Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๒ หน้า ๔๖ - ๙๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๑. นตุมหากวรรค

๔. นตุมหากวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
๑. นตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
[๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารนั้น สังขารที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เปรียบเหมือนคนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป เผา
หรือจัดการไปตามเรื่อง เธอทั้งหลายจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า ‘คนนำเรา
ทั้งหลายไป เผา หรือจัดการไปตามเรื่อง”
“ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๒. ทุติยนตุมหากสูตร
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะหญ้าเป็นต้นนั้นไม่ใช่อัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน รูปไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนาที่เธอ
ทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”๑
นตุมหากสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย สูตรที่ ๒
[๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งที่เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข
ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งที่ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
คือ รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปที่เธอทั้งหลายละ
ได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร
เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
สังขารไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ...
วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณที่
เธอทั้งหลายละได้แล้วนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข”๑
ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๒ จบ

๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา
[๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น
ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้า
ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้า
ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๓. อัญญตรภิกขุสูตร
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ฯลฯ
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา
... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกจากอาสนะ
ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ
กายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๑ อันเป็นที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์๒ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย๓
อัญญตรภิกขุสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร

๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒
[๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ก็ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์
เข้าใจแล้ว”
“ภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างไร”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่น
ถึงรูปใด ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด ก็ไม่ถึง
การนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ... ถ้าไม่
ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น ไม่
หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๕. อานันทสูตรสูตร
“ดีละ ดีละ ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อโดย
พิสดารได้ดีแล้ว ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น หมกมุ่นถึงรูปใด
ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น หมกมุ่น
ถึงวิญญาณใด ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด
ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ...
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ... ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น
ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณใด ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
ภิกษุ เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อโดยพิสดารอย่างนี้”
ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทุติยอัญญตรภิกขุสูตรที่ ๔ จบ

๕. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“อานนท์ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้น
แห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ เมื่อธรรม
เหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร๑ปรากฏ’ เธอถูกถามอย่างนี้จะพึงตอบอย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึง
ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้
มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งรูปปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูป
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ...
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณปรากฏ เมื่อวิญญาณ
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่ง
ธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”
“ดีละ ดีละ อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งรูปปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ
เมื่อรูปตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ...
แห่งสังขาร ... ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณปรากฏ
เมื่อวิญญาณตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”
อานันทสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยอานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์ สูตรที่ ๒
[๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “อานนท์
ถ้าภิกษุทั้งหลายพึงถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่า
ไหนปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่าไหน
ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหน
จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ
เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ จะพึงตอบอย่างไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าภิกษุทั้งหลายพึง
ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนจักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหน
จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่าไหนปรากฏ
เมื่อธรรมเหล่าไหนตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
สัญญาใดล่วงไป ...
สังขารเหล่าใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้น
ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏแล้ว เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้น
ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อม
ไปแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น
จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
สัญญาใดยังไม่เกิด ...
สังขารเหล่าใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้นจัก
ปรากฏ เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
วิญญาณใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อม
ไปแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้น
ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ...
สัญญาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ...
สังขารเหล่าใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งสังขารเหล่านั้นปรากฏ เมื่อสังขารเหล่านั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไป
แห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๖.ทุติยอานันทสูตร
“ดีละ ดีละ อานนท์ รูปใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้น
แห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นปรากฏแล้ว เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่
ความแปรปรากฏแล้ว
เวทนาใด ...
สัญญาใด ...
สังขารเหล่าใด ...
วิญญาณใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
แล้ว ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏแล้ว เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปร
ปรากฏแล้ว
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏแล้ว ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้ปรากฏแล้ว เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว
อานนท์ รูปใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งรูปนั้นจักปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
เวทนาใด ฯลฯ
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นจักปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้จักปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรม
เหล่านี้จักปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ
อานนท์ รูปใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งรูปนั้นปรากฏ ความ
เสื่อมไปแห่งรูปปรากฏ เมื่อรูปนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
เวทนาใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๗. อนุธัมมสูตร
สัญญาใด ฯลฯ
สังขารเหล่าใด ฯลฯ
วิญญาณใดเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งวิญญาณนั้นปรากฏ เมื่อวิญญาณนั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ ความเกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านี้ปรากฏ ความเสื่อมไปแห่งธรรมเหล่านี้
ปรากฏ เมื่อธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ
อานนท์ เธอถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้”
ทุติยอานันทสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม
[๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูป มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในเวทนา มากด้วยความเบื่อหน่ายในสัญญา มากด้วยความเบื่อหน่าย
ในสังขาร มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอเป็นผู้มากด้วยความ
เบื่อหน่ายในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร เป็นผู้มากด้วย
ความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ กำหนดรู้วิญญาณ เธอเมื่อกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร เมื่อกำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อม
พ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้น
จากทุกข์’
อนุธัมมสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๔. นตุมหากวรรค ๙.ตติยอนุธัมมสูตร

๘. ทุติยอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๒
[๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่
เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ
ในสังขาร พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา
ย่อมพ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อม
พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และ
ย่อมพ้นจากทุกข์”
ทุติยอนุธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ตติยอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๓
[๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ รวมพระสูตรที่มีในวรรค
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจากสัญญา
ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
ตติยอนุธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. จตุตถอนุธัมมสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมอันเหมาะสม สูตรที่ ๔
[๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีธรรมอันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ
ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร
พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ เมื่อเธอกำหนดรู้รูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
ฯลฯ สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์”
จตุตถอนุธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
นตุมหากวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นตุมหากสูตร ๒. ทุติยนตุมหากสูตร
๓. อัญญตรภิกขุสูตร ๔. ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
๕. อานันทสูตร ๖. ทุติยอานันทสูตร
๗. อนุธัมมสูตร ๘. ทุติยอนุธัมมสูตร
๙. ตติยอนุธัมมสูตร ๑๐. จตุตถอนุธัมมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร

๕. อัตตทีปวรรค
หมวดว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ
๑. อัตตทีปสูตร
ว่าด้วยการมีตนเป็นเกาะ
[๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ๑ มี
ตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่ง
อื่นเป็นที่พึ่งเลย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่งอยู่ เธอทั้งหลายผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
ควรพิจารณาถึงกำเนิดว่า ‘โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์
(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เกิดขึ้น
อย่างไร มีอะไรเป็นแดนเกิด’
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดขึ้นอย่างไร มีอะไร
เป็นแดนเกิด
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป รูปของเขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและ
เป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑. อัตตทีปสูตร
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
พิจารณาเห็นเวทนาในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา เวทนาของเขา
แปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะเวทนาแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ วิญญาณของ
เขาแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะวิญญาณแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้นแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘รูปในกาลก่อนและรูปทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘เวทนาในกาลก่อนและเวทนาทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อ
ไม่สะดุ้ง ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์
ธรรมนั้น’
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสัญญาไม่เที่ยง ...
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าสังขารไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘สังขารในกาลก่อนและสังขารทั้งปวงในบัดนี้
ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วยองค์ธรรมนั้น’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๒. ปฏิปทาสูตร
ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าวิญญาณไม่เที่ยง แปรผันไป คลายไป ดับไป เห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘วิญญาณในกาลก่อนและวิญญาณ
ทั้งปวงในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา’ ก็จะละโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง
เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ‘ผู้ดับกิเลสแล้วด้วย
องค์ธรรมนั้น”
อัตตทีปสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา
[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาที่ให้ถึงสักกาย-
สมุทัย (เหตุเกิดแห่งสักกายะ๑) และปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ (ความดับแห่ง
สักกายะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย
คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายสมุทัย‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา
เห็นที่ให้ถึงทุกขสมุทัย’ นี้เป็นใจความในข้อนี้
ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
นี้เรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ
คำว่า ‘ปฏิปทาที่ให้ถึงสักกายนิโรธ‘ ดังกล่าวมานี้ เราเรียกว่า ‘การพิจารณา
เห็นที่ให้ถึงทุกขนิโรธ’ นี้เป็นใจความในข้อนี้”
ปฏิปทาสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๓. อนิจจสูตร
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อ
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากรูปธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากเวทนาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสัญญาธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสังขารธาตุ ฯลฯ
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากวิญญาณธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๔.ทุติยอนิจจสูตร

๔. ทุติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๒
[๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ การตามเห็นส่วน
เบื้องต้น (อดีต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องต้นไม่มี การตามเห็นส่วนเบื้อง
ปลาย (อนาคต) ก็ไม่มี เมื่อการตามเห็นส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่าง
แรงกล้าก็ไม่มี เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตก็คลายกำหนัดในรูป ฯลฯ
ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร จิตก็คลายกำหนัดในวิญญาณ
หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น
จึงสันโดษ เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า
‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยอนิจจสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๕. สมนุปัสสนาสูตร

๕. สมนุปัสสนาสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็น
[๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
เมื่อพิจารณา ก็พิจารณาเห็นตนเป็นไปต่าง ๆ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ทั้ง ๕ ประการ
หรืออุปาทานขันธ์ประการใดประการหนึ่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
๑. พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป
พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
๒. พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นสังขาร ฯลฯ
๕. พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตา
ในวิญญาณ
การพิจารณาเห็นอย่างนี้ จัดว่าผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ เมื่อผู้นั้น
ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ ย่อมเกิดอินทรีย์ ๕ ประการ คือ
๑. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือจักขุปสาท)
๒. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือโสตปสาท)
๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือฆานปสาท)
๔. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือชิวหาปสาท)
๕. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกายปสาท)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร
ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒มีอยู่ เมื่อปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับถูกความเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาก็มีความ
ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’
บ้าง ‘เราจักมีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มี
สัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล
เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓จึงเกิดขึ้น
เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า
‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจัก
มีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง
‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”
สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ

๖. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ ประการ และ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง

ขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร
๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์
๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ประการ

อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล
หรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า
รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย
อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์
(อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่
อุปาทาน นี้เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน
นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ”
ขันธสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๗. โสณสูตร

๗. โสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร
[๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณคหบดีบุตรดังนี้ว่า
“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศ
กว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’
ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร
นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผัน
เป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ หรือพิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ หรือ
พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการไม่เห็นความเป็นจริง
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เรา
เลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า
‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยรูปที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา
ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๗. โสณสูตร
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยเวทนาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสัญญาที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ... ด้วยสังขารที่ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเลิศกว่าเขา’ บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราเสมอเขา’
บ้าง ไม่พิจารณาเห็นว่า ‘เราด้อยกว่าเขา’ บ้าง ด้วยวิญญาณที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา ที่เป็นเช่นนี้มิใช่อะไร นอกจากการเห็นความเป็นจริง
โสณะ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร
“โสณะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
โสณะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑
โสณสูตรที่ ๗ จบ

๘. ทุติยโสณสูตร
ว่าด้วยโสณคหบดีบุตร สูตรที่ ๒
[๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรของคหบดีชื่อโสณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโสณ-
คหบดีบุตรดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๘. ทุติยโสณสูตร
“โสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดรูป ไม่รู้ชัดความ
เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
ไม่รู้ชัดเวทนา ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ไม่รู้ชัดความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
ไม่รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
ไม่รู้ชัดสังขาร ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ไม่รู้ชัดความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ
ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราไม่จัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่จัด
ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ไม่ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความ
เป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน
โสณะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิด
ขึ้นแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
รู้ชัดเวทนา ...
รู้ชัดสัญญา ...
รู้ชัดสังขาร ...
รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัดความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัด
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเราจัดว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และจัดว่าเป็น
พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็ทำให้แจ้งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”
ทุติยโสณสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๙. นันทิกขยสูตร

๙. นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน
[๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่
เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ
ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้น
ความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ
เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ฯลฯ
ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้ง
ความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น
สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน
จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้น
ทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”
นันทิกขยสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร

๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน สูตรที่ ๒
[๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการรูปโดยแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการรูป
โดยแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง ก็ย่อม
เบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ
กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด
จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการเวทนาโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งเวทนาตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการสัญญาโดยแยบคาย ฯลฯ
เธอทั้งหลายจงมนสิการสังขารโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
แห่งสังขารตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการสังขารโดยแยบคาย และพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงแห่งสังขารตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร เพราะสิ้น
ความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้น
ดีแล้ว’
เธอทั้งหลายจงมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่
เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อภิกษุมนสิการวิญญาณโดยแยบคาย และ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ก็ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความ
เพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เรา
เรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’
ทุติยนันทิกขยสูตรที่ ๑๐ จบ
อัตตทีปวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัตตทีปสูตร ๒. ปฏิปทาสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. ทุติยอนิจจสูตร
๕. สมนุปัสสนาสูตร ๖. ขันธสูตร
๗. โสณสูตร ๘. ทุติยโสณสูตร
๙. นันทิกขยสูตร ๑๐. ทุติยนันทิกขยสูตร

มูลปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในมูลปัณณาสก์นี้ คือ

๑. นกุลปิตุวรรค ๒. อนิจจวรรค
๓. ภารวรรค ๔. นตุมหากวรรค
๕. อัตตทีปวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ปฐมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๑. อุปยสูตร

มัชฌิมปัณณาสก์
๑. อุปยวรรค
หมวดว่าด้วยความเข้าถึง
๑. อุปยสูตร
ว่าด้วยความเข้าถึง
[๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเข้าถึง๑ ไม่ใช่ความหลุดพ้น
ความไม่เข้าถึง เป็นความหลุดพ้น
ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูป
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา
การไป การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป
เวทนา สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่ง๑ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ เพราะ
สันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
อุปยสูตรที่ ๑ จบ

๒. พีชสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยพืช
[๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พืช ๕ ชนิดนี้ คือ
๑. พืชเกิดจากเหง้า ๒. พืชเกิดจากลำต้น
๓. พืชเกิดจากตา ๔. พืชเกิดจากยอด
๕. พืชเกิดจากเมล็ด
ภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ ชนิดนี้ ไม่แตกหัก ไม่เสียหาย ไม่ถูกลมและแดด
ทำลาย มีแก่นสาร ถูกเก็บไว้อย่างดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ พืช ๕ ชนิดนี้พึงถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ”
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ ชนิดนี้ ไม่แตกหัก ฯลฯ ถูกเก็บไว้อย่างดี และมีดิน
มีน้ำ พืช ๕ ชนิดนี้พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ”
“ได้ พระพุทธเจ้าข้า”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๒. พีชสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณฐิติ ๔๑ เหมือนปฐวีธาตุ พึงเห็น
ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเหมือนอาโปธาตุ พึงเห็นวิญญาณพร้อม
ด้วยอาหาร๒ เหมือนพืช ๕ ชนิด
วิญญาณที่เข้าถึงรูป เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไป
เสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ฯลฯ เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลิน
ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญา ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความ
กำหนัดได้ อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร
ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
พีชสูตรที่ ๒ จบ

๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการเปล่งอุทาน
[๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า “ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขาร (การปรุงแต่งกรรม) จักไม่ได้มีแล้ว
ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ)ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณา
เห็นอัตตาในวิญญาณ
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดเวทนาที่ไม่
เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสัญญาที่ไม่เที่ยงตามความเป็น
จริงว่า ‘สัญญาไม่เที่ยง’ ไม่รู้ชัดสังขารที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘สังขารไม่เที่ยง’
ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณไม่เที่ยง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร
เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ... เวทนาที่เป็น
ทุกข์ ... สัญญาที่เป็นทุกข์ ... สังขารที่เป็นทุกข์ ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์
ตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นทุกข์’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘รูปเป็นอนัตตา’ ... เวทนาที่
เป็นอนัตตา ... สัญญาที่เป็นอนัตตา ... สังขารที่เป็นอนัตตา ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ
ที่เป็นอนัตตาตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณเป็นอนัตตา’
เธอไม่รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘รูปถูกปัจจัยปรุงแต่ง’
... เวทนาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สัญญาที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... สังขารที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง ... ไม่รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณถูก
ปัจจัยปรุงแต่ง’
เธอไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’
... ‘สังขารจักมี’ ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
ภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ...
ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ... ไม่พิจารณาเห็นสังขาร ...
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา
เธอรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า ‘รูปไม่เที่ยง’ ... ‘เวทนาไม่เที่ยง’ ...
‘สัญญาไม่เที่ยง’ ... ‘สังขารไม่เที่ยง’ รู้ชัดวิญญาณที่ไม่เที่ยงตามความเป็นจริงว่า
‘วิญญาณไม่เที่ยง’
รู้ชัดรูปที่เป็นทุกข์ ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นทุกข์ ...
รู้ชัดรูปที่เป็นอนัตตา ... รู้ชัดวิญญาณที่เป็นอนัตตา ...
รู้ชัดรูปที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ... รู้ชัดวิญญาณที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็น
จริงว่า ‘วิญญาณถูกปัจจัยปรุงแต่ง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๓. อุทานสูตร
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘รูปจักมี’ ... ‘เวทนาจักมี’ ... ‘สัญญาจักมี’ ...
‘สังขารจักมี’ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘วิญญาณจักมี’
เพราะความไม่มีรูป เพราะความไม่มีเวทนา เพราะความไม่มีสัญญา เพราะ
ความไม่มีสังขาร เพราะความไม่มีวิญญาณ ภิกษุนั้นเมื่อน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ‘ถ้า
เราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของ
เราก็จักไม่มี’ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างนี้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้น้อมใจไปอย่างนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ก็เมื่อภิกษุรู้ เห็นอย่างไร อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปตามลำดับ”
“ภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็ปุถุชนผู้ไม่
ได้สดับ ย่อมสะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรม-
สังขารจักไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ไม่สะดุ้งในที่ไม่ควรสะดุ้ง ก็อริยสาวกผู้ได้สดับ
ไม่สะดุ้งอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมสังขารจัก
ไม่ได้มีแล้ว ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี’
วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ ก็พึงมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร
เป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลินตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้
ภิกษุ เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราจักบัญญัติการมา การไป
การจุติ การอุบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา
สัญญา สังขาร’
ภิกษุ ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๐ }

ระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔.อุปาทานปริปวัตตนสูตร
ถ้าความกำหนัดในเวทนาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสัญญาธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในสังขารธาตุ ...
ถ้าความกำหนัดในวิญญาณธาตุ ภิกษุละได้แล้ว เพราะละความกำหนัดได้
อารมณ์จึงขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณที่ไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
ฯลฯ ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปตามลำดับ”
อุทานสูตรที่ ๓ จบ

๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์เวียนรอบ
[๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้ง
ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
แต่เมื่อใด เรารู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้งตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ เทวดาและมนุษย์’
เวียนรอบ ๔ ครั้ง เป็นอย่างไร
คือ เรารู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ เรารู้ชัดวิญญาณ
ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
ความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูป สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส)
๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากโสตสัมผัส)
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากฆานสัมผัส)
๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากชิวหาสัมผัส)
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากกายสัมผัส)
๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากมโนสัมผัส)
นี้เรียกว่า เวทนา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป)
๒. สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง)
๓. คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น)
๔. รสสัญญา (ความหมายรู้รส)
๕. โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้โผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญญา (ความหมายรู้ธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญเจตนา (ความจำนงรูป)
๒. สัททสัญเจตนา (ความจำนงเสียง)
๓. คันธสัญเจตนา (ความจำนงกลิ่น)
๔. รสสัญเจตนา (ความจำนงรส)
๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา (ความจำนงโผฏฐัพพะ)
๖. ธัมมสัญเจตนา (ความจำนงธรรมารมณ์)
นี้เรียกว่า สังขาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขารทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่นสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
วิญญาณ เป็นอย่างไร
คือ วิญญาณ ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา)
๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู)
๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๔. อุปาทานปริปวัตตนสูตร
๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น)
๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)
นี้เรียกว่า วิญญาณ
เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เพราะความ
ดับแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วปฏิบัติ
เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
ความดับแห่งวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้แล้วเป็น
ผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป ไม่ยึดมั่นถือมั่น
วิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อ
ว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก”
อุปาทานปริปวัตตนสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร

๕. สัตตัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๗ ประการ
[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ วิธี
เราเรียกว่า ‘อุดมบุรุษ ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้’
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. รู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัดออก
จากรูป
๒. รู้ชัดเวทนา ฯลฯ
๓. รู้ชัดสัญญา ฯลฯ
๔. รู้ชัดสังขาร ฯลฯ
๕. รู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษ
แห่งวิญญาณ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
รูป เป็นอย่างไร
คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
นี้เรียกว่า รูป
เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี เพราะความดับแห่ง
อาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป สภาพที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป ธรรมเป็นที่กำจัดฉันทราคะ ธรรม
เป็นที่ละฉันทราคะในรูป นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับ
แห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และเครื่องสลัด
ออกจากรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และ
เครื่องสลัดออกจากรูปอย่างนี้แล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลาย
กำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุด
พ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่า เวทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คุณแห่งเวทนา โทษ
แห่งเวทนา และเครื่องสลัดออกจากเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญา ๖ ประการนี้ ได้แก่

๑. รูปสัญญา ๒. สัททสัญญา
๓. คันธสัญญา ๔. รสสัญญา
๕. โผฏฐัพพสัญญา ๖. ธัมมสัญญา

นี้เรียกว่า สัญญา
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาจึงมี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
มัชฌิมปัณณาสก์ ๑. อุปยวรรค ๕. สัตตัฏฐานสูตร
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
สังขาร เป็นอย่างไร
คือ เจตนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. รูปสัญเจตนา ฯลฯ ๖. ธัมมสัญเจตนา
นี้เรียกว่า สังขาร
เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขารจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งสังขาร สภาพที่สังขาร
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งสังขาร ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในสังขารทั้งหลาย นี้เป็นเครื่องสลัดออก
จากสังขาร
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ ปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
ปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความ
ปรากฏอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๙๐ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น