศักดิ์น้อย’ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงมัวเมา
ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้น
ไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไป
เข้าใจกิ่งและใบว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง
ท่านผู้นี้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่น
ยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไป เข้าใจกิ่งและใบว่า
‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป อนึ่ง กิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
แก่เขา’ แม้ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว
ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำ
ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้นให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้
ไม่มีชื่อเสียง มีศักดิ์น้อย’ เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงมัวเมา
ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่า ผู้ยึดเอากิ่งและใบแห่งพรหมจรรย์และ
ถึงความพอใจด้วยกิ่งและใบแห่งพรหมจรรย์นั้น
สะเก็ดแห่งพรหมจรรย์
[๓๐๘] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว
ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภ
สักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้
สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง
เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีศีล มีกัลยาณธรรม
ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม’ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขา
จึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ เปลือกไป เข้าใจสะเก็ดว่า
‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้
ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ต้องการแก่นไม้
เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้าม
แก่นไม้ กระพี้ และเปลือกไป เข้าใจสะเก็ดว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจที่เขา
จะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา’ แม้ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้
ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว
ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่ง
กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญ
ให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจ และมีความ
รู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่ม
ผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่
ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์
แห่งศีลนั้น เขาจึงมีความปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่ง
ศีลนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้
ทุศีล มีบาปธรรม’ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท
เมื่อประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่า ผู้ยึดเอาสะเก็ดแห่งพรหมจรรย์และถึง
ความพอใจด้วยสะเก็ดแห่งพรหมจรรย์นั้น
เปลือกแห่งพรหมจรรย์
[๓๐๙] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภ
สักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีล
ให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง
เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์
แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความ
สมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจและ
มีความรู้สึกสมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรา
มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์แน่วแน่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตแปรผัน’
เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาท
ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจเปลือกว่า
‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้
ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ต้องการแก่นไม้
เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้าม
แก่นไม้และกระพี้ไป เข้าใจเปลือกว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจที่เขาจะต้อง
ใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา’ แม้ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์
ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น
นี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น
เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง
เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภ
สักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่
ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่
ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว
และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะความ
สมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์
แน่วแน่ ส่วนภิกษุนอกนี้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตแปรผัน’ เพราะความสมบูรณ์แห่ง
สมาธินั้น เขาจึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่า ผู้ยึดเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์และถึง
ความพอใจด้วยเปลือกแห่งพรหมจรรย์นั้น
กระพี้แห่งพรหมจรรย์
[๓๑๐] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว
ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภ
สักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้
สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง
เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์
แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ
แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำญาณทัสสนะ๑ ให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น
เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า
‘เรารู้ เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่’ เพราะญาณทัสสนะนั้น
เขาจึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ไป เข้าใจกระพี้ว่า ‘แก่นไม้’
จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้
กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะ
แสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไป เข้าใจ
กระพี้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์
แก่เขา’ แม้ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว
ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น
ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้
สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง
เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์
แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัวและไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทแล้วย่อมทำ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ

เชิงอรรถ :
๑ ญาณทัสสนะ ในที่นี้หมายถึงอภิญญา ๕ ประการ [คือ (๑) อิทธิวิธิ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
(๒)ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ (๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสา-
นุสสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ (๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์] (ม.มู.อ. ๒/๓๑๐/๑๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๕ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่
ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น
เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า
‘เรารู้ เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่’ เพราะญาณทัสสนะนั้น
เขาจึงมัวเมา ลืมตัว และประมาท เมื่อประมาทย่อมอยู่เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ตถาคตเรียกว่า ผู้ยึดเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึง
ความพอใจด้วยกระพี้แห่งพรหมจรรย์นั้น
แก่นแห่งพรหมจรรย์
[๓๑๑] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำ
อย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภ
สักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่มัวเมา
ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ
เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น
เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่ง
สมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึก
ยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท
ย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๙. มหาสาโรปมสูตร
ยังไม่สมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณ-
ทัสสนะนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำ
อสมยวิโมกข์๑ให้สำเร็จ เป็นไปไม่ได้เลย๒ที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป บุรุษผู้มีตาดี
เห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด
กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป และกิจที่เขาจะต้อง
ใช้แก่นไม้ทำจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา’ แม้ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความ
ทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้
เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจและมีความรู้สึก
ยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท
เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น
เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึง
ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว
และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความ
สมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความ
สมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น

เชิงอรรถ :
๑ อสมยวิโมกข์ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน ๑ (ม.มู.อ.
๒/๓๑๑/๑๓๙) และดู ขุ.ป. ๓๑/๔๗๘/๓๖๑
๒ เป็นไปไม่ได้เลย หมายถึงปฏิเสธฐานะ(เหตุ) และปฏิเสธโอกาส(ปัจจัย) ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ.
๑/๒๖๘/๔๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
เขาจึงไม่มัวเมา ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำญาณทัสสนะให้
สำเร็จ เพราะญาณทัสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะญาณ-
ทัสสนะนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงไม่มัวเมา
ไม่ลืมตัว และไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทย่อมทำอสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ เป็นไป
ไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น
ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอานิสงส์(ผลที่มุ่งหมาย) มิใช่มีความสมบูรณ์แห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่
มีความสมบูรณ์แห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์
นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบเป็นเป้าหมาย เป็นแก่น เป็นที่สุด”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาสาโรปมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน
แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์เหล่านี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็น
คณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติว่าเป็นคนดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
ปูรณะ กัสสปะ๑ มักขลิ โคสาล๒ อชิตะ เกสกัมพล๓ ปกุธะ กัจจายนะ๔
สัญชัย เวลัฏฐบุตร๕ นิครนถ์ นาฏบุตร๖ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดรู้อย่าง
ชัดเจนตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้อย่างชัดเจนเลย หรือว่าบางพวกรู้
อย่างชัดเจน บางพวกไม่รู้อย่างชัดเจน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าสมณพราหมณ์
พวกนั้นทั้งหมดรู้อย่างชัดเจน ตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้อย่างชัดเจน
เลย หรือว่าบางพวกรู้อย่างชัดเจน บางพวกไม่รู้อย่างชัดเจนนั้น จงงดไว้เถิด เรา
จักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ปิงคลโกจฉพราหมณ์ทูลสนองรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า ปูรณะ เป็นชื่อของเขา เหตุที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขาเป็นทาสคนที่ครบร้อยพอดี คำว่า กัสสปะ
เป็นชื่อโคตร รวมทั้งชื่อและโคตรเรียกว่า ปูรณกัสสปะ (ที.สี.อ. ๑/๑๕๑/๑๓๐, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๐)
๒ คำว่า มักขลิ เป็นชื่อที่ ๑ ของเขา เหตุที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขาเป็นคนถือหม้อน้ำมันเดินตามทางที่มี
เปือกตม มักจะได้รับคำเตือนจากนายว่า มา ขลิ (อย่าลื่นนะ) คำว่า โคสาล เป็นชื่อที่ ๒ เพราะเขาเกิด
ในโรงโค (ที.สี.อ. ๑/๑๕๒/๑๓๑, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๐)
๓ คำว่า อชิตะ เป็นชื่อของเขา และได้ชื่อว่าเกสกัมพล ก็เพราะนุ่งห่มผ้าที่ทำด้วยผมของมนุษย์ (ที.สี.อ.
๑/๑๕๓/๑๓๑, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑)
๔ คำว่า ปกุธะ เป็นชื่อของเขา คำว่า กัจจายนะ เป็นชื่อโคตรเรียกรวมทั้งชื่อและโคตรว่า ปกุธกัจจายนะ
(ที.สี.อ. ๑/๑๕๔/๑๓๒, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑)
๕ คำว่า สัญชัย เป็นชื่อของเขา คำว่า เวลัฏฐบุตร เป็นชื่อที่ ๒ เพราะเป็นบุตรของช่างสาน (ที.สี.อ.
๑/๑๕๕/๑๓๒, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑)
๖ คำว่า นิครนถ์ เป็นชื่อของเขา ที่มีชื่ออย่างนั้นเพราะเขามักกล่าวว่า ‘เราไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด’ คำว่า นาฏบุตร
เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา เพราะเขาเป็นบุตรของนักฟ้อน (ที.สี.อ. ๑/๑๕๖/๑๓๒, ม.มู.อ. ๒/๓๑๒/๑๔๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๔๙ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร

บุคคลผู้แสวงหาแก่นไม้
[๓๑๓] “พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวง
หาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้
เปลือก และสะเก็ดไป เข้าใจกิ่งและใบว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป บุรุษผู้มีตาดี
เห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด
กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมี
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไป
เข้าใจกิ่งและใบว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา’
[๓๑๔] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ และเปลือกไป
เข้าใจสะเก็ดว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการ
แก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมอง
ข้ามแก่นไม้ กระพี้ และเปลือกไป เข้าใจสะเก็ดว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจ
ที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา’
[๓๑๕] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจ
เปลือกว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้
ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่
กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจเปลือกว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจ
ที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา’
[๓๑๖] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ไป เข้าใจกระพี้ว่า ‘แก่นไม้’
จึงถากนำไป บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่รู้จักแก่นไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะ
แสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ไป
เข้าใจกระพี้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา’
[๓๑๗] อีกอย่างหนึ่ง บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป บุรุษผู้มีตาดี
เห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้รู้จักแก่นไม้ กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่ง
และใบ แท้จริง ท่านผู้นี้ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้น
ไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป และกิจที่เขาจะต้อง
ใช้แก่นไม้ทำจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา’ แม้ฉันใด
กิ่งและใบแห่งพรหมจรรย์
[๓๑๘] พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์
อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวช
แล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและ
ความสรรเสริญนั้น เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะลาภสักการะและ
ความสรรเสริญนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ
ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่มีชื่อเสียง มีศักดิ์น้อย’ อนึ่ง เขาไม่สร้างฉันทะ ไม่พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่ง และประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย อุปมาเหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้
เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้าม
แก่นไม้ กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไป เข้าใจกิ่งและใบว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป
และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้ตถาคต
เรียกว่า มีอุปมาฉันนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร

สะเก็ดแห่งพรหมจรรย์
[๓๑๙] บุคคลบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
คิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะ
และความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขา
จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่ง
และประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน
ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น
เขาจึงปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงยกตน
ข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม’
อนึ่ง เขาไม่สร้างฉันทะ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่า
ความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย อุปมาเหมือน
บุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่น
ยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ กระพี้ และเปลือกไป เข้าใจสะเก็ดว่า ‘แก่นไม้’
จึงถากนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด
บุคคลนี้ตถาคตเรียกว่า มีอุปมาฉันนั้น
เปลือกแห่งพรหมจรรย์
[๓๒๐] บุคคลบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า
‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ ... ครอบงำแล้ว ฯลฯ การทำที่สุดแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น
เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่
สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง
เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าลาภสักการะ
และความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำ
ความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
ความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่น อันยิ่งและประณีตกว่า
ความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อม
ทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึง
ปลื้มใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงยกตน
ข่มผู้อื่นว่า ‘เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์แน่วแน่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้มีจิตไม่ตั้งมั่น
มีจิตแปรผัน’ เขาไม่สร้างฉันทะ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและ
ประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ ทั้งเป็นผู้ประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย อุปมา
เหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่ง
มีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ และกระพี้ไป เข้าใจเปลือกว่า ‘แก่นไม้’ จึงถาก
นำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้
ตถาคตเรียกว่า มีอุปมาฉันนั้น
กระพี้แห่งพรหมจรรย์
[๓๒๑] บุคคลบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า
‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ ... ครอบงำแล้ว ฯลฯ การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น
นี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น
เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่
สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่ง และประณีตกว่า
ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึง
ปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่น อันยิ่งและ
ประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น
เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่น
อันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน
ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้ม
ใจและมีความรู้สึกสมหวัง เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงยกตนข่มผู้อื่นว่า ‘เรารู้
เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่’ อนึ่ง เขาไม่สร้างฉันทะ ไม่
พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ ทั้งเป็นผู้มี
ความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย อุปมาเหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะ
แสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ กลับมองข้ามแก่นไม้ไป
เข้าใจกระพี้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงถากนำไป และกิจที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้ตถาคตเรียกว่า มีอุปมาฉันนั้น
แก่นแห่งพรหมจรรย์
[๓๒๒] บุคคลบางพวกในโลกนี้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
คิดว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ครอบงำ มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้าแล้ว ทำอย่างไร
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงมีได้’ เขาบวชแล้วอย่างนั้น ทำลาภสักการะ
และความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาจึงไม่
ปลื้มใจ และมีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรม
เหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งศีลให้สำเร็จ เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะความ
สมบูรณ์แห่งศีลนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งศีล ทั้งเป็นผู้มีความ
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำความสมบูรณ์แห่งสมาธิให้สำเร็จ
เพราะความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะ
ความสมบูรณ์แห่งสมาธินั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ
พยายาม เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าความสมบูรณ์แห่งสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมทำญาณทัสสนะให้สำเร็จ
เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาจึงปลื้มใจ แต่มีความรู้สึกยังไม่สมหวัง เพราะญาณ-
ทัสสนะนั้น เขาจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น อนึ่ง เขาสร้างฉันทะ พยายามเพื่อทำให้
แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่
ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
[๓๒๓] ธรรมอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและ
ประณีตกว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่ แม้ธรรม
ข้อนี้ก็ยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุ
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ฯลฯ เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ฯลฯ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการ
ทั้งปวง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและประณีต
กว่าญาณทัสสนะ
อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ
ย่อมสิ้นไป แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
เหล่านี้เป็นธรรมอันยิ่งและประณีตกว่าญาณทัสสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
[๓๒๔] อุปมาเหมือนบุรุษนั้นผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่
เมื่อมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีแก่นยืนต้นอยู่ รู้แก่นไม้ว่า ‘แก่นไม้’ จึงตัดนำไป และกิจ
ที่เขาจะต้องใช้แก่นไม้ทำจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด บุคคลนี้ตถาคตเรียกว่า
มีอุปมาฉันนั้น
พราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ
สรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์แห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความ
สมบูรณ์แห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มี
เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบเป็นเป้าหมาย เป็นแก่น เป็นที่สุด”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
จูฬสาโรปมสูตรที่ ๑๐ จบ
โอปัมมวรรค ที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กกจูปมสูตร ๒. อลคัททูปมสูตร
๓. วัมมิกสูตร ๔. รถวินีตสูตร
๕. นิวาปสูตร ๖. ปาสราสิสูตร
๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
๙. มหาสาโรปมสูตร ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร

๔. มหายมกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นคู่ หมวดใหญ่

๑. จูฬโคสิงคสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน สูตรเล็ก
[๓๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำหนักอิฐในบ้านชื่อนาทิกะ
สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ อยู่ที่ป่าโคสิงค-
สาลวัน ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปยัง
ป่าโคสิงคสาลวัน
นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร
(พระเถระ) ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย”
เมื่อนายทายบาลกราบทูลพระผู้มีพระภาคอยู่นั้น ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว
จึงได้บอกกับนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว”
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมิละถึงที่
อยู่ แล้วได้บอกว่า “รีบไปกันเถิดท่าน รีบไปกันเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว”
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละได้ต้อนรับพระผู้มี
พระภาค รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่ง
ตั้งน้ำล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ครั้นล้าง
พระบาทแล้ว ท่านทั้ง ๓ รูปนั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกับท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน
พระกิมิละว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
[๓๒๖] “อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ เธอทั้งหลายยังสบายดีหรือ ยัง
พอเป็นอยู่ได้หรือ๑ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต”
“เธอทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนม
กับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่หรือ”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่
วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่
พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำ
นมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ได้อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’ ข้าพระองค์ตั้งมั่นเมตตากายกรรม
ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม และตั้งมั่นเมตตามโนกรรม๒ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและ
ลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรเก็บความนึกคิดของตน
แล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิด
ของตนแล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์
ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า”
แม้ท่านพระนันทิยะ ฯลฯ แม้ท่านพระกิมิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส แม้ข้าพระองค์ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่กับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’
ข้าพระองค์ตั้งมั่นเมตตากายกรรม ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม และตั้งมั่นเมตตามโนกรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๗๔/๖๖, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๖/๕๔๐
๒ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๑/๔๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
ในท่านเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี
เราควรเก็บความนึกคิดของตนแล้ว ประพฤติตามอำนาจความนึกคิดของท่าน
เหล่านี้’ ข้าพระองค์ก็เก็บความนึกคิดของตน แล้วประพฤติตามอำนาจความนึกคิด
ของท่านเหล่านี้ กายของข้าพระองค์ทั้งหลายต่างกันก็จริง แต่ความนึกคิดดูเหมือน
เป็นอันเดียวกัน
ข้าพระองค์ทั้งหลายยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็น
เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันและกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่อย่างนี้แล
พระพุทธเจ้าข้า”
[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ
เธอทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่หรือ”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ได้อย่างไร”
“ขอประทานวโรกาส บรรดาข้าพระองค์ทั้งหลาย รูปใดกลับจากบิณฑบาต
จากหมู่บ้านก่อน รูปนั้นก็ปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ รูปใด
กลับจากบิณฑบาตจากหมู่บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หากประสงค์
ก็ฉัน หากไม่ประสงค์ก็เททิ้งบนพื้นที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
รูปนั้นเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ กวาดโรงอาหาร รูปใดเห็น
หม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นก็นำไปตั้งไว้ ถ้าเหลือ
วิสัยของท่าน ก็กวักมือเรียกรูปที่ ๒ มาช่วยกันยกนำไปตั้งไว้ ข้าพระองค์
ทั้งหลายไม่เปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย และทุก ๕ วัน ข้าพระองค์ทั้งหลาย
นั่งสนทนาธรรมีกถาตลอดคืนยังรุ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร

ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุก
[๓๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
อย่างผาสุกที่เธอทั้งหลายผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้
ได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือ”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์
ทั้งหลายสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร
ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือญาณทัสสนะที่
ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก
ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ได้บรรลุแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้
บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ”
“จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ข้าพระองค์
ทั้งหลายบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือ
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
อย่างผาสุกอย่างอื่น ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรม
เป็นเครื่องอยู่นั้น”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้บรรลุ
เพื่อก้าวล่วง และเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ”
“จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะปีติจางคลายไป ข้าพระองค์
ทั้งหลายมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ นี้คือญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก
อย่างอื่นที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้บรรลุ
เพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ”
“จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส
และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่
ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น
พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้บรรลุ
เพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ”
“จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวังนี้คือ
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่าง
ผาสุกอย่างอื่นที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่อง
อยู่อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ
วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่เธอทั้งหลายได้
บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
“จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง ฯลฯ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง ฯลฯ เพราะล่วงอากิญจัญญายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อยู่ตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่ง
กว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่นที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น พระพุทธเจ้าข้า”
[๓๒๙] “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ญาณทัสสนะที่
ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่าง
อื่นที่เธอทั้งหลายได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้น มีอยู่หรือ”
“จะไม่มีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง ข้าพระองค์ทั้งหลายบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วย
ปัญญา อาสวะของข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมสิ้นไปตามกำหนดเวลาที่มุ่งหวัง นี้คือ
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่
อย่างผาสุกอย่างอื่นที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้บรรลุเพื่อก้าวล่วงและเพื่อระงับธรรม
เป็นเครื่องอยู่นั้น พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่พิจารณาเห็น
ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกอย่างอื่น ที่ยิ่งหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่
อย่างผาสุกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุก
อย่างอื่น ที่ยิ่งหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกนี้ หามีไม่”
[๓๓๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระอนุรุทธะ ท่าน
พระนันทิยะ และท่านพระกิมิละเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจาก
อาสนะเสด็จจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละตามส่งเสด็จพระ
ผู้มีพระภาค ครั้นกลับจากที่นั้นแล้ว ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมิละได้กล่าว
กับท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่านอนุรุทธะประกาศคุณวิเศษใดของพวกกระผม จนถึง
ความสิ้นอาสวะ ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้บอกคุณวิเศษ
นั้นแก่ท่านอนุรุทธะอย่างนั้นหรือว่า ‘พวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้และเหล่านี้๑”
ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า “พวกท่านมิได้บอกแก่กระผมอย่างนี้ว่า ‘พวกเราได้
วิหารสมาบัติเหล่านี้และเหล่านี้’ แต่กระผมกำหนดจิตของพวกท่านด้วยจิตของ
กระผมแล้วรู้ได้ว่า ‘ท่านเหล่านี้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้และเหล่านี้’ แม้พวกเทวดา
ก็ได้บอกเนื้อความข้อนี้แก่กระผมว่า ‘ท่านเหล่านี้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้และเหล่านี้’
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหา กระผมจึงทูลตอบเนื้อความนั้น”
เทวดาสรรเสริญพระเถระทั้ง ๓ รูป
[๓๓๑] ยักษ์ชื่อทีฆปรชนเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว
ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านนี้
คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละก็มาพักอยู่”
เทพชั้นภุมมะได้ฟังเสียงของยักษ์ชื่อทีฆปรชนแล้วได้ประกาศ(ต่อไป)ว่า “ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ที่พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านนี้ คือ ท่าน
พระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละก็มาพักอยู่”

เชิงอรรถ :
๑ เหล่านี้และเหล่านี้ ในที่นี้หมายถึงโลกิยธรรมมีปฐมฌานเป็นต้น และโลกุตตรธรรม (ม.มู.อ. ๒/๓๓๐/๑๕๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๓ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
เทพชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของเทพชั้นภุมมะแล้ว ... เทพชั้นดาวดึงส์ ...
เทพชั้นยามา ... เทพชั้นดุสิต ... เทพชั้นนิมมานรดี ... เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ...
เทพที่นับเข้าในหมู่พรหมได้ฟังเสียงของเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ได้ประกาศ
(ต่อไป)ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว
ที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านนี้
คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละก็มาพักอยู่”
โดยขณะเพียงครู่หนึ่งนั้น ท่าน(พระเถระ)เหล่านั้นได้เป็นผู้ที่เทพทั้งหลาย
รู้จักกันจนถึงพรหมโลกด้วยประการอย่างนี้
การปฏิบัติดีของพระสงฆ์เป็นประโยชน์แก่มหาชน
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากตระกูลใด ถ้าตระกูลนั้นมีจิต
เลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
แก่ตระกูลนั้นตลอดกาลนาน
กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากวงศ์ตระกูลใด ถ้าวงศ์
ตระกูลนั้นเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อ
ความสุขแก่วงศ์ตระกูลนั้นตลอดกาลนาน
กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากหมู่บ้านใด ถ้าหมู่บ้าน
นั้นมีจิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อ
ความสุขแก่หมู่บ้านนั้นตลอดกาลนาน
กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากนิคมใด ถ้านิคมนั้นมีจิต
เลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
แก่นิคมนั้นตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๑. จูฬโคสิงคสูตร
กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากนครใด ถ้านครนั้นมีจิต
เลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
แก่นครนั้นตลอดกาลนาน
กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากชนบทใด ถ้าชนบทนั้น
มีจิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความ
สุขแก่ชนบทนั้นตลอดกาลนาน
ถ้ากษัตริย์ทั้งมวลมีจิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ทั้งมวลตลอดกาลนาน
ถ้าพราหมณ์ทั้งมวล ...
ถ้าแพศย์ทั้งมวล ...
ถ้าศูทรทั้งมวลมีจิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งมวลตลอดกาลนาน
ถ้ามนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์มีจิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึง
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน
ทีฆะ ท่านจงเห็นเถิด กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ปฏิบัติก็เพียงเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ยักษ์ชื่อทีฆปรชนมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬโคสิงคสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๒. มหาโคสิงคสูตร

๒. มหาโคสิงคสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในโคสิงคสาลวัน สูตรใหญ่
ป่างามด้วยภิกษุมีคุณสมบัติเช่นไร
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระเถระ
ผู้เป็นพระสาวกที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา
โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระ
อานนท์ และพระเถระผู้เป็นพระสาวกที่มีชื่อเสียงรูปอื่น ๆ
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่หลีกเร้น๑ ในเวลาเย็น เข้าไป
หาท่านพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับท่านพระมหากัสสปะว่า “เราไป
กันเถิด ท่านกัสสปะ เราจักเข้าไปหาท่านสารีบุตรถึงที่อยู่เพื่อฟังธรรม”
ท่านพระมหากัสสปะรับคำแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่าน
พระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม
ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ และ
ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม จึงเข้าไปหาท่าน
พระเรวตะถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกับท่านพระเรวตะว่า “ท่านเรวตะ ท่านสัตบุรุษเหล่า
โน้นกำลังเข้าไปหาท่านสารีบุตรเพื่อฟังธรรม เราไปกันเถิด ท่านเรวตะ เราจัก
เข้าไปหาท่านสารีบุตรเพื่อฟังธรรม”
ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะและท่าน
พระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๖ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๒. มหาโคสิงคสูตร
[๓๓๓] ท่านพระสารีบุตรได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์กำลัง
เดินมาแต่ไกล แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ จงมาเถิด ท่าน
อานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค ได้มาดีแล้ว
ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่ง
ทั่วทุกต้น กลิ่นดุจกลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วย
ภิกษุเช่นไร”
ทรรศนะของพระอานนท์
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ๑ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงาม
ในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ และแทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะที่เรียบง่ายและต่อเนื่องไม่
ขาดสายเพื่อถอนอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”
ทรรศนะของพระเรวตะ
[๓๓๔] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว
กับท่านพระเรวตะว่า “ท่านเรวตะ ท่านอานนท์ตอบตามปฏิภาณของตน บัดนี้
เราขอถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ‘ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรี
แจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วทุกต้น กลิ่นดุจกลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ
ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร”

เชิงอรรถ :
๑ พหูสูต หมายถึงได้ศึกษาเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) มาครบถ้วนโดยบาลี
และอนุสนธิ ทรงสุตะ หมายถึงสามารถทรงจำนวังคสัตถุศาสน์นั้นไว้ได้แม่นยำ แม้เวลาผ่านไป ๑๐ ปี ๒๐ ปี
ก็ไม่ลืมเลือน เมื่อถูกถาม ก็สามารถตอบได้ สั่งสมสุตะ หมายถึงจดจำนวังคสัตถุศาสน์นั้นไว้ได้จนขึ้นใจ
ดุจรอยขีดที่หินคงอยู่ไม่ลบเลือน ฉะนั้น (ม.มู.อ. ๒/๓๓๓/๑๕๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๗ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๒. มหาโคสิงคสูตร
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความ
หลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับ
ใจภายในตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา๑ เพิ่มพูนเรือนว่าง ท่าน
สารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”
ทรรศนะของพระอนุรุทธะ
[๓๓๕] เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับ
ท่านพระอนุรุทธะว่า “ท่านอนุรุทธะ ท่านเรวตะตอบตามปฏิภาณของตน บัดนี้
เราขอถามท่านอนุรุทธะในข้อนั้นว่า ‘ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์
ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วทุกต้น กลิ่นดุจกลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่าน
อนุรุทธะ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร”
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ย่อมตรวจดู
โลกธาตุ๒ ๑,๐๐๐ โลกธาตุด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ บุรุษผู้มีตาดีขึ้นปราสาท
อันโอ่อ่าชั้นบน จะพึงมองดูวงกลมแห่งกงล้อจำนวน ๑,๐๐๐ ได้ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกธาตุ ๑,๐๐๐ โลกธาตุ ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”
ทรรศนะของพระมหากัสสปะ
[๓๓๖] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับ
ท่านพระมหากัสสปะว่า “ท่านกัสสปะ ท่านอนุรุทธะตอบตามปฏิภาณของตน
บัดนี้ เราขอถามท่านกัสสปะในข้อนั้นว่า ‘ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์
ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วทุกต้น กลิ่นดุจกลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่าน
กัสสปะ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร”

เชิงอรรถ :
๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๖๕ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๕๗ ในเล่มนี้
๒ โลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุขนาดเล็กที่เรียกว่าสหัสสีโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาล ๑,๐๐๐ จักรวาล
๑,๐๐๐ โลกธาตุ = ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล (๑,๐๐๐ โลกธาตุ x ๑,๐๐๐ จักรวาล) (ม.มู.อ. ๒/๓๓๕/๑๖๑,
องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) และดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘/๑๑, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๘๑/๓๐๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๘ }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๒. มหาโคสิงคสูตร
ท่านพระมหากัสสปะตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ตนเอง
อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ตนเองเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ
ไตรจีวรเป็นวัตร ตนเองเป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย
ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษ ตนเองเป็นผู้สงัด
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัด ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ไม่คลุกคลี ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าว
สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ปรารภความเพียร ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และ
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ ตนเอง
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”
ทรรศนะของพระมหาโมคคัลลานะ
[๓๓๗] เมื่อท่านพระมหากัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้
กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า “ท่านโมคคัลลานะ ท่านมหากัสสปะตอบตาม
ปฏิภาณของตน บัดนี้ ผมขอถามท่านมหาโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ‘ป่าโคสิงค-
สาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วทุกต้น
กลิ่นดุจกลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุ
เช่นไร”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระ
ธรรมวินัยนี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ รูปนั้น ถามปัญหากันและกันแล้ว
ย่อมแก้กันเองไม่หยุดพัก และธรรมีกถาของเธอทั้ง ๒ นั้นก็ดำเนินต่อไป ท่าน
สารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเช่นนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค] ๒. มหาโคสิงคสูตร

ทรรศนะของพระสารีบุตร
[๓๓๘] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรว่า
“ท่านสารีบุตร พวกเราทั้งหมดตอบตามปฏิภาณของตน บัดนี้ ผมขอถามท่าน
สารีบุตรในข้อนั้นว่า ‘ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง
ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วทุกต้น กลิ่นดุจกลิ่นทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงค-
สาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำจิต
ให้อยู่ในอำนาจ(ของตน) และไม่ยอมอยู่ในอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหาร-
สมาบัติ๑ใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหาร-
สมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วย
วิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเย็น หีบผ้าของพระ
ราชาหรือราชมหาอำมาตย์ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมแล้วเป็นสีต่าง ๆ พระราชาหรือ
ราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ห่มผ้าคู่นั้นในเวลาเช้า หวังจะ
ห่มผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มผ้าคู่นั้นในเวลาเที่ยง หวังจะห่มผ้าคู่ใดในเวลาเย็น
ก็ห่มผ้าคู่นั้นในเวลาเย็น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำจิตให้อยู่ในอำนาจ
(ของตน) และไม่ยอมอยู่ในอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า
ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง
ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น
ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นในเวลาเย็น ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวันพึงงาม
ด้วยภิกษุเช่นนี้”

เชิงอรรถ :
๑ วิหารสมาบัติ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติเป็นเครื่องอยู่อันเป็นโลกียะ หรือเป็นโลกุตตระ (ม.มู.อ. ๒/๓๓๘/๑๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๓๗๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น