Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๑ หน้า ๑ - ๔๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร

พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ขันธสังยุต
มูลปัณณาสก์
๑. นกุลปิตุวรรค
หมวดว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
๑. นกุลปิตุสูตร
ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี
[๑] ข้าพเจ้า๑ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้น นกุลปิตาคหบดีเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร๒ ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล
มามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ พระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็น
อย่างนั้น ความจริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง
บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า
นอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกาย
กระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้”
ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑ แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้ถามนกุลปิตาคหบดีดังนี้ว่า
“คหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก สีหน้าก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง วันนี้ ท่านได้ฟัง
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคหรือไม่”
นกุลปิตาคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ทำไมจะไม่เป็นอย่างนี้เล่า บัดนี้ พระ
ผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดท่านด้วยธรรมีกถาอย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ชรา สูงอายุ
เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามาก มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยประจำ
พระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ข้าพระองค์ก็ไม่ได้เห็นเป็นนิตย์
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดโอวาท โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ด้วยพระดำรัสที่เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด’
เมื่อกระผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับกระผมดังนี้ว่า
‘คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ความจริง กายนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่
พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่า นอกจากความโง่เขลา
เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิต
จักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้
ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงหลั่งอมตธรรมรดกระผมด้วยธรรมีกถา
อย่างนี้”
“คหบดี ก็ท่านไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคให้ยิ่งขึ้นหรือว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และชื่อว่า
มีจิตกระสับกระส่าย และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับ
กระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย”
“ท่านผู้เจริญ แม้กระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นที่จะ
อธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สักกายทิฏฐิ ๒๐
นกุลปิตาคหบดีรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ๒ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’
เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ รูปนั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ
(ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ดำรงอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เวทนานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนา
แปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ดำรงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ สัญญานั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร พิจารณา
เห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็น
สังขาร สังขารเป็นของเรา’ สังขารนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ดำรงอยู่ด้วย
ความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑. นกุลปิตุสูตร
ยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ วิญญาณนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดขึ้นแก่เขา
คหบดี บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และมีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับกระส่าย
เป็นอย่างไร
คือ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
ไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็น
ของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็น
ของเรา’ รูปนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นเวทนา เวทนาเป็นของเรา’ เวทนานั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสัญญา ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นของเรา’ สัญญานั้น
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสัญญาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร ไม่ดำรงอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่
ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นสังขาร สังขารเป็นของเรา’ สังขารนั้นแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ไม่ดำรง
อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวก
นั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา’ วิญญาณ
นั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น
คหบดี บุคคลแม้ชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่ไม่ชื่อว่ามีจิตกระสับ
กระส่าย เป็นอย่างนี้แล”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว นกุลปิตาคหบดีมีใจยินดี ชื่นชมภาษิต
ของท่านพระสารีบุตร
นกุลปิตุสูตรที่ ๑ จบ

๒. เทวทหสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม
[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย
แคว้นสักกะ ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากผู้ต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบท เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องการจะไป
ยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายบอกลาสารีบุตร
แล้วหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่ได้บอกลาท่านพระสารีบุตร”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปบอกลาสารีบุตรเสียก่อน สารีบุตรเป็นผู้
อนุเคราะห์๑เพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็ก ๆ ซึ่งมีตะไคร่น้ำขึ้นปกคลุม
แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว
พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านพระสารีบุตร พวกกระผมต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย พวก
กระผมกราบทูลลาพระศาสดาแล้ว”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต๒บ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต๓บ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิต๔บ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิต๕บ้าง
ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยังประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร
ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ธรรมทั้งหลาย
อันพวกท่านได้ฟังดี เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญาบ้างหรือ’
พวกท่านเมื่อกล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี
คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
“ท่านขอรับ แม้พวกกระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งพระภาษิต
นั้นในสำนักท่านสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบายเนื้อ
ความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจัก
กล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยัง
ประเทศต่าง ๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่าน
มีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาของเรามีปกติตรัส
สอนให้กำจัดฉันทราคะ๑’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งไรเล่า’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดามีปกติตรัสสอนให้
กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร พระศาสดา
มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวก
ท่านทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ
กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะ
รูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ไม่ปราศจากความทะยาน
อยากในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก
ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก
ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเรา ทรงเห็นโทษนี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป
... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’
แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน
ทรงเห็นอานิสงส์อะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย
ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ...
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ...
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน
สังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก
ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน
วิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
พระศาสดาของพวกเราทรงเห็นอานิสงส์นี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ
ในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ
ในวิญญาณ’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักมีการอยู่
เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบันนี้ และหลังจากตายแล้วพึง
หวังได้๑ สุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้
แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่จึงมีการอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้นใจ
เดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคจึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ก็จักมีการอยู่
เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑ คับแค้นใจ เร่าร้อน๒ ในปัจจุบันทีเดียว และหลังจากตาย
แล้วพึงหวังได้ทุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรม
ทั้งหลายไว้ แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย จึงมีการอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน
ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ
ฉะนั้น พระผู้พระภาคจึงทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรมทั้งหลายไว้”
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร
เทวทหสูตรที่ ๒ จบ

๓. หลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี
[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมืองกุรรฆระ
แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่
อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหาอันมาในอัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่๓แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย๔
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน‘๕
ข้าแต่ท่านมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า “คหบดี รูปธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ
วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในรูปธาตุ ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
เวทนาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในเวทนาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สัญญาธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสัญญาธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
สังขารธาตุเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณ วิญญาณที่ผูกพันกับราคะในสังขารธาตุ
ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างไร
คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในเวทนาธาตุ ฯลฯ
ในสัญญาธาตุ ฯลฯ ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
พระตถาคตทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระ
ตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อยู่’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อยู่ เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต ตรัสเรียกว่า
‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร
ความเที่ยวซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือสัททนิมิต ฯลฯ คันธนิมิต
... รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต ตรัสเรียกว่า ‘ผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
คหบดี บุคคลผู้เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างไร
คือ ความซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือรูปนิมิต พระตถาคต
ทรงละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า
‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
ความซ่านไปหาและความผูกพันกับที่อาศัย คือสัททนิมิต ... คันธนิมิต ...
รสนิมิต ... โผฏฐัพพนิมิต ... ธัมมนิมิต พระตถาคตละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ฉะนั้น บัณฑิตจึงเรียกพระตถาคตว่า ‘ผู้ไม่ทรงเที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย’
คหบดี บุคคลผู้ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ เพลิดเพลิน
ร่วมกัน เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็สุขด้วย เมื่อพวกเขาทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย
เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ลงมือช่วยเหลือด้วยตนเอง
คหบดี บุคคลผู้เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่เกี่ยวข้องอยู่กับคฤหัสถ์ ไม่
เพลิดเพลินร่วมกัน ไม่เศร้าโศกร่วมกัน เมื่อพวกเขาสุข ก็มิได้สุขด้วย เมื่อพวก
เขาทุกข์ ก็มิได้ทุกข์ด้วย เมื่อพวกเขามีกิจที่ควรทำเกิดขึ้น ก็ไม่ลงมือช่วยเหลือ
ด้วยตนเอง
คหบดี บุคคลผู้ไม่เกิดความเยื่อใยในบ้าน เป็นอย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร
บุคคลผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก
ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ
เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
คหบดี บุคคลผู้ไม่ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
คหบดี บุคคลผู้ว่างจากกามทั้งหลาย เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้’
คหบดี บุคคลผู้มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ไม่มีความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า ‘ในอนาคตกาล
เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีเวทนาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีสัญญาอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีสังขารอย่างนี้ ... ในอนาคตกาล
เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้’
คหบดี บุคคลผู้ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า ‘ท่าน
ไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควรกล่าว
ทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์ ข้อที่
ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย เราข่ม
ท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้ง เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า
‘ท่านไม่รู้พระธรรมวินัยนี้ เรารู้พระธรรมวินัยนี้ ท่านรู้พระธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านก็กล่าวทีหลัง คำที่ควร
กล่าวทีหลัง ท่านก็กล่าวก่อน คำของเรามีประโยชน์ คำของท่านไม่มีประโยชน์
ข้อที่ท่านเคยปฏิบัติมาผิดเสียแล้ว เรากล่าวหาท่าน ท่านจงแก้ข้อกล่าวหาเสีย
เราข่มท่านได้แล้ว หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด’
คหบดี บุคคลผู้ไม่กล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน เป็นอย่างนี้แล
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมาคัณฑิยปัญหา อันมาใน
อัฏฐกวรรคว่า
‘บุคคลละที่อยู่แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย
มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย
ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”
หลิททิกานิสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร

๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี สูตรที่ ๒
[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมือง
กุรรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ
ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในสักกปัญหา๑ว่า ‘สมณ-
พราหมณ์ ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด๒ มีความ
เกษมจากโยคะ๓ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์๔ขั้นสูงสุด มีจุดหมาย๕ขั้นสูงสุด เป็นผู้
ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระ
ภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร”
พระมหากัจจานะได้กล่าวว่า “คหบดี ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น
ถือมั่นและนอนเนื่องในรูปธาตุ ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป
คลายกำหนัด ดับ สละ ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
ความพอใจ ความกำหนัด ... ในเวทนาธาตุ ฯลฯ ในสัญญาธาตุ ฯลฯ
ในสังขารธาตุ ฯลฯ
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณธาตุ
ท่านกล่าวว่า ‘จิตหลุดพ้นดีแล้ว’ เพราะความสิ้นไป คลายกำหนัด ดับ สละ
ปล่อยวางความพอใจเป็นต้นเหล่านั้น
คหบดี พระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในสักกปัญหาว่า ‘สมณพราหมณ์
ผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้นจึงจะมีความสำเร็จขั้นสูงสุด มีความเกษมจากโยคะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๕. สมาธิสูตร
ขั้นสูงสุด มีพรหมจรรย์ขั้นสูงสุด มีจุดหมายขั้นสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’
คหบดี เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบ
โดยพิสดารอย่างนี้แล”
ทุติยหลิททิกานิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและ
ความดับแห่งวิญญาณ
อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็น
ความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร
คือ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดรูป ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน เพราะ
อุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดเวทนา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสังขาร ฯลฯ
ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึด
ติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา นี้
เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ
อะไรเป็นความดับแห่งรูป ... แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ
แห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติด
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดอะไรเล่า
คือ ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดรูป ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล
นี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดเวทนา ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ เพราะความเพลิดเพลิน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๑๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๖. ปฏิสัลลานสูตร
ของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสัญญา ฯลฯ
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสังขาร เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม
ไม่ยึดติดสังขาร ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุ
นั้นดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่
เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ เพราะความ
เพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
มีได้ด้วยประการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็น
ความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ”
สมาธิสูตรที่ ๕ จบ

๖. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้น
[๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงประกอบความเพียร
ในที่สงัด ภิกษุผู้หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิด
และความดับแห่งวิญญาณ (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารเหมือนในสูตรที่ ๑)
ปฏิสัลลานสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร

๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร
ว่าด้วยความสะดุ้งเพราะถือมั่น
[๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น
และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป ความสะดุ้ง
และความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป ก็
ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว
ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไป
ตามความแปรผันแห่งเวทนา ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความ
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ก็ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะ
จิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร สังขารของเขาแปรผัน
เป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงหมุนเวียนไปตาม
ความแปรผันแห่งสังขาร ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความ
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ก็ครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะ
จิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย และสะดุ้งเพราะถือมั่น
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึง
หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรม
ที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ก็ครอบงำจิตของ
ปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นจึงหวาดกลัว ลำบากใจ ห่วงใย
และสะดุ้งเพราะถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูป
แปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณจึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งรูป
ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผัน
แห่งรูป ก็ไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวก
นั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของ
อริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณ
จึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งเวทนา ก็ไม่ครอบงำจิต
ของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่
ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร สังขารของ
อริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะสังขารแปรผันและเป็นอย่างอื่น วิญญาณ
จึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งสังขาร ก็ไม่ครอบงำจิตของ
อริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่หวาดกลัว ไม่
ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณ
ของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น
วิญญาณจึงไม่หมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ความสะดุ้งและความ
เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดจากความหมุนเวียนไปตามความแปรผันแห่งวิญญาณ ก็ไม่
ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้นจึงไม่
หวาดกลัว ไม่ลำบากใจ ไม่ห่วงใย และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างนี้แล”
อุปาทาปริตัสสนาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๘. ทุติยอุปาทานปริตัสสนาสูตร

๘. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
ว่าด้วยความสะดุ้งเพราะถือมั่น สูตรที่ ๒
[๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น
และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็น
อย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารว่า ‘นั่นของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
วิญญาณของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่น เป็นอย่างนี้แล
ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ พิจารณาเห็นรูปว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ รูปของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น
เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึง
ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกนั้น
พิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๙. กาลัตตยอนิตตสูตร
พิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา
ของเรา’ วิญญาณของอริยสาวกนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผัน
และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่
อริยสาวกนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เป็นอย่างนี้แล”
ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตรที่ ๘ จบ

๙. กาลัตตยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยงใน ๓ กาล
[๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ไม่จำต้องกล่าวถึงสังขารที่เป็นปัจจุบัน
เลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในสังขารที่เป็นอดีต ไม่
เพลิดเพลินสังขารที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับสังขารที่เป็นปัจจุบัน
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต ไม่เที่ยง ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต
ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”
กาลัตตยอนิจจสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร

๑๐. กาลัตตยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ใน ๓ กาล
[๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่เป็น
ปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็นอดีต
ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”
กาลัตตยทุกขสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาใน ๓ กาล
[๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา
ไม่จำต้องกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่
อาลัยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูปที่เป็นปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เวทนาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา ไม่จำต้องกล่าวถึงวิญญาณที่
เป็นปัจจุบันเลย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่อาลัยในวิญญาณที่เป็น
อดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณที่เป็นอนาคต ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับวิญญาณที่เป็นปัจจุบัน”
กาลัตตยอนัตตสูตรที่ ๑๑ จบ
นกุลปิตุวรรคที่ ๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นกุลปิตุสูตร ๒. เทวทหสูตร
๓. หลิททิกานิสูตร ๔. ทุติยหลิททิกานิสูตร
๕. สมาธิสูตร ๖. ปฏิสัลลานสูตร
๗. อุปาทาปริตัสสนาสูตร ๘. ทุติยอุปาทาปริตัสสนาสูตร
๙. กาลัตตยอนิจจสูตร ๑๐. กาลัตตยทุกขสูตร
๑๑. กาลัตตยอนัตตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๑. อนิจจสูตร

๒. อนิจจวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
๑. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขาร
ไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว๒ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง
นี้อีกต่อไป๓”
อนิจจสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๓. อนันตสูตร

๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์
สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุกขสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อนัตตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๕. ยังทุกขสูตร

๔. ยทนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
ยทนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ยังทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น
เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๖. ยทนัตตาสูตร
เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น
เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
ยังทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ยทนัตตาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๒
ยทนัตตาสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๘. สเหตุทุกขสูตร

๗. สเหตุอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยงพร้อมทั้งเหตุปัจจัย
[๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง รูปเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
เวทนาไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เวทนาเกิดจากสิ่งที่
ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง สังขารเกิดจากสิ่งที่
ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
สเหตุอนิจจสูตรที่ ๗ จบ

๘. สเหตุทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์พร้อมทั้งเหตุปัจจัย
[๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูป
เกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ
สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค ๑๐. อานันทสูตร
วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นทุกข์ วิญญาณเกิด
จากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักมีสุขเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
สเหตุทุกขสูตรที่ ๘ จบ

๙. สเหตุอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตาพร้อมทั้งเหตุปัจจัย
[๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้
รูปเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้นก็เป็นอนัตตา วิญญาณ
เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักมีอัตตาเล่า
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๒
สเหตุอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่อารามในกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๒. อนิจจวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ความดับพระองค์ตรัสเรียกว่า ‘นิโรธ’ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหน พระองค์ตรัส
เรียกว่า ‘นิโรธ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรา
เรียกว่า ‘นิโรธ’
เวทนาไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งเวทนานั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งสังขารนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ’
วิญญาณไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไป
เป็นธรรมดา ความดับแห่งวิญญาณนั้น เราเรียกว่า ‘นิโรธ”
อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
อนิจจวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร
๓. อนัตตสูตร ๔. ยทนิจจสูตร
๕. ยังทุกขสูตร ๖. ยทนัตตาสูตร
๗. สเหตุอนิจจสูตร ๘. สเหตุทุกขสูตร
๙. สเหตุอนัตตสูตร ๑๐. อานันทสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๑. ภารสูตร

๓. ภารวรรค
หมวดว่าด้วยภาระ
๑. ภารสูตร
ว่าด้วยภาระ
[๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ
การถือภาระ และการวางภาระแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
ภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ภาระนั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยึดมั่น) ๕ ประการ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
นี้เรียกว่า ภาระ
ผู้แบกภาระ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า ผู้แบกภาระนั้น ได้แก่ บุคคลผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ
การถือภาระ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๒. ปริญญาสูตร
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
นี้เรียกว่า การถือภาระ
การวางภาระ เป็นอย่างไร
คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
นี้เรียกว่า การวางภาระ”
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา-
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“ขันธ์ ๕ คือภาระ บุคคลคือผู้แบกภาระ
การถือภาระเป็นทุกข์ในโลก การวางภาระเป็นสุขในโลก
บุคคลวางภาระหนักได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่นไว้
ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก สิ้นความอยาก ดับสนิทแล้ว”
ภารสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปริญญาสูตร
ว่าด้วยการกำหนดรู้
[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
และการกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๓. อภิชานสูตร
เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
การกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า การกำหนดรู้”
ปริญญาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อภิชานสูตร
ว่าด้วยผู้รู้ยิ่ง
[๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้
ไม่คลายกำหนัด ไม่ละรูป เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละเวทนา เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ... สัญญา ฯลฯ
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสังขาร เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละวิญญาณ เป็นผู้ไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง๑ กำหนดรู้๒ คลายกำหนัด๓ ละรูปได้ เป็น
ผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๔. ฉันทราคสูตร
บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละวิญญาณได้ เป็นผู้ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์”
อภิชานสูตรที่ ๓ จบ

๔. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยการละฉันทราคะ
[๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป
ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละรูปนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในเวทนา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
เวทนานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสัญญา ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สัญญานั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในสังขาร ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักละ
สังขารนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในวิญญาณ ด้วยการละอย่างนี้ เธอทั้งหลายจัก
ละวิญญาณนั้นได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไป
แล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”๑
ฉันทราคสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร

๕. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์
[๒๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘อะไรหนอเป็นคุณ๑ อะไรเป็นโทษ๒ อะไรเป็นเครื่อง
สลัดออกจากรูป
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสัญญา
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ’
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดต่อไปดังนี้ว่า ‘สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูป
เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะ๓ ในรูป
นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๕. อัสสาทสูตร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขาร นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากสังขาร
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ สภาพที่
วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของวิญญาณ
ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นเครื่องสลัด
ออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้คุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ตราบนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่ง
สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
แต่เมื่อใดเรารู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ เครื่องสลัด
ออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็น
จริงอย่างนี้ เมื่อนั้นเราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ
อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’
อนึ่ง ญาณทัสสนะ๑ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๒
อัสสาทสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๖. ทุติยอัสสาทสูตร

๖. ทุติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๒
[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของรูป ได้
พบคุณของรูปแล้ว คุณของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้ว
ด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของรูป ได้พบโทษของรูปแล้ว โทษของรูปมีประมาณ
เท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากรูป ได้พบเครื่องสลัดออกจากรูปแล้ว
เครื่องสลัดออกจากรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นเครื่องสลัดออกจากรูปประมาณ
เท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของเวทนา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสัญญา ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของสังขาร ฯลฯ
เราได้เที่ยวแสวงหาคุณของวิญญาณ ได้พบคุณของวิญญาณแล้ว คุณของ
วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นคุณประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาโทษของวิญญาณ ได้พบโทษของวิญญาณแล้ว โทษของ
วิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดีแล้วด้วยปัญญา
เราได้เที่ยวแสวงหาเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ ได้พบเครื่องสลัดออกจาก
วิญญาณแล้ว โทษของวิญญาณมีประมาณเท่าใด เราเห็นโทษประมาณเท่านั้นดี
แล้วด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความ
เป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕
ประการนี้ตามความเป็นจริง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๗. ตติยอัสสาทสูตร
อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ‘วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็น
ชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”๑
ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๖ จบ

๗. ตติยอัสสาทสูตร
ว่าด้วยคุณของขันธ์ สูตรที่ ๓
[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์
ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในรูป แต่เพราะคุณของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
ติดใจในรูป
ถ้าโทษของรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะ
โทษของรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าเครื่องสลัดออกจากรูปจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป
ถ้าคุณของเวทนาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ
ถ้าคุณของสัญญาจักไม่มีแล้ว ฯลฯ
ถ้าคุณของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในสังขาร แต่เพราะ
คุณของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในสังขาร
ถ้าโทษของสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในสังขาร แต่
เพราะโทษของสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในสังขาร
ถ้าเครื่องสลัดออกจากสังขารจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากสังขาร
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากสังขารมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากสังขาร
ถ้าคุณของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในวิญญาณ แต่
เพราะคุณของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๘. อภินันทนสูตร
ถ้าโทษของวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
แต่เพราะโทษของวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ
ถ้าเครื่องสลัดออกจากวิญญาณจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออก
จากวิญญาณ แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
สลัดออกจากวิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษ
โดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทาน-
ขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายจะออกไป หลุดไป
พ้นไป มีใจปราศจากแดน๑อยู่ไม่ได้เลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป มีใจปราศจาก
แดนอยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์”๒
ตติยอัสสาทสูตรที่ ๗ จบ

๘. อภินันทนสูตร
ว่าด้วยความเพลิดเพลินขันธ์
[๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์
ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ผู้ที่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่เพลิดเพลินสังขาร ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๙. อุปปาทสูตร
ผู้ที่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่เพลิดเพลินทุกข์ เรา
กล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ที่ไม่เพลิดเพลินรูป ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่
เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้’
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินเวทนา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสัญญา ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินสังขาร ...
ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ที่ไม่เพลิดเพลินทุกข์
เรากล่าวว่า ‘พ้นจากทุกข์ได้”๑
อภินันทนสูตรที่ ๘ จบ

๙. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์
[๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ
บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค
เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งเวทนา ... แห่ง
สัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งวิญญาณ นี้เป็น
ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป นี้
เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรา
และมรณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค ๑๐. อฆมูลสูตร
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ...
ความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ นี้เป็นความดับ
แห่งทุกข์ เป็นความสงบระงับแห่งโรค เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ”๑
อุปปาทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อฆมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งทุกข์
[๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ และมูลเหตุแห่ง
ทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์คือรูป ทุกข์คือเวทนา ทุกข์คือสัญญา ทุกข์คือสังขาร ทุกข์คือ
วิญญาณ
นี้เรียกว่า ทุกข์
มูลเหตุแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่
๑. กามตัณหา
๒. ภวตัณหา
๓. วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า มูลเหตุแห่งทุกข์”
อฆมูลสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๓. ภารวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. ปภังคุสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่แตกสลาย
[๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่แตกสลาย และสิ่ง
ที่ไม่แตกสลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อะไรเล่าเป็นสิ่งที่แตกสลาย และ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
คือ รูปจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งรูปนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
เวทนาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งเวทนานั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
สัญญาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
สังขารจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งสังขารเหล่านั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
วิญญาณจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่
ไม่ได้แห่งวิญญาณนั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย”
ปภังคุสูตรที่ ๑๑ จบ
ภารวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภารสูตร ๒. ปริญญาสูตร
๓. อภิชานสูตร ๔. ฉันทราคสูตร
๕. อัสสาทสูต ๖. ทุติยอัสสาทสูตร
๗. ตติยอัสสาทสูตร ๘. อภินันทนสูตร
๙. อุปปาทสูตร ๑๐. อฆมูลสูตร
๑๑. ปภังคุสูตร

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น