Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๗ หน้า ๒๗๓ - ๓๑๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
สิ่งนั้น”
นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
อายาจนวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๒. มารธัมมสูตร

๔. อุปนิสินนวรรค
หมวดว่าด้วยผู้เข้าไปนั่งใกล้
๑-๑๑. มาราทิสุตตเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตร มีมารสูตรเป็นต้น
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร
[๑๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นมาร
คือ รูปเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น ฯลฯ
วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น”
มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร
[๑๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ราธะ สิ่งใดเป็นธรรมของมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๗. อนัตตสูตร

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๑๙๖] “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา
[๑๙๗] “ราธะ สิ่งใดมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ฯลฯ
อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๑๙๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ ฯลฯ
ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา
[๑๙๙] “ราธะ สิ่งใดมีทุกข์เป็นธรรมดา ฯลฯ
ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๒๐๐] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา ฯลฯ
อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค ๑๑. สมุทยธัมมสูตร

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา
[๒๐๑] “ราธะ สิ่งใดมีอนัตตาเป็นธรรมดา ฯลฯ
อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
[๒๐๒] “ราธะ สิ่งใดมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
[๒๐๓] “ราธะ สิ่งใดมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
[๒๐๔] “ราธะ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๔. อุปนิสินนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา
[๒๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่ามีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
วิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
สิ่งนั้น”
นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
อุปนิสินนวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

ราธสังยุต จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑. วาตสูตร

๓. ทิฏฐิสังยุต
๑. โสตาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยโสดาปัตติมรรค
๑. วาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น
[๒๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน เขต
กรุงสาวัตถี ฯลฯ ได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาค
เท่านั้นที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟัง
ต่อจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑. วาตสูตร
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สังขาร
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๒. เอตังมมสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัยแม้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ละความ
สงสัยแม้ในความดับแห่งทุกข์ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
วาตสูตรที่ ๑ จบ

๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่านั่นของเรา
[๒๐๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๒. เอตังมมสูตร
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๓. โสอัตตาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เอตังมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน
[๒๐๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรา
นั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นหรือว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตา ฯลฯ มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง’'
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างว่า ‘อัตตากับโลก
เป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความ
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โสอัตตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี
[๒๐๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี
ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร
ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’
เมื่อมีเวทนา ...
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้
บริขารของเราก็จักไม่มี’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๕. นัตถิทินนสูตร
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่
พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โนจเมสิยาสูตรที่ ๔ จบ

๕. นัตถิทินนสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น
[๒๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว
ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี
โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑ไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้
ผู้อื่นรู้แจ้งก็ไม่มีในโลก๒ บุรุษคือประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ เมื่อตายไป ธาตุดิน
ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม
อินทรีย์ทั้งหลายย่อมผันแปรไปเป็นอากาศธาตุ บุรุษทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕๓
นำศพไป รอยเท้าปรากฏเพียงแค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกขาวโพลนดุจสีนกพิราบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร
การเซ่นสรวงสิ้นสุดลงแค่เถ้าถ่าน คนเขลาบัญญัติทานนี้ไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่า
มีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อม
ขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ หลังจากตายไป
ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ หลังจากตายไป
ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
ฯลฯ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ... หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคน
ฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ทานที่ให้
แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ คำที่คนบางพวกย้ำว่ามีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ
ไร้สาระ หลังจากตายไป ไม่ว่าคนเขลาและคนฉลาดย่อมขาดสูญ ไม่เกิดอีก”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
นัตถิทินนสูตรที่ ๕ จบ

๖. กโรโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเมื่อบุคคลทำเองเป็นต้น
[๒๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง
ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๘๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร
ทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่น
ทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่องย่องเบา ปล้น ทำโจรกรรมในบ้านหลังเดียว
ดักซุ่มที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลจะใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลาน
ตากเนื้อ ให้เป็นกองเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง
ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจาก
กรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง
ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่
เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่
มีบุญมาถึงเขา‘๑
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง’'
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’'

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๖. กโรโตสูตร
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มี
บุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อ
บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘เมื่อ
บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ฯลฯ ย่อมไม่มีบุญ ... ไม่มีบุญมาถึงเขา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
กโรโตสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าไม่มีเหตุเป็นต้น
[๒๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่
มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เศร้าหมองเอง ความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของบุรุษ ไม่มีความ
พยายามของบุรุษ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง
ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตาตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ
เฉพาะของตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒ทั้ง ๖ เท่านั้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ ... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๗. เหตุสูตร
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖
เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ... ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘... ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. มหาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิหลายประการ
[๒๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้
บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด
ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุข
และทุกข์แก่กันและกัน
สภาวะ ๗ กอง อะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน ๒. กองแห่งธาตุน้ำ
๓. กองแห่งธาตุไฟ ๔. กองแห่งธาตุลม
๕. กองสุข ๖. กองทุกข์
๗. กองชีวะ

สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต
ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบกระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน ใครก็ตามแม้จะเอา
ศัสตราคมตัดศีรษะใคร ก็ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใครได้ เพราะเป็นเพียงศัสตราแทรก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร
ผ่านไประหว่างสภาวะ ๗ กองเท่านั้นเอง อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐
กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง๑ ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ
๖ ปุริสภูมิ๒ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์
๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ๓ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคัณฐีครรภ์๔
๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗๐๐ เหวใหญ่
๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป๕ ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้
ที่คนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความ
สมหวังในความปรารถนาว่า ‘เราจักอบรมกรรมที่ยังไม่ให้ผลให้อำนวยผล หรือ
สัมผัสกรรมที่ให้ผลแล้ว จักทำให้หมดสิ้นไปด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้
ไม่มีสุขทุกข์ที่ทำให้สิ้นสุดลงได้ (จำนวนเท่านั้นเท่านี้) เหมือนตวงด้วยทะนาน
สงสารที่จะทำให้สิ้นสุดไม่มีเลย ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้น
สูงหรือเลื่อนลงต่ำ พวกคนพาลและบัณฑิตพากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุข
และทุกข์เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่ถูกขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๘. มหาทิฏฐิสูตร
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและ
ทุกข์เอง ...
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล
ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ ๗
กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘สภาวะ
๗ กองนี้ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ฯลฯ เสวยสุขและทุกข์เอง ... ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการ
นี้ได้ ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
มหาทิฏฐิสูตรที่ ๘ จบ

๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกเที่ยง
[๒๑๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘โลกเที่ยง’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง’'
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกเที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
สัสสตทิฏฐิสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่เที่ยง
[๒๑๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่เที่ยง”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป ฯลฯ เมื่อมีเวทนา ... เมื่อมีสัญญา ... เมื่อมีสังขาร
...เมื่อมีวิญญาณ ฯลฯ เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกไม่
เที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘โลกไม่
เที่ยง”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๒. อนันตวาสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ฯลฯ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
อสัสสตทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. อันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด
[๒๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกมีที่สุด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
อันตวาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนันตวาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าโลกไม่มีที่สุด
[๒๑๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘โลกไม่มีที่สุด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๙๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
อนันตวาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
[๒๑๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะ๑กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
ตังชีวังตังสรีรังสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
[๒๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๖.นโหติตถาคโตสูตร
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตรที่ ๑๔ จบ

๑๕. โหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก
[๒๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โหติตถาคโตสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. นโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก
[๒๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
นโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร

๑๗. โหติจนจโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
[๒๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและ
ไม่เกิดอีก”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ ... มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โหติจนจโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๗ จบ

๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ฯ
[๒๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึง แสวงหา ใคร่ครวญด้วยใจ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัยแม้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ละความ
สงสัยแม้ในความดับแห่งทุกข์ ละความสงสัยแม้ในปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่ง
ทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๘ จบ
โสตาปัตติวรรคที่ ๑ จบ
การตอบปัญหา ๑๘ ข้อจบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๑. โสตาปัตติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาตสูตร ๒. เอตังมมสูตร
๓. โสอัตตาสูตร ๔. โนจเมสิยาสูตร
๕. นัตถิทินนสูตร ๖. กโรโตสูตร
๗. เหตุสูตร ๘. มหาทิฏฐิสูตร
๙. สัสสตทิฏฐิสูตร ๑๐. อสัสสตทิฏฐิสูตร
๑๑. อันตวาสูตร ๑๒. อนันตวาสูตร
๑๓. ตังชีวังตังสรีรังสูตร ๑๔. อัญญังชีวังอัญญังสรีรังสูตร
๑๕. โหติตถาคโตสูตร ๑๖. นโหติตถาคโตสูตร
๑๗. โหติจนจโหติตถาคโตสูตร ๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคโตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑. วาตสูตร

๒. ทุติยคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๒
๑. วาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น
[๒๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์ไม่คลอด
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
วาตสูตรที่ ๑ จบ
[๒๒๕ - ๒๔๐] (พึงขยายการตอบปัญหาทั้ง ๑๘ ข้อให้พิสดาร เหมือนใน
วรรคก่อน)
โหติจนจโหติตถาคโตสูตรที่ ๑๗ จบ

๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ ฯ
[๒๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิด
อีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะ
พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๑๙. รูปีอัตตาสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เนวโหตินนโหติสูตรที่ ๑๘ จบ

๑๙. รูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูป
[๒๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่
สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๐๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีรูปไม่สลายไป”
รูปีอัตตาสูตรที่ ๑๙ จบ

๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีรูป
[๒๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีรูปไม่
สลายไป’ ฯลฯ
อรูปีอัตตาสูตรที่ ๒๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๔. เอกันตทุกขีสูตร

๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูปและไม่มีรูป
[๒๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “หลังจากตายแล้ว อัตตาทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปไม่
สลายไป ฯลฯ
รูปีจอรูปีจอัตตาสูตรที่ ๒๑ จบ

๒๒. เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีรูปก็มิใช่ ไม่มีรูปก็มิใช่
[๒๔๕] “หลังจากตายแล้ว อัตตาจะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ไม่
สลายไป ...
เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตรที่ ๒๒ จบ

๒๓. เอกันตสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียว
[๒๔๖] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีสุขโดยส่วนเดียวไม่สลายไป ...
เอกันตสุขีสูตรที่ ๒๓ จบ

๒๔. เอกันตทุกขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีทุกข์โดยส่วนเดียว
[๒๔๗] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทุกข์โดยส่วนเดียวไม่สลายไป ...
เอกันตทุกขีสูตรที่ ๒๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

๒๕. สุขทุกขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์
[๒๔๘] “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ไม่สลายไป ...
สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข
[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “หลังจากตายแล้ว อัตตาที่มีทั้งสุข
และทุกข์ไม่สลายไปหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๒. ทุติยคมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และ
สุขไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อมีทุกข์ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และ
สุขไม่สลายไป”
อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ทุติยคมนวรรคที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วาตสูตร ฯลฯ ๑๘. เนวโหตินนโหติสูตร
๑๙. รูปีอัตตาสูตร ๒๐. อรูปีอัตตาสูตร
๒๑. รูปีจอรูปีจอัตตาสูตร ๒๒. เนวรูปีนารูปีอัตตาสูตร
๒๓. เอกันตสุขีสูตร ๒๔. เอกันตทุกขีสูตร
๒๕. สุขทุกขีสูตร ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค

๓. ตติยคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๓
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น
[๒๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด”
นวาตสูตรที่ ๑ จบ
[๒๕๑ - ๒๗๔] (พึงเพิ่มสูตรอีก ๒๔ สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)
สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข
[๒๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๓. ตติยคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป’
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จะพึง
เกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เมื่อมีสิ่งนั้น
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้ง
ทุกข์และสุขไม่สลายไป”
อทุกขมสุขีสูตรที่ ๒๖ จบ
ตติยคมนวรรคที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๑. นวาตสูตร

๔. จตุตถคมนวรรค
หมวดว่าด้วยการไปที่ ๔
๑. นวาตสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าลมไม่พัดเป็นต้น
[๒๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด แม่น้ำไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ไม่คลอด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นหรือไม่ตก มั่นคงดุจเสาระเนียด”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ลมไม่พัด ฯลฯ มั่นคงดุจเสาระเนียด’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๑. นวาตสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ
ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
นวาตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๓. ทิฏฐิสังยุต]
๔. จตุตถคมนวรรค ๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
[๒๗๗-๓๐๐] (พึงเพิ่มสูตรอีก ๒๔ สูตร เข้ามาให้เต็ม เหมือนในทุติยวรรค)
สุขทุกขีสูตรที่ ๒๕ จบ

๒๖. อทุกขมสุขีสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุข
[๓๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์
และสุขไม่สลายไป”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘หลังจากตายแล้ว อัตตาที่ไม่มีทั้งทุกข์และสุขไม่สลายไป’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๓๑๗ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น