Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๔-๕ หน้า ๑๗๐ - ๒๑๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔-๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
พหุธาตุกสูตรที่ ๕ จบ

๖. อิสิคิลิสูตร
ว่าด้วยภูเขาอิสิคิลิ
[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ ณ
ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภูเขาเวภาระ
นั่นไหม”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภูเขาเวภาระนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาปัณฑวะนั่นไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ภูเขาปัณฑวะนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาเวปุลละนั่นไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ภูเขาเวปุลละนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาคิชฌกูฏนั่นไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้ภูเขาคิชฌกูฏนั่น มีชื่อเป็นอย่างหนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร
เธอทั้งหลายเห็นภูเขาอิสิคิลินี้ไหม”
“เห็น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้นั่น มีชื่อเช่นนี้ มีบัญญัติเช่นนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ
นี้มานาน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้ ประชาชนเห็น แต่
พอท่านเข้าไปแล้ว ประชาชนไม่เห็น ประชาชนทั้งหลายเห็นเหตุดังกล่าวนั้น จึง
พูดกันอย่างนี้ว่า ‘ภูเขานี้กลืนกินฤาษีเหล่านี้’ ภูเขานี้จึงปรากฏชื่อว่า อิสิคิลิ อิสิคิลิ
ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย เราจักบอก ระบุ แสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๓๔] “ภิกษุทั้งหลาย พระอริฏฐปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขา
อิสิคิลินี้มานานแล้ว พระอุปริฏฐปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มา
นานแล้ว พระตครสิขีปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว
พระยสัสสีปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระสุทัสสน
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระปิยทัสสีปัจเจก
สัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระคันธารปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระปิณโฑลปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่
ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระอุปาสภปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขา
อิสิคิลินี้มานานแล้ว พระนิถปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน
แล้ว พระตถปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระสุตวา
ปัจเจกสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว พระภาวิตัตตปัจเจก
สัมพุทธเจ้า ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานานแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร
[๑๓๕] เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเราผู้ประกาศชื่อ
ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่มีธรรมเป็นสาระกว่าสรรพสัตว์
ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความอยากได้
บรรลุพระสัมโพธิญาณเฉพาะตน
ผู้ปราศจากลูกศรคือตัณหา สูงกว่านรชน ดังต่อไปนี้
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้สิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
คือ อริฏฐพุทธะ ๑ อุปริฏฐพุทธะ ๑ ตครสิขีพุทธะ ๑
ยสัสสีพุทธะ ๑ สุทัสสนพุทธะ ๑ ปิยทัสสีพุทธะ ๑
คันธารพุทธะ ๑ ปิณโฑลพุทธะ ๑ อุปาสภพุทธะ ๑
นิถพุทธะ ๑ ตถพุทธะ ๑
สุตวาพุทธะ ๑ ภาวิตัตตพุทธะ ๑
สุมภพุทธะ ๑ สุภพุทธะ ๑ เมถุลพุทธะ ๑
อัฏฐมพุทธะ ๑ อัสสุเมฆพุทธะ ๑ อนิฆพุทธะ ๑
สุทาฐพุทธะ ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมาก
คือ หิงคูพุทธะ ๑ หิงคพุทธะ ๑
พระมุนีชื่อชาลีมี ๒ องค์ และพระอัฏฐกพุทธะ ๑
โกสัลลพุทธะ ๑ อถพุทธะ ๑ สุพาหุพุทธะ ๑
อุปเนมิสพุทธะ ๑ เนมิสพุทธะ ๑ สันตจิตตพุทธะ ๑
สัจจพุทธะ ๑ ตถพุทธะ ๑ วิรชพุทธะ ๑
ปัณฑิตพุทธะ ๑ กาฬพุทธะ ๑ อุปกาฬพุทธะ ๑
วิชิตพุทธะ ๑ ชิตพุทธะ ๑ อังคพุทธะ ๑
ปังคพุทธะ ๑ คุติจฉิตพุทธะ ๑
ปัสสีพุทธะผู้ละอุปธิอันเป็นมูลแห่งทุกข์ได้ ๑
อปราชิตพุทธะผู้ชนะมารและพลมาร ๑
สัตถาพุทธะ ๑ ปวัตตาพุทธะ ๑ สรภังคพุทธะ ๑
โลมหังสพุทธะ ๑ อุจจังคมายพุทธะ ๑ อสิตพุทธะ ๑
อนาสวพุทธะ ๑ มโนมยพุทธะ ๑
พันธุมาพุทธะผู้ตัดขาดมานะได้ ๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๖. อิสิคิลิสูตร
ตทาธิมุตตพุทธะ ๑ วิมลพุทธะ ๑ เกตุมาพุทธะ ๑
เกตุมพราคพุทธะ ๑ มาตังคพุทธะ ๑ อริยพุทธะ ๑
อัจจุตพุทธะ ๑ อัจจุตคามพุทธะ ๑ พยามกพุทธะ ๑
สุมังคลพุทธะ ๑ ทัพพิลพุทธะ ๑ สุปติฏฐิตพุทธะ ๑
อสัยหพุทธะ ๑ เขมาภิรตพุทธะ ๑ โสรตพุทธะ ๑
ทุรันนยพุทธะ ๑ สังฆพุทธะ ๑ อุชชยพุทธะ ๑
พระมุนีองค์หนึ่งชื่อว่า สัยหะ ผู้มีความเพียร ไม่ต่ำทราม ๑
พระปัจเจกพุทธะพระนามว่า อานันทะ (๔ องค์)
พระนามว่า นันทะ (๔ องค์) พระนามว่า
อุปนันทะ (๔ องค์) รวม ๑๒ องค์
และภารทวาชพุทธะผู้ทรงพระวรกายในภพสุดท้าย ๑
โพธิพุทธะ ๑ มหานามพุทธะ ๑ อุตตรพุทธะ ๑
เกสีพุทธะ ๑ สิขีพุทธะ ๑ สุนทรพุทธะ ๑
ภารทวาชพุทธะ ๑ ติสสพุทธะ ๑
อุปติสสพุทธะ ผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกในภพได้ ๑
อุปสีทรีพุทธะ ๑ และสีทรีพุทธะ ผู้ตัดตัณหาได้ ๑
มังคลพุทธะ ผู้ปราศจากราคะ ๑
อุสภพุทธะ ผู้ตัดข่ายอันเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑ อุปณีตพุทธะ
ได้บรรลุบทอันสงบ ๑ อุโปสถพุทธะ ๑ สุนทรพุทธะ ๑
สัจจนามพุทธะ ๑
เชตพุทธะ ๑ ชยันตพุทธะ ๑ ปทุมพุทธะ ๑
อุปปลพุทธะ ๑ ปทุมุตตรพุทธะ ๑ รักขิตพุทธะ ๑
ปัพพตพุทธะ ๑ มานัตถัทธพุทธะ ๑ โสภิตพุทธะ ๑
วีตราคพุทธะ ๑ กัณหพุทธะ ผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ๑
พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้
และอื่น ๆ ผู้สิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น
ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีคุณอันหาประมาณมิได้
ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด”
อิสิคิลิสูตรที่ ๖ จบ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ๑อันเป็นอริยะ๒ ที่มีอุปนิสะ๓บ้าง
มีปริขาร๔บ้าง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะนั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ มีปริขาร เป็น
อย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ(พยายาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ชอบ) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้
เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ
อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง
บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า๑
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ๒ว่า ‘เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ รู้ชัดสัมมาทิฏฐิว่า ‘เป็น
สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง
ที่เซ่นสรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี
โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะก็ไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’๓ นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่
เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติ
ชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค
เป็นอย่างไร
คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ
องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย
อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น
โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยัง
สัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้น
มีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติเข้าถึงสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม
ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาสังกัปปะว่า ‘เป็นมิจฉาสังกัปปะ’ รู้ชัดสัมมาสังกัปปะว่า
‘เป็นสัมมาสังกัปปะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในกาม ความดำริในความพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน
นี้เป็นมิจฉาสังกัปปะ
สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
คือ เรากล่าวสัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น
องค์แห่งมรรค
สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความ
ดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เป็นสัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้
ผลคืออุปธิ
สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่ง
มรรค เป็นอย่างไร
คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่วแน่ ความแนบแน่น
ความปักใจ ความปรุงแต่งคำ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ
ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อ
ละมิจฉาสังกัปปะ ยังสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็น
สัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะ มีสติเข้าถึงสัมมาสังกัปปะอยู่
สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ
(๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาสังกัปปะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการ
ฉะนี้
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาวาจาว่า ‘เป็นมิจฉาวาจา’ รู้ชัดสัมมาวาจาว่า ‘เป็น
สัมมาวาจา’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
มิจฉาวาจา เป็นอย่างไร
คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เป็น
มิจฉาวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๗ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
สัมมาวาจา เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาวาจาว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค
สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ นี้เป็นสัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค
เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากวจีทุจริต ๔
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา ยังสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม
อยู่ ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาวาจา
มีสติเข้าถึงสัมมาวาจาอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ
(๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม
สัมมาวาจาของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉากัมมันตะว่า ‘เป็นมิจฉากัมมันตะ’ รู้ชัดสัมมากัมมันตะว่า
‘เป็นสัมมากัมมันตะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม นี้เป็นมิจฉากัมมันตะ
สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมากัมมันตะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น
องค์แห่งมรรค
สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการ
ลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เป็นสัมมากัมมันตะ
ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากกายทุจริต ๓
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ ยังสัมมากัมมันตะ
ให้ถึงพร้อม ความพยายามของเธอนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ
มิจฉากัมมันตะ มีสติเข้าถึงสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ
ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม
ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาอาชีวะว่า ‘เป็นมิจฉาอาชีวะ’ รู้ชัดสัมมาอาชีวะว่า ‘เป็น
สัมมาอาชีวะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ การพูดหลอกลวง การเลียบเคียง การหว่านล้อม การพูดและเล็ม
การใช้ลาภต่อลาภ นี้เป็นมิจฉาอาชีวะ
สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวสัมมาอาชีวะว่ามี ๒ ได้แก่
๑. สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
๒. สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค
สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
นี้เป็นสัมมาอาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ
สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์
แห่งมรรค เป็นอย่างไร
คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ
ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ
เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ ยังสัมมาอาชีวะให้
ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ
มิจฉาอาชีวะ มีสติเข้าถึงสัมมาอาชีวะอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม
๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมา
วาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มี
สัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มี
พอเหมาะ
ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว
ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก
อันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น
อเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อัน
มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น
อเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล
๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเข้าใจธรรม
บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะ๑นี้ ว่าตนควรติเตียน หรือคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว คือ
๑. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาทิฏฐิ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๒. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสังกัปปะ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชา
สรรเสริญสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาสังกัปปะ
๓. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวาจา ฯลฯ
๔. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมากัมมันตะ ...
๕. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาอาชีวะ ...
๖. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวายามะ ...
๗. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสติ ...
๘. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสมาธิ ...
๙. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาญาณะ ...
๑๐. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงเข้าใจธรรม
บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะนี้ ว่าตนควรติเตียนหรือควรคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น
และคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกวัสสะและพวกภัญญะชาวโอกกลชนบท ผู้เป็น
อเหตุกวาทะ๑ อกิริยวาทะ๒ นัตถิกวาทะ๓ เหล่านั้น ก็ยังเข้าใจธรรมบรรยายชื่อ
ว่ามหาจัตตารีสกะ ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกลัวการนินทา การว่าร้าย และการแข่งดี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗ จบ

๘. อานาปานัสสติสูตร
ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ
[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน
บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระ มีชื่อเสียงหลายรูป
ด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ
ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระ
มหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวก
ผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงรูปอื่น ๆ
ก็สมัยนั้น พระเถระทั้งหลายสั่งสอน พร่ำสอน๔ภิกษุใหม่ทั้งหลาย คือ
ภิกษุผู้เป็นเถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
พร่ำสอนภิกษุ ๒๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๓๐ รูปบ้าง
บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุใหม่เหล่านั้น ผู้อันภิกษุ
ผู้เป็นเถระสั่งสอน พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางกว่าที่ตนรู้
มาก่อน
[๑๔๕] ก็สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง ใน
วันปวารณา พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ จึงได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรายินดีปฏิปทานี้ เรามีใจยินดีปฏิปทานี้ เพราะเหตุนั้น
เธอทั้งหลายในธรรมวินัยนี้จงปรารภความเพียร๑เพื่อถึงธรรมที่ตนยังไม่ถึง๒ เพื่อ
บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด
เราจักรออยู่ในกรุงสาวัตถีนี้แหละ จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็น
เดือนที่มีดอกโกมุท”
ภิกษุชาวชนบทได้ฟังข่าวว่า “ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคจักทรงรออยู่ใน
กรุงสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน อันเป็นเดือนที่มีดอกโกมุท”
จึงพากันหลั่งไหลมายังกรุงสาวัตถี เพื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ฝ่ายภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นก็พากันสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุใหม่เพิ่มประมาณ
มากขึ้น คือ ภิกษุผู้เป็นเถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๒๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ
๓๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุใหม่เหล่านั้น
ผู้อันภิกษุผู้เป็นเถระสั่งสอน พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางกว่า
ที่ตนรู้มาก่อน
[๑๔๖] ก็สมัยนั้น ในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง อันเป็น
วันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นเดือนที่มีดอกโกมุท พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุ
สงฆ์แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดู
ภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ จึงได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่สนทนากัน บริษัทนี้เงียบเสียงสนทนากัน ดำรง
อยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ภิกษุสงฆ์บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่ของ
ที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขา
ถวายของน้อยแต่มีผลมาก และถวายของมากก็ยิ่งมีผลมากขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่น
เดียวกันกับบริษัทที่ชาวโลกยากจะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท
ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าควรเดินทางไปเป็นโยชน์ ๆ เพื่อพบเห็น
[๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว๒ หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ในภิกษุสงฆ์นี้
ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอนาคามี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์๓ ๕ จะ
เกิดเป็นโอปปาติกะ๔ จะปรินิพพานในโลกนั้น ๆ ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา
ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์๑ ๓ และเพราะทำ
ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จะกลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นโสดาบัน๒ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ไม่มีทางตกต่ำ๓
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๔ในวันข้างหน้า ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ ใน
ภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุเช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ ...
เจริญพละ ๕ อยู่ ... เจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร
ในการเจริญมรรคมีองค์ ๘ อยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่
ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญเมตตาอยู่ ในภิกษุสงฆ์
นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญกรุณาอยู่ ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญมุทิตาอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรใน
การเจริญอุเบกขาอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอสุภสัญญาอยู่ ...
มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอนิจจสัญญาอยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้
เช่นนั้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญ
อานาปานสติอยู่ อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน
๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์
๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์
[๑๔๘] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง๑ก็ดี นั่ง
ขัดสมาธิ๒ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๓ มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก๔
อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๕
๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
๒. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
๓. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
๔. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’
๕. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจออก’
๖. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจออก’
๗. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก’
๘. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’
๙. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจออก’
๑๐. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจออก’
๑๑. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจออก’
๑๒. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจออก’
๑๓. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
๑๔. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’
๑๕. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’
๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
[๑๔๙] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนี้ว่า
เป็นกายชนิดหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
๒. สมัยใดภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติ หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุข หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า
ลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ว่า เป็นเวทนาชนิดหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
๓. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิต หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่น หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิต หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เราไม่บอกอานาปานสติแก่ภิกษุผู้หลงลืม ไม่มี
สัมปชัญญะ เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
๔. สมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก’
สมัยนั้น ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะเหตุนั้น สมัยนั้น ภิกษุ
จึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้
สติปัฏฐาน ๔
[๑๕๐] สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ คือ
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ สมัยนั้น ภิกษุนั้นมีสติ
ตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยใด ภิกษุมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยนั้น
สติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
๒. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอย่างนั้น ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้น
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความเลือกเฟ้นธรรม) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๓. ภิกษุนั้นค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง
ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียร ไม่ย่อ
หย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความเพียร) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อ
ว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม
ถึงความเจริญเต็มที่
๔. สมัยใด ปีติที่ปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
แล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความอิ่มใจ) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๕. เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยใด ภิกษุมีจิต
เกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบจิต) ย่อมเป็น
อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๖. เมื่อภิกษุมีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด เมื่อ
ภิกษุมีกายสงบ มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิ
สัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น) ย่อม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๗. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยใด
ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความมีใจ
เป็นกลาง) ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
[๑๕๑] ภิกษุทั้งหลาย
๑. สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ... พิจารณา
เห็นจิตในจิต ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ สมัยนั้น
ภิกษุนั้นมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม สมัยใด ภิกษุมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๒. ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอย่างนั้น ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่
ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๓. ภิกษุนั้นค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
เป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว สมัยใด ภิกษุย่อม
ค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาปรารภ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๓ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร
ความเพียรไม่ย่อหย่อน สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอัน
ภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๔. ปีติอันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยใด
ปีติอันปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
เจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่
๕. เมื่อภิกษุมีจิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยใด เมื่อภิกษุมี
จิตเกิดปีติ กายและจิตย่อมสงบ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง
ความเจริญเต็มที่
๖. เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยใด
เมื่อภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อ
ว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุ
ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
๗. ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้อย่างดี สมัยใด
ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้อย่างดี สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุย่อมถึงความเจริญเต็มที่
ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๘. อานาปานัสสติสูตร

โพชฌงค์ ๗
[๑๕๒] โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก(ความสงัด) อาศัยวิราคะ
(ความคลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ(ความดับ) อันน้อมไปเพื่อความ
ปล่อยวาง
๒. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
๓. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
๔. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
๕. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
อันน้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
จึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อานาปานัสสติสูตรที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร

๙. กายคตาสติสูตร
ว่าด้วยวิธีเจริญกายคตาสติ
[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้น
ในระหว่างการประชุมว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสกายคตาสติที่
ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้วว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก”
เรื่องนี้มีเพียงเท่านี้ที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันค้างไว้ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มี
พระภาคทรงออกจากที่ทรงหลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังหอฉัน ประทับนั่งบน
พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เวลานี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร พูดเรื่องอะไรค้างไว้”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่ง
ประชุมกันในหอฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างการประชุมว่า ‘ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้
มากแล้วว่า มีผลมาก มีอานิสงส์มาก’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ที่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พูดค้างไว้ ก็พอดีพระผู้
มีพระภาคเสด็จมาถึง พระพุทธเจ้าข้า”
[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“กายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่ง
ขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร๑ หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขาร หายใจออก‘๒
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือน๓ได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตอันเป็นไป
ภายในกายนั้นเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่า
เจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๑)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่า ‘เราเดิน’
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า ‘เรายืน’
เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า ‘เรานั่ง’
เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า ‘เรานอน’
เธอดำรงกายอยู่โดยอิริยาบถใด ๆ ก็รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอิริยาบถนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๒)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๓)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่
ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่าง ๆ
ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต๑
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร’

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ถุงมีปาก ๒ ข้าง เต็มไปด้วยธัญพืชชนิดต่าง ๆ คือ ข้าวสาลี
ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร คนตาดีเปิดถุงนั้นออก
พิจารณาเห็นว่า ‘นี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลือง
นี้เป็นงา นี้เป็นข้าวสาร’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นกายนี้
ตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดชนิดต่าง ๆ ว่า ‘ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ใส้ใหญ่ ใส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย
น้ำมูก ไขข้อ มูตร’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๔)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นกายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดย
ความเป็นธาตุว่า ‘ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่’
คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ฆ่าโคแล้วแบ่งอวัยวะออกเป็น
ส่วน ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
เห็นกายนี้ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า ‘ในกายนี้ มีธาตุดิน
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๕)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งตายแล้ว ๑ วัน ตาย
แล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวคล้ำ ศพมีน้ำเหลืองเยิ้ม
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า ‘แม้กายนี้
ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๑๙๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไป
ภายในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๖)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งถูกกาจิกกิน แร้งทึ้งกิน
นกตระกรุมจิกกิน สุนัขกัดกิน สุนัขจิ้งจอกกัดกิน หรือสัตว์เล็ก ๆ หลายชนิดกัด
กินอยู่ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า
‘แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๗)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นโครงกระดูก มีเนื้อ
และเลือด มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ แต่ยังมี
เลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด
แต่ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้ฉันใด ฯลฯ เป็นโครงกระดูก ไม่มีเอ็นรึงรัดแล้ว กระจุย
กระจายไปในทิศใหญ่ทิศเฉียง คือ กระดูกมืออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทาง
ทิศหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่
ทางทิศหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูก
ก้านคออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางทิศหนึ่ง
กระดูกฟันอยู่ทางทิศหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางทิศหนึ่ง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณากายนี้เข้าไปเปรียบเทียบว่า ‘แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มี
ลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้’
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๘-๑๑)
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูสี
ขาวเหมือนสีสังข์ ฯลฯ เป็นกระดูกกองอยู่ด้วยกันเกินกว่า ๑ ปี ฯลฯ เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
กระดูกผุป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณากายนี้
เข้าไปเปรียบเทียบว่า ‘แม้กายนี้ก็มีสภาพอย่างนั้น มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้น
ความเป็นอย่างนั้นไปได้‘๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้
(๑๒-๑๔)
[๑๕๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง พนักงานสรงสนาน หรือลูกมือ
พนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์แล้ว เอาน้ำประพรมให้
ติดเป็นก้อน ก้อนถูตัวนั้นที่มียางซึมไปจับ ก็ติดกันหมด ไม่กระจายออก แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจาก
วิเวก รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่
ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๑๕)
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่
ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง ห้วงน้ำเป็นวังวน
ไม่มีทางที่กระแสน้ำจะไหลเข้าได้ทั้งด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และ
ด้านใต้ ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่กระแสน้ำเย็นพุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้วทำ
ห้วงน้ำนั้นให้ชุ่มชื่นเอิบอาบ เนืองนองไปด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหนของห้วงน้ำนั้น
ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๑๖)
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม
ด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่ายกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่
ถูกต้อง เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม
หรือดอกบุณฑริกบางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำ
หล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้า
ไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอัน
ไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าเจริญกายคตาสติแม้ด้วยอาการ
อย่างนี้ (๑๗)
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุจึงบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้
ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษ
นั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง๑
ภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่อย่างนี้ ย่อมละความ
ดำริที่สับสน อันอาศัยเรือนได้ เพราะละความดำริที่สับสนนั้นได้ จิตที่เป็นไปภาย
ในกายเท่านั้น ย่อมดำรงคงที่ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ภิกษุชื่อว่าเจริญ
กายคตาสติแม้ด้วยอาการอย่างนี้ (๑๘)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของ
ภิกษุนั้น มหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัสด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่
ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของผู้นั้น แม้ฉันใด กายคตาสติอันภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นส่วนแห่งวิชชา
ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น๒ ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว
มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์๓ของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนัก
ไปที่กองดินเปียก เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ ก้อนศิลาหนักนั้น
จะพึงจมลงในกองดินเปียกนั้นได้ไหม”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้แห้งสนิท ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า
‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นใช้ไม้ที่แห้งสนิทโน้นมาทำเป็นไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนหม้อน้ำว่างเปล่า ที่เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา บุรุษถือเอา
หม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่
เจริญ ไม่ทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
[๑๕๗] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบา ๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบ ที่ทำด้วยไม้
แก่นล้วน เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นพึงโยนกลุ่มด้าย
เบา ๆ นั้นลงบนแผ่นกระดานเรียบที่ทำด้วยไม้แก่นล้วนได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ต่อมา บุรุษนำไปทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยหวังว่า
‘เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น’ เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ
บุรุษนั้นเอาไม้สดที่มียางโน้นมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่
เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ต่อมา บุรุษถือเอาหม้อน้ำนั้นมาทำเป็นเครื่องตักน้ำ เธอ
ทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงตักน้ำได้ไหม”
“ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ของภิกษุนั้น
[๑๕๘] ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
เปรียบเหมือนหม้อน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มได้ ที่
เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษผู้มีกำลังพึงเขย่าหม้อน้ำนั้นโดยวิธีใด ๆ น้ำนั้นจะพึง
ไหลมาโดยวิธีนั้น ๆ ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัด
ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ในพื้นที่ราบที่เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็ม
เปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่การจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นโดย
วิธีใด ๆ น้ำนั้นจะพึงไหลมาโดยวิธีนั้น ๆ ได้ไหม”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างนั้นเหมือนกัน กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ
ทำให้มากแล้ว ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัด
ในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
เปรียบเหมือนรถที่เขาเทียมม้าอาชาไนย มีแส้เสียบไว้ในระหว่างม้าทั้งสอง
จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔ แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่
ผู้ชำนาญ ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับเชือก มือขวาจับแส้ พึงขับรถไปยังที่ปรารถนาได้
แม้ฉันใด กายคตาสติก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญ ทำให้มากแล้ว
เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งใด ๆ เมื่อมีสติเป็นเหตุ ย่อมถึงความเป็นผู้ประจักษ์ชัดในธรรมที่ควรทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ ได้
[๑๕๙] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว
เธอพึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
๑. เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดี
ครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วได้
๒. เป็นผู้อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความ
หวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้น
แล้วได้
๓. เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
รบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนา
อันมีในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี
ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ ซึ่งเป็นอาภิเจตสิก๑ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบัน เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก
๕. บรรลุวิธีแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคน
ก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏ ฯลฯ ใช้
อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้
๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
๗. กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะ ... หรือจิตปราศจากโทสะ ...
จิตมีโมหะ ... หรือจิตปราศจากโมหะ...
จิตหดหู่ ... หรือจิตฟุ้งซ่าน ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๙. กายคตาสติสูตร
จิตเป็นมหัคคตะ๑ ... หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ...
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ... หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ...
จิตเป็นสมาธิ ... หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ...
จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้น’ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่า
‘จิตไม่หลุดพ้น’
๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ
ย่อมระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป และ
ชีวประวัติอย่างนี้
๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม
เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
๑๐. เพราะอาสวะสิ้นไป ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๒ ปัญญาวิมุตติ๓
อันไม่มีอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๔
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายคตาสติอันภิกษุปฏิบัติ เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็น
ดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว เธอพึงหวัง
อานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
กายคตาสติสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ปฏิปทาอันให้สำเร็จความปรารถนา
[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดขึ้นแห่งสังขารแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[๑๖๑] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับขัตติยมหาศาล’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
สังขารและวิหารธรรม๑เหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อ
ความเกิดขึ้นในขัตติยมหาศาลนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในขัตติยมหาศาลนั้น
[๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา
ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับพราหมณมหาศาล ฯลฯ หรือพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับคหบดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
มหาศาล’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรม
เหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในคหบดี
มหาศาลนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในคหบดีมหาศาลนั้น
[๑๖๓] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นจาตุมหาราชมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ ภิกษุนั้นมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่
ร่วมกับเทพชั้นจาตุมหาราช’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขาร
และวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิด
ขึ้นในเทพชั้นจาตุมหาราชนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้น
จาตุมหาราชนั้น
[๑๖๔] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘เทพชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ เทพชั้นยามา ฯลฯ เทพชั้นดุสิต ฯลฯ เทพชั้นนิมมานรดี
ฯลฯ หรือเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น
สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความ
เกิดขึ้นในเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในเทพชั้นปรนิมมิต
วสวัตดีนั้น
[๑๖๕] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘สหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ สหัสสพรหมน้อมจิต
แผ่ไปตลอด ๑,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้นสหัสสพรหมนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๐๙ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางผลละหุ่งผลหนึ่งไว้ในมือแล้ว
พิจารณาดู แม้ฉันใด สหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน น้อมจิตแผ่ไปตลอด ๑,๐๐๐
โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้นสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่
ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงถึงความ
เป็นผู้อยู่ร่วมกับสหัสสพรหม’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและ
วิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
ในชั้นสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นสหัสสพรหมนั้น
[๑๖๖] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘ทวิสหัสสพรหม ฯลฯ ติสหัสสพรหม ฯลฯ จตุสหัสสพรหม ฯลฯ หรือ
ปัญจสหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ ปัญจสหัสสพรหม
ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอด ๕,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้น
ปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางผล
ละหุ่ง ๕ ผลไว้ในมือแล้วพิจารณาดู แม้ฉันใด ปัญจสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน
น้อมจิตแผ่ไปตลอด ๕,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน
ชั้นปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับปัญจสหัสสพรหม’
เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอ
เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นปัญจสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นปัญจสหัสส-
พรหมนั้น
[๑๖๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘ทสสหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขมาก’ ทสสหัสสพรหม
น้อมจิตแผ่ไปตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า :๒๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค] ๑๐. สังขารูปปัตติสูตร
ทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์แปดเหลี่ยม
งามโชติช่วง อันเขาเจียระไนดีแล้ว วางไว้แล้วบนผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสง
เรืองไพโรจน์ แม้ฉันใด ทสสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมน้อมจิตแผ่ไป
ตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้นทสสหัสสพรหมนั้น
ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว
เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับทสสหัสสพรหม’ เธอตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น
เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นทสสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นทสสหัสส-
พรหมนั้น
[๑๖๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล
ประกอบด้วยสุตะ ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา ภิกษุนั้นได้ฟังว่า
‘สตสหัสสพรหมมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขเป็นกำลัง’ สตสหัสส-
พรหมน้อมจิตแผ่ไปตลอด ๑๐๐,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน
ชั้นสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุทที่เขา
หลอมด้วยความชำนาญดีในเบ้าของช่างทองผู้ฉลาดแล้ววางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง
ย่อมส่องแสงเรืองไพโรจน์ แม้ฉันใด สตสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมน้อม
จิตแผ่ไป๑ ตลอด ๑๐๐,๐๐๐ โลกธาตุอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในชั้น
สตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ ภิกษุนั้นมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ
หลังจากตายแล้ว เราพึงเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับสตสหัสสพรหม’ เธอตั้งจิตนั้น
อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น สังขารและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอเจริญ ทำให้
มากแล้วอย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นสตสหัสสพรหมนั้นได้
ภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ ปฏิปทานี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นในชั้นสตสหัสส-
พรหมนั้น

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น