Google Analytics 4

ร่วมแชร์เป็นธรรมทานนะครับ

เล่มที่ ๑๘-๙ หน้า ๔๔๑ - ๔๙๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘-๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



พระสุตตันตปิฎก
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรม
ที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์
มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป
มาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่
๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร
เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีกรุณาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ
มีมุทิตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ฯลฯ
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ...
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่
ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ
ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่ทำไว้ดีและชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่
มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ...
ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง
แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่ง
กรรมที่ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์
มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลัง
จากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลก ทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่
มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง
ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] ๑๓. ปาฏลิยสูตร
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้
ผู้ใหญ่บ้าน อริยสาวกนั้นปราศจากความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา ปราศจาก
พยาบาทอย่างนี้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศ
ที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอด
โลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ‘ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง
ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก
เอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ตัดช่องย่องเบา ปล้นสะดม ปล้นในบ้านหลังเดียว ดักปล้นที่ทางเปลี่ยว เป็นชู้
พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)ก็ไม่จัดว่าทำบาป
แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นลานตากเนื้อ
ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด
เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มี
บาปมาถึงเขา
แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคาให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา
เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน
จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’
ถ้าศาสดาท่านนั้นพูดจริง ข้อที่เราสำรวมกาย วาจา ใจ และข้อที่เราหลังจาก
ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ทั้ง ๒ ข้อนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในคำสอน
เพราะเราไม่เบียดเบียนใคร ๆ ไม่ว่าผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง จึงเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ปราโมทย์ก็เกิดแก่อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ
กายก็สงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น
ผู้ใหญ่บ้าน ธรรมสมาธิเป็นอย่างนี้แล ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้
จิตตสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านพึงละความเคลือบแคลงนี้ได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชื่อปาฏลิยะได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ
ผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจน
ตลอดชีวิต”
ปาฏลิยสูตรที่ ๑๓ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. จัณฑสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร
๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร
๕. อัสสาโรหสูตร ๖. อสิพันธกปุตตสูตร
๗. เขตตูปมสูตร ๘. สังขธมสูตร
๙. กุลสูตร ๑๐. มณิจูฬกสูตร
๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร
๑๓. ปาฏลิยสูตร

คามณิสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑. กายคตาสติสูตร

๙. อสังขตสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. กายคตาสติสูตร
ว่าด้วยกายคตาสติ
[๓๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทาง
ที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ กายคตาสติ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
กายคตาสติสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๔. สุญญตสมาธิสูตร

๒. สมถวิปัสสนาสูตร
ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา
[๓๖๗] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะและวิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สมถวิปัสสนาสูตรที่ ๒ จบ

๓. สวิตักกสวิจารสูตร
ว่าด้วยสวิตักกสวิจารสมาธิ
[๓๖๘] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกวิจาร)
อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สวิตักกสวิจารสูตรที่ ๓ จบ

๔. สุญญตสมาธิสูตร
ว่าด้วยสุญญตสมาธิ
[๓๖๙] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๔๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๗. อิทธิปาทสูตร
คือ สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาความว่าง)
อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต)
อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สุญญตสมาธิสูตรที่ ๔ จบ

๕. สติปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน
[๓๗๐] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สติปัฏฐาน ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สติปัฏฐานสูตรที่ ๕ จบ

๖. สัมมัปปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน
[๓๗๑] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สัมมัปปธาน ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สัมมัปปธานสูตรที่ ๖ จบ

๗. อิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยอิทธิบาท
[๓๗๒] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อิทธิบาท ๔
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
อิทธิปาทสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค ๑๑. มัคคังคสูตร

๘. อินทริยสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์
[๓๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อินทรีย์ ๕
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
อินทริยสูตรที่ ๘ จบ

๙. พลสูตร
ว่าด้วยพละ
[๓๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ พละ ๕
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
พลสูตรที่ ๙ จบ

๑๐. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์
[๓๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ โพชฌงค์ ๗
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
โพชฌังคสูตรที่ ๑๐ จบ

๑๑. มัคคังคสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งมรรค
[๓๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๑. ปฐมวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
มัคคังคสูตรที่ ๑๑ จบ
ปฐมวรรคแห่งสังยุต จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร
๓. สวิตักกสวิจารสูตร ๔. สุญญตสมาธิสูตร
๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร
๗. อิทธิปาทสูตร ๘. อินทริยสูตร
๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌังคสูตร
๑๑. มัคคังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร

๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. อสังขตสูตร
ว่าด้วยอสังขตธรรม
[๓๗๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม (สิ่ง
ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) และทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัย
ความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท
อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา (๑)
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ วิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้ว ฯลฯ นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของ
เรา (๒)
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกมีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓-๕)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สุญญตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อนิมิตตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ อัปปณิหิตสมาธิ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๖-๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑ อยู่ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๙-๑๒)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่น๒เพื่อป้องกันธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๓-๑๖)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๑
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๑๗-๒๐)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยินทรีย์อันอาศัยวิเวก ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๑-๒๕ )

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวีริยพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๒๖-๓๐)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญวีริยสัมโพชฌงค์
ฯลฯ เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๕๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. อสังขตสูตร
สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ (๓๑-๓๗)
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ เจริญสัมมาวาจา ฯลฯ
เจริญสัมมากัมมันตะ ฯลฯ เจริญสัมมาอาชีวะ ฯลฯ เจริญสัมมาวายามะ ฯลฯ
เจริญสัมมาสติ ฯลฯ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ น้อมไปในการสละ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรมเราได้แสดงแล้วและทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมเราได้
แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่า
ประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลาย
ของเรา” (๓๘-๔๕)
อสังขตสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร

๒. อนตสูตร๑
ว่าด้วยความไม่น้อมไป
[๓๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่น้อมไป๒และทางที่ให้ถึงความไม่
น้อมไปแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความไม่น้อมไป เป็นอย่างไร ฯลฯ

(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)
อนตสูตรที่ ๒ จบ

๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ว่าด้วยธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นต้น
[๓๗๙-๔๐๘] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้และทางที่
ให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมอันหาอาสวะมิได้ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัจจธรรมและทางที่ให้ถึงสัจจธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
สัจจธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นฝั่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นฝั่งแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เป็นฝั่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ละเอียดอ่อนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ละเอียด
อ่อนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ละเอียดอ่อน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เห็นได้
ยากยิ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่คร่ำครึและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่คร่ำครึ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่คร่ำครึ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ยั่งยืนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ยั่งยืนแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ยั่งยืน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เสื่อมสลายและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่
เสื่อมสลายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ใคร ๆ ไม่พึงเห็น (ด้วยจักขุวิญญาณ)
และทางที่ให้ถึงธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง (ตัณหา มานะ และ
ทิฏฐิ) และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงฟัง
ธรรมที่ไม่มีกิเลสเครื่องปรุงแต่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่สงบและทางที่ให้ถึงธรรมที่สงบแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่สงบ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอมตธรรมและทางที่ให้ถึงอมตธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
อมตธรรม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ประณีตและทางที่ให้ถึงธรรมที่ประณีตแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ประณีต เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปลอดภัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ปลอดภัย
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ปลอดภัย เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เกษมและทางที่ให้ถึงธรรมที่เกษมแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เกษม เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้น
ตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่น่าอัศจรรย์และทางที่ให้ถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เคยปรากฏและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่เคย
ปรากฏแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่เคยปรากฏ เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๓-๓๒. อนาสวาทิสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีทุกข์และทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มีทุกข์แก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีทุกข์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัดและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่
มีเครื่องร้อยรัดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีเครื่องร้อยรัด เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางที่ให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
นิพพาน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียนและทางที่ให้ถึงธรรม
ที่ไม่มีความเบียดเบียนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ปราศจากราคะและทางที่ให้ถึงธรรมที่
ปราศจากราคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ปราศจากราคะ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์และทางที่ให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความบริสุทธ์ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความหลุดพ้นและทางที่ให้ถึงความหลุดพ้นแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ความหลุดพ้น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่มีความอาลัยและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่มี
ความอาลัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่ไม่มีความอาลัย เป็นอย่างไร ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต] ๓๓. ปรายนสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเกาะและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นเกาะแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมที่เป็นเกาะ เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่เร้นและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่เร้นแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่เร้น เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ต้านทานและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่
ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่ต้านทาน เป็นอย่างไร ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่พึ่งและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่พึ่งแก่
เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นอย่างไร ฯลฯ
อนาสวาทิสูตรที่ ๓-๓๒ จบ

๓๓. ปรายนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
[๔๐๙] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้
ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า คืออะไร
คือ กายคตาสติ
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้าเราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายอย่างนี้ กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๙. อสังขตสังยุต] รวมพระสูตรที่มีในวรรค
เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น
เราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ
ทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”
(พึงขยายความให้พิสดารเหมือนอสังขตสูตร)

ปรายนสูตรที่ ๓๓ จบ
ทุติยวรรค จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสังขตสูตร ๒. อนตสูตร
๓. อนาสวาทิสูตร ๔. สัจจสูตร
๕. ปารสูตร ๖. นิปุณสูตร
๗. สุทุททสสูตร ๘. อชัชชรสูตร
๙. ธุวสูตร ๑๐. อปโลกินสูตร
๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจสูตร
๑๓. สันตสูตร ๑๔. อมตสูตร
๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร
๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหักขยสูตร
๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร
๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติกธัมมสูตร
๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยาปัชฌสูตร
๒๕. วิราคสูตร ๒๖. สุทธิสูตร
๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร
๒๙. ทีปสูตร ๓๐. เลณสูตร
๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร
๓๓. ปรายนสูตร

อสังขตสังยุต จบบริบูรณ์
สูตรที่ ๗ ในอาสีวิสวรรคก็เหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร

๑๐. อัพยากตสังยุต
๑. เขมาสูตร
ว่าด้วยเขมาภิกษุณี
[๔๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น เขมาภิกษุณีเที่ยวจาริกไปในแคว้น
โกศล เข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ (ค่ายเสาระเนียด) ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จจากเมืองสาเกตไปยังกรุงสาวัตถี ได้เข้าประทับ
แรมราตรีหนึ่งที่โตรณวัตถุระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต รับสั่งเรียกราชบุรุษ
คนหนึ่งมาตรัสถามดังนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดูให้รู้ว่าที่โตรณวัตถุมีสมณะหรือ
พราหมณ์ผู้ที่เราควรเข้าไปหาในวันนี้หรือไม่”
ราชบุรุษนั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้วตรวจดูโตรณวัตถุ
จนทั่วก็ไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลควรเสด็จเข้าไปหา
ราชบุรุษนั้นได้พบเขมาภิกษุณีซึ่งเข้าไปพักอยู่ที่โตรณวัตถุ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้า
ปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ที่โตรณวัตถุไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้ที่พระองค์ควรเสด็จเข้าไปหาเลย มีแต่ภิกษุณี
ชื่อว่าเขมา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
และพระแม่เจ้ารูปนั้นมีกิตติศัพท์อันงามฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า ‘พระแม่เจ้าเขมา
ภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต๑ พูดเพราะ มีปฏิภาณดี’
ขอกราบทูลเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปหาพระแม่เจ้ารูปนั้นเถิด”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามปัญหาเขมาภิกษุณี
ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปหาเขมาภิกษุณีถึงที่อยู่ ทรงไหว้แล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ตรัสถามดังนี้ว่า “พระแม่เจ้า หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร
เขมาภิกษุณีถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร ปัญหาว่า ‘หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“ก็หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’
ก็ตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๗ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น หม่อมฉันขอย้อนถามมหาบพิตรใน
เรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์จะทรงเข้าพระทัย
ความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ๑ นักประเมิน๒ หรือนักประมวล๓บางคนของพระองค์
ผู้สามารถคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ด เท่านี้
๑,๐๐๐ เม็ด หรือเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระแม่เจ้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ ผู้
สามารถคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ๔ เท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ เท่านี้
๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระแม่เจ้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก”

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร
“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้น
พระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้นพระตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่าเวทนา ลึกล้ำ
ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด ฯลฯ
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด สังขารเหล่านั้น
พระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่าสังขาร ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้นพระ
ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ พระตถาคตพ้นแล้วจากการบัญญัติว่า
วิญญาณ ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๖๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้ย่อมไม่ถูก”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีภาษิตของเขมาภิกษุณี เสด็จ
ลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงไหว้เขมาภิกษุณี กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรง
ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ขอถวายพระพร มหาบพิตร ปัญหาว่า ‘หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้อาตมภาพไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้อาตมภาพ
ไม่พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์ ๋
“พระองค์ถูกข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’
ก็ตรัสตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้อาตมภาพไม่
พยากรณ์’ ฯลฯ
พระองค์ถูกข้าพระองค์ทูลถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตรัสตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า หลังจากตายแล้ว ตถาคต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้อาตมภาพก็ไม่พยากรณ์’ อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตร
ในเรื่องนี้บ้าง ขอพระองค์พึงตรัสตอบตามที่ทรงพอพระทัยเถิด พระองค์ทรงเข้า
พระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคน
ของพระองค์ผู้สามารถคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาว่า ‘ทรายเท่านี้เม็ด ฯลฯ
หรือทรายเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เม็ด’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“อนึ่ง นักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมวลบางคนของพระองค์ผู้สามารถ
คำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำเท่านี้อาฬหกะ ฯลฯ หรือน้ำเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐
อาฬหกะ’ มีอยู่หรือ”
“ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า”
“ข้อนั้นเพราะเหตุไร”
“เพราะมหาสมุทรลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก พระพุทธเจ้าข้า”
“เรื่องนี้ก็เหมือนกัน บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูป
นั้นตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต (เรา) พ้นแล้วจากการ
บัญญัติว่ารูป ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด ...
ด้วยสัญญาใด ...
ด้วยสังขารเหล่าใด ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑. เขมาสูตร
บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้น
ตถาคต(เรา)ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว
เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคต(เรา)พ้นแล้วจากการบัญญัติ
ว่าวิญญาณ ลึกล้ำ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดีย่อมไม่ถูก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับของพระสาวิกาเทียบเคียงกันได้ เหมือนกัน
ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์เข้าไปหา
นางเขมาภิกษุณีได้ถามเรื่องนี้ แม้พระแม่เจ้ารูปนั้นก็ได้ตอบเรื่องนี้ด้วยบทและ
พยัญชนะเหล่านี้แก่ข้าพระองค์เหมือนพระผู้มีพระภาค
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับของพระสาวิกาเทียบเคียงกันได้ เหมือน
กันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้หม่อมฉันขอทูลลากลับ เพราะมีกิจ
มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้
เถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
แล้วได้เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จ
จากไป
เขมาสูตรที่ ๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร

๒. อนุราธสูตร
ว่าด้วยพระอนุราธะ
[๔๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต
กรุงเวสาลี สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กุฎีป่าไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถาม
ท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่
ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมบัญญัติในฐานะ ๔ ประการ
นี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ หรือ”
ท่านพระอนุราธะตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็น
บรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้นย่อม
บัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
๒. หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก
๓. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่”
เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
กับท่านพระอนุราธะดังนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็น
พระเถระแต่โง่ ไม่ฉลาด” ทีนั้นจึงได้รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่
และด้วยวาทะว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร
ครั้นเมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความ
คิดว่า “ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะ
พยากรณ์แก่อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระ
ผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระอนุราธะทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ต่อมาท่านพระอนุราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฎีป่า ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากเข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอ
เป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามข้าพระองค์ดังนี้ว่า
‘ท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
อย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
หรือ
เมื่อพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบดังนี้ว่า ‘ผู้มี
อายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
อย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการ
นี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็ดี ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนี้คงจักเป็นพระใหม่บวชได้ไม่นาน หรือเป็นพระเถระ
แต่โง่ ไม่ฉลาด’ ทีนั้นได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นพระใหม่และด้วยวาทะ
ว่าเป็นพระโง่ พากันลุกจากอาสนะแล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร
เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า
‘ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามปัญหากับเรายิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แก่
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล
ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง”
ท่านพระอนุราธะกราบทูลว่า “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะ
พิจารณาเห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ๋
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกล
หรืออยู่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร
เวทนาทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของ
เรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูปว่าเป็น
ตถาคตหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นเวทนาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไมใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสัญญาว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นสังขารว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นวิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
รูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากรูป’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๒. อนุราธสูตร
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีในเวทนา’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากเวทนา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีใน
สัญญา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีนอกจากสัญญา’ หรือ ฯลฯ ‘ตถาคตมีในสังขาร’ หรือ
ฯลฯ ‘ตถาคตมีนอกจากสังขาร’ หรือ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีใน
วิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตมีนอกจากวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณว่า ‘เป็นตถาคต’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เธอพิจารณาเห็นว่า ‘ตถาคตนี้
ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ’ หรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุราธะ แท้จริง เธอจะค้นหาตถาคตโดยจริงโดยแท้ในขันธ์ ๕ นี้ในปัจจุบัน
ไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะตอบว่า ‘ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ
เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น
ย่อมทรงบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ ประการนี้ คือ
๑. หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก ฯลฯ
๔. หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ดีละ อนุราธะ ทั้งในกาลก่อนและในบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์และ
ความดับทุกข์เท่านั้น”
อนุราธสูตรที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๑
[๔๑๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่
หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตร
ดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ
ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ฯลฯ
ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีก
ก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’ อะไรหนอเป็น
เหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
“คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่ารูป
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าเวทนา
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าสัญญา
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าสังขาร
คำว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี นี้เป็นสักแต่ว่าวิญญาณ
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ

๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๒
[๔๑๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ (มีการถามตอบเหมือนสูตรที่ ๓)
ผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’
ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
และไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นรูป เหตุเกิดรูป ความดับรูป และปฏิปทา
ที่ให้ถึงความดับรูปตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๗๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้
ไม่รู้ไม่เห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้
ไม่รู้ไม่เห็นวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้เห็น
รูป เหตุเกิดรูป ความดับรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับรูปตามความเป็นจริง ...
เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้รู้เห็นวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๔ จบ

๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๓
[๔๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ฯลฯ (มีการถามตอบเหมือนสูตรที่ ๔)
“ผู้มีอายุ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๐ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย
ความเร่าร้อน ตัณหาในรูป ... ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยังไม่
ปราศจากราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ตัณหาในวิญญาณ
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจาก
ราคะ ... ในรูป ฯลฯ ในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปราศจาก
ราคะ ฉันทะ ความรัก ความกระหาย ความเร่าร้อน ตัณหาในวิญญาณ
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๕ จบ

๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรและพระมหาโกฏฐิตะ สูตรที่ ๔
[๔๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะอยู่ ณ ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีก
เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหา-
โกฏฐิตะดังนี้ว่า “ท่านมหาโกฏฐิตะ ท่านถูกผมถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๑ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ผู้มีอายุ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ก็ดี ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในรูป ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความ
ดับรูปตามความเป็นจริง
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ... ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ชื่นชม
ยินดี บันเทิงในเวทนา ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความดับเวทนาตามความเป็นจริง ฯลฯ ผู้
ชื่นชมในสัญญา ฯลฯ ผู้ชื่นชมในสังขาร ฯลฯ
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคล ผู้ชื่นชม ยินดี
บันเทิงในวิญญาณ ผู้ไม่รู้ ไม่เห็นความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในรูป ผู้รู้ เห็นความดับรูปตามความเป็นจริง
ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ... ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่
ชื่นชมในเวทนา ฯลฯ ผู้ไม่ชื่นชมในสัญญา ฯลฯ ผู้ไม่ชื่นชมในสังขาร ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม ไม่ยินดี ไม่
บันเทิงในวิญญาณ ผู้รู้ เห็นความดับวิญญาณตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในภพ ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น
ความดับภพตามความเป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๒ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในภพ ผู้รู้ เห็นความดับภพตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในอุปาทาน ผู้ไม่รู้ ไม่
เห็นความดับอุปาทานตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในอุปาทาน ผู้รู้ เห็นความดับอุปาทานตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
ท่านพระสารีบุตรถามว่า “อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์
ปัญหานั้นมีอยู่หรือ”
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “มีอยู่ ผู้มีอายุ คือ ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมมีแก่บุคคลผู้ชื่นชม ยินดี บันเทิงในตัณหา ผู้ไม่รู้ ไม่เห็น
ความดับตัณหาตามความเป็นจริง
แต่ทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ ก็ดี ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ชื่นชม
ไม่ยินดี ไม่บันเทิงในตัณหา ผู้รู้ เห็นความดับตัณหาตามความเป็นจริง
ผู้มีอายุ นี้แลเป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๓ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร
“ผู้มีอายุ อนึ่ง เหตุแม้อย่างอื่นที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้นมี
อยู่หรือ”
“ท่านสารีบุตร บัดนี้ท่านจะต้องการอะไรในปัญหานี้ยิ่งไปกว่านี้อีกเล่า เพราะ
ไม่มีธรรมเนียมสำหรับให้รู้ภิกษุผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา”
จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๖ จบ

๗. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะ
[๔๑๖] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกไม่เที่ยงหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกมีที่สุดหรือ”
“ปัญหาว่า ‘โลกมีที่สุด’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“โลกไม่มีที่สุดหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันหรือ”
“ปัญหาว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
พยากรณ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร
“ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
พยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาค
ไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลก
ไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์
ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะสรีระ
เป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๕ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร
ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา
เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฉะนั้นพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า
‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ทรงพิจารณาเห็นชิวหาว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ ทรงพิจารณาเห็นมโนว่า
‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฉะนั้นพระตถาคตเมื่อถูกถาม
อย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามปัญหาพระผู้มีพระภาค
ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้เราไม่พยากรณ์” ฯลฯ
“พระโคดมผู้เจริญ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้เราก็ไม่พยากรณ์”
“พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๖ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๗. โมคคัลลานสูตร
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรง
พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นของเรา เรา
เป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา’ ฉะนั้นพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลก
เที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพิจารณาเห็นจักขุว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นชิวหาว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฯลฯ พิจารณาเห็นมโนว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ฉะนั้นตถาคตเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์
ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับ
สรีระเป็นอย่างเดียวกันบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะ
ว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่
ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ พระโคดมผู้เจริญ เมื่อครู่นี้ข้าพระองค์เข้าไปหาพระ
มหาโมคคัลลานะได้ถามเรื่องนี้ แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้ตอบเรื่องนี้ด้วยบท
และพยัญชนะเหล่านี้แก่ข้าพระองค์เหมือนท่านพระโคดม พระโคดมผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดา
กับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ”
โมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร

๘. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยวัจฉโคตรปริพาชก
[๔๑๗] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม โลกเที่ยงหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้เราไม่พยากรณ์”
ฯลฯ
“ท่านพระโคดม หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้เราก็ไม่พยากรณ์”
“ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อ
ถูกถามอย่างนี้แล้วจึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรง
พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่
จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๘ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร
ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พิจารณาเห็นรูปเป็นอัตตา ไม่พิจารณา
เห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่
พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณาเห็น
วิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นตถาคต(เรา)เมื่อถูก
ถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะ
ว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
วัจฉโคตรปริพาชกถามปัญหาพระมหาโมคคัลลานะ
ลำดับนั้น วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึก
ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่าน
โมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘โลกเที่ยง’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์” ฯลฯ
“ท่านโมคคัลลานะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด
อีกก็มิใช่หรือ”
“วัจฉะ แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่
เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ อนึ่ง อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดม
เมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่ทรงพยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ หลังจากตายแล้ว
ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๘๙ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๘. วัจฉโคตตสูตร
“วัจฉะ เพราะพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป
พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ฉะนั้นพวก
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงตอบว่า ‘โลกเที่ยง ฯลฯ หลังจากตาย
แล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’
ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น
อัตตา ไม่ทรงพิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่ทรงพิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ทรงพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ
สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ไม่ทรงพิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่ทรงพิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่
ทรงพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ
ฉะนั้นพระตถาคตเมื่อถูกถามอย่างนี้จึงไม่พยากรณ์ว่า ‘โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันบ้าง
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกบ้าง หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิด
อีกบ้าง หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง”
“ท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่อรรถกับอรรถ
พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้ เหมือนกันไม่
ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ท่านโมคคัลลานะ เมื่อครู่นี้ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
ได้ทูลถามเรื่องนี้ แม้พระสมณโคดมก็ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ด้วยบทและพยัญชนะ
เหล่านี้แก่ข้าพเจ้าเหมือนกัน ท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่
อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของพระศาสดากับพระสาวกเทียบเคียงกันได้
เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ”
วัจฉโคตตสูตรที่ ๘ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๙. กุตูหลสาลาสูตร

๙. กุตูหลสาลาสูตร
ว่าด้วยศาลาถกแถลง
[๔๑๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม วันก่อนโน้น พวกสมณพราหมณ์
อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากนั่งประชุมกันในศาลาถกแถลง๑ ได้สนทนากันว่า
‘ครูปูรณะ กัสสปะนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ
เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี ครูปูรณะ กัสสปะนั้นพยากรณ์
สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิด
ในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูปูรณะ กัสสปะนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ได้
บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์สาวกนั้นผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้ง
หลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’
ถึงครูมักขลิ โคศาล ฯลฯ
ถึงครูนิครนถ์ นาฏบุตร ฯลฯ
ถึงครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ฯลฯ
ถึงครูปกุธะ กัจจายนะ ฯลฯ
ถึงครูอชิตะ เกสกัมพลนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง
มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้ครูอชิตะ เกสกัมพล
นั้นก็พยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น
ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูอชิตะ เกสกัมพลนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๙. กุตูหลสาลาสูตร
บรมบุรุษ ได้บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์แม้สาวกนั้นผู้ล่วงลับ
ดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’
ฝ่ายพระสมณโคดมนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมี
เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้พระสมณโคดมนั้น
ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพ
โน้น สาวกโน้นเกิดในภพโน้น’ ส่วนสาวกใดของพระสมณโคดมนั้นเป็นอุดมบุรุษ
เป็นบรมบุรุษ ได้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง พระองค์ก็ทรงพยากรณ์สาวกนั้น
ผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพโน้น สาวกโน้นเกิดใน
ภพโน้น’ นอกจากนี้ยังทรงพยากรณ์สาวกนั้นอีกว่า ‘ตัดตัณหาได้ขาด ถอนสังโยชน์
ได้ ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ’ ท่านพระโคดม ข้าพเจ้านั้นได้มี
ความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘ถึงอย่างไร พระสมณโคดมก็ทรงรู้ยิ่งธรรม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย ความ
สงสัยเกิดขึ้นแก่ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง เราย่อมบัญญัติความอุบัติสำหรับผู้
มีอุปาทาน ไม่บัญญัติสำหรับผู้ไม่มีอุปาทาน ไฟที่มีเชื้อย่อมลุกโพลงได้ ไม่มีเชื้อ
ก็ลุกโพลงไม่ได้แม้ฉันใด เราก็บัญญัติความอุบัติสำหรับผู้มีอุปาทาน ไม่บัญญัติ
สำหรับผู้ไม่มีอุปาทานฉันนั้นเหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล ท่านพระโคดมจะทรง
บัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ในเพราะเชื้อเล่า”
“วัจฉะ เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล เราบัญญัติเชื้อคือลมนั้น เพราะ
ลมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น”
“ท่านพระโคดม เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่านพระโคดมจะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า”
“วัจฉะ เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง เรา
บัญญัติอุปาทานคือตัณหานั้น เพราะตัณหาเป็นเชื้อของสัตว์นั้น”
กุตูหลสาลาสูตรที่ ๙ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต] ๑๐, อานันทสูตร

๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๔๑๙] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม อัตตามีอยู่หรือ” เมื่อวัจฉโคตร
ปริพาชกทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งอยู่ วัจฉโคตรปริพาชกจึง
ทูลถามอีกว่า “ท่านพระโคดม อัตตาไม่มีหรือ”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงนิ่งอยู่ ลำดับนั้น วัจฉโคตรปริพาชก
จึงลุกจากที่นั่งแล้วจากไป
ครั้นเมื่อวัจฉโคตรปริพาชกจากไปไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์ถูกวัจฉโคตร
ปริพาชกทูลถามปัญหาแล้วจึงไม่ทรงพยากรณ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า
‘อัตตามีอยู่หรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตามีอยู่’ คำตอบนั้นก็จักไปตรงกับลัทธิของพวก
สมณพราหมณ์ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และเราถูกวัจฉโคตรปริพาชก
ถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักไปตรงกับลัทธิ
ของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) อนึ่ง เราถูก
วัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตามีอยู่หรือ’ ถ้าตอบว่า ‘อัตตามีอยู่’ คำตอบนั้นก็
จักอนุโลมแก่ความเกิดขึ้นแห่งญาณของเราว่า ‘ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา’ บ้างหรือ”
“ไม่อนุโลม พระพุทธเจ้าข้า”
“อานนท์ อนึ่ง เราถูกวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า ‘อัตตาไม่มีหรือ’ ถ้าตอบว่า
‘อัตตาไม่มี’ คำตอบนั้นก็จักมีเพื่อความงมงายยิ่งขึ้นแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงาย
อยู่แล้วว่า ‘เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้อัตตานั้นไม่มี”
อานันทสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
๑๑. สภิยกัจจายนสูตร

๑๑. สภิยกัจจานสูตร
ว่าด้วยพระสภิยกัจจานะ
[๔๒๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสภิยกัจจานะอยู่ ณ พระตำหนักอิฐในหมู่บ้าน
ญาติกะ ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสภิยกัจจานะถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามท่านพระสภิยกัจจานะดังนี้ว่า “ท่านกัจจานะ หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิด
อีกหรือ”
ท่านพระสภิยกัจจานะตอบว่า “วัจฉะ ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่
ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ”
“ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระ
ภาคไม่ทรงพยากรณ์”
“หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ”
“แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีก
ก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์”
“ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ ก็ตอบว่า
‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรง
พยากรณ์’
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ‘’
ก็ตอบว่า ‘ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ นี้พระ
ผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า :๔๙๔ }

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตวรรค
ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่า
ไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ ก็ตอบว่า ‘แม้ปัญหาว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นี้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงพยากรณ์’ ท่าน
กัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่พระสมณโคดมไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานั้น”
“วัจฉะ เหตุและปัจจัยใดเพื่อการบัญญัติว่า ‘ตถาคตมีรูปหรือไม่มีรูป ตถาคต
มีสัญญาหรือไม่มีสัญญา หรือตถาคตมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เหตุและ
ปัจจัยนั้นก็ผิดทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมดทุกอย่างไม่เหลือโดยประการทั้งปวง บุคคล
เมื่อจะบัญญัติตถาคตนั้นว่า ‘ตถาคตมีรูปหรือไม่มีรูป ตถาคตมีสัญญาหรือไม่มี
สัญญา หรือตถาคตมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ พึงบัญญัติด้วยอะไร”
“ท่านกัจจานะ ท่านบวชมานานเท่าไร”
“ไม่นานดอก ผู้มีอายุ ๓ พรรษา”
“ผู้มีอายุ การพยากรณ์เท่านี้ของท่านผู้ที่กล่าวแก้ได้โดยเวลาถึงเท่านี้ก็มากอยู่
เมื่อคำพยากรณ์ไพเราะอย่างนี้แล้ว ก็ไม่จำต้องพูดอะไรกันอีก”
สภิยกัจจานสูตรที่ ๑๑ จบ

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตวรรคนี้ คือ

๑. เขมาสูตร ๒. อนุราธสูตร
๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร ๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร ๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร
๗. โมคคัลลานสูตร ๘. วัจฉโคตตสูตร
๙. กุตูหลสาลาสูตร ๑๐. อานันทสูตร
๑๑. สภิยกัจจานสูตร

อัพยากตสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]
รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคสังยุต

รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคนี้คือ

๑. สฬายตนสังยุต ๒. เวทนาสังยุต
๓. มาตุคามสังยุต ๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๕. สามัณฑกสังยุต ๖. โมคคัลลานสังยุต
๗. จิตตสังยุต ๘. คามณิสังยุต
๙. อสังขตสังยุต ๑๐. อัพยากตสังยุต

สฬายตนวรรคสังยุต จบ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค จบ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น