Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๗ หน้า ๓๓๑ - ๓๘๕

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๘. ฐานสูตร
มาตุคามประกอบด้วยกำลังศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังบุตร พวกญาติย่อม
ให้มาตุคามนั้นอยู่ในตระกูล คือ ไม่ให้พินาศไป
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”
นาเสนติสูตรที่ ๖ จบ

๗. เหตุสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มาตุคามไปเกิดในสุคติ
[๓๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้
กำลัง ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กำลังรูป ๒. กำลังทรัพย์
๓. กำลังญาติ ๔. กำลังบุตร
๕. กำลังศีล
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์เพราะ
กำลังรูปเป็นเหตุหรือเพราะกำลังทรัพย์เป็นเหตุ เพราะกำลังญาติเป็นเหตุหรือเพราะ
กำลังบุตรเป็นเหตุก็หามิได้ แต่มาตุคามหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ได้ ก็เพราะกำลังศีลเป็นเหตุ
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล”
เหตุสูตรที่ ๗ จบ

๘. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่มาตุคามได้ยากและได้ง่าย
[๓๑๑] “ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้
โดยยาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๘. ฐานสูตร
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอเราพึงเกิดในตระกูลที่เหมาะสม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่มาตุคาม
ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๒. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเราพึงไปสู่ตระกูลที่เหมาะสม
นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๓. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่มาตุคาม
ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๔. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔
ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
๕. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงครองใจสามี นี้เป็น
ฐานะข้อที่ ๕ ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล ที่มาตุคามผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ได้โดยยาก
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ขอเราพึงเกิดในตระกูลที่เหมาะสม นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ ที่มาตุคาม
ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๒. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเราพึงไปสู่ตระกูลที่เหมาะสม
นี้เป็นฐานะข้อที่ ๒ ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๓. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว ขอเรา
พึงอยู่ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ ที่มาตุคาม
ผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
๔. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔
ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค ๑๐. วัฑฒีสูตร
๕. ครั้นเกิดในตระกูลที่เหมาะสม ไปสู่ตระกูลที่เหมาะสมแล้ว อยู่
ครองเรือนไม่มีหญิงร่วมสามี มีบุตร ขอเราพึงครองใจสามี นี้
เป็นฐานะข้อที่ ๕ ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล ที่มาตุคามผู้ได้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย”
ฐานสูตรที่ ๘ จบ

๙. ปัญจสีลวิสารทสูตร
ว่าด้วยมาตุคามมีศีล ๕ เป็นผู้แกล้วกล้า
[๓๑๒] “ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
ผู้แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นขาดจากการลักทรัพย์
๓. เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นขาดจากการพูดเท็จ
๕. เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้
แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน”
ปัญจสีลวิสารทสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. วัฑฒีสูตร
ว่าด้วยอริยสาวิกาผู้เจริญด้วยวัฑฒิธรรม
[๓๑๓] “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม (หลักความ
เจริญ) ๕ ประการ ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็น
สาระและถือเอาสิ่งที่ประเสริฐแห่งกายไว้ได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๓. มาตุคามสังยุต]
๓. พลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
วัฑฒิธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เจริญด้วยศรัทธา ๒. เจริญด้วยศีล
๓. เจริญด้วยสุตะ (การฟัง) ๔. เจริญด้วยจาคะ (ความเสียสละ)
๕. เจริญด้วยปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญอยู่ด้วยวัฑฒิธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อ
ว่าเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ถือเอาสิ่งที่เป็นสาระและถือเอาสิ่งที่
ประเสริฐแห่งกายไว้ได้
อุบาสิกาใดเจริญด้วยศรัทธา
ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
อุบาสิกาผู้มีศีลเช่นนั้น
ย่อมถือเอาสิ่งที่เป็นสาระทั้งสองของตนในโลกนี้ไว้ได้”
วัฑฒีสูตรที่ ๑๐ จบ
พลวรรคที่ ๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิสารทสูตร ๒. ปสัยหสูตร
๓. อภิภุยยสูตร ๔. เอกสูตร
๕. อังคสูตร ๖. นาเสนติสูตร
๗. เหตุสูตร ๘. ฐานสูตร
๙. ปัญจสีลวิสารทสูตร ๑๐. วัฑฒีสูตร

มาตุคามสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑. นิพพานปัญหาสูตร

๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๑. นิพพานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องนิพพาน
[๓๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ หมู่บ้านนาลกคาม แคว้นมคธ
ครั้งนั้น ชัมพุขาทกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ
สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานเป็น
อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่

๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ
๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ
๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ
๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ

นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร

๒. อรหัตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรหัต
[๓๑๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อรหัต
อรหัต’ อรหัตเป็นอย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ
ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องผู้เป็นธรรมวาที
[๓๑๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาที
ในโลก ใครเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ แสดง
ธรรมเพื่อละโทสะ และแสดงธรรมเพื่อละโมหะ คนพวกนั้นเป็นธรรมวาทีในโลก
คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ ปฏิบัติเพื่อละโทสะ และปฏิบัติเพื่อละโมหะ
คนพวกนั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต] ๔. กิมัตถิยสูตร
และคนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ละโทสะได้แล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นเป็นผู้ไป
ดีแล้วในโลก”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ธัมมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์
[๓๑๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ท่านประพฤติพรหมจรรย์
ในพระสมณโคดม เพื่อต้องการอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
เพื่อกำหนดรู้ทุกข์”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
กิมัตถิยสูตรที่ ๔ จบ

๕. อัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจ
[๓๑๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ
โล่งใจ ถึงความโล่งใจ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นดีจริง
หนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
อัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๕ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๗. เวทนาปัญหาสูตร

๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง
[๓๑๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ
โล่งใจอย่างยิ่ง ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึง
ความโล่งใจอย่างยิ่ง”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว หลุดพ้น
เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น
ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่ง
นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ปรมัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ

๗. เวทนาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเวทนา
[๓๒๐] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่กล่าวกันว่า ‘เวทนา
เวทนา’ เวทนามีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เวทนามี ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๓๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๘. อาสวปัญหาสูตร
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา
๓. อทุกขมสุขเวทนา
เวทนามี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น
ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการ
นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
เวทนาปัญหาสูตรที่ ๗ จบ

๘. อาสวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอาสวะ
[๓๒๑] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อาสวะ
อาสวะ’ อาสวะมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อาสวะมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
อาสวะมี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๙. อวิชชาปัญหาสูตร
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”
อาสวปัญหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อวิชชาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอวิชชา
[๓๒๒] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา
อวิชชา’ อวิชชาคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกข-
สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอวิชชานั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”
อวิชชาปัญหาสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต] ๑๑. โอฆปัญหาสูตร

๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตัณหา
[๓๒๓] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ตัณหา
ตัณหา’ ตัณหามีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ตัณหามี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม)
๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ)
๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ)
ตัณหามี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
ตัณหาปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. โอฆปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโอฆะ
[๓๒๔] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘โอฆะ โอฆะ’
โอฆะมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ โอฆะมี ๔ ประการนี้ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ)
๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา)
โอฆะมี ๔ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ
ควรที่จะไม่ประมาท”
โอฆปัญหาสูตรที่ ๑๑ จบ

๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอุปาทาน
[๓๒๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อุปาทาน
อุปาทาน’ อุปาทานมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานมี ๔ ประการนี้ คือ
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี)
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต)
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าอัตตา)
อุปาทานมี ๔ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๕. สักกายปัญหาสูตร
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
อุปาทานปัญหาสูตรที่ ๑๒ จบ

๑๓. ภวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องภพ
[๓๒๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ภพ ภพ’
ภพมีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภพมี ๓ ประการนี้ คือ
๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
ภพมี ๓ ประการนี้แล”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
ภวปัญหาสูตรที่ ๑๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๕. สักกายปัญหาสูตร

๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์
[๓๒๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’
ทุกข์มีเท่าไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สภาวทุกข์มี ๓ ประการนี้ คือ
๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร
๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป
สภาวทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นดี
จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔ จบ

๑๕. สักกายปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายะ
[๓๒๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘สักกายะ
(กายของตน) สักกายะ’ สักกายะคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกว่า สักกายะ ได้แก่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า สักกายะ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
สักกายปัญหาสูตรที่ ๑๕ จบ

๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก
[๓๒๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค
“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”
ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. นิพพานปัญหาสูตร ๒. อรหัตตปัญหาสูตร
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร ๔. กิมัตถิยสูตร
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร ๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
๗. เวทนาปัญหาสูตร ๘. อาสวปัญหาสูตร
๙. อวิชชาปัญหาสูตร ๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
๑๑. โอฆปัญหาสูตร ๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
๑๓. ภวปัญหาสูตร ๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
๑๕. สักกายปัญหาสูตร ๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

ชัมพุขาทกสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต] ๒. ทุกกรสูตร

๕. สามัณฑกสังยุต
๑. สามัณฑกสูตร
ว่าด้วยสามัณฑกปริพาชก
[๓๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา เขตอุกกเจลนคร
แคว้นวัชชี ครั้งนั้น สามัณฑกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานคืออะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ
และความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ”
“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อรู้แจ้งนิพพานนั้นอยู่”
“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร”
“ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น”
“ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ
และควรที่จะไม่ประมาท”
สามัณฑกสูตรที่ ๑ จบ

๒. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ทำได้ยาก
[๓๓๑] สามัณฑกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน
พระธรรมวินัยนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๔๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๕. สามัณฑกสังยุต] ๒. ทุกกรสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้”
“อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“ความยินดียิ่ง ที่บรรพชิตทำได้ยาก”
“อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก”
“ผู้มีอายุ ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”
ทุกกรสูตรที่ ๒ จบ

รวมพระสูตรในสังยุตนี้เช่นเดียวกับสังยุตก่อน
สามัณฑกสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๖. โมคคัลลานสังยุต
๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องปฐมฌาน
[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียก
ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในที่นี้ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า
‘ที่เรียกกันว่า ‘ปฐมฌาน ปฐมฌาน’ ปฐมฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ปฐมฌาน’
ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ
และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ (การใส่ใจ
สัญญา) ประกอบด้วยกาม๑ก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่า
ประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน’ ต่อมา ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย
แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็บุคคลเมื่อ
จะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น
ผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดา
ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ปฐมัชฌานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตวรรค [ ๖. โมคคัลลานสังยุต]
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุติยฌาน
[๓๓๓] “ที่เรียกกันว่า ‘ทุติยฌาน ทุติยฌาน’ ทุติยฌานเป็นอย่างไร ผม
นั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น๑ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ทุติยฌาน’ ผมนั้นเพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยวิตกก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ทุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในทุติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในทุติยฌาน’ ต่อมา เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ผมนั้นบรรลุทุติยฌานมี
ความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระ
ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ทุติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๒ จบ

๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตติยฌาน
[๓๓๔] “ที่เรียกว่า ‘ตติยฌาน ตติยฌาน’ ตติยฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ นี้เรียกว่า ‘ตติยฌาน’ เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้น
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้
สัญญามนสิการประกอบด้วยปีติก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิต
ให้มั่นในตติยฌาน’ ต่อมา เพราะปีติจางคลายไป ผมนั้นมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุข’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ตติยัชฌานปัญหาสูตรที่ ๓ จบ

๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องจตุตถฌาน
[๓๓๕] “ที่เรียกว่า ‘จตุตถฌาน จตุตถฌาน’ จตุตถฌานเป็นอย่างไร ผมนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่’ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ‘จตุตถฌาน’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-
มนสิการประกอบด้วยสุขก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
จตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในจตุตถฌาน จง
ตั้งจิตให้มั่นในจตุตถฌาน’ ต่อมา เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว ผมนั้นบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
จตุตถัชฌานปัญหาสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร

๕. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากาสานัญจายตนฌาน
[๓๓๖] “ที่เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนฌาน’
อากาสานัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วง
รูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่’ นี้
เรียกว่า ‘อากาสานัญจายตนฌาน’ ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดย
กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยรูปฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็น
หนึ่งผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน’
ต่อมา ผมนั้นบรรลุอากาสานัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’
เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
อยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๕ จบ

๖. วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องวิญญาณัญจายตนฌาน
[๓๓๗] “ที่เรียกกันว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน’
วิญญาณัญจายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เรียกว่า ‘วิญญาณัญจายตนฌาน’ ผมนั้น
ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร
กำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ
ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
วิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน’ ต่อมา
ผมนั้นล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ
ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๖ จบ

๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอากิญจัญญายตนฌาน
[๓๓๘] “ที่เรียกกันว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน’
อากิญจัญญายตนฌานเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เรียกว่า ‘อากิญจัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดย
กำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วย
วิญญาณัญจายตนฌานก็ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่ง
ผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน’ ต่อมา
ผมนั้นล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ ถึงความเป็นผู้รู้ที่
ยิ่งใหญ่”
อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
[๓๓๙] “ที่เรียกกันว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญา-
ยตนฌาน’ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่’ นี้เรียกว่า ‘เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ผมนั้นล่วง
อากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานก็
ปรากฏขึ้น
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงทำ
จิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงตั้งจิตให้มั่นในเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌาน’ ต่อมา ผมนั้นล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ฯลฯ
ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๘ จบ

๙. อนิมิตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอนิมิตตเจโตสมาธิ
[๓๔๐] “ที่เรียกกันว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ๑ อนิมิตตเจโตสมาธิ’ อนิมิตต-
เจโตสมาธิเป็นอย่างไร ผมนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุ
อนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่’ นี้เรียกว่า ‘อนิมิตตเจโตสมาธิ’
ผมนั้นบรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิ เพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ วิญญาณย่อมแล่นไปตามนิมิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส
ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่าประมาท
อนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้น
ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ’ ต่อมา ผมนั้นบรรลุ
อนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
ว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคล
เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง
ความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
อนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. สักกสูตร
ว่าด้วยท้าวสักกะ
[๓๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน
เทวโลกชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้าฉะนั้น
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่าน
พระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก ฯลฯ จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์
เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๑’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน
โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๑ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอัน
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไทแก่ตัว ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการ
ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลก
นี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บาง
พวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าว
สักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระธรรมเป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ
สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า
อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ฯลฯ
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๕๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อม
ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลัง
จากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่น
ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมดีนัก ฯลฯ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ดีนัก ฯลฯ
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐
ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ
พุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา
เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐
ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วย
เทวดา ๗๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา ๘๐๐ องค์ ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา
๘๐,๐๐๐ องค์ ได้เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพ
ดังนี้ว่า
“ท่านจอมเทพ การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควร
ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะ
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๐. สักกสูตร
โลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา
เหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่
อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ
โลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไทแก่ตน ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วย
ฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า “ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วย
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้าเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลก
สวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต] ๑๑. จันทนสูตร
การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ดีนัก เพราะการถึง
พร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเป็นเหตุ สัตว์บางพวกในโลกนี้
หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาเหล่า
อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

การถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ดีนัก
เพราะการถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เป็นเหตุ สัตว์บางพวก
ในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อมครอบงำ
เทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ฯลฯ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์

ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดี ไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะการถึงพร้อมด้วยศีลที่พระอริยะยินดีเป็นเหตุ สัตว์
บางพวกในโลกนี้หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ท่านเหล่านั้นย่อม
ครอบงำเทวดาเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

๑. อายุทิพย์ ๒. วรรณะทิพย์
๓. สุขทิพย์ ๔. ยศทิพย์
๕. ความเป็นใหญ่ทิพย์ ๖. รูปทิพย์
๗. เสียงทิพย์ ๘. กลิ่นทิพย์
๙. รสทิพย์ ๑๐. โผฏฐัพพะทิพย์”
สักกสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร
[๓๔๒] ครั้งนั้น จันทนเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น สุยามเทพบุตร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๖๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุต
ครั้งนั้น สันดุสิตเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ
ครั้งนั้น วสวัตดีเทพบุตร ฯลฯ

(เปยยาลทั้ง ๕ นี้พึงให้พิสดารเหมือนสักกสูตร)
จันทนสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร ๒. ทุติยัชฌานปัญหาสูตร
๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร ๔. จตุตถัชฌานปัญหาสูตร
๕. อากาสานัญจายตนปัญหาสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนปัญหาสูตร
๗. อากิญจัญญายตนปัญหาสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนปัญหาสูตร
๙. อนิมิตตปัญหาสูตร ๑๐. สักกสูตร
๑๑. จันทนสูตร

โมคคัลลานสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑. สัญโญชนสูตร

๗. จิตตสังยุต
๑. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์
[๓๔๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ สมัยนั้น ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มี
พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น บางพวกตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน”
บางพวกตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”
สมัยนั้น จิตตคหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะด้วยกิจที่ควรทำบางอย่าง
ท่านจิตตคหบดีได้ยินข่าวว่า “ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า
‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น’
บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้น บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรม
ที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๑. สัญโญชนสูตร
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุผู้เป็นเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กระผมได้
ยินข่าวว่า ‘ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันภัตตาหาร
เสร็จแล้ว นั่งประชุมกัน ณ ปะรำ ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม
เหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ
ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน’
บางพวกตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี ธรรมที่
เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นหรือ”
ภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นตอบว่า “เจริญพร คหบดี”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี
ธรรมที่เกื้อกูลแก่สังโยชน์ก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น กระผมจักยกอุปมาให้ท่านทั้งหลายฟัง เพราะวิญญูชน
บางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือน
โคดำกับโคขาวเขาผูกติดกันด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ’ ผู้นั้นเมื่อกล่าว
พึงกล่าวถูกต้องหรือ”
“ไม่ถูกต้อง คหบดี โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับ
โคดำ แต่โคทั้งสองนั้นถูกเขาผูกด้วยสายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าว
หรือเชือกนั้นจึงเกี่ยวเนื่องในโคทั้งสองนั้น”
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตาไม่เกี่ยว
ข้องกับรูป รูปก็ไม่เกี่ยวข้องกับตา แต่เพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นฉันทราคะ
จึงเกิดขึ้น ตาและรูปนั้นจึงเกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
หูไม่เกี่ยวข้องกับเสียง ...
จมูกไม่เกี่ยวข้องกับกลิ่น ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
ลิ้นไม่เกี่ยวข้องกับรส ...
กายไม่เกี่ยวข้องกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็ไม่เกี่ยวข้องกับกาย แต่เพราะ
อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้นฉันทราคะจึงเกิดขึ้น กายและโผฏฐัพพะนั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น
ใจไม่เกี่ยวข้องกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เกี่ยวข้องกับใจ แต่เพราะ
อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นฉันทราคะจึงเกิดขึ้น ใจและธรรมารมณ์นั้นจึง
เกี่ยวข้องในฉันทราคะนั้น”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง”
สัญโญชนสูตรที่ ๑ จบ

๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๑
[๓๔๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับภิกษุผู้เป็นเถระเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุต่าง ๆ
ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ” เมื่อ
จิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ
ต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า ‘ธาตุ
ต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ
จิตตคหบดีเอง ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด”
ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า
‘ธาตุต่าง ๆ ธาตุต่าง ๆ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุ
ต่าง ๆ’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัสธาตุต่าง ๆ ไว้ดังนี้ว่า ‘จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุ
วิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่าธาตุต่าง ๆ”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะ ได้นำของขบฉันอัน
ประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็น
เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ
ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง
แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”
ปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒ จบ

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๒
[๓๔๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้ง
หลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นใน
โลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ๑กับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒
เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและ
ไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
ทิฏฐิ ๖๒๑ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่านผู้เจริญ เมื่อ
อะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” เมื่อจิตตคหบดีถาม
อย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดีก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่าง
เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ
กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่าน
ผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” แม้ครั้งที่ ๓
ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่
สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ
จิตตคหบดีเอง ขอรับ”
พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด”
ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลาย
อย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ
ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี’ หรือ”
“อย่างนั้น ขอรับ”
“คหบดี ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลก
มีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
คนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร คหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นกายของตน)
มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่อสักกายทิฏฐิไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี”
“ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างไร”
“คหบดี ปุถุชน๑ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ...
สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี
วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
คหบดี สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างนี้แล”
“ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีไม่ได้อย่างไร”
“คหบดี อริยสาวกในศาสนานี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน
ธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่พิจารณา
เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณา
เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ คหบดี สักกายทิฏฐิ
ย่อมมีไม่ได้อย่างนี้แล”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
“ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน”
“คหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท”
“ท่านผู้เจริญ กุลบุตรชื่ออิสิทัตตะในอวันตีชนบท ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็น
ของกระผม ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าเคยเห็นท่านหรือไม่”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ที่ไหน”
เมื่อจิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่
“ท่านผู้เจริญ ท่านพระอิสิทัตตะของกระผมคือพระคุณเจ้าหรือ”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขต
เมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผมจักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“โยมพูดดี”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะแล้ว ได้นำของขบฉัน
อันประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้
เป็นเถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ
ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง
แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล”
ลำดับนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไป
จากเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก
ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร

๔. มหกปาฏิหาริยสูตร
ว่าด้วยพระมหกะแสดงปาฏิหาริย์
[๓๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง
มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย
โปรดรับภัตตาหารที่โรงวัวของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด”
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี
ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว
ลำดับนั้น จิตตคหบดีได้นำข้าวปายาสปรุงด้วยเนยใสอย่างประณีตประเคน
ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายฉัน
เสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป
ฝ่ายจิตตคหบดีได้กล่าวว่า “พวกท่านจงทิ้งเศษอาหารที่เหลือ” แล้วเดินตาม
หลังภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายไป เวลานั้นร้อนจัด ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมีกาย
คล้ายกับกะปลกกะเปลี้ยเดินไป ทั้งที่ฉันอาหารแล้ว
สมัยนั้น ท่านพระมหกะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น
ท่านได้เรียนกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีทีเดียว ถ้าลมเย็นจะพึงพัด
โชยมา มีเสียงฟ้าร้อง และฝนโปรยลงมาทีละหยาด”
พระเถระกล่าวว่า “ท่านพระมหกะ ดีทีเดียว ถ้าลมเย็นจะพึงพัดโชยมา มี
เสียงฟ้าร้อง และฝนโปรยลงมาทีละหยาด”
ลำดับนั้น ท่านพระมหกะได้บันดาลฤทธิ์ให้ลมเย็นพัดโชยมา มีเสียงฟ้าร้อง
และฝนโปรยลงมาทีละหยาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๔. มหกปาฏิหาริยสูตร
ลำดับนั้น จิตตคหบดีได้คิดว่า “ภิกษุผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนี้เป็นผู้
มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว”
ขณะนั้นท่านพระมหกะไปถึงอารามแล้วได้กล่าวกับท่านพระเถระว่า “ท่านพระ
เถระผู้เจริญ การบันดาลฤทธิ์เพียงเท่านี้พอหรือยัง”
ท่านพระเถระกล่าวว่า “ท่านมหกะ พอแล้ว ท่านทำได้แล้ว บูชาแล้ว”
ต่อมาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายได้ไปสู่ที่อยู่ตามเดิม แม้ท่านพระมหกะก็ไปสู่ที่
อยู่ของตน
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระมหกะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่
สมควร ได้ขอร้องว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้ามหกะได้โปรดแสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์แก่กระผมเถิด”
ท่านพระมหกะกล่าวว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียงแล้ว
เกลี่ยฟ่อนหญ้าไว้”
จิตตคหบดีรับคำของท่านพระมหกะแล้วปูผ้าห่มที่ระเบียงเกลี่ยฟ่อนหญ้าไว้
ขณะนั้นท่านพระมหกะเข้าไปสู่วิหารลั่นดาลแล้ว ได้บันดาลฤทธิ์ให้เปลวไฟออกทาง
ช่องลูกดาลและระหว่างกลอนประตู ให้ไหม้หญ้า แต่ไม่ให้ไหม้ผ้าห่ม จิตตคหบดี
ตกใจสลัดผ้าห่ม ได้ยืนขนลุกอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง
ท่านพระมหกะออกจากที่อยู่แล้วได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “จิตตคหบดี การ
บันดาลฤทธิ์เพียงเท่านี้พอหรือยัง”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านมหกะ พอแล้ว ท่านทำได้แล้ว บูชาแล้ว ขอพระ
คุณเจ้ามหกะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผม
จักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”
“โยมพูดดี”
ต่อมา ท่านพระมหกะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไปจาก
เมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก
มหกปาฏิหาริยสูตรที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๕. ปฐมกามภูสูตร

๕. ปฐมกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๑
[๓๔๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระกามภูได้กล่าวว่า
“จิตตคหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
ท่านจะพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารได้อย่างไร”
“ท่านผู้เจริญ ธรรมนี้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้หรือ”
“เจริญพร คหบดี”
“ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอสักครู่ จนกว่ากระผมจักพิจารณา
เนื้อความแห่งธรรมนั้นได้”
ลำดับนั้น จิตตคหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วได้ตอบท่านพระกามภูดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ คำว่า ส่วนประกอบอันไม่มีโทษ เป็นชื่อของศีล
คำว่า หลังคาขาว เป็นชื่อของวิมุตติ
คำว่า เพลาเดียว เป็นชื่อของสติ
คำว่า แล่นไป เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ
คำว่า รถ เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ท่านผู้เจริญ ราคะเป็นทุกข์ โทสะเป็นทุกข์ โมหะ
เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูก
ตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น
ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีทุกข์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร
คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์
คำว่า กระแส เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดราก
ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ตัด
กระแส ราคะเป็นเครื่องผูก โทสะเป็นเครื่องผูก โมหะเป็นเครื่องผูก เครื่องผูก
เหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน
ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุขีณาสพ
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีเครื่องผูก
ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า
‘เธอจงดูรถซึ่งมีส่วนประกอบอันไม่มีโทษ
มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์
แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส ไม่มีเครื่องผูก’
กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอย่างย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล”
“คหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งลงใน
พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้”
ปฐมกามภูสูตรที่ ๕ จบ

๖. ทุติยกามภูสูตร
ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๒
[๓๔๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้เรียนถามท่านพระกามภูดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไร”
ท่านพระกามภูตอบว่า “คหบดี สังขารมี ๓ ประการ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร
๑. กายสังขาร๑ ๒. วจีสังขาร๒
๓. จิตตสังขาร๓”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระกามภู
แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า
“ท่านผู้เจริญ กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร และจิตตสังขาร
เป็นอย่างไร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกชื่อว่ากายสังขาร
วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร
สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร
เพราะเหตุไร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร
เพราะเหตุไร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“คหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่อง
ด้วยกาย เพราะฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร”
“คหบดี บุคคลตรึกตรองก่อนแล้วจึงเปล่งวาจาภายหลัง เพราะฉะนั้น วิตก
วิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๖. ทุติยกามภูสูตร
สัญญาและเวทนาเป็นไปทางจิต ธรรมเหล่านี้เกี่ยวเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้น
สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีได้อย่างไร”
“คหบดี ภิกษุผู้กำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักเข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรา
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน
กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ วจีสังขารดับก่อน ต่อจาก
นั้น กายสังขาร จิตตสังขารจึงดับ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร”
“คหบดี คนที่ตายแล้ว กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็ดับระงับไป
จิตตสังขารของเขาก็ดับระงับไป อายุสิ้นไป ไออุ่นหมดไป อินทรีย์แตกสลายไป
แม้ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ กายสังขารก็ดับระงับไป วจีสังขารก็
ดับระงับไป จิตตสังขารก็ดับระงับไป (แต่)อายุไม่สิ้นไป ไออุ่นยังไม่หมด อินทรีย์
ก็ผ่องใส คหบดี คนที่ตายแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ทั้งสองนั้น
ต่างกันอย่างนี้”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีได้อย่างไร”
“ภิกษุผู้กำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติย่อมไม่คิดว่า ‘เราจักออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๓๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร
เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้จิตที่นำบุคคลเข้าไปเพื่อความเป็น
อย่างนั้น เธอได้อบรมไว้ในกาลก่อนแล้ว”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไป
อีกว่า “ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหน
เกิดขึ้นก่อน กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร”
“คหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขาร วจีสังขารจึงเกิดขึ้น”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ผัสสะเท่าไรย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ผัสสะ ๓ คือ (๑) สุญญผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิตผัสสะ
ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“ดีละ ท่านผู้เจริญ” ฯลฯ แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปสู่อะไร”
“คหบดี ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว จิตย่อมน้อมไป โน้ม
ไป โอนไปสู่วิเวก๑”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ดีละ ท่านผู้เจริญ” แล้วได้ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า
“ท่านผู้เจริญ ธรรมเหล่าไหนมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
“คหบดี ปัญหาที่ควรจะถามก่อนท่านถามช้าไป แต่เอาเถิด อาตมภาพ
จักตอบแก่ท่าน ธรรม ๒ ประการ คือ (๑) สมถะ (๒) วิปัสสนา มีอุปการะมาก
แก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ”
ทุติยกามภูสูตรที่ ๖ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต] ๗. โคทัตตสูตร

๗. โคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระโคทัตตะ
[๓๔๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ (๑) อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
(๒) อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ๑ (๓) สุญญตาเจโตวิมุตติ (๔) อนิมิตตาเจโตวิมุตติ๒
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้
จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะ
ต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศ
ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน๓ ทิศเบื้องล่าง๔ ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น