Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๓-๔ หน้า ๑๕๔ - ๒๐๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓-๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวลานั้น เธอเป็นอุภโตภาควิมุต เป็น
ปัญญาวิมุต เป็นกายสักขี เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นสัทธาวิมุต เป็นธัมมานุสารี หรือ
เป็นสัทธานุสารีบ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เวลานั้น เธอเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิด ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์
สมาทานศึกษาอยู่ แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม
เราจึงรับรู้โทษของเธอนั้น การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตาม
ธรรมจะสำรวมระวังต่อไปนี้ เป็นความเจริญในอริยวินัย
ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์
[๑๓๗] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ เสนาสนะ
เงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ๑ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์๒’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น ศาสดาก็ติเตียนได้
เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเอง
ก็ติเตียนตนเองได้ เธอถูกศาสดาติเตียนบ้าง ถูกเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง
ถูกเทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนเองบ้าง ก็ไม่ทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐ
อันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
ผู้บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์
[๑๓๘] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บำเพ็ญสิกขาใน
ศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ
เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อเธอหลีกออกไปอยู่อย่างนั้น แม้ศาสดาก็ติเตียนไม่ได้
แม้เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนไม่ได้ แม้เทวดาก็ติเตียนไม่ได้
แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ เธออันศาสดาไม่ติเตียน เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
ใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน เทวดาไม่ติเตียน ตนเองติเตียนตนเองไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภิกษุนั้นสงัดจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิด
จากวิเวกอยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
[๑๓๙] อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดจากสมาธิอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
วิชชา ๓
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๑ ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ฯลฯ๒
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต ฯลฯ๑ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็น
หมู่สัตว์ ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๓’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เหตุที่ทำให้ถูกข่มขี่และไม่ถูกข่มขี่
[๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุ
ทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้ภิกษุทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ต้องอาบัติ
อยู่เนือง ๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติ
นอกลู่นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก
ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็น
ผู้มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่
อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจะ
พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์๑นี้ระงับ
ไปโดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๑] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มี
อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า
จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มีอาบัติมาก
เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง ไม่นำถ้อยคำ
ภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตาม
ความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของ
ภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๒] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มี
อาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอนตนออก ไม่กล่าว
ว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่
นอกทาง นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน แสดงความโกรธ ความขัดเคือง
และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติชอบ ไม่หวาดกลัว ไม่ยอมถอน
ตนออก ไม่กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบที่ท่านผู้
มีอายุทั้งหลายจะพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยมิให้อธิกรณ์ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๓] ภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ยอมถอนตนออก กล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง
ไม่มีอาบัติมาก เธอถูกภิกษุทั้งหลายตักเตือนอยู่ ก็ไม่ฝ่าฝืนประพฤตินอกลู่นอกทาง
ไม่นำถ้อยคำภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๕๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
ไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ประพฤติชอบ หวาดกลัว ถอนตนออก กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้า
จะทำตามความพอใจของสงฆ์’ เป็นการชอบแล้ว ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจง
พิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไปโดยเร็ว’
ภัททาลิ ภิกษุทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยให้อธิกรณ์นี้ระงับไป
โดยเร็ว ด้วยอาการอย่างนี้
[๑๔๔] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ
ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลาย
จักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ด้วยตั้งใจว่า ‘ศรัทธาพอประมาณ
ความรักพอประมาณของเธอนั้นอย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย’
บุคคลผู้เป็นมิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษา
นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ด้วยตั้งใจว่า ‘นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่าได้เสื่อมไปจาก
เขาเลย’ แม้ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำเนินชีวิตด้วย
ศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ดำเนินชีวิต
ด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพูด
อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ดำเนินชีวิตด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรัก
พอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจักข่มขี่ภิกษุนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) ศรัทธา
พอประมาณ ความรักพอประมาณของเธอ อย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย’
ภัททาลิ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลายข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรม-
วินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ภิกษุทั้งหลาย
ข่มขี่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ แล้วทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์)”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร

อาสวัฏฐานิยธรรม
[๑๔๕] ท่านพระภัททาลิทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยที่เมื่อก่อนสิกขาบทมีเพียงเล็กน้อย แต่ภิกษุจำนวนมากดำรงอยู่ในอรหัตตผล
อนึ่ง อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่บัดนี้สิกขาบทมีเป็นอันมาก แต่ภิกษุจำนวนน้อย
ดำรงอยู่ในอรหัตตผล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
กำลังจะเสื่อม เมื่อสัทธรรม๑กำลังจะอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่เป็นอันมาก แต่ภิกษุ
จำนวนน้อยดำรงอยู่ในอรหัตตผล ศาสดาจะยังไม่บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
ตลอดเวลาที่ยังไม่เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม๒บางอย่างในสงฆ์ เมื่อเกิดอาสวัฏฐานิยธรรม
บางอย่างในสงฆ์ ศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิย-
ธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นหมู่ใหญ่
เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นผู้เลิศ
ด้วยลาภ ... ยังไม่เป็นผู้เลิศด้วยยศ ... ยังไม่เป็นพหูสูต๓ ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่เป็นรัตตัญญู
เมื่อสงฆ์เป็นรัตตัญญู๑ อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างจึงเกิดในสงฆ์ ศาสดาจะบัญญัติ
สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อขจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น
[๑๔๖] ภัททาลิ สมัยใด เราแสดงธรรมบรรยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่ม
แก่เธอทั้งหลาย สมัยนั้น เธอทั้งหลายยังมีจำนวนน้อย ภัททาลิ เธอยังระลึกถึงธรรม
บรรยายนั้น ได้อยู่หรือ”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยเหตุอะไรเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์มิได้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของ
พระศาสดาให้บริบูรณ์เป็นเวลานานมาแล้วแน่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์นี้ จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ก็หามิได้ แต่เรากำหนดรู้ด้วยจิตจึงรู้จักเธอมานานแล้วว่า ‘เมื่อเราแสดงธรรมอยู่
โมฆบุรุษนี้ไม่ตั้งใจ ไม่ใส่ใจ ไม่เอาใจจดจ่อ ไม่เงี่ยโสตสดับธรรม’ แต่เราก็จักแสดง
ธรรมบรรยายเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยหนุ่มแก่เธออีก เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ท่านพระภัททาลิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
องค์คุณของภิกษุผู้เป็นเนื้อนาบุญ
[๑๔๗] “ภัททาลิ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ชำนาญ ได้ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีแล้ว
ครั้งแรกทีเดียวฝึกให้มันรู้เรื่องในการสวมบังเหียน เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการ
สวมบังเหียน มันก็พยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคย
ฝึก ม้านั้นหมดพยศได้เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดย
ลำดับ เมื่อม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้ เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๕. ภัททาลิสูตร
รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก เช่น ฝึก
เทียมแอก เมื่อเขากำลังฝึกให้มันรู้เรื่องในการเทียมแอก มันก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึก
บ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีหมดพยศลงได้
เพราะได้รับการฝึกบ่อย ๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ คนฝึกม้าก็จะ
ฝึกให้มันรู้เรื่องอื่นต่อไปอีก คือ

๑. การเหยาะย่าง ๒. การวิ่งเป็นวงกลม
๓. การจรดกีบ ๔. การวิ่ง
๕. การใช้เสียงร้องให้เป็นประโยชน์ ๖. คุณสมบัติได้เป็นราชนิยม
๗. ความเป็นวงศ์พญาม้า ๘. ความว่องไวชั้นเยี่ยม
๙. การเป็นม้าชั้นเยี่ยม ๑๐. การเป็นม้าที่ควรแก่การชมเชย
อย่างยิ่ง

เมื่อคนฝึกม้าฝึกให้มันรู้เรื่องในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม
ในการเป็นม้าควรแก่การชมเชยอย่างยิ่ง ม้านั้นก็จะพยศ สบัด ดิ้นรน อย่างใด
อย่างหนึ่ง เหมือนม้าที่ยังไม่เคยฝึก ม้านั้นหมดพยศลงได้เพราะได้รับการฝึกอยู่
บ่อยๆ เพราะได้รับการฝึกตามขั้นตอนโดยลำดับ ในการขี่ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีซึ่งหมด
พยศลงนั้น คนฝึกม้าก็จะเพิ่มการฝึกให้มีคุณภาพ ให้มีกำลังขึ้น ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี
ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล จึงเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่า
เป็นราชพาหนะโดยแท้ แม้ฉันใด
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก

ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ
๖. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ
๗. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็นอเสขะ
๘. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ
๙. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณะอันเป็นอเสขะ
๑๐. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติอันเป็นอเสขะ๑
ภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขา
นำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญ
อันยอดเยี่ยมของโลก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ภัททาลิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยนางนกมูลไถ
[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ
แคว้นอังคุตตราปะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม ทรงเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว
เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเข้าไปยังราวป่า
แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อนกลางวัน ได้ประทับนั่งพักกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ในเวลาเช้า แม้ท่านพระอุทายีก็ครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง
อาปณนิคม เที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังราวป่าเพื่อพักผ่อนกลางวัน ได้นั่งพักกลางวันที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มี
พระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”
ครั้นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่หลีกเร้น๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
มูลเหตุที่ทรงห้ามฉันในเวลาวิกาล
[๑๔๙] ท่านพระอุทายีนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
ได้เกิดความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์
เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุข
เป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของ
เราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย’
ก็เมื่อก่อนข้าพระองค์เคยฉันได้ทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน(หลังเที่ยง)
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวันเสียเถิด’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจว่า ‘คหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธาจะ
ถวายของควรเคี้ยว ของควรฉันอันประณีตแม้ใดแก่เราทั้งหลายในเวลาวิกาลกลางวัน
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตรับสั่งให้เราทั้งหลายเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวันแม้นั้น
เสียแล้ว’
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเมื่อพิจารณาเห็นความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงยอมเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางวัน
นั้นเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นจึงฉันในเวลาเย็นและเวลาเช้า
ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางคืนเสียเถิด’
ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคผู้สุคตรับสั่ง
ให้เราเลิกฉันโภชนะที่นับว่าประณีตกว่าบรรดาโภชนะทั้งสองนี้เสีย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษคนหนึ่งได้ของที่ควรจะแกงมา
ในเวลากลางวัน จึงบอกภรรยาอย่างนี้ว่า ‘เอาเถิด เธอจงเก็บสิ่งนี้ไว้ เราทั้งหมด
จักบริโภคพร้อมกันในเวลาเย็น อะไร ๆ ทั้งหมดที่จะปรุงกินย่อมมีรสอร่อยในเวลา
กลางคืน เวลากลางวันมีรสไม่อร่อย’
ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นความรัก ความเคารพ ความละอาย
และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาค จึงยอมเลิกฉันโภชนะในเวลาวิกาลกลางคืน
นั้นเสีย
เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตไปในเวลามืดค่ำ ย่อมเข้าไป
ใกล้บ่อน้ำครำบ้าง ตกลงในหลุมโสโครกบ้าง บุกเข้าไปยังป่าหนามบ้าง เหยียบแม่โค
ที่กำลังหลับบ้าง พบกับโจรผู้ทำโจรกรรมบ้าง ผู้ยังไม่ได้ทำโจรกรรมบ้าง ถูกมาตุคาม
ชักชวนให้เสพสมบ้าง
เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตไปในเวลามืดค่ำ หญิงคนหนึ่ง
กำลังล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์โดยแสงฟ้าแลบแล้วตกใจกลัวร้องเสียงหลงว่า
‘ว้าย ! ผีหลอก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
เมื่อหญิงนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์จึงพูดกับเธอว่า ‘ไม่ใช่ผีหรอก
น้องหญิง เราเป็นภิกษุยืนบิณฑบาตอยู่’
หญิงนั้นกล่าวว่า ‘พ่อแม่ของภิกษุคงตายแล้วกระนั้นหรือ ภิกษุ ท่านเอา
มีดคม ๆ สำหรับเชือดโคมาเชือดท้องของดิฉันเสียยังดีกว่า การที่ท่านมาเที่ยว
บิณฑบาตในเวลามืดค่ำอย่างนี้เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่ดีเลย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงเรื่องนั้นอยู่ จึงคิดอย่างนี้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้ พระผู้มีพระภาคทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงกำจัดอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้ พระผู้มี
พระภาคทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากมาให้เราทั้งหลาย”
อุปมาด้วยนางนกมูลไถ
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุทายี อย่างนั้นเหมือนกัน โมฆบุรุษ
บางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวว่า ‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึง
ไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรงในเราอยู่ อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของ
ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ย่อมเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย
เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ เปรียบเหมือนนางนกมูลไถถูกผูกด้วยเถาหัวด้วน ย่อมรอ
เวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด หรือความตายในที่นั้นเอง ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘เครื่องดักคือเถาหัวด้วนที่เขาใช้ผูกนางนกมูลไถซึ่งรอเวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด
หรือความตายในที่นั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่น’ ผู้นั้น
เมื่อกล่าวอย่างนี้ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เครื่องดักคือเถาหัวด้วนที่เขา
ใช้ผูกนางนกมูลไถ ซึ่งรอเวลาที่จะถูกฆ่า เวลาที่จะถูกมัด หรือความตายในที่นั้นแล
เป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ พระ-
พุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเราอยู่ อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่
อุปมาด้วยช้างต้น
[๑๕๑] อุทายี ส่วนกุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวว่า ‘จงละ
ความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะสำคัญ
อะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้เรา
ทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว ดำรง
ชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
ย่อมเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร เปรียบเหมือนช้างต้น
มีงางอนงาม เป็นช้างทรง ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้าง
ล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมันสบัดกายเท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดแล้วหนีไป
ตามใจปรารถนา ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ช้างต้นนั้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง
ที่มีชาติกำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้างล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมัน
สบัดกายเท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดหนีไปตามใจปรารถนา โซ่นั้นจัดเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะช้างต้นนั้นมีงางอนงาม เป็นช้างทรง ที่มีชาติ
กำเนิดดี เคยฝ่าศึกสงครามมาแล้ว ควาญช้างล่ามโซ่ไว้อย่างมั่นคง พอมันสบัดกาย
เท่านั้น ก็จะทำให้โซ่ที่ล่ามไว้นั้นขาดแล้วหนีไปตามใจปรารถนา เครื่องผูกช้างต้นนั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง ฯลฯ ไม่มีแก่นสาร พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะ
สำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร
อุปมาด้วยคนจน
[๑๕๒] อุทายี เปรียบเหมือนคนยากไร้ ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็นของตน
จัดเป็นคนจน ไม่ใช่คนมั่งคั่งเลย เขามีเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องมุงและ
เครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน มีแคร่อันหนึ่ง
ก็ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ มีข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่
พันธุ์ดี มีภรรยาคนหนึ่งก็ไม่สวย เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้างสะอาด
สะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรมฝึก
สมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’
แต่เขาไม่อาจสละเรือนหลังเล็กนั้นซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง
หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่
เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี
ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
อุทายี ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละเรือนหลังเล็ก ๆ
หลังหนึ่งซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา
ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
เมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูป
ไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละได้แม้แต่เรือน
หลังเล็ก ๆ หลังนั้น ซึ่งมีเครื่องมุงและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ที่ต้อง
คอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละ
ข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยา
คนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตได้ จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็น
เหมือนท่อนไม้ใหญ่”
“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเรา อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่
อุปมาด้วยคนมั่งมี
[๑๕๓] อุทายี เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีสมบัติมาก สะสมทองไว้หลายร้อยแท่ง สะสมข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา
ทาสชาย ทาสหญิง ไว้เป็นอันมาก เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้าง
สะอาดสะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรม
ฝึกสมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
เขาอาจจะละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย
ทาสหญิง เป็นอันมากแล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกคหบดีหรือบุตรคหบดี
ผู้อาจละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง
เป็นอันมาก แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อน
ไม่ใหญ่’ ผู้นั้นเมื่อกล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกคหบดีหรือบุตรคหบดี ผู้อาจละทอง
หลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาสชาย ทาสหญิง เป็นอันมากแล้ว
โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จัดเป็น
เครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้
จะสำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาจึงละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร
บุคคล ๔ จำพวก
[๑๕๔] อุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก ไหนบ้าง
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
๑. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ๑เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ ผู้นั้นยังรับความดำรินั้นไว้ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้
สิ้นสุด และไม่ทำให้หมดไป เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่
ผู้คลายกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๒. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ ผู้นั้นไม่รับความดำริเหล่านั้นไว้ ละได้ บรรเทาได้
ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไป เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส
ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๓. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอัน
ประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัด
ทิ้งอุปธินั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิด
ช้าไป ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไป
ได้ฉับพลัน คนหยดน้ำ ๒ หยดหรือ ๓ หยดลงในกะทะเหล็ก
ที่ร้อนอยู่ตลอดวัน หยดน้ำที่หยดลงอย่างช้า ๆ ก็จะเหือดแห้งไป
ฉับพลัน แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้
ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ ความดำริที่แล่นไปอันประกอบ
ด้วยอุปธิ ยังครอบงำบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสลัดทิ้งอุปธิ
นั้นอยู่ เพราะความหลงลืมสติในบางครั้งบางคราว สติเกิดช้าไป
ที่จริงเขาละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ และทำให้หมดไปได้โดย
ฉับพลัน เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้ยังมีกิเลส ไม่ใช่ผู้คลายกิเลส’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
๔. รู้ว่า ‘อุปธิ๑ เป็นเหตุแห่งทุกข์’ แล้วเป็นผู้ไม่มีอุปธิ น้อมจิตไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ๒ เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้คลายกิเลสได้แล้ว มิใช่
ผู้มีกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
กามคุณ ๕ ประการ
[๑๕๕] อุทายี กามคุณมี ๕ ประการนี้
กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี ๕ ประการนี้แล
อุทายี สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า ความสุข
ที่เกิดจากกาม ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่ความสุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพ๑ ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้๒’
รูปฌาน ๔
[๑๕๖] อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ๓ อยู่ ฌานทั้ง ๔ นี้เราเรียกว่า ความสุขเกิดจากการออกจากกาม
ความสุขเกิดจากความสงัด ความสุขเกิดจากความสงบ ความสุขเกิดจากการตรัสรู้
เรากล่าวว่า ‘ควรเสพ ควรให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในปฐมฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่วิตกวิจารในปฐมฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในทุติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่ปีติและสุขในทุติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในตติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่อุเบกขาและสุขในตติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในตติยฌานนั้น
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่า ไม่หวั่นไหว
อรูปฌาน ๔
อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลาย
จงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๖. ลฏุกิโกปมสูตร
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
คือ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
แม้จตุตถฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น
คือ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า
‘อากาศหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น แม้อากาสานัญจายตน-
ฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า
‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานนั้น แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตน
ฌานนั้น แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย
เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น
คือ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั้น เรากล่าวการละแม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ด้วยประการอย่างนี้
“อุทายี สังโยชน์ที่ละเอียดหรือหยาบนั้น ซึ่งเรายังมิได้กล่าวถึงการละ เธอเห็น
หรือไม่”
ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า “ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุทายีมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
ลฏุกิโกปมสูตรที่ ๖ จบ

๗. จาตุมสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านจาตุมา
เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง
[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อามลกีวัน หมู่บ้านจาตุมา สมัยนั้นแล
ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็น
หัวหน้า เดินทางมาถึงบ้านจาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้นสนทนาปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียง
ดังอื้ออึง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า “อานนท์
ผู้ที่ส่งเสียงดังอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน เป็นภิกษุพวกไหน”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เดินทางมาถึงบ้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
จาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นสนทนาปราศรัยกับภิกษุ
เจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า
‘พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่พัก
ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพากันส่งเสียงดังอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลา
กันหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า เดินทางมาถึงบ้าน
จาตุมาเพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น
จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรอยู่ ส่งเสียงดังอื้ออึง พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไป เราขอขับไล่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
ไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาค กระทำประทักษิณแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจากไป
[๑๕๘] สมัยนั้น เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมา มาประชุมกันอยู่ที่หอประชุม
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น
ถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า “พระคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะพากัน
ไปไหนเล่า”
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่แล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
“พระคุณท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงนั่งอยู่ที่นี่สักครู่หนึ่ง
บางทีพวกข้าพเจ้าอาจจะให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยได้”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่ง
กับภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์๑ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนอย่าง
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็น
นวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ก็มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
พืชที่ยังอ่อนเมื่อขาดน้ำก็จะเหี่ยวเฉาแปรเปลี่ยนสภาพไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
ลูกโคอ่อนเมื่อไม่เห็นแม่ก็จะร้องหาเที่ยวซมซานไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะบวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่ง
กับภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนอย่าง
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร

พรหมอาราธนาพระพุทธเจ้า
[๑๕๙] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบความรำพึงในพระทัยของพระ
ผู้มีพระภาคด้วยใจของตนแล้ว ได้อันตรธานจากพรหมโลกมาปรากฏในที่เฉพาะพระ
พักตร์ของพระผู้มีพระภาค เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ได้กราบทูลว่า
“ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่งกับภิกษุสงฆ์เถิด ขอ
พระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับที่เคยทรงอนุเคราะห์
ในกาลก่อนด้วยเถิด ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน
เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ก็มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึง
มีความน้อยใจ มีความแปรผันไป
พืชที่ยังอ่อนเมื่อขาดน้ำก็จะเหี่ยวเฉาแปรเปลี่ยนสภาพไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรผันไป
ลูกโคอ่อนเมื่อไม่เห็นแม่ก็จะร้องหาเที่ยวซมซานไป แม้ฉันใด ในภิกษุสงฆ์นี้
ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นนวกะ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้มีอยู่ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค จะพึงมีความน้อยใจ
มีความแปรผันไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงชื่นชมภิกษุสงฆ์ ขอจงรับสั่งกับ
ภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ เหมือนกับ
ที่เคยทรงอนุเคราะห์ในกาลก่อนด้วยเถิด๑ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
[๑๖๐] เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม สามารถทูลขอให้
พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยพืชที่ยังอ่อน และด้วยคำ
วิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านจงลุกขึ้น จงถือบาตรและจีวรเถิด เจ้าศากยะชาวเมือง
จาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัยแล้ว
ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยพืชที่ยังอ่อน และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถือบาตรและจีวรเข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคตรัสกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์ เธอได้มี
ความคิดอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่
ภิกษุสงฆ์แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย เจริญธรรมเครื่องอยู่
เป็นสุขในปัจจุบัน๑อยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย เจริญธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เช่นกัน”
“สารีบุตร เธอจงรอก่อน เธอจงรอก่อน ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
จงพักไว้ก่อน เธอไม่ควรให้ความคิดเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีก”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
“โมคคัลลานะ เมื่อเราขับไล่ภิกษุสงฆ์ เธอได้มีความคิดอย่างไร”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์ ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาค
ทรงขับไล่ภิกษุสงฆ์แล้ว บัดนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงมีความขวนขวายน้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
เจริญธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่ ข้าพระองค์และท่านสารีบุตรจักช่วยกัน
บริหารภิกษุสงฆ์”
“ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ความจริง เรา สารีบุตรหรือโมคคัลลานะเท่านั้น
ควรบริหารภิกษุสงฆ์”
ภัยของภิกษุผู้บวชใหม่ ๔ ประการ
[๑๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. อูมิภัย (ภัยจากคลื่น)
๒. กุมภีลภัย (ภัยจากจระเข้)
๓. อาวัฏฏภัย (ภัยจากน้ำวน)
๔. สุสุกาภัย (ภัยจากปลาร้าย)

ภัย ๔ ประการนี้แล ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงประสบ
ภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อูมิภัย ๒. กุมภีลภัย
๓. อาวัฏฏภัย ๔. สุสุกาภัย
[๑๖๒] อูมิภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
(ความคับแค้นใจ) ครอบงำ ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การ
ทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอน
เธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้
พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงครองสังฆาฏิ บาตร
และจีวรอย่างนี้’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์มีแต่ตักเตือน
พร่ำสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้ มีอายุคราวลูกคราวหลานของเรา ยังจะมาตักเตือน
พร่ำสอนเรา’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอูมิภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า อูมิภัย นี้
เป็นชื่อเรียกความโกรธและความคับแค้นใจ
[๑๖๓] กุมภีลภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่
ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอนเธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘สิ่งนี้เธอ
ควรฉัน สิ่งนี้เธอไม่ควรฉัน สิ่งนี้เธอควรบริโภค สิ่งนี้เธอไม่ควรบริโภค สิ่งนี้เธอ
ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอควรดื่ม สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะ๑
เธอควรฉัน สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ๒เธอไม่ควรฉัน สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค สิ่งที่
เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอ
ไม่ควรลิ้ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม สิ่งนี้เธอควร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
ฉันในกาล๑ สิ่งนี้เธอไม่ควรฉันในเวลาวิกาล๒ สิ่งนี้เธอควรบริโภคในกาล สิ่งนี้เธอ
ไม่ควรบริโภคในเวลาวิกาล สิ่งนี้เธอควรลิ้มในกาล สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้มในเวลาวิกาล
สิ่งนี้เธอควรดื่มในกาล สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน
เราเป็นคฤหัสถ์เคี้ยวกินสิ่งที่เราต้องการ ไม่เคี้ยวกินสิ่งที่เราไม่ต้องการ บริโภคสิ่ง
ที่เราต้องการ ไม่บริโภคสิ่งที่เราไม่ต้องการ ลิ้มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ลิ้มสิ่งที่เราไม่
ต้องการ ดื่มสิ่งที่เราต้องการ ไม่ดื่มสิ่งที่เราไม่ต้องการ เคี้ยวกินทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะ
และสิ่งเป็นอกัปปิยะ บริโภคทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ลิ้มทั้งสิ่งเป็น
กัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ ดื่มทั้งสิ่งเป็นกัปปิยะและสิ่งเป็นอกัปปิยะ เคี้ยวกินทั้ง
ในกาลและในเวลาวิกาล บริโภคทั้งในกาลและในเวลาวิกาล ลิ้มทั้งในกาลและในเวลา
วิกาล ดื่มทั้งในกาลและในเวลาวิกาล สิ่งใดที่ประณีตไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยวหรือของ
บริโภค ที่คหบดีผู้มีศรัทธาถวายแก่เราทั้งในกาลและในเวลาวิกาล ภิกษุเหล่านี้
ทำเหมือนปิดปากแม้ในสิ่งของเหล่านั้น’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวกุมภีลภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
กุมภีลภัย นี้ เป็นชื่อเรียกความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง
[๑๖๔] อาวัฏฏภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นคหบดีหรือบุตรคหบดีในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ผู้เอิบอิ่ม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๗. จาตุมสูตร
พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ ๕ ประการ คิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็น
คฤหัสถ์ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนด้วยกามคุณ ๕ ประการ โภคทรัพย์ใน
ตระกูลของเราก็มีอยู่พร้อม เราสามารถที่จะใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้' เธอจึง
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอาวัฏฏภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
อาวัฏฏภัย นี้ เป็นชื่อเรียกกามคุณ ๕ ประการ
[๑๖๕] สุสุกาภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่ใน
กองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึง
ปรากฏ’ เธอบวชอยู่อย่างนี้ ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตำบล ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา มีสติไม่ตั้งมั่น
ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอเห็นมาตุคาม(สตรี)ในหมู่บ้านหรือนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย ราคะรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย
หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตฟุ้งซ่านเพราะราคะ จึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวสุสุกาภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า
สุสุกาภัย นี้ เป็นชื่อเรียกมาตุคาม
ภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย นี้พึงประสบ๑”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จาตุมสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

๘. นฬกปานสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านนฬกปานะ
กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงออกบวช
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว หมู่บ้านนฬกปานะ
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ท่านพระอนุรุทธะ
ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระ
เรวตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตรที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาค
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้วประทับนั่งอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศ
เรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
[๑๖๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “ทางที่ดี เราควรถามกุลบุตร
เหล่านั้นดู” แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอนุรุทธะมาตรัสว่า “อนุรุทธะ๑เธอทั้งหลาย
ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ การที่เธอทั้งหลายยินดีในพรหมจรรย์นี้แล เป็นการ
สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะ
เธอทั้งหลาย กำลังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท เจริญอยู่ในปฐมวัยสมควรบริโภคกาม
ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ เธอทั้งหลายนั้นมิใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ผู้ถูกตามจับว่าเป็นโจรจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต มิใช่ถูกหนี้สินบีบคั้นจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เดือดร้อน
เพราะภัยจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ถูกอาชีพบีบคั้นจึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ความจริง เธอทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส ครอบงำแล้ว ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำ
กองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึงปรากฏ’ มิใช่หรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ควรทำกิจอะไรบ้าง
คือ กุลบุตร ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้พยาบาท
ก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ถีนมิทธะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้วิจิกิจฉาก็ยังครอบงำจิต
ของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความริษยาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความเป็น
ผู้เกียจคร้านก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ กุลบุตรนั้น ยังไม่บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
อนุรุทธะ กุลบุตรบรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม
และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้พยาบาท
ก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ถีนมิทธะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่
ไม่ได้ แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้วิจิกิจฉาก็ครอบงำ
จิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความริษยาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความ
เป็นผู้เกียจคร้านก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ กุลบุตรนั้น บรรลุปีติและสุข
หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายได้
พระตถาคตกับอาสวะ
[๑๖๘] อนุรุทธะ เธอทั้งหลายจะคิดอย่างไรในเราว่า “ตถาคตยังละอาสวะ
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของ
อย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่งบ้างไหม”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
‘พระตถาคตยังทรงละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน
กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของ
อย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง’
แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระตถาคตทรง
ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบาก
เป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
แล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของ
อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ตถาคตละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว
ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้วไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคตก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน
กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง
เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง
เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ตถาคตพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิด
ในภพชื่อโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพชื่อโน้น”
“ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงโปรดอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำ
อธิบายของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุรุทธะ ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลาย
ว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คนเกิดความ
พิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความ
สรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’ ก็หามิได้
อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นตลอดกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุ
[๑๖๙] อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุนั้นได้เห็น
เองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีธรรม๑อย่างนี้
ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๒
๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้น
ได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น
ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ
ฉะนี้แล
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์๓ ๓ ประการสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูป
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อม
มีแก่ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์
จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ภิกษุนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น
ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ
ฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุณี
[๑๗๐] อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว
ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุณี
นั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรม
อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น
การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุณีนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้
น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่
อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓
ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสก
[๑๗๑] อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้
ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มี
พระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ
ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’
อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม
อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
ของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่
อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล
อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์
จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสกนั้นได้
เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็น
ผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’
อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะ
น้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการ
ฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสิกา
[๑๗๒] อนุรุทธะ อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ
พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’
อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มี
ธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้น
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๘. นฬกปานสูตร
อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ
เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ...
เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล
อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ
ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสิกานั้นได้เห็น
เองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้
น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง
นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ
ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก
ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล
ตามที่กล่าวมานี้แล ตถาคตพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่
เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คน
เกิดความพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ
และความสรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’
ก็หามิได้
อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่
กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นฬกปานสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร

๙. โคลิสสานิสูตร
ว่าด้วยภิกษุชื่อโคลิสสานิ
คุณธรรมของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
[๑๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร มีมารยาท
ทรามนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
ปรารภภิกษุชื่อโคลิสสานิ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยำเกรงในเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลายแล้ว จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า
แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่มีความเคารพยำเกรงใน
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลาย (๑)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเข้าใจลำดับแห่ง
อาสนะว่า ‘เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เป็นเถระ และจักไม่กันอาสนะภิกษุผู้เป็นนวกะ’
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ
จะมีผู้ติเตียนภิกษุรูปนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่เข้าใจลำดับแห่งอาสนะ’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
ควรเข้าใจลำดับแห่งอาสนะ (๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้อภิสมาจาริก-
ธรรม๑ ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่รู้อภิสมาจาริก-
ธรรม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้อภิสมาจาริกธรรม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุ
นั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรรู้
อภิสมาจาริกธรรม (๓)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก
ไม่ควรกลับมาสายนัก ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ ที่เข้าบ้านเช้านัก
กลับมาสายนัก’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านเช้านัก ไม่ควรกลับมาสายนัก (๔)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเที่ยวไปใน
ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร ถ้าภิกษุผู้ถือ
การอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อน
ฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการเที่ยวไปในเวลาวิกาลไว้มากแน่
อนึ่ง เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปในสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยว
ไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร ในเวลาหลังฉันภัตตาหาร (๕)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย
คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้
คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ผู้สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียวนี้ ได้ทำการคะนองกาย คะนองวาจาไว้มากแน่ อนึ่ง
เพื่อนพรหมจารีก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปกับสงฆ์ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควร
คะนองกาย คะนองวาจา (๖)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า
ไม่ควรเป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์
เป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์
อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้แต่เป็น
ผู้มีปากกล้า เป็นผู้มีวาจาจัดจ้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้มีปากกล้า เป็นผู้
มีวาจาจัดจ้าน (๗)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย
เป็นกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็น
ผู้ว่ายาก เป็นบาปมิตร จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัคร
ใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ว่ายาก เป็น
บาปมิตร’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อ
ไปหาสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย เป็นกัลยาณมิตร (๘)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย’ จะมีผู้ติเตียน
ภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๑๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร’ จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร (๑๐)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง’
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็น
ผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง (๑๑)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ ถ้าภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไร
กับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้
เกียจคร้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร (๑๒)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีสติ
ฟั่นเฟือน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น (๑๓)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีจิต
ไม่ตั้งมั่น’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น (๑๔)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มี
ปัญญาทราม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีปัญญา (๑๕)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย
เพราะเมื่อมีผู้ถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยกับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว ตอบ
ไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว
ตอบไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย (๑๖)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในสันตวิโมกข์๑ซึ่งไม่มีรูปเพราะ
ล่วงรูปฌาน เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
กับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหา
ในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๙. โคลิสสานิสูตร
ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบ
ไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควร
ทำความเพียรในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน (๑๗)
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรใน
อุตตริมนุสสธรรม๑ เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมกับภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว
ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่า
แต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคุณวิเศษที่
กุลบุตรผู้ออกบวชแล้วต้องการ’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม (๑๘)”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่าน
พระสารีบุตรว่า
“ท่านสารีบุตร ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเท่านั้นหรือที่ควร
สมาทาน ประพฤติ หรือธรรมเหล่านี้แม้ภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านก็ควรสมาทาน
ประพฤติด้วย”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านโมคคัลลานะ ธรรมเหล่านี้ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรควรสมาทานประพฤติ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงภิกษุผู้อยู่ในอารามใกล้บ้านเลย”
ดังนี้แล
โคลิสสานิสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร

๑๐. กีฏาคิริสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในกีฏาคีรีนิคม
คุณของการฉันอาหารน้อย
[๑๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นกาสี พร้อมกับภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ฉันโภชนะในราตรีเลย เราเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี
ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย เธอทั้งหลาย
เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว จากนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไป
ในแคว้นกาสีโดยลำดับ จนถึงนิคมของชาวกาสีชื่อกีฏาคีรี ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกาสีชื่อกีฏาคีรี
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะฉันอาหารในเวลาวิกาล
[๑๗๕] สมัยนั้น ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ๑ เป็นผู้อยู่ประจำ
ในนิคมชื่อกีฏาคีรี ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปหาภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อ
ปุนัพพสุกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี
พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ท่านทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี
ก็จักรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ”
เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะได้
กล่าวว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา
วิกาลกลางวัน เราทั้งหลายนั้นเมื่อฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาล
กลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน”
เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ยินยอมได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่
สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหา
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี เมื่อพระผู้มีพระภาคและภิกษุ
สงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า
มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ท่านทั้งหลาย
ก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรีก็จะรู้สึกว่า
สุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’
เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า
และเวลาวิกาลกลางวัน เมื่อเราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัย
สมบูรณ์ อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็น
อนาคตกาลทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’
เพราะเหตุที่ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะให้ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ยินยอมได้ จึงมากราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๗๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด
ภิกษุ เธอจงไปเรียกภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะตามคำของเราว่า ‘พระศาสดา
ตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ
ถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า “พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะรับคำของภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาเธอทั้งสองแล้วกล่าวว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไม่ฉันโภชนะในราตรี พระผู้มี
พระภาคและภิกษุสงฆ์เมื่อไม่ฉันโภชนะในราตรี ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย
กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ มาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ท่านทั้งหลายก็จงอย่าฉันโภชนะในราตรีเลย ท่านทั้งหลายเมื่อไม่ฉันโภชนะใน
ราตรีก็จะรู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ’
ได้ยินว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เธอทั้งสองได้กล่าวกับภิกษุ
เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลา
เช้า และเวลาวิกาลกลางวัน เราทั้งหลายเมื่อฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค] ๑๐. กีฏาคิริสูตร
วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’ จริงหรือ”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ กราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
กุศลธรรมและอกุศลธรรมกับเวทนา ๓
[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง
ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา (อุเบกขา) อกุศลธรรมของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ใช่ไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อม
เสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวย
ทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรม
ย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศล-
ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๗๘] “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำ
ให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอ
ทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า :๒๐๔ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น