Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๗-๖ หน้า ๒๒๗ - ๒๗๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗-๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๘. โกฏฐิตสูตร

๗. ทุติยสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดแห่งขันธ์ สูตรที่ ๒
[๑๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตาม
ความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”
ทุติยสมุทยสูตรที่ ๗ จบ

๘. โกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ
[๑๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากผลสมาบัติ
ในเวลาเย็น ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา
... สังขาร ... ไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๙. ทุติยโกฏฐิตสูตร
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา
ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณ
ตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”
โกฏฐิตสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ สูตรที่ ๒
[๑๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค ๑๐. ตติยโกฏฐิตสูตร
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย
นี้ผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตาม
ความเป็นจริง ... เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”
ทุติยโกฏฐิตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระโกฏฐิตะ สูตรที่ ๓
[๑๓๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงพาราณสีเหมือนกัน
ท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาเป็นอย่างไร
และด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่รู้ชัด
รูป ไม่รู้ชัดความเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... ไม่รู้ชัดวิญญาณ ไม่รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความ
ดับแห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้
บุคคลจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอวิชชา”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้ถามว่า
“ท่านโกฏฐิตะ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘วิชชา วิชชา’ วิชชาเป็นอย่างไร และ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้มีวิชชา”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับ ย่อมรู้ชัดรูป รู้ชัดความเกิดแห่งรูป รู้ชัดความดับแห่งรูป รู้ชัดปฏิปทาที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๒๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๓. อวิชชาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ให้ถึงความดับแห่งรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดวิญญาณ รู้ชัด
ความเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดความดับแห่งวิญญาณ รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
แห่งวิญญาณ
ท่านผู้มีอายุ นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคล
จึงเป็นผู้มีวิชชา”
ตติยโกฏฐิตสูตรที่ ๑๐ จบ
อวิชชาวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมุทยธัมมสูตร ๒. ทุติยสมุทยธัมมสูตร
๓. ตติยสมุทยธัมมสูตร ๔. อัสสาทสูตร
๕. ทุติยอัสสาทสูตร ๖. สมุทยสูตร
๗. ทุติยสมุทยสูตร ๘. โกฏฐิตสูตร
๙. ทุติยโกฏฐิตสูตร ๑๐. ตติยโกฏฐิตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๒. อนิจจสูตร

๔. กุกกุฬวรรค
หมวดว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน
๑. กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นของร้อน
[๑๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของร้อน เวทนาเป็นของร้อน
สัญญาเป็นของร้อน สังขารเป็นของร้อน วิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
กุกกุฬสูตรที่ ๑ จบ

๒. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๑๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๔. ตติยอนิจจสูตร
วิญญาณไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
อนิจจสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๒
[๑๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”
ทุติยอนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. ตติยอนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง สูตรที่ ๓
[๑๓๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๖. ทุติยทุกขสูตร
ก็อะไรเล่าไม่เที่ยง
คือ รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น”
ตติยอนิจจสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๑๔๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ สูตรที่ ๒
[๑๔๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”
ทุติยทุกขสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๘. อนัตตสูตร

๗. ตติยทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์ สูตรที่ ๓
[๑๔๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น”
ตติยทุกขสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๑๔๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น”
อนัตตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๑๐. ตติยอนัตตสูตร

๙. ทุติยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา สูตรที่ ๒
[๑๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”
ทุติยอนัตตสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ตติยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา สูตรที่ ๓
[๑๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๑๒. อนิจจานุปัสสีสูตร
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น’
ตติยอนัตตสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. นิพพิทาพหุลสูตร
ว่าด้วยผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย
[๑๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ ... ในเวทนา ...
ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่
ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร
มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป กำหนดรู้เวทนา กำหนดรู้สัญญา
กำหนดรู้สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์’
นิพพิทาพหุลสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
[๑๔๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค ๑๔. อนัตตานุปัสสีสูตร
ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่ ฯลฯ
เรากล่าวว่า ‘ ... และย่อมพ้นจากทุกข์’
อนิจจานุปัสสีสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ทุกขานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นทุกข์
[๑๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา
... ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทุกข์ในวิญญาณอยู่ ฯลฯ เรากล่าวว่า ‘ ...
และย่อมพ้นจากทุกข์’
ทุกขานุปัสสีสูตรที่ ๑๓ จบ

๑๔. อนัตตานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นอนัตตา
[๑๔๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ...
ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่
ผู้ใดพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร
พิจารณาเห็นอนัตตาในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ฯลฯ เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป กำหนดรู้เวทนา กำหนดรู้สัญญา
กำหนดรู้สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๔. กุกกุฬวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้น
จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้น
จากทุกข์’
อนัตตานุปัสสีสูตรที่ ๑๔ จบ
กุกกุฬวรรคที่ ๔ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุกกุฬสูตร ๒. อนิจจสูตร
๓. ทุติยอนิจจสูตร ๔. ตติยอนิจจสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร
๗. ตติยทุกขสูตร ๘. อนัตตสูตร
๙. ทุติยอนัตตสูตร ๑๐. ตติยอนัตตสูตร
๑๑. นิพพิทาพหุลสูตร ๑๒. อนิจจานุปัสสีสูตร
๑๓. ทุกขานุปัสสีสูตร ๑๔. อนัตตานุปัสสีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๑. อัชฌัตตสูตร

๕. ทิฏฐิวรรค
หมวดว่าด้วยทิฏฐิ
๑. อัชฌัตตสูตร
ว่าด้วยสุขและทุกข์ในภายใน
[๑๕๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ สุขและทุกข์ในภายในจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า’
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
สุขและทุกข์ในภายในจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๒. เอตังมมสูตร
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
สุขและทุกข์ในภายในจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑
อัชฌัตตสูตรที่ ๑ จบ

๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นว่านั่นของเรา
[๑๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร บุคคลจึงพิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป บุคคลจึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๓. โสอัตตาสูตร
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ บุคคลจึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น บุคคลจะพึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ฯลฯ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น บุคคลจะพึง
พิจารณาเห็นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
เอตังมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. โสอัตตาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าอัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน
[๑๕๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรา
นั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๓. โสอัตตาสูตร
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้
ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา’
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลก
นี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘อัตตากับโลกเป็นอย่างเดียวกัน เรานั้นละโลก
นี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
โสอัตตาสูตรที่ ๓ จบ

๔. โนจเมสิยาสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิว่าเราไม่พึงมี
[๑๕๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่
พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ทิฏฐิอย่างนี้จึง
เกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว
แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว
แม้บริขารของเราก็จักไม่มี’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๔. โนจเมสิยาสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง’
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
ทิฏฐิอย่างนี้จะพึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า ‘ถ้าเราไม่พึงมี แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมี ถ้า
เราจักไม่ได้มีแล้ว แม้บริขารของเราก็จักไม่มี”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
โนจเมสิยาสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร

๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิ
[๑๕๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร มิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป มิจฉาทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ มิจฉาทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น มิจฉาทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๖. สักกายทิฏฐิสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น
มิจฉาทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๕ จบ

๖. สักกายทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยสักกายทิฏฐิ
[๑๕๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป สักกายทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ สักกายทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น สักกายทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
สักกายทิฏฐิสูตรที่ ๖ จบ

๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยอัตตานุทิฏฐิ
[๑๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร อัตตานุทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นอัตตา) จึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป อัตตานุทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ อัตตานุทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๘. อภินิเวสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น อัตตานุทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น อัตตานุทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อัตตานุทิฏฐิสูตรที่ ๗ จบ

๘. อภินิเวสสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่น
[๑๕๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ความพัวพันด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ความพัวพัน
ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๙. ทุติยอภินิเวสสูตร
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ความพัวพัน
ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น ความพัวพันด้วยสังโยชน์และ
ความยึดมั่นจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น ความพัวพันด้วยสังโยชน์และ
ความยึดมั่นจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อภินิเวสสูตรที่ ๘ จบ

๙. ทุติยอภินิเวสสูตร
ว่าด้วยความยึดมั่น สูตรที่ ๒
[๑๕๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร เพราะอาศัยอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึง
เกิดขึ้น”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๑๐. อานันทสูตร
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป ความพัวพัน
และความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ ความพัวพัน
และความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจึงเกิดขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้น ความพัวพันและความหมกมุ่น
ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่นจะพึงเกิดขึ้นหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มี
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยอภินิเวสสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๑๕๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค ๑๐. อานันทสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูป
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้
ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม วิญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ ๕. ทิฏฐิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ
ทิฏฐิวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัชฌัตตสูตร ๒. เอตังมมสูตร
๓. โสอัตตาสูตร ๔. โนจเมสิยาสูตร
๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๖. สักกายทิฏฐิสูตร
๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ๘. อภินิเวสสูตร
๙. ทุติยอภินิเวสสูตร ๑๐. อานันทสูตร

อุปริปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

รวมวรรคที่มีในอุปริปัณณาสก์นี้ คือ

๑. อันตวรรค ๒. ธัมมกถิกวรรค
๓. อวิชชาวรรค ๔. กุกกุฬวรรค
๕. ทิฏฐิวรรค

รวม ๕ วรรค เรียกว่า ตติยปัณณาสก์
ขันธสังยุต จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. มารสูตร

๒. ราธสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร
[๑๖๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘มาร มาร’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
พระองค์จึงตรัสว่า ‘มาร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ เมื่อมีรูป จึงมีมาร มีผู้ทำให้ตาย
หรือมีผู้ตาย เพราะฉะนั้น เธอจงเห็นรูปว่า ‘เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย
เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่งของลำบาก’
บุคคลเหล่าใดเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าย่อมเห็นชอบ
เมื่อมีเวทนา ฯลฯ
เมื่อมีสัญญา ...
เมื่อมีสังขาร ...
เมื่อมีวิญญาณ จึงมีมาร มีผู้ทำให้ตาย หรือมีผู้ตาย เพราะฉะนั้น เธอจง
เห็นวิญญาณว่า ‘เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นเหตุเกิดแห่งของลำบาก’ บุคคลเหล่าใดเห็น
วิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าย่อมเห็นชอบ”
“ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ทำให้เบื่อหน่าย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต] ๑. ปฐมวรรค๒. สัตตสูตร
“ก็ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ทำให้คลายกำหนัด”
“ก็ความคลายกำหนัดมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ทำให้หลุดพ้น”
“ก็ความหลุดพ้นมีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ความหลุดพ้นมีประโยชน์ทำให้นิพพาน”
“ก็นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
“ราธะ เธอถามมากเกินไปแล้ว เธอไม่อาจกำหนดขอบเขตของปัญหาได้
เพราะกุลบุตรย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นจุด
มุ่งหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด”
มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยสัตว์
[๑๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
พระองค์จึงตรัสว่า ‘สัตว์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ ความ
กำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
‘สัตว์’ ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ... ในสังขาร ... บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ
ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะฉะนั้น
เราจึงกล่าวว่า ‘สัตว์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๓. ภวเนตติสูตร
ราธะ พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเล่นเรือนฝุ่นอยู่ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย
ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด
พวกเขาก็อาลัย อยากเล่น หวงแหน ยึดถือเรือนฝุ่นทั้งหลายอยู่เพียงนั้น
แต่เมื่อใด พวกเด็กชายหรือเด็กหญิง เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจาก
ความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน
ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้น เมื่อนั้น พวกเขาย่อมรื้อ ยื้อแย่ง
ทำลาย ทำเรือนฝุ่นเหล่านั้นให้เล่นไม่ได้ด้วยมือและเท้า แม้ฉันใด แม้เธอทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงรื้อ แยก กระจายออก ทำรูปให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อ
ความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก ทำเวทนาให้ยินดีไม่ได้
ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ... สัญญา ... เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำสังขารให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงรื้อ แยก กระจายออก
ทำวิญญาณให้ยินดีไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ราธะ ก็ความสิ้นตัณหา จัด
เป็นนิพพาน”
สัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ภวเนตติสูตร
ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ
[๑๖๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ’ กิเลสเป็นเหตุนำไป
สู่ภพเป็นอย่างไร ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ ความพอใจ ความกำหนัด ความ
เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไป
ตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. ปริญเญยยสูตร
นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ
ความพอใจ ฯลฯ ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ...
ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ
นี้เรากล่าวว่า กิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ เพราะดับกิเลสเหล่านั้น จึงจัดเป็น
ความดับกิเลสเป็นเหตุนำไปสู่ภพ”
ภวเนตติสูตรที่ ๓ จบ

๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
[๑๖๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ราธะ เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้
เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระราธะรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า
“ราธะ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนาเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สัญญา
เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สังขารเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ วิญญาณเป็นธรรมที่ควร
กำหนดรู้
เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ความกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๕. สมณสูตร
บุคคลผู้กำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ ควรกล่าวได้ว่า บุคคลผู้กำหนดรู้นั้น คือพระอรหันต์ ได้แก่ ท่านผู้
มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้”
ปริญเญยยสูตรที่ ๔ จบ

๕. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ
[๑๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชัดคุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็
ไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ใน
หมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือ
ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันไม่ได้
ราธะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณ โทษ และเครื่อง
สลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. โสตาปันนสูตร
เหล่านั้นก็ได้รับยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือได้รับยกย่องว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ ทั้งท่านเหล่านั้นก็จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้”
สมณสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยสมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ สูตรที่ ๒
[๑๖๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ๒. เวทนูปาทานขันธ์
๓. สัญญูปาทานขันธ์ ๔. สังขารูปาทานขันธ์
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
ราธะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ชัดความเกิด ความดับ
คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ฯลฯ ก็จะทำให้แจ้ง ... ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้”
ทุติยสมณสูตรที่ ๖ จบ

๗. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยพระโสดาบัน
[๑๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๘. อรหันตสูตร
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด
ออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง
ราธะ นี้เราเรียกว่า อริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า”
โสตาปันนสูตรที่ ๗ จบ

๘. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๑๖๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์
เพราะเหตุที่ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออก
จากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตามความเป็นจริง จึงเป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
ราธะ นี้เราเรียกว่า เป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ”
อรหันตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๐. ทุติยฉันทราคสูตร

๙. ฉันทราคสูตร
ว่าด้วยความพอใจและความกำหนัด
[๑๖๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควร ดังนี้ว่า “ราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป
เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปนั้นจักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล
ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา เมื่อเป็นเช่นนี้ เวทนานั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้ ... ในสัญญา ฯลฯ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในสังขาร เมื่อเป็นเช่นนี้ สังขารเหล่านั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอน
โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในวิญญาณ เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อ
ไปไม่ได้”
ฉันทราคสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. ทุติยฉันทราคสูตร
ว่าด้วยความพอใจและความกำหนัด สูตรที่ ๒
[๑๖๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะผู้นั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ราธะ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
และความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในรูป เมื่อเป็นเช่นนี้
รูปนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในเวทนา
เมื่อเป็นเช่นนี้ เวทนานั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ...
ในสัญญา ฯลฯ
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในสังขาร
เมื่อเป็นเช่นนี้ สังขารนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่นถือมั่นและนอนเนื่องในวิญญาณ
เมื่อเป็นเช่นนี้ วิญญาณนั้นก็จักเป็นอันเธอละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้”
ทุติยฉันทราคสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฐมวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. สัตตสูตร
๓. ภวเนตติสูตร ๔. ปริญเญยยสูตร
๕. สมณสูตร ๖. ทุติยสมณสูตร
๗. โสตาปันนสูตร ๘. อรหันตสูตร
๙. ฉันทราคสูตร ๑๐. ทุติยฉันทราคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๒. มารธัมมสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. มารสูตร
ว่าด้วยมาร
[๑๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘มาร มาร’ มารเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญา
เป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อม
เบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”
มารสูตรที่ ๑ จบ

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร
[๑๗๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ธรรมของมาร ธรรมของมาร’ ธรรมของมาร
เป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๔. อนิจจธัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นธรรมของมาร เวทนาเป็นธรรม
ของมาร สัญญาเป็นธรรมของมาร สังขารเป็นธรรมของมาร วิญญาณเป็นธรรม
ของมาร
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๑๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยง’ สิ่งที่ไม่เที่ยง
เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง
สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา
[๑๗๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความ
ไม่เที่ยงเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๖. ทุกขธัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เวทนา
มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา สัญญามีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา สังขารมีความไม่
เที่ยงเป็นธรรมดา วิญญาณมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๑๗๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ทุกข์เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญา
เป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา
[๑๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา สิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา’
สิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๘. อนัตตธัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีทุกข์เป็นธรรมดา เวทนามีทุกข์
เป็นธรรมดา สัญญามีทุกข์เป็นธรรมดา สังขารมีทุกข์เป็นธรรมดา วิญญาณมี
ทุกข์เป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๑๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘อนัตตา อนัตตา’ อนัตตาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา
สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา
[๑๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา สิ่งที่มีอนัตตาเป็น
ธรรมดา’ สิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๙. ขยธัมมสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีอนัตตาเป็นธรรมดา เวทนามี
อนัตตาเป็นธรรมดา สัญญามีอนัตตาเป็นธรรมดา สังขารมีอนัตตาเป็นธรรมดา
วิญญาณมีอนัตตาเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
[๑๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความสิ้น
ไปเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เวทนามี
ความสิ้นไปเป็นธรรมดา สัญญามีความสิ้นไปเป็นธรรมดา สังขารมีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา วิญญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. สมุทยธัมมสูตร

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
[๑๗๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เวทนา
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สัญญามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สังขารมีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
[๑๘๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ท่านพระราธะนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความ
เกิดขึ้นเป็นธรรมดา’ สิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เวทนามี
ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สัญญามีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สังขารมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา
[๑๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา’
สิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดาเป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราธะ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เวทนามี
ความดับไปเป็นธรรมดา สัญญามีความดับไปเป็นธรรมดา สังขารมีความดับไป
เป็นธรรมดา วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา
ราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ... ไม่มีกิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
นิโรธธัมมสูตรที่ ๑๒ จบ
ทุติยวรรค จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มารสูตร ๒. มารธัมมสูตร
๓. อนิจจสูตร ๔. อนิจจธัมมสูตร
๕. ทุกขสูตร ๖. ทุกขธัมมสูตร
๗. อนัตตสูตร ๘. อนัตตธัมมสูตร
๙. ขยธัมมสูตร ๑๐. วยธัมมสูตร
๑๑. สมุทยธัมมสูตร ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๑. มารสูตร

๓. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยการอาราธนา
๑-๑๑. มาราทิสุตตเอกาทสกะ
ว่าด้วยพระสูตร ๑๑ สูตร มีมารสูตรเป็นต้น
๑.มารสูตร
ว่าด้วยมาร
[๑๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง
ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ
ในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นมาร
คือ รูปเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ... ในเวทนานั้น
สัญญาเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ... ในสัญญานั้น
สังขารเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ... ในสังขารนั้น
วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ราธะ สิ่งใดเป็นมาร เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น”
มารสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๕. ทุกขสูตร

๒. มารธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมของมาร
[๑๘๓] “ราธะ สิ่งใดเป็นธรรมของมาร๑ เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะ
ในสิ่งนั้น ฯลฯ
มารธัมมสูตรที่ ๒ จบ

๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
[๑๘๔] “ราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง ฯลฯ
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ

๔. อนิจจธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา
[๑๘๕] “ราธะ สิ่งใดมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ฯลฯ
อนิจจธัมมสูตรที่ ๔ จบ

๕. ทุกขสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๑๘๖] “ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ ฯลฯ
ทุกขสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๑๐. วยธัมมสูตร

๖. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีทุกข์เป็นธรรมดา
[๑๘๗] “ราธะ สิ่งใดมีทุกข์เป็นธรรมดา ฯลฯ
ทุกขธัมมสูตรที่ ๖ จบ

๗. อนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๑๘๘] “ราธะ สิ่งใดเป็นอนัตตา ฯลฯ
อนัตตสูตรที่ ๗ จบ

๘. อนัตตธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีอนัตตาเป็นธรรมดา
[๑๘๙] “ราธะ สิ่งใดมีอนัตตาเป็นธรรมดา ฯลฯ
อนัตตธัมมสูตรที่ ๘ จบ

๙. ขยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
[๑๙๐] “ราธะ สิ่งใดมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
ขยธัมมสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
[๑๙๑] “ราธะ สิ่งใดมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
วยธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๒. ราธสังยุต]
๓. อายาจนวรรค ๑๒. นิโรธธัมมสูตร

๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
[๑๙๒] “ราธะ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น ฯลฯ
สมุทยธัมมสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. นิโรธธัมมสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่มีความดับไปเป็นธรรมดา
[๑๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีก
ออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราธะ สิ่งใดมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ
ราคะ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่ามีความดับไปเป็นธรรมดา
คือ รูปมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนามีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณมีความดับไปเป็นธรรมดา เธอพึงละฉันทะ ราคะ ฉันทราคะใน
วิญญาณนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า :๒๗๒ }

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น